WeekendHobby.com
เครื่องมือในการใช้งาน website =>> สมัครสมาชิก | Login | Logout | เปลี่ยนไอคอนส่วนตัว | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อโฆษณา         View stat by Truehits.net


ทริปกลุ่มhard core ร่วมกับหน่วยยูเอ็นและเอ็นจีโอ มอบอุปกรณ์การเรียน ร.ร.ธิไร่ป้า ทุ่งใหญ่นเรศวรฯ
kookyz
จาก กุ๊ก/kookyz
IP:110.49.248.132

ศุกร์ที่ , 20/1/2555
เวลา : 20:02

อ่านแล้ว = ครั้ง
 เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งตรวจสอบกระทู้
 แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน ส่งหาเพื่อน

       คลิปวีดีโอมันส์ของฝรั่งกลุ่มrideasia.net
http://www.youtube.com/watch?feature=player_detailpage&v=e7fGz15DwTM

ทริปฝรั่งต่างชาติมาพิชิตเส้นทาง สังขละบุรี-ทุ่งใหญ่นเรศวร-แม่น้ำสุริยะ-เลตองคุ-เปิงเคลิ่ง-อุ้มผาง
http://rideasia.net/forum/completed-the-umpung-tung-yai-naresuan-jungle-track-t1310.html?sid=cccaf845356539a52b62f8ac656a356a

คลิปวีดีโอของฝรั่งลุยแม่น้ำสุริยะ
http://vimeo.com/26227334

ทริปหมอชอบ ทองผาภูมิ ไปพิชิตเส้นทาง ทุ่งใหญ่นเรศวร-แม่น้ำสุริยะ-เลตองคุ-เปิงเคลิ่ง อ.อุ้มผาง จ.ตาก
http://www.dirttrackthai.com/smf/index.php?topic=6923.0

ทริปเดียวกันแต่ใน dirttackthai.com

http://www.dirttrackthai.com/smf/index.php?topic=6615.0
ตามความเดิม
หลังจากออกทริปกองผสมพันธ์สัตว์-กาญจนบุรีด้วยกันเมื่อประมาณเดือนมีนาคม 2554 ด้วยกัน อู๋ ยูเอ็นเพื่อนของผมที่ทำงานยูเอ็น จึงนัดผมและในกลุ่มhard core ไม่กี่ท่านไปออกทริปบริจาคมอบอุปกรณ์การเรียนในป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้วยกันกับหน่วยยูเอ็นและเอ็นจีโอประมาณเดือนกันยายน แต่ก็เข้าไปไม่ได้เพราะฝนตกหนักทางเละและน้ำลำธารระดับสูงมาก แม้รถยนต์ยังข้ามไม่ได้ จึงผลัดวันรอโอกาสเข้าไป จนมาออกทริปเหมืองเต่าดำกันอีกเมื่อต้นเดือนธันวาคมนี้ จึงมีการนัดแนะกันใหม่จะไปบริจาคมอบอุปกรณ์การเรียนที่ ร.ร.ต.ช.ด.ธิไล่ป้าและ ร.ร.ปะไรโหนก ในวันที่17-18-19-20 มกราคม 2555 ร่วมกับหน่วยยูเอ็นและหน่วยเอ็นจีโอ 2หน่วยงาน จึงมีการนัดแนะกับกลุ่ม hard core และพันธมิตรจากกลุ่มอื่นๆ โดยมีการจำกัดจำนวนการเข้าไปออกทริปจากหน่วยเอ็นจีโอ โดยกลุ่มเอ็นจีโอเป็นแกนนำการจัดแผนงาน โดยให้กลุ่มรถเอ็นดูโร่เข้าร่วมทริปได้จำนวน50ท่าน ผมกับพี่วิโรจน์ จึงเล็งเห็นว่า50ท่านนั้นมากเกิน ผมและทีมงานคงดูแลหลายๆด้านไม่ทั่วถึง และเส้นทางไป ร.ร.ธิไล่ป้านั้นลำบากพอสมควร จึงมีการพูดคุยในกลุ่ม hard core ว่าขอจำกัดจำนวนแค่ 20 ท่าน จึงมีการแจ้งข่าวกันหลังไมล์ เอาท่านที่ตั้งใจจะไปแน่ๆ ได้ดังนี้
-กลุ่มโพธิ์ม่วงพันธ์ 3 ท่าน (ถอนตัวเพราะมีงานขึ้นบ้านใหม่ช่างนพ)
-กลุ่มดอนขุนเทียน 3 ท่าน(ถอนตัวเพราะรถพังจากไปออกทริปที่เขาใหญ่ แต่ส่งของบริจาคเป็นชุดระบายสีมาร่วม 1 ลังใหญ่
-กลุ่มอิงภู 5 ท่าน (ถอนตัวไป 2 ท่าน)
-จอมแห 1 ท่าน
-บ้านหมอ สระบุรี 1 ท่าน
-สามพราน 2 ท่าน ( ถอนตัว 1 ท่าน)
-กลุ่ม hard core 7 ท่าน
-ได้รับบริจาคลูกฟุตบอลจากคุณกิ่ง บ้านพันธ์ศิลป์ภูเก็ตจำนวน20ลูก
ถึงเวลาออกทริปจริงๆมีแค่13ท่าน แต่ก็เพียงพอ จำนวนคนไม่มากเกินและไม่น้อยเกิน ง่ายต่อการดูแล แล้วขั้นตอนการดำเนินงานได้เริ่มขึ้น โดยพี่วิโรจน์ นนทบุรี ได้จัดการเรื่องของบริจาคจากกลุ่ม hard core ผมรับผิดชอบของบริจาคนอกกลุ่มออกทริป จัดหารถโฟร์วิลเพื่อขนเสบียงและขนสัมภาระ โดยจัดหาเครื่องครัวและกับอาหารการกิน คนทำอาหาร ก็ของบริจาคจากคุณกิ่ง ภูเก็ตเป็นลูกฟุตบอล20ลูก กลุ่มดอนขุนเทียนเป็นชุดระบายสีกล่องใหญ่ ผู้ไม่ประสงค์ออกนามเป็นเสื้อผ้าเก่า4ลัง จึงนัดหมายกันที่กองร้อย ต.ช.ด.134 สังขละบุรี ในเวลา 10 โมงเช้าของวันที่18มกราคม 2555 ทุกคนที่ร่วมออกทริปเดินทางไปในวันที่18 มกราคมทุกคน ก็รวมตัวได้ดังนี้
-พี่ตุ้ม อิงภู
-พี่หน่อง อิงภู
-พี่ยูร อิงภู
-พี่เล็ก จอมแห(บริจาคเสื้อผ้าใหม่ 3ถุงใหญ่)
-พี่วิโรจน์ นนทบุรี
-พี่เผือก sec นนทบุรี
-พี่สังวาลย์ บ้านหมอ สระบุรี
-พี่แมน นครน่าน
-พี่สังวร ม้าเหล็ก
-พี่อัฐชัย สามพราน(บริจาคเสื้อผ้า)
-ช่างหน่า ไทรโยค
-อู๋ ยูเอ็น ขอนแก่น
-กุ๊ก กาญจนบุรี
-หน่วยยูเอ็นและเอ็นจีโอประมาณ20ท่าน
ล้อหมุนที่กองร้อย ต.ช.ด. สังขละบุรีเวลา12.30 น. โดยเข้าทางบ้านเสน่ห์พ่อง-เกาะสะเดิ่ง-เนินเทวดา-ธิไล่ป้า เส้นทางต้องข้ามน้ำในลำธารหลายครั้ง ในระยะทางประมณ50กม.ถึงโรงเรียน ต.ช.ด.ธิไล่ป้าเกือบ 6 โมงเย็น จึงรีบทำอาหารและรับประทานกันเพราะทางโรงเรียนธิไล่ป้าจัดการแสดงของนักเรียนต้อนรับ จะเลิกงานเกือบเที่ยงคืน ตอนเช้าวันที่19 มกราคม เวลา 8โมงเช้าทำการมอบของบริจาคให้คณะครู แล้วหน่วยยูเอ็นและหน่วยเอ็นจีโอเดินทางกลับ อ.สังขละบุรี ไปทำภาระกิจต่อ ส่วนกลุ่มhard core และรถโฟร์วิลเสบียง ขอเดินไปพิชิตแม่น้ำสุริยะกันต่อ จึงออกเดินทางจากธิไล่ป้า ข้ามเขาไม้แดงที่ชันมาก-หน่วยป่าไม้ลังกา-ช่องสามัคคี(ฝั่งพม่าคือเปิงกะเน่ง)-พุหม่อง-พุจือ-บ้านสามหลัง-จะแก ระยะทางประมาณ38ก.ม.
แล้วเดินทางเข้าแม่น้ำสุริยะ จากการสอบถามชาวบ้านว่าไม่ไกล แต่เดินทางผ่านหน่วยป่าไม้เดอลู่ ทางนั้นเริ่มลำบาก แต่เข้าไปก็เริ่มลึก ไม่รู้ทางกันด้วย แต่โชคดีไปเจอชาวบ้านจะแกเกือบ20คนนั่งรถอีแต๊ก(รถไถนาลากพ่วง)เดินทางไปร่วมงานศพทำบุญ100วันที่จั่วเปิ้ง ฝั่งพม่า จึงสอบถามทางไปแม่น้ำสุริยะ ว่าไปอีกไม่ไกลเจอทางแยกให้เลี้ยวขวา ถ้าตรงไปเป็นพม่า
ผมจึงนำทางลงสู่แม่น้ำสุริยะ แล้วลงช่องเขาเลียบหน้าผาทางชันมากลงสู่เบื้องล่าง เป็นลำธารสายเล็กๆไปเจอรอยรถเอ็นดูโร่เก่าของกลุ่มฝรั่ง4คนที่ไปเที่ยวเลตองคุเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาข้ามไปฝั่งจังหวัดตาก ที่จริงผมก็ไม่แน่ใจว่าลำธารนั้นคือแม่น้ำสุริยะ พอดีหันไปเจอพระธุดงค์กับลูกศิษย์กระเหรี่ยงคนนำทางเดินมาจากฝั่งจังหวัดตากเพื่อไปอำเภอสังขละบุรี ผมจึงสอบถามพระ ได้ความว่านี่คือแม่น้ำสุริยะของแท้ แต่ด้านล่างแม่น้ำจะใหญ่กว่านี้ต้องลงไปอีกประมาณ1กม. แล้วไปหมู่บ้านเลตองคุ อ.อุ้มผาง จ.ตาก อีกประมาณ20กม.
กลุ่ม hard core จึงลงเล่นน้ำสุริยะ แล้วเดินทางออกมาถึงทางแยกไปพม่า พี่ตุ้ม อิงภู,พี่หน่อง อิงภู,พี่ยูร อิงภู,พี่สังวาลย์ บ้านหมอ แยกไปเที่ยวจั่วเปิ้ง ฝั่งหม่าที่อยู่ไม่ไกล แต่ท่านอื่นๆขอเดินทางกลับเพื่อไปกินข้าวเที่ยงที่รถเสบียงที่เดินทางเข้ามาเกือบถึงแม่น้ำสุริยะ ก็เวลาเกือบบ่าย3โมงเย็นแล้ว แล้วกลุ่มอิงภูและบ้านหมอก็ข้ามแดนผ่านเจดีย์หินกอง ข้ามร่องน้ำเข้าสู่บ้านจั่งเปิ้งฝั่งพม่า แล้วเข้าไปหากำนันพม่า แล้วจ้างกำนัน100บาทซ้อนท้ายรถเข้าไปเที่ยวในหมู่บ้าน แต่เวลาน้อยจึงเที่ยวไม่ครบ9หมู่บ้าน แล้วเดินทางกลับมากินข้าวที่รถเสบียง
แล้วเดินทางกลับธิไล่ป้าถึงโรงเรียนธิไล่ป้ามืดพอดี รวมระยะทางจากธิไล่ป้า-แม่น้ำสุริยะ ประมาณ50กม. ถือว่าไม่ไกล แต่ทางลำบากมาก
แล้วนอนที่โรงเรียนธิไล่ป้ากับคณะโรงเรียนวิสุทธรังสี กาญจนบุรี ที่มาจัดเลี้ยงงานวันเด็กย้อนหลัง โดยเข้ามาจัดเลี้ยงเป็นปีที่5 ตามโครงการพระราชดำริ โครงการพี่สอนน้องของสมเด็จพระเทพฯ สอบถามคุณครู ต.ช.ด.ว่าคณะของผมเป็นคณะแรกในปีนี้และปลายฝนที่เอาของมาบริจาค ผมคิดในใจแล้วกลุ่มรถอ๊อฟโรด,รถเอ็นดูโร่ ทำไมไปบริจาคของที่โรงเรียนผาหินตั้ง จะแก กันมากมาย ทำไมไม่แบ่งปันไปบริจาคที่โรงเรียนธิไล่ป้าบ้าง ตอนกลางคืนเด็กนักเรียนทำการแสดงต้อนรับคณะครู-นักเรียนโรงเรียนวิสุทธรังสีอีก แล้วเดินทางกลับถึงกองร้อย ต.ช.ด.134 อ.สังขละบุรีประมาณบ่าย2โมง โดยสวัสดิภาพทุกๆท่าน
ท้ายนี้ต้องขอขอบคุณกองร้อย ต.ช.ด.ที่134 และเจ้าหน้าที่ป่าไม้,ชาวบ้านธิไล่ป้าที่ดูแลและให้บริการต้อนรับกลุ่มรถเอ็นดูโร่ hard core เป็นอย่างดี ครับ

ทริปเส้นทางโบราณเลียบชายแดนพม่า-กาญจนบุรี
http://www.weekendhobby.com/enduro/webboard/Question.asp?ID=26031



 แก้ไขเมื่อ : 4/2/2555 22:23:34

 แก้ไขเมื่อ : 5/2/2555 9:30:04

 แก้ไขเมื่อ : 5/2/2555 21:17:55

 แก้ไขเมื่อ : 13/2/2555 14:33:59






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

แจ้งเพื่อเก็บขึ้นกระทู้พิเศษ คลิ๊กที่นี่แจ้งเพื่อนำขึ้นกระทู้พิเศษ

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 26 จาก >>> 1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  
21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  

คำตอบที่ 751
       ชนเผ่ากะเหรี่ยง-ไร่หมุนเวียนกะเหรี่ยง วิถีคนอยู่กับป่า
เขียนโดย yuri_kung เมื่อ พฤ, 04/03/2008 - 16:09. | in กะเหรี่ยงกะเหรี่ยงการทำไร่หมุนเวียนคนอยู่กับป่า
วันที่เอกสารถูกสร้าง:
03/04/2008
ที่มา:
http://www.karencenter.com/
ไร่หมุนเวียนกะเหรี่ยง วิถีคนอยู่กับป่า

ปิยะ จรบุรี

เมื่อย่างเข้าสู่เดือนมีนาคม-เมษายน อาจเป็นสัญญาณบอกถึงฤดูร้อน เป็นช่วงเวลาหยุดพักของชาวนาทั่วไป แต่สำหรับชาวกะเหรี่ยงแล้วถือเป็นวิถีแห่งการเริ่มต้นทำงาน ไร่ที่ปล่อยทิ้งร้างไว้มากกว่า 3-5 ปี ถึงเวลาเข้าไปถากถางอีกครั้ง เพราะเข้าสู่กระบวนการหาเลี้ยงด้วยอาชีพเกษตรกรรมแบบดั้งเดิม ฝนที่จะมาถึงช่วงปลายเดือนพฤษภาคม คือตัวเร่งชาวกะเหรี่ยงต้องรีบลงมือทำงาน เพราะระยะเวลาการทำไร่มีข้อจำกัดเพียงแค่หนึ่งปี
ไร่หมุนเวียน อาชีพหลักของกะเหรี่ยงที่สืบทอดมายาวนับร้อยปี ยังเป็นงานหลักหล่อเลี้ยงครอบครัวของชุมชนกะเหรี่ยงหลายแห่ง ที่อาศัยอยู่ในเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-นเรศวร
"พวกเราอาศัยอยู่ในป่าทุ่งใหญ่มาตั้งแต่ก่อนมีกฎหมายป่าอนุรักษ์ด้วย และตลอดเวลาที่อยู่พวกเราก็ไม่เคยทำลายป่า แต่ตรงกันข้ามพวกเราพยายามเรียนรู้วิธีการที่จะดำรงชีพอยู่ในป่า และอาชีพหลักของพวกเราคือไร่หมุนเวียน ซึ่งถูกมองว่าทำลายป่านั้นความจริงไม่ใช่ เพราะวิถีชีวิตของเราต้องอาศัยป่า
"ขอบอกว่าไร่หมุนเวียน ไม่ใช่ไร่เลื่อนลอย มันแตกต่างกัน"

นายไพบูลย์ ช่วยบำรุงษ์วงศ์ ผู้ใหญ่บ้านกองม่องทะ ต.ไล่โว่ อ.สังขละ จ.กาญจนบุรี เล่าถึงวิถีกะเหรี่ยง
ไร่หมุนเวียน คือการทำไร่ผสมผสาน โดยปลูกทั้งข้าว พริก และพืชผักหลายในชนิดลงบนแปลงบริเวณเชิงเขา เพราะพืชผักบางชนิดเป็นตัวล่อแมลงเพื่อเป็นอาหารของแมลงอีกชนิด ถือเป็นภูมิปัญญาของกะเหรี่ยงในเรื่องกำจัดแมลง และยังเป็นรักษาสิ่งแวดล้อมอีกทางหนึ่ง เพราะไม่ต้องใช้สารเคมีกำจัดแมลง สำหรับผลผลิตส่วนใหญ่เก็บไว้ใช้บริโภคภายในครัวเรือน โดยเฉพาะข้าว ส่วนพริกและผักอื่นๆ อาจแบ่งขายบ้างตามสมควร อย่างไรก็ตามคนพื้นราบและเจ้าหน้าที่ป่าไม้บางส่วนยังมองว่า ไร่หมุนเวียนคือไร่เลื่อนลอย และปลูกฝังกันแม้กระทั่งในตำราเรียนว่าไร่กะเหรี่ยงนั้นเป็นตัวการทำลายป่า

ผู้ใหญ่ไพบูลย์ บอกว่า เป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะไร่หมุนเวียนคืออาชีพเดียว ดังนั้นกะเหรี่ยงจะไม่ทำลายต้นน้ำลำธารโดยเด็ดขาด
"การเลือกทำเลทำไร่นั้นมีข้อห้ามอยู่มากหลาย อาทิ ห้ามทำไร่ในเขตต้นน้ำหรือตาน้ำ ห้ามทำไร่ระหว่างสองฝั่งแม่น้ำ ห้ามทำไร่บนยอดเขา และเมื่อทำไร่เสร็จในปีนั้นแล้วต้องปล่อยทิ้งไว้ให้พื้นดินมีโอกาสฟื้นตัวอย่างน้อย 3 ปี" ผู้ใหญ่บ้านกองม่องทะ บอกอีกว่า ในหมู่บ้านจะมีไร่อยู่หลายแปลง แต่ทุกแปลงเป็นของส่วนกลางโดยหมุนเวียนผลัดกันทำ และพื้นที่ที่ใช้มากน้อยแล้วแต่ขนาดครอบครัว แต่ส่วนมากราว 5 ไร่ หรือใช้ข้าว 2 ถัง โดยไร่หนึ่งทำแค่ปีเดียว จากนั้นปล่อยทิ้งไว้เป็นไร่ซากเวลาอย่างน้อย 3 ปี หรืออาจมากกว่านั้น เพื่อให้พื้นดินฟื้นตัว
เมื่อปล่อยทิ้งไว้ 3-5 ปี ไร่ซากซึ่งเคยใช้ทำไร่จะเป็นป่าที่ดูเหมือนสมบูรณ์ เมื่อกลับไปเผาไร่หักล้างถางป่าอีกครั้งจึงดูเหมือนทำลายป่า แต่ความจริงไม่ใช่เพราะนั่นคือไร่ซาก
"ที่สำคัญคือพวกเราไม่เคยบุกรุกพื้นที่เพิ่ม จะวนใช้พื้นที่ไร่ซากเดิมซึ่งบุกเบิกมาเป็นร้อยปี และต้นไม้ใหญ่ที่อยู่ในไร่เราจะไม่เผาหรือตัดโค่นเพื่อปล่อยไว้เป็นร่วมเงาและที่อยู่อาศัยของสัตว์เล็ก แต่จะตัดโค่นต้นไม้เล็กและป่าไผ่เท่านั้น ไม่เคยบุกรุกป่าใหญ่หรือป่าดงดิบเลย
"เพราะเราถือว่าป่าใหญ่คือแหล่งกำเนิดของต้นน้ำ ตรงกันข้ามป่าที่ถูกบุกรุกทำลายล้วนเป็นน้ำมือของนายทุนและคนมีเงินที่ครอบครองเอกสารสิทธิโดยไม่ชอบธรรม" ผู้ใหญ่บ้านชาวกะเหรี่ยง กล่าว
ขณะที่พี่เอิบ เชิงสะอาด หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-นเรศวร บอกว่า จากการทำงานคลุกคลีกับชาวกะเหรี่ยงในพื้นที่ป่าทุ่งใหญ่มานาน เข้าใจถึงวิถีทำไร่หมุนเวียน ซึ่งเป็นวิธีการทำไร่โดยให้คนอยู่กับป่าได้ แต่ต้องยอมรับมีชาวบ้านจำนวนหนึ่งที่ยังบุกรุกป่าเพิ่ม ซึ่งต้องว่ากันไปตามกฎหมาย
"ชาวกะเหรี่ยงมีกฎลงโทษกับคนที่บุกรุกป่าเพิ่มกันเองในหมู่บ้าน และทุกครั้งก่อนทำไร่ก็มีการประสานกัน ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะอธิบายการทำไร่หมุนเวียนให้เจ้าหน้าที่ป่าไม้ทุกคนเข้าใจ เพราะเรื่องแบบนี้ถ้าไม่เคยเรียนรู้มาก่อนก็ยังคงเข้าใจว่าคนเหล่านี้ทำลายป่า
"ทำไร่หมุนเวียนไม่ใช่ทำลายป่า แต่เป็นการเรียนรู้ที่จะอยู่กับป่า โดยไม่ทำลายป่า" พี่เอิบกล่าวทิ้งท้าย
แสงแดดยามเย็นผ่อนอุณหภูมิความร้อนลดลง หลายแห่งเผาและหักร้างถางไร่ซากเกือบเสร็จสิ้นแล้ว เพียงรอคอยให้เถ้าที่คุกรุ่นจากควันไฟแห้งสนิท จากนั้นรอฤดูฝนที่จะมาถึงพื้นที่ก็พร้อมเข้ากระบวนทำไร่หมุนเวียนเพื่อยังชีพต่อไป ขณะที่ไร่ซากที่ผ่านการทำกินไปแล้วหลายไร่อยู่ในสภาพฟื้นตัว พื้นดินเหล่านั้นจะมีเวลาสะสมธาตุอาหารอีกหลายปีพอสมควรก่อนที่ถูกใช้ประโยชน์อีกครั้ง ลำห้วยโยคีที่ไหลผ่านหมู่บ้านกะเหรี่ยงหลายแห่งในต.ไล่โว่ ยังมีน้ำไหลตลอดปี ยามเย็นจึงเป็นศูนย์รวมของคนหมู่บ้านได้มาพึ่งพา
ชีวิตง่ายๆ แบบกะเหรี่ยงยังดำเนินไปตามวันเวลา คือวิถีที่จะอยู่กับป่า โดยไม่ทำลายป่า

ข่าวสด วันที่ 17 เมษายน พ.ศ.2548 ปีที่ 15 ฉบับที่ 5253 หน้า 6
ที่มา : ปิยะ จรบุรี






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

kookyz จาก กุ๊ก/kookyz 27.130.151.148 พฤหัสบดี, 16/2/2555 เวลา : 20:44  IP : 27.130.151.148   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 52480

คำตอบที่ 752
       ชนเผ่ากะเหรี่ยง-ประวัติ ความเป็นมา
เขียนโดย njoy เมื่อ อาทิตย์, 12/02/2007 - 15:09. | in กะเหรี่ยงภาคเหนือประวัติ ความเป็นมาอาข่า
วันที่เอกสารถูกสร้าง:
02/12/2007
ที่มา:
มูลนิธิกระจกเงา โครงการพิพิธภัณฑ์ชาวเขาออนไลน์ http://www.hilltribe.org


ประวัติความเป็นมาของชนเผ่ากะเหรี่ยง


กะเหรี่ยงเป็นชนเผ่าที่จัดได้ว่ามีหลายเผ่าพันธุ์ หลายภาษา มีการนับถือศาสนาที่ต่างกัน แต่กะเหรี่ยงดั้งเดิมจะนับถือผี เชื่อเรื่องต้นไม้ป่าใหญ่ ภายหลังหันมานับถือพุทธ คริสต์ เป็นต้น กะเหรี่ยง มีถิ่นฐานตั้งอยู่ที่ประเทศพม่า แต่หลังจากถูกรุกรานจากสงคราม จึงมีกะเหรี่ยงที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ประเทศไทย กะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท แบ่งออกเป็นกลุ่มย่อย กะเหรี่ยงสะกอ หรือที่เรียกนามตัวเองว่า ปากะญอ หมายถึงคน หรือมนุษย์นั้นเอง กะเหรี่ยงสะกอเป็นกลุ่มที่มีจำนวนมากที่สุด มีภาษาเขียนเป็นของตนเอง โดยมีมิชชันนารีเป็นผู้คิดค้นดัดแปลงมาจากตัวหนังสือพม่า ผสมภาษาโรมัน กลุ่มนี้หันมานับถือศาสนาคริสต์เป็นส่วนใหญ่ กะเหรี่ยงโปร์นั้นเป็นกลุ่มที่ค่อนข้างเคร่งครัดในประเพณี พบมากที่ อำเภอ แม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน อำเภอ อมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และแถบตะวันตกของประเทศไทย คือ กะเหรี่ยงบเว พบที่ อำเภอ ขุนยวม แม่ฮ่องสอน ส่วนปะโอ หรือตองสูก็มีอยู่บ้าง แต่พบน้อยมากในประเทศไทย ชนเผ่า "ปกากะญอ" เป็นชนเผ่าที่บอกกล่าวถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมานับร้อยนับพันเรื่อง เรียงร้อยเก็บไว้ในเเนวของนิทาน อาจจะไม่ใช่หลักฐานที่เเน่ชัด เเต่ก็พยายามที่จะเล่าสืบทอดให้ลูกหลานได้รู้ ถึงความเป็นมาของเผ่าพันธุ์ และวัฒนธรรมของตัวเอง เล่ากันตั้งแต่สมัยที่พระเจ้าสร้างโลก พระองค์ได้สร้างมนุษย์ คู่แรก คือ อดัม กับเอวา ทั้งสองคนได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันในสวน (เอเดน) ที่พระองค์ได้สร้างไว้ ทั้งสองได้ทำ ผิดกฎ ของสวรรค์ จึงถูกเนรเทศลงมาใช้กรรมอยู่ในโลกจนกระทั่งมีลูกหลานสืบเชื้อสายมาจนถึงทุกวันนี้

กล่าวถึงตำนาน
ที่ตั้งของชนเผ่ากะเหรี่ยง ตั้งอยู่ที่ภูเขา "ทอทีปล่อก่อ" มีผู้เฒ่า "เทาะแมป่า" เป็นหัวหน้า หมู่บ้านสืบเชื่อสายมาจนลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมือง เมื่อที่ทำกินไม่พอเทาะแมป่าจึงพาลูกหลานอพยพย้ายถิ่นฐาน ระหว่างการเดินทางว่ากันว่าเทาะแมป่าเดินเร็วมากลูกหลานพากันหยุดพัก เทาะแมป่าไม่สนใจลูกหลาน พยายามที่จะเดินไปข้างหน้าเรื่อยๆ จนมาหยุดตามที่ต่างๆ แถบแถวลุ่มน้ำสาละวินบ้าง ลุ่มน้ำอิระวดีบ้าง กระทั้งสืบเชื้อสายเผ่าพันธุ์ จนมาถึงทุกวันนี้มีกะเหรี่ยง อาศัยอยู่กระจัดกระจาย ทั่วไปในเขตพม่า ตลอดจนในเขตภาคเหนือ และตะวันออกของประเทศไทย เอกสารบางชนิดระบุว่าคนกระเหรี่ยงอาศัยอยู่ในตะวันออกเฉียงไต้ของประเทศจีน เมื่อถูกขับไล่หนี ลงมาตั้งหลักในระว่างกลางเขตพม่ากับมอญ ตอนหลังถูกพม่าบีบ ต้องอพยพอยู่บนภูเขา เอกสารบางชิ้นระบุว่าคนกะเหรี่ยงที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในประเทศไทยล้วนมาจากพม่าทั้งสิ้น เพียงแต่ ไม่มีเอกสารยืนยันว่าเข้ามาอยู่เมื่อใด แต่สันนิษฐานว่าเข้ามาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย บ้างก็ว่าในดินแดนล้านนา หรือก่อนโยนกด้วยซ้ำ นั้นหมายถึงการกำเนิดเมืองเชียงใหม่

การย้ายถิ่นฐาน
จากคำบอกกล่าวของ "พือ มูล บุญเป็ง" คนเฒ่า คนแก่ ได้กล่าว เล่าความเป็นมาของกะเหรี่ยงในประเทศไทย พื้นที่หลักที่กะเหรี่ยง (ปกากะญอ) อาศัยอยู่ครั้งเเรกคือ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ โดยยึดอาชีพเกษตรกรรม ในการหาเลี้ยงชีพ ต่อมาในสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง รัฐบาลไทยได้เปิดโอกาสให้บริษัทต่างชาติประมูล โครงการทำป่าสัมปทาน ณ.ตำบลแม่ยาว จังหวัดเชียงราย โดยบริษัทที่ชนะการประมูล จะได้กรรมสิทธิ์การทำธุรกิจขนส่งไม้ จากตำบล แม่ยาว ออกไปยังต่างประเทศ ซึ่งในขณะนั้น บริษัทจากประเทศฝรั่งเศส หรือที่ชาวกระเหรี่ยงเรียกกันว่า บริษัท "ห้าง โบ๋ เบ๋" ได้กรรมสิทธิ์ในการทำธุรกิจสัมปทานในครั้งนั้นไป "พือ มูล บุญเป็ง" เล่าต่อว่าหลังจากที่ "ห้างโบ๋ เบ๋" เข้ามาทำธุรกิจในเมืองไทย ปัญหาแรกที่พบคือการสื่อสาร และการทำสัมปทานไม้ในสมัยนั้น จำเป็นต้องมี ช้างควานช้างในการลากไม้ซุง หลังจากเสร็จสัมปทาน กะเหรี่ยง (ปกากะญอ) ส่วนหนึ่งได้ตั้งหลักปักฐานอยู่บ้านน้ำลัด อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย โดยเห็นว่าเป็นที่เหมาะแก่การทำการเกษตร ได้ใช้ชีวิตมาจนกระทั่งสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ช่วงทำสงครามกะเหรี่ยงได้ร่วมมือกับทหารไทย โดยใช้ช้างเป็นพาหนะ ในการลำเลียง สิ่งของ เสบียง อาหาร ให้กับทหารไทยในการรบครั้งนั้น หลังสงครามมีชนพื้นเมืองย้ายถิ่นฐานกลับมามากขึ้น ทำให้ที่คับแคบแออัดขัดแย้งที่ทำมาหากิน กะเหรี่ยงส่วนหนึ่งจึงตัดสินใจออกเดินทางอีกครั้ง

กำเนิด ตำบลแม่ยาว
เนื่องด้วยชนเผ่ากะเหรี่ยง มีนิสัยรักความสงบ ชอบใช้ชีวิตอย่างสันโดษ เมื่อมีประชากรหนาแน่น จึงมองหาที่ทำกินใหม่ โดยเล็งเห็นว่า ตำบลแม่ยาว ที่เคยเป็นสัมปทานเก่า เป็นที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การเพาะปลูก ขณะนั้นผู้เฒ่า (เซโค่) ตุดง ธุระวร ได้เป็นผู้นำพาลูกหลาน และลูกบ้านส่วนหนึ่งย้ายขึ้นมา ตั้งหลัก ปักฐาน อยู่ที่ตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย คำว่า แม่ยาว ตั้งขึ้นมาจากสัมปทานแม่ยาวนั้นเอง แต่ยังมีบางส่วนที่ ย้าย กระจัดกระจายออกไป ตามส่วนต่างๆ ตามแทบแถว ตำบล ทุ่งพร้าว อำเภอ แม่สรวย จังหวัดเชียงราย ยังมีส่วนที่ย้าย และอาศัยอยู่แถบแนวชายแดนของจังหวัดกาญจนบุรี ใช่ว่าจะมีเพียงเท่านี้ ทุกวันนี้ ยังมีประชากรกะเหรี่ยงอาศัยกระจัดกระจายทั่วทุกภาคของประเทศไทย

ชาวกะเหรี่ยงจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากเอกสารอ้างอิงหรือแหล่งข้อมูล โปรดช่วยพัฒนาบทความนี้โดยเพิ่มแหล่งข้อมูลน่าเชื่อถือ เนื้อหาที่ไม่มีการอ้างอิงอาจถูกคัดค้านหรือนำออก
กะเหรี่ยง


จำนวนประชากรทั้งหมด
7,400,000

ดินแดนที่ให้การรับรองชาติพันธุ์
พม่า 7,000,000 คน
ไทย 400,000 คน

ภาษา
ภาษากะเหรี่ยง, ภาษาพม่า, ภาษาไทย
ศาสนา
พระพุทธศาสนานิกายเถรวาท, นับถือผี และ ศาสนาคริสต์

บทความนี้เกี่ยวกับชาติพันธุ์ สำหรับความหมายอื่น ดูที่ กะเหรี่ยง (แก้ความกำกวม)
กะเหรี่ยง เป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่ง เดิมอาศัยอยู่แถบบริเวณต้นแม่น้ำสาละวินของพม่า ต่อมาได้อพยพเข้าสู่ประเทศพม่าและไทย มีภาษาพูดเรียกว่าภาษากะเหรี่ยง จัดในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต

ชาวกะเหรี่ยงมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวหลายอย่าง นอกเหนือจากภาษาพูดแล้ว ยังมีการแต่งกาย ศิลปะการแสดง และประเพณีต่างๆ ปัจจุบันมีชาวกะเหรี่ยงในประเทศพม่าประมาณ 7 ล้านคน และในไทยประมาณ 4 แสนคน

อนึ่ง คำว่า "กะเหรี่ยง" นั้น บางท่านถือว่าเป็นคำไม่เหมาะสม เป็นการเรียกด้วยความดูถูก แต่ชาวกะเหรี่ยงในบางชุมชน ก็แนะนำตัวเองว่า กะเหรี่ยง มิได้เห็นเป็นคำไม่เหมาะสมหรือดูถูก ทั้งนี้ความรู้สึกดังกล่าวยังขึ้นอยู่กับทรรศนะของผู้เรียกด้วย

กลุ่มชาติพันธุ์ “กะเหรี่ยง” คนล้านนาและคนทางภาคตะวันตกมักเรียกกะเหรี่ยงว่า “ยาง” พม่าเรียกพวกนี้ว่า “กะยิ่น” ฝรั่งเรียกว่า “กะเรน” (บางที่เขียนว่า กะเร็น) แต่พม่าออกเสียง ร เป็น ย แต่คำว่า กะเหรี่ยง กะเรน หรือกะยิ่น ก็เป็นคำที่พวกเขาไม่ชอบนัก สังเกตได้จากเมื่อครั้งพม่าได้รับเอกราช พวกเขาได้ตั้งชื่อรัฐของตนเองว่า “กะยา” แปลว่า “คน” (จิตร ภูมิศักดิ์, 2544: 279-280) อย่างไรก็ตาม เรื่องของชื่อเรียก “กะเหรี่ยง” นี้ยังเป็นปัญหาไม่เป็นที่ยุติ หลายคนในปัจจุบันเข้าใจว่าชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์นี้ไม่สมควรจะเรียกว่า “กะเหรี่ยง” อีกต่อไป เพราะมีความหมายไปเชิงดูถูก โดยสมควรให้เรียกว่า “ปกาเกอะญอ” แทน แต่หากศึกษากันไปแล้วกลับพบว่ามีกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงหลายกลุ่มที่เรียกตนเองว่า “กะเหรี่ยง” และกลุ่มชาติพันธุ์ที่เดิมนักมานุษยวิทยาเห็นว่าควรจัดอยู่ในกลุ่มของกะเหรี่ยงกลับไม่ได้เรียกตัวเองว่ากะเหรี่ยงแต่อย่างใด กลับเรียกเป็นชื่ออื่น กลุ่มชาติพันธุ์ที่ถูกเรียกว่ากะเหรี่ยงมีหลายกลุ่มแตกต่างกันไป กลุ่มชาติพันธุ์กลุ่มใหญ่ๆ มี ปกาเกอะญอ (สกอว์) โพล่ง (โปว์) ตองสู้ (ปะโอ) และบะแก (บะเว)

เนื้อหา [ซ่อน]
1 กะเหรี่ยงในประเทศไทย
2 ถิ่นที่อยู่
3 ระบบครอบครัว
4 ความเชื่อ
5 การเลี้ยงชีพ
6 ดูเพิ่ม
7 แหล่งข้อมูลอื่น


[แก้] กะเหรี่ยงในประเทศไทย
หมู่บ้านกะเหรี่ยงในภาคเหนือของไทยในประเทศไทยมีชาวกะเหรี่ยง 1,993 หมู่บ้าน 69,353 หลังคาเรือน ประชากรทั้งสิ้นประมาณ 352,295 คน คิดเป็นร้อยละ 46.80 ของจำนวนประชากรชาวเขาในประเทศไทย อาศัยอยู่ใน 15 จังหวัด ของภาคเหนือและภาคตะวันตก ได้แก่ กาญจนบุรี, กำแพงเพชร, เชียงราย, เชียงใหม่, ตาก, ประจวบคีรีขันธ์, เพชรบุรี, แพร่, น่าน, แม่ฮ่องสอน, ราชบุรี, ลำปาง, ลำพูน, สุโขทัย, สุพรรณบุรี และอุทัยธานี

กะเหรี่ยงมีด้วยกันหลายกลุ่มย่อย และมีชื่อเรียกต่างๆ กัน ทั้งยังมีประเพณี ความเชื่อ ความเป็นอยู่ที่แตกต่างกันด้วย กะเหรี่ยงในประเทศไทยมี มี 4 กลุ่มย่อยคือ

สะกอ หรือยางขาว เรียกตัวเองว่า ปกฺกะญอ เป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุด
โป เรียกตัวเองว่า โพล่ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และลำพูน
ปะโอ หรือ ตองสู อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน
บะเว หรือ คะยา อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน
หมายเหตุ....1. ปง่า-เก่อ-หญอ (หญอ เสียงนาสิก ไม่ใช่ ญอ) ต้องออกเสียงแบบนี้ถึงจะถูกต้องตามสัทอักษร แปลว่า คน ส่วนคำว่า กระเหรี่ยง ที่ชาวไทยนิยมเรียกชาติพันธุ์นี้นั้น เป็นคำที่ ปง่า-เก่อ-หญอ ไม่รู้ว่าแปลว่าอะไร และไม่มีในภาษากระเหรี่ยง และไม่ทราบชาวไทยนำคำนี้มาจากไหน จึงเป็นเหตุ ทำให้ไม่ชอบให้ผู้อื่นเรียกชาติพันธ์นี้ว่า กระเหรี่ยง ซึ่งไม่ได้เกิดจากการดูถูกอะไร ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น แต่ที่ยอมและบางครั้งก็เรียกตนเองว่า กระเหรี่ยง ก็เนื่องจาก น้อยคนที่จะรู้จักและเรียกชาติพันธุ์นี้ว่า ปง่า-เก่อ-หญอ จึงใช้คำนี้ในลักษณะภาวะจำยอม แต่ไม่เคยเรียกชาติพันธุ์ตนเองว่า กระเหรี่ยง ในกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกันเช่น ดังนั้นถ้าจะกำหนดให้เรียกชาติพันธุ์นี้ว่า ปง่า-ก่า-หญอ จะเป็นการให้เกียรติกับชาติพันธุ์นี้มากกว่า 2. คำว่า ตอ-สู (


(โดย ปง่า-เก่อ-หญอ)

[แก้] ถิ่นที่อยู่
กะเหรี่ยงคอยาวที่ จ.แม่ฮ่องสอน
เด็กๆชาวกะเหรี่ยงในหมู่บ้านแม้ว่าชาวกะเหรี่ยงจะได้ชื่อว่าเป็นชาวเขา แต่ก็ไม่ได้อาศัยอยู่บนที่สูงเสียทั้งหมด บางส่วนก็ตั้งบ้านเรือนบนที่ราบเช่นเดียวกับชาวพื้นราบทั่วไป ในหมู่บ้านบางแห่งมีทั้งกะเหรี่ยงสะกอและกะเหรี่ยงโป แต่ไม่ได้ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน ชาวกะเหรี่ยงนิยมตั้งถิ่นฐานเป็นหลักแหล่งถาวร ไม่นิยมย้ายถิ่นบ่อยๆ และมีภูมิปัญญาในการจัดการทรัพยากรดินและแหล่งน้ำเป็นอย่างดี และเป็นที่น่าสังเกตว่า ชาวกะเหรี่ยงส่วนใหญ่จะตั้งถิ่นฐานใกล้แหล่งน้ำหรือต้นน้ำลำธาร

บ้านเรือนของชาวกะเหรี่ยงนิยมสร้างเป็นบ้านยกพื้น มีชานบ้าน หรือไม่ก็ใช้เสาสูง แม้ว่าอยู่บนที่สูงก็ตาม ซึ่งแตกต่างจากชาวเขาเผ่าอื่นๆ ที่นิยมสร้างบ้านชั้นเดียว พื้นติดดิน เช่น ชาวม้ง หรือชาวเมี่ยน เป็นต้น

[แก้] ระบบครอบครัวระบบครอบครัวของกะเหรี่ยงเป็นแบบผัวเดียวเมียเดียว และไม่มีการอยู่ด้วยกันก่อนแต่งงานเป็นอันขาดการหย่าร้างมีน้อยมาก ขณะที่การแต่งงานใหม่ก็ไม่ค่อยปรากฏ ส่วนการเลือกคู่ครองนั้น ฝ่ายหญิงจะเป็นผู้เลือกชายก่อน และบางครั้งฝ่ายหญิงก็ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการแต่งงาน

สังคมกะเหรี่ยงเป็นครอบครัวเดี่ยว เมื่อลูกแต่งงานก็จะแยกครอบครัวไปปลูกบ้านใหม่ ถ้าแต่งงานแล้ว ชายจะต้องมาอยู่กับบ้านพ่อแม่ภรรยาเป็นเวลา 1 ฤดูเก็บเกี่ยว หลังจากนั้นจึงปลูกบ้านใกล้กับพ่อแม่ฝ่ายภรรยา

ถ้ามีลูกสาวคนเล็กจะต้องอยู่ดูแลพ่อกับแม่

[แก้] ความเชื่อเดิมนั้นชาวกะเหรี่ยงนับถือผีมีการบวงสรวงและเซ่นสังเวยอย่างเคร่งครัด อย่างไรก็ตาม ในภายหลังชาวกะเหรี่ยงในหลายชุมชนหันมานับถือศาสนาพุทธ และศาสนาคริสต์มากขึ้น แต่ก็ยังคงความเชื่อเดิมอยู่ไม่น้อย เช่น ความเชื่อเรื่องขวัญ

ชาวกะเหรี่ยงเชื่อว่าคนเรามีขวัญอยู่ทั้งหมด 37 ขวัญ เมื่อคนตายไป ขวัญจะละทิ้งหรือหายไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าขวัญจะหนีไปท่องเที่ยว และอาจถูกผีทำร้ายหรือกักขังไว้ ทำให้เจ้าของขวัญล้มป่วย การรักษาหรือช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยก็คือ ต้องล่อและเรียกขวัญให้กลับคืนมา

ส่วนค่าใช้จ่ายส่วนมากจะช่วยกันออก แต่ส่วนใหญผู้ชายจะเป็นฝ่ายออกมากกว่า ส่วนความนับถือบรรพบุรุษของเรานับถือศาสนาพุทธมายาวนานไม่ใช่นับถือผีแต่คนกะแหรี่ยงส่วนใหญ่ไม่รู้ข้อมูลในส่วนนี้โดยเฉพาะกะเหรี่ยงที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยฉันมีโอกาสไปพบปะคนกะเหรี่ยงในจังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี และอุทัยธานีส่วนใหญ่ไม่รู้ความเป็นมาของบรรพบุรุษบางคนไม่รู้แม้ภาษาเขียนของตนเอง

หมายเหตุ...นับถือ ผี เป็นความเชื่อดั้งเดิมอยู่คู่กับชาติพันธ์นี้มานานแล้ว ซึ่งเป็นความเชื่อในเหล่าบรรพบุรุษ เจ้าที่เจ้าทาง เจ้าป่าเจ้าเขา เนื่องจากชีวิตของ ปง่า-เก่อ-หญอ อยู่กับป่าเขา ผูกพันกับธรรมชาติมาเนิ่นนาน จึงหล่อหล่อมความเชื่อกับธรรมชาติเข้าด้วยกัน ในการทำกิจกรรมต่างๆ จะต้องมีการเซ่น เจ้าที่เจ้าทาง และบอกกล่าวบรรพชน ให้ท่านได้มาอุดหนุนค้ำจูน ช่วยให้กิจการงานนั้นๆ เจริญก้าวหน้า ทำกสิกรรมได้ผลผลิตดี ขอให้ท่านดลบันดาลให้อยู่เย็นเป็นสุข ปกป้องคุ้มครองดูแล และยังเป็นการขอขมาต่อท่านเหล่านั้นด้วย ซึ่งเป็นความเชื่อและเป็นประเพณีที่ดีงาม เป็นการสร้างความรักความสามัคคีในหมู่คณะ และให้เกิดความร่มเย็นเป็นสุขในครอบครัว เป็นความเชื่อที่ชาติพันธ์นี้ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง ความเชื่อในลักษณะนี้มีอยู่ในทุกชนชาติ

[แก้] การเลี้ยงชีพชาวกะเหรี่ยงใช้ชีวิตในชนบท มีชุมชนขนาดเล็ก และทำมาหากินในลักษณะเพื่อการยังชีพ อาชีพส่วนใหญ่จึงเป็นการเกษตรทั้งปลูกพืช ปลูกข้าวไร่ และเลี้ยงสัตว์

เดิมชาวกะเหรี่ยงปลูกฝิ่นเช่นเดียวกับชาวเขาเผ่าอื่นๆ แต่ปัจจุบันได้หันมาปลูกพืชผักที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ รวมทั้งพืชเมืองหนาว โดยได้รับการสนับสนุนและให้ความรู้จากโครงการพัฒนาชนบทจากหลายๆ หน่วยงาน เช่น โครงการหลวง ทำให้ความเป็นอยู่ของชาวกะเหรี่ยงในหลายชุมชนมีความผาสุก

กะเหรี่ยงได้ชื่อว่ารู้จักการใช้พื้นที่ทำกินแบบ "ไร่หมุนเวียน" นั่นคือ ทำครั้งหนึ่ง แล้วพักไว้ 3-5 ปี จึงกลับไปทำใหม่ วนเวียนไปโดยตลอด เพื่อป้องกันดินเสื่อมคุณภาพ มิได้ทำไร่เลื่อนลอยอันเป็นการตัดไม้ทำลายป่าอย่างที่เคยเข้าใจกัน

กะเหรี่ยงยังนิยมเลี้ยงสัตว์ เช่น โค กระบือ สุกร ไก่ โดยเฉพาะสุกรและไก่และสุกร ที่เลี้ยงไว้ใต้ถุนบ้าน หรือใกล้บ้าน เพื่อใช้ในพิธีกรรม และบางชุมชนยังนิยมเลี้ยงช้าง ในอดีตเคยมีการใช้ช้างเพื่อทำนา และชักลากไม้ แต่ในปัจจุบันเหลืออยู่น้อยมาก และใช้เพียงเพื่อบริการนักท่องเที่ยว มากกว่าการใช้งานแบบอื่น






ขอบคุณครับ
จาก : ipman(ipman) 17/2/2555 10:03:22 [123.242.185.91]
 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

kookyz จาก กุ๊ก/kookyz 27.130.151.148 พฤหัสบดี, 16/2/2555 เวลา : 21:04  IP : 27.130.151.148   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 52484

คำตอบที่ 753
       แหม !!!!!! ข้อมูลพี่kook ทั้งลึก ทั้งกว้าง หลากหลาย //// นับถือครับ ////





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

viroj th จาก Viroj Th 171.7.223.85 ศุกร์, 17/2/2555 เวลา : 08:34  IP : 171.7.223.85   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 52501

คำตอบที่ 754
      

ชาวมอญจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรีไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
สำหรับความหมายอื่น ดูที่ มอญ (แก้ความกำกวม)
มอญ


จำนวนประชากรทั้งหมด
8,145,500 คน

ดินแดนที่ให้การรับรองชาติพันธุ์
รัฐมอญ รัฐกะเหรี่ยง
เขตพะโค เขตตะนาวศรี
รวมในพม่า 8,000,000 คน
ไทย 114,500 คน

ออสเตรเลีย แคนาดา
นอร์เวย์ เดนมาร์ก
สวีเดน เนเธอร์แลนด์
สหรัฐอเมริกา

ภาษา
ภาษามอญ, ภาษาพม่า, ภาษาไทย
ศาสนา
พระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท

มอญ (พม่า: မ္ဝန္‌; มอญ: မန္‌; IPA: [mùn]; อังกฤษ: Mon) เป็นชนชาติเจ้าของอารยธรรมอันเก่าแก่ในแผ่นดินพม่า พูดภาษาในตระกูลมอญ-เขมร[1]

เนื้อหา [ซ่อน]
1 ที่มาของคำว่ามอญและรามัญ
2 ประวัติ
2.1 พระมหากษัตริย์และราชวงศ์
3 วัฒนธรรม
3.1 ภาษาและอักษรมอญ
3.2 ศิลปะ
3.3 ประเพณีและศาสนา
4 มอญในประเทศไทย
4.1 หลักฐานทางประวัติศาสตร์
4.2 มอญอพยพ
4.3 ชุมชนมอญ
5 อ้างอิง
6 แหล่งข้อมูลอื่น


[แก้] ที่มาของคำว่ามอญและรามัญนักภูมิศาสตร์อาหรับบางท่านเรียกมอญว่า รามัญประเทศ (Ramannadesa) ซึ่งหมายถึง "ประเทศมอญ" คำนี้เพี้ยนมาจากคำศัพท์โบราณของ"มอญ" คือ Rmen (รามัญ) ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกตัวเองของ"มอญ" แต่พม่าเรียก"มอญ"ว่า ตะเลง (Talaings) ซึ่งเพี้ยนมาจากคำว่า Talingana อันเป็นแคว้นหนึ่ง ทางภาคตะวันตกเฉียงใต้ของประเทศอินเดีย

ส่วนนาม รามัญ พบเก่าสุดในมหาวังสะของสิงหล ในสมัยพระเจ้าจานสิตาแห่งพุกาม พบคำนี้ในศิลาจารึกมอญ เขียนออกเสียงว่า รมีง ซึ่งในจารึกนั้น ก็พบคำเรียกพม่าอ่านว่า มิรมา อีกด้วย ส่วนในสมัยหงสาวดี พบจารึกแผ่นทอง เขียนอ่านว่า รมัน คล้ายกับที่ไทยเรียก รามัญ ส่วนในเขตรามัญเทสะ จะเรียกว่า มัน หรือ มูน ซึ่งใกล้กับคำว่า มอญ ในภาษาไทย

[แก้] ประวัติมอญ เป็นชนชาติเก่าแก่ มีอารยธรรมรุ่งเรืองมากชนชาติหนึ่ง จากพงศาวดารพม่ากล่าวว่า "มอญเป็นชนชาติแรกที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในพม่า มาเป็นเวลาหลายศตวรรษก่อนคริสตกาล" คาดว่าน่าจะอพยพมาจากตอนกลางของทวีปเอเชีย เข้ามาตั้งอาณาจักรของตนทางตอนใต้ บริเวณลุ่มแม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำสะโตง ซึ่งบริเวณนี้ในเอกสารของจีน และอินเดียเรียกว่า "ดินแดนสุวรรณภูมิ"

ในพุทธศตวรรษที่ 2 ศูนย์กลาง ของ"อาณาจักรมอญ" คืออาณาจักรสุธรรมวดีหรือสะเทิม (Thaton) จากพงศาวดารมอญ กล่าวไว้ว่าอาณาจักรสะเทิมว่า อาณาจักรสะเทิมสร้างโดยพระราชโอรส 2 พระองค์ของพระเจ้าติสสะ แห่งแคว้นหนึ่งของอินเดีย ก่อนปี พ.ศ. 241 พระองค์นำ พลพรรคลงเรือสำเภา มาจอดที่อ่าวเมาะตะมะ และตั้งรากฐาน ซึ่งต่อมาเป็นที่ตั้งของเมือง อาณาจักรสะเทิม รุ่งเรืองมาก มีการค้าขายติดต่ออย่างใกล้ชิดกับประเทศอินเดีย และลังกา และได้รับเอาอารยธรรมของอินเดียมาใช้ ทั้งทางด้านอักษรศาสตร์ และศาสนา โดยเฉพาะรับเอาพุทธศาสนานิกายหินยานมา มอญมีบทบาทในการถ่ายทอดอารยธรรมอินเดีย ไปยังชนชาติอื่นอย่าง ชาวพม่า ไทย และลาว เจริญสูง มีความรู้ดี ทางด้านการเกษตร และมีความชำนาญ ในการชลประทาน โดยเป็นผู้ริเริ่มระบบชลประทานขึ้น ในลุ่มน้ำอิระวดี ทางตอนกลางของประเทศพม่า

พวกน่านเจ้าเข้ามาทองตอนเหนือของพม่า และทำสงครามกับพวกพยู อาณาจักรมอญ ที่สะเทิมขยายอำนาจขึ้นไปทางภาคกลางของลุ่มแม่น้ำอิระวดีระยะหนึ่ง แต่เมื่อ ชนชาติพม่า มีอำนาจเหนืออาณาจักรพยู และได้ขยายอำนาจลงมาทางใต้ เข้ารุกรานมอญ มอญจึงถอยลงมาดังเดิม และได้สร้างเมืองหลวงขึ้นใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 1368 ที่ หงสาวดี (Pegu)

พระเจ้าอโนรธา กษัตริย์พม่าแห่งพุกาม ยกทัพมาตีอาณาจักรสุธรรมวดี และกวาดต้อนผู้คน ทรัพย์สมบัติ พระสงฆ์ พระไตรปิฎก กลับไปพุกามจำนวนมาก ต่อมาระหว่างปี 1600-1830 กรุงหงสาวดี ตกอยู่ใต้อำนาจพุกาม แต่กระนั้นพม่าก็รับวัฒนธรรมมอญมาด้วย ไม่ว่าจะเป็น "ภาษามอญ"ได้แทนที่ภาษาบาลี และสันสกฤตในจารึกหลวง และศาสนาพุทธเถรวาท ได้เป็นศาสนาที่นับถือสูงสุดในพุกาม มอญยังมีความใกล้ชิดกับลังกา ซึ่งขณะนั้นเป็นศูนย์กลาง ของพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท และนิกายเถรวาทก็แพร่กระจายไปทั่วเอเชียอาคเนย์

พระเจ้ากยันสิทธะทรงดำเนินนโยบายผูกมิตรกับราชตระกูลของพระเจ้ามนูหะ "กษัตริย์มอญ"แห่งสะเทิม โดยยกพระราชธิดาให้กับเจ้าชายมอญ พระนัดดาที่ประสูติจากทั้งสองพระองค์นี้ ก็ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ พระนามว่า อลองคะสิทธู ในยุคที่พระองค์ปกครอง "อาณาจักรพุกาม"ได้รวมตัวกันเป็นปึกแผ่นที่สุด นอกจากนี้ในสมัยของพระเจ้ากยันสิทธะ ในศิลาจารึกยกย่องไว้ว่า "วัฒนธรรมมอญ"เหนือกว่าวัฒนธรรมพม่าด้วย

ต่อมาในปี พ.ศ. 1830 "มองโกล" ยกทัพมาตีพม่า ทำให้มอญได้รับเอกราชอีกครั้ง มะกะโท หรือพระเจ้าฟ้ารั่ว หรือวาเรรุ ราชบุตรเขยของ "พ่อขุนรามคำแหง" ได้กอบกู้เอกราช และสถาปนาราชวงค์ชาน-ตะเลง สถาปนา"อาณาจักรมอญอิสระ" มีศูนย์กลางที่เมืองเมาะตะมะ ซึ่งเป็นเมืองของมอญจนถึงปี พ.ศ. 1912 จากนั้นย้ายกลับไปหงสาวดีตามเดิม และในรัชสมัยพระเจ้าราชาธิราช หงสาวดีรุ่งเรืองจนเป็น ศูนย์กลางทางการค้าที่ใหญ่โต ทางแถบอ่าวเบงกอล มีเมืองท่าหลายเมืองในละแวกใกล้ๆ และอาณาจักรมอญมารุ่งเรือง เจริญสูงสุดในช่วงปี พ.ศ. 2015-2035 สมัยพระเจ้าธรรมเจดีย์ ต่อมาหงสาวดีก็เสียแก่ พระเจ้าตะเบ็งชเวตี้ กษัตริย์พม่า ในปี พ.ศ. 2094 จนปี พ.ศ. 2283 สมิงทอพุทธิเกศ ก็กู้เอกราชคืน มาจากพม่าได้สำเร็จ และได้ยกทัพไปตีเมืองอังวะอีกด้วย

ในปี พ.ศ. 2290 พระยาทะละ ได้ครองอำนาจแทนสมิงทอพุทธิเกศ ขยายอาณาเขตอย่างกว้างขวาง ทำให้อาณาจักรพม่าสลายตัวลง จนในปี พ.ศ. 2300 พระเจ้าอลองพญา ก็กู้อิสรภาพของพม่ากลับคืนมาได้ ทั้งยังได้โจมตีมอญ มอญตกอยู่ภายใต้อำนาจพม่า จนกระทั่งทุกวันนี้[2]

ในปัจจุบัน ชาวมอญรุ่นหลังหันมาใช้ภาษาพม่ากันมาก และมีจำนวนมากที่เลิกใช้ ภาษามอญ จนคิดว่าตนเป็นพม่า อีกทั้งไม่ทราบว่า ตนมีเชื้อสายมอญ จากการสำรวจประชากรมอญในปี ค.ศ. 1931 พบว่ามีจำนวนแค่ 3 แสน 5 หมื่นคน ต่อมาในปี ค.ศ. 1939 ได้มีการก่อตั้งสมาคมชาวมอญ และมีการสำรวจประชากรมอญอีกครั้ง พบว่ามีราว 6 แสนกว่าคน พอต้นสมัยสังคมนิยมสำรวจได้ว่ามีชาวมอญราว 1 ล้านกว่า ชาวมอญที่ยังพูดภาษามอญในชีวิตประจำวันอยู่ มีในหมู่บ้านในเมืองไจก์ขมี และเมืองสะเทิม แต่ในเขตเมืองก็จะพบแต่ชาวมอญที่พูดภาษาพม่าเป็นส่วนมาก[3]

[แก้] พระมหากษัตริย์และราชวงศ์วงศ์ของอาณาจักรชนชาติมอญนั้น อาจแบ่งได้เป็น 3 ยุค ยุคแรกคือยุคราชวงศ์สะเทิม-สุธรรมวดี มีกษัตริย์ปกครอง 57 พระองค์ เริ่มจากสมัยพระเจ้าสีหราชา มาจนถึงสมัยพระเจ้ามนูหา เชื่อว่ายุคนี้ครอบครองพื้นที่ได้ ทั้งอาณาจักรทวารวดีและอาณาจักรสะเทิม ยุคแรกสิ้นสุดลงเมื่อพระเจ้าอโนรธาแห่งพุกาม ยกทัพมาตีเมืองสะเทิมในสมัยพระเจ้ามนูหา ซึ่งนักประวัติศาสตร์ไทยบางท่านเชื่อว่าพระเจ้าอโนรธาน่าจะยกมาตีถึงนครปฐม

ยุคที่สอง เป็นยุคราชวงศ์พะโค-หงสาวดี มีกษัตริย์ปกครอง 17 พระองค์ องค์แรก ๆ คือ พระเจ้าสมละและพระเจ้าวิมละ และสิ้นสุดในสมัยพระเจ้าติสสะ ส่วนยุคที่ 3 คือยุคราชวงศ์เมาะตะมะ-พะโค เริ่มจากสมัยพระเจ้าวารีรู หรือพระเจ้าฟ้ารั่ว พระองค์มีมเหสีเป็นราชธิดาของพ่อขุนรามคำแหง กษัตริย์ของไทย ต่อมาในสมัยพญาอู ได้ย้ายราชธานีมาอยู่ ณ เมืองพะโคหรือหงสาวดี ราชบุตรของพระองค์คือพญาน้อย ซึ่งต่อมาก็คือพระเจ้าราชาธิราช ผู้ทำสงครามยาวนานกับกษัตริย์พม่าในสมัยพระเจ้าซวาส่อแก กับ พระเจ้ามีงคอง ขุนพลสำคัญของพระเจ้าราชาธิราช ก็คือ สมิงพระราม ละกูนเอง และแอมูน-ทยา กษัตริย์องค์สุดท้ายของมอญคือ พระเจ้าพยะมองธิราช ซึ่งพระเจ้าอลองพยาปราบมอญ จนพ่ายในปี ค.ศ. 1757[3]

[แก้] วัฒนธรรม[แก้] ภาษาและอักษรมอญภาษามอญ มีการใช้มานานประมาณ 3,000-4,000 ปี เป็นภาษาในในสายโมนิค มีผู้ใช้ภาษานี้อยู่ประมาณ 5,000,000 คน ส่วนอักษรมอญ มีความเก่าแก่ พบหลักฐานในประเทศไทยที่ จารึกวัดโพธิ์ร้าง พ.ศ. 1143 เป็นอักษรมอญโบราณที่เก่าแก่ที่สุด ในบรรดาจารึกภาษามอญที่ได้ค้นพบ ในแถบเอเซียอาคเนย์ เป็นจารึกที่เขียนด้วยตัวอักษรปัลลวะ ที่ยังไม่ได้ดัดแปลงให้เป็น อักษรมอญ พบว่ามีการประดิษฐ์อักษรมอญขึ้น เพื่อให้พอกับเสียงในภาษามอญ ในจารึกเสาแปดเหลี่ยมที่ศาลสูง เมืองลพบุรี และยังพบจารึก จารึกในพุทธศตวรรษที่ 14 ราว พ.ศ. 1314 เป็น ตัวอักษรหลังปัลลวะ มีเนื้อหาเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา

หลักฐานจารึกในสมัยกลางประมาณ พ.ศ. 1600 เป็นต้นมา บันทึกทั้งภาษามอญและอักษรมอญ ซึ่งพม่าก็รับอักษรมอญมาใช้เขียนภาษาพม่าเป็นครั้งแรก ประมาณพุทธศตวรรษที่ 16-17 ตัวอักษรได้คลี่คลายจากตัวอักษรปัลลวะ มาเป็นตัวอักษรสีเหลี่ยม ก็คืออักษรมอญโบราณ และเปลี่ยนแปลงขนาดเล็กลงในระยะต่อมา จนในพุทธศตวรรษที่ 21 ก็ได้กลายเป็นอักษรมอญปัจจุบัน ที่มีลักษณะกลม สันนิษฐานว่าเกิดจากการจารหนังสือโดยใช้เหล็กจารลงบนใบลาน มอญปัจจุบันมีอายุ ประมาณ 400 ปีเศษ [4]

ภาษามอญจัดอยู่ในตระกูลภาษาออสโตรเอเซียติค (Austroasiatic Languages) ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้กันอยู่ในแถบอินโดจีนและทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย และเมื่อพิจารณาลักษณะทางไวยากรณ์ ภาษามอญ จัดอยู่ในประเภทภาษาคำติดต่อ (Agglutinative) อยู่ในกลุ่มภาษาตะวันออกเฉียงใต้ (South Eastern Flank Group) นักภาษาศาสตร์ที่ชื่อ วิลเฮม สชมิต (Willhelm Schmidt) ได้จัดให้อยู่ในตระกูลภาษาสายใต้ (Austric Southern family)

พระยาอนุมานราชธนได้กล่าวถึงภาษามอญไว้ว่า "ภาษามอญ นั้นมีลักษณะเป็นภาษาคำโดด ซึ่งมีรูปภาษาคำติดต่อปน ลักษณะคำมอญ จะมีลักษณะเป็นคำพยางค์เดียว หรือสองพยางค์ ส่วนคำหลายพยางค์ เป็นคำที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาบาลีและสันสกฤต และคำที่เกิดจากการเติมหน่วยคำผสาน กล่าวคือ การออกเสียงของคำซึ่งไม่เน้นการออกเสียงในพยางค์แรก จะสร้างคำโดยการใช้การผสานคำ (affixation) กับคำพยางค์แรก เพื่อให้มีหน้าที่ทางไวยากรณ์ อีกทั้งการใช้หน่วยผสานกลางศัพท์ และการใช้สระต่าง ๆ กับพยางค์แรก ในคำสองพยางค์ ก็จะเป็นการช่วยเน้นให้พยางค์แรกเด่นชัดขึ้นด้วย แต่พยางค์หลังเป็นส่วนที่มีความหมายเดิม"

สรุปคือ ภาษามอญ เป็นภาษาที่มีโครงสร้างไม่ซับซ้อน ไม่มีการผันคำนาม คำกริยา ตามกฏบังคับทางไวยากรณ์ ประโยคประกอบด้วย คำที่ทำหน้าประธาน กริยา และกรรม ส่วนขยายอยู่หลังคำที่ถูกขยาย[5]

ในประเทศไทยเอง ก็มีการใช้ภาษามอญในการสื่อสารในชุมชนมอญแต่ละชุมชนในจังหวัดต่างๆ และในแต่ละชุมชนนั้นเองก็มีสำเนียงเฉพาะที่แตกต่างไปในชุมชนที่อาศัยซึ่งอาจได้รับอิทธิพลจากชุมชนอื่นที่ไม่ใช่ชาวมอญซึ่งอยู่ใกล้เคียงกัน โดยในบางชุมชนยังคงมีการสอนลูกหลานให้พูดภาษามอญกัน แต่บางชุมชนภาษามอญก็มีการใช้สื่อสารน้อยลง แต่อย่างไรก็ตามในจังหวัดสมุทรสาครก็มีชาวมอญจากประเทศพม่าที่อพยพเข้ามาเป็นแรงงานต่างด้าวในจังหวัด ซึ่งได้นำภาษาพูดและภาษาเขียนกลับเข้ามาในชุมชนมอญแถบมหาชัยอีกครั้งหนึ่ง ทำให้มีการใช้ภาษามอญ รวมไปถึงป้ายข้อความภาษามอญให้พบเห็นโดยทั่วไป[6]

[แก้] ศิลปะ"ศิลปวัฒนธรรมมอญ"นั้น กลายเป็นศิลปวัฒนธรรมของพม่าไปหมด ศิลปวัฒนธรรมส่วนใหญ่นั้น พม่าได้รับไปจาก"มอญ" คือ "ศิลปวัฒนธรรมมอญ"มีเหนือพม่า เช่น สถาปัตยกรรมแบบปรางค์ ขอม-เขมร มีต่อสถาปัตยกรรมไทย ศิลปสถาปัตยกรรมประเภทเรือนยอด (กุฏาคาร) คือหลังคาที่มียอดแหลมต่อขึ้นไป โดยเฉพาะเรือนยอดทรงมณฑปนี้ เรือนยอด (Spire) ทรงมณฑปนี้ เป็น"สถาปัตยกรรมมอญ" และไทยนำมาดัดแปลงต่อมา

ศิลปดนตรี นั้น ไทยได้รับอิทธิพลจาก"มอญ"มามาก เช่น ไทยเรารับ"ปี่พาทย์มอญ" และรับได้ดีทั้งรักษาไว้จนปัจจุบัน และให้เกียรติ์เรียกว่า ปี่พาทย์มอญ นิยมบรรเลงในงานศพ ดนตรีไทยที่มีชื่อเพลงว่า มอญ นั้น นับได้ 17 เพลง เช่น มอญดูดาว มอญชมจันทร์ มอญรำดาบ มอญอ้อยอิ่ง นอกจากนี้ก็ยังมี มอญร้องไห้ มอญนกขมิ้น ฯลฯ และยังมี"แขกมอญ" คือ ทำนองทั้งแขกทั้งมอญ เช่น แขกมอญบางขุนพรหม แขกมอญบางช้าง เป็นต้น เพลงทำนองของมอญ มีความสง่าภาคภูมิ เป็นผู้ดีมีวัฒนธรรม และค่อนข้างจะเย็นเศร้า ซึ่งเป็นลักษณะของผู้มีวัฒนธรรมสูง ย่อมสงวนทีท่าบ้างเป็นธรรมดา แต่ที่สนุกสนานก็มีบ้าง เช่น กราวรำมอญ มอญแปลง ฯ ส่วนเครื่องดนตรีประเภทให้จังหวะ คือ กลอง ที่เรียกว่าเปิงมาง นั้น คาดว่าเป็น"มอญ" ไทยเรานำมาผสมวง ทำคอกล้อม เป็นวงกลมหลายวง เรียกว่า เปิงมางคอก ตีแล้วฟังสนุกสนาน

[แก้] ประเพณีและศาสนาขนบธรรมเนียม ประเพณีของชาวมอญนั้น มีวัฒนธรรมเป็นแบบฉบับมายาวนาน บางอย่างมีอิทธิพลให้กับชนชาติใกล้เคียงด้วย เช่น ประเพณีสงกรานต์ ปล่อยนกปล่อยปลา ข้าวแช่ ฯลฯ บางอย่างก็ถือปฎิบัติกันแต่เฉพาะในหมู่ชนมอญเท่านั้น ชาวมอญเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างลึกซึ้ง ขณะเดียวกันก็นับถือผี บรรพบุรุษกับผีอื่น ๆ ที่มีอิทธิฤทธิ์ รวมทั้งเทวดาองครักษ์[7]

[แก้] มอญในประเทศไทย[แก้] หลักฐานทางประวัติศาสตร์หลักฐานทางโบราณคดีที่พบในสมัยพุทธศตวรรษที่ 11–13 คือเหรียญเงินเส้นผ่าศูนย์กลาง 19 ม.ม. พบที่นครปฐม และอู่ทองนั้น พบว่ามีอักษรจารึกไว้ว่า “ศรีทวารวดีศวร”และ มีรูปหม้อน้ำกลศอยู่อีกด้านหนึ่ง ทำให้เชื่อได้ว่า ชนชาติมอญโบราณ ได้ตั้งอาณาจักรทวารวดี (บางแห่งเรียกทวาราวดี) ขึ้นในภาคกลางของดินแดนสุวรรณภูมิ

มีศูนย์กลางที่เมืองนครปฐมโบราณ (ลุ่มแม่น้ำท่าจีนหรือนครชัยศรี) กับเมืองอู่ทองและเมืองละโว้ (ลพบุรี) ต่อมาได้ขยายอำนาจขึ้นไป ถึงเมืองหริภุญชัยหรือลำพูน มีหลักฐานเล่าไว้ว่า ราว พ.ศ. 1100 พระนางจามเทวี ราชธิดาของเจ้าเมืองลวปุระหรือละโว้ลพบุรี ได้อพยพผู้คนขึ้นไปตั้งเมืองหริภุญชัยที่ลำพูน ส่วนที่เมืองนครปฐมนั้นมีการพบ พระปฐมเจดีย์ และมีการพบจารึกภาษาปัลลวะ บาลี สันสกฤต และ ภาษามอญ ที่บริเวณพระปฐมเจดีย์และบริเวณใกล้เคียง พบจารึก ภาษามอญ อักษรปัลลวะ บันทึกเรื่องการสร้างพระพุทธรูป เสาหงส์ วิหาร และแนวต้นมะพร้าวเป็นอาณาเขตพระอารามที่วัดโพธิ์ร้าง จังหวัดนครปฐม อายุราว พ.ศ. 1200 (ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์พระปฐมเจดีย์) และพบ จารึกมอญ ที่ลำพูนอายุราว พ.ศ. 1628 (ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ หริภุญไชย จังหวัดลำพูน)

ต่อมาอาณาจักรขอมหลังจากพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 สวรรคตใน พ.ศ. 1732 อำนาจก็เริ่มเสื่อมลง รวมถึงให้พ่อขุนบางกลางหาว ที่สถาปนาเป็น พ่อขุนศรีอินทราทิตย์ และประกาศตั้งอาณาจักรสุโขทัย เป็นอิสระจากการปกครองของขอม พ่อขุนรามคำแหง พระราชโอรสของขุนศรีอินทราทิตย์ ได้ครองราชย์และทรงดัดแปลงอักษรขอมและ มอญ มาประดิษฐเป็นลายสือไทย

ด้านจารึกภาษามอญ บนใบลานนั้น พบมากมายตาม หมู่บ้านมอญ ในประเทศไทย ส่วนที่ประเทศพม่าพบมากตาม หมู่บ้านมอญในเมืองสะเทิมและเมืองไจก์ขมี ซึ่งมีการคัดลอกและรวบรวมนำมาเก็บไว้ ที่หอสมุดแห่งชาติเมืองย่างกุ้ง และที่ห้องสมุดมอญเมืองเมาะลำไย นอกจากนี้กองโบราณคดีและกองวัฒนธรรม ยังได้จัดพิมพ์วรรณกรรม ชาดก ตำรามอญ และเคยมีการริเริ่มจัดพิมพ์พจนานุกรมมอญ-พม่าอีกด้วย

[แก้] มอญอพยพทุกวันนี้ ชนชาติมอญ ไม่มีอาณาเขตประเทศปกครองตนเอง เนื่องจากตกอยู่ในภาวะสงคราม และการแย่งชิงราชสมบัติกันเอง และการรุกรานของพม่า ชาวมอญอยู่อย่างแสนสาหัส ถูกกดขี่รีดไถ การเกณฑ์แรงงานก่อสร้าง ทำไร่นาหาเสบียงเพื่อการสงคราม และเกณฑ์เข้ากองทัพ โดยเฉพาะสงครามในปี พ.ศ. 2300 เป็นสงครามครั้งสุดท้าย ที่คนมอญพ่ายแพ้แก่พม่าอย่างราบคาบ ชาวมอญส่วนหนึ่งจึงอพยพโยกย้ายเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนในเมืองไทยหลายต่อหลายครั้ง เท่าที่มีการจดบันทึกเอาไว้รวมทั้งสิ้น 9 ครั้ง

ครั้งที่ 1 เมื่อ พระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้ตีหงสาวดีแตกใน พ.ศ. 2082 ชาวมอญจำนวนมากหนีเข้ามากรุงศรีอยุธยา พระเจ้าแผ่นดินโปรดฯให้ตั้งบ้านเรือนอยู่แถบตัวเมืองกรุงศรีอยุธยาชั้นนอก พระยาเกียรติพระยารามและครัวเรือน ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่แถบตัวเมืองชั้นใน ใกล้พระอารามวัดขุนแสน และเมื่อถึง พ.ศ. 2084 ราชวงศ์ตองอูตีเมืองเมาะตะมะแตก มีการฆ่าฟันชาวมอญลงขนาดใหญ่ ก็เข้าใจว่ามีมอญหนีเข้ามาสู่กรุงศรีอยุธยาอีก ถือเป็นระลอกแรกของมอญอพยพ

ครั้งที่ 2 เมื่อพระนเรศวรเสด็จไปพม่าเมื่อคราวพระเจ้าบุเรงนองสิ้นพระชนม์ แล้วประกาศเอกราช ทรงชักชวนมอญที่เข้าสวามิภักดิ์ ให้อพยพเข้ามาพร้อมกัน ราว พ.ศ. 2127 ในการอพยพครั้งนี้ไม่ปรากฏว่าพระเจ้าแผ่นดินโปรดฯ ให้ตั้งบ้านเรือนที่ใด แต่คาดว่าคงเป็นย่านเดียวกับการอพยพคราวแรก

ครั้งที่ 3 เกิดขึ้นเมื่อหงสาวดีถูกยะไข่ทำลายใน พ.ศ. 2138 ครั้งนี้ก็มีการอพยพใหญ่ของ มอญ มาทางตะวันออกเข้าสู่ดินแดนของกรุงศรีอยุธยาอีก

ครั้งที่ 4 หลังจากที่ราชวงศ์ตองอูย้ายราชธานีไปอยู่ที่อังวะ หลังจากหงสาวดีถูกทำลายแล้ว พวกมอญ ตั้งอำนาจขึ้นใหม่ในดินแดนของตน ต่อมา ถึงรัชกาลพระเจ้านอกเปกหลุน พม่าจึงยกทัพมาปราบพวกมอญอีกใน พ.ศ. 2156 ทำให้เกิดการอพยพของมอญเข้าสู่กรุงศรีอยุธยาอีก หลักฐานบางแห่งกล่าวว่า มอญ กลุ่มนี้ได้รับอนุญาตให้ตั้งภูมิลำเนาอยู่ตามแนวชายแดนไทย

ครั้งที่ 5 ใน พ.ศ. 2204 หรือ 2205 พวกมอญในเมืองเมาะตะมะก่อการกบฎขึ้นอีก แต่ถูกพม่าปราบลงได้ จึงต้องอพยพหนีเข้ากรุงศรีอยุธยาอีกระลอกหนึ่ง ผ่านทางด่านเจดีย์สามองค์ เข้าใจว่ากลุ่มนี้สัมพันธ์กับกลุ่มมอญที่ตั้งอยู่ชายแดน

ครั้งที่ 6 หลังจากที่มอญสามารถตั้งอาณาจักรของตนขึ้นได้ใหม่ในปลายราชวงศ์ตองอู แล้วยกกำลังไปตีกรุงอังวะแตก อลองพญารวบรวมกำลังพม่าแล้วลุกขึ้นต่อสู้จนในที่สุดก็ตั้งราชวงศ์อลองพญาได้ และใน พ.ศ. 2300 ก็สามารถตีหงสาวดีได้อีก นโยบายของราชวงศ์นี้คือ กลืน มอญ ให้เป็นพม่าโดยวิธีรุนแรง จึงมีชาวมอญอพยพหนีมาสู่เมืองไทยอีกหลาย ระลอก รวมทั้งกลุ่มที่หนีขึ้นเหนือไปสู่ล้านนา และเรียกกันว่าพวก “เม็ง” ในปัจจุบันนี้

ครั้งที่ 7 ใน พ.ศ. 2316 ตรงกับแผ่นดินกรุงธนบุรี มอญก่อกบฎในย่างกุ้ง พม่าปราบปรามอย่างทารุณแล้วเผาย่างกุ้งจนราบเรียบ ทำให้มอญอพยพเข้าไทยอีก พระเจ้าตากสินทรงโปรดฯ ให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ปากเกร็ด ซึ่งทำให้เกิดกลุ่มมอญเก่า (พระยารามัญวงศ์) และมอญใหม่ (พระยาเจ่ง) คนที่นับตัวเองเป็น มอญ ในปัจจุบันล้วนอพยพเข้ามาจากระลอกนี้ หรือหลังจากนี้ทั้งนั้น ส่วน มอญ ที่อพยพก่อนหน้านี้กลืนหายเป็นไทยไปหมด แม้แต่กลุ่มที่อยู่ตามชายแดนแถบเมืองกาญจนบุรี

ครั้งที่ 8 พ.ศ. 2336 เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ยึดเมืองทวายได้ แต่รักษาไว้ไม่ได้ ต้องถอยกลับเข้าไทย ก็นำเอาพวกมอญโดยเฉพาะที่เป็นพวกหัวหน้าเข้ามาอีก

ครั้งที่ 9 พ.ศ. 2357 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 เมื่อ มอญ ไม่พอใจที่ถูกพม่าเกณฑ์แรงงานก่อสร้างพระเจดีย์ ก่อกบฎที่เมืองเมาะตะมะ ถูกพม่าปราบ ต้องหนีเข้าไทยเป็นระลอกใหญ่มาก ราว 40,000 คนเศษ เจ้าฟ้ามงกุฎ (ต่อมาคือรัชกาลที่ 4) เสด็จเป็นแม่กองพร้อมด้วยกรมหลวงพิทักษ์มนตรี ออกไปรับถึงชายแดน พวกนี้มาตั้งรกรากที่สามโคก (ปทุมธานี) ปากเกร็ด และพระประแดง มอญที่อพยพเข้ามาครั้งนี้เรียกกันว่ามอญใหม่[8]

[แก้] ชุมชนมอญชาวมอญได้อพยพมาพำนักอยู่ประเทศไทยตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ในสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระยาเกียรติและพระยารามขุนนางมอญที่มีความดีความชอบในราชการและกลุ่มญาติพี่น้องได้รับพระราชทานที่ดินตั้งบ้านเรือน ณ บ้านขมิ้น ซึ่งได้แก่บริเวณวัดขุนแสนในปัจจุบัน มอญในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ ทั้งกลุ่มชาวมอญเก่าที่อยู่มาแต่เดิมและกลุ่มมอญใหม่ได้รับพระราชทานที่ดินให้ตั้งชุมชนอยู่ชานกรุงศรีอยุธยาบริเวณวัดตองปุและคลองคูจาม

นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงกลุ่มชาวมอญที่มีอาชีพฆ่าเป็ดไก่ขายที่ตลาดวัดวัวควาย และมีตลาดมอญขายขัน ถาดทองเหลือง ซึ่งเป็นทั้งตลาดสดด้วย ตั้งอยู่ภายนอกกำแพงเมืองด้านใต้ บริเวณปากคลองเกาะแก้วมีชาวมอญบรรทุกมะพร้าว ไม้แสมทะล และเกลือมาจำหน่าย

ในสงครามเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2 ผู้นำชุมชนชาวมอญในกรุงศรีอยุธยาคือสุกี้พระนายกอง ได้อาสากองทัพพม่าทำสงครามกับอยุธยา และรวบรวมกองทัพมอญได้ถึง 2,000 คน[9] ในปัจจุบันแม้จะไม่มีชุมชนของผู้สืบเชื้อสายมอญภายในกรุงศรีอยุธยาอยู่ในบริเวณที่กล่าวถึงในประวัติศาสตร์แต่ก็ยังมีชุมชนมอญและกลุ่มวัฒนธรรมมอญกระจายอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาจากพระนครศรีอยุธยาลงมาจนถึงกรุงเทพฯหลายชุมชน ชาวมอญได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ทั่วไปตามที่ราบลุ่มริมน้ำภาคกลาง ได้แก่ ลพบุรี สระบุรี อยุธยา นครปฐม กาญจนบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง นครนายก ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรสงคราม สมุทรปราการ สมุทรสาคร กรุงเทพฯ ฉะเชิงเทรา เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และบางส่วนตั้งภูมิลำเนาอยู่แถบภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ อุทัยธานี ทางภาคอีสาน ได้แก่ นครราชสีมา มีบ้างเล็กน้อยที่อพยพลงใต้ อย่าง ชุมพร สุราษฎร์ธานี โดยมากเป็นแหล่งที่พระเจ้าแผ่นดินทรงโปรดฯ พระราชทานที่ดินทำกินให้แต่แรกอพยพเข้ามา

ชุมชนมอญในประเทศไทย[10]

มอญบางจะเกร็ง จ.สมุทรสงคราม
มอญบางปลา จ.สมุทรสาคร
มอญบ้านเก่า จ.อุทัยธานี
มอญสลุย จ.ชุมพร
มอญหนองดู่ จ.ลำพูน
บ้านมอญ จ.นครสวรรค์
มอญบางไส้ไก่ กรุงเทพฯ
มอญบ้านโป่ง-โพธาราม จ.ราชบุรี
มอญกระทุ่มมืด จ.นครปฐม
มอญสามโคก จ.ปทุมธานี
มอญบ้านเสากระโดง จ.อยุธยา
คลองมอญ กรุงเทพฯ
สะพานมอญ กรุงเทพฯ
มอญปากเกร็ด จ.นนทบุรี
มอญบางกระดี่ กรุงเทพ
มอญบางขันหมาก จ.ลพบุรี
มอญคลองสิบสี่ (มอญหนองจอก) กรุงเทพฯ
มอญลาดกระบัง กรุงเทพฯ
มอญปากลัด (มอญพระประแดง) จ.สมุทรปราการ
มอญเกาะเกร็ด จ.นนทบุรี
มอญ จ.สมุทรสาคร
มอญเกาะรัตนโกสินทร์ กรุงเทพฯ
มอญปทุมธานี จ.ปทุมธานี


[แก้] อ้างอิง1.^ มอญ : ชนชาติเจ้าของอารยธรรมอันเก่าแก่ในแผ่นดินพม่า
2.^ มอญ : ชนชาติบนแผ่นดินสุวรรณภูมิ
3.^ 3.0 3.1 วิรัช นิยมธรรม, มอญ : ต้นตออารยธรรมอุษาคเนย์ เรียบเรียงจากข้อเขียนของนายปันหละ พิมพ์ในสารานุกรมพม่า ฉบับที่ 10
4.^ อักษรมอญ
5.^ ภาษามอญ
6.^ สุกัญญา เบาเนิด ว่าด้วยตัวตนคนมอญย้ายถิ่นในมหาชัย. วารสารเมืองโบราณ
7.^ http://www.thaiws.com/pmch/monstudies.htm
8.^ จุลลดา ภักดีภูมินทร์, เล่าเรื่องมอญ บทความ-สารคดี ฉบับที่ 2486 ปีที่ 48 ประจำวันอังคารที่ 11 มิถุนายน 2545
9.^ ชุมชนมอญ
10.^ ชุมชนมอญ monstudies.com
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่นhttp://www.monstudies.com
http://www.kaowao.org
http://www.monlopburi.com
เพลงมอญ
http://www.monnews-imna.com/ (อังกฤษ)
http://www.monentertainment.zoomshare.com เพลงมอญMusicVideo





นั่น....ช่วงนี้ จะออกแนววิชาการ มากกกหน่อย ปวดตากันซิเรา.......อิ อิ .....
จาก : xr-boy(xr-boy) 17/2/2555 12:45:49 [180.183.118.207]
 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

kookyz จาก กุ๊ก/kookyz 27.130.151.148 ศุกร์, 17/2/2555 เวลา : 12:11  IP : 27.130.151.148   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 52511

คำตอบที่ 755
       อ่านคอลัมภ์ที่พี่ kook นำมาลงแล้ว โอ้ววว ... พูดไม่ออก ไม่น่าเชื่อว่าเคยมีนักเดินทางผ่านเส้นทางที่ว่านี้มาเป็นสิบปีแล้ว เป็นภาพ และข้อมูลที่ไม่เคยเห็นมาก่อนเลย เปิดโลกทัศน์ผมจริง ๆ

ขอบคุณครับ
...



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

panmiles จาก panmiles 58.8.173.100 ศุกร์, 17/2/2555 เวลา : 12:19  IP : 58.8.173.100   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 52513

คำตอบที่ 756
       ขอบคุณ คุณ panmiles ที่กล่าวชมผมและเข้ามาชมและทักทายกัน มีผู้คนอีกมากมาย ที่ท่องเที่ยวและเดินทางในช่องทางนี้ มาช้านานแต่บางท่านอาจไม่ได้เก็บภาพไว้หรือไม่ได้เล่นเน็ต จึงไม่ได้ถ่ายทอด บอกกล่าวให้ใครฟัง เส้นทางนี้เป็นเส้นทางติดต่อ-ค้าขาย ไป-มา หาสู่กันมาช้านาน เราเพียงมาขีดเขตแดนแบ่งแยกว่าเป็น ไทย-พม่า เท่านั้นครับ

ใครใช้นามสกุลนี้หรือรู้จักนามสกุลนี้ มาอ่านข้อมูลแบ่งปันความรู้กัน นามสกุล ภูมาธิบดี เสลาคุณและ เสลากุล มีประวัติยาวนานนะครับ


ประวัติมอญ 7 หัวเมืองกับเมืองกาญจนบุรี(อ่าน 1193/ ตอบ 0)



chumporn
c26042507@gmail.com หัวข้อ :ประวัติมอญ 7 หัวเมืองกับเมืองกาญจนบุรี 01/04/2011 , 16:24 Quote
จากหลักฐานทางเอกสารที่เก่าแก่ที่สุดที่กล่าวถึงเมืองกาญจนบุรี คือ พงศาวดารเหนือ กล่าวว่า "กาญจนบุรีเป็นเมืองพญากง พระราชทานบิดาของพระยาพาน เป็นเมืองสำคัญของแคว้นอู่ทอง หรือสุวรรณภูมิ มีผู้สันนิษฐานว่าพญากงสร้างขึ้นราว พ.ศ.1350" ต่อมาขอมได้แผ่อิทธิพลนำเอาศาสนาพุทธมหายานเข้ามาประดิษฐานในเมืองกาญจนบุรี ปรากฏหลักฐานคือปราสาทเมืองสิงห์ เมืองครุฑ เมืองกลอนโด จนอำนาจอิทธิพลขอมเสื่อมลงไป



สมัยอยุธยาเป็นราชธานี



ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองกาญจนบุรีปรากฏชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ต้องกลายมาเป็นเมืองหน้าด่าน เพราะตั้งอยู่ติดกับประเทศคู่สงครามคือพม่า กาญจนบุรีจึงเป็นเส้นทางเดินทัพและสมรภูมิ ด้วยเหตุว่ามีช่องทางเดินติดต่อกับพม่า คือ ด่านพระเจดีย์สามองค์ และด่านบ้องตี้ จึงนับว่ามีความสำคัญที่สุดเมืองหนึ่งในทางยุทธศาสตร์ ยังปรากฏชื่อสถานที่ในพงศาวดารหลายแห่งเช่น ด่านพระเจดีย์สามองค์ สามสบ ท่าดินแดง พุตะไคร้ เมืองด่านต่าง ๆ เมืองกาญจนบุรีตั้งอยู่ในช่องเขาริมลำน้ำแควใหญ่มีลำตะเพินอยู่ทางด้านทิศเหนือ ด้านหลังติดเขาชนไก่ ห่างจากที่ตั้งปัจจุบันไปประมาณ 14 กิโลเมตร ชาวบ้านเรียกกันว่าเมืองกาญจนบุรีเก่ามีผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 170x355 เมตร มีป้อมมุมเมืองก่อด้วยดินและหินทับถมกัน ลักษณะของการตั้งเมืองเหมาะแก่ยุทธศาสตร์ในสมัยนั้นอย่างยิ่ง ด้วยเป็นซอกเขาที่สกัดกั้นพม่าที่ยกมาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ มุ่งจะไปตีเมืองสุพรรณบุรีและอยุธยาจำเป็นต้องตีเมืองกาญจนบุรีให้ได้เสียก่อน หากหลีกเลี่ยงไปอาจจะถูกกองทัพที่เมืองกาญจนบุรีตีกระหนาบหลัง ปัจจุบันยังมีซากกำแพงเมือง ป้องปราการ พระปรางค์ เจดีย์ และวัดร้างถึง 7 วัดด้วยกัน สมัยอยุธยานี้ไทยต้องทำสงครามกับพม่าถึง 24 ครั้ง กาญจนบุรีเป็นสมรภูมิหลายครั้ง และเป็นทางผ่านไปตีอยุธยาจนต้องเสียกรุงครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2310 และต้องย้ายราชธานีใหม่



สมัยธนบุรีเป็นราชธานี



กรุงธนบุรีเป็นราชธานีใหม่จากการกู้เอกราชโดยพระเจ้ากรุงธนบุรี ในสมัยนี้เกิดสงครามกับพม่าถึง 10 ครั้ง กาญจนบุรีเป็นสมรภูมิอีกหลายครั้ง เช่น สงครามที่บางกุ้ง และที่บางแก้ว ซึ่งมีสมรภูมิรบกันที่บริเวณบ้านหนองขาว



สมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี



เมื่อไทยย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงเทพฯ เพียง 3 ปี ก็เกิดสงครามใหญ่คือ สงคราม 9 ทัพ แต่ไทยสามารถยันกองทัพพม่าแตกพ่ายไปได้ ณ สมรภูมิรบเหนือทุ่งลาดหญ้าในปีต่อมาก็ต้องทำสงครามที่สามสบและท่าดินแดงอีก และไทยตีเมืองทวาย จากนั้นจะเป็นการรบกันเล็กน้อยและมีแต่เพียงข่าวศึก เพราะพม่าต้องไปรบกับอังกฤษในที่สุดก็ตกเป็นเมืองขึ้น และเลิกรบกับไทยตลอดไป ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นยุทธศาสตร์การรบเปลี่ยนไป โดยเหตุที่พม่าต้องนำทัพลงมาทางใต้เพื่อเข้าตีกรุงรัตนโกสินทร์ จำเป็นต้องมีทัพเรือล่องลงมาจากสังขละบุรี มาตามลำน้ำแควน้อยผ่านอำภอไทรโยค มายังปากแพรก ซึ่งเป็นที่รวมของแม่น้ำทั้งสอง ด้วยเหตุนี้หลังจากสิ้นสงคราม 9 ทัพแล้ว จึงได้เลื่อนที่ตั้งฐานทัพจากเมืองกาญจนบุรีที่ลาดหญ้า มาตั้งที่ตำบลปากแพรก ซึ่งเป็นที่รวมของแม่น้ำทั้ง 2 สาย กลายเป็นแม่น้ำแม่กลอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงอธิบายว่า "ที่จริงภูมิฐานเมืองปากแพรกดีกว่าเขาชนไก่ เพราะตั้งอยู่ในที่รวมของแม่น้ำทั้ง 2 สาย พื้นแผ่นดินที่ตั้งเมืองก็สูงแลเห็นแม่น้ำน้อยได้ไกล ป้อมกลางย่านตั้งอยู่กลางลำน้ำทีเดียว แต่เมืองกาญจนบุรีที่ย้ายมาตั้งใหม่นี้เดิมปักเสาระเนียดแล้วถมดินเป็นเชิงเทินเท่านั้น" ในสมัยรัชกาลที่ 2 กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ได้เสด็จออกมาขัดตาทัพ กำแพงเมืองก็คงเป็นระเนียดไม้อยู่ ต่อมาจนถึง พ.ศ.2374 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้โปรดให้ก่อสร้างกำแพงเมืองและป้อมปราการขึ้นเป็นถาวร ทั้งนี้โดยมีพระราชประสงค์ส่วนใหญ่เพื่อติดต่อค้าขายกับเมืองราชบุรี ดังพระราชนิพนธ์เสด็จพระพาสไทรโยค กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า "แต่มีเมืองปากแพรกเป็นที่ค้าขาย ด้วยเขาชนไก่เมืองเดิมอยู่เหนือมากมีแก่งถึงสองแก่ง ลูกค้าไปมาลำบาก จึงลงมาตั้งเมืองเสียที่ปากแพรกนี้เป็นทางไปมาแก่เมืองราชบุรีง่าย เมืองที่สร้างขึ้นใหม่ กว้าง 5 เส้น ยาว 18 วา มีป้อม 4 มุมเมือง ป้อมย่านกลางด้านยาวตรงหน้าเมืองทิศตะวันตกเฉียงใต้มีป้อมใหญ่อยู่ตรงเนิน ด้านหลังมีป้อมเล็กตรงกับป้อมใหญ่ 1 ป้อม" การสร้างเมืองกาญจนบุรีใหม่นี้ ดังปรากฏในศิลาจารึกดังนี้ ให้พระยาราชวรินทร์ เจ้ากรมพระตำรวจเป็นพระยาประสิทธิสงครามรามภักดีศรีพิเศษประเทศนิคมภิรมย์ราไชยสวรรค์พระยากาญจนบุรี ครั้งกลับเข้าไปเฝ้าโปรดเกล้าฯว่าเมืองกาญจนบุรีเป็นเมืองอังกฤษ พม่า รามัญ ไปมาให้สร้างเมืองก่อกำแพงขึ้นไว้จะได้เป็นชานพระนครเขื่อนเพชรเขื่อนขัณฑ์มั่นคงไว้แห่งหนึ่ง ในปัจจุบันกำแพงถูกทำลายลงโดยธรรมชาติและหน่วยราชการเพื่อประโยชน์อย่างอื่น เหลือเพียงประตูเมืองและกำแพงเมืองบางส่วน



การปกครองของเมืองกาญจนบุรี



ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นประกอบด้วยเมืองด่าน 8 เมือง อยู่ในแควน้อย 6 เมือง แควใหญ่ 2 เมือง ตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ในทางยุทธศาสตร์ เพราะได้ตั้งให้พวกมอญอาสา มอญเชลย และกะเหรี่ยง เป็นเจ้าเมืองปกครองกันเอง เพื่อให้มีเกียรติศัพท์ดังออกไปเมืองพม่าว่ามีหัวเมืองแน่นหนาหลายชั้น และมีหน้าที่คอยตระเวรด่านฟังข่าวคราวข้าศึกติดต่อกันโดยตลอด เมื่อสงครามว่างเว้นลงแล้ว เจ้าเมืองกรมการเหล่านี้ก็มีหน้าที่ส่งส่วย ทองคำ ดีบุก และสิ่งอื่นๆ แก่รัฐบาลโดยเหตุที่ในสมัยนั้นมิได้จัดเก็บภาษีอากรจากพวกเหล่านี้แต่อย่างใด เมืองด่าน 7 เมือง(รามัญ 7 เมือง) ประกอบด้วยเมืองในสุ่มแม่น้ำแควน้อย 6 เมือง และแควใหญ่ 1 เมือง คือ



เมืองสิงห์



เมืองลุ่มสุ่ม



เมืองท่าตะกั่ว



เมืองไทรโยค



เมืองท่าขนุน



เมืองทอผาภูมิ



เมืองท่ากระดาน











เมืองต่างๆ เหล่านี้ผู้สำเร็จราชการเมืองยังไม่มีพระนาม ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเป็นภาษาสันสกฤตแก่ผู้สำเร็จเมือง ดังนี้



เมืองสิงห์ เป็น พระสมิงสิงห์บุรินทร์ ปัจจุบันเป็นต้นสกุล สิงคิบุรินทร์ ธำรงโชติ



เมืองลุ่มสุ่ม เป็น พระนินภูมิบดี ปัจจุบันเป็นต้นสุกล นินบดี จ่าเมือง หลวงบรรเทา



เมืองท่าตะกั่ว เป็นพระชินติฐบดี ปัจจุบันเป็นต้นสกุล ท่าตะกั่ว ชินอักษร ชินหงสา



เมืองไทรโยค เป็น พระนิโครธาภิโยค ปัจจุบันเป็นต้นสกุล นิโครธา



เมืองท่าขนุน เป็นพระปนัสติฐบดี ปัจจุบันเป็นต้นสกุล หลักคงคา



เมืองทองผาภูมิ เป็น พระเสลภูมิบดี เป็นต้นสกุลเสลานนท์ เสลาคุณ



เมืองท่ากระดาน เป็นพระผลกติฐบดี เป็นต้นสกุล พลบดี ตุลานนท์











ครั้นเมื่อมีการปกครองตามระเบียบสมัยใหม่ ร.ศ.114 เมืองด่านเหล่านี้ถูกยุบลงเป็นหมู่บ้าน ตำบล กิ่งอำเภอ เป็นอำเภอบ้างตามความสำคัญของสถานที่ ดังนี้



เมืองทองผาภูมิ (เดิมเรียกว่าท้องผาภูมิ) ยุบลงเป็นหมู่บ้านอยู่ในเขตกิ่งอำเภอสังขละบุรี(ต่อมาเป็นอำเภอสังขละบุรี) ปัจจุบันเป็นอำเภอทองผาภูมิ



เมืองท่าขนุน(สังขละบุรี) ยุบลงเป็นกิ่งอำเภอสังขละบุรี ขึ้นต่ออำเภอวังกะ ซึ่งตั้งใหม่อยู่ห่างจากท่าขนุนขึ้นไป ตั้งที่ว่าการริมน้ำสามสบ ต่อมาอำเภอวังกะและกิ่งอำเภอ สังขละบุรีได้ถูกเปลี่ยนฐานสลับกันหลายครั้ง และต่อมากิ่งอำเภอสังขละบุรีตั้งอยู่ที่ตำบลวังกะ เดิมขึ้นต่ออำเภอทองผาภูมิและเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอสังขละบุรี ส่วนกิ่งอำเภอ สังขละบุรีเดิมตั้งอยู่ที่ตำบลท่าขนุน เปลี่ยนเป็นอำเภอทองผาภูมิ ตั้งแต่ พ.ศ.2492 เป็นต้นมา



เมืองไทรโยค ยุบลงเป็นกิ่งอำเภอวังกะ ใน พ.ศ.2492 ต่อมาได้โอนขึ้นกับอำเภอเมืองกาญจนบุรี ได้ย้ายที่ทำการหลายครั้ง ปัจจุบันนี้ตั้งที่ทำการอยู่ที่ตำบลวังโพธิ์ และได้ ยกขึ้นเป็นอำเภอไทรโยค เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ.2506



เมืองท่าตะกั่ว ยุบลงเป็นหมู่บ้านอยู่ในตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค



เมืองลุ่มสุ่ม ยุบลงเป็นหมู่บ้านในตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค



เมืองสิงห์ ยุบลงเป็นหมู่บ้านอยู่ในตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค











ผู้ว่าราชการรามัญ ๗ เมือง



บรรพชนต้นตระกูลของชาวรามัญในจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี



อ.โสภณ นิไชยโยค ( ขอคัดบทเพื่อเผยแพร่ประวัติเพื่ออนุชนรุ่นหลังได้รับทราบ )



มอญที่อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงสยามโดยเฉพาะในสมัยแผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นได้เขามาอาศัยตั้งถิ่นฐานบ้าน เรือนทํามาหากินอยู่ในประเทศสยามหลายแห่งหลายตําบลหลายอําเภอและหลายจังหวัดมอญเหล่านี้ตระหนักดี วาพระมหากษัตริย์เจ้าแห่งสยามประเทศนั้นเป็นพระบรมโพธิสมภารแหล่งสุด ท้ายของพวกเขาไม่มีที่อื่นใดอีกด้วยเพราะพวกเขาได้หมดสิ้นแล้วซึ่งแผ่นดินถิ่นอาศัยสิ้นแล้วซึ่งพระเจ้าเหนือหัวของพวกเขาเองมาเป็นเวลากว่า ๒๐๐ ปีแล้วเพราะฉะนั้นมอญที่เข้ามาอยู่ใน ประเทศสยามนี้จึงได้เทิดทูนองค์พระมหากษัตราธิราชเจ้าของไทยให้ทรงเป็นองค์พระมหากษัตริยร์ของพวกตนด้วยความจงรักภักดีอย่างสูงสุดด้วยใจจริง เราคงจะเคยได้ยินได้ฟังพฤติกรรม ของชาวมอญในประเทศไทยในแห่งหนใดก็ตาม นอกจากมอญจะทําตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมไทยโดยการประพฤติตนให้ชอบตามกฎหมายบ้านเมือง ประกอบการอาชีพที่สุจริตแล้ว เราก็อาจจะเคยได้ยินว่ามีมอญจํานวนไม่ใช่น้อย ได้มีโอกาสอาสาเข้ารับราชการสนองพระเดชพระคุณในหน้าที่ต่างๆ กันบางพวกก็รับ ราชการเป็นนายทหารเป็นแม่ทัพนายกองเป็นกรมอาทมาตเป็นกรมดั้งทองเป็นกรมดาบสองมือ เป็นผู้ว่าราชการเมืองทั้งส่วนกลางและหัวเมือง มีปรากฏในประวัติศาสตร์ของ ไทยโดยเฉพาะในตอนต้น ของกรุงรัตนโกสินทร์ตลอดมา



ในโอกาสนี้จะกล่าวถึงเกียรติประวัติของมอญกลุ่มหนึ่งซึ่งเคยได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณมีความดีความชอบ และมีเกียรติคุณอันพึงยกย่องสรรเสริญ เป็นเกียรติที่ลูก หลานและทายาทพึงจะภาคภูมิใจและยึดถือเป็นฉบับที่ควรเอาอย่างตลอดไปมอญกลุ่มนี้เป็นกลุ่มชาวมอญโพธาราม ที่มีนิวาสน์สถานอยู่บริเวณบ้านคงคาราม ตําบลคลองตาคต อําเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี และอีกหลายตําบลในอําเภอโพธาราม อําเภอบ้านโป่ง และหลายๆ หมู่บ้านในอําเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี อําเภอท่า มะกา จังหวัดกาญจนบุรี ได้อพยพมาจากบ้านเกิดเมืองนอนเดิมของตนที่เป็น ประเทศ พม่า ปัจจุบันนี้แล้วก็ได้มาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนทํามาหากินอยู่ในบริเวณสถานที่ดังกล่าวแล้ว ต่อมาก็ได้อาสาเข้ารับ ราชการสนองพระเดชพระคุณโดยได้เป็นผู้ว่าราชการหัวเมืองต่าง ๆ จํานวน ๗ หัวเมือง โดยขึ้นกับเมืองกาญจนบุรี ทั้งนี้เพื่อมีหน้าที่เป็นข้าหลวงต่างพระเนตรพระกรรณ เนื่องจาก หัวเมืองต่างๆ เหล่านี้เป็นเมืองหน้าด้านเป็น ทางผ่านของอริราชศัตรูอยู่เป็นนิตย์ ส่วนหน้าที่โดยละเอียดและปลีกย่อย ตลอดจนความเป็นอยู่ของบรรดาท่านผู้ว่าราชการเหล่านี้ และชาวเมืองคนมอญที่อาศัยอยู่ด้วยจะมีเรื่องราวเป็นอย่างไรบ้างนั้น ผู้เขียนจะได้กล่าวต่อไปเป็นลําดับดังนี้



ในปีพุทธศักราช ๒๓๐๓ (ปีมะโรงจุลศักราช ๑๑๒๒)พระเจ้าอลองพญากษัตริย์พม่าได้ยกกองทัพมาตีเมืองหงสาวดี พะสิม เมาะตะมะ เมาะลําเลิง ของมอญได้ และได้เกณฑ์ให้พวก มอญเมืองเมาะตะมะเมาะลําเลิงให้ยกทัพมาตีไทยสมัยพระเจ้าเอกทัศน์และได้ยกทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่เดือน ๕ จนถึงเดือน ๖ ขึ้น ๑ ค่ำ พระเจ้า อลองพญาทรงบัญชาการรับ และจุดปืนใหญ่ด้วยตนเอง เผอิญปืนแตกถูกพระองค์บาดเจ็บสาหัสประชวรหนักในวันนั้น เดือน ๖ ขึ้น ๒ ค่ำ พม่าก็เลิกทัพขึ้นไปทางเหนือทางด้านแม่ละเมา ยังไม่ทันพ้นแดนเมืองตาก พระเจ้าอลองพญาก็สิ้นพระชนม์ในกลางทาง (หนังสือไทยรบพม่า) ของสมเด็จกรมพระยาดํารงราชานุภาพ



๑ พระเจ้ามังลอกราชโอรสองค์ใหญ่ขึ้นครองราชย์สมบัติต่อจากพระเจ้าอลองพญา พวกพม่ามอญแข็งเมืองก่อการกบฏ อาทิ เจ้าเมืองพุกาม เมืองหงสาวดี เมืองเมาะตะมะ เมืองเมาะลําเลิง สมิงทอมาซึ่งได้รับการช่วยเหลือจากพระเจ้าเชียงใหม่ รวมสมัครพรรคพวกเข้ายึดเมืองเมาะตะมะ เมาะลําเลิงได้ตั้งตนเป็นกษัตริย์ปกครองเมืองเมาะตะมะแต่ในที่สุดก็ถูกพระเจ้ามังลอก ปราบปรามสําเร็จ ทําให้หัวหน้ามอญในเมืองเมาะตะมะ เมืองเมาะลําเลิง และพรรคพวกประมาณ ๑ ๐๐๐ คนได้อพยพหนีภัยจากพม่าเข้ามาทางด้านเจดีย์สามองค์ เพื่อมาพึ่งพระบรม โพธิสมภารพระเจ้ากรุงสยามในปี พ.ศ.๒๓๐๓ (ประวัติมอญเข้ากรุงสยามของ ก.ศ.ร.กุหลาบ )



๒ พระยากาญจนบุรีจึงมีใบบอกมายังกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอยู่หัวเอกทัศน์โปรดให้จัดครัวมอญเหล่านี้ตั้งบ้านเรือนอยู่ชายแดนไทยตั้งแต่บ้านท่าขนุน ทองผาภูมิ ไทรโยค ท่าตะกั่ว ลุ่มสุ่ม เมืองสิงห์ และท่ากระดาน และให้ คอยดูแลสอดส่องลาดตระ เวนชายแดนไทย และรายงานความเคลื่อนไหวของพม่ารายงานมายังกรุงศรีอยุธยา จนกระทั่งปีพุทธศักราช ๒๓๑๐ พระเจ้ามังระกษัตริย์พม่ายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาได้ในวันอังคารเดือน ๕ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีกุน พวกมอญชายแดนเจ็ดหัวเมืองที่เป็นชาวบ้านและกรมการเมืองบางส่วนก็หลบลี้ หนีภัยพม่าเข้ามาอาศัยอยู่กับพวกมอญเดิมสมัยกรุงศรีอยุธยา บริเวณบ้านโพธาราม บ้านบางเลา บ้านนครชุมน์ แขวงเมืองราชบุรี และในเดือน ๑๒ ปีชวด ระยะเวลา ๗ เดือน พระเจ้าตากสินก็กู้เอกราชได้ และเห็นความสําคัญของมอญอพยพในปีพุทธศักราช ๒๓๐๓ ที่อยู่ตามชายแดนเมือง กาญจนบุรี จึงตั้งให้เป็นเมืองด่านขึ้นทั้ง ๗ ด่านและตั้งให้หัวหน้ามอญทั้ง ๗ คน ซึ่งเป็นญาติกันทั้ง ๗ คน เป็น นายด้าน ผู้เขียนเป็นคนในตระกูลเจ้าเมืองไทรโยค ทราบว่านายด้านท่านแรกของเมืองไทรโยคนี้ เป็นขุนนาง มอญมาแต่เมืองเมาะลําเลิง มีชื่อว่าสมิงพะตะเบิดซึ่งเป็นตําแหน่งขุนนางมอญ ส่วนนายด่านเมืองท่าขนุนนั้น ตระกูลหลักคงคาได้เขียนไว้ในงานพระราชทานเพลิงศพขุนอาโภคคดี มีชื่อว่าพญาท่าขนุนเฒ่า ส่วนเมืองอื่นๆ นั้นได้ชื่อแน่นอนเฉพาะสมัยรัชกาลที่ ๔ ที่ ๕ เท่านั้น ในปีพุทธศักราช ๒๓๒๕ พระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกปราบดาภิเษกขึ้นเป็น ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีและในปีมะเส็ง พุทธศักราช ๒๓๒๘ พระเจ้าประดุงได้ยกกองทัพเข้ามาตีไทยถึงเก้าทัพ ชาวด่าน ๗ เมือง มีบทบาทสําคัญในการเป็นกองเสบียง และช่วยรบในสงครามเก้า ทัพด้วย โดยที่อยู่ใต้บังคับบัญชาของพระยากาญจนบุรีส่วนหนึ่งและพระยามหาโยธา (เจ่ง คชเสนี ) อีกส่วนหนึ่ง เพราะพวกมอญเหล่านี้มีความชํานาญ ภูมิประเทศแถบนี้เป็นอย่างดี กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงยกกองทัพไปตั้งรับพม่าที่ทุ่งลาดหญ้า แขวงเมืองกาญจนบุรี และทรงให้พระยามหาโยธา ( เจ่ง ) คุมกองทัพมอญ จํานวนพล ๓ ,๐๐๐ คน ยกออกไปขัดตาทัพอยู่ที่ด่านกรามช้าง และในจํานวนนี้มีนายด่านและกองมอญ ๗ ด่านนี้ร่วมรบอยู่ด้วย จนเสร็จสิ้นสงครามเก้าทัพพระบาทสมเด็จพระพุทธ ยอดฟ้าจุฬาโลกทรงปูนบําเหน็จความดีความชอบแก่ข้าราชการทหารทั้งปวงและโปรดให้ยก ๗ ด่านขึ้นเป็นเมือง เพื่อให้ชื่อเสียงปรากฏไปยังพม่าว่าสยามประเทศมีเมืองตาม ชายแดนเพื่อป้องกันข้าศึกมากขึ้นและให้นายด่านทั้ง ๗ เป็นเจ้าเมืองมีตําแหน่งเป็น“พระ” ดังนี้



ท่าขนุน มีตำแหน่ง พระท่าขนุน



ทองผาภูมิ มีตำแหน่ง พระทองผาภูมิ



ไทรโยค มีตำแหน่ง พระไทรโยค



ท่าตะกั่ว มีตำแหน่ง พระท่าตะกั่ว



ลุ่มสุ่ม มีตำแหน่ง พระลุ่มสุม



สิงค์ มีตำแหน่ง พระสิงค์



ท่ากระดาน มีตำแหน่ง พระท่ากระดาน



และตั้งกรมการเมืองเช่นเดียวกับเมืองต่าง ๆ ของไทยทั่วไป ผิดแต่ว่ากรมการเมืองและชาวเมืองในบังคับล้วนแต่เป็นชาวมอญทั้งสิ้น และที่น่าสังเกตมีตําแหน่งเพิ่มอีก ๑ ตําแหน่ง ซึ่งไทยไม่มีแต่ ๗ เมืองนี้มีคือตําแหน่งจักกาย เพราะเป็นตําแหน่งกรมการเมืองของฝ่ายเมืองมอญมาแต่อดีตครั้งยังมีประเทศรามัญ สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ผู้เขียนไม่แน่ใจว่าเจ้าเมืองมอญทั้ง ๗ เมือง นี้ได้เลื่อนยศเป็น พระยาหรือไม่หรือเลื่อนยศเฉพาะบางเมือง เพราะในจดหมายเหตุกรุงรัตนโกสินทร์



สมัยรัชกาลที่ ๒ ฉบับประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๑๐ พ.ศ. ๒๕๓๙ ท้องตราเจ้าพระยาอัครมหาเสนาบดีถึงพระยาราชบุรี พระยากาญจนบุรี เรื่องรามัญในกองพระยา รัตนจักรหลบหนีการทัพ ๕ คน ให้บอกด้านทาง แลแต่ง คนออกสกัดจับตัว จ.ศ. ๑๑๘๓



๑ หนังสือเจ้าพระยาอัครมหาเสนาบดีถึงพระยาราชบุรี พระยากาญจนบุรี ด้วยทรงพระกรุณาตรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า พระยามหาโยธากราบทูลพระกรุณาว่ารามัญในกองพระยารัตนจักร จัดล่องเรือลงมาถึงปากแพรก มะจุ นายหมวดหายไปคนหนึ่ง ครั้นขึ้นไปดูอ้ายมะจุซึ่งลองแพลงมาถึงยางเกาะก็ทิ้งแพเสีย หายไปอีก มะถอ ๑ มะรอย ๑ มะจับ ๑ รวม ๓ หญิง ๑ รวม ๔ คน เข้ากันเป็น ๕ คนก็หาได้บอกแก่พระยาราชบุรีพระยากาญจนบุรีให้รู้ไม่ แลมอญเหล่า นี้ก็ตั้งขัดตาทัพอยู่ ณ แก้งไผ่ เข้าใจอยู่ว่า อ้ายหาญหักค่ายหนีไป ทางช่องเขาหนีบ ช่องเขารวก เห็นว่ามอญเหล่านี้จะหนีไปทางช่องเขาหนีบ จะทําแพล่องลง ลงไปทางแม่น้ำท้องชาตรี ให้พระยาราชบุรีพระยากาญจนบุรี แต่งคนขึ้นไปให้ พระยาท่าตะกั่ว พระยาไทรโยค พระยาทองผาภูมิ พวกด้านทางทุกแห่ง ทุกตําบล ให้ออกก้าวสกัดจับเอาตัวรามัญซึ่งหนีไปให้จงได้แล้ว จําจองให้มั่นคง ส่งเข้าไป ณ กรุงฯ โดยเร็ว หนังสือมา ณ วัน ๗ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๖ ปี มะเส็ง ตรีนิศก วัน ๗ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๖ ป มะเส็ง ตรีนิศก เพลาค่ำ จหมื่นไชยพรรับตราไป เรือยาว ๙ วา พลพาย ๑๔ พาย



๒ หนังสือเจ้าพระยาอัครมหาเสนาบดี มาถึงพระยาราชบุรีด้วยทรงพระกรุณาตรัสเหนือเกล้าสั่งว่ารามัญไม่ออกไปขัดตาทัพอยู่ ณ แก่งไผ่ ล่องแพลงมาถึงยางเกาะแล้วหนีไป เป็นชายหญิง ๕ คน ได้มีตราออกมาให้พระยาราชบุรี กรรมการ ติดตามแจ้งอยู่แล้ว แลทุกวันนี้รามัญได้พาบุตรภรรยาไปเที่ยวทํามาหากินทุกแห่ง ทุกตําบล ที่เป็นคนดีมีภาคภูมิไม่มีหนี้สิน และเล่นเบี้ยกินเหล้า ก็พาบุตรภรรยากลับมาบ้านเรือน ที่เป็นหนี้ สินเขาติดค้างอยู่ก็พากันหลบหนีไป จะเอาใช้ราชการก็มิได้ ได้มีตราแต่งให้ข้าหลวงไปขับไล่ทุกหัวเมือง ครั้งหนึ่งแล้ว ก็ยังไม่กลับเข้ามา แลรามัญใหม่ซึ่งไปตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ คลองบางสองร้อย โพธาราม บางเลาละครชุม ในบรรดาแขวงเมืองราชบุรีจะไว้ใจหาได้ไม่ จะหนีไป เหมือนอ้ายหาญหักค่าย แลรามัญหนีครั้งนี้นั้น ให้พระยาราชบุรีแต่ง กรมการกํากับด้วยสมิงอาทมาต กวาดไล่ครอบครัวรามัญใหม่ ชายหญิง ให้เข้าไปตั้งบ้านเรือน ทํามาหากิน ณ กรุงฯ ให้สิ้นเชิงอย่าให้หลงเหลือแต่คนหนึ่งได้ แลอย่าให้สมิงอาทมาต กรมการ ลงเอาพัสดุ ทอง เงิน แก่รามัญใหม่ เป็นค่าสินบน และค่าทุเลาแต่เฟื้องหนึ่งขึ้นไปได เป็นอันขาดทีเดียว ถ้าขับไล่ได้เข้าไป ณ กรุงฯ เป็น รามัญกองใดมากน้อยเท่าใด ให้มีบาญชีบอกเข้าไปให้แจ้ง หนังสือมา ณ วัน ๓ แรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๖ จุลศักราช ๑๑๘๓ ปีมะเส็ง ตรีนิศก *๑๒



๓. จดหมายเหตุกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒ บอกพระยาพิไชยภักดี เมืองกาญจนบุรี ตอบรับท้องตราเรื่องให้ พระยาไทรโยค แต่งคนออกไปลาดตระเวนจับพม่าทางเมืองทวาย วัน ๔ ฯ ๙ ค่ำ ปีมะเมีย จ.ศ. ๑๑๘๔



๔ ข้าพเจ้า พระยาไชยภักดีศรีมหัยสวรรคี พระยากาญจนบุรี หลวงกาญจนบุรี ยกระบัตร กรมการ ขอบอกมายังท่านออกพันนายเวน ขอให้กราบเรียน ฯพณฯ หัวเจ้าท่านลูกขุน ณ ศาลา ให้ทราบด้วยอยู่ ณ วันเดือนเก้า แรมเก้าค่ำ ปีมะเมีย จัตวาศก เพลาเช้า หมื่นวิสูตรภักดี ถือตราราชสีห์โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมออกมาถึง ฯ ข้า ฯ กรมการว่าพระยา รัตนจักร ไปจับอ้ายพม่าได้สองคนให้การว่าเจ้า อังวะให้มองษาเป็นเจ้าเมืองเมาะตะมะ ให้ตะแคงมองมูกับมหาอุตนากลับไปเมืองอังวะมหาอุตนาให้คนรักษาด้านสามตําบล เป็นคนเจ็ดร้อยห้าสิบคน ทรงพระราชดําริว่า ณ เดือนสิบ เดือนสิบเบ็ดนี้เป็นต้นระดูศก จะไว้ใจหาได้ไม่ ให้ ฯข้าฯ กรมการมี หนังสือไปถึง พระยาไทรโยค พระยาทองผาภูมิ พระท่าตะกั่วให้จัดหลวงขุนหมื่นกรมการแลไพร่ให้ได้ห้าสิบหกสิบ สรรพไปเครื่องศัสตราวุธไปลาดตระเวนจับพม่าทางเมืองทวายให้จงได้ แต่พระยาไทรโยคนั้นอย่าให้ไปเลย นั้น ฯข้าฯ กรมการได้ทราบเกล้า ทราบกระหม่อม ในท้องตราซึ่งโปรดออกมาทุกประการแล้ว ข้าพเจ้ากรมการคัดสําเนา ท้องตราให้ขุนศรีวันคีรีกับไพร่สามคน ถือหนังสือไป ถึงพระยาไทรโยค พระยาทองผาภูมิ พระท่าตะกั่ว แต่ ณ เดือนเก้า แรมเก้า ค่ำ เพลาบ่ายตามท้องตราซึ่งโปรดมา ถ้าผู้ถือหนังสือกลับมา พระยาไทรโยค พระยาทองผาภูมิ พระท่าตะกั่ว บอกจํานวนคนนายไพร่ เครื่องศาสตราวุธมากน้อยเท่าใด ยกไปจากแมน้ำน้อยวันใด ข้าพเจ้ากรมการจะบอกให้มาครั้งหลัง ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด ฯข้าฯ บอกมา ณ วันพุธ เดือนเก้า แรมสิบสองค่ำ ปีมะเมีย จัตวาศก * ๑๑ และจดหมายเหตุกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒ เรื่องบอกพระยาพิไชยภักดี เมืองกาญจนบุรี เรื่อง แต่งขุนหมื่นกรมการ ออกลาด ตระเวนชายแดน วัน ๗ ฯ ๕ ปีมะแม จ.ศ.๑๑๘๕



๕ ข้าพเจ้าพระยาไชยภักดีศรีมหัยสวรรค์ พระยากาญจนบุรี กรมการ ขอบอกมายังท่านออกพันนายเวน ขอได้กราบเรียนแต่ ฯพณฯ หัวเจ้าท่านลูกขุน ณ ศาลาให้ทราบ ด้วยมีตราพระราชสีห์โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมออกมาว่า พระยาไทรโยคกรมการออกไปจับพม่าทางเมืองทวาย ไปถึงปลายคลองน้ำกระมองสวยพบอ้ายพม่าได้รบพุ่งกัน กองพระยาไทรโยคตายหนึ่งคน หายไปเจ็ดคน พากันแตกกลับมานั้น ทรงพระกรุณาตรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมสั่งว่า พระยาสิงหจักรยกไปจับพม่าหาระวังรักษาตัวไม่ ทําให้ เสียทีแก่อ้ายพม่านั้นผิดอยู่ให้พระยามหาโยธาคิดอ่านจัดแจงออกไปจับพม่าอีกและหน้าด้านเมือง กาญจนบุรี ศรีสวัสดิ์ เมืองไทรโยค ทองผาภูมิ ท่าตะกั่วนั้น อย่าให้ข้าพเจ้า พระยาไทรโยค พระยาทองผาภูมิ กรมการไว้ใจแก่ราชการ ให้กําชับกําชาผู้ไปลาดตระเวนรักษาการให้ระมัดระวังตัว จงสามารถอย่าให้อ้ายพม่ามาจับเอาผู้คนไปได้นั้น ข้าพเจ้ากรมการได้ทราบเกล้าทราบกระหม่อมในท้องตราซึ่งได้โปรดออกมาแล้ว ข้าพเจ้าได้แต่งให้หมื่นราชหมื่นรองแล้วนายไพร่ร้อยสิบคนเป็นคาบศิลาสามสิบเบ็ด บอกยกขึ้นไปลาดตระเวนให้ถึงแม่น้ำเมืองอีก ได้ยกไปจากเมืองกาญจนบุรี แต่ ณ วันเดือนห้า ขึ้นหก ค่ำ ถ้าแลผู้ไปราชการกลับมาได้ราชการประการใด ข้าพเจ้าจะบอก เข้ามาครั้งหลัง อนึ่ง พระยาไทรโยคกรมการบอกลงมาถึงข้าพเจ้ากรมการ ว่าพระยาไทรโยค จัดให้นายไพร่สิบสามคน ออกไปสืบดูที่รบกันทางหนึ่ง พระยาไทรโยคจัดให้นาย ไพร่สิบสองคน กองพระยามหาโยธานายไพร่สี่สิบคน ไปก้าวสกัดให้ถึงปลายคลองโป้กะทะปลายที่บ่อแม่น้ำเราะลําหมู่หนึ่งทางหนึ่ง พระยาไทรโยคจัดให้ขุนหมื่นนายไพร่ สามสิบเบ็ดคน เป็นคาบศิลาสิบห้าบอกออกไปตามทางหลวงแม่น้ำ เราะให้ถึงเขาสูงแดนต่อแดน ได้ยกไปแต่ ณ วันเดือนสี่ แรมสิบค่ำ ยังหากลับมาไม่ ถ้ากลับมาได้ราช การประการใด ข้าพเจ้าจะบอกเข้ามาครั้งหลัง แลข้าวคงฉาง ณ เมืองกาญจนบุรีมีอยู่เก้าสิบหกเกียน แลให้ข้าวค้านาจัดซื้อ



ข้าพเจ้าแต่งให้กรมการกํากับข้าหลวงเสนาออกไปประเมินนาของราษฎรยังหาเสร็จ ถ้าได้จํานวนนาข้าว ค้านาจัดซื้อ มากน้อยเท่าใด ข้าพเจ้าจะบอกเข้ามาให้ทราบ ข้าพเจ้าบอกมา ณ วันเสาร์ เดือน ๕ ขึ้นสิบเอ็ดค่ำ ปีมะแม เบญจศก ฯ



จากจดหมายเหตุกรุงรัตนโกสินทร์ทั้ง ๓ ฉบับ จะเรียกว่า พระยาไทรโยค พระยาทองผาภูมิ พระยาท่าตะกั่ว หลักฐานที่สําคัญอีกชิ้นหนึ่งที่ตระกูลของผู้เขียนเก็บไว้ คือผ้านุ่งที่ เป็นห้าสมปัก และผ้าปูม ผ้าสมปกนั้นขุนนางชั้นพระยาถึงนุ่ง ส่วนผ้าปูมนั้น ขุนนางชั้นคุณพระนุ่ง ดังนั้นอาจเป็นไปได้ว่าผ้าสมปกนั้นเป็นผ้านุ่งของพระยาไทรโยค ส่วนผ้าปูมนั้นเป็นผ้านุ่งของพระนิโครธาภิโยค ซึ่งเป็นบรรพบุรุษต้นตระกุลของผู้เขียนทั้ง เป็น ไปได้หรือไม่ว่าเจ้าเมืองด้านทั้ง ๓ เมืองนั้นได้เลื่อนยศเป็นพระยา เพราะอาจเป็นด้านสําคัญ ตระกูลเสลานนท์ ยังเก็บรักษาผ้านุ่งและผ้าไหมพระราชทานไว้เป็นอย่างดี และธงชาติ ธงช้างเผือกพระราชทาน(พื้นสีแดง ช้างสีขาวไม่มีทรงเครื่อง)



ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ได้มีการแบ่งหัวเมืองต่าง ๆ ภายในประเทศให้ขึ้นกับกรมต่าง ๆ ถึง ๓ กรม คือกรมมหาดไทย กรมพระกลาโหม และกรมท่าหัวเมืองที่ขึ้นกับกรมมหาดไทยได้แก่เมืองกรุงเก้า อ่างทอง พรหม อินทร์ ไชยนาท พยุหคีรี บรรพตพิไสย พิษณุโลก ศรีสําโรง พิไชย อุตรดิษฐ์ ตาก ลพบุรี สระบุรี วิเชียร เพชรบูรณ์ หลวงพระบาง นครจําปาศักดิ์ มุกดาหาร พาลุกาดลภูมิ อุบล พิบูลมังสาหาร ตระการ พืชผล มหาชลาลัย กาฬสินธุ์ สหัสขันธ์ กมลาสัย ภูวดลสอาง สว่างแดนดิน ยโสธร นครพนม ขอนแก่น หนองคาย ภูเวียง วานรนิวาส สิงขรภูมิ กันทราลักษ์ อุทุมพรพิไสย ฉะเชิงเทรา พนมสารคาม พระตะบอง นครเสียงมราฐ เป็นต้น



หัวเมืองที่ขึ้นกับกรมพระกลาโหมได้แก่เมือง นครเขื่อนขันธ์ ปทุมธานี ราชบุรี สมิงขบุรี ลุ่มสุ่ม ท่าตะกั่ว ท่าขนุน ท่ากระดาน ไทรโยค ทองผาภูมิ เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ กําเนิดนพคุณ ประทิว ท่าแซะ หลังสวน กาญจนดิฐ พัทลุง ประเหลียน สงขลา ยะหริ่ง ระแงะ กลันตัน ตรังกานู ไทร สตุล ภูเก็ต พังงา ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า ระนอง กระ เป็นต้น หัวเมืองที่ขึ้นกับกรมท่าได้แก่ เมืองนนทบุรี นครไชยศรีสมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ ชลบุรี บางลมุง ระยอง จันทรบุรี แกลง ตราด ประจันตคีรีเขตต์ เป็นต้น



๖ เมืองสมิงสิงหบุรี ๑ เมืองลุ่มสุ่ม ๑ เมืองท่าตะกั่ว ๑ เมืองไทรโยค ๑ เมืองท่าขนุน ๑ เมืองทองผาภูมิ ๑ เมืองท่ากระดาน ๑ ทั้งเจ็ดหัวเมืองเหล่านี้ แต่เดิมก็ไม่เป็น เมืองเป็นแต่ที่ตั้งค่ายที่ด้าน ตั้งอยู่เท่านั้น แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินแต่ก่อน ทรงพระราชดําริว่าจะให้มีเกียรติศัพท์ดังออกไปข้างเมืองพม่าว่า มีหัวเมือง แน่นหนาหลายชั้น จึงโปรดตั้งให้เป็น หัวเมืองขึ้น มีกรมการอยู่รักษาทุก ๆ เมือง



๗ เมือง บริเวณหัวเมืองชายแดนทาง ด้านตะวันตกของประเทศซึ่งติดต่อกับประเทศพม่าโดยเฉพาะเมืองกาญจนบุรีและราชบุรีนั้น เป็นบริเวณที่พวกมอญมักจะอพยพเข้ามา อาศัยพึ่งพระบรมโพธิสมภารในยามที่ได้รับความเดือดร้อนจากพม่าอยู่เนือง ๆ ฝ่ายรัฐบาลได้จัดให้คนพวกนี้อยู่รวมกันเป็นหมู่เหล่าตามเมืองหน้าด้าน ตําบลต่าง ๆ ที่เป็นเมืองหน้าศึกกับพม่าเรียกรวมกันว่า รามัญ ๗ เมือง ขึ้นต่อเมืองกาญจนบุรี รามัญทั้ง ๗ เมืองนี้ได้แก่เมืองสิงห์ (หรือสมิงขะบุรี) เมืองลุ่มสุ่ม เมืองไทรโยค เมืองทองผาภูมิ เมือง ท่าตะกั่ว เมืองท่า ขนุน และเมืองท่ากระดาน เมืองเหล่านี้ตั้งอยู่ในแควลําน้ำน้อย ยกเว้นเมืองท่ากระดานเท่านั้นที่ตั้งอยู่บนแควใหญ่ลําน้ำเมืองกาญจนบุรีใต้เมืองศรีสวัสดิ์ลงมา อนึ่งทรงพระราชดําริว่า ผู้สําเร็จราชการเมือง ต่าง ๆ ทั้งเจ็ดหัวเมืองเหล่านี้ไม่มีชื่อตั้งไม่สมควร ฉะนั้น ณ วันจันทร์ เดือน ๘ แรม ๑๐ ค่ำ ปีมะเมีย สัมฤทธิศก (พ.ศ.๒๔๐๑) จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานชื่อเป็น ภาษาสันสกฤตแก่ผู้สําราชการเมืองเหล่านี้เสียใหม่ ชื่อของผู้สําเร็จราชการหัวเมืองมอญทั้ง ๗ ที่ได้รับพระราชทานเปลี่ยนใหม่มีดังนี้



เมืองสิงขบุรี พระสุรินทรศักดา พระสมิงสิงขบุรี ผู้ว่าราชการเมือง แปลงว่า พระสมิงสิงหบุรินทร์



เมืองลุ่มซุ่ม พระนรินทรเดชะ พระลุ่มซุ่ม ผู้ว่าราชการเมือง แปลงว่าพระนิพนธ์ภูมิบดี



เมืองท่าตะกั่ว พระณรงคเดชะผู้ว่าราชการเมือง แปลงว่าพระชินดิฐบดี



เมืองท่าขนุน พระพรหมภักดี ผู้ว่าราชการเมือง แปลงว่า พระปนัศติฐบดี



เมืองท่ากระดาน พระท่ากระดาน ผู้ว่าราชการเมือง แปลงว่าพระผลกติฐบดี เมืองไทรโยค พระไทรโยค ผู้ว่าราชการเมือง แปลงว่าพระนิโครธาภิโยค



เมืองทองผาภูมิ พระทองผาภูมิผู้ว่าราชการเมือง แปลงว่า พระเสลภูมิบดี



แล้ว พระราชทานเสื้อเข้มขาบคนละตัว ๆ เป็นของขวัญ หัวเมืองทั้งเจ็ดนั้น ขึ้นแก่เมืองกาญจนบุรีทั้งสิ้น แต่ผู้สําเร็จราชการการกรมการเมืองแยกย้ายกันมาตั้งอยู่ในแขวงเมืองราชบุรี ทั้ง ๗ ในหนังสือจดหมายเหตุระยะทางเสด็จประพาสไทรโยคครั้งที่ ๓ ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อปีชวด สัมฤทธิศก พ.ศ. ๒๔๓๑ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์



๘ ได้ทรงบันทึกเรื่องการพระราชทานชื่อแก่ผู้ว่าราชการเมืองทั้ง ๗ เช่นเดียวกันกับที่ได้ กล่าวมาในข้างบน แต่ชื่อของผู้ว่าราชการบางคนผิดเพี้ยนไปจากที่ได้พระราชทานไว้ เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๔ บ้างเล็กน้อย ดังท่านผู้อ่านอาจจะสังเกตได้จากบันทึกของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ดังต่อไปนี้ แผนที่รามัญ ๗ หัวเมือง “รามัญทั้ง ๗ เมือง มีเจ้าเมืองหรือผู้ว่าราชการเมืองเป็นผู้ปกครองดูแล และยังมีหลวงปลัดยกระบัตร หลวงพลกรมการ ขุนหมื่นไพร่เมืองละมาก ๆ ซึ่งล้วนแต่เป็นคนมอญด้วยกันทั้งหมด เจ้าเมืองมียศเป็น “พระ” เรียกตามชื่อเมืองนั้น ๆ เช่น พระไทรโยค พระท่าขนุน เป็นต้น ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานชื่อผู้ว่าราชการเมืองทั้ง ๗ เป็นตํา แหน่งยศดังนี้



พระเมืองสิงห์ เป็น พระสมิงสิงหบุรินทร์



พระลุ่มสุ่ม เป็น พระนินนภูมิบดี



พระท่าตะกั่ว เป็น พระชินดิษฐบดี



พระไทรโยค เป็น พระนิโครธาภิโยค



พระทองผาภูมิ เป็น พระเสลภูมาธิบดี



พระท่าขนุน เป็น พระปันนสดิษฐบดี



พระท่ากระดาน เป็น พระผลกะดิฐบดี



บริเวณที่เป็นที่ตั้งเมืองทั้ง ๗ นั้น ไม่สู้มีผู้คนอาศัยอยู่มากนัก เนื่องจากว่าพื้นที่เป็นป่าทึบและภูเขาสูง ซึ่งไม่สามารถทํานาทําไร่ให้ได้ผลเพียงพอที่จะยังชีพอยู่ได้ บรรดาชาวเมืองจึงพากันไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ นครชุมน์ บ้านบางเลา (วัดคงคาราม) บ้านโพธาราม แขวงเมืองราชบุรีเป็นส่วนใหญ่ แม้ว่าเจ้าเมืองกรมการจะไม่ได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตแขวงเมืองนั้น ๆ แต่ก็มี บ้านเรือนของขุนหมื่นนายด้านตั้งอยู่เป็นระยะ ๆ และผู้ว่าราชการ กรมการก็ได้ไปตรวจตราอยู่เสมอเพราะเป็นช่องด้านทางไปมากับเมืองนอกราชอาณาเขตได้หลายช่องทางหลายตําบล บางเมืองก็มีคนไทยบ้าง กะเหรี่ยงบ้าง มอญบ้าง เข้าไปตั้งบ้านทําไรตัดไม้อยู่เป็นระยะ และถ้ามีบ้านเรือนมากก็จะมีกรมการเมืองออกไปกํากับอยู่ด้วย เช่น แขวงไทรโยค เป็นต้น



๙ รามัญ ๗ เมือง มีอาชีพเกี่ยวกับการตัดไม้เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศเป็นป่าและเขา



กล่าวคือเมืองไทรโยคนั้นมีป่าไม้สักขนาดเล็กใหญ่ที่สุดประมาณ ๗ กํา ชาวเมืองจะตัดผูกแพล่องมาขายแถบกาญจนบุรี ราชบุรีเสมอ แขวงเมืองท่าตะกั่วเมืองลุ่มสุ่มจะมีการตัดเสาไม่เต็งรัง และตัดไม้ไผ่ป่า



ล่องมาขาย แขวงเมืองสิงห์ตัดไม่ฝาง ไม่รวกใหญ่ขนาดทํารั้วโป้ะปลา ซึ่งชาวเมืองสมุทรสงครามมารับเป็นสินค้าไป และยังมีไม้เสาเล็ก ๆ บ้าง นอกจากนี้ก็มีการหาของป่า ทําน้ำมันยาง ทําไต้ เป็นต้น บางแห่งมีการทําไร่บ้างแต่ก็เพียงพอใช้ในครอบครัวเท่านั้น



๑๐ ส่วนพวกมอญที่เข้ามาอยู่แถบบ้านแขวงเมืองราชบุรีนั้นมีอาชีพในการทำนา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๐ ครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสไทรโยค ครั้งที่๒ ได้ทรงพระบรมราชาธิบายว่า



๑๑ เมืองกาญจนบุรีนี้ แต่เดิมเมื่อกรุงเก้าขึ้นกรมมหาดไทย ภายหลังมาจึงได้ยกมาขึ้นกลาโหม เมืองมีอาณาเขตทางตะวันออกเขตแดนเมืองราชบุรีใหม ทางพระแทนดงรังเพียงห้วยขานางต่อ แขวงสุพรรณที่เขาหลอกลวง ข้างเหนือคือเมืองศรีสวัสดิ์และเมืองอุทัยธานี ข้างใต้ต่อแขวงเมืองราชบุรีคนละ



ฝั่งกันกับคลองสํารอง..มีเมืองศรีสวัสดิ์เป็นเมืองใหญ่มีละว่ากะเหรี่ยงและมีข้าสอดอีกพวกหนึ่งพูดภาษาหนึ่งต่างหากประพฤติตัวเหมือนกระเหรี่ยงแต่ไม่โพกผ้า เมืองขึ้นที่เป็นมอญ ๗ เมือง แต่เจ้าเมืองไม่ได้อยู่มีแต่กองด้านขึ้นไปลาดตระเวน ตัวเจ้าเมืองกรมการลงไปอยู่ที่โพธารามแขวงเมืองราชบุรี คือ เมืองสิงคลบุรี เรียกว่าเมืองสิงห์ เมืองลุ่มสุ่ม เมืองท่าตะกั่ว เมืองไทรโยค เมืองท่าขนุน เมืองทองผาภูมิ ที่เมืองทองผาภูมินี้เป็นด้านชั้นนอก เมือง ๖ เมืองนี้เป็นเมืองอยู่ในลําแม่น้ำน้อย เมืองท่ากระดานอยู่ในแควใหญ่อีกเมืองหนึ่งเป็น ๗ เมือง กระเหรี่ยงนั้นมีเป็นกองตั้งอยู่เป็นตําบล ๆ ที่วังกะตําบล ๑ นาสวนตําบล ๑ ที่อื่น ๆ อีกหลายตําบล ในที่นาสวนนั้นมีจีนเขยสู่อยู่มาก จีนเขยสู่เหล่านี้สักข้อมือเสียส่วนปีละ ๖ บาท คนเลขคงเมืองกาญจนบุรีอยู่ใน ๓๕๐ เศษ มีกองส่วยผึ้งส่วนเงินขึ้นพระยาสุรเสนา ๑๐๐ เศษ ส่วยน้ำรักขึ้นกรมพระกลาโหมเล็กน้อย ละว่าข้าสอดเมืองศรีสวัสดิ์ประมาณ ๑๒๐๐ คน มอญ ๗ เมืองอยู่ใน ๓๕๐ เศษ ส่วยทอง ๗ กอง คนอยู่ใน ๗๐ เศษ ส่วยวังหน้ามีบ้านเล็กน้อย คนพลเมืองพระยากาญจนบุรีเขาประมาณว่าสักหมื่นเศษในเมืองกาญจนบุรี นี้แต่ก่อนเป็นเมืองหน้าศึกด้วยเขตแดนข้างตะวันตกนั้นต่อกันกับเขตแดนเมืองมริดทวาย พม่ายกเข้าตีอยู่เสมอ เมืองราชบุรีเมืองกาญจนบุรีนี้แต่เดิมไม่มีคนอยู่ข้างฝั่งตะวันตกเลย ด้วยพม่ามักมาลาดตระเวนทีละ ๒๐ คน ๓๐ คน ถ้าไทยพลัดมาข้างฝ่ายตะวันตกน้อยคนพม่าก็จับไป ถ้าพม่าน้อย ไทยก็จับมา แต่เป็นดังนี้จนตลอดเมืองมะริดเมืองทวายเสียแก่อังกฤษ จึงได้ขาดข้าศึกแก่กันและกัน ไทยจึงได้ข้ามมาอยู่ฝั่งตะวันตกได้...อนึ่งเราได้ผลัดไว้แต่ก่อนว่าสืบเรื่องฝาง ท่าที่ฝางลงนั้นมักจะลงทางหนองบังท่ามะขามมากกว่าที่อื่น เป็นลูกค้าไปรับซื้อกันที่นั่น ที่ท่าบ้านอื่นและเมืองศรีสวัสดิ์และหัวเมืองมอญ ๗ เมือง มีพวกมอญ ละว่า ข้าสอดตัดฝางบรรทุก แพลงมาขายเมืองกาญจนบุรีบ้าง ล่องลงไปขายถึงเมืองราชบุรีบ้าง ราคาฝาง ๓ ดุนหนักหาบ ๑ เป็นฝางขนาดใหญ่ราคา ๑๖ ตําลึง ฝาง ๔ ดุนหนักหาบ ๑ เป็นอย่างกลาง ราคา ๙ ตําลึง ฝาง ๕ ดุ้น ๖ ดุ้นหนักหาบหนึ่ง ร้อยดุ้นเป็นราคา ๖ ตําลึง ยังฝางยอมดุนเล็กน้อยไม่ได้นับเป็นดุนขาย ขายกันหาบละบาท ราคานี้เป็นราคากลาง ๑ ฝางออกเมืองกาญจนบุรีใหญ่เล็กประมาณสองแสนดุนเศษเสมอเป็น ธรรมดา ถ้าเวลาราคาฝางแพงก็ออกมากขึ้น ถ้าถูกก็ออกน้อยลง...๖ โดยทั่วไปแล้วอาชีพที่ราษฎรรามัญ ๗ เมืองทํานั้นเป็นการทําเพื่อยังชีพไปวันหนึ่ง ๆ เท่านั้น เนื่องจากภูมิประเทศกันดาร และอัตคัดมาก ราษฎรส่วนใหญ่จัดอยู่ในขั้นที่ขัดสน ด้วยเหตุนี้จึงปรากฏว่ารัฐบาลไม่เคยเก็บภาษีอากรจากคนพื้นนี้เลย



๑๒ อีกประการหนึ่งการทําทะเบียนจํานวนคนก็ไม่สู้จะแน่นอนเพราะมีการอพกลับไปพม่าบ้าง อพยพจากพม่าเข้ามาเพิ่มบ้างครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ หลังจากที่มีการแก่ไขการปกครองเป็น แบบมณฑล เทศาภิบาลแล้วพระยาวรเดชศักดาวุธ ข้าเหลวงเทศาภิบาลมณฑลราชบุรีได้เสนอให้เก็บเงินค้าราชการจากราษฎรชาวมอญ ชาวกะเหรี่ยงที่ประกอบอาชีพอยู่ตามชายพระราชอา ณาเขตเพื่อให้เป็นการเสมอภาคกับราษฎรทั่ว ๆ ไป แต่ให้เก็บคนละ ๓ บาทต่อปี เนื่องจากคนพวกนี้ยากจน ที่ทางทํามาหากินก็ฝืดเคืองและกันดารจึงไม่สามารถจะเก็บตามอัตราปีละ ๖ บาท เท่ากับคนทั่วไปได้



๑๓ หลังจากที่เสนอเรื่องนี้เข้าที่ประชุมเทศาภิบาลใน พ.ศ. ๒๔๔๓ (ร.ศ. ๑๑๙) พร้อมทั้งพระราชดําริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงแนะให้มีการกําหนดอัตราการเก็บ โดยการแบ่งเขตตําบลตามความขัดสนมากน้อยแทนกากําหนดตามเชื้อชาติแล้ว ปรากฏว่าคนมอญในรามัญ ๗ เมืองได้รับการลดเงินส่วยลง คงเสียคนหนึ่งปีละ ๒ บาท ทั้งนี้ได้ยกเว้นคน ที่เพิ่งอพยพ



เข้ามาอยู่ในปีแรก ต่อเมืองถึงปีที่สองจึงให้เสียเท่ากับคนที่อยู่เดิม



๑๔ การเก็บเงินค่าราชการจากราษฎรในรามัญ ๗ เมืองในอัตราดังกล่าวได้เป็นไปอย่างเรียบร้อยและเหมาะสม ดังปรากฏในรายงานของพระยาวรเดชศักดาวุธ หลังจากที่ได้ไปตรวจราชการ เมืองกาญจนบุรีว่า “เงินค่าราชการที่เก็บแก่คนกะเหรี่ยง มอญ ลาว ซึ่งอยู่ปลายพระราชอาณาเขตในที่กันดาร โปรดเกล้าฯ ให้เก็บแต่เพียงคนละกึ่งตําลึงนั้นเป็นการสมควรแก่ภูมิพิเศษที่ ข้าพระพุทธเจ้าได้ไปเห็นในเวลานี้ ถ้าต้อไปผลประโยชน์มีความเจริญขึ้นจึงคิดเก็บให้มาขึ้นตามสมัย...”



๑๕ คนมอญในรามัญ ๗ เมืองมีฐานะเป็นไพร่หลวง (ส่วย) กล่าวคือมีหน้าที่ต้องส่งส่วยทอง



แก่รัฐบาลทุกปี เมืองถึงเทศกาลแล้งราว ๆ เดือนธันวาคม-มกราคม จะโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าเมืองกรมการเกณฑ์ไพร่หลวงรามัญ ๗ เมืองออกไปร่อนทองที่คลองปิลอกคลองพลู ให้ร้อนได้ ทองขุนหมื่นไพร่คนละ ๓ สลึง บุตรหมื่นทนายทาสคนละ ๑ สลึง ๑ เฟื้อง



๑๖ และให้เจ้าเมืองกรมการเก็บรวบรวมทองส่วยนําขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวาย หน้าที่สําคัญอีกประการหนึ่งคือต้องลาดตระเวนรักษาด่านอยู่เป็นประจํา ทั้งฤดูฝนและฤดูแล้ง โดยเฉพาะใน สมัยรัชการที่ ๒ และ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อไม่ให้พม่าเล็ดลอดเข้ามาสืบข่าวความเคลื่อนไหวของฝ่ายไทย ขณะเดียวกันเนื่องจากเป็นเมืองหน้าด่านชั้นนอกต่อแดนเมืองเมาะลําเลิง ก็หมั่นสืบฟังข่าวราชการในประเทศพม่าด้วย ในบางครั้งเมื่อมีคนในพระราชอาณาจักรหลบหนีออกจากพระราชอาณาเขต เช่นพวกมอญ บรรดาเจ้าเมืองรามัญทั้ง ๗ จะได้รับคําสั่งให้ กําชับนายด่านทางทุกแห่งตําบลให้กวดขันบริเวณปลายด่านเป็นพิเศษ และออกสกัดจับผู้ที่หลบหนีเพื่อส่งกลับไปกรุงเทพฯ โดยเร็ว คนมอญที่หนีออกไป



ส่วนมากมักเป็นพวกที่อพยพเข้ามาอยู่ในแขวงเมืองราชบุรีในสมัยรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยถึงกับมีรับสั่งให้อพยพมอญใหม่ที่เข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่คลองบางสร้อย โพธาราม บางเลา นครชุมน์ แขวงเมืองราชบุรี เข้าไปตั้งบ้านเรือนอยู่ในกรุงเทพฯ ด้วยเกรงว่าจะหลบหนีไปอีก



๑๗ ในชั้นหลังต้อมาก็ยังมีการหลบหนีอยู่บ้าง เช่นในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีพวกมอญโรงเรือหลบหนีไป ๑๒ ครอบครัว ออกไปทางเมืองอุทัยธานีและเมืองตากในราว พ.ศ. ๒๓๙๖



๑๘ และขณะเดียวกันก็มีพวกมอญลาวที่หนีไปอยู่เมาะลําเลิง และทวาย ลักลอบเข้ามาชักชวนญาติพี่น้องแถบเมืองราชบุรี กาญจนบุรี ให้อพยพหนีไปด้วย



๑๙ เรื่องการหลบหนีออกนอกพระราชอาณาเขตนี้ได้กลายเป็นเรื่องใหญ่ในสมรัชกาลที่ ๕ เมื่อมีมอญตําบลบางเลา แขวงเมืองราชบุรีอพยพหนีไป ๖ ครอบครัว และกําลังขายบ้านเรือนไร่นา เตรียมการอพยพอีก ๗ ครอบครัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้พระยามนตรีสุริยวงศ์แทนสมุหกลาโหมออกไประงับเหตุแห่งความเดือดร้อนอันทําให้พวกมอญต้อง อพยพทิ้งบ้านเรือนไป และกําชับพวกด้านทางให้ป้องกันให้เข้มแข็งขึ้น



๒๐ นอกจากงานดังกล่าวแล้ว รามัญทั้ง ๗ เมืองก็อาจจะมีงานอื่นๆที่เป็นการจร ซึ่งแล้วแต่



ว่าจะได้รับคําสั่งมาเป็นคราว ๆ ไปเป็นต้นว่าเกณฑ์ให้ตัดไม่เพื่อใช่ทําด้ามพระแสงหอก



๒๑.ทําพลับพลาที่ประทับเวลาเสด็จพระราชดําเนินไปประพาสแควน้อยไทรโยค



๒๒.และในระยะหลังที่ไทยมีการติดต่อกับหัวเมืองพม่าตอนล้างที่เป็นของอังกฤษ ก็มีการไปมาค้าขายติดต่อกับเมาะตะมะ เมาะลําเลิง ร่างกุ้ง เป็นต้น ครั้นเมื่อมีราชการที่จะออกไปยัง เมืองเหล่านั้น ก็ได้อาศัยพวกรามัญ ๗ เมืองคอยรับส่งจัดที่พักและนําทางพวกอาทมาตเข้าไปถึงปลายด้านอยู่เสมอ ๆ



๒๓.ส่วนในยามสงครามนั้น รามัญทั้ง ๗ เมือง ก็ถูกเกณฑ์เข้ากองทัพด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณเมืองเหล่านี้เป็นเส้นทางที่ยกทัพไปมาของพม่าและฝ่ายไทยเวลายกทัพไปรบก็อาศัยการเดินเรือในลําน้ำแควน้อยไปขึ้นบกไทรโยค และได้อาศัยพวกรามัญ ๗ เมือง ในการทําทางจัดตั้งกองเสบียงอาหารและที่พักเป็นระยะไป บรรดานายด้านนายกองได้รับพระราชทานเบี้ยหวัด คนหนึ่งปีละ ๖-๒๐ บาท ส่วนเจ้าเมืองได้ปีละ ๔๐ บาทเป็นอย่างสูง ๒๔ ทั้งเจ้าเมือง กรมการ นายด้านนายกอง จะต้องไปถือน้ำพระพิพัฒน์สัจจาปีละ ๒ ครั้ง ในเทศกาลตรุษและสารทเช่น เดียวกับข้าราชการทั่วไป โดยเข้าไปทําพิธีร่วมกับพระยากาญจนบุรีและกรมการ ณ วัดอารามในเมืองนั้น



การกระทําสัตยานุสัจจบ่ายหน้าไปยังกรุงเทพฯ หนังสืองานพระราชทานเพลิงศพ พระครูสุวรรณวรรัตน์ เจ้าอาวาสวัดแป้นทองโสภาราม แขวงสามวาตะวันตก เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร ๗ มีนาคม ๒๕๔๒ หน้าที่ ๑๖๕ ได้สรุปหน้าที่ของชาวรามัญ ๗ หัวเมืองนี้ มีหน้าที่ดังนี้



๑. ลาดตระเวนรักษาด้านเป็นประจําฤดูเพื่อป้องกันพม่าเข้ามาสืบข้าวจากทางไทย



๒. สืบข่าวความเคลื่อนไหวของพม่า และคอยสกัดจับผู้คนที่หนีเข้าและออกในราชอาณาเขต



๓. ทําทางเดิน และจัดตั้งกองเสบียงในยามศึกสงคราม



๔. ตัดไม้เพื่อทําพระแสง หอก พลับพลาที่ประทับเวลาเสด็จหัวเมือง



๕. เกณฑ์คนรามัญเข้าร่วมขบวนแห่ในพระราชพิธีสําคัญ



๖. เกณฑ์คนไปร่อนทองที่คลองปีล็อก และคลองพลู เพื่อส่งส่วยทองคําให้กษัตริย์ไทยทุกปี



๗. ทําหน้าที่อื่น ๆ ตามรับสั่งหน้าที่อื่น ๆ เท่าที่ผู้เขียนทราบ เช่น ๑ ผาอิฐสร้างพระปฐมเจดีย์ สมัยรัชกาลที่ ๔ (สมุดไทยดําบ้านผู้เขียน) ๒. ตัดไม้จากป่าเมืองไทรโยค ลุ่มสุ่ม ท่าตะกั่ว สร้างพระเมรุมาศของพระเจ้าอยู่หัวและพระบรม วงศานุวงศ์ (คําบอกเล่าของ ศาสตราจารย์ เกียรติคุณนายแพทย์สุเอ็ด คชเสนี)



ครั้นเมื่อเริ่มจัดการปกครองตามระเบียบใหม่ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๘ (ร.ศ.๑๑๔) เป็นต้นมาได้ยกเลิกรามัญ ๗ หัวเมือง โดยยุบไปสังกัดขึ้นแก่เมืองกาญจนบุรี ฐานะของเมืองเหล่านั้นจึงมีการเปลี่ยน แปลงไปคือ เมืองทองผาภูมิ (เดิมเรียกว่าทองผาภูมิ) ยุบลงเป็นหมู่บ้านอยู่ในเขตกิ่งอําเภอสังขละบุรี(ต่อมาเป็นอําเภอสังขละบุรี) ปัจจุบันเป็นอําเภอทองผาภูมิ เมืองท่าขนุน(สังขละบุรี) ยุบลงเป็นกิ่งอําเภอสังขละบุรี ขึ้นต่ออําเภอวังกะ ซึ่งตั้งใหม่อยู่ห่างจากท่าขนุนขึ้นไป ตั้งที่ว่าการริมน้ำสามสบ ต่อมาอําเภอวังกะและกิ่งอําเภอสังขละบุรีได้ถูกเปลี่ยนฐานสลับกันหลายครั้ง และต่อมากิ่งอําเภอสังขละบุรีตั้งอยู่ที่ตําบลวังกะ เดิมขึ้นต่ออําเภอทองผาภูมิและเปลี่ยนชื่อเป็นอําเภอสังขละบุรี ส่วนกิ่งอําเภอสังขละบุรีเดิมตั้งอยู่ที่ตําบลท่าขนุน เปลี่ยนเป็นอําเภอทองผาภูมิ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๒ เป็นต้นมา เมืองไทรโยค ยุบลงเป็นกิ่งอําเภอวังกะใน พ.ศ.๒๔๙๒ ต่อมาได้โอนขึ้นกับอําเภอเมืองกาญจนบุรี ได้ย้ายที่ทําการหลายครั้ง ปัจจุบันนี้ตั้งที่ทําการอยู่ ที่ตําบลวังโพธิ์ และได้ยกขึ้นเป็นอําเภอไทรโยค เมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๖ เมืองท่าตะกั่ว ยุบลงเป็นหมู่บ้านอยู่ในตําบลท่าเสา อําเภอไทรโยค เมืองลุ่มสุ่ม ยุบลง



เป้นหมู่บ้านในตําบลลุ่มสุ่ม อําเภอไทรโยค เมืองสิงห์ ยุบลงเป็นหมู่บ้านอยู่ในตําบลสิงห์ อําเภอไทรโยค เมืองท่ากระดาน ยุบลงเป็นหมู่บ้าน ในอําเภอศรีสวัสดิ์ ในปัจจุบันนี้ทายาท ผู้สืบตระกูลของท่านผู้ว่าราชการหัวเมืองมอญทั้ง ๗ เมือง ได้อาศัยตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ในบริเวณอําเภอโพธาราม อ. บ้านโป่ง ในตําบลต่าง ๆ ทั้งสองฝั่งแมน้ำแม่กลอง โดยเฉพาะตําบล คลองตาคต (บางเลาเดิมคือ บ้านคงคา) นอกจากนั้นก็มีกระจายอยู่เป็นอันมากในบริเวณตําบลต่าง ๆ ของอําเภอบ้านโป่ง และแม้ตําบลส่วนล่าง ๆ ของอําเภอท่ามะกาซึ่งอยู่ติดต่อกับส่วน บนของอําเภอบ้านโป่งก็มีเชื้อสายเครือของท่านเจ้าเมืองทั้ง ๗ อยู่เหมือนกัน



สําหรับบรรดาทายาทผู้สืบสกุลของท่านเหล่านี้จะทราบได้โดยง่ายโดยการสังเกตนามสกุลซึ่งมีอยู่มากมายหลายนามสกุลด้วยกัน



ผู้เขียนต้องขอออกตัวไว้เสียก่อนว่าอาจจะมีขาดตกบกพร้องไปบ้างไม่มากก็น้อย ตัวอย่างนามสกุลที่สืบเชื้อสายมาจากเจ้าเมืองมอญทั้ง ๗ เมืองแห่งจังหวัดกาญจนบุรีเท่าที่สามารถ จะรวบรวมได้มีดังนี้



พระสมิงสิงหบุรินทร์ เมืองสิงขบุรี ได้แก่นามสกุล สิงคิบุรินทร์ ธํารงโชติ ปลัดสิงห์



พระนิพนธ์ภูมิบดี เมืองลุ่มสุ่ม ได้แก่นามสกุล นิลบดี นินทบดี



พระบรรเทาพระชินดิฐบดี เมืองท่าตะกั่ว ได้แก่นามสกุล ป้นยารชุน ชินอักษร ชินบดี ชินหงษา มัญญหงส์ ท่ากั่ว อักษร จ่าเมือง หลวงพันเทา นิลบดี (สายหลวงพันเทาทุกขราษฎร์จุย)



พระปนนสติฐบดี เมืองท่าขนุน ได้แก่นามสกุล หลักคงคา กุลอาจยุทธ์ ยศศักดิ์ พลเภรีย์



พระผลกติฐบดี เมืองท่ากระดาน ได้แก่นามสกุล พลบดี ตุลานนท์ พลดี



พระนิโครธาภิโยค เมืองไทรโยค ได้แก่นามสกุล นิไชยโยค นิโครธา นิไทรโยค นิโกรธา



พระไทรโยค มะมม หลวงสงคราม หลวงพล หลวงปลัด ศรีสงคราม



พระเสลภูมิบดี เมืองทองผาภูมิ ได้แก่นามสกุล เสลานนท์ เสลาคุณ



นอกจากนี้ท่านผู้ใดเป็นลูกหลานมอญลุ่มน้ำแม่กลอง มีคําขึ้นต้นสกุลว่า จางวาง จักกาย หมื่น ขุนหลวง ยกกระบัตร นําหน้าล้วนแล้วแต่เป็นสกุลของคณะกรมการเมืองทั้ง ๗ นี้ทั้งสิ้น



ณ บัดนี้เรื่องราวต่าง ๆ ในอดีตกาลก็ได้ผ่านพ้นไปแล้วสิ่งที่ท่านผู้นําชาวมอญทั้งหลายรวบรวมทั้งท่านที่มีเรื่องราวปรากฏดังที่ผู้เขียนได้บรรยายมาข้างต้นได้ทิ้งไว้เบื้องหลังของท่านก็คือเกียรติประวัติอันควรแก่การยกย่องสรรเสริญจะเป็นเรื่องที่เล่าขานกันในบรรดาอนุชนรุ่นหลังตลอดจนทายาทสืบสายสกุลของท่านต่างๆเหล่านี้ไปอีกนานแสนนาน



สิ่งที่ท่านเหลือไว้ดูต่างหน้าก็คงจะไม่มีอะไรมากนอกจากพระเจดีย์ทรงรามัญรายรอบภายในกําแพงแก้วพระอุโบสถวัดคงคารามตัวแทนเจ้าเมืองมอญทั้ง ๗ และอนุสาวรีย์บรรจุอัฐิของท่าน เรียงรายกันอยู่ภายนอกกําแพงแก้วพระอุโบสถของวัดคงคาราม อันเป็นวัดที่ท่านเหล่านี้ได้ช่วยกันก่อร่างสร้างกันขึ้นมาและเป็นสถานที่ที่ท่านได้เคยทําบุญสมาทานศีล ตลอดจนเป็น แหล่งสุดท้ายที่พวกท่านหลับตา



ลงอย่างสงบเป็นวาระสุดท้าย ด้วยความหวังว่าลูกหลานของท่านภายหน้าคงจะไม่ละทิ้งแนวปฏิบัติและลัทธรรมเนียมประเพณีอย่างที่ท่านได้เคยกระทํามาในอดีตกาล ผู้ งชาติ ห้องสมุดโรงเรียนสตรีวิทยา ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์ สุเอ็ด คชเสนี อดีตนายกสมาคมไทยรามัญ และอาจารย์สุภรณ์ โอเจริญ เป็นอย่างสูงมาในโอกาสนี้ด้วยเอกสารอ้างอิง



๑. ไทยรบพม่า พระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาดํารงราชานุภาพ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๖ สํานักพิมพ์คลังวิทยา พ.ศ. ๒๕๑๔ หน้า ๓๔๖



๒. บรรณานุสรณ์ งานพระราชทานเพลิงศพ ขุนอาโภคคดี ณ เมรุวัดคงคาราม จ. ราชบุรี ประวัติมอญเข้า กรุงสยาม ของ ก.ศ.ร. กุหลาบ พ.ศ. ๒๕๒๕ หน้า ๘



๓. จดหมายเหตุกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ (ควรเป็นรัชกาลที่ ๒) ท้องตราเจ้าพระยาอัครมหาเสนาบดีถึง พระยาราชบุรี พระยากาญจนบุรี เรื่องรามัญในกองพระรัตนจักรหลบหนีการทัพ ๕ คน ให้บอก ด้านทางและแต่งคนออกก้าวสกัดจับตัว จ.ศ. ๑๑๘๓ ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๑๐ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๙๒



๔. จดหมายเหตุกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒ บอกพระพิไชยภักดีเมืองกาญจนบุรี ตอบรับท้องตรา เรื่องให้พระยาไทรโยค แต่งคนออกไปลาดตระเวนจับ พม่า ทางเมืองทวายวัน ๔ ฯ ๙ ค่ำ ปีมะเมีย จ.ศ. ๑๒ ๑๑๘๔ ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๑๐ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๙๗



๕. จดหมายเหตุกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒ เรื่องบอกพระยาพิไชยภักดี เมืองกาญจนบุรี เรื่องแต่งขุนหมื่น ๑๑ ออกลาดตระเวนชายแดนวัน ๗ ฯ



๕ . ปีมะแม จ.ศ. ๑๑๘๕ ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๑๐ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๙๙



๖. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ “สําหรับพระพิพิธสาลี” ไม่ปรากฏชื่อโรงพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๗๗ หน้า ๓๙๗



๗. ประชุมประกาศ รัชกาลที่ ๔ (พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพระมหาโพธิวงศาจารย์ อินทโชตเถระ) โรงพิมพ์ดํารงธรรม ธนบุรี พ.ศ. ๒๕๑๑



๘. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ จดหมายเหตุระยะทางเสด็จประพาสในรัชกาลที่ ๔เด็จประพาสไทรโยคครั้งที่ ๒ ปีชวด สัมฤทธิศก พ.ศ. ๒๔๓๑ (พิมพ์ในงานถวายพระเพลิง พระบรมศพสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนารถ) โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒนากร กรุงเทพฯ พ.ศ. ๒๔๖๓ หน้า ๒๙-๓๐



๙. เรื่องเดียวกัน, หน้า ๓๐



๑๐. เรื่องเดียวกัน, หน้า ๔๘



๑๑. พระราชนิพนธ์เสด็จประพาสไทรโยค ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โรงพิมพ์คุรุสภา กรุงเทพ ฯ พ.ศ.๒๕๐๔ หน้า ๗๙-๘๒ เอกสารอ้างอิงต่อไปนี้ (ตั้งแต่หมายเลข ๑๒ จนถึงหมายเลข ๒๔) เป็นเอกสารอ้างอิงที่ได้จากสุภรณ์ โอเจริญ ในวิทยานิพนธ์เพื่อปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต แผนกวิชาประวัติศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณมหาวิอทยาลัย พ.ศ. ๒๕๑๖ เรื่องชาวมอญในประเทศ : วิเคราะห์ฐานะและบทบาทในสังคมไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลางถึง สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น



๑๒. สมุดราชบุรี หน้า ๗๖ ๑๓. กองจดหมายเหตุแห่งชาติ, แฟ้ม ค.



๑๓. ๒/๒๓ หนังสือพระยาศรีสหเทพกราบบังคมทูลรัชกาลที่ ๕ เรื่อง การเก็บเงินส่วยพวกมอญและเกรี่ยงในมณฑลราชบุรีและเพชรบุรี ลงวันที่ ๒๔ สิงหาคม ร.ศ.๑๑๙ (พ.ศ.๒๔๔๓)



๑๔. กองจดหมายเหตุแห่งชาติ,แฟ้มค. ๑๓.๒/๒๓ หนังสือสมเด็จกรมพระยาดํารงราชานุภาพเสนาบดี มหาดไทย กราบบังคมทูลรัชกาลที่ ๕ เรื่องการเก็บเงินส่วย ลงวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ร.ศ.๑๑๙



๑๕. กองจดหมายเหตุแห่งชาติ, แฟ้ม ม.๒.๑๔/๕๔ รายงานพระยาเดชศักดาวุธ ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑล ราชบุรี ตรวจราชการเมืองกาญจนบุรี ลงวันที่ ๒๔ มีนาคม ร.ศ. ๑๑๙



๑๖. กองจดหมายเหตุ, ใบบอกกระทรวงกลาโหม รัชกาลที่ ๔, เล่ม ๑๗ หน้า ๙๙



๑๗. หอสมุดแห่งชาติ,เอกสารตัวเขียนสมุดไทดํา รัชกาลที่ ๒ เลขที่ ๓ จ.ศ. ๑๑๘๓



๑๘. หอสมุดแห่งชาติ, เอกสารตัวเขียนสมุดไทดํา รัชกาลที่ ๔ เลขที่๔๗ จ.ศ. ๑๒๑๕



๑๙. กองจดหมายเหตุแห่งชาติ, ใบบอกกระทรวงกลาโหม รัชกาลที่ ๔ เล่ม ๕ เลขที่ ๖๗ จ.ศ. ๑๒๑๕,หน้า ๑๘๕-๑๘๘



๒๐. กองจดหมายเหตุแห่งชาติ, แฟ้มม.๕.๑ ก./ ๓๑เรื่องพวกรามัญแขวงเมืองราชบุรีหนีออกไปนอกพระราชอาณาเขตร.ศ. ๑๐๙-๑๑๐ (พ.ศ.๒๔๓๔)



๒๑. กองจดหมายเหตุแห่งชาติ, ใบบอกกระทรวงกลาโหม รัชกาลที่ ๔ และ ๕ เลขที่ ๗๒ จ.ศ. ๑๒๑๕ หน้า ๑๙๙



๒๒. กองจดหมายเหตุแห่งชาติ, แฟ้ม ม. ๒. ๑๒ ก./๓ ใบบอกเมืองกาญจนบุรีเรื่องได้เกณฑ์ผู้ว่าราชการรามัญ ๗ เมืองไปรับราชการทําพลับพลารับเสด็จพระราชดําเนินตามระยะทางถึงไทรโยค ลงวันที่ ๖ กันยายน ร.ศ. ๑๐๙



๒๓. กองจดหมายเหตุแห่งชาติ ,ใบบอกกระทรวงกลาโหม รัชกาลที่ ๔ เล่ม ๓๓ จ.ศ. ๑๒๒๙ หน้า ๒๓๗ - ๒๓๘



๒๔. สมุดราชบุรี, เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒๓







ประวัติมอญในจังหวัดราชบุรี



ราวปีพุทธศักราช 2300 ในแผ่นดินสมเด็จพระที่นั่งสุริยาอัมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์) พระเจ้าแผ่นดินองค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา และ พระยาทะระ พระมหากษัติร์มอญองค์สุดท้ายแห่งกรุงหงสาวดี โดยมี พระเจ้าอะลองพระยา(พระเจ้ามังลอง)ปกครองเมืองกรุงอังวะ ได้ยกทัพตีเมืองหงสาวดีได้จุดไฟเผาเมืองพินาศสิ้นจนถึงเมืองเมาะตะมะและเมาะลำเลิง มอญจึงเสียเอกราชให้แก่พม่าและชื่อรามัญประเทศ ก็หายไปจากแผนที่โลก มาจนถึงปัจจุบันนี้



ในราวพุทธศักราช 2310 ไทยเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่า ต่อมาสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้กู้เอกราชคืนมาได้ จึงตั้งกรุงธนบุรีขึ้นเป็นราชธานี ความก็ทราบถึงหัวหน้ามอญที่หลบซ่อนอยู่ ก็ชวนสมัคร พักพวกอพยพครอบครัวมอญประมาณ 1,000 ครอบครัว หนีพม่าเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร โดยหัวมอญติดต่อผ่านมายังเจ้าพระยารามัญวงศ์ แต่พอดีเกิดจราจลที่กรุงธนบุรี ครอบครัวมอญจึงต้องพักที่เมืองไทรโยคก่อน ต่อมาสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เสด็จกลับจากยกทัพไปปราบเขมรและเข้าปราบจราจลในกรุงธนบุรีแล้ว ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาจักกรีบรมนาถ ( พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ) ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เจ้าพระยารามัญวงค์ กราบทูลเรื่องมอญขอ พึ่งพระบรมโพธิสมภารให้ทรงทราบ พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้ เจ้านายมอญที่เหลือชีวิตอยู่ 7 คน ให้เป็นนายด่านป้องกันเมืองชายแดน 7 เมือง เมืองทั้ง 7 นั้น ได้แก่ ไทรโยค ท่าขนุน ท่ากระดาน ท่าตะกั่ว ลุ่มสุ่ม เมืองสิงห์และทองผาภูมิ ( ปัจจุบันเมืองเหล่านั้น บ้างก็เป็นอำเภอ บ้างก็เป็นตำบลอยู่ในจังหวัดกาญจนบุรี ) ชาวรามัญเรียกเจ้าเมืองทั้ง 7 นี้ว่า “ จั๊ดเดิงหะเป๊าะ ’’ โดยมีเจ้าเมืองไทรโยคเป็นหัวหน้าอีกทีหนึ่ง เมืองทั้ง 7 มีหน้าที่เป็นข้าหลวงต่างพระเนตรพระกรรณ เพราะเป็นเมืองหน้าด่าน ต่อมาได้มีมอญอพยพครอบครัวเข้ามาอีกประมาณ 5,000 ครอบครัวจึงทำ ให้ไม่มีที่ทำมาหากินเพราะภูมิประเทศเป็นภูเขาลำเนาไพร ดังนั้นมอญบางพวกจึงอพยพไปทางเมืองปทุมธานี ลพบุรี หัวหน้ามอญทั้ง 7 จึงเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ไปหาเจ้าพระยารามัญวงค์และ พระยามหาโยธา เจ้าพระยาทั้งสองท่านจึงพาเข้ากราบบังคมทูลขอพระราชทานที่ทำมาหากิน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พระยามอญทั้ง 7 เลือกที่ทำมาหากินเอาเองแล้วแต่จะพอใจที่ใด พยามอญทั้ง 7 จึงทูลขอที่ริมสองฝั่งแม่น้ำแม่กลอง ตั้งแต่เมืองไทรโยค จนถึงเมืองราชบุรี แล้วจึงพระราชทานท้องตราให้พระยามอญทั้ง 7 มาด้วย ฝ่ายพระยามอญทั้ง 7 ได้พิจารณาเห็นว่าที่บริเวรตั้งแต่อำเภอบ้านโป่งถึงอำเภอโพธาราม เป็นทำเลที่เหมาะแก่การที่จะตั้งบ้านเมืองของพวกตน



เดิมทีที่ตั้งสองฝั่งแม่น้ำแม่กลองนี้เป็นที้ตั้งบ้านเรือนของชาวลาวเวียงจันทร์ที่ถูกกวาดต้อนมาเป็นเชลยครั้งสมัย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราช ซึ่งได้ตั้งบ้านเรือนเป็นโรงนาเล็กฯ พระยามอญจึงได้ เอาท้องตรามาให้ดูว่าบัดนี้ พระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานที่เหล่านี้ให้แก่พวกมอญแล้ว ดังนั้นชาวลาวเวียงจันทร์จึงถอยร่นออกไปอยู่ ณ บริเวร วัดโบสถ์ วัดบ้านเลือก วัดบ้านฆ้อง บ้านสิงห์



เมื่อได้ทำเลแล้วจึงมีหนังสือมาถึงเจ้าพระยามอญทั้งสอง เพื่อขอพระราชทานวิสุงคามสีมาจากพระบาทสมเด็จพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯได้ ดังนั้น วัดคงคา จึงเป็น วัดแรกของชาวไทยรามัญ มีเจดีย์รอบๆพระอุโบสถ 7 องค์ ซึ่งหมายถึงเมืองหน้าด่านทั้ง 7 เมืองนี้ ในสมัยรัชกาลที่ 2 ได้ทรงพระราชทานตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดคงคารามเป็นพระราชาคณะฝ่ายรามัญ ที่พระครูรามัญญาธิบดี ซึ่งเป็นตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่รามัญนิกายเมืองราชบุรี จนถึงสมัยรัชการที่ 5 จึงยกเลิกถึงบัดนี้ ในสมัยรัชการที่ 2 ได้โปรดเกล้าให้เจ้าเมืองหัวหน้ามอญทั้ง 7 เป็นที่ พระไทรโยค พระท่าขนุน พระท่ากระดาน พระท่าตะกั่ว พระลุ่มสุ่ม พระสิงห์ และพระทองผาภูมิ ชาวมอญได้คิดสร้างวัดตามหมู่บ้านใหญ่รุ่นที่ 2 คือ วัดใหญ่นครชุมน์ วัดม่วง วัดบ้านฆ้อง ในสมัยรัชกาลที่ 3 มีวัดมอญรุ่น ที่ 3 คือ วัดป่าไผ่ วัดไทร วัดเกาะ วัดตาผา วัดบ้านโป่ง วัดโชค วัดตาลปากลัด วัดหัวหิน วัดโพธิ์โสภาราม วัดมะขามและวัดม่วงล่าง และในสมัยรัชการที่ 4 มีวัดมอญรุ่นที่ 4 คือ วัดหนองกลางดง วัดชัยรัตน์ วัดหุบมะกล่ำ วัดดอนกระเบื้อง และวัดเขาช่องพราน ( โดยมีพระยาเทพประชุน ต้นตระกูลปัณยารชุน เป็นผู้ดูแล เป็นเชื้อสายพระยามอญทั้ง 7 เหมือนกัน)



ในสมัยสร้าง วัดใหญ่นครชุมน์ พระยาทองผาภูมิ ได้อพยพพาญาติพี่น้องไปอยู่ที่วัดใหญ่นครชุมน์เพื่ออุปการะวัดใหญ่นครชุมน์ ต่อมาวัดมอญในเขตอำเภอบ้านโป่งจะไปทำสังฆกรรมร่วมกันท ี่วัดใหญ่นครชุมน์



ในสมัยรัชการที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นความสำคัญของเมืองหน้าด่านทั้ง 7 เมือง จึงพระราชทานนามเจ้าเมืองทั้ง 7 นี้เสียใหม่



1. พระไทรโยค เป็นที่ พระนิโครธาภิโยค ใช้นามสกุล นิไชยโยค นิโครธา นิไทร โยค มะมม



2. พระท่าขนุน “ พระปันนสติษฐบดี “ หลักคงคา



3. พระท่ากระดาน “ พระผลกะติฐบดี “ พลบดี ตุลานนท์



4. พระท่าตะกั่ว “ พระชินดิษฐบดี “ ชินอักษร ชินบดี ชินหงษา มัญญหงษ์



5. พระลุ่มสุ่ม “ พระนิพนธ์ภูมบดี “ นินบดี นิลบดี นิลทบดี พระบรรเทา จ่าเมือง หลวงบรรเทา หลวงพันเทา



6. พระเมืองสิงห์ “ พระสมิงสิงบุรินทร์ “ สิงคิบุรินทร์ ธำรงโชติ



7. พระทองผาภูมิ เป็นที่ พระเสลภูมาธิบดี “ เสลานนท์ น้องชายใช้ เสลาคุณ



ครั้นเมื่อเมื่อเริ่มจัดการปกครองใหม่เมื่อ พ.ศ.2438 (ร.ศ.114) เป็นต้นมาได้ยกเลิกรามัญ 7 หัวเมือง โดยยุบไปสังกัดแก่เมืองกาญจนบุรี ฐานะของเมืองเหล่านี้จึงเปลี่ยนไป







หนังสืออ้างอิง



1.พร เยี่ยงสว่าง , ประวัติมอญเมืองไทย , เอกสารเย็บเล่ม , 2522



2.บรรณนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ, รองอำมาตย์โท ขุนอาโภคคดี, รวมเกล็ด



พงศาวดารและประวัติศาสตร์ชนชาติมอญ, กรุงเทพฯ, กรุงสยามการพิมพ์ , 2525



3. บรรณานุสรณ์งานฌาปนกิจศพ, พระอาจารย์แป๊ะ สหโช , ประวัติวัดคงคาราม



4. ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอบ้านโป่ง , ท้องถิ่นศึกษา ตอน 1 เล่ม 1 รวมเผ่าพงษ์ไทยบ้านโป่ง



5. หลักฐาน คุณตาแคล้ว และคุณยายถนอม เสลานนท์



6. 100 วัน แม่ประจิม ปันปี



7. บันทึก สารตรา ท่านเจ้าพระ พระยาสาร วันที่ ๙ พฤศจิกายน รศ. ๑๒๒ ถึง หลวงวิวิตภักดี ผู้ช่วยสงคราม



ขออนุญาตคัดลอกเรื่องผู้ว่าราชการรามัญ ๗ เมือง



บรรพชนในตระกูลของชาวรามัญในจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี



อ.โสภณ นิไชยโยค



มอญเจ็ดหัวเมืองกับสงครามเก้าทัพ



ทิศทางที่ ๑ เจ้าพระยาธรรมาธิบดี เป็นแม่ทัพหน้ากรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) เป็นแม่ทัพหลวง พระยามหาโยธา คุมกองมอญ ๓,๐๐๐ คนไปขัดตาทัพที่ด่านกรามช้าง



บันทึกเหตุการณ์ตอนนี้มีว่า



“แต่นายทัพนายกองทั้ง ๓ นาย คอยสกัดตีกองลำเลียงพม่า และจับพม่ามาได้บ้าง ส่งให้ทัพหลวง แล้วคิดย่อท้อต่อข้าศึก หลีกหนีไปซุ่มทัพตั้งอยู่ที่อื่น กรมพระราชวังบวรฯทรงทราบ จึงรับสั่งให้ข้าหลวง ไปสอบข้อเท็จจริง ถ้าจริงก็ให้ประหารชีวิต และตัดศีรษะมาถวาย ส่วนปลัดทัพทั้ง ๒ นั้น ให้เอาขวานสับศีรษะคนละ ๓ เสี่ยง ข้าหลวงไปสอบและประจักษ์ด้วยตาแล้วว่าเป็นความจริง จึงปฏิบัติตาม พระราชบัณฑูร ตัดศีรษะพระยาทั้งสาม นำชะลอมใส่ศีรษะทั้งสามมาถวาย ณ ค่าย มีพระราชบัณฑูรให้เสียบประจานไว้หน้าค่ายอย่าให้ผู้ใดเอาเยี่ยงอย่าง



แล้วดำรัสให้พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าขุนเณรเป็นนายทัพกองโจรคุมพล ๑,๐๐๐ คน ไปสมทบกันกับกองโจรเดิม ๕๐๐ เป็น ๑,๕๐๐ คน ไปคอยสกัดตีกองลำเลียงของพม่าที่ตำบลพุไคร้ดังแต่ก่อน เพื่อมิให้พม่าส่งลำเลียงข้าวปลาอาหารได้ ปรากฏว่าได้ผลดี ส่งเชลยพม่าที่จับได้ ช้าง ม้า โค เสบียงอาหาร มาถวายเนืองๆ



ครั้งนั้น พม่าได้ตั้งหอรบแล้วเอาปืนใหญ่ไปตั้งยิงค่ายทัพไทย ทัพไทยไม่มีลูกปืนใหญ่ เอาไม้มาทำเป็นลูกปืนระดมยิงค่ายพม่าพังไปหลายตำบล พม่าถูกลูกปืนไม้ล้มตายและลำบากเป็นอันมาก ออกจากค่ายก็ไม่ได้ เสบียงก็ขัดสน ถอยกำลังลง กรมพระราชวังบวรฯ จึงทรงแต่งหนังสือข้อราชการสงครามให้ข้าหลวงถือมากราบทูลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ซึ่งทรงเตรียมกองทัพไว้แล้ว



พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯจึงเสด็จฯกรีธาทัพหลวงกำลังพล ๒๐,๐๐๐ คนไปช่วย เพื่อให้ศึกเสร็จสิ้นโดยเร็ว...”



‘พระองค์เจ้าขุนเณร’ นี้ เป็นโอรสเลี้ยงในสมเด็จพระพี่นางเธอพระองค์ใหญ่ (ในรัชกาลที่ ๑) คือเป็นบุตรของพระภัสดากับภริยาอื่น นัยว่าพระชนม์สูงกว่ากรมพระราชวังหลังพระโอรสองค์ใหญ่ใน สมเด็จพระพี่นางเธอฯ







พระยาเสลาภูมาธิบดี



พระทองผาภูมิได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็น พระยาเสลาภูมาธิบดี ภายหลังได้ทำศึกสงครามเก้าทัพที่ทุ่งลาดหญ้า ซึ่งมอญเจ็ดหัวเมืองนั้นได้รับใช้และเป็นหัวเมืองหน้าด่านทั้งหาข่าว กรองแล้วรีบรายงานด่วนถึงพระมหากษัตริย์ ในสงครามเก้าทัพมอญทั้งเจ็ดหัวเมืองเพื่อรายงานข่าวกรองว่าพม่าได้เดินทางมาทางด่านเจดีย์สามองค์ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ให้สมเด็จเจ้าขุนเณรคุมกำลังส่วนหนึ่งและมี มอญทั้งเจ็ดหัวเมืองอยู่ในความบังคับบัญชา ตั้งค่ายทางทิศตะวันตก................ ภายใต้การบังคับบัญชาของกรมพระราชวังบวรสุรสิงหนาท หลักฐานในบันทึก กรมทหารราบที่ ๙ ทุ่งลาดหญ้า กาญจนบุรี พระยาเจ่งจะคุมมอญอีกชุดหนึ่ง การรบที่ทุ่งลาดหญ้านับเป็นสงครามที่สำคัญของประวัติชาติไทย ที่มีผู้กล้าหาญเด็ดเดี่ยวมิมีใครกลัว เกรงข้าศึก



มอญเจ็ดหัวเมืองมีความสำคัญมากในขณะนั้น และได้รับพระราชทานเป็น พระยา ๓ ท่าน ภายหลังเสร็จสิ้นสงครามเก้าทัพ ถึงมอญเจ็ดหัวเมืองจะถูกบันทึกในประวัติศาสตร์น้อยมากแต่ก็ เป็นกำลังที่สำคัญโดยเฉพาะการข่าว ข่าวกรอง เพราะมอญเจ็ดหัวเมืองมีความชำนาญเส้นทางประจวบกับมีญาติที่อยู่ในเขตพม่าที่ให้ข่าวสาร จึงทำให้การข่าวของไทยได้รับทราบรวดเร็ว และสามารถตั้งรับข้าศึกดำเนินการวางแผนได้ดี







พระยาเสลาภูมาธิบดี ได้รับพระราชทานดังนี้



๑. ผ้านุ่งและผ้าไหม กำได้หนึ่งกำมือ และได้มอบให้บุตรชายคนรองเก็บรักษาอยู่



๒. ธงชาติพระราชทาน ธงพื้นสีแดงตรงกลางเป็นช้างเผือกไม่มีทรงเครื่อง



๓. ผ้าขลิบสีน้ำเงินพระราชทานให้หลวงวิชิตสงครามบุตรชายคนโตของพระยาเสลา



ภูมาธิบดี ผ้าผุพังหมดแล้วสมัยผมเป็นเด็กเคยจับดูขาดหมด แล้วจึงเก็บกระดุมไว้ ๓ เม็ด




จากหลักฐานทางเอกสารที่เก่าแก่ที่สุดที่กล่าวถึงเมืองกาญจนบุรี คือ พงศาวดารเหนือ กล่าวว่า "กาญจนบุรีเป็นเมืองพญากง พระราชทานบิดาของพระยาพาน เป็นเมืองสำคัญของแคว้นอู่ทอง หรือสุวรรณภูมิ มีผู้สันนิษฐานว่าพญากงสร้างขึ้นราว พ.ศ.1350" ต่อมาขอมได้แผ่อิทธิพลนำเอาศาสนาพุทธมหายานเข้ามาประดิษฐานในเมืองกาญจนบุรี ปรากฏหลักฐานคือปราสาทเมืองสิงห์ เมืองครุฑ เมืองกลอนโด จนอำนาจอิทธิพลขอมเสื่อมลงไป



สมัยอยุธยาเป็นราชธานี



ในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมืองกาญจนบุรีปรากฏชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันทั่วไป ต้องกลายมาเป็นเมืองหน้าด่าน เพราะตั้งอยู่ติดกับประเทศคู่สงครามคือพม่า กาญจนบุรีจึงเป็นเส้นทางเดินทัพและสมรภูมิ ด้วยเหตุว่ามีช่องทางเดินติดต่อกับพม่า คือ ด่านพระเจดีย์สามองค์ และด่านบ้องตี้ จึงนับว่ามีความสำคัญที่สุดเมืองหนึ่งในทางยุทธศาสตร์ ยังปรากฏชื่อสถานที่ในพงศาวดารหลายแห่งเช่น ด่านพระเจดีย์สามองค์ สามสบ ท่าดินแดง พุตะไคร้ เมืองด่านต่าง ๆ เมืองกาญจนบุรีตั้งอยู่ในช่องเขาริมลำน้ำแควใหญ่มีลำตะเพินอยู่ทางด้านทิศเหนือ ด้านหลังติดเขาชนไก่ ห่างจากที่ตั้งปัจจุบันไปประมาณ 14 กิโลเมตร ชาวบ้านเรียกกันว่าเมืองกาญจนบุรีเก่ามีผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด 170x355 เมตร มีป้อมมุมเมืองก่อด้วยดินและหินทับถมกัน ลักษณะของการตั้งเมืองเหมาะแก่ยุทธศาสตร์ในสมัยนั้นอย่างยิ่ง ด้วยเป็นซอกเขาที่สกัดกั้นพม่าที่ยกมาทางด่านพระเจดีย์สามองค์ มุ่งจะไปตีเมืองสุพรรณบุรีและอยุธยาจำเป็นต้องตีเมืองกาญจนบุรีให้ได้เสียก่อน หากหลีกเลี่ยงไปอาจจะถูกกองทัพที่เมืองกาญจนบุรีตีกระหนาบหลัง ปัจจุบันยังมีซากกำแพงเมือง ป้องปราการ พระปรางค์ เจดีย์ และวัดร้างถึง 7 วัดด้วยกัน สมัยอยุธยานี้ไทยต้องทำสงครามกับพม่าถึง 24 ครั้ง กาญจนบุรีเป็นสมรภูมิหลายครั้ง และเป็นทางผ่านไปตีอยุธยาจนต้องเสียกรุงครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2310 และต้องย้ายราชธานีใหม่



สมัยธนบุรีเป็นราชธานี



กรุงธนบุรีเป็นราชธานีใหม่จากการกู้เอกราชโดยพระเจ้ากรุงธนบุรี ในสมัยนี้เกิดสงครามกับพม่าถึง 10 ครั้ง กาญจนบุรีเป็นสมรภูมิอีกหลายครั้ง เช่น สงครามที่บางกุ้ง และที่บางแก้ว ซึ่งมีสมรภูมิรบกันที่บริเวณบ้านหนองขาว



สมัยกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี



เมื่อไทยย้ายราชธานีมาอยู่ที่กรุงเทพฯ เพียง 3 ปี ก็เกิดสงครามใหญ่คือ สงคราม 9 ทัพ แต่ไทยสามารถยันกองทัพพม่าแตกพ่ายไปได้ ณ สมรภูมิรบเหนือทุ่งลาดหญ้าในปีต่อมาก็ต้องทำสงครามที่สามสบและท่าดินแดงอีก และไทยตีเมืองทวาย จากนั้นจะเป็นการรบกันเล็กน้อยและมีแต่เพียงข่าวศึก เพราะพม่าต้องไปรบกับอังกฤษในที่สุดก็ตกเป็นเมืองขึ้น และเลิกรบกับไทยตลอดไป ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นยุทธศาสตร์การรบเปลี่ยนไป โดยเหตุที่พม่าต้องนำทัพลงมาทางใต้เพื่อเข้าตีกรุงรัตนโกสินทร์ จำเป็นต้องมีทัพเรือล่องลงมาจากสังขละบุรี มาตามลำน้ำแควน้อยผ่านอำภอไทรโยค มายังปากแพรก ซึ่งเป็นที่รวมของแม่น้ำทั้งสอง ด้วยเหตุนี้หลังจากสิ้นสงคราม 9 ทัพแล้ว จึงได้เลื่อนที่ตั้งฐานทัพจากเมืองกาญจนบุรีที่ลาดหญ้า มาตั้งที่ตำบลปากแพรก ซึ่งเป็นที่รวมของแม่น้ำทั้ง 2 สาย กลายเป็นแม่น้ำแม่กลอง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงอธิบายว่า "ที่จริงภูมิฐานเมืองปากแพรกดีกว่าเขาชนไก่ เพราะตั้งอยู่ในที่รวมของแม่น้ำทั้ง 2 สาย พื้นแผ่นดินที่ตั้งเมืองก็สูงแลเห็นแม่น้ำน้อยได้ไกล ป้อมกลางย่านตั้งอยู่กลางลำน้ำทีเดียว แต่เมืองกาญจนบุรีที่ย้ายมาตั้งใหม่นี้เดิมปักเสาระเนียดแล้วถมดินเป็นเชิงเทินเท่านั้น" ในสมัยรัชกาลที่ 2 กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ได้เสด็จออกมาขัดตาทัพ กำแพงเมืองก็คงเป็นระเนียดไม้อยู่ ต่อมาจนถึง พ.ศ.2374 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้โปรดให้ก่อสร้างกำแพงเมืองและป้อมปราการขึ้นเป็นถาวร ทั้งนี้โดยมีพระราชประสงค์ส่วนใหญ่เพื่อติดต่อค้าขายกับเมืองราชบุรี ดังพระราชนิพนธ์เสด็จพระพาสไทรโยค กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า "แต่มีเมืองปากแพรกเป็นที่ค้าขาย ด้วยเขาชนไก่เมืองเดิมอยู่เหนือมากมีแก่งถึงสองแก่ง ลูกค้าไปมาลำบาก จึงลงมาตั้งเมืองเสียที่ปากแพรกนี้เป็นทางไปมาแก่เมืองราชบุรีง่าย เมืองที่สร้างขึ้นใหม่ กว้าง 5 เส้น ยาว 18 วา มีป้อม 4 มุมเมือง ป้อมย่านกลางด้านยาวตรงหน้าเมืองทิศตะวันตกเฉียงใต้มีป้อมใหญ่อยู่ตรงเนิน ด้านหลังมีป้อมเล็กตรงกับป้อมใหญ่ 1 ป้อม" การสร้างเมืองกาญจนบุรีใหม่นี้ ดังปรากฏในศิลาจารึกดังนี้ ให้พระยาราชวรินทร์ เจ้ากรมพระตำรวจเป็นพระยาประสิทธิสงครามรามภักดีศรีพิเศษประเทศนิคมภิรมย์ราไชยสวรรค์พระยากาญจนบุรี ครั้งกลับเข้าไปเฝ้าโปรดเกล้าฯว่าเมืองกาญจนบุรีเป็นเมืองอังกฤษ พม่า รามัญ ไปมาให้สร้างเมืองก่อกำแพงขึ้นไว้จะได้เป็นชานพระนครเขื่อนเพชรเขื่อนขัณฑ์มั่นคงไว้แห่งหนึ่ง ในปัจจุบันกำแพงถูกทำลายลงโดยธรรมชาติและหน่วยราชการเพื่อประโยชน์อย่างอื่น เหลือเพียงประตูเมืองและกำแพงเมืองบางส่วน



การปกครองของเมืองกาญจนบุรี



ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นประกอบด้วยเมืองด่าน 8 เมือง อยู่ในแควน้อย 6 เมือง แควใหญ่ 2 เมือง ตั้งขึ้นเพื่อประโยชน์ในทางยุทธศาสตร์ เพราะได้ตั้งให้พวกมอญอาสา มอญเชลย และกะเหรี่ยง เป็นเจ้าเมืองปกครองกันเอง เพื่อให้มีเกียรติศัพท์ดังออกไปเมืองพม่าว่ามีหัวเมืองแน่นหนาหลายชั้น และมีหน้าที่คอยตระเวรด่านฟังข่าวคราวข้าศึกติดต่อกันโดยตลอด เมื่อสงครามว่างเว้นลงแล้ว เจ้าเมืองกรมการเหล่านี้ก็มีหน้าที่ส่งส่วย ทองคำ ดีบุก และสิ่งอื่นๆ แก่รัฐบาลโดยเหตุที่ในสมัยนั้นมิได้จัดเก็บภาษีอากรจากพวกเหล่านี้แต่อย่างใด เมืองด่าน 7 เมือง(รามัญ 7 เมือง) ประกอบด้วยเมืองในสุ่มแม่น้ำแควน้อย 6 เมือง และแควใหญ่ 1 เมือง คือ



เมืองสิงห์



เมืองลุ่มสุ่ม



เมืองท่าตะกั่ว



เมืองไทรโยค



เมืองท่าขนุน



เมืองทอผาภูมิ



เมืองท่ากระดาน











เมืองต่างๆ เหล่านี้ผู้สำเร็จราชการเมืองยังไม่มีพระนาม ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเป็นภาษาสันสกฤตแก่ผู้สำเร็จเมือง ดังนี้



เมืองสิงห์ เป็น พระสมิงสิงห์บุรินทร์ ปัจจุบันเป็นต้นสกุล สิงคิบุรินทร์ ธำรงโชติ



เมืองลุ่มสุ่ม เป็น พระนินภูมิบดี ปัจจุบันเป็นต้นสุกล นินบดี จ่าเมือง หลวงบรรเทา



เมืองท่าตะกั่ว เป็นพระชินติฐบดี ปัจจุบันเป็นต้นสกุล ท่าตะกั่ว ชินอักษร ชินหงสา



เมืองไทรโยค เป็น พระนิโครธาภิโยค ปัจจุบันเป็นต้นสกุล นิโครธา



เมืองท่าขนุน เป็นพระปนัสติฐบดี ปัจจุบันเป็นต้นสกุล หลักคงคา



เมืองทองผาภูมิ เป็น พระเสลภูมิบดี เป็นต้นสกุลเสลานนท์ เสลาคุณ



เมืองท่ากระดาน เป็นพระผลกติฐบดี เป็นต้นสกุล พลบดี ตุลานนท์











ครั้นเมื่อมีการปกครองตามระเบียบสมัยใหม่ ร.ศ.114 เมืองด่านเหล่านี้ถูกยุบลงเป็นหมู่บ้าน ตำบล กิ่งอำเภอ เป็นอำเภอบ้างตามความสำคัญของสถานที่ ดังนี้



เมืองทองผาภูมิ (เดิมเรียกว่าท้องผาภูมิ) ยุบลงเป็นหมู่บ้านอยู่ในเขตกิ่งอำเภอสังขละบุรี(ต่อมาเป็นอำเภอสังขละบุรี) ปัจจุบันเป็นอำเภอทองผาภูมิ



เมืองท่าขนุน(สังขละบุรี) ยุบลงเป็นกิ่งอำเภอสังขละบุรี ขึ้นต่ออำเภอวังกะ ซึ่งตั้งใหม่อยู่ห่างจากท่าขนุนขึ้นไป ตั้งที่ว่าการริมน้ำสามสบ ต่อมาอำเภอวังกะและกิ่งอำเภอ สังขละบุรีได้ถูกเปลี่ยนฐานสลับกันหลายครั้ง และต่อมากิ่งอำเภอสังขละบุรีตั้งอยู่ที่ตำบลวังกะ เดิมขึ้นต่ออำเภอทองผาภูมิและเปลี่ยนชื่อเป็นอำเภอสังขละบุรี ส่วนกิ่งอำเภอ สังขละบุรีเดิมตั้งอยู่ที่ตำบลท่าขนุน เปลี่ยนเป็นอำเภอทองผาภูมิ ตั้งแต่ พ.ศ.2492 เป็นต้นมา



เมืองไทรโยค ยุบลงเป็นกิ่งอำเภอวังกะ ใน พ.ศ.2492 ต่อมาได้โอนขึ้นกับอำเภอเมืองกาญจนบุรี ได้ย้ายที่ทำการหลายครั้ง ปัจจุบันนี้ตั้งที่ทำการอยู่ที่ตำบลวังโพธิ์ และได้ ยกขึ้นเป็นอำเภอไทรโยค เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ.2506



เมืองท่าตะกั่ว ยุบลงเป็นหมู่บ้านอยู่ในตำบลท่าเสา อำเภอไทรโยค



เมืองลุ่มสุ่ม ยุบลงเป็นหมู่บ้านในตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค



เมืองสิงห์ ยุบลงเป็นหมู่บ้านอยู่ในตำบลสิงห์ อำเภอไทรโยค











ผู้ว่าราชการรามัญ ๗ เมือง



บรรพชนต้นตระกูลของชาวรามัญในจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี



อ.โสภณ นิไชยโยค ( ขอคัดบทเพื่อเผยแพร่ประวัติเพื่ออนุชนรุ่นหลังได้รับทราบ )



มอญที่อพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวแห่งกรุงสยามโดยเฉพาะในสมัยแผ่นดินพระเจ้ากรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นได้เขามาอาศัยตั้งถิ่นฐานบ้าน เรือนทํามาหากินอยู่ในประเทศสยามหลายแห่งหลายตําบลหลายอําเภอและหลายจังหวัดมอญเหล่านี้ตระหนักดี วาพระมหากษัตริย์เจ้าแห่งสยามประเทศนั้นเป็นพระบรมโพธิสมภารแหล่งสุด ท้ายของพวกเขาไม่มีที่อื่นใดอีกด้วยเพราะพวกเขาได้หมดสิ้นแล้วซึ่งแผ่นดินถิ่นอาศัยสิ้นแล้วซึ่งพระเจ้าเหนือหัวของพวกเขาเองมาเป็นเวลากว่า ๒๐๐ ปีแล้วเพราะฉะนั้นมอญที่เข้ามาอยู่ใน ประเทศสยามนี้จึงได้เทิดทูนองค์พระมหากษัตราธิราชเจ้าของไทยให้ทรงเป็นองค์พระมหากษัตริยร์ของพวกตนด้วยความจงรักภักดีอย่างสูงสุดด้วยใจจริง เราคงจะเคยได้ยินได้ฟังพฤติกรรม ของชาวมอญในประเทศไทยในแห่งหนใดก็ตาม นอกจากมอญจะทําตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมไทยโดยการประพฤติตนให้ชอบตามกฎหมายบ้านเมือง ประกอบการอาชีพที่สุจริตแล้ว เราก็อาจจะเคยได้ยินว่ามีมอญจํานวนไม่ใช่น้อย ได้มีโอกาสอาสาเข้ารับราชการสนองพระเดชพระคุณในหน้าที่ต่างๆ กันบางพวกก็รับ ราชการเป็นนายทหารเป็นแม่ทัพนายกองเป็นกรมอาทมาตเป็นกรมดั้งทองเป็นกรมดาบสองมือ เป็นผู้ว่าราชการเมืองทั้งส่วนกลางและหัวเมือง มีปรากฏในประวัติศาสตร์ของ ไทยโดยเฉพาะในตอนต้น ของกรุงรัตนโกสินทร์ตลอดมา



ในโอกาสนี้จะกล่าวถึงเกียรติประวัติของมอญกลุ่มหนึ่งซึ่งเคยได้รับราชการสนองพระเดชพระคุณมีความดีความชอบ และมีเกียรติคุณอันพึงยกย่องสรรเสริญ เป็นเกียรติที่ลูก หลานและทายาทพึงจะภาคภูมิใจและยึดถือเป็นฉบับที่ควรเอาอย่างตลอดไปมอญกลุ่มนี้เป็นกลุ่มชาวมอญโพธาราม ที่มีนิวาสน์สถานอยู่บริเวณบ้านคงคาราม ตําบลคลองตาคต อําเภอโพธาราม จังหวัดราชบุรี และอีกหลายตําบลในอําเภอโพธาราม อําเภอบ้านโป่ง และหลายๆ หมู่บ้านในอําเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี อําเภอท่า มะกา จังหวัดกาญจนบุรี ได้อพยพมาจากบ้านเกิดเมืองนอนเดิมของตนที่เป็น ประเทศ พม่า ปัจจุบันนี้แล้วก็ได้มาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนทํามาหากินอยู่ในบริเวณสถานที่ดังกล่าวแล้ว ต่อมาก็ได้อาสาเข้ารับ ราชการสนองพระเดชพระคุณโดยได้เป็นผู้ว่าราชการหัวเมืองต่าง ๆ จํานวน ๗ หัวเมือง โดยขึ้นกับเมืองกาญจนบุรี ทั้งนี้เพื่อมีหน้าที่เป็นข้าหลวงต่างพระเนตรพระกรรณ เนื่องจาก หัวเมืองต่างๆ เหล่านี้เป็นเมืองหน้าด้านเป็น ทางผ่านของอริราชศัตรูอยู่เป็นนิตย์ ส่วนหน้าที่โดยละเอียดและปลีกย่อย ตลอดจนความเป็นอยู่ของบรรดาท่านผู้ว่าราชการเหล่านี้ และชาวเมืองคนมอญที่อาศัยอยู่ด้วยจะมีเรื่องราวเป็นอย่างไรบ้างนั้น ผู้เขียนจะได้กล่าวต่อไปเป็นลําดับดังนี้



ในปีพุทธศักราช ๒๓๐๓ (ปีมะโรงจุลศักราช ๑๑๒๒)พระเจ้าอลองพญากษัตริย์พม่าได้ยกกองทัพมาตีเมืองหงสาวดี พะสิม เมาะตะมะ เมาะลําเลิง ของมอญได้ และได้เกณฑ์ให้พวก มอญเมืองเมาะตะมะเมาะลําเลิงให้ยกทัพมาตีไทยสมัยพระเจ้าเอกทัศน์และได้ยกทัพมาล้อมกรุงศรีอยุธยาตั้งแต่เดือน ๕ จนถึงเดือน ๖ ขึ้น ๑ ค่ำ พระเจ้า อลองพญาทรงบัญชาการรับ และจุดปืนใหญ่ด้วยตนเอง เผอิญปืนแตกถูกพระองค์บาดเจ็บสาหัสประชวรหนักในวันนั้น เดือน ๖ ขึ้น ๒ ค่ำ พม่าก็เลิกทัพขึ้นไปทางเหนือทางด้านแม่ละเมา ยังไม่ทันพ้นแดนเมืองตาก พระเจ้าอลองพญาก็สิ้นพระชนม์ในกลางทาง (หนังสือไทยรบพม่า) ของสมเด็จกรมพระยาดํารงราชานุภาพ



๑ พระเจ้ามังลอกราชโอรสองค์ใหญ่ขึ้นครองราชย์สมบัติต่อจากพระเจ้าอลองพญา พวกพม่ามอญแข็งเมืองก่อการกบฏ อาทิ เจ้าเมืองพุกาม เมืองหงสาวดี เมืองเมาะตะมะ เมืองเมาะลําเลิง สมิงทอมาซึ่งได้รับการช่วยเหลือจากพระเจ้าเชียงใหม่ รวมสมัครพรรคพวกเข้ายึดเมืองเมาะตะมะ เมาะลําเลิงได้ตั้งตนเป็นกษัตริย์ปกครองเมืองเมาะตะมะแต่ในที่สุดก็ถูกพระเจ้ามังลอก ปราบปรามสําเร็จ ทําให้หัวหน้ามอญในเมืองเมาะตะมะ เมืองเมาะลําเลิง และพรรคพวกประมาณ ๑ ๐๐๐ คนได้อพยพหนีภัยจากพม่าเข้ามาทางด้านเจดีย์สามองค์ เพื่อมาพึ่งพระบรม โพธิสมภารพระเจ้ากรุงสยามในปี พ.ศ.๒๓๐๓ (ประวัติมอญเข้ากรุงสยามของ ก.ศ.ร.กุหลาบ )



๒ พระยากาญจนบุรีจึงมีใบบอกมายังกรุงศรีอยุธยา พระเจ้าอยู่หัวเอกทัศน์โปรดให้จัดครัวมอญเหล่านี้ตั้งบ้านเรือนอยู่ชายแดนไทยตั้งแต่บ้านท่าขนุน ทองผาภูมิ ไทรโยค ท่าตะกั่ว ลุ่มสุ่ม เมืองสิงห์ และท่ากระดาน และให้ คอยดูแลสอดส่องลาดตระ เวนชายแดนไทย และรายงานความเคลื่อนไหวของพม่ารายงานมายังกรุงศรีอยุธยา จนกระทั่งปีพุทธศักราช ๒๓๑๐ พระเจ้ามังระกษัตริย์พม่ายกทัพมาตีกรุงศรีอยุธยาได้ในวันอังคารเดือน ๕ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีกุน พวกมอญชายแดนเจ็ดหัวเมืองที่เป็นชาวบ้านและกรมการเมืองบางส่วนก็หลบลี้ หนีภัยพม่าเข้ามาอาศัยอยู่กับพวกมอญเดิมสมัยกรุงศรีอยุธยา บริเวณบ้านโพธาราม บ้านบางเลา บ้านนครชุมน์ แขวงเมืองราชบุรี และในเดือน ๑๒ ปีชวด ระยะเวลา ๗ เดือน พระเจ้าตากสินก็กู้เอกราชได้ และเห็นความสําคัญของมอญอพยพในปีพุทธศักราช ๒๓๐๓ ที่อยู่ตามชายแดนเมือง กาญจนบุรี จึงตั้งให้เป็นเมืองด่านขึ้นทั้ง ๗ ด่านและตั้งให้หัวหน้ามอญทั้ง ๗ คน ซึ่งเป็นญาติกันทั้ง ๗ คน เป็น นายด้าน ผู้เขียนเป็นคนในตระกูลเจ้าเมืองไทรโยค ทราบว่านายด้านท่านแรกของเมืองไทรโยคนี้ เป็นขุนนาง มอญมาแต่เมืองเมาะลําเลิง มีชื่อว่าสมิงพะตะเบิดซึ่งเป็นตําแหน่งขุนนางมอญ ส่วนนายด่านเมืองท่าขนุนนั้น ตระกูลหลักคงคาได้เขียนไว้ในงานพระราชทานเพลิงศพขุนอาโภคคดี มีชื่อว่าพญาท่าขนุนเฒ่า ส่วนเมืองอื่นๆ นั้นได้ชื่อแน่นอนเฉพาะสมัยรัชกาลที่ ๔ ที่ ๕ เท่านั้น ในปีพุทธศักราช ๒๓๒๕ พระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกปราบดาภิเษกขึ้นเป็น ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีและในปีมะเส็ง พุทธศักราช ๒๓๒๘ พระเจ้าประดุงได้ยกกองทัพเข้ามาตีไทยถึงเก้าทัพ ชาวด่าน ๗ เมือง มีบทบาทสําคัญในการเป็นกองเสบียง และช่วยรบในสงครามเก้า ทัพด้วย โดยที่อยู่ใต้บังคับบัญชาของพระยากาญจนบุรีส่วนหนึ่งและพระยามหาโยธา (เจ่ง คชเสนี ) อีกส่วนหนึ่ง เพราะพวกมอญเหล่านี้มีความชํานาญ ภูมิประเทศแถบนี้เป็นอย่างดี กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงยกกองทัพไปตั้งรับพม่าที่ทุ่งลาดหญ้า แขวงเมืองกาญจนบุรี และทรงให้พระยามหาโยธา ( เจ่ง ) คุมกองทัพมอญ จํานวนพล ๓ ,๐๐๐ คน ยกออกไปขัดตาทัพอยู่ที่ด่านกรามช้าง และในจํานวนนี้มีนายด่านและกองมอญ ๗ ด่านนี้ร่วมรบอยู่ด้วย จนเสร็จสิ้นสงครามเก้าทัพพระบาทสมเด็จพระพุทธ ยอดฟ้าจุฬาโลกทรงปูนบําเหน็จความดีความชอบแก่ข้าราชการทหารทั้งปวงและโปรดให้ยก ๗ ด่านขึ้นเป็นเมือง เพื่อให้ชื่อเสียงปรากฏไปยังพม่าว่าสยามประเทศมีเมืองตาม ชายแดนเพื่อป้องกันข้าศึกมากขึ้นและให้นายด่านทั้ง ๗ เป็นเจ้าเมืองมีตําแหน่งเป็น“พระ” ดังนี้



ท่าขนุน มีตำแหน่ง พระท่าขนุน



ทองผาภูมิ มีตำแหน่ง พระทองผาภูมิ



ไทรโยค มีตำแหน่ง พระไทรโยค



ท่าตะกั่ว มีตำแหน่ง พระท่าตะกั่ว



ลุ่มสุ่ม มีตำแหน่ง พระลุ่มสุม



สิงค์ มีตำแหน่ง พระสิงค์



ท่ากระดาน มีตำแหน่ง พระท่ากระดาน



และตั้งกรมการเมืองเช่นเดียวกับเมืองต่าง ๆ ของไทยทั่วไป ผิดแต่ว่ากรมการเมืองและชาวเมืองในบังคับล้วนแต่เป็นชาวมอญทั้งสิ้น และที่น่าสังเกตมีตําแหน่งเพิ่มอีก ๑ ตําแหน่ง ซึ่งไทยไม่มีแต่ ๗ เมืองนี้มีคือตําแหน่งจักกาย เพราะเป็นตําแหน่งกรมการเมืองของฝ่ายเมืองมอญมาแต่อดีตครั้งยังมีประเทศรามัญ สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ผู้เขียนไม่แน่ใจว่าเจ้าเมืองมอญทั้ง ๗ เมือง นี้ได้เลื่อนยศเป็น พระยาหรือไม่หรือเลื่อนยศเฉพาะบางเมือง เพราะในจดหมายเหตุกรุงรัตนโกสินทร์



สมัยรัชกาลที่ ๒ ฉบับประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๑๐ พ.ศ. ๒๕๓๙ ท้องตราเจ้าพระยาอัครมหาเสนาบดีถึงพระยาราชบุรี พระยากาญจนบุรี เรื่องรามัญในกองพระยา รัตนจักรหลบหนีการทัพ ๕ คน ให้บอกด้านทาง แลแต่ง คนออกสกัดจับตัว จ.ศ. ๑๑๘๓



๑ หนังสือเจ้าพระยาอัครมหาเสนาบดีถึงพระยาราชบุรี พระยากาญจนบุรี ด้วยทรงพระกรุณาตรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า พระยามหาโยธากราบทูลพระกรุณาว่ารามัญในกองพระยารัตนจักร จัดล่องเรือลงมาถึงปากแพรก มะจุ นายหมวดหายไปคนหนึ่ง ครั้นขึ้นไปดูอ้ายมะจุซึ่งลองแพลงมาถึงยางเกาะก็ทิ้งแพเสีย หายไปอีก มะถอ ๑ มะรอย ๑ มะจับ ๑ รวม ๓ หญิง ๑ รวม ๔ คน เข้ากันเป็น ๕ คนก็หาได้บอกแก่พระยาราชบุรีพระยากาญจนบุรีให้รู้ไม่ แลมอญเหล่า นี้ก็ตั้งขัดตาทัพอยู่ ณ แก้งไผ่ เข้าใจอยู่ว่า อ้ายหาญหักค่ายหนีไป ทางช่องเขาหนีบ ช่องเขารวก เห็นว่ามอญเหล่านี้จะหนีไปทางช่องเขาหนีบ จะทําแพล่องลง ลงไปทางแม่น้ำท้องชาตรี ให้พระยาราชบุรีพระยากาญจนบุรี แต่งคนขึ้นไปให้ พระยาท่าตะกั่ว พระยาไทรโยค พระยาทองผาภูมิ พวกด้านทางทุกแห่ง ทุกตําบล ให้ออกก้าวสกัดจับเอาตัวรามัญซึ่งหนีไปให้จงได้แล้ว จําจองให้มั่นคง ส่งเข้าไป ณ กรุงฯ โดยเร็ว หนังสือมา ณ วัน ๗ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๖ ปี มะเส็ง ตรีนิศก วัน ๗ แรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๖ ป มะเส็ง ตรีนิศก เพลาค่ำ จหมื่นไชยพรรับตราไป เรือยาว ๙ วา พลพาย ๑๔ พาย



๒ หนังสือเจ้าพระยาอัครมหาเสนาบดี มาถึงพระยาราชบุรีด้วยทรงพระกรุณาตรัสเหนือเกล้าสั่งว่ารามัญไม่ออกไปขัดตาทัพอยู่ ณ แก่งไผ่ ล่องแพลงมาถึงยางเกาะแล้วหนีไป เป็นชายหญิง ๕ คน ได้มีตราออกมาให้พระยาราชบุรี กรรมการ ติดตามแจ้งอยู่แล้ว แลทุกวันนี้รามัญได้พาบุตรภรรยาไปเที่ยวทํามาหากินทุกแห่ง ทุกตําบล ที่เป็นคนดีมีภาคภูมิไม่มีหนี้สิน และเล่นเบี้ยกินเหล้า ก็พาบุตรภรรยากลับมาบ้านเรือน ที่เป็นหนี้ สินเขาติดค้างอยู่ก็พากันหลบหนีไป จะเอาใช้ราชการก็มิได้ ได้มีตราแต่งให้ข้าหลวงไปขับไล่ทุกหัวเมือง ครั้งหนึ่งแล้ว ก็ยังไม่กลับเข้ามา แลรามัญใหม่ซึ่งไปตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ คลองบางสองร้อย โพธาราม บางเลาละครชุม ในบรรดาแขวงเมืองราชบุรีจะไว้ใจหาได้ไม่ จะหนีไป เหมือนอ้ายหาญหักค่าย แลรามัญหนีครั้งนี้นั้น ให้พระยาราชบุรีแต่ง กรมการกํากับด้วยสมิงอาทมาต กวาดไล่ครอบครัวรามัญใหม่ ชายหญิง ให้เข้าไปตั้งบ้านเรือน ทํามาหากิน ณ กรุงฯ ให้สิ้นเชิงอย่าให้หลงเหลือแต่คนหนึ่งได้ แลอย่าให้สมิงอาทมาต กรมการ ลงเอาพัสดุ ทอง เงิน แก่รามัญใหม่ เป็นค่าสินบน และค่าทุเลาแต่เฟื้องหนึ่งขึ้นไปได เป็นอันขาดทีเดียว ถ้าขับไล่ได้เข้าไป ณ กรุงฯ เป็น รามัญกองใดมากน้อยเท่าใด ให้มีบาญชีบอกเข้าไปให้แจ้ง หนังสือมา ณ วัน ๓ แรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๖ จุลศักราช ๑๑๘๓ ปีมะเส็ง ตรีนิศก *๑๒



๓. จดหมายเหตุกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒ บอกพระยาพิไชยภักดี เมืองกาญจนบุรี ตอบรับท้องตราเรื่องให้ พระยาไทรโยค แต่งคนออกไปลาดตระเวนจับพม่าทางเมืองทวาย วัน ๔ ฯ ๙ ค่ำ ปีมะเมีย จ.ศ. ๑๑๘๔



๔ ข้าพเจ้า พระยาไชยภักดีศรีมหัยสวรรคี พระยากาญจนบุรี หลวงกาญจนบุรี ยกระบัตร กรมการ ขอบอกมายังท่านออกพันนายเวน ขอให้กราบเรียน ฯพณฯ หัวเจ้าท่านลูกขุน ณ ศาลา ให้ทราบด้วยอยู่ ณ วันเดือนเก้า แรมเก้าค่ำ ปีมะเมีย จัตวาศก เพลาเช้า หมื่นวิสูตรภักดี ถือตราราชสีห์โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมออกมาถึง ฯ ข้า ฯ กรมการว่าพระยา รัตนจักร ไปจับอ้ายพม่าได้สองคนให้การว่าเจ้า อังวะให้มองษาเป็นเจ้าเมืองเมาะตะมะ ให้ตะแคงมองมูกับมหาอุตนากลับไปเมืองอังวะมหาอุตนาให้คนรักษาด้านสามตําบล เป็นคนเจ็ดร้อยห้าสิบคน ทรงพระราชดําริว่า ณ เดือนสิบ เดือนสิบเบ็ดนี้เป็นต้นระดูศก จะไว้ใจหาได้ไม่ ให้ ฯข้าฯ กรมการมี หนังสือไปถึง พระยาไทรโยค พระยาทองผาภูมิ พระท่าตะกั่วให้จัดหลวงขุนหมื่นกรมการแลไพร่ให้ได้ห้าสิบหกสิบ สรรพไปเครื่องศัสตราวุธไปลาดตระเวนจับพม่าทางเมืองทวายให้จงได้ แต่พระยาไทรโยคนั้นอย่าให้ไปเลย นั้น ฯข้าฯ กรมการได้ทราบเกล้า ทราบกระหม่อม ในท้องตราซึ่งโปรดออกมาทุกประการแล้ว ข้าพเจ้ากรมการคัดสําเนา ท้องตราให้ขุนศรีวันคีรีกับไพร่สามคน ถือหนังสือไป ถึงพระยาไทรโยค พระยาทองผาภูมิ พระท่าตะกั่ว แต่ ณ เดือนเก้า แรมเก้า ค่ำ เพลาบ่ายตามท้องตราซึ่งโปรดมา ถ้าผู้ถือหนังสือกลับมา พระยาไทรโยค พระยาทองผาภูมิ พระท่าตะกั่ว บอกจํานวนคนนายไพร่ เครื่องศาสตราวุธมากน้อยเท่าใด ยกไปจากแมน้ำน้อยวันใด ข้าพเจ้ากรมการจะบอกให้มาครั้งหลัง ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด ฯข้าฯ บอกมา ณ วันพุธ เดือนเก้า แรมสิบสองค่ำ ปีมะเมีย จัตวาศก * ๑๑ และจดหมายเหตุกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒ เรื่องบอกพระยาพิไชยภักดี เมืองกาญจนบุรี เรื่อง แต่งขุนหมื่นกรมการ ออกลาด ตระเวนชายแดน วัน ๗ ฯ ๕ ปีมะแม จ.ศ.๑๑๘๕



๕ ข้าพเจ้าพระยาไชยภักดีศรีมหัยสวรรค์ พระยากาญจนบุรี กรมการ ขอบอกมายังท่านออกพันนายเวน ขอได้กราบเรียนแต่ ฯพณฯ หัวเจ้าท่านลูกขุน ณ ศาลาให้ทราบ ด้วยมีตราพระราชสีห์โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมออกมาว่า พระยาไทรโยคกรมการออกไปจับพม่าทางเมืองทวาย ไปถึงปลายคลองน้ำกระมองสวยพบอ้ายพม่าได้รบพุ่งกัน กองพระยาไทรโยคตายหนึ่งคน หายไปเจ็ดคน พากันแตกกลับมานั้น ทรงพระกรุณาตรัสเหนือเกล้าเหนือกระหม่อมสั่งว่า พระยาสิงหจักรยกไปจับพม่าหาระวังรักษาตัวไม่ ทําให้ เสียทีแก่อ้ายพม่านั้นผิดอยู่ให้พระยามหาโยธาคิดอ่านจัดแจงออกไปจับพม่าอีกและหน้าด้านเมือง กาญจนบุรี ศรีสวัสดิ์ เมืองไทรโยค ทองผาภูมิ ท่าตะกั่วนั้น อย่าให้ข้าพเจ้า พระยาไทรโยค พระยาทองผาภูมิ กรมการไว้ใจแก่ราชการ ให้กําชับกําชาผู้ไปลาดตระเวนรักษาการให้ระมัดระวังตัว จงสามารถอย่าให้อ้ายพม่ามาจับเอาผู้คนไปได้นั้น ข้าพเจ้ากรมการได้ทราบเกล้าทราบกระหม่อมในท้องตราซึ่งได้โปรดออกมาแล้ว ข้าพเจ้าได้แต่งให้หมื่นราชหมื่นรองแล้วนายไพร่ร้อยสิบคนเป็นคาบศิลาสามสิบเบ็ด บอกยกขึ้นไปลาดตระเวนให้ถึงแม่น้ำเมืองอีก ได้ยกไปจากเมืองกาญจนบุรี แต่ ณ วันเดือนห้า ขึ้นหก ค่ำ ถ้าแลผู้ไปราชการกลับมาได้ราชการประการใด ข้าพเจ้าจะบอก เข้ามาครั้งหลัง อนึ่ง พระยาไทรโยคกรมการบอกลงมาถึงข้าพเจ้ากรมการ ว่าพระยาไทรโยค จัดให้นายไพร่สิบสามคน ออกไปสืบดูที่รบกันทางหนึ่ง พระยาไทรโยคจัดให้นาย ไพร่สิบสองคน กองพระยามหาโยธานายไพร่สี่สิบคน ไปก้าวสกัดให้ถึงปลายคลองโป้กะทะปลายที่บ่อแม่น้ำเราะลําหมู่หนึ่งทางหนึ่ง พระยาไทรโยคจัดให้ขุนหมื่นนายไพร่ สามสิบเบ็ดคน เป็นคาบศิลาสิบห้าบอกออกไปตามทางหลวงแม่น้ำ เราะให้ถึงเขาสูงแดนต่อแดน ได้ยกไปแต่ ณ วันเดือนสี่ แรมสิบค่ำ ยังหากลับมาไม่ ถ้ากลับมาได้ราช การประการใด ข้าพเจ้าจะบอกเข้ามาครั้งหลัง แลข้าวคงฉาง ณ เมืองกาญจนบุรีมีอยู่เก้าสิบหกเกียน แลให้ข้าวค้านาจัดซื้อ



ข้าพเจ้าแต่งให้กรมการกํากับข้าหลวงเสนาออกไปประเมินนาของราษฎรยังหาเสร็จ ถ้าได้จํานวนนาข้าว ค้านาจัดซื้อ มากน้อยเท่าใด ข้าพเจ้าจะบอกเข้ามาให้ทราบ ข้าพเจ้าบอกมา ณ วันเสาร์ เดือน ๕ ขึ้นสิบเอ็ดค่ำ ปีมะแม เบญจศก ฯ



จากจดหมายเหตุกรุงรัตนโกสินทร์ทั้ง ๓ ฉบับ จะเรียกว่า พระยาไทรโยค พระยาทองผาภูมิ พระยาท่าตะกั่ว หลักฐานที่สําคัญอีกชิ้นหนึ่งที่ตระกูลของผู้เขียนเก็บไว้ คือผ้านุ่งที่ เป็นห้าสมปัก และผ้าปูม ผ้าสมปกนั้นขุนนางชั้นพระยาถึงนุ่ง ส่วนผ้าปูมนั้น ขุนนางชั้นคุณพระนุ่ง ดังนั้นอาจเป็นไปได้ว่าผ้าสมปกนั้นเป็นผ้านุ่งของพระยาไทรโยค ส่วนผ้าปูมนั้นเป็นผ้านุ่งของพระนิโครธาภิโยค ซึ่งเป็นบรรพบุรุษต้นตระกุลของผู้เขียนทั้ง เป็น ไปได้หรือไม่ว่าเจ้าเมืองด้านทั้ง ๓ เมืองนั้นได้เลื่อนยศเป็นพระยา เพราะอาจเป็นด้านสําคัญ ตระกูลเสลานนท์ ยังเก็บรักษาผ้านุ่งและผ้าไหมพระราชทานไว้เป็นอย่างดี และธงชาติ ธงช้างเผือกพระราชทาน(พื้นสีแดง ช้างสีขาวไม่มีทรงเครื่อง)



ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ได้มีการแบ่งหัวเมืองต่าง ๆ ภายในประเทศให้ขึ้นกับกรมต่าง ๆ ถึง ๓ กรม คือกรมมหาดไทย กรมพระกลาโหม และกรมท่าหัวเมืองที่ขึ้นกับกรมมหาดไทยได้แก่เมืองกรุงเก้า อ่างทอง พรหม อินทร์ ไชยนาท พยุหคีรี บรรพตพิไสย พิษณุโลก ศรีสําโรง พิไชย อุตรดิษฐ์ ตาก ลพบุรี สระบุรี วิเชียร เพชรบูรณ์ หลวงพระบาง นครจําปาศักดิ์ มุกดาหาร พาลุกาดลภูมิ อุบล พิบูลมังสาหาร ตระการ พืชผล มหาชลาลัย กาฬสินธุ์ สหัสขันธ์ กมลาสัย ภูวดลสอาง สว่างแดนดิน ยโสธร นครพนม ขอนแก่น หนองคาย ภูเวียง วานรนิวาส สิงขรภูมิ กันทราลักษ์ อุทุมพรพิไสย ฉะเชิงเทรา พนมสารคาม พระตะบอง นครเสียงมราฐ เป็นต้น



หัวเมืองที่ขึ้นกับกรมพระกลาโหมได้แก่เมือง นครเขื่อนขันธ์ ปทุมธานี ราชบุรี สมิงขบุรี ลุ่มสุ่ม ท่าตะกั่ว ท่าขนุน ท่ากระดาน ไทรโยค ทองผาภูมิ เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ กําเนิดนพคุณ ประทิว ท่าแซะ หลังสวน กาญจนดิฐ พัทลุง ประเหลียน สงขลา ยะหริ่ง ระแงะ กลันตัน ตรังกานู ไทร สตุล ภูเก็ต พังงา ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า ระนอง กระ เป็นต้น หัวเมืองที่ขึ้นกับกรมท่าได้แก่ เมืองนนทบุรี นครไชยศรีสมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ ชลบุรี บางลมุง ระยอง จันทรบุรี แกลง ตราด ประจันตคีรีเขตต์ เป็นต้น



๖ เมืองสมิงสิงหบุรี ๑ เมืองลุ่มสุ่ม ๑ เมืองท่าตะกั่ว ๑ เมืองไทรโยค ๑ เมืองท่าขนุน ๑ เมืองทองผาภูมิ ๑ เมืองท่ากระดาน ๑ ทั้งเจ็ดหัวเมืองเหล่านี้ แต่เดิมก็ไม่เป็น เมืองเป็นแต่ที่ตั้งค่ายที่ด้าน ตั้งอยู่เท่านั้น แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินแต่ก่อน ทรงพระราชดําริว่าจะให้มีเกียรติศัพท์ดังออกไปข้างเมืองพม่าว่า มีหัวเมือง แน่นหนาหลายชั้น จึงโปรดตั้งให้เป็น หัวเมืองขึ้น มีกรมการอยู่รักษาทุก ๆ เมือง



๗ เมือง บริเวณหัวเมืองชายแดนทาง ด้านตะวันตกของประเทศซึ่งติดต่อกับประเทศพม่าโดยเฉพาะเมืองกาญจนบุรีและราชบุรีนั้น เป็นบริเวณที่พวกมอญมักจะอพยพเข้ามา อาศัยพึ่งพระบรมโพธิสมภารในยามที่ได้รับความเดือดร้อนจากพม่าอยู่เนือง ๆ ฝ่ายรัฐบาลได้จัดให้คนพวกนี้อยู่รวมกันเป็นหมู่เหล่าตามเมืองหน้าด้าน ตําบลต่าง ๆ ที่เป็นเมืองหน้าศึกกับพม่าเรียกรวมกันว่า รามัญ ๗ เมือง ขึ้นต่อเมืองกาญจนบุรี รามัญทั้ง ๗ เมืองนี้ได้แก่เมืองสิงห์ (หรือสมิงขะบุรี) เมืองลุ่มสุ่ม เมืองไทรโยค เมืองทองผาภูมิ เมือง ท่าตะกั่ว เมืองท่า ขนุน และเมืองท่ากระดาน เมืองเหล่านี้ตั้งอยู่ในแควลําน้ำน้อย ยกเว้นเมืองท่ากระดานเท่านั้นที่ตั้งอยู่บนแควใหญ่ลําน้ำเมืองกาญจนบุรีใต้เมืองศรีสวัสดิ์ลงมา อนึ่งทรงพระราชดําริว่า ผู้สําเร็จราชการเมือง ต่าง ๆ ทั้งเจ็ดหัวเมืองเหล่านี้ไม่มีชื่อตั้งไม่สมควร ฉะนั้น ณ วันจันทร์ เดือน ๘ แรม ๑๐ ค่ำ ปีมะเมีย สัมฤทธิศก (พ.ศ.๒๔๐๑) จึงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทานชื่อเป็น ภาษาสันสกฤตแก่ผู้สําราชการเมืองเหล่านี้เสียใหม่ ชื่อของผู้สําเร็จราชการหัวเมืองมอญทั้ง ๗ ที่ได้รับพระราชทานเปลี่ยนใหม่มีดังนี้



เมืองสิงขบุรี พระสุรินทรศักดา พระสมิงสิงขบุรี ผู้ว่าราชการเมือง แปลงว่า พระสมิงสิงหบุรินทร์



เมืองลุ่มซุ่ม พระนรินทรเดชะ พระลุ่มซุ่ม ผู้ว่าราชการเมือง แปลงว่าพระนิพนธ์ภูมิบดี



เมืองท่าตะกั่ว พระณรงคเดชะผู้ว่าราชการเมือง แปลงว่าพระชินดิฐบดี



เมืองท่าขนุน พระพรหมภักดี ผู้ว่าราชการเมือง แปลงว่า พระปนัศติฐบดี



เมืองท่ากระดาน พระท่ากระดาน ผู้ว่าราชการเมือง แปลงว่าพระผลกติฐบดี เมืองไทรโยค พระไทรโยค ผู้ว่าราชการเมือง แปลงว่าพระนิโครธาภิโยค



เมืองทองผาภูมิ พระทองผาภูมิผู้ว่าราชการเมือง แปลงว่า พระเสลภูมิบดี



แล้ว พระราชทานเสื้อเข้มขาบคนละตัว ๆ เป็นของขวัญ หัวเมืองทั้งเจ็ดนั้น ขึ้นแก่เมืองกาญจนบุรีทั้งสิ้น แต่ผู้สําเร็จราชการการกรมการเมืองแยกย้ายกันมาตั้งอยู่ในแขวงเมืองราชบุรี ทั้ง ๗ ในหนังสือจดหมายเหตุระยะทางเสด็จประพาสไทรโยคครั้งที่ ๓ ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อปีชวด สัมฤทธิศก พ.ศ. ๒๔๓๑ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์



๘ ได้ทรงบันทึกเรื่องการพระราชทานชื่อแก่ผู้ว่าราชการเมืองทั้ง ๗ เช่นเดียวกันกับที่ได้ กล่าวมาในข้างบน แต่ชื่อของผู้ว่าราชการบางคนผิดเพี้ยนไปจากที่ได้พระราชทานไว้ เมื่อครั้งรัชกาลที่ ๔ บ้างเล็กน้อย ดังท่านผู้อ่านอาจจะสังเกตได้จากบันทึกของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ดังต่อไปนี้ แผนที่รามัญ ๗ หัวเมือง “รามัญทั้ง ๗ เมือง มีเจ้าเมืองหรือผู้ว่าราชการเมืองเป็นผู้ปกครองดูแล และยังมีหลวงปลัดยกระบัตร หลวงพลกรมการ ขุนหมื่นไพร่เมืองละมาก ๆ ซึ่งล้วนแต่เป็นคนมอญด้วยกันทั้งหมด เจ้าเมืองมียศเป็น “พระ” เรียกตามชื่อเมืองนั้น ๆ เช่น พระไทรโยค พระท่าขนุน เป็นต้น ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานชื่อผู้ว่าราชการเมืองทั้ง ๗ เป็นตํา แหน่งยศดังนี้



พระเมืองสิงห์ เป็น พระสมิงสิงหบุรินทร์



พระลุ่มสุ่ม เป็น พระนินนภูมิบดี



พระท่าตะกั่ว เป็น พระชินดิษฐบดี



พระไทรโยค เป็น พระนิโครธาภิโยค



พระทองผาภูมิ เป็น พระเสลภูมาธิบดี



พระท่าขนุน เป็น พระปันนสดิษฐบดี



พระท่ากระดาน เป็น พระผลกะดิฐบดี



บริเวณที่เป็นที่ตั้งเมืองทั้ง ๗ นั้น ไม่สู้มีผู้คนอาศัยอยู่มากนัก เนื่องจากว่าพื้นที่เป็นป่าทึบและภูเขาสูง ซึ่งไม่สามารถทํานาทําไร่ให้ได้ผลเพียงพอที่จะยังชีพอยู่ได้ บรรดาชาวเมืองจึงพากันไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ นครชุมน์ บ้านบางเลา (วัดคงคาราม) บ้านโพธาราม แขวงเมืองราชบุรีเป็นส่วนใหญ่ แม้ว่าเจ้าเมืองกรมการจะไม่ได้ตั้งบ้านเรือนอยู่ในเขตแขวงเมืองนั้น ๆ แต่ก็มี บ้านเรือนของขุนหมื่นนายด้านตั้งอยู่เป็นระยะ ๆ และผู้ว่าราชการ กรมการก็ได้ไปตรวจตราอยู่เสมอเพราะเป็นช่องด้านทางไปมากับเมืองนอกราชอาณาเขตได้หลายช่องทางหลายตําบล บางเมืองก็มีคนไทยบ้าง กะเหรี่ยงบ้าง มอญบ้าง เข้าไปตั้งบ้านทําไรตัดไม้อยู่เป็นระยะ และถ้ามีบ้านเรือนมากก็จะมีกรมการเมืองออกไปกํากับอยู่ด้วย เช่น แขวงไทรโยค เป็นต้น



๙ รามัญ ๗ เมือง มีอาชีพเกี่ยวกับการตัดไม้เนื่องจากลักษณะภูมิประเทศเป็นป่าและเขา



กล่าวคือเมืองไทรโยคนั้นมีป่าไม้สักขนาดเล็กใหญ่ที่สุดประมาณ ๗ กํา ชาวเมืองจะตัดผูกแพล่องมาขายแถบกาญจนบุรี ราชบุรีเสมอ แขวงเมืองท่าตะกั่วเมืองลุ่มสุ่มจะมีการตัดเสาไม่เต็งรัง และตัดไม้ไผ่ป่า



ล่องมาขาย แขวงเมืองสิงห์ตัดไม่ฝาง ไม่รวกใหญ่ขนาดทํารั้วโป้ะปลา ซึ่งชาวเมืองสมุทรสงครามมารับเป็นสินค้าไป และยังมีไม้เสาเล็ก ๆ บ้าง นอกจากนี้ก็มีการหาของป่า ทําน้ำมันยาง ทําไต้ เป็นต้น บางแห่งมีการทําไร่บ้างแต่ก็เพียงพอใช้ในครอบครัวเท่านั้น



๑๐ ส่วนพวกมอญที่เข้ามาอยู่แถบบ้านแขวงเมืองราชบุรีนั้นมีอาชีพในการทำนา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๐ ครั้งที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสไทรโยค ครั้งที่๒ ได้ทรงพระบรมราชาธิบายว่า



๑๑ เมืองกาญจนบุรีนี้ แต่เดิมเมื่อกรุงเก้าขึ้นกรมมหาดไทย ภายหลังมาจึงได้ยกมาขึ้นกลาโหม เมืองมีอาณาเขตทางตะวันออกเขตแดนเมืองราชบุรีใหม ทางพระแทนดงรังเพียงห้วยขานางต่อ แขวงสุพรรณที่เขาหลอกลวง ข้างเหนือคือเมืองศรีสวัสดิ์และเมืองอุทัยธานี ข้างใต้ต่อแขวงเมืองราชบุรีคนละ



ฝั่งกันกับคลองสํารอง..มีเมืองศรีสวัสดิ์เป็นเมืองใหญ่มีละว่ากะเหรี่ยงและมีข้าสอดอีกพวกหนึ่งพูดภาษาหนึ่งต่างหากประพฤติตัวเหมือนกระเหรี่ยงแต่ไม่โพกผ้า เมืองขึ้นที่เป็นมอญ ๗ เมือง แต่เจ้าเมืองไม่ได้อยู่มีแต่กองด้านขึ้นไปลาดตระเวน ตัวเจ้าเมืองกรมการลงไปอยู่ที่โพธารามแขวงเมืองราชบุรี คือ เมืองสิงคลบุรี เรียกว่าเมืองสิงห์ เมืองลุ่มสุ่ม เมืองท่าตะกั่ว เมืองไทรโยค เมืองท่าขนุน เมืองทองผาภูมิ ที่เมืองทองผาภูมินี้เป็นด้านชั้นนอก เมือง ๖ เมืองนี้เป็นเมืองอยู่ในลําแม่น้ำน้อย เมืองท่ากระดานอยู่ในแควใหญ่อีกเมืองหนึ่งเป็น ๗ เมือง กระเหรี่ยงนั้นมีเป็นกองตั้งอยู่เป็นตําบล ๆ ที่วังกะตําบล ๑ นาสวนตําบล ๑ ที่อื่น ๆ อีกหลายตําบล ในที่นาสวนนั้นมีจีนเขยสู่อยู่มาก จีนเขยสู่เหล่านี้สักข้อมือเสียส่วนปีละ ๖ บาท คนเลขคงเมืองกาญจนบุรีอยู่ใน ๓๕๐ เศษ มีกองส่วยผึ้งส่วนเงินขึ้นพระยาสุรเสนา ๑๐๐ เศษ ส่วยน้ำรักขึ้นกรมพระกลาโหมเล็กน้อย ละว่าข้าสอดเมืองศรีสวัสดิ์ประมาณ ๑๒๐๐ คน มอญ ๗ เมืองอยู่ใน ๓๕๐ เศษ ส่วยทอง ๗ กอง คนอยู่ใน ๗๐ เศษ ส่วยวังหน้ามีบ้านเล็กน้อย คนพลเมืองพระยากาญจนบุรีเขาประมาณว่าสักหมื่นเศษในเมืองกาญจนบุรี นี้แต่ก่อนเป็นเมืองหน้าศึกด้วยเขตแดนข้างตะวันตกนั้นต่อกันกับเขตแดนเมืองมริดทวาย พม่ายกเข้าตีอยู่เสมอ เมืองราชบุรีเมืองกาญจนบุรีนี้แต่เดิมไม่มีคนอยู่ข้างฝั่งตะวันตกเลย ด้วยพม่ามักมาลาดตระเวนทีละ ๒๐ คน ๓๐ คน ถ้าไทยพลัดมาข้างฝ่ายตะวันตกน้อยคนพม่าก็จับไป ถ้าพม่าน้อย ไทยก็จับมา แต่เป็นดังนี้จนตลอดเมืองมะริดเมืองทวายเสียแก่อังกฤษ จึงได้ขาดข้าศึกแก่กันและกัน ไทยจึงได้ข้ามมาอยู่ฝั่งตะวันตกได้...อนึ่งเราได้ผลัดไว้แต่ก่อนว่าสืบเรื่องฝาง ท่าที่ฝางลงนั้นมักจะลงทางหนองบังท่ามะขามมากกว่าที่อื่น เป็นลูกค้าไปรับซื้อกันที่นั่น ที่ท่าบ้านอื่นและเมืองศรีสวัสดิ์และหัวเมืองมอญ ๗ เมือง มีพวกมอญ ละว่า ข้าสอดตัดฝางบรรทุก แพลงมาขายเมืองกาญจนบุรีบ้าง ล่องลงไปขายถึงเมืองราชบุรีบ้าง ราคาฝาง ๓ ดุนหนักหาบ ๑ เป็นฝางขนาดใหญ่ราคา ๑๖ ตําลึง ฝาง ๔ ดุนหนักหาบ ๑ เป็นอย่างกลาง ราคา ๙ ตําลึง ฝาง ๕ ดุ้น ๖ ดุ้นหนักหาบหนึ่ง ร้อยดุ้นเป็นราคา ๖ ตําลึง ยังฝางยอมดุนเล็กน้อยไม่ได้นับเป็นดุนขาย ขายกันหาบละบาท ราคานี้เป็นราคากลาง ๑ ฝางออกเมืองกาญจนบุรีใหญ่เล็กประมาณสองแสนดุนเศษเสมอเป็น ธรรมดา ถ้าเวลาราคาฝางแพงก็ออกมากขึ้น ถ้าถูกก็ออกน้อยลง...๖ โดยทั่วไปแล้วอาชีพที่ราษฎรรามัญ ๗ เมืองทํานั้นเป็นการทําเพื่อยังชีพไปวันหนึ่ง ๆ เท่านั้น เนื่องจากภูมิประเทศกันดาร และอัตคัดมาก ราษฎรส่วนใหญ่จัดอยู่ในขั้นที่ขัดสน ด้วยเหตุนี้จึงปรากฏว่ารัฐบาลไม่เคยเก็บภาษีอากรจากคนพื้นนี้เลย



๑๒ อีกประการหนึ่งการทําทะเบียนจํานวนคนก็ไม่สู้จะแน่นอนเพราะมีการอพกลับไปพม่าบ้าง อพยพจากพม่าเข้ามาเพิ่มบ้างครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ ๕ หลังจากที่มีการแก่ไขการปกครองเป็น แบบมณฑล เทศาภิบาลแล้วพระยาวรเดชศักดาวุธ ข้าเหลวงเทศาภิบาลมณฑลราชบุรีได้เสนอให้เก็บเงินค้าราชการจากราษฎรชาวมอญ ชาวกะเหรี่ยงที่ประกอบอาชีพอยู่ตามชายพระราชอา ณาเขตเพื่อให้เป็นการเสมอภาคกับราษฎรทั่ว ๆ ไป แต่ให้เก็บคนละ ๓ บาทต่อปี เนื่องจากคนพวกนี้ยากจน ที่ทางทํามาหากินก็ฝืดเคืองและกันดารจึงไม่สามารถจะเก็บตามอัตราปีละ ๖ บาท เท่ากับคนทั่วไปได้



๑๓ หลังจากที่เสนอเรื่องนี้เข้าที่ประชุมเทศาภิบาลใน พ.ศ. ๒๔๔๓ (ร.ศ. ๑๑๙) พร้อมทั้งพระราชดําริของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงแนะให้มีการกําหนดอัตราการเก็บ โดยการแบ่งเขตตําบลตามความขัดสนมากน้อยแทนกากําหนดตามเชื้อชาติแล้ว ปรากฏว่าคนมอญในรามัญ ๗ เมืองได้รับการลดเงินส่วยลง คงเสียคนหนึ่งปีละ ๒ บาท ทั้งนี้ได้ยกเว้นคน ที่เพิ่งอพยพ



เข้ามาอยู่ในปีแรก ต่อเมืองถึงปีที่สองจึงให้เสียเท่ากับคนที่อยู่เดิม



๑๔ การเก็บเงินค่าราชการจากราษฎรในรามัญ ๗ เมืองในอัตราดังกล่าวได้เป็นไปอย่างเรียบร้อยและเหมาะสม ดังปรากฏในรายงานของพระยาวรเดชศักดาวุธ หลังจากที่ได้ไปตรวจราชการ เมืองกาญจนบุรีว่า “เงินค่าราชการที่เก็บแก่คนกะเหรี่ยง มอญ ลาว ซึ่งอยู่ปลายพระราชอาณาเขตในที่กันดาร โปรดเกล้าฯ ให้เก็บแต่เพียงคนละกึ่งตําลึงนั้นเป็นการสมควรแก่ภูมิพิเศษที่ ข้าพระพุทธเจ้าได้ไปเห็นในเวลานี้ ถ้าต้อไปผลประโยชน์มีความเจริญขึ้นจึงคิดเก็บให้มาขึ้นตามสมัย...”



๑๕ คนมอญในรามัญ ๗ เมืองมีฐานะเป็นไพร่หลวง (ส่วย) กล่าวคือมีหน้าที่ต้องส่งส่วยทอง



แก่รัฐบาลทุกปี เมืองถึงเทศกาลแล้งราว ๆ เดือนธันวาคม-มกราคม จะโปรดเกล้า ฯ ให้เจ้าเมืองกรมการเกณฑ์ไพร่หลวงรามัญ ๗ เมืองออกไปร่อนทองที่คลองปิลอกคลองพลู ให้ร้อนได้ ทองขุนหมื่นไพร่คนละ ๓ สลึง บุตรหมื่นทนายทาสคนละ ๑ สลึง ๑ เฟื้อง



๑๖ และให้เจ้าเมืองกรมการเก็บรวบรวมทองส่วยนําขึ้นทูลเกล้า ฯ ถวาย หน้าที่สําคัญอีกประการหนึ่งคือต้องลาดตระเวนรักษาด่านอยู่เป็นประจํา ทั้งฤดูฝนและฤดูแล้ง โดยเฉพาะใน สมัยรัชการที่ ๒ และ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เพื่อไม่ให้พม่าเล็ดลอดเข้ามาสืบข่าวความเคลื่อนไหวของฝ่ายไทย ขณะเดียวกันเนื่องจากเป็นเมืองหน้าด่านชั้นนอกต่อแดนเมืองเมาะลําเลิง ก็หมั่นสืบฟังข่าวราชการในประเทศพม่าด้วย ในบางครั้งเมื่อมีคนในพระราชอาณาจักรหลบหนีออกจากพระราชอาณาเขต เช่นพวกมอญ บรรดาเจ้าเมืองรามัญทั้ง ๗ จะได้รับคําสั่งให้ กําชับนายด่านทางทุกแห่งตําบลให้กวดขันบริเวณปลายด่านเป็นพิเศษ และออกสกัดจับผู้ที่หลบหนีเพื่อส่งกลับไปกรุงเทพฯ โดยเร็ว คนมอญที่หนีออกไป



ส่วนมากมักเป็นพวกที่อพยพเข้ามาอยู่ในแขวงเมืองราชบุรีในสมัยรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยถึงกับมีรับสั่งให้อพยพมอญใหม่ที่เข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่คลองบางสร้อย โพธาราม บางเลา นครชุมน์ แขวงเมืองราชบุรี เข้าไปตั้งบ้านเรือนอยู่ในกรุงเทพฯ ด้วยเกรงว่าจะหลบหนีไปอีก



๑๗ ในชั้นหลังต้อมาก็ยังมีการหลบหนีอยู่บ้าง เช่นในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีพวกมอญโรงเรือหลบหนีไป ๑๒ ครอบครัว ออกไปทางเมืองอุทัยธานีและเมืองตากในราว พ.ศ. ๒๓๙๖



๑๘ และขณะเดียวกันก็มีพวกมอญลาวที่หนีไปอยู่เมาะลําเลิง และทวาย ลักลอบเข้ามาชักชวนญาติพี่น้องแถบเมืองราชบุรี กาญจนบุรี ให้อพยพหนีไปด้วย



๑๙ เรื่องการหลบหนีออกนอกพระราชอาณาเขตนี้ได้กลายเป็นเรื่องใหญ่ในสมรัชกาลที่ ๕ เมื่อมีมอญตําบลบางเลา แขวงเมืองราชบุรีอพยพหนีไป ๖ ครอบครัว และกําลังขายบ้านเรือนไร่นา เตรียมการอพยพอีก ๗ ครอบครัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้พระยามนตรีสุริยวงศ์แทนสมุหกลาโหมออกไประงับเหตุแห่งความเดือดร้อนอันทําให้พวกมอญต้อง อพยพทิ้งบ้านเรือนไป และกําชับพวกด้านทางให้ป้องกันให้เข้มแข็งขึ้น



๒๐ นอกจากงานดังกล่าวแล้ว รามัญทั้ง ๗ เมืองก็อาจจะมีงานอื่นๆที่เป็นการจร ซึ่งแล้วแต่



ว่าจะได้รับคําสั่งมาเป็นคราว ๆ ไปเป็นต้นว่าเกณฑ์ให้ตัดไม่เพื่อใช่ทําด้ามพระแสงหอก



๒๑.ทําพลับพลาที่ประทับเวลาเสด็จพระราชดําเนินไปประพาสแควน้อยไทรโยค



๒๒.และในระยะหลังที่ไทยมีการติดต่อกับหัวเมืองพม่าตอนล้างที่เป็นของอังกฤษ ก็มีการไปมาค้าขายติดต่อกับเมาะตะมะ เมาะลําเลิง ร่างกุ้ง เป็นต้น ครั้นเมื่อมีราชการที่จะออกไปยัง เมืองเหล่านั้น ก็ได้อาศัยพวกรามัญ ๗ เมืองคอยรับส่งจัดที่พักและนําทางพวกอาทมาตเข้าไปถึงปลายด้านอยู่เสมอ ๆ



๒๓.ส่วนในยามสงครามนั้น รามัญทั้ง ๗ เมือง ก็ถูกเกณฑ์เข้ากองทัพด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณเมืองเหล่านี้เป็นเส้นทางที่ยกทัพไปมาของพม่าและฝ่ายไทยเวลายกทัพไปรบก็อาศัยการเดินเรือในลําน้ำแควน้อยไปขึ้นบกไทรโยค และได้อาศัยพวกรามัญ ๗ เมือง ในการทําทางจัดตั้งกองเสบียงอาหารและที่พักเป็นระยะไป บรรดานายด้านนายกองได้รับพระราชทานเบี้ยหวัด คนหนึ่งปีละ ๖-๒๐ บาท ส่วนเจ้าเมืองได้ปีละ ๔๐ บาทเป็นอย่างสูง ๒๔ ทั้งเจ้าเมือง กรมการ นายด้านนายกอง จะต้องไปถือน้ำพระพิพัฒน์สัจจาปีละ ๒ ครั้ง ในเทศกาลตรุษและสารทเช่น เดียวกับข้าราชการทั่วไป โดยเข้าไปทําพิธีร่วมกับพระยากาญจนบุรีและกรมการ ณ วัดอารามในเมืองนั้น



การกระทําสัตยานุสัจจบ่ายหน้าไปยังกรุงเทพฯ หนังสืองานพระราชทานเพลิงศพ พระครูสุวรรณวรรัตน์ เจ้าอาวาสวัดแป้นทองโสภาราม แขวงสามวาตะวันตก เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร ๗ มีนาคม ๒๕๔๒ หน้าที่ ๑๖๕ ได้สรุปหน้าที่ของชาวรามัญ ๗ หัวเมืองนี้ มีหน้าที่ดังนี้



๑. ลาดตระเวนรักษาด้านเป็นประจําฤดูเพื่อป้องกันพม่าเข้ามาสืบข้าวจากทางไทย



๒. สืบข่าวความเคลื่อนไหวของพม่า และคอยสกัดจับผู้คนที่หนีเข้าและออกในราชอาณาเขต



๓. ทําทางเดิน และจัดตั้งกองเสบียงในยามศึกสงคราม



๔. ตัดไม้เพื่อทําพระแสง หอก พลับพลาที่ประทับเวลาเสด็จหัวเมือง



๕. เกณฑ์คนรามัญเข้าร่วมขบวนแห่ในพระราชพิธีสําคัญ



๖. เกณฑ์คนไปร่อนทองที่คลองปีล็อก และคลองพลู เพื่อส่งส่วยทองคําให้กษัตริย์ไทยทุกปี



๗. ทําหน้าที่อื่น ๆ ตามรับสั่งหน้าที่อื่น ๆ เท่าที่ผู้เขียนทราบ เช่น ๑ ผาอิฐสร้างพระปฐมเจดีย์ สมัยรัชกาลที่ ๔ (สมุดไทยดําบ้านผู้เขียน) ๒. ตัดไม้จากป่าเมืองไทรโยค ลุ่มสุ่ม ท่าตะกั่ว สร้างพระเมรุมาศของพระเจ้าอยู่หัวและพระบรม วงศานุวงศ์ (คําบอกเล่าของ ศาสตราจารย์ เกียรติคุณนายแพทย์สุเอ็ด คชเสนี)



ครั้นเมื่อเริ่มจัดการปกครองตามระเบียบใหม่ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๓๘ (ร.ศ.๑๑๔) เป็นต้นมาได้ยกเลิกรามัญ ๗ หัวเมือง โดยยุบไปสังกัดขึ้นแก่เมืองกาญจนบุรี ฐานะของเมืองเหล่านั้นจึงมีการเปลี่ยน แปลงไปคือ เมืองทองผาภูมิ (เดิมเรียกว่าทองผาภูมิ) ยุบลงเป็นหมู่บ้านอยู่ในเขตกิ่งอําเภอสังขละบุรี(ต่อมาเป็นอําเภอสังขละบุรี) ปัจจุบันเป็นอําเภอทองผาภูมิ เมืองท่าขนุน(สังขละบุรี) ยุบลงเป็นกิ่งอําเภอสังขละบุรี ขึ้นต่ออําเภอวังกะ ซึ่งตั้งใหม่อยู่ห่างจากท่าขนุนขึ้นไป ตั้งที่ว่าการริมน้ำสามสบ ต่อมาอําเภอวังกะและกิ่งอําเภอสังขละบุรีได้ถูกเปลี่ยนฐานสลับกันหลายครั้ง และต่อมากิ่งอําเภอสังขละบุรีตั้งอยู่ที่ตําบลวังกะ เดิมขึ้นต่ออําเภอทองผาภูมิและเปลี่ยนชื่อเป็นอําเภอสังขละบุรี ส่วนกิ่งอําเภอสังขละบุรีเดิมตั้งอยู่ที่ตําบลท่าขนุน เปลี่ยนเป็นอําเภอทองผาภูมิ ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๙๒ เป็นต้นมา เมืองไทรโยค ยุบลงเป็นกิ่งอําเภอวังกะใน พ.ศ.๒๔๙๒ ต่อมาได้โอนขึ้นกับอําเภอเมืองกาญจนบุรี ได้ย้ายที่ทําการหลายครั้ง ปัจจุบันนี้ตั้งที่ทําการอยู่ ที่ตําบลวังโพธิ์ และได้ยกขึ้นเป็นอําเภอไทรโยค เมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๖ เมืองท่าตะกั่ว ยุบลงเป็นหมู่บ้านอยู่ในตําบลท่าเสา อําเภอไทรโยค เมืองลุ่มสุ่ม ยุบลง



เป้นหมู่บ้านในตําบลลุ่มสุ่ม อําเภอไทรโยค เมืองสิงห์ ยุบลงเป็นหมู่บ้านอยู่ในตําบลสิงห์ อําเภอไทรโยค เมืองท่ากระดาน ยุบลงเป็นหมู่บ้าน ในอําเภอศรีสวัสดิ์ ในปัจจุบันนี้ทายาท ผู้สืบตระกูลของท่านผู้ว่าราชการหัวเมืองมอญทั้ง ๗ เมือง ได้อาศัยตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ในบริเวณอําเภอโพธาราม อ. บ้านโป่ง ในตําบลต่าง ๆ ทั้งสองฝั่งแมน้ำแม่กลอง โดยเฉพาะตําบล คลองตาคต (บางเลาเดิมคือ บ้านคงคา) นอกจากนั้นก็มีกระจายอยู่เป็นอันมากในบริเวณตําบลต่าง ๆ ของอําเภอบ้านโป่ง และแม้ตําบลส่วนล่าง ๆ ของอําเภอท่ามะกาซึ่งอยู่ติดต่อกับส่วน บนของอําเภอบ้านโป่งก็มีเชื้อสายเครือของท่านเจ้าเมืองทั้ง ๗ อยู่เหมือนกัน



สําหรับบรรดาทายาทผู้สืบสกุลของท่านเหล่านี้จะทราบได้โดยง่ายโดยการสังเกตนามสกุลซึ่งมีอยู่มากมายหลายนามสกุลด้วยกัน



ผู้เขียนต้องขอออกตัวไว้เสียก่อนว่าอาจจะมีขาดตกบกพร้องไปบ้างไม่มากก็น้อย ตัวอย่างนามสกุลที่สืบเชื้อสายมาจากเจ้าเมืองมอญทั้ง ๗ เมืองแห่งจังหวัดกาญจนบุรีเท่าที่สามารถ จะรวบรวมได้มีดังนี้



พระสมิงสิงหบุรินทร์ เมืองสิงขบุรี ได้แก่นามสกุล สิงคิบุรินทร์ ธํารงโชติ ปลัดสิงห์



พระนิพนธ์ภูมิบดี เมืองลุ่มสุ่ม ได้แก่นามสกุล นิลบดี นินทบดี



พระบรรเทาพระชินดิฐบดี เมืองท่าตะกั่ว ได้แก่นามสกุล ป้นยารชุน ชินอักษร ชินบดี ชินหงษา มัญญหงส์ ท่ากั่ว อักษร จ่าเมือง หลวงพันเทา นิลบดี (สายหลวงพันเทาทุกขราษฎร์จุย)



พระปนนสติฐบดี เมืองท่าขนุน ได้แก่นามสกุล หลักคงคา กุลอาจยุทธ์ ยศศักดิ์ พลเภรีย์



พระผลกติฐบดี เมืองท่ากระดาน ได้แก่นามสกุล พลบดี ตุลานนท์ พลดี



พระนิโครธาภิโยค เมืองไทรโยค ได้แก่นามสกุล นิไชยโยค นิโครธา นิไทรโยค นิโกรธา



พระไทรโยค มะมม หลวงสงคราม หลวงพล หลวงปลัด ศรีสงคราม



พระเสลภูมิบดี เมืองทองผาภูมิ ได้แก่นามสกุล เสลานนท์ เสลาคุณ



นอกจากนี้ท่านผู้ใดเป็นลูกหลานมอญลุ่มน้ำแม่กลอง มีคําขึ้นต้นสกุลว่า จางวาง จักกาย หมื่น ขุนหลวง ยกกระบัตร นําหน้าล้วนแล้วแต่เป็นสกุลของคณะกรมการเมืองทั้ง ๗ นี้ทั้งสิ้น



ณ บัดนี้เรื่องราวต่าง ๆ ในอดีตกาลก็ได้ผ่านพ้นไปแล้วสิ่งที่ท่านผู้นําชาวมอญทั้งหลายรวบรวมทั้งท่านที่มีเรื่องราวปรากฏดังที่ผู้เขียนได้บรรยายมาข้างต้นได้ทิ้งไว้เบื้องหลังของท่านก็คือเกียรติประวัติอันควรแก่การยกย่องสรรเสริญจะเป็นเรื่องที่เล่าขานกันในบรรดาอนุชนรุ่นหลังตลอดจนทายาทสืบสายสกุลของท่านต่างๆเหล่านี้ไปอีกนานแสนนาน



สิ่งที่ท่านเหลือไว้ดูต่างหน้าก็คงจะไม่มีอะไรมากนอกจากพระเจดีย์ทรงรามัญรายรอบภายในกําแพงแก้วพระอุโบสถวัดคงคารามตัวแทนเจ้าเมืองมอญทั้ง ๗ และอนุสาวรีย์บรรจุอัฐิของท่าน เรียงรายกันอยู่ภายนอกกําแพงแก้วพระอุโบสถของวัดคงคาราม อันเป็นวัดที่ท่านเหล่านี้ได้ช่วยกันก่อร่างสร้างกันขึ้นมาและเป็นสถานที่ที่ท่านได้เคยทําบุญสมาทานศีล ตลอดจนเป็น แหล่งสุดท้ายที่พวกท่านหลับตา



ลงอย่างสงบเป็นวาระสุดท้าย ด้วยความหวังว่าลูกหลานของท่านภายหน้าคงจะไม่ละทิ้งแนวปฏิบัติและลัทธรรมเนียมประเพณีอย่างที่ท่านได้เคยกระทํามาในอดีตกาล ผู้ งชาติ ห้องสมุดโรงเรียนสตรีวิทยา ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์ สุเอ็ด คชเสนี อดีตนายกสมาคมไทยรามัญ และอาจารย์สุภรณ์ โอเจริญ เป็นอย่างสูงมาในโอกาสนี้ด้วยเอกสารอ้างอิง



๑. ไทยรบพม่า พระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาดํารงราชานุภาพ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๖ สํานักพิมพ์คลังวิทยา พ.ศ. ๒๕๑๔ หน้า ๓๔๖



๒. บรรณานุสรณ์ งานพระราชทานเพลิงศพ ขุนอาโภคคดี ณ เมรุวัดคงคาราม จ. ราชบุรี ประวัติมอญเข้า กรุงสยาม ของ ก.ศ.ร. กุหลาบ พ.ศ. ๒๕๒๕ หน้า ๘



๓. จดหมายเหตุกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๑ (ควรเป็นรัชกาลที่ ๒) ท้องตราเจ้าพระยาอัครมหาเสนาบดีถึง พระยาราชบุรี พระยากาญจนบุรี เรื่องรามัญในกองพระรัตนจักรหลบหนีการทัพ ๕ คน ให้บอก ด้านทางและแต่งคนออกก้าวสกัดจับตัว จ.ศ. ๑๑๘๓ ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๑๐ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๙๒



๔. จดหมายเหตุกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒ บอกพระพิไชยภักดีเมืองกาญจนบุรี ตอบรับท้องตรา เรื่องให้พระยาไทรโยค แต่งคนออกไปลาดตระเวนจับ พม่า ทางเมืองทวายวัน ๔ ฯ ๙ ค่ำ ปีมะเมีย จ.ศ. ๑๒ ๑๑๘๔ ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๑๐ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๙๗



๕. จดหมายเหตุกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๒ เรื่องบอกพระยาพิไชยภักดี เมืองกาญจนบุรี เรื่องแต่งขุนหมื่น ๑๑ ออกลาดตระเวนชายแดนวัน ๗ ฯ



๕ . ปีมะแม จ.ศ. ๑๑๘๕ ประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม ๑๐ พ.ศ. ๒๕๓๙ หน้า ๑๙๙



๖. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๔ ฉบับเจ้าพระยาทิพากรวงศ์ “สําหรับพระพิพิธสาลี” ไม่ปรากฏชื่อโรงพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๗๗ หน้า ๓๙๗



๗. ประชุมประกาศ รัชกาลที่ ๔ (พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพพระมหาโพธิวงศาจารย์ อินทโชตเถระ) โรงพิมพ์ดํารงธรรม ธนบุรี พ.ศ. ๒๕๑๑



๘. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าศรีเสาวภางค์ จดหมายเหตุระยะทางเสด็จประพาสในรัชกาลที่ ๔เด็จประพาสไทรโยคครั้งที่ ๒ ปีชวด สัมฤทธิศก พ.ศ. ๒๔๓๑ (พิมพ์ในงานถวายพระเพลิง พระบรมศพสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนารถ) โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒนากร กรุงเทพฯ พ.ศ. ๒๔๖๓ หน้า ๒๙-๓๐



๙. เรื่องเดียวกัน, หน้า ๓๐



๑๐. เรื่องเดียวกัน, หน้า ๔๘



๑๑. พระราชนิพนธ์เสด็จประพาสไทรโยค ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โรงพิมพ์คุรุสภา กรุงเทพ ฯ พ.ศ.๒๕๐๔ หน้า ๗๙-๘๒ เอกสารอ้างอิงต่อไปนี้ (ตั้งแต่หมายเลข ๑๒ จนถึงหมายเลข ๒๔) เป็นเอกสารอ้างอิงที่ได้จากสุภรณ์ โอเจริญ ในวิทยานิพนธ์เพื่อปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต แผนกวิชาประวัติศาสตร์บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณมหาวิอทยาลัย พ.ศ. ๒๕๑๖ เรื่องชาวมอญในประเทศ : วิเคราะห์ฐานะและบทบาทในสังคมไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนกลางถึง สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น



๑๒. สมุดราชบุรี หน้า ๗๖ ๑๓. กองจดหมายเหตุแห่งชาติ, แฟ้ม ค.



๑๓. ๒/๒๓ หนังสือพระยาศรีสหเทพกราบบังคมทูลรัชกาลที่ ๕ เรื่อง การเก็บเงินส่วยพวกมอญและเกรี่ยงในมณฑลราชบุรีและเพชรบุรี ลงวันที่ ๒๔ สิงหาคม ร.ศ.๑๑๙ (พ.ศ.๒๔๔๓)



๑๔. กองจดหมายเหตุแห่งชาติ,แฟ้มค. ๑๓.๒/๒๓ หนังสือสมเด็จกรมพระยาดํารงราชานุภาพเสนาบดี มหาดไทย กราบบังคมทูลรัชกาลที่ ๕ เรื่องการเก็บเงินส่วย ลงวันที่ ๒๖ พฤศจิกายน ร.ศ.๑๑๙



๑๕. กองจดหมายเหตุแห่งชาติ, แฟ้ม ม.๒.๑๔/๕๔ รายงานพระยาเดชศักดาวุธ ข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑล ราชบุรี ตรวจราชการเมืองกาญจนบุรี ลงวันที่ ๒๔ มีนาคม ร.ศ. ๑๑๙



๑๖. กองจดหมายเหตุ, ใบบอกกระทรวงกลาโหม รัชกาลที่ ๔, เล่ม ๑๗ หน้า ๙๙



๑๗. หอสมุดแห่งชาติ,เอกสารตัวเขียนสมุดไทดํา รัชกาลที่ ๒ เลขที่ ๓ จ.ศ. ๑๑๘๓



๑๘. หอสมุดแห่งชาติ, เอกสารตัวเขียนสมุดไทดํา รัชกาลที่ ๔ เลขที่๔๗ จ.ศ. ๑๒๑๕



๑๙. กองจดหมายเหตุแห่งชาติ, ใบบอกกระทรวงกลาโหม รัชกาลที่ ๔ เล่ม ๕ เลขที่ ๖๗ จ.ศ. ๑๒๑๕,หน้า ๑๘๕-๑๘๘



๒๐. กองจดหมายเหตุแห่งชาติ, แฟ้มม.๕.๑ ก./ ๓๑เรื่องพวกรามัญแขวงเมืองราชบุรีหนีออกไปนอกพระราชอาณาเขตร.ศ. ๑๐๙-๑๑๐ (พ.ศ.๒๔๓๔)



๒๑. กองจดหมายเหตุแห่งชาติ, ใบบอกกระทรวงกลาโหม รัชกาลที่ ๔ และ ๕ เลขที่ ๗๒ จ.ศ. ๑๒๑๕ หน้า ๑๙๙



๒๒. กองจดหมายเหตุแห่งชาติ, แฟ้ม ม. ๒. ๑๒ ก./๓ ใบบอกเมืองกาญจนบุรีเรื่องได้เกณฑ์ผู้ว่าราชการรามัญ ๗ เมืองไปรับราชการทําพลับพลารับเสด็จพระราชดําเนินตามระยะทางถึงไทรโยค ลงวันที่ ๖ กันยายน ร.ศ. ๑๐๙



๒๓. กองจดหมายเหตุแห่งชาติ ,ใบบอกกระทรวงกลาโหม รัชกาลที่ ๔ เล่ม ๓๓ จ.ศ. ๑๒๒๙ หน้า ๒๓๗ - ๒๓๘



๒๔. สมุดราชบุรี, เรื่องเดียวกัน, หน้า ๒๓







ประวัติมอญในจังหวัดราชบุรี



ราวปีพุทธศักราช 2300 ในแผ่นดินสมเด็จพระที่นั่งสุริยาอัมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศน์) พระเจ้าแผ่นดินองค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา และ พระยาทะระ พระมหากษัติร์มอญองค์สุดท้ายแห่งกรุงหงสาวดี โดยมี พระเจ้าอะลองพระยา(พระเจ้ามังลอง)ปกครองเมืองกรุงอังวะ ได้ยกทัพตีเมืองหงสาวดีได้จุดไฟเผาเมืองพินาศสิ้นจนถึงเมืองเมาะตะมะและเมาะลำเลิง มอญจึงเสียเอกราชให้แก่พม่าและชื่อรามัญประเทศ ก็หายไปจากแผนที่โลก มาจนถึงปัจจุบันนี้



ในราวพุทธศักราช 2310 ไทยเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่า ต่อมาสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้กู้เอกราชคืนมาได้ จึงตั้งกรุงธนบุรีขึ้นเป็นราชธานี ความก็ทราบถึงหัวหน้ามอญที่หลบซ่อนอยู่ ก็ชวนสมัคร พักพวกอพยพครอบครัวมอญประมาณ 1,000 ครอบครัว หนีพม่าเข้ามาทางด่านเจดีย์สามองค์ จังหวัดกาญจนบุรี เพื่อขอพึ่งพระบรมโพธิสมภาร โดยหัวมอญติดต่อผ่านมายังเจ้าพระยารามัญวงศ์ แต่พอดีเกิดจราจลที่กรุงธนบุรี ครอบครัวมอญจึงต้องพักที่เมืองไทรโยคก่อน ต่อมาสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก เสด็จกลับจากยกทัพไปปราบเขมรและเข้าปราบจราจลในกรุงธนบุรีแล้ว ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาจักกรีบรมนาถ ( พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ) ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เจ้าพระยารามัญวงค์ กราบทูลเรื่องมอญขอ พึ่งพระบรมโพธิสมภารให้ทรงทราบ พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯแต่งตั้งให้ เจ้านายมอญที่เหลือชีวิตอยู่ 7 คน ให้เป็นนายด่านป้องกันเมืองชายแดน 7 เมือง เมืองทั้ง 7 นั้น ได้แก่ ไทรโยค ท่าขนุน ท่ากระดาน ท่าตะกั่ว ลุ่มสุ่ม เมืองสิงห์และทองผาภูมิ ( ปัจจุบันเมืองเหล่านั้น บ้างก็เป็นอำเภอ บ้างก็เป็นตำบลอยู่ในจังหวัดกาญจนบุรี ) ชาวรามัญเรียกเจ้าเมืองทั้ง 7 นี้ว่า “ จั๊ดเดิงหะเป๊าะ ’’ โดยมีเจ้าเมืองไทรโยคเป็นหัวหน้าอีกทีหนึ่ง เมืองทั้ง 7 มีหน้าที่เป็นข้าหลวงต่างพระเนตรพระกรรณ เพราะเป็นเมืองหน้าด่าน ต่อมาได้มีมอญอพยพครอบครัวเข้ามาอีกประมาณ 5,000 ครอบครัวจึงทำ ให้ไม่มีที่ทำมาหากินเพราะภูมิประเทศเป็นภูเขาลำเนาไพร ดังนั้นมอญบางพวกจึงอพยพไปทางเมืองปทุมธานี ลพบุรี หัวหน้ามอญทั้ง 7 จึงเดินทางเข้ากรุงเทพฯ ไปหาเจ้าพระยารามัญวงค์และ พระยามหาโยธา เจ้าพระยาทั้งสองท่านจึงพาเข้ากราบบังคมทูลขอพระราชทานที่ทำมาหากิน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้พระยามอญทั้ง 7 เลือกที่ทำมาหากินเอาเองแล้วแต่จะพอใจที่ใด พยามอญทั้ง 7 จึงทูลขอที่ริมสองฝั่งแม่น้ำแม่กลอง ตั้งแต่เมืองไทรโยค จนถึงเมืองราชบุรี แล้วจึงพระราชทานท้องตราให้พระยามอญทั้ง 7 มาด้วย ฝ่ายพระยามอญทั้ง 7 ได้พิจารณาเห็นว่าที่บริเวรตั้งแต่อำเภอบ้านโป่งถึงอำเภอโพธาราม เป็นทำเลที่เหมาะแก่การที่จะตั้งบ้านเมืองของพวกตน



เดิมทีที่ตั้งสองฝั่งแม่น้ำแม่กลองนี้เป็นที้ตั้งบ้านเรือนของชาวลาวเวียงจันทร์ที่ถูกกวาดต้อนมาเป็นเชลยครั้งสมัย สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีมหาราช ซึ่งได้ตั้งบ้านเรือนเป็นโรงนาเล็กฯ พระยามอญจึงได้ เอาท้องตรามาให้ดูว่าบัดนี้ พระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานที่เหล่านี้ให้แก่พวกมอญแล้ว ดังนั้นชาวลาวเวียงจันทร์จึงถอยร่นออกไปอยู่ ณ บริเวร วัดโบสถ์ วัดบ้านเลือก วัดบ้านฆ้อง บ้านสิงห์



เมื่อได้ทำเลแล้วจึงมีหนังสือมาถึงเจ้าพระยามอญทั้งสอง เพื่อขอพระราชทานวิสุงคามสีมาจากพระบาทสมเด็จพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯได้ ดังนั้น วัดคงคา จึงเป็น วัดแรกของชาวไทยรามัญ มีเจดีย์รอบๆพระอุโบสถ 7 องค์ ซึ่งหมายถึงเมืองหน้าด่านทั้ง 7 เมืองนี้ ในสมัยรัชกาลที่ 2 ได้ทรงพระราชทานตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดคงคารามเป็นพระราชาคณะฝ่ายรามัญ ที่พระครูรามัญญาธิบดี ซึ่งเป็นตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่รามัญนิกายเมืองราชบุรี จนถึงสมัยรัชการที่ 5 จึงยกเลิกถึงบัดนี้ ในสมัยรัชการที่ 2 ได้โปรดเกล้าให้เจ้าเมืองหัวหน้ามอญทั้ง 7 เป็นที่ พระไทรโยค พระท่าขนุน พระท่ากระดาน พระท่าตะกั่ว พระลุ่มสุ่ม พระสิงห์ และพระทองผาภูมิ ชาวมอญได้คิดสร้างวัดตามหมู่บ้านใหญ่รุ่นที่ 2 คือ วัดใหญ่นครชุมน์ วัดม่วง วัดบ้านฆ้อง ในสมัยรัชกาลที่ 3 มีวัดมอญรุ่น ที่ 3 คือ วัดป่าไผ่ วัดไทร วัดเกาะ วัดตาผา วัดบ้านโป่ง วัดโชค วัดตาลปากลัด วัดหัวหิน วัดโพธิ์โสภาราม วัดมะขามและวัดม่วงล่าง และในสมัยรัชการที่ 4 มีวัดมอญรุ่นที่ 4 คือ วัดหนองกลางดง วัดชัยรัตน์ วัดหุบมะกล่ำ วัดดอนกระเบื้อง และวัดเขาช่องพราน ( โดยมีพระยาเทพประชุน ต้นตระกูลปัณยารชุน เป็นผู้ดูแล เป็นเชื้อสายพระยามอญทั้ง 7 เหมือนกัน)



ในสมัยสร้าง วัดใหญ่นครชุมน์ พระยาทองผาภูมิ ได้อพยพพาญาติพี่น้องไปอยู่ที่วัดใหญ่นครชุมน์เพื่ออุปการะวัดใหญ่นครชุมน์ ต่อมาวัดมอญในเขตอำเภอบ้านโป่งจะไปทำสังฆกรรมร่วมกันท ี่วัดใหญ่นครชุมน์



ในสมัยรัชการที่ 4 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นความสำคัญของเมืองหน้าด่านทั้ง 7 เมือง จึงพระราชทานนามเจ้าเมืองทั้ง 7 นี้เสียใหม่



1. พระไทรโยค เป็นที่ พระนิโครธาภิโยค ใช้นามสกุล นิไชยโยค นิโครธา นิไทร โยค มะมม



2. พระท่าขนุน “ พระปันนสติษฐบดี “ หลักคงคา



3. พระท่ากระดาน “ พระผลกะติฐบดี “ พลบดี ตุลานนท์



4. พระท่าตะกั่ว “ พระชินดิษฐบดี “ ชินอักษร ชินบดี ชินหงษา มัญญหงษ์



5. พระลุ่มสุ่ม “ พระนิพนธ์ภูมบดี “ นินบดี นิลบดี นิลทบดี พระบรรเทา จ่าเมือง หลวงบรรเทา หลวงพันเทา



6. พระเมืองสิงห์ “ พระสมิงสิงบุรินทร์ “ สิงคิบุรินทร์ ธำรงโชติ



7. พระทองผาภูมิ เป็นที่ พระเสลภูมาธิบดี “ เสลานนท์ น้องชายใช้ เสลาคุณ



ครั้นเมื่อเมื่อเริ่มจัดการปกครองใหม่เมื่อ พ.ศ.2438 (ร.ศ.114) เป็นต้นมาได้ยกเลิกรามัญ 7 หัวเมือง โดยยุบไปสังกัดแก่เมืองกาญจนบุรี ฐานะของเมืองเหล่านี้จึงเปลี่ยนไป







หนังสืออ้างอิง



1.พร เยี่ยงสว่าง , ประวัติมอญเมืองไทย , เอกสารเย็บเล่ม , 2522



2.บรรณนุสรณ์งานพระราชทานเพลิงศพ, รองอำมาตย์โท ขุนอาโภคคดี, รวมเกล็ด



พงศาวดารและประวัติศาสตร์ชนชาติมอญ, กรุงเทพฯ, กรุงสยามการพิมพ์ , 2525



3. บรรณานุสรณ์งานฌาปนกิจศพ, พระอาจารย์แป๊ะ สหโช , ประวัติวัดคงคาราม



4. ศูนย์วัฒนธรรมอำเภอบ้านโป่ง , ท้องถิ่นศึกษา ตอน 1 เล่ม 1 รวมเผ่าพงษ์ไทยบ้านโป่ง



5. หลักฐาน คุณตาแคล้ว และคุณยายถนอม เสลานนท์



6. 100 วัน แม่ประจิม ปันปี



7. บันทึก สารตรา ท่านเจ้าพระ พระยาสาร วันที่ ๙ พฤศจิกายน รศ. ๑๒๒ ถึง หลวงวิวิตภักดี ผู้ช่วยสงคราม



ขออนุญาตคัดลอกเรื่องผู้ว่าราชการรามัญ ๗ เมือง



บรรพชนในตระกูลของชาวรามัญในจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี



อ.โสภณ นิไชยโยค



มอญเจ็ดหัวเมืองกับสงครามเก้าทัพ



ทิศทางที่ ๑ เจ้าพระยาธรรมาธิบดี เป็นแม่ทัพหน้ากรมพระราชวังบวรสถานมงคล (วังหน้า) เป็นแม่ทัพหลวง พระยามหาโยธา คุมกองมอญ ๓,๐๐๐ คนไปขัดตาทัพที่ด่านกรามช้าง



บันทึกเหตุการณ์ตอนนี้มีว่า



“แต่นายทัพนายกองทั้ง ๓ นาย คอยสกัดตีกองลำเลียงพม่า และจับพม่ามาได้บ้าง ส่งให้ทัพหลวง แล้วคิดย่อท้อต่อข้าศึก หลีกหนีไปซุ่มทัพตั้งอยู่ที่อื่น กรมพระราชวังบวรฯทรงทราบ จึงรับสั่งให้ข้าหลวง ไปสอบข้อเท็จจริง ถ้าจริงก็ให้ประหารชีวิต และตัดศีรษะมาถวาย ส่วนปลัดทัพทั้ง ๒ นั้น ให้เอาขวานสับศีรษะคนละ ๓ เสี่ยง ข้าหลวงไปสอบและประจักษ์ด้วยตาแล้วว่าเป็นความจริง จึงปฏิบัติตาม พระราชบัณฑูร ตัดศีรษะพระยาทั้งสาม นำชะลอมใส่ศีรษะทั้งสามมาถวาย ณ ค่าย มีพระราชบัณฑูรให้เสียบประจานไว้หน้าค่ายอย่าให้ผู้ใดเอาเยี่ยงอย่าง



แล้วดำรัสให้พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าขุนเณรเป็นนายทัพกองโจรคุมพล ๑,๐๐๐ คน ไปสมทบกันกับกองโจรเดิม ๕๐๐ เป็น ๑,๕๐๐ คน ไปคอยสกัดตีกองลำเลียงของพม่าที่ตำบลพุไคร้ดังแต่ก่อน เพื่อมิให้พม่าส่งลำเลียงข้าวปลาอาหารได้ ปรากฏว่าได้ผลดี ส่งเชลยพม่าที่จับได้ ช้าง ม้า โค เสบียงอาหาร มาถวายเนืองๆ



ครั้งนั้น พม่าได้ตั้งหอรบแล้วเอาปืนใหญ่ไปตั้งยิงค่ายทัพไทย ทัพไทยไม่มีลูกปืนใหญ่ เอาไม้มาทำเป็นลูกปืนระดมยิงค่ายพม่าพังไปหลายตำบล พม่าถูกลูกปืนไม้ล้มตายและลำบากเป็นอันมาก ออกจากค่ายก็ไม่ได้ เสบียงก็ขัดสน ถอยกำลังลง กรมพระราชวังบวรฯ จึงทรงแต่งหนังสือข้อราชการสงครามให้ข้าหลวงถือมากราบทูลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ซึ่งทรงเตรียมกองทัพไว้แล้ว



พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯจึงเสด็จฯกรีธาทัพหลวงกำลังพล ๒๐,๐๐๐ คนไปช่วย เพื่อให้ศึกเสร็จสิ้นโดยเร็ว...”



‘พระองค์เจ้าขุนเณร’ นี้ เป็นโอรสเลี้ยงในสมเด็จพระพี่นางเธอพระองค์ใหญ่ (ในรัชกาลที่ ๑) คือเป็นบุตรของพระภัสดากับภริยาอื่น นัยว่าพระชนม์สูงกว่ากรมพระราชวังหลังพระโอรสองค์ใหญ่ใน สมเด็จพระพี่นางเธอฯ







พระยาเสลาภูมาธิบดี



พระทองผาภูมิได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็น พระยาเสลาภูมาธิบดี ภายหลังได้ทำศึกสงครามเก้าทัพที่ทุ่งลาดหญ้า ซึ่งมอญเจ็ดหัวเมืองนั้นได้รับใช้และเป็นหัวเมืองหน้าด่านทั้งหาข่าว กรองแล้วรีบรายงานด่วนถึงพระมหากษัตริย์ ในสงครามเก้าทัพมอญทั้งเจ็ดหัวเมืองเพื่อรายงานข่าวกรองว่าพม่าได้เดินทางมาทางด่านเจดีย์สามองค์ สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้ให้สมเด็จเจ้าขุนเณรคุมกำลังส่วนหนึ่งและมี มอญทั้งเจ็ดหัวเมืองอยู่ในความบังคับบัญชา ตั้งค่ายทางทิศตะวันตก................ ภายใต้การบังคับบัญชาของกรมพระราชวังบวรสุรสิงหนาท หลักฐานในบันทึก กรมทหารราบที่ ๙ ทุ่งลาดหญ้า กาญจนบุรี พระยาเจ่งจะคุมมอญอีกชุดหนึ่ง การรบที่ทุ่งลาดหญ้านับเป็นสงครามที่สำคัญของประวัติชาติไทย ที่มีผู้กล้าหาญเด็ดเดี่ยวมิมีใครกลัว เกรงข้าศึก



มอญเจ็ดหัวเมืองมีความสำคัญมากในขณะนั้น และได้รับพระราชทานเป็น พระยา ๓ ท่าน ภายหลังเสร็จสิ้นสงครามเก้าทัพ ถึงมอญเจ็ดหัวเมืองจะถูกบันทึกในประวัติศาสตร์น้อยมากแต่ก็ เป็นกำลังที่สำคัญโดยเฉพาะการข่าว ข่าวกรอง เพราะมอญเจ็ดหัวเมืองมีความชำนาญเส้นทางประจวบกับมีญาติที่อยู่ในเขตพม่าที่ให้ข่าวสาร จึงทำให้การข่าวของไทยได้รับทราบรวดเร็ว และสามารถตั้งรับข้าศึกดำเนินการวางแผนได้ดี







พระยาเสลาภูมาธิบดี ได้รับพระราชทานดังนี้



๑. ผ้านุ่งและผ้าไหม กำได้หนึ่งกำมือ และได้มอบให้บุตรชายคนรองเก็บรักษาอยู่



๒. ธงชาติพระราชทาน ธงพื้นสีแดงตรงกลางเป็นช้างเผือกไม่มีทรงเครื่อง



๓. ผ้าขลิบสีน้ำเงินพระราชทานให้หลวงวิชิตสงครามบุตรชายคนโตของพระยาเสลา



ภูมาธิบดี ผ้าผุพังหมดแล้วสมัยผมเป็นเด็กเคยจับดูขาดหมด แล้วจึงเก็บกระดุมไว้ ๓ เม็ด



 แก้ไขเมื่อ : 17/2/2555 13:05:27





น้ากุ็กฮะ อย่างจาบอกว่า พวกน้า ๆ ลุง ๆ ในเนี้ย ไม่ค่อยมีหนอนฯ หรอก มีแต่ พวกงูใหญ่ กะ งูเล็ก..อิ อิ
จาก : xr-boy(xr-boy) 17/2/2555 13:40:08 [180.183.118.207]

จาก : wibak pure(wibak pure) 17/2/2555 17:28:02 [110.49.249.84]
เอ่อ!!?????
จาก : wibak pure(wibak pure) 17/2/2555 17:31:14 [110.49.249.84]
 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

kookyz จาก กุ๊ก/kookyz 27.130.151.148 ศุกร์, 17/2/2555 เวลา : 13:04  IP : 27.130.151.148   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 52514

คำตอบที่ 757
       ครับพี่ xr-doy ผมก็ลงขัดดอก เอ้ย ลงคลายเครียด เปลี่ยนแนวจะได้ไม่จำเจ เอาความรู้มาแบ่งปันกัน เหมือนในภาพนี้ ให้ปริศนาธรรมหลายอย่างนะ อย่างแรก น้ำใจของคนช่วยเหลือ
อย่างที่ 2 วิธีนำรถข้ามน้ำของชาวบ้าน ดับเครื่องยนต์แล้งจูงข้าม แน่นอนกว่า
อย่างที่ 3 วิถีชีวิตของชาวบ้าน ประสพการณ์ช่วยสั่งสอนการดำเนินชีวิต นะครับ
นี่เป็นมุมมองของผมเองคนเดียวนะ ท่านใดอาจมองแตกต่างจากผมไป ก็ไม่ว่ากันนะครับ





มันคงเป็น ภูมิปัญญา บวกกับความจำเป็น ของแต่ละท้องถิ่นนะครับ น้ากุ็ก...............
จาก : xr-boy(xr-boy) 17/2/2555 18:10:00 [180.183.118.207]
เวฟ 1 คน พร้อมลูกกับเมียถึงห้วย ดับเครื่องข้ามเฉยแต่เราเต็มยศผล รถกลายเป็นเรือดำน้ำ
จาก : chob(chob) 18/2/2555 12:12:38 [125.27.197.17]
 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

kookyz จาก กุ๊ก/kookyz 27.130.151.148 ศุกร์, 17/2/2555 เวลา : 16:38  IP : 27.130.151.148   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 52526

คำตอบที่ 758
       ต้องขอขอบคุณ ผู้ใหญ่ยูร อิงภู ภักดีชุมพล ชัยภูมิ ผู้มากด้วยน้ำใจ ส่งมะขามหวานทางพัสดุไปรษณีย์ไปให้ผมกล่องใหญ่ ผมได้รับแล้วเมื่อซักครู่นี้ แล้วได้ลองกินแล้ว มะขามหวานชัยภูมิฝักใหญ่และรสชาติหวาน มัน มาก ขอบคุณผู้ใหญ่ยูร อีกครั้งนะครับ





เอา หวานอย่างเดียวก็พอ ม้างงงงง มันมี มันด้วยเหรอ? ........อ่ะหยอกเล่นนน อิ อิ ................
จาก : xr-boy(xr-boy) 17/2/2555 18:07:03 [180.183.118.207]
หวานมากจริงๆครับ
จาก : kookyz(kookyz) 17/2/2555 20:46:00 [27.130.151.148]
ชัยภูมิคงจะดินดี ปลูกมะขามหวาน ฝักก็ใหญ่ และหวานมากด้วย ครับ
จาก : kookyz(kookyz) 17/2/2555 20:47:14 [27.130.151.148]
 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

kookyz จาก กุ๊ก/kookyz 27.130.151.148 ศุกร์, 17/2/2555 เวลา : 17:22  IP : 27.130.151.148   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 52527

คำตอบที่ 759
       แม้แสนไกล จากชัยภูมิมากาญจนบุรี ยังอุตส่าห์ส่งมะขามหวาน ทางพัสดุไปรษณีย์ไปให้ผม น้ำใจ น้ำใจดีจริงๆ ผมนับถือ นับถือมิตรภาพที่มอบให้ ผมจะไม่มีวันลืม ใครว่ามิตรภาพทางเน็ตไม่มี นี่ก็เป็นบทพิสูจน์ขั้นแรกในการคบกัน คนจริงใจแค่มองตาก็รู้แล้ว นะครับ





แหมน่้าสืบเสาะมาเพียบน่าจับไปสืบที่อิหร่าน
จาก : chob(chob) 18/2/2555 10:33:06 [125.27.197.17]
คงจะไปไม่ถึงอิหร่านหรอกครับ แค่กรุงเทพ ก้จะไม่รอดอยู่แล้วครับ
จาก : kookyz(kookyz) 18/2/2555 10:46:07 [27.130.154.93]
 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

kookyz จาก กุ๊ก/kookyz 27.130.151.148 ศุกร์, 17/2/2555 เวลา : 20:53  IP : 27.130.151.148   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 52545

คำตอบที่ 760
       มาชมทริปแบบเสี่ยงๆของชุดทดสอบของนิตยสารมอเตอร์ไซค์ ที่ไปออกทริปที่แม่ฮ่องสอน ในปี 2539 ที่ใครๆก็ยากที่จะเข้าไปเอาภาพออกมาได้นะครับ





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

kookyz จาก กุ๊ก/kookyz 27.130.154.93 เสาร์, 18/2/2555 เวลา : 10:49  IP : 27.130.154.93   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 52570

คำตอบที่ 761
       หน้าที่ 2 ในปี 2539





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

kookyz จาก กุ๊ก/kookyz 27.130.154.93 เสาร์, 18/2/2555 เวลา : 10:50  IP : 27.130.154.93   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 52572

คำตอบที่ 762
       หน้าที่ 3 ในปี 2539





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

kookyz จาก กุ๊ก/kookyz 27.130.154.93 เสาร์, 18/2/2555 เวลา : 10:52  IP : 27.130.154.93   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 52574

คำตอบที่ 763
       ผมความรู้น้อยเรื่องมอญ เพราะได้ไปแค่ พนังเปิง กับโจฮาเปล้า เมื่อต้นปี 51 เดินทาง 1 วัน ( ด้วย 4x 4 ) แต่รูปไปกับโน๊ตบุคล์ เครื่องเก่าหมด หวิดได้ไปต่อที่เมืองเย ถ้านุ่งโสร่งได้เนียนๆ แล้วก้อกินหมากด้วย แต่ถ้าจะให้เหล้า ( เล่า ) ต้องเอาโซดามาด้วย แต่ผมมักน้อย ขอเปลี่ยนเป็นโค้ก น้ำแข็งพอเหล้าไม่ต้องเพราะผมไม่ดื่ม สนุกมาก 4 วัน 3 คืน กับ การย้อนยุกต์เหมือนไปป่ากับพรานโก๊ะ ได้พบกับสิ่งใหม่ ( แต่เก่า ) เอ้างงซิท่า ยกตัวอย่าง ORS ( ผงเกลือแร่ ) มีเป็นซองเหมือนกันใช้ทดแทนการเสียน้ำของร่างกาย เวลาท้องเสียของเราให้คนละ 5-10 ซอง แต่ที่โน่น หลายคนต่อ1 ถัง เพราะผสมในถัง แล้วตักแจก ข้าวที่ไม่ต้องหุงเพราะป่นยิ่งกว่าปลายข้าว ( เป็นปลายหยิม) ต้องนึ่งสถานเดียว แล้วก้อเตาประหยัดถ่านที่ประหยัดจริงๆ เพราะห้ามทำอะไรนานๆไม่งั้นต้องเติมถ่านตลอด แล้ว ข้าวเช้าที่กินตอน 11 โมง เพราะที่นี่กินข้าวแค่ 2 มื้อ คือมื้อเช้า กับมื้อเย็น แต่ตอนนี้เปลี่ยนไปรึยังไม่รู้นะ เพราะเลยมาหลายปีแล้ว เกือบลืมอาชีพหลักที่นี่ หมาก กับไม้ที่ส่งไปเมืองเย โดยการล่องไปตามแม่น้ำ



น่าน! กูรู ตัวจริงอีกท่าน นะครับ
จาก : kookyz(kookyz) 18/2/2555 10:55:17 [27.130.154.93]
 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

chob จาก chob 125.27.197.17 เสาร์, 18/2/2555 เวลา : 10:53  IP : 125.27.197.17   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 52576

คำตอบที่ 764
       หน้าที่ 4 ในปี 2539





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

kookyz จาก กุ๊ก/kookyz 27.130.154.93 เสาร์, 18/2/2555 เวลา : 10:56  IP : 27.130.154.93   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 52578



คำตอบที่ 765
       หน้าที่ 5 ปี 2539





คงไม่ต้องแปลกใจ ว่าทำไม พี่อัฐชัย สามพราน ขับรถเข้าป่า ต้องเอาเก้าอี้พับได้ ติดตัวไปด้วย
จาก : viroj th(viroj th) 18/2/2555 12:03:51 [171.7.203.85]
ช่างหยุดพัก
คงจดจำ จนติดตา นะครับ
จาก : kookyz(kookyz) 18/2/2555 15:34:58 [27.130.154.93]
 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

kookyz จาก กุ๊ก/kookyz 27.130.154.93 เสาร์, 18/2/2555 เวลา : 10:58  IP : 27.130.154.93   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 52579

คำตอบที่ 766
       หน้าที่ 6 ในปี 2539





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

kookyz จาก กุ๊ก/kookyz 27.130.154.93 เสาร์, 18/2/2555 เวลา : 11:00  IP : 27.130.154.93   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 52580

คำตอบที่ 767
       หน้าที่ 7 ในปี 2539 สุดท้ายในทริปนี้ครับ





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

kookyz จาก กุ๊ก/kookyz 27.130.154.93 เสาร์, 18/2/2555 เวลา : 11:01  IP : 27.130.154.93   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 52581

คำตอบที่ 768
      





ขอขอบคุณนักบุกเบิกเส้นทาง ยุกแรกๆ ช่ายสร้างแรง บันดารใจให้คนรุ่นหลัง
จาก : viroj th(viroj th) 18/2/2555 12:14:55 [171.7.203.85]
 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

viroj th จาก Viroj Th 171.7.203.85 เสาร์, 18/2/2555 เวลา : 12:11  IP : 171.7.203.85   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 52582

คำตอบที่ 769
       ภาพและข้อมูลต่างๆ ก็ได้มาจากท่านนี้ ที่มีอุดมการณ์ทางฝุ่นมาอย่างยาวนาน คือ พี่อัฐชัย สามพราน (วิบากล้วนๆ)





กระเป๋าซ้าย 15 กก / กระเป๋าขวาอีก 15 กก
จาก : viroj th(viroj th) 18/2/2555 19:33:40 [27.130.133.157]
 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

kookyz จาก กุ๊ก/kookyz 27.130.154.93 เสาร์, 18/2/2555 เวลา : 15:39  IP : 27.130.154.93   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 52585

คำตอบที่ 770
       เส้นทางรถอ๊อฟโรด ลิ่นถิ่น-น้ำตกผาสวรรค์ล่าง หน้าฝนกับหน้าแล้ง ไม่แตกต่างกันมากมาย โหดสุดๆ นรกบนดินชัดๆ เหนื่อยสุดๆเพราะต้องช่วยเหลือคันอื่นๆตลอดเส้นทาง ใครชวนไปย้อนรอยอีก ผมคงไม่ว่างไปอีกแล้วนะครับ





5555.........ก็แบบช่างหน่าบอกละครับ
จาก : ปุ้ยซาลาเปา ไทรโยค(CHANATIP) 20/2/2555 13:41:24 [49.229.90.235]
 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

kookyz จาก กุ๊ก/kookyz 171.7.240.147 จันทร์, 20/2/2555 เวลา : 12:07  IP : 171.7.240.147   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 52690

คำตอบที่ 771
       http://rideasia.net/forum/n-o-b-ride-17th-february-2012-t1471.html

http://rideasia.net/forum/nob-sunday-ride-12-feb-t1455.html

 แก้ไขเมื่อ : 20/2/2555 22:42:28





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

viroj th จาก Viroj Th 171.7.165.41 จันทร์, 20/2/2555 เวลา : 22:39  IP : 171.7.165.41   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 52754

คำตอบที่ 772
       http://www.crustyquinns.com/index.html

ขอแนะนำ web







 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

viroj th จาก Viroj Th 171.7.165.41 จันทร์, 20/2/2555 เวลา : 22:50  IP : 171.7.165.41   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 52755

คำตอบที่ 773
      





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

viroj th จาก Viroj Th 27.130.69.134 อังคาร, 21/2/2555 เวลา : 08:12  IP : 27.130.69.134   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 52772


คำตอบที่ 775
       อาจจะเป็นข้อมูลเบื้องต้นสำหรับผู้มีความประสงค์ จะไปล้างหน้าที่เลตองคุ ฮิฮิ



http://www.youtube.com/watch?v=Aj6q3S72z1c&feature=related

http://www.youtube.com/watch?v=cHjzJ-yjShk&feature=related

http://www.youtube.com/watch?v=w3SSKjwsHVQ&feature=related

http://www.youtube.com/watch?v=0gBqR_vCEOc&feature=related

http://www.youtube.com/watch?v=4Fu4mkhxEtY&feature=related

 แก้ไขเมื่อ : 22/2/2555 9:23:08





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

viroj th จาก Viroj Th 171.7.235.252 พุธ, 22/2/2555 เวลา : 09:21  IP : 171.7.235.252   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 52989

คำตอบที่ 776
       ดูดอกยางก็รู้ว่า มีการเตรียมพร้อมมาลุยเป็นอย่างดี นะครับ





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

kookyz จาก กุ๊ก/kookyz 171.7.240.147 พุธ, 22/2/2555 เวลา : 09:25  IP : 171.7.240.147   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 52994

คำตอบที่ 777
       ในทุ่งใหญ่นเรศวร ณ.ตอนนี้ฝนตกลงมาแล้ว ทำให้เส้นทางต่างๆเพิ่มระดับความยากขึ้นมาอีกเท่าตัว นะครับ





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

kookyz จาก กุ๊ก/kookyz 171.7.240.147 พุธ, 22/2/2555 เวลา : 09:29  IP : 171.7.240.147   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 52998

คำตอบที่ 778
       การเที่ยวป่ามีหลากหลายวิธี เราจะเลือกไปแบบไหนเท่านั้น ครับ





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

kookyz จาก กุ๊ก/kookyz 171.7.240.147 พุธ, 22/2/2555 เวลา : 09:31  IP : 171.7.240.147   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 52999

คำตอบที่ 779
       แบบนี้คงไม่ใช่การเที่ยวป่า แต่เป็นการดำเนินชีวิตประจำวันของชาวกระเหรี่ยง นะครับ





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

kookyz จาก กุ๊ก/kookyz 171.7.240.147 พุธ, 22/2/2555 เวลา : 09:33  IP : 171.7.240.147   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 53002

คำตอบที่ 780
       เปลวเทียนให้แสง รามคำแหงให้ทาง แล้วมันจะเกี่ยวกันไหมเนี๊ย





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

kookyz จาก กุ๊ก/kookyz 171.7.240.147 พุธ, 22/2/2555 เวลา : 09:35  IP : 171.7.240.147   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 53005

      

ยังมีคำตอบมากกว่านี้นะครับ คลิ๊กเพื่อดูหน้าถัดไป


คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 26 จาก >>> 1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  
21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  31  32  33  34  35  36  



website รองรับการใช้งานทุกระบบปฏิบัติการของ PC Tablet SmartPhone ทุกระบบสามารถโพสข้อความและรูปภาพได้โดยไม่ต้องย่อไฟล์
เพื่อความปลอดภัยในการใช้ website WeekendHobby.Com สมาชิก เท่านั้น จึงจะตั้งกระทู้ หรือ ตอบกระทู้ได้ครับ
Login Click ที่นี่
สมัครสมาชิก Click ที่นี่

Since 22, Feb 2001 hit counter View My Stats  Truehits.net      วันศุกร์,19 เมษายน 2567 (Online 3765 คน)