WeekendHobby.com
เครื่องมือในการใช้งาน website =>> สมัครสมาชิก | Login | Logout | เปลี่ยนไอคอนส่วนตัว | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อโฆษณา         View stat by Truehits.net


ทริปปีใหม่ 2009 โครงการหลวงดอยแปกแซม ต.เปียงหลวง จ.เชียงใหม่
mop
จาก mop
58.8.156.139
ศุกร์ที่ , 2/1/2552
เวลา : 12:03

อ่านแล้ว = 25699 ครั้ง
 เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งตรวจสอบกระทู้
 แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน ส่งหาเพื่อน

       ทริปปีใหม่ 2009 โครงการหลวงดอยแปกแซม ต.เปียงหลวง จ.เชียงใหม่

สถานีสาธิตและถ่ายทอดการเกษตร ป่าไม้ สิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านแปกแซมตำบลเปียงหลวง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่

บ้านเปียงหลวง อยู่ติดชายแดนไทย-พม่า
มีด่าน .. ช่องหลักแต่ง ...ชาวบ้านในตำบลนี้เป็นจีนฮ่อและไทยใหญ่
โดยชาวจีนฮ่อนั้นอพยพเข้ามาในสมัยเจียงไคเช็คเป็นประธานประเทศ แต่ก็ยังไม่ละทิ้งวัฒนธรรมเดิม ทุกคนจะเรียนภาษาจีนเพิ่มเติมตอนเย็น โดยได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐบาลไต้หวัน

เส้นทางเข้าออก อ.เวียงแหง มีความลาดชันสูง และมีความคดเคี้ยวมาก แต่มีทิวทัศน์งดงามมากตลอดเส้นทาง มีทะเลหมอก และสภาพป่าไม้ที่หลากหลาย เช่น ป่าโปร่ง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบเขา และป่าสน
ช่วงฤดูหนาวจะพบดอดบัวตองตลอดเส้นทาง และดอกนางพญาเสือโคร่งหรือซากุระเมืองไทยสีชมพูกระจายอยู่ทั่วไป ...(ขอขอบคุณข้อมูลคุณเด็กน้อย มา ณ. ที่นี้ครับ)



เปิดกระทู้ไว้ให้เพื่อนร่วมทริปแจม ๆ ภาพถ่ายอยู่ในกระทู้เดียวกัน เพื่อให้ง่ายต่อการ search ข้อมูลในอนาคตครับ จะได้เป็นประโยชน์กับส่วนรวมทั่วไปครับ

ส่วนรายละเอียด เดี๋ยวรอย่อภาพ จะมาลงให้ชมอีกครั้งนึงครับ....เชิญชาวตะบันหมากฯ แจมภาพตามอัธยาศัยครับ


เพื่อความเต็มตา ในการชมอย่าลืมกด F11 ก่อนน๊ะครับ









 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

แจ้งเพื่อเก็บขึ้นกระทู้พิเศษ คลิ๊กที่นี่แจ้งเพื่อนำขึ้นกระทู้พิเศษ

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 2 จาก >>> 1  2  3  4  

คำตอบที่ 31
       ก่อนจากดอยแปกแซม...แวะชมแปลงเพาะพันธ์พืชกันนิดหน่อย





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

mop จาก SUPERMOP 58.8.153.24 เสาร์, 3/1/2552 เวลา : 20:31   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 364990

คำตอบที่ 32
       เปียงหลวง ชายขอบแห่งความทรงจำ

กุลธิดา สืบหล้า...เรื่อง

สายัณห์ ชื่นอุดมสวัสดิ์...ภาพ

ได้รับความเอื้อเฟื้อจากอนุสาร อ.ส.ท.

ที่มา : อนุสาร อ.ส.ท. ปีที่ 46 ฉบับที่ 1 เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2548





เรามาถึงอำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ กันในบ่ายที่ครึ้มฟ้าครึ้มฝน เวียงแหงเป็นอำเภอชายแดนที่ทางหลวงหมายเลข 1322 จะนำเรามาส่งอย่างเชื่องช้าด้วยระยะทาง 72 กิโลเมตรบนเขาสูง คำเตือนของนายตำรวจที่ด่านตรวจตรงสามแยกแม่จาซึ่งบอกว่าเกียร์ 3 เกียร์ 4 ไม่ต้องใช้นั้น เป็นจริงเลยทีเดียว



เฮือกสุดท้ายที่โค้งถนนเหวี่ยงเราไปมา ที่ราบบรรจุพื้นที่การเกษตรและกลุ่มหมู่บ้าน รอบล้อมด้วยภูเขาทับซ้อนสุดสายตาก็ปรากฏเมื่อรถดิ่งไปถึง กลับกลายเป็นความเงียบที่มาพร้อมกับความหม่นมัวของอากาศ ซึ่งขะลอความเคลื่อนไหวต่าง ๆ ในอำเภอเล็ก ๆแห่งนี้ไปด้วย



เวียงแหงเดิมคือหนึ่งในกลุ่มเมืองชายขอบของรัฐล้านนาที่ตั้งอยู่ติดเขตพม่า เป็นเส้นทางติดต่อค้าขายระหว่างเชียงใหม่กับพม่า ครั้งปี พ.ศ. 2147 สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงนำกองทัพอันเกรียงไกรของพระองค์ผ่านเส้นทางนี้ไปปราบปรามพม่าที่เข้ามายึดครองเมืองนาย ซึ่งเดิมเป็นเมืองในเขตปกครองของล้านนา ทั้งนี้เพราะกรุงศรีอยุธยาเองก็กำลังทำศึกกับพม่าเช่นกัน ล้านนาจึงมีฐานะเป็นรัฐกันชนที่ทั้งพม่าและกรุงศรีอยุธยาต่างต้องการไว้ในครอบครองเพื่อใช้เป็นแหล่งเสบียงและฐานกำลังคนเพื่อรบกับฝ่ายตรงข้าม



หลักฐานที่พอจะยืนยันการมาถึงเวียงแหงของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช คือคันคูเมืองเก่า สิ่งก่อสร้าง เช่นบ่อพักน้ำสำหรับไพร่พลและช้างศึก บ่งชี้ว่ามีการชุมนุมตั้งทัพอยู่นานบริเวณลานหน้าพระบรมธาตุแสนไห ซึ่งเป็นโบราณสถานคู่บ้านคู่เมืองเวียงแหง ชื่อแสนไหนี้ตามตำนานว่าได้มาจากเมื่อครั้งที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกทัพไปตีเมืองในพม่าแล้วนำของมีค่ากลับมามากมายจนเกินกำลังที่จะนำกลับกรุงศรีอยุธยาได้ จึงบรรจุไหใส่ไว้ใต้พระบรมธาตุซึ่งบรรจุพระทนต์ของพระพุทธเจ้ามาตั้งแต่สมัยพุทธกาล



และที่สำคัญ ได้มีการสันนิษฐานว่าขณะยกทัพไปทำศึกกับพม่าผ่านทางเวียงแหง พระองค์ประชวรจนต้องถอยทัพกลับเข้ามาอยู่ที่เวียงแหง จากนั้นก็สิ้นพระชนม์ลงที่นี่



ฝนโปรยละอองบาง ๆ เมื่อเราเจอความคึกคักเพียงเล็กน้อย ตกค้างอยุ่ในเพิงขายก๋วยเตี๋ยวระหว่างมื้อกลางวัน ที่ซึ่งกลิ่นของข้าวซอยและขนมจีนน้ำเงี้ยวล่องลอยปะปนอยู่กับคำพูดคำจาภาษาถิ่นเหนือ



“วันนี้เขาไปสรงน้ำพระธาตุแสนไหกันหมด ตัวเมืองเลยดูเงียบ ๆ” แม่ค้าเอื้อนคำเมืองหวานหู



ห่างตัวอำเภอมาเล็กน้อย เราผ่านความเคลื่อนไหวบริเวณพระบรมธาตุแสนไหซึ่งกำลังมีงานสรงน้ำพระธาตุและการขับซอบนเวที เลยไปนั้นข้างทางชาวบ้านบางส่วนกำลังง่วนอยู่กับงานในทุ่งนา ซึ่งบัดนี้เจิ่งนองไปด้วยน้ำและต้นกล้าสีเขียวอ่อนก็เพิ่งถูกปักลงไปรอท่า ไกลออกไปต้นสนนามใบเกาะกลุ่มอยู่เป็นแปลง บอกให้รู้ว่าพื้นที่แถบนี้น่าจะสูงไม่ต่ำกว่า 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเลปานกลาง



หลักกิโลเมตรระบุตัวเลขว่าอีกเพียงสิบกว่ากิโลเมตรจะถึงบ้านเปียงหลวง ชุมชนชายแดนไทย-พม่าที่ครั้งหนึ่งเคยคึกคักสุดขีดจนถึงกับมีคำพูดของเจ้าหน้าที่ที่ว่าการอำเภอเวียงแหงว่าน่าจะตั้งอำเภอกันที่เปียงหลวงเสียเลย เพราะดูจากจำนวนประชากรที่กระจายกันอยู่ใน 3 ตำบลล่าสุดเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาแล้วจะเห็นว่า ตำบลเปียงหลวงมีคนอยู่อาศัยมากสุดถึง 16,583 คน รองลงมาคือตำบลเมืองแหง มี 7,924 คน ขณะที่ตำบลแสนไหมีคนอยู่แค่ 3,143 คน



รถแล่นเรื่อยเข้าสู่ซุ้มประตูทางเข้าหมู่บ้านเปียงหลวง สนสามใบสดฉ่ำน้ำฝนกระจายกันอยู่บนเนินเขา ถนนทอดยาวผ่านบ้านเรือนสองฟากฝั่ง เล่ากันว่าสมัยก่อน คนที่มาเวียงแหงแล้วไม่ได้เลยไปให้ถึงเปียงหลวง ถือว่ายังมาไม่ถึงเวียงแหง เป็นเสียอย่างนั้น ทว่าภาพที่ฉันเห็นอยู่ตอนนี้คือเปียงหลวงเฉยชาใส่เราอยู่ในท้องฟ้าสีขาวซีด ร้านรวงมีมากมายก็จริง แต่กลับไร้ความขวักไขว่ใด ๆ จนฉันอดไม่ได้ที่จะหันไปตั้งคำถามกับช่างภาพว่า นี่เรามาช้าไปอีกแล้วหรือ เพราะบ่อยครั้งฉันรู้สึกว่าคนรุ่นเรามักพลาดที่จะได้รู้ได้เห็นในเรื่องอันน่าตื่นตาตื่นใจ และวันเวลาก็ได้กันเราออกมาเป็นคนนอก ซึ่งต้องวิ่งไล่หาอดีตจากคนรุ่นเก่า ๆ อยู่เสมอ



อย่างน้อยเราก็มาช้าไป 3 ปี เปียงหลวงในฐานะเมืองชายแดนอันคึกคักกำลังถูกลบเลือนทีละน้อย เมื่อพม่าสั่งปิดขายแดนบริเวณบ้านหลักแต่งเมื่อปี พ.ศ. 2545 เนื่องจากการสู้รบระหว่างฝ่ายรัฐบาลพม่า กับกองกำลังกู้ชาติไทยใหญ่ที่นำโดยเจ้ายอดศึก และพม่าเองก็คงเกรงว่าไทยจะเป็นสายข่าวและให้ความช่วยเหลือฝ่ายทหารไทยใหญ่ ขาวไทยใหญ่ที่ตั้งบ้านเรือนอยู่กว่า 100 หลังคาเรือนบริเวณชายแดนจึงถูกทหารพม่าผลักดันให้ออกจากพื้นที่ ท้ายที่สุดพวกเขาก็ต้องเข้ามาในประเทศไทย และกลายเป็นผู้อพยพในศูนย์อพยพบ้านเปียงหลวง



“เปียงหลวงไม่เคยเงียบแบบนี้” เต็งยุ้น ผายนาง ผู้ใหญ่บ้านบ้านเปียงหลวง คล้ายรำพึงเมื่อต้องฟื้นความหลัง ก่อนหน้านั้นเปียงหลวงเจริญกว่าตัวอำเภอเวียงแหงมาก เพราะพรมแดนเปิดกว้าง การค้าขายจึงคล่องตัว เงินสะพัดไปทั่วทั้งตำบล ไล่มาตั้งแต่บ้านหลักแต่งจนถึงบ้านเปียงหลวง ซึ่งอยู่ห่างออกมาจากพรมแดนราว 2 กิโลเมตร



“แถวชายแดนมีพ่อค้าแม่ค้ามาตั้งเพิงขายของกันคึกคักทั้งฝั่งเขาฝั่งเรา ไทยใหญบางคนข้ามมาแล้วก็จะนั่งรถสองแถวจากบ้านหลักแต่งเลยเข้ามาซื้อของในเปียงหลวงด้วย ร้านขายของถึงได้เต็มไปหมด” น้ำเสียงของเขาค่อยเริ่มมีชีวิตชีวา



นอกจากของกินของใช้แล้ว ผู้ใหญ่บ้านชาวไทยใหญ่ว่าสีสันของตลาดชายแดนแห่งนี้อีกอย่างคือการซื้อขายวัวควาย ที่พ่อค้าชาวไทยใหญ่พากันต้อนมาจากรัฐฉาน เดินทางรอนแรมกันมากว่าจะถึงบ้านหลักแต่งราว ๆ เดือนหนึ่ง จากนั้นพ่อค้าชาวไทยร่วม 20-30 เจ้า รวมทั้งตัวเขาด้วย ก็จะกว้านซื้อไว้หลายสิบตัว และบางทีอาจถึงหลักร้อย



“ผมเองซื้อขายวัวควายแล้วก็ยังขายของไปด้วย ขายดีจนต้องย้ายครอบครัวไปสร้างบ้านอยู่แถวนั้นเลย” เต็งยุ้นอนหลังพิงพนักเก้าอี้ “คนไทยใหญ่ฝั่งโน้นมาซื้อพวกของกินของใข้ไปจากเรา บางคนข้ามแม่น้ำสาละวินกันมาเลย ส่วนเราก็ซื้อของป่าจากเขา” จากชายแดนแม่น้ำสาละวินอยู่ไม่ไกลนัก ฝั่งตรงข้ามเราคืออำเภอเมืองต๋น จังหวัดเชียงตุง เขตรัฐฉาน ส่วนเชียงตุงนั้นอยู่ไกลออกไปทางทิศตะวันออกมาก



เปียงหลวงเองยุคหนึ่งก็นับเป็นดินแดนไกลโพ้น เต็งยุ้นบอกว่าปู่ของเขาใช้เวลาเดินทางไปกลับเชียงใหม่ถึงสองเดือนเต็ม โดยปี ๆ หนึ่งพวกผู้ชายจากเปียงหลวงจะต้อนวัวร่วม 50 ตัวต่างของป่าอย่าง เมี่ยงแห้ง เขากวาง หนังเก้ง หนังเสือ ลงไปขายในเชียงใหม่ เพื่อนำสิ่งจำเป็นอย่างเกลือและปลาแห้งกลับขึ้นมา ซึ่งเกลือนั้นจะถูกเก็บรักษาไว้อย่างดีเหนือกองไฟ



“แถวนี้มันคือป่าดงดิบทั้งนั้น เกสต์เฮาส์ที่คุณนอนนั่นเสือชุมขึ้นชื่อทีเดียวละ” เต็งยุ้นปลายตามองฉันพลางหัวเราะ “ต้นไม้ใหญ่ ๆ พวกไม้แดง ไม้ดู่ ไม้ก่อ ไม้แงะ ไม้เปา ต้องโค่นกัน 3 วันกว่าจะล้ม” ว่าไปแล้ว เขานับเป็นคนรุ่นที่สี่ที่สืบเชื้อสายมาจากนายจองดี ผู้ซึ่งมาบุกเบิกเปียงหลวงเป็นคนแรก ๆ เมื่อร้อยกว่าปีผ่านมา



หลังจากนั้น เปียงหลวงที่นายจองดีเรียกขานตามสภาพภูมิประเทศอันเป็นที่ราบกว้างใหญ่นี้ ก็ค่อย ๆสะสมผู้คนจนกลายเป็นชุมชนใหญ่ขึ้น เมื่ออดีตทหารจีนที่แตกย่อยออกมาจากกองพล 93 ราว 20-30 คน เดินทางมาถึงและได้ตั้งบ้านเรือนจนกลายเป็นชุมชนจีนขนาดใหญ่ในปี พ.ศ. 2513 นอกจากนี้ ก็ยังมีทหารไทยใหญ่ ซึ่งนำโดยเจ้ากอนเจิง ชนะศึก ประธานกองกำลังกู้ชาติไทยใหญ่ มาตั้งมั่นกอบกู้เอกราชจากพม่าอยู่ที่บ้านเปียงหลวงด้วยเช่นกัน



รวมกับชาวไทยใหญ่จากเมืองปั่นในพม่าที่ใช้เวลาเดินเท้ามาถึงใน 7-8 วัน เพื่อหนีสภาพแร้นแค้นเข้ามาสมทบด้วย ตั้งแต่นั้นเปียงหลวงจึงมีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นชาวจีนและชาวไทยใหญ่อยู่ร่วมกันมา แต่ว่าทุกวันนี้ที่ราบอันกว้างใหญ่ของนายจองดีจะไม่สามารถเหนี่ยวรั้งคนหนุ่มคนสาวไม่ให้จากไปหางานทำในเมืองเชียงใหม่ได้ ด้วยเพราะไม่ใช่ทุกคนที่จะมีที่ดินทินเป็นของตนเอง



ฝนยังไม่ขาดเม็ดดีขณะเราออกจากบ้านผู้ใหญ่บ้านซึ่งเปิดเป็นร้านขายของชำด้วย มุ่งหน้าไปวัดฟ้าเวียงอินทร์ วัดที่ตั้งอยู่บนชายแดนแผ่นดินไทยและพม่า ที่เมื่อก่อนตอนพรมแดนยังเปิด เคยเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนทั้งสองผั่ง ทว่าเมื่อด่านปิด วัดนี้ถูกขีดเส้นแบ่งว่าเป็นของพม่าครึ่งหนึ่ง คือส่วนที่เป็นอุโบสถและโรงเรียนพระปริยัติธรรม โดยทหารพม่าได้เข้ามายึดเป็นฐานที่ตั้งกองกำลังไปเสีย



แลกบัตรและตอบคำถามทหารที่ตั้งป้อมเฝ้าระวังอยู่หน้าวัดแล้ว ฉันเดินดูส่วนที่ยังเหลือของเรา คือ มาระชินะเจดีย์ ซึ่งเมื่อก่อนเคยมีสนามเพลาะอยู่รอบ ๆ หอสวดมนต์หรือวิหารที่สร้างด้วยศิลปะสถาปัตยกรรมไทยใหญ่ผสมยุโรป ศาลา หอฉัน และโรงครัว เมื่อเดินไปจนสุดแผ่นดิน ข้างล่างนั่นคือเศษซากของบ้านเรือนที่ถูกทำลายจากการสู้รบ กับแนวรั้วไม้ไผ่กั้นเป็นแนวเขตอย่างง่าย ๆ ทว่าความหมายของมันกลับจริงจังชนิดที่ว่าห้ามมีการล่วงล้ำกันโดยเด็ดขาด ถัดจากนั้นไป ฝั่งตรงข้ามก็คืออีกส่วนของวัดที่มีทหารพม่ายืนโบกมืออยู่ไหว ๆ



“ตอนที่ยังรบกันรอบวัดยังต้องมีสนามเพลาะ จนเมื่อเดือนกุมภาฯ ชาวบ้านถึงมาช่วยกันปรับพื้นที่ไป เขาบอกว่ามันดูไม่เป็นวัด” พระปรีชา ปฺญญาสาโร เจ้าอาวาสวัดฟ้าเวียงอินทร์พูดขึ้น



วัดฟ้าเวียงอินทร์สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2511 บนเนื้อที่ตะเข็บชายแดนสองแผ่นดิน ฝั่งไทยนั้นตั้งอยู่ที่บ้านหลักแต่ง หมู่ 1 ตำบลเปียงหลวง ฝั่งพม่าอยู่ติดกับบ้านป๋างก้ำก่อ ตำบลปางยาง อำเภอเมืองต๋น จังหวัดเชียงตุง เขตรัฐฉาน โดยมีพระสงฆ์ทั้งไทยและพม่าเข้ามาจำพรรษา พร้อม ๆ กับการสร้างวัด เจ้ากอนเจิง ชนะศึก ก็ได้บูรณะมาระชินะเจดีย์ หรือกองมูแหลน-หลิน ซึ่งตอนนั้นเป็นเพียงซากเจดีย์เก่าที่สันนิษฐานว่าสมเด็จพระนเรศวรมหาราชสร้างไว้เมื่อคราวยกทัพผ่านไปรบกับพม่า โดยมีนายจั่นต่า ชาวไทยใหญ่จากเมืองปั่นในรัฐฉานเป็นหัวหน้านายช่าง



จนเมื่อ 3 ปีที่แล้วเกิดการสู้รบอันดุเดือดระหว่างทหารของรัฐบาลพม่ากับกองกำลังกู้ชาติไทยใหญ่ พม่าก็ได้ยึดครองวัดฟ้าเวียงอินทร์ส่วนหนึ่งไป ในวันนี้เราจึงได้แต่ยืนมองยอดอุโบสถสีทองบนอีกฝั่งหนึ่งของเส้นสมมติที่ปักปันลงบนผืนแผ่นดิน



ซึ่งมันได้เร่งให้ผู้คนทั้งสองฝั่งก่อกำแพงที่มองไม่เห็นขึ้นในหัวใจของพวกเขาเอง



สายฝนที่พรำทั้งคืนนำมาซึ่งอากาศเย็นชื่นในทุกเช้า หมอกขาว ๆลอยเรี่ยอยู่บนยอดเขาที่โอบล้อมบ้านเปียงหลวงไว้ทุกทิศทาง ร้านกาแฟเจ้าประจำของเราซุกตัวอยู่ในซอกทางเข้าบ้านของคนชายนั่นเอง เรามักมานั่งแช่อยู่อย่างนั้นตั้งแต่เช้าจนสาย มองดูความเคลื่อนไหวตรงทางเข้าตลาดเปียงหลวงไปด้วย ไม่คึกคักนักหรอกถ้าจะว่าไปแล้ว แต่ก็พอมีสีสันของดอกไม้เมืองหนาว ซึ่งจะมีหญิงสาวนำใส่ถังมาวางขายรวมกันหลายชนิด กับสีอันจัดจ้านของผะลา ผ้าลวดลายออกจีน ๆ ที่พวกผู้หญิงใช้คาดหลังแล้วใส่ลูกหลานของเธอไว้ในนั้นเพื่อความคล่องตัวในการเดินเหิน



ข้าวของในตลาดบอกถึงตัวตนที่แท้จริงของเปียงหลวงอย่างดี มีทั้งที่เป็นจีนและไทยใหญ่ปะปนกันอยู่ เราจะได้เป็นคุณป้าเชื้อสายจีนนั่งขายชีตื้อเฝื่อง หรือก๋วยเตี๋ยวเต้าหู้อ่อน ประจันกับแผงขายสินค้าประดามีจากพม่า ปาท่องโก๋อยู่ติด ๆ กับร้านขายเต้าหู้อ่อนสีเหลืองทอด ซึ่งเป็นอาหารของชาวไทยใหญ่ อีกทั้งผักกาดเขียวดอง หัวไชเท้าดอง ของกินยืนพื้นสูตรจีนยูนนาน ก็อยู่ไม่ไกลจากลังถึงอัดแน่นไปด้วยหมั่นโถวและซาลาเปา



“น้ำเต้าหู้เมื่อก่อนเคยต้มสองหม้อใหญ่ ๆ ยังขายหมด ไทยใหญ่มาซื้อไปขายแถวด่าน” แม่ค้าสาวชวนคุยเมื่อฉันสั่งน้ำเต้าหู้แก้วที่สอง “เดี๋ยวนี้ต้มหม้อเล็ก ๆ ยังขายไม่หมดเลย” เธอยื่นน้ำชามาให้ด้วย



“ยังดีที่ปลูกข้าวกินเอง ไม่ต้องซื้อเขา ปลูกลิ้นจี่กับถั่วเหลืองไว้ขายบ้าง ถั่วเหลืองนี่ไทยใหญ่มาซื้อไปทำถั่วเน่ากันเยอะ”



หากเดินเรื่อย ๆ ตามถนนสายหลักซึ่งทอดตัวยาวตรง เราจะเห็นว่าสองฟากเต็มไปด้วยร้านค้าสลับร้านอาหาร บางวันเสียงตามสายจะดังไปทั่ว บอกให้สมาชิกชุมชนรีบไปดำเนินการเรื่องขอทำบัตรประชาขน เช้า ๆ เด็กนักเรียนมักเดินเกาะกลุ่มกันมุ่งหน้ายังโรงเรียนซึ่งอยู่ตรงปากทางเข้าหมู่บ้าน ถ้าเป็นวันพฤหัสบดี พวกเขาจะสวมชุดประจำชาติทั้งชุดไทยใหญ่และชุดกี่เพ้าหลากสี



จริง ๆ แล้วฉันว่าเด็กนักเรียนที่นี่เรียนกันหนักเอาการ เพราะหลังเลิกเรียนในภาคปกติ พ่อแม่ยังส่งไปเรียนพิเศษกับโรงเรียนกวงขวา ซึ่งเป็นโรงเรียนที่เปิดสอน 5 วิชาตามหลักสูตรภาษาจีนกลางอีก ตั้งแต่เวลา 18:00-21:00 นาฬิกา โดยค่าเรียนเดือนหนึ่งตกอยู่ที่ 120-280 บาท รวมแล้วครูใหญ่บอกว่ามีนักเรียนราว 780 คนเห็นจะได้ เขายิ้มพลางพูดเบา ๆ ว่าเจ้าหน้าที่อนามัยก็ยังมานั่งเรียนด้วยเหมือนกัน



ติดกับโรงเรียนกวงขวาคือศาลเจ้าแม่กวนอิม มองดูแล้วทั้งตัวหนังสือจีนที่เขียนติดไว้บนอาคารเรียนบวกกับรูปปั้นเทพเจ้านาจาหน้าประตูทางเข้าวัด ทำให้บริเวณนี้เปี่ยมบรรยากาศแบบจีนจนอาจทำให้เราคิดไปแวบหนึ่งว่าเหมือนเมืองจีนไม่มีผิด หน้าโรงเรียนยังมีอ่างเก็บน้ำห้วยเอิ่งจ๋ง รอบ ๆ ไม่เคยว่างเว้นคนมานั่งตกปลาแม้จะได้เพียงตัวเล็กตัวน้อยกลับบ้านในทุกเย็นก็ตาม



จากอ่างเก็บน้ำยังมีทางซอกซอนผ่านไร่ข้าวโพดขึ้นไปยังศาลเจ้าเงินบนยอดเขา ซึ่งใช้สำหรับประกอบกิจกรรมของคนเชื้อสายจีนในหมู่บ้าน ศาลเจ้าหันหน้าเข้าหาที่ตั้งของหมู่บ้านด้วยความเชื่อว่าจะช่วยปกปักรักษาผู้คน บนนั้นเราจึงได้เห็นบ้านเปียงหลวงกระจ่างอยู่ในสายตาจากมุมสูง อีกด้านหนึ่ง นาขั้นบันไดขนาบข้างด้วยภูเขาเมฆลอยก็ ชวนหลงใหลอยู่ไม่น้อย



กลับลงมาจากยอดเขาเด็กนักเรียนก็เข้าห้องเรียนกันหมดแล้ว ได้ยินเพียงเสียงท่องบทเรียนเป็นภาษาจีนแว่วลอยอยู่ในลมฝน เราเลี้ยวรถไปตามถนนดินเละ ๆ เส้นหนึ่งที่ต่อเชื่อมกับถนนหน้าโรงเรียน ช่างภาพต้องเปลี่ยนมาใช้ระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ เราจึงไปถึงบ้านคนทำรองเท้าที่ตามหามาตั้งแต่เช้า



ในวัย 64 ปี หมิ่นตี้ แซ่หยาง ยังชีพอยู่ด้วยการเย็บรองเท้า หรือที่คนเชื้อสายจีนเรียกกันว่าเฉ่าไห่ แม่สอนเธอไว้ตั้งแต่ยังรุ่น ๆ “ผู้หญิงจีนส่วนใหญ่จะใส่รองเท้าแบบนี้ คนข้างบ้านที่เพิ่งไปคุนหมิงมา เขาบอกว่าผู้หญิงที่นั่นก็ใส่” หมิ่นตี้ยิ้มแก้มบุ๋ม ดวงตาหลังกรอบแว่นหนา ๆ นั้นยิบหยี ไม่เฉพาะผู้หญิง พวกผู้ชายก็มีรองเท้าผ้าในแบบเฉพาะของเขาใส่เหมือนกัน โดยผู้เป็นภรรยาจะเย็บไว้ให้ทั้งแบบใส่ทั่วไปและแบบที่ใส่ไปร่วมงานศพ



“จริง ๆ แล้วหน้าฝนเขาจะใส่อีกแบบหนึ่ง” หมิ่นตี้ลุกขึ้นไปหยิบรองเท้าที่ตากทิ้งไว้บนโต๊ะ “แบบนี้พื้นหนา เย็บยากกว่าด้วย” เธอยื่นรองเท้าผ้าสีดำลายมังกรให้ฉันดู คู่นี้ดูเหมือนจะเน้นประโยชน์ใช้สอย และไม่ใส่ใจในรายละเอียดเท่าแบบที่ขายให้นักท่องเที่ยว



เริ่มแรกเลย คนทำรองเท้าต้องไปหากาบไผ่ที่หลุดร่วงจากลำต้นแถว ๆ ชายป่าท้ายหมู่บ้านมาทำพื้นรองเท้าที่แข็งแรง ทว่ายืดหยุ่น จากนั้นก็ใช้เวลาสี่ห้าวันไปกับขั้นตอนการทำด้วยมืออันประณีต คัดเลือกเศษผ้าสีฉูดฉาดมาเย็บติดกันเพื่อให้ได้รองเท้าที่สวยสด รูปทรงแปลกตา โดยอาจนำไปฝากขายที่ร้านอาหารเจ้าประจำ ซึ่งจะบวกราคาขึ้นไปอีกเท่าตัว หรือไม่ก็ส่งขายไนต์บาซาร์ พวกฝรั่งชอบกันมาก บางทีถ้าโชคดีก็จะได้ออเดอร์จากในเมืองเชียงใหม่มาเป็นร้อยคู่



ฉันนั่งลงข้างหมิ่นตี้ ดูเธอประกบผ้าดิบหนา ๆ สีขาวเข้ากับกาบไม้ไผ่เพื่อทำพื้นรองเท้า “ครึ้มฝนอย่างนี้สงสัยต้องตากสองวัน” เธอพึมพัมขณะเอี้ยวตัวไปหยิบปลอกนิ้วมาสวม เตรียมการเย็บติดอีกครั้งสำหรับคู่ที่ตากจนกาวแห้งสนิทแล้ว ท่าทางผ่อนคลายขณะปักเข็มลงไปไม่เหมือนกำลังผลิตสินค้าเพื่อขาย แต่คล้ายสร้างของสวยงามชิ้นหนึ่งไว้ชื่นชม



รองเท้าที่เย็บเสร็จแล้วถูกใส่ถุงพลาสติกใส ๆ กองรวมกันอยู่ “แกะดูสิ ลองใส่ก็ได้” คำเชื้อเขิญทำให้ฉันถอดรองเท้าเดินป่ามาใส่รองเท้าสวย ๆ ของหมิ่นตี้ที่เบาหวิวและแสนบอบบางประสาผู้หญิง น่าเสียดายคู่นั้นเล็กเกินไป เธอจัดแจงวัดความยาวของเท้าฉันด้วยเชือกฟางสีชมพูที่ค้นได้จากตะกร้าใส่อุปกรณ์ เพียงง่าย ๆที่นำมันมาทาบจากส้นเท้าจนถึงสุดปลายนิ้วโป้ง จากนั้นก็ใช้กรรไกรตัดเชือกเก็บไว้ในตะกร้าอย่างเดิม ปะปนอยู่กับเข็ม ด้าย เศษผ้าสี ผ้าดิบ กาบไม้ไผ่ ฯลฯ



ฉันจ่ายเงินค่ารองเท้าที่บัดนี้ชิ้นส่วนยังกระจัดกระจาย แล้วยึดมั่นในสัญญาใจซึ่งผูกไว้อย่างหลวม ๆ กับหมิ่นตี้ ว่ารองเท้าคู่เสร็จสมบูรณ์จะถูกส่งมาถึงมือในอีกหนึ่งอาทิตย์หลังจากฉันกลับไป



บ้านของหมิ่นตี้ตั้งอยู่ในย่านชุมชนคนจีน เราจึงได้เห็นบ้านดินเก่า ๆ อันเป็นเอกลักษณ์ของพวกเขาหลายหลัง นั่นเพราะกลุ่มทหารจีนคณะชาติที่นำโดยนายพันหลอ เจี๋ย หวา แห่งกองพัน 93 อพยพมาถึงเปียงหลวงพร้อมกับนำรูปแบบการก่อสร้างบ้านดินมาด้วย เราจึงพอได้เห็นบ้านแบบนี้หลงเหลืออยู่บ้าง นอกเหนือจากบ้านปูนชั้นเดียวเรียบง่ายที่มีลานโล่ง ๆ ไว้เป็นพื้นที่อเนกประสงค์ทางด้านหน้า



ในวันท้าย ๆ ของการอยู่เปียงหลวง เราตามหาบ้านจีนโบราณของนายพันผู้นี้จนเจอ เจ้าของบ้านฝ่ายชายนั้นจากไปเมื่อ 15 ปีก่อน คงเหลือเพียงเจ้าบ้านฝ่ายหญิง ฮุยเซียน แซ่หลอ อายุ 60 ปี ผมหยักศกสีดำขลับ คงเค้าแห่งความงามและเด็ดเดี่ยว เธอเชื้อเชิญให้เราเข้าไปดื่มน้ำชาท่ามกลางบรรยากาศที่เหมือนฉากภาพยนตร์จีนกำลังภายใน อบอวลอยู่ด้วยความเป็นมิตรที่แสนเงียบงัน



บ้านหลังนี้สร้างโดยนายช่างขาวชิงไห่ในปี พ.ศ. 2522 ประกอบด้วยเรือนแถวสองชั้นวางตัวรูปเกือกม้า ที่ขนาบข้างซ้ายขวาด้านนอกนี้ใช้สำหรับรับรองแขก พ้นแนวกำแพงเตี้ย ๆ และซุ้มประตูแบบจีนเข้าไปจึงเป็นส่วนของผู้อยู่อาศัย จุดเด่นของบ้านดูเหมือนจะอยู่ที่ผนังกับกำแพงซึ่งก่ออิฐหนาราวฟุตกว่า มันช่วยให้บ้านเย็นสบายดีทีเดียวในหน้าร้อน และยังอบอุ่นในหน้าหนาว แต่นั่นไม่สำคัญเท่าการเป็นเกราะป้องกันกระสุนดี ๆ นี่เอง ไม่น่าแปลกใจหากเราจะเห็นว่ามีช่องเล็ก ๆ เจาะไว้สำหรับวางปืนตรงกำแพง รวมถึงผนังห้องบางห้อง หรือแม้แต่ในห้องน้ำหลังบ้าน



ฮุยเซียนเดินนำสู่ชั้นล่างของเรือนแถวที่บรรจุห้อง 11 ห้อง ทำให้เราจินตนาการไปได้ถึงความเป็นครอบครัวที่เคยอยู่ร่วมกันอย่างคึกคัก เธอตระเตรียมน้ำชาสำหรับคนแปลกหน้าสองคนราวกับพวกเขาเป็นมิตรที่ห่างหายไปนาน “นี่ชาเราปลูกเอง ส่วนนั่นเป็นชาข้าวบาร์เลย์ที่ลูกสาวส่งมาให้จากไต้หวัน” เจ้าของบ้านพูดด้วยภาษาไทยกระท่อนกระแท่น ส่วนฉันแย่กว่านั้น ตรงที่พูดภาษาของเธอไม่ได้เอาเสียเลย “กินข้าวมาหรือยัง ในโรงครัวมีกับข้าวอยู่เยอะเลย” เธอแสดงความมีน้ำใจจนเราเกรงใจ



โรงครัวที่อยู่ข้าง ๆ นี้ถูกใช้งานจนคุ้มด้วยว่านอกจากครอบครัวนายทหารขนาดใหญ่แลั้ว ยังมีทหารอีกนับร้อยคนที่ต้องดูแลฮุยเซียนพาดูตู้กับข้าวทำด้วยไม้แบบโบราณ เตาโบราณ กระทะขนาดใหญ่ และห้องเก็บข้าวสารที่บัดนี้กลายเป็นห้องเก็บของไปเสียแล้ว



“เมื่อก่อนหุงข้าวมื้อหนึ่งใช้ข้าว 3 ถัง” ฮุยเซียนพูดพลางยิ้มอย่างอารมณ์ดี “เวลากินข้าวก็กินรวมกับพวกทหาร ตั้งโต๊ะเต็มลานนี่เลยทั้งหมด 12 โต๊ะ ถ้ามีแขกมาด้วยก็เป็น 13“ เธอมองไปยังลานโล่งที่มีต้นสนทรุดโทรมต้นหนึ่งขึ้นอยู่อย่างโดดเดี่ยว

ในฐานะภรรยาของนายพัน ฮุยเซียนไม่ต้องทำงานหนัก เธอมีแม่บ้านช่วยดูแลงานบ้านทั่วไป หน้าที่สำคัญคือต้อนรับแขก และนาน ๆ ทีจึงจะขี่ม้าไปซื้อข้าวของเครื่องใช้ให้ทหารในตัวเมืองเชียงใหม่



โรงม้าที่เคยมีม้า 30 กว่าตัวบัดนี้ว่างเปล่าและถูกละเลย ถ้าเป็นเมื่อก่อน ฮุยเซียนจะเลือกม้าตัวเก่งขี่ออกจากบ้านตอนตีสี่ ไปเช้าที่อำเภอเวียงแหง จนถึงบ้านลีซอตรงกึ่งกลางระหว่างเปียงหลวงกับเมืองงาย นั่นละจึงค่อยนั่งรถต่อไปเชียงใหม่เพื่อซื้อชุดทหาร ผ้าห่ม และรองเท้าให้พวกทหาร โดยใช้เวลาเดินทางไปกลับร่วม 3 วัน



“เราปลูกข้าว ข้าวโพด ลิ้นจี่ กาแฟ มันอะลู เผือก ขิง ชา กับผักอีกหลายอย่าง อาหารนี่ไม่ต้องซื้อเลย ซื้อแค่เกลือเท่านั้นเอง”



เมื่อจะขอตัวกลับ ฮุยเซียนรั้งเราไว้ด้วยน้ำชาและลิ้นจี่สดชุดสุดท้ายของฤดูกาลนี้จากสวนหน้าบ้าน ฉันลงนั่งอีกครั้งเมื่อหญิงสูงวัยขอให้อยู่ต่ออีกสักพัก เธอกระตือรือร้นพาชมห้องหับต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่ปิดตายและจะเปิดก็ต่อเมื่อลูกหลานญาติมิตรมาเยี่ยมเยือนเท่านั้นเอง ลูกกุญแจที่เธอหอบเป็นพวงใหญ่น่าปวดหัวในการจดจำว่าห้องไหนเป็นห้องไหน



แต่ฮุยเซียนก็จำได้อย่างแม่นยำ เธอกำอดีตไว้ในมือและอนุญาตให้เราเข้าไป แม้ที่ฉันเห้นจะเป็นแค่ห้องว่างเปล่าเขรอะฝุ่น บางห้องรกไปด้วยข้าวของเก่าเก็บ ทว่าสำหรับเธอแล้ว มันยังคงเคลื่อนไหวและมีสีสันจากผู้คนในความทรงจำที่ทิ้งเธอไว้เพียงลำพัง



ทุกวันนี้ฮุยเซียนอาศัยอยู่คนเดียวในบ้านจีนโบราณ จากโต๊ะกินข้าว โต๊ะเต็มลานกลางบ้าน คงเหลือโต๊ะเล็ก ๆ เพียงโต๊ะเดียวที่ผู้หญิงคนนี้จะนั่งกินข้าวในทุกมื้อ



ฉันสัมผัสได้ถึงความเงียบเหงาในบ้านและใจหายเมื่อเลี่ยงไม่พ้นที่จะต้องบอกลา



หลายเรื่องในอดีตที่เราหมิ่นเหม่ว่าจะหลงลืม พอได้ย้อนนึกไปถึงอีกครั้ง ก็แปลกที่ระยะห่างระหว่างอดีตกับปัจจุบันจะสั้นเข้ามาอย่างเหลือเชื่อ



บางคนจึงบอกว่าเวลาทำให้ความหลังมีรสหวาน



ซึ่งมันทำให้ฉันเข้าใจได้ว่า ทำไมผู้คนที่ยังเหลืออยู่ของเปียงหลวงจึงไม่ทิ้งชุมชนอันเงียบเหงาแห่งนี้ไป



และทำไมฮุยเซียนจึงยังคงนั่งอยู่ที่โต๊ะกินข้าวอย่างมีความสุข





ขอขอบคุณ

คุณเต็งยุ้น ผายนาง ผู้ใหญ่บ้านบ้านเปียงหลวง

คุณโยธิน จันทวี หัวหน้าโครงการสถานีสาธิตและถ่ายทอดการเกษตร ป่าไม้ สิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ (ด้านป่าไม้) บ้านแปกแซม

คุณครรชิต เหล่าชัย นักเกษตรในพระองค์





โครงการสถานีสาธิตและถ่ายทอดการเกษตร ป่าไม้ สิ่งแวดล้อม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านแปกแซม



เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2543 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พร้อมด้วยสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรบ้านแปกแซม ตำบลเปียงหลวง และทรงพบว่าบริเวณนี้เป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญซึ่งจะไหลไปลงน้ำแม่แตง แต่ป่าไม้กลับถูกบุกรุกทำลายกลายเป็นที่ทำกิน ทั้งยังมีแนวโน้มว่าจะถูกแผ้วถางไปเรื่อย ๆ นอกจากนี้ ยังเป็นพื้นที่ล่อแหลมต่อปัญหายาเสพติด อันจะส่งผลบกระทบถึงความมั่นคงของประเทศ



สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จึงทรงมีพระราชดำริแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้พัฒนาความเป็นอยู่และบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎรในพื้นที่และหมู่บ้านใกล้เคียงอีก 3 หมู่บ้าน โดยการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำลำธารเพื่อสร้างความชุ่มชื้นให้ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมายจำนวน 19,375 ไร่ จัดระเบียบชุมชนในเรื่องที่อยู่อาศัยและทำกินให้แก่ราษฎร ส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากป่าอย่างยั่งยืนและสร้างรายได้จากป่า ตลอดจนพัฒนาศักยภาพของพื้นที่ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวด้านธรรมชาติ การเกษตร และวิถีชีวิตของชาวบ้านชนเผ่าลีซอในพื้นที่



จากบ้านเปียงหลวง เส้นทางสายเปียงหลวง-บ้านแปกแซมจะผ่านเข้าไปในป่าดิบเขาที่แซมสลับด้วยป่าสนสามใบ เส้นทางดินระยะทาง 11 กิโลเมตร อาจทำให้ลำบากในหน้าฝน ซึ่งควรใช้รถยนต์ขับเคลื่อนสี่ล้อ โครงการสถานีสาธิตฯ จะอยู่ทางซ้าย



ด้วยความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางเฉลี่ย 1,300 เมตร อากาศบนนี้จึงหนาวเย็นตลอดปี และจะหนาวจัดในหน้าหนาว เดินเที่ยวชมโรงเรือนเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ชนิดต่าง ๆ เช่น ฟาแลนนอบซิสและซิมิเดียม ทุ่งหญ้าเลี้ยงแกะ รวมถึงบริเวณที่ปลูกพรรณไม้เมืองหนาวอีกหลายชนิด โดยเฉพาะโสมตังกุยที่ขึ้นชื่อของโครงการฯ



นักท่องเที่ยวสามารถเข้าไปเที่ยวและพักแรมในบ้านพักที่สะดวกสบาย มีโฮมสเตย์ในหมู่บ้านแปกแซมสำหรับผู้สนใจ ทั้งยังมีพื้นที่กางเต็นท์และห้องน้ำด้วย โดยบ้านพักแบ่งเป็น 3 ห้อง รองรับได้ทั้งหมด 20 คน กรุณาติดต่อล่วงหน้าเนื่องจากต้องมีการจัดเตรียมอาหาร โทรศัพท์ 0 5328 1390, 0 1952 6419





คู่มือนักเดินทาง



บ้านเปียงหลวงตั้งอยู่ในตำบลเปียงหลวง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ จากตัวเมืองเชียงใหม่ไปถึงได้ด้วยการใช้ทางหลวงหมายเลข 107 (ขอแนะนำให้ขับรถไปเอง เพราะจะสะดวกสำหรับการเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ) ผ่านอำเภอแม่ริม อำเภอแม่แตง อำเภอเชียงดาว เลยตัวอำเภอเชียงดาวมาราว 1 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายเข้าสู่เส้นทางหมายเลข 1178 ถนนเส้นนี้สวยงามและมีเสน่ห์ตรงที่เห็นเทือกดอยหลวงเชียงดาวอยู่ทางด้านซ้าย ตรงไปเรื่อย ๆ จะถึงสามแยกแม่จา เลี้ยวซ้ายเข้าสู่เส้นทางหมายเลข 1322 จากนี้อีก 72 กิโลเมตรจะถึงบ้านเปียงหลวง เส้นทางบนภูเขาลาดยางตลอด ค่อนข้างแคบคดเคี้ยว ควรขับรถด้วยความระมัดระวัง



เมื่อถึงอำเภอเวียงแหง อำเภอเล็ก ๆ แห่งนี้ค่อนข้างเงียบ แต่ก็มีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจ เช่น น้ำตกสองแห่งในเขตอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง คือ น้ำตกแม่หาดซึ่งต้องเดินป่าต่อไปอีก ส่วนน้ำตกแม่ลาด จอดรถแล้วเดินถึงธารน้ำตกได้เลย ชั้นน้ำตกนั้นต้องเดินข้ามสะพานต่อไปอีกราว 200 เมตร



นอกจากนี้ ไม่น่าพลาดที่จะไปกราบนมัสการพระบรมธาตุแสนไห โบราณสถานที่เป็นที่เคารพบูชาของชาวอำเภอเวียงแหง ตามตำนานกล่าวไว้ว่า สมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้าเสด็จพร้อมพระอานนท์ มาทรงจาริกศาสนายังเมืองสุวรรณภูมิ ได้มีชาวกระเหรี่ยงคนหนึ่งนำแตงโมมาถวาย ขณะเสวยพระทนต์กะเทาะออกมา พระพุทธองค์ทรงให้พระอานนท์นำไปให้กะเหรี่ยงผู้นั้นก่อเป็นสถูปบรรจุไว้บนยอดเขาแห่งนี้ เมื่อพญาเจตบัตรทราบจึงเดินทางมานมัสการและให้ชาวเมืองร่วมกันสร้างพระธาตุขึ้น ครั้นสมเด็จพระนเรศวรมหาราชยกทัพกลับมาจากการตีเมืองพม่า ก็ได้นำของมีค่ามามากมายเกินกว่าจะนำกลับกรุงศรีอยุธยาได้ จึงบรรจุข้าวของเหล่านั้นในไหฝังไว้ใต้พระบรมธาตุ เป็นที่มาของชื่อพระบรมธาตุแสนไห



อำเภอเวียงแหงมีรีสอร์ตริมน้ำแตง บรรยากาศดี ชื่อบ้านสวนริมธาร อยู่ก่อนถึงตัวอำเภอทางด้านซ้าย ซึ่งต้องขับรถเข้าไปบนทางดินเล็ก ๆอีก 800 เมตร ราคาคืนละ 400 บาท รวมอาหารเช้า โทรศัพท์ 0 9501 9206 และมีที่พักอีกสองแห่ง คือ คุ้มเวียงแหงกับบ้านพักเชียงตุง ร้านอาหารส่วนใหญ่เป็นอาหารตามสั่งและร้านก๋วยเตี๋ยว



บ้านเปียงหลวงอยู่ห่างจากตัวอำเภอเวียงแหง 16 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ที่ผสมกลมกลืนวัฒนธรรมชาวไทยใหญ่และชาวจีนไว้ด้วยกัน ตลาดเช้าไม่คึกคักนัก แต่ก็พอได้บรรยากาศความเป็นตลาดชนบทชายแดน วัดเปียงหลวงบอกถึงความเป็นชุมชนไทยใหญ่ได้ชัด ขณะที่ศาลเจ้าเงินและศาลเจ้าแม่กวนอิมก็บอกให้รู้ว่ามีชุมชนคนจีนเช่นกัน ศาลเจ้าเงินนั้นอยู่บนยอดเขา ขับรถขึ้นไปจะเห็นบ้านเปียงหลวงจากมุมสูง ล้อมด้วยภูเขารอบด้าน



วัดฟ้าเวียงอินทร์อยู่ที่บ้านหลักแต่ง ห่างจากบ้านเปียงหลวงไปราว 2 กิโลเมตร เป็นวัดศิลปะไทยใหญ่ โดดเด่นด้วยมาระชินะเจดีย์ เจดีย์ที่มีรูปแบบอันแปลกตา กับอาคารเสนาสนะฝั่งไทย คือ วิหารทรงไทยใหญ่ผสมยุโรปชั้นเดียว ผนังก่ออิฐถือปูน โครงหลังคาทำด้วยไม้ ยกเป็น 2 ชั้น มียอดฉัตร 5 ยอด มุขซุ้มประตูทางเข้าวิหารมียอดฉัตร 3 ยอดทั้งสี่ทิศ พระประธานปางแสดงปฐมเทศนาศิลปะไทยใหญ่



จากฝั่งไทยจะมองเห็นวัดฟ้าเวียงอินทร์ในส่วนที่ถูกแบ่งไปเป็นของพม่าคือ อุโบสถทรงไทยใหญ่ที่มียอดฉัตร 7 ชั้น และโรงเรียนพระปริยัติธรรม ซึ่งมีทหารพม่าประจำการอยู่



อาหารการกินในเปียงหลวงหาไม่ยาก มีร้านอาหารและร้านก๋วยเตี๋ยวหลายร้าน ร้านอาหารตามสั่งที่อร่อย เช่น ร้านบัวจิ๋นโภชนา ร้านอาหารจีนที่อร่อย เช่น ร้านหยินหลง ที่ตลาดเปียงหลวงตอนเช้ามีก๋วยเตี๋ยวเต้าหู้อ่อนให้ลองชิมในตลาด เต้าหู้เหลืองสามเหลี่ยมทอดนั้นก็น่าซื้อชิมไม่แพ้กัน



ที่พักมีเปียงหลวงเกสต์เฮาส์เพียงแห่งเดียว ราคาคืนละ 200 บาท ห้องน้ำในตัว ไม่มีแอร์ (เพราะอากาศเย็นตลอดปีอยู่แล้ว) สะอาด พอพักได้ อยู่ทางไปบ้านหลักแต่ง


ขอขอบคุณเจ้าของบทความดี ๆ และ http://www.moohin.com/thailand-travel-trips/2548-08/c06/picall.shtml มา ณ. ที่นี้ด้วยครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

mop จาก SUPERMOP 58.8.153.24 เสาร์, 3/1/2552 เวลา : 20:50   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 364994

คำตอบที่ 33
       ค่อย ๆ อ่านให้จบครับ...มีประโยชน์มาก

เสียดายน่าจะค้างที่เปียงหลวงอีกสักคืน...จริงมั๊ยท่านเลขาฯ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

mop จาก SUPERMOP 58.8.160.131 อาทิตย์, 4/1/2552 เวลา : 09:17   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 365036

คำตอบที่ 34
       ปลายปีนี้จะไปเยือนค่ะ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

เด็กชายเต่าทอง จาก ladybug camping 58.9.59.154 อาทิตย์, 4/1/2552 เวลา : 13:41   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 365156

คำตอบที่ 35
      





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

เอ๋ จาก เอ๋ ออริจินัล 203.144.160.244 อาทิตย์, 4/1/2552 เวลา : 15:52   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 365215

คำตอบที่ 36
      





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

เอ๋ จาก เอ๋ ออริจินัล 203.144.160.244 อาทิตย์, 4/1/2552 เวลา : 15:54   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 365217

คำตอบที่ 37
      





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

เอ๋ จาก เอ๋ ออริจินัล 203.144.160.244 อาทิตย์, 4/1/2552 เวลา : 15:56   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 365218

คำตอบที่ 38
      





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

เอ๋ จาก เอ๋ ออริจินัล 203.144.160.244 อาทิตย์, 4/1/2552 เวลา : 15:57   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 365219

คำตอบที่ 39
      





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

เอ๋ จาก เอ๋ ออริจินัล 203.144.160.244 อาทิตย์, 4/1/2552 เวลา : 15:59   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 365221

คำตอบที่ 40
      





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

เอ๋ จาก เอ๋ ออริจินัล 203.144.160.244 อาทิตย์, 4/1/2552 เวลา : 16:00   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 365222

คำตอบที่ 41
      





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

เอ๋ จาก เอ๋ ออริจินัล 203.144.160.244 อาทิตย์, 4/1/2552 เวลา : 16:01   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 365223

คำตอบที่ 42
       ข้อมูลเพิ่มเติมสำหรับดอยแปกแซม ท่านใดจะไปพักที่นี่มี บ้าน A-Frame 2 หลัง บ้านแฝด 2 หลัง มีห้องน้ำในตัว ติดต่อ หัวหน้า ครรชิต เหล่าชัย
081-9802173
e-mail : laochaiku@hotmail.com
ค่าที่พัก แล้วแต่จะให้ครับ





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

jeep4206 จาก jeep 4206 124.122.209.240 อาทิตย์, 4/1/2552 เวลา : 17:21   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 365249

คำตอบที่ 43
       ดาวเคียงเดือน บนโครงการหลวงดอยแปกแซม





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

tonsak จาก Tonsak 114.128.245.16 อาทิตย์, 4/1/2552 เวลา : 17:57   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 365255

คำตอบที่ 44
      





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

tonsak จาก Tonsak 114.128.245.16 อาทิตย์, 4/1/2552 เวลา : 18:10   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 365257

คำตอบที่ 45
       สามเณรฝึกคัดลายมือภาษาไทยใหญ่





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

dr.sak จาก dr.sak218 222.123.234.243 อาทิตย์, 4/1/2552 เวลา : 18:38   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 365267

คำตอบที่ 46
       สบายอุรา เล็งแล้วเล็งอีก





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

dr.sak จาก dr.sak218 222.123.234.243 อาทิตย์, 4/1/2552 เวลา : 18:40   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 365269

คำตอบที่ 47
       วิวหน้าเต้นส์





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

dr.sak จาก dr.sak218 222.123.234.243 อาทิตย์, 4/1/2552 เวลา : 18:41   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 365270

คำตอบที่ 48
       ดอกกล้วยไม้ เจ้าหน้าที่บอกเป็นกล้วยไม้ป่า เอาเพาะขยายพันธุ์





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

dr.sak จาก dr.sak218 222.123.234.243 อาทิตย์, 4/1/2552 เวลา : 18:43   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 365272

คำตอบที่ 49
      





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

dr.sak จาก dr.sak218 222.123.234.243 อาทิตย์, 4/1/2552 เวลา : 18:44   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 365273

คำตอบที่ 50
       ปรึกษาหารือกันอย่างดี สุดท้ายก็หลง......ตามสไตล์ตะบันหมาก





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

dr.sak จาก dr.sak218 222.123.234.243 อาทิตย์, 4/1/2552 เวลา : 18:46   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 365275

คำตอบที่ 51
       ฮัดช้า แล้วก็โดน บัวจิ๋นฟัดซะแร๊ว ป๋าmop ขึ้นเวียงแหง เปียงหลวง หลักแต่ง มีร้านเย็นตาโฟ (ของโปรด โกสมชาย) บัวจิ๋นม่ะมีครายกิน อ่ะป๋า เลยบัวจิ๋นไป ก่อนลง เปียงหลวงเกสเฮ้าส์ มีร้านอยู่หัว มุม ถามชาวบ้านเจ้าของชื่อ นางโหย่ง อ่ะพี่ ก่อนเข้าเวียงแหงผ่านด่าน เลี้ยวซ้ายเข้าบ้านแม่หาด มีทางขึ้น ดอยสามหมื่น ทะลุห้วยน้ำดัง เลยมาตัว อำเภอ ถึงบ้านกองลม มีแยกซ้ายเข้าไป อ.ปาย อ่ะพี่ แล้งแล้วไม่ยากสำหรับเซียนแบบพี่ๆ อ่ะครับ ตอนนี้ผมติดอยู่ฝั่งตรงข้ามพอดี(ฝั่งขะโน้น) ไม่ได้เข้าเมืองเรยไม่ได้เข้าไปแจมอ่ะคับ มีความสุขทุกท่าน มีความสวยงามยามล้อหมุน ตักตวงความสุขไว้เป็นทุน เพื่อเกื้อหนุนเพื่อนร่วมทาง



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก ชายใจช้ำ OlllllllO 115.67.219.217 อาทิตย์, 4/1/2552 เวลา : 19:20   แก้ไขข้อความ แก้ไขข้อความ   เปลี่ยนรูปใหม่ เปลี่ยนรูป   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 365284

คำตอบที่ 52
       ถูกต้องแล้วครับคุณ ชายใจช้ำ ทริปนี้ผมวิ่งจากห้วยน้ำดัง - ดอยสามหมื่น - ทะลุเวียงแหง ครับ.....ส่วนเมื่อ 3 ปีก่อนเคยวิ่งขึ้นไปดอยดำ ทางวัดกองลมเหมือนกัน

เสียดายไม่ได้กินเย็นตาโฟที่แนะนำเหมือนกันครับ

คิดว่าคงได้ไปเยือนเมืองเปียงหลวง อีกครับหลังจากอ่านข้อมูลของคุณ กุลธิดา สืบหล้า ตามคำตอบ 32 แล้วคิดว่าเป็นเมืองที่น่าสนใจ ที่พวกเราอาจจะมองข้ามไปอย่างน่าเสียดายครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

mop จาก SUPERMOP 58.8.165.204 อาทิตย์, 4/1/2552 เวลา : 19:43   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 365295

คำตอบที่ 53
       บัวจิ๋น ชื่อนี้มีตำนานจริงๆ แปลว่าโดนกันแทบทุกกรุ๊ปแน่ๆ แต่ที่แน่ๆ พี่อาภรณ์ จะต้องนำไปเล่าลืออีกนานแสนนาน บัวจิ๋นนนนนนน(แพงชิหาย)





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

หมูน้อย JUC121 จาก หมูน้อย JUC121 61.90.100.34 จันทร์, 5/1/2552 เวลา : 08:56   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 365487

คำตอบที่ 54
       บรรยากาศร้าน นั่งโดยไม่รู้เลยว่าจะโดนเชือด555 ก็ไม่มีราคาบอกเลยสักรายการ





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

หมูน้อย JUC121 จาก หมูน้อย JUC121 61.90.100.34 จันทร์, 5/1/2552 เวลา : 08:57   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 365488

คำตอบที่ 55
       ระหว่างรออาหารจีนสูตรยูนาน เด็กๆ ก็เลย 123 ปลาฉลามขึ้นบก 456 จิ้งจกยัดไส้ 789...........





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

หมูน้อย JUC121 จาก หมูน้อย JUC121 61.90.100.34 จันทร์, 5/1/2552 เวลา : 08:59   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 365490

คำตอบที่ 56
       มาแล้วจานแรก เห็นชื่อแล้วก็น้ำลายสอ ยูนานเรียงแถว แต่รสชาดแค่พอใช้หล่าย ร้านตรงผาตั้ง และหมู่บ้านรวมไทยอร่อยกว่าเยอะ





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

หมูน้อย JUC121 จาก หมูน้อย JUC121 61.90.100.34 จันทร์, 5/1/2552 เวลา : 09:01   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 365492

คำตอบที่ 57
       ถัดมาก็ไก่ดำผัดมู่กวา รสชาดแปลกดีแต่ให้กินอีกขอผ่านดีกว่า





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

หมูน้อย JUC121 จาก หมูน้อย JUC121 61.90.100.34 จันทร์, 5/1/2552 เวลา : 09:03   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 365493

คำตอบที่ 58
       อันนี้ที่อยากกิน แต่กินแล้วนึกถึงขาหมูผาตั้ง และหมู่บ้านรวมไทยเลย รสชาดเค็มๆ จิน

ป.ล. เมนูนี้แหล่ะมีตำนาน กับโต๊ะพี่หมอsak ฮาจริงๆ นึกแล้วก็ขำ ท่าทางโบกมือของพี่นุชจริงๆ นะครับพี่หมอ





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

หมูน้อย JUC121 จาก หมูน้อย JUC121 61.90.100.34 จันทร์, 5/1/2552 เวลา : 09:07   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 365495

คำตอบที่ 59
       ทานเสร็จก็เคลื่อนพลสู่วัดฟ้าเวียงอินทร์ ในอีกหนึ่งมุมมองดีกว่า





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

หมูน้อย JUC121 จาก หมูน้อย JUC121 61.90.100.34 จันทร์, 5/1/2552 เวลา : 09:10   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 365497

คำตอบที่ 60
       ภาพมุมกว้าง





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

หมูน้อย JUC121 จาก หมูน้อย JUC121 61.90.100.34 จันทร์, 5/1/2552 เวลา : 09:11   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 365498

      

ยังมีคำตอบมากกว่านี้นะครับ คลิ๊กเพื่อดูหน้าถัดไป


คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 2 จาก >>> 1  2  3  4  



website รองรับการใช้งานทุกระบบปฏิบัติการของ PC Tablet SmartPhone ทุกระบบสามารถโพสข้อความและรูปภาพได้โดยไม่ต้องย่อไฟล์
เพื่อความปลอดภัยในการใช้ website WeekendHobby.Com สมาชิก เท่านั้น จึงจะตั้งกระทู้ หรือ ตอบกระทู้ได้ครับ
Login Click ที่นี่
สมัครสมาชิก Click ที่นี่



Since 22, Feb 2001 hit counter View My Stats  Truehits.net      วันพฤหัสบดี,25 เมษายน 2567 (Online 5093 คน)