WeekendHobby.com
เครื่องมือในการใช้งาน website =>> สมัครสมาชิก | Login | Logout | เปลี่ยนไอคอนส่วนตัว | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อโฆษณา         View stat by Truehits.net


เราจะได้อะไรจากเครื่องเร่งอนุภาค Large Electron-Positron Collider (LEP)
degsure
จาก degsure
IP:118.174.5.97

ศุกร์ที่ , 5/9/2551
เวลา : 22:15

อ่านแล้ว = ครั้ง
 เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งตรวจสอบกระทู้
 แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน ส่งหาเพื่อน

       โลกจะเปลี่ยนแปลงหรือเหมือนเดิมจากเครื่องนี้ ทฤษฏี E=MC2 จะถูกพิสูจน์หรือมนุษย์จะต้องเริ่มต้นใหม่ 10 กย นี้จะเดินเครื่องใช่ไหมครับ


 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

แจ้งเพื่อเก็บขึ้นกระทู้พิเศษ คลิ๊กที่นี่แจ้งเพื่อนำขึ้นกระทู้พิเศษ

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  2  3  4  5  

คำตอบที่ 1
       หายไปหลายวันกลับบ้านมาพักผ่อนก็พบกระทู้นี้เป็นกระทู้ถูกใจผมมาก

ในเว็บนี้มีสักกี่คนที่เป็นแฟนของ ไอเซ็ก อาซิมอฟ อาร์เทอร์ ซี คลาร์ค พอที่จะมีจินตนาการพอจะตั้งกระทู้ยอดเยี่ยมแบบนี้

ผมชอบลูบคลำผนังห้องของเครื่องไซโครตรอนทั้งมีป้ายให้ระวังอันตรายโดยผมคิดว่ามันคืออนาคตที่แท้จริงของโลกใบนี้








 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.74.139 ศุกร์, 5/9/2551 เวลา : 23:54  IP : 125.24.74.139   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31831

คำตอบที่ 2
       เราจะได้อะไรดีล่ะ ลองจินตนาการว่า มันจะสร้าหลุมดำขนาดย่อมๆมาสูบโลกทั้งใบหรือเปล่า หรือมันสร้างหลุมดำเล็กๆให้เราใช้เป็นแหล่งพลังงานในอนาคต หรืออีเล็กตรอนพลังงานมหาศาลระดับกว่า200GeV มันจะสร้างอะไรขึ้นมา แล้ว positron มันรวมกับ electron แล้วมันให้พลังงานออกมาเหมือนที่คิดไว้หรือเปล่า

เครื่องเร่งอนุภาคที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่มนุษย์เคยสร้างมา มันมีขนาด 27 กิโลเมตร มันเร่งอีเล็กตรอนได้เกือบเท่าความเร็วแสง สมัยที่มันยังสร้างไม่เสร็จผมนั่งเครื่องบิน city hooper ที่บินต่ำๆตลอดทางผ่านชายแดนสวิส-ฝรั่งเศสยังนึกว่าเป็นระบบรถไฟฟ้าใต้ดินรอบเมืองที่มีแต่สีเขียวแล้วผุด IV shaft เป็นระยะๆแต่ไม่เห็นจะมีเมืองสักเมืองแถวนั้น

มันเดินเครื่องทดสอบมาเป็นระยะแล้วครับ ในอีกไม่กี่วันที่เดินเครื่องครั้งใหญ่ผมเองก็ไม่รู้หรอกว่าจะเดินในวันที่10นี้เพราะไม่ได้ตามข่าว จะได้รู้กันว่าหน่วยตรวจจับทั้งสี่หน่วย Aleph, Delphi, Opal, และ L3. จะพบอะไรที่ปลายของเครื่องเร่งอนุภาคยักษ์ตัวนี้บ้าง






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.74.139 ศุกร์, 5/9/2551 เวลา : 23:57  IP : 125.24.74.139   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31832

คำตอบที่ 3
       Electron-Positron ที่เร่งให้ความเร็วเกือบเท่าแสงมันต้องใช้พลังงานมหาศาล มันช่วยสร้าง standard model ของ W and Z bosons ให้สัมผัสได้ไม่ใช่แต่ให้ฝันแต่ในตัวหนังสือ

ผมนึกถึงสมการของ maxell ที่เรียนกันมาถึงความสัมพันธ์ของสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็ก อีตาแม็กเวลคำนวนสมการไว้ตั้งเป็นร้อยปีก่อนที่เครื่องส่งวิทยุเครื่องแรกจะถูกสร้างขึ้น

หรือยังมีเครื่องจักรที่ นิโคไล เทสลา ได้คิดเอาไว้แต่ยังไม่ได้สร้างอีกหลายตัวเพราะมันเกินจิตนาการของโลกแห่งความจริงที่จะไล่ตามสมการคณิตศาสตร์ได้ทัน

ในความเห็นของผม ผมคิดว่ามนุษย์ที่ฉลาดที่สุดในโลกในยุคใหม่ไม่ใช่ ลุงอัลเบิร์ท ไอสไตน์ เหมือนที่คนส่วนใหญ่คิดกัน แต่เป็น ป๋านิโคไล เทสลา ต่างหากที่ฉลาดสุดๆ


quantum electrodynamics ที่ขยายความเป็นทฤษฎี electromagnetism and weak interactions
ที่ผมเกลียดโคตรๆทุกครั้งที่เปิดอ่านเพราะมันต้องใช้จิตนาการทางคณิตศาสตร์ล้วนน่าจะเห็นของจริงๆได้แบบชัดเจนก็งานนี้แหละ









 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.74.139 เสาร์, 6/9/2551 เวลา : 00:04  IP : 125.24.74.139   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31833

คำตอบที่ 4
       ในเวลา 3×10−25 s ของอายุ ปฎิสาร หรือที่เราเรียกทับศัพท์ว่า แอนตี้แมทเทอร์ เราจะได้รู้กันว่ามันจะเกิดอะไรขึ้นตอนเดินเครื่อง

มันจะทำลายโลกทั้งใบหรือได้ค้นพบหนทางการสร้างพลังงานแบบใหม่ที่ไม่ต้องพึ่งพาการเผาไหม้ทางเคมีที่ใช้กันมาตั้งแต่มนุษย์ยุคหินคนแรกรู้จักการก่อกองไฟอีกต่อไป








 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.74.139 เสาร์, 6/9/2551 เวลา : 00:10  IP : 125.24.74.139   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31834

คำตอบที่ 5
       บังเอิญผมอ่านหนังสือนิยายวิทยาศาสตร์มากไปหน่อย ผมคิดว่าเหลือเวลาไม่กี่วันที่จะเดินเครื่อง โลกทั้งใบอาจจะสูญสิ้นไปในวันนั้นที่เปิดสวิทซ์เดินเครื่องก็ได้เมื่อเสือกมีหลุมดำโผล่มาที่ปลายแชมเบอร์

ผมจะแบ่งเงินส่วนหนึ่งไปหาความสุข ไปอาบน้ำกับดาราตัวนอกตู้สุดแพง ซื้อของที่อยากได้ ไปเที่ยวที่อยากไป ไปวัดสวดมนต์ตอนค่ำ ตกดึกก็นั่งยามคอยเอาแป๊บน้ำฟาดกบาล นปข. ส่งท้ายวันโลกแตก



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.74.139 เสาร์, 6/9/2551 เวลา : 00:14  IP : 125.24.74.139   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31835

คำตอบที่ 6
       ผมว่าเขาต้องแอบเดินเครื่องจนกระทั่งประสบความสำเร็จ ก่อนที่จะประกาศให้ทั่วโลกทราบว่าจะเดินแล้ว

เพราะถ้าประกาศแล้วถึงเวลาจริงเดินเครื่องไม่สำเร็จ พวกนักวิทยาศาสตร์ได้หน้าแตกกันเป็นแถวครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก Paul Thomas 222.123.174.110 เสาร์, 6/9/2551 เวลา : 22:35  IP : 222.123.174.110   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31848

คำตอบที่ 7
       ผมกลับไม่คิดเช่นนั้นครับ

ฟิสิกส์ คือ ฟิสิกส์



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.19.192 เสาร์, 6/9/2551 เวลา : 22:44  IP : 202.91.19.192   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31849

คำตอบที่ 8
       อนุภาคที่วิ่งอยู่ในสนามแม่เหล็กคือ โปรตรอน 1 ตัว และ อิเล็กตรอน 1 ตัว โดยสภาพบรรยากาศภายในเป็นสูญญากาศใช่ไหมครับ อ.วอน

และสิ่งที่ต้องการคืออะไรสักอย่างที่มันแตกกระจายออกมาหลังจากที่อนุภาคสองตัวนี้ชนกันและถ้าเราเห็นมันเราก็จะสามารถเอามาประยุกต์เพื่อสร้างสสารหรือมวลสารที่นอกเหนือตารางธาตุได้ซินะครับ

สิ่งที่แตกกระจายออกมาจะมีแรงและพลังงานมหาสารจากสมการ E=MC2 และ E ที่ได้คงจะเพียงพอที่จะทำให้สะเก็ดของอนุภาควิ่งมากระทบอะตอมที่อยู่ใกล้ๆ จนแตกกระจายต่อเนื่อง และถ้าโชคร้ายมันจะแตกตัวไปเรื่อยๆ เยี้ยงเดียวกับระเบิดนิวเคลียร์ โลกอาจแหว่งเพราะเหตุนี้

แต่ถ้าไม่แตกกระจายต่อเนื่องเราก็จะเห็นอนุมูล(quark)ของอนุภาคร่องลอยในสูญญากาศจำลองและนำมาพัฒนาตารางธาตุต่อไปได้อีกนับพันธาตุ

บนความโชคดีที่มันไม่แตกกระจายต่อเนื่องก็มีสิ่งที่ไม่มีใครรู้อยู่อีกหนึ่งเรื่องคืออนุมูล(quark)ที่แตกออกจะมีสภาพเป็นอย่างไรและถ้ามันจำเป็นต้องจับคู่กันอยู่เช่นเดิมเพื่อให้คงที่ในรูปของอนุภาค และกอดกันเป็นอะตอม และอัดแน่นเป็นสสาร มันก็จะต้องวิ่งกลับเข้ามาหากันอีกครั้ง ด้วยพลังงานเท่ากับที่มันแตกตัวออกไป

ความโชคร้ายกว่าคือถ้าหากอนุมูล(quark)หายไปหนึ่งตัวหรือมีตัวใดกลับมาช้ากว่าตัวอื่นๆ มันจะเกิดการเรียกหาอนุมูล(quark)ตัวนั้นจากอนุภาคหรืออะตอมข้างๆ การเรียกหานี้เปรียบเสมือนแรงดึงดูดกันและกัน เช่นเดียวกับ คนที่ไร้คู่และเที่ยววิ่งหาคู่โดยการแย่งคู่จากคนอื่น คู่ที่ไม่ลงตัวก็จะแก่งแย่งกันไปเรื่อยๆ ด้วยพลังงานที่เท่ากับการแตกตัวแรงดึงดูดที่ไม่รู้จากจบสิ้นเพราะหาคู่ไม่เจอก็คงไม่ต่างจากหลุมดำที่จะขยายตัวไปเรื่อยๆ

และหากไม่สามารถจับคู่อนุมูล(quark)นั้นได้โลกก็จะถูกดูดเข้าไปและเราคงได้เห็นจุดจบและจุดเริ่มต้นจักรวาลอีกครั้งจนกว่ามันจะจับคู่สมบูรณ์ก็ได้

การหยุดนิ่งของจักรวาลคือการจับคู่ที่ลงตัวแล้วถูกหรือเปล่าครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

degsure จาก Degsure 118.174.140.157 เสาร์, 6/9/2551 เวลา : 22:54  IP : 118.174.140.157   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31852

คำตอบที่ 9
       จะเอาแบบไหนดีครับ เอาแบบให้ผมยกทฤษฎีมาขยายความ หรือจะเอาแบบเบาๆคุยเรื่องของ แดน บราว์นเรื่อง Angels & Demons ที่เขียนก่อน Davinci code ที่เป็นครั้งแรกที่ผมได้รู้จักโครงการนี้

CERN ได้แอบสร้างลับๆโดยทุนมหาศาลจากสหรัฐ คนที่ติดตามประวัติของเท็คโนโลยีคงรู้ว่าอินเตอร์เน็ตที่ใช้อยู่ตอนนี้ค้นคิดโดย CERN


ตอนที่ผมอ่านเรื่องนี้ของแดนบราว์น ผมคิดว่ามันโม้ได้เหมือนจริงดีวุ้ย พออ่านไซน์แอนด์ทิสเจอร์นัลที่ผมได้รับในเวลาต่อมาถึงได้รู้ว่าไอ้ที่อยู่ในนิยายของ แดนบราว์น มันจริงนี่หว่า ทำให้ผมพลอยเชื่อเรื่อง ดาวินซีโค๊ด ไปด้วย


มีในสิ่งที่ไม่มี ไม่มีในสิ่งที่มี เป็นกุญแจที่แดนบราว์นเอามาเขียนในนิยาย เทวดากับปีศาจ เกี่ยวกับเครื่องเร่งอนุภาคตัวนี้ ทำให้ผมคิดถึง อัตตา อนัตตา ของพุทธศาสนา และ positron ที่มันหมุนสวนทางกับ electron และมีประจุบวก เมื่อไรที่ positron กับ electron มาชนกันมันจะให้พลังงานออกมาเหมือนที่คิดไว้หรือเปล่า

และที่สำคัญคือเราจะหา Top Quark ได้พบหรือเปล่า เพราะมันคืออนุภาคกำเนิดจักวาลจากพลังงานของ big bang แปรเป็นสสาร

ผมขยายความนิดหนึ่งว่า Quark มันมีหกชนิด เราพบแล้วห้าชนิด แต่ Top Quark เรายังไม่พบตัวจริงเสียงจริงได้แต่หวังว่าเราน่าจะพบมันก็งานนี้แหละ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.6.66 อาทิตย์, 7/9/2551 เวลา : 00:59  IP : 125.24.6.66   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31856

คำตอบที่ 10
       ก่อนผมจะพูดเรื่องทฤษฎีทางฟิสิกส์ควอนตัมที่ฟังไปอ้วกแตกไป ผมอยากเล่าอะไรที่ฟังง่ายๆแบบโจ๊กเหลวๆให้ฟังก่อน ถือว่าออกแขกเบาๆให้รู้ถึงพื้นฐานว่าทำไมถึงต้องมี LEP ขนาดมโหระทึกครึกโครมขนาดนี้ นี่ยังไม่ใหญ่นะครับ อเมริกากำลังจะสร้างขนาด 100 กิโลเมตรที่ทะเลทรายเนวาด้า ถ้าเสร้จเมื่อไรเจ้าตัวนี้มันกลายเป็นของเล่นเด็กๆไปเลย


สมัยก่อนนี้คนเรายังโง่เรื่องอะตอมอยู่ ยังรู้เท่าที่ นีลเบอร์ หรือ ไอสไตน์ รู้คือ อะตอมมันมี โปรตรอน นิวตรอน อีเล็คตรอน เท่านี้ก็สร้างระเบิดหรือเตาปฎิกรณ์ได้แล้ว แต่ตอนนี้เราไปได้ไกลกว่านั้นมากมาย เรารู้แล้วว่ามันยังมีเล็กกว่านั้นอีก มันคือ ควาร์ก ที่ประกอบเป็น อีเล็กตรอน โปรตรอน นิวตรอน ซึ่งสมัยก่อนนี้ positron ยังเป็นของในความฝันว่ามันจะมีจริงหรือเปล่า


ถ้ามันรวมตัวกับ electron แล้วมันจะเกิดพลังงานมหาศาลจนปฎิกิริยาฟิวชั่นเป็นเหมือนประทัดเด็กเล่นเลยหรือเปล่าซึ่งสมัยก่อนเราไม่รู้



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.6.66 อาทิตย์, 7/9/2551 เวลา : 01:26  IP : 125.24.6.66   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31858

คำตอบที่ 11
       การสร้าง LEP เพื่อที่จะให้อนุภาคโปรตรอนวิ่งสวนกันในท่อวงกลม จนกระทั่งมีความเร็วเป็น 99.999996% ของความเร็วแสง จากนั้นจึงบังคับให้อนุภาคทั้งสองพุ่งเข้าชนกัน จุดประสงค์ของการทดลองนี้ เพื่อยืนยันหรือลบล้างความเข้าใจของมนุษย์เรื่องโครงสร้างของสสารทุกชนิดในจักรวาล ที่สตีเฟนฮอร์กิ้นและนักวิทยาศาสตร์ท่านอื่นๆเคยทำนายไว้ในสมการคณิตศาสตร์


การเร่งอนุภาคให้ได้เร็วขนาดนี้มันกินพลังงานครึ่งหนึ่งที่ยุโรปใช้เลยนะครับ ทำให้ผมนึกถึงโครงสร้างของทฤษฎีของ ไอสไตน์ ที่พูดถึง มวล ความเร็ว และพลังงาน เมื่อบวกกับทฤษฎีสนามเวลาของ สตีเฟ่นฮอร์กิ้น ทำให้นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ฝันไปได้อีกไกลเลยครับ


มวลโดนเร่งความเร็วใกล้แสง พลังงานใกล้เป็นอนันต์ เวลาสัมพันธ์ของมวลโดนยืดไปเป็นอนันต์ด้วยตามทฤษฎีสัมพันธภาพของไอสไตน์ ทำให้สนามเวลาของ สตีเฟนฮอร์กิ้นโดนบิดตัวไปด้วย



มุขนี้ทีเด็ดของนักเขียนนิยายจริงๆ




 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.6.66 อาทิตย์, 7/9/2551 เวลา : 01:28  IP : 125.24.6.66   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31859

คำตอบที่ 12
      

แต่ในความเป็นจริงแล้ว การที่อนุภาคทั้งสองวิ่งชนกันมันจะสร้างอนุภาคอื่นๆออกมาด้วย เหมือนเอา มะนาว กับ ส้ม ปาให้ชนกันกลางอากาศ แล้วมันแตกตัวออกมาเป็น ชมพู่ ฝรั่ง ทุเรียน มังคุด ละมุด ลำไย มันออกมาแบบนั้นจริงๆ


สิ่งที่หวังไว้คือ มันจะให้ทุเรียนออกมา มันคือ Z0 อนุภาคเริ่มต้นของจักวาล ซึ่งเกิดได้น้อยมากและอายุมันสั้นมากจนตรวจจับลำบาก การชนระหว่างอิเล็กตรอน และโพสิตรอนนับพันล้านครั้ง โอกาสการเกิดอนุภาค Z0 จะเป็นเพียงแค่ 1 ครั้งเท่านั้น ยิ่งไปกว่านั้น อายุขัยของอนุภาค Z0 ก็สั้นมาก คือประมาณ 12x10-10วินาที อุปสรรคในการสังเกต Z0 จึงมีมากมหาศาล


นักฟิสิกส์คาดว่าจะมีอนุภาคอื่นๆ เช่น Higgs boson และ top quark เกิดขึ้นอีกด้วย เหมือนเกิด ลำไย มังคุด จากการชนกันของส้มและมะนาว



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.6.66 อาทิตย์, 7/9/2551 เวลา : 01:44  IP : 125.24.6.66   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31860

คำตอบที่ 13
       แต่ถ้ามันดันมี ส้มโอ และ แตงโม เกิดขึ้นล่ะ มันจะเป็นช่องทางให้ได้ศึกษาสิ่งใหม่ๆที่เราไม่เคยได้รู้มาก่อนเลย

LEP จะให้นักวิทยาศาสตร์ได้พบกับ top quark หรือไม่เราไม่อาจจะทำนายได้ แต่ถ้าเราพบมันก็จะสามารถอธิบายได้และเข้าใจว่ามำไมสสารทุกชนิดในจักรวาลจึงคงสภาพอยู่ได้ดังที่มันเป็นอยู่

แต่หากว่า LEP แสดงให้เห็นว่า top quark ไม่มีแต่ดันแสดงให้นักฟิสิกส์เห็นอนุภาคอื่นที่ไม่มีใครรู้จักมาก่อน นั่นหมายความว่านักวิทยาศาสตร์จะต้องฉีกตำราเขียนใหม่ถึงความคิดทางด้านโครงสร้างของอะตอมและจักวาลอีกทั้งหมด

โครงการ LEP จะพบอะไรไม่พบอะไรก็ตามมันจะเป็นจุดเริ่มที่จะส่งไม้ต่อให้โครงการ Superconducting Supercollider (SSC) ของอเมริกาที่เนวาด้า ซึ่งมีขนาดเส้นรอบวงยาว 100 กิโลเมตร และมีพลังงานมากกว่า LEP ตัวที่สวิสตัวนี้มากมายหลายเท่า




 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.6.66 อาทิตย์, 7/9/2551 เวลา : 01:46  IP : 125.24.6.66   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31861

คำตอบที่ 14
       วันนี้ผมง่วงแล้วขอพอเท่านี้ ผมอยากจะเขียนให้คุณDegsure อ่านจริงๆนะแต่มันต้องลงอธิบายให้ลึกพอที่จะอธิบายสิ่งที่ถามมา

ถ้าพรุ่งนี้ผมไม่พิการทางสมองจากการโดน นปข.เอาแป๊บล่อกบาล ผมจะเล่าถึงทฤษฎี W and Z bosons, elementary particles แล้วจะมีคนอ่านหรือเปล่า

ถ้าเขียนเรื่อง Standard Model of particle physics. แล้วจะคุ้มค่าที่เค้นสมองมาเขียนหรือเปล่า

การจะเข้าใจเรื่อง W and Z bosons ต้องเข้าใจ beta particle และantineutrinon ตามสมการ 0 → p+ + e− + νe

ถ้าผมบอกว่านิวตรอนมันเกิดจาก up quark and two down quarks (udd) ตามสมการ d → u + W−

และ down quarks โดนจับใน beta decay แล้วโดนเปลี่ยนไปเป็น up quark เพื่อกลายเป็น proton (uud) ตามสมการ W− → e− + νe



ผมเข้าใจว่าในเว็บโรงรถมีคนสนใจวิชาฟิสิกส์น้อยมากยิ่งเป็นควอนตัมฟิสิกส์ นิวเคลียฟิสิกส์ ยิ่งเป็นวิชาที่เข้าใจยากต้องใช้จินตนาการทางคณิตศาสตร์และทฤษฎีควอนตัม ผมไม่อยากใช้พลังงานและเวลาเขียนสิบบาทแล้วมีคนอ่านสองสลึง ที่เหลือเปิดหน้านี้สามวินาทีแล้วปิดหน้านี้ แล้วไปเปิดอ่านตลกวันศุกร์ดีกว่า แบบนี้มันไม่คุ้มพลังงานและเวลาของผมเลย



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.6.66 อาทิตย์, 7/9/2551 เวลา : 02:08  IP : 125.24.6.66   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31862

คำตอบที่ 15
       ผมคนนึงละครับที่สนใจเรื่องพวกนี้ พอๆกับวิชาเทอร์โมไดนามิคที่กำลังร่อแร่ ผมเป็นคนนอกที่ชอบเข้ามาแอบอ่านกระทู้ของอ.von อยู่เรื่อยๆเวลามีเวลาว่าง
ผมเป็นกำลังใจให้เขียนต่อไปครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก NJL 125.27.215.151 อาทิตย์, 7/9/2551 เวลา : 10:57  IP : 125.27.215.151   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31867

คำตอบที่ 16
       ผมเลือกเรียนสายอิเล็กทรอนิกส์ครับเหตุเพราะโควต้าที่ได้ตั้งแต่ มอต้น เป็นตัวเลือกสายการเรียนให้

ความโชคร้ายคือไม่สามารถกลับไปเลือกสายวิชาอื่นๆ ที่มันละเอียดอ่อนได้อีก ขณะที่ผมสนใจแทบทุกด้านของศาสตร์ที่มนุษย์สร้างขึ้นตั้งแต่เรื่องไร้สาระจนถึงเรื่องที่ super computer เก็บไม่หมดด้วย แต่สมองผมมันเล็ก + โอกาสการเรียนรู้มีจำกัดเลยได้แต่สร้างจินตนาการภาพแทนการจดจำทฤษฎีมากมาย

ผมมีคำถามในใจอยู่ 1 คำถามตั้งแต่รู้ว่านาโนเทคโนโลยีทำได้ คือถ้าเรามีหัวโพรบที่สามารถหยิบจับ อนุภาคหรืออนุมูลได้ เราก็จะสามารถสร้างอะไรก็ได้ทั้งสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตใช่ไหมครับเพราะทุกอย่างเกิดจากอนุภาคทั้งสิ้น

ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ อ.วอน รออ่านอย่างใจจดจ่อและผมว่าต้องมีอีกหลายคนที่สนใจด้วยครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

degsure จาก Degsure 118.174.25.215 อาทิตย์, 7/9/2551 เวลา : 14:09  IP : 118.174.25.215   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31869

คำตอบที่ 17
       ผมยอมรับว่าตามไม่ทันครับ ขอเวลาศึกษาสักนิดเดี๊ยวกลับมาอ่านต่อ เริ่มด้วยค้นคว้า แล้วโทรหาเพื่อนซี้จบนอก ดูว่าเพื่อนที่เรียนฟิสิกส์มาทั้งชีวิตช่วยให้ผมกระจ่างขึ้นหน่อย
ขอบคุณกระทู้หัวข้อดีๆครับ และอาจารย์วอนที่ให้ความรู้เพิ่มเติมครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก ร ท. 117.47.105.39 อาทิตย์, 7/9/2551 เวลา : 14:29  IP : 117.47.105.39   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31870

คำตอบที่ 18
       คือผมนั่งนอนตรึกตรองมาสองคืนว่าถ้าผมตัดสินใจเขียนเรื่อง standard model ของ W and Z bosons ผมจะเริ่มอย่างไรดี เพราะว่าถ้าผมตะลุยเขียนเลยรับรองว่าไม่มีใครอ่านแล้วรู้เรื่องแน่

ถึงแม้ว่าบางคนจะเคยเรียนฟิสิกส์ควอนตั้มมาแล้วผมเชื่อว่าพอถึงวันนี้คงคืนอาจารย์ไปแล้วหรือถ้ายังไม่คืนที่เดิมก็ใช้ไม่ได้แล้วเพราะวันนี้กับวันที่เรียนมามันไม่เหมือนกันแล้ว เรื่องของกลศาสตร์ควอนตัมที่เรียนมาบางเรื่องพอถึงวันนี้มันไม่เป็นจริงไปเสียแล้ว

ผมเองก็มีปัญหานี้ คือความรู้เก่าๆสมัยที่เรียนมันชอบมาแทรกเรื่องจริงตอนนี้ทำให้ต้องลบของเดิมทิ้งแทบไม่ทันเพราะมันคนละสมการคณิตศาสตร์เลยครับ


ผมมาคิดว่าผมเดินตามแบบที่ สตีเฟน ฮอกิ้ง เขียน เรื่อง Time and Space ที่เอาฟิสิกส์ขั้นสูงมาย่อยชาวบ้านก็อ่านรู้เรื่องซึ่งยากในการดำเนินเรื่อง ผมจะทำอย่างไรให้ชาวบ้านธรรมดารู้ว่ากลศาสตร์ควอนตัมคืออะไร อนุภาคมันรวมตัวในรูปแบบสมการควอนตัมอย่าไร

เอาเรื่อง ควาร์ค คืออะไร มันทำงานอย่างไร เรื่องเดียวก็อุจจาระพุ่งแล้วครับ พอขยับไปเป็น เตคีออน น่าจะพุ่งออกทั้งตูดทั้งปากพร้อมกัน

คือถ้ามีคนอ่านกันผมก็จะลองเขียนดู





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.50.55 จันทร์, 8/9/2551 เวลา : 16:58  IP : 125.24.50.55   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31899

คำตอบที่ 19
       วันนี้ผมจะเริ่มต้นด้วยพลังงานหลักของเอกภพก่อนอื่น มันเป็นแรงที่ทำให้โครงสร้างอะตอมหมุนตัว และจักรวาลหมุนตัว ปฏิกิริยาเคมี เครื่องยนต์ทำงาน แม้กระทั่งการจุดไฟ พอจะสรุปได้ว่าในจักรวาลนี้มีแรงสี่อย่างที่ทำงานอยู่

เราจับต้องอะไรก็แล้วแต่มันเป็นผลมาจากแรงสี่อย่างนี้ทั้งสิ้น ไม่ว่า ฝนตก แดดออก เรายืนได้บนพื้นดินแต่ยืนบนอากาศไม่ได้ แรงเสียดทานตอนลากของ โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์ น้ำขึ้นน้ำลง


ถ้าไม่เข้าใจแรงมั้งสี่ของเอกภพก็ไม่มีทางไปต่อได้เลย สิ่งนั้นคือ

The interactions

Gravitation แรงโน้มถ่วง
Electromagnetism แรงแม่เหล็กไฟฟ้า
Weak interaction แรงนิวเคลียชนิดอ่อน
Strong interaction แรงนิวเคลียชนิดเข้ม

ในโลกนี้มีเพียงสี่แรงเท่านั้น จะบอกว่าในจักรวาลนี้มีสีแรงเท่านั้นจะเข้าท่ากว่า ไอ้ที่บอกว่า ร้อน เย็น พลังงานจน รวย ปฏิกิริยาเคมี อะไรนั่นลืมไปได้เลย นั่นมันเด็กขาสั้นเรียนกัน

ผมใช้คำว่าแรงมันไม่ค่อยจะถูกต้องนักแต่มันเป็นข้อจำกัดของภาษาไทย เพราะในภาษาอังกฤษใช้คำว่า The interactions ไม่ใช่ Force แต่นักวิทยาศาสตร์บางท่านก็ใช้คำว่า Force หน้าตาเฉยเลยก็มี ผมอยากจะให้คำจำกัดความของคำนี้ดังนี้

แรงหมายถึงสิ่งที่กระทำระหว่าวัตถุสองสิ่ง หรือสิ่งหนึ่งทำกับอีกสิ่งหนึ่ง อนุภาคหนึ่งทำกับอีกอนุภาคหนึ่ง แต่ interaction มันรวมการเปลี่ยนรูป สลายตัว รวมตัว เข้าไปด้วย ดังนั้นคำว่า interaction น่าจะถูกต้องกว่าคำว่า Force

ดังนั้นเราจะเริ่มคุ้นกับสิ่งที่คุ้นเคยอีกอย่างของกฎไอสไตน์ที่รู้กันดีคือ พลังงานเปลี่ยนรูปได้ สสารเปลี่ยนรูปได้ จากรูปแบบของ The 4 interactions





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.50.55 จันทร์, 8/9/2551 เวลา : 18:02  IP : 125.24.50.55   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31900

คำตอบที่ 20
       ก่อนที่ผมจะพูดถึงแรงที่อยู่ในอนุภาคหรือในอะตอม ผมอยากพูดถึงแรงที่คุ้นเคยก่อน สิ่งแรกคือแรงแม่เหล็กไฟฟ้าและแรงดึงดูด

แรงแม่เหล็กและไฟฟ้าเป็นสิ่งที่คุ้นเคยกันดี เราไม่เห็นแรงนี้แต่รู้ว่ามันมีอยู่จริงในจักรวาล ถ้าเอาแม่เหล็กสองแท่งมาใกล้กันเราจะรู้ถึงแรงนี้ เรารู้ถึงแรงของประจุไฟฟ้าเมื่อโดนไฟฟ้าดูดจากการขัดสีของต่างๆ หรือแม้แต่ฟ้าผ่าจากการขัดสีของเมฆและอากาศ ส่วนแรงดึงดูดนั้นเป็นอะไรที่ลึกลับมากแม้กระทั่งตอนนี้ก็ยังหาต้นตอของแรงดึงดูดไม่ได้

ผมอยากจะล้างสมองเพื่อนๆใหม่ให้คิดแบบทฤษฎีควอนตั้มคือ การที่วัตถุสองชิ้นมีแรงต่อกันมันต้องมีอนุภาคแรงวิ่งระหว่าสองสิ่ง ลองนึกภาพหนังกำลังภายในดูก็ได้ครับ

ฮุ้งปวยเอี้ยง ฟาดพลังไหมฟ้าไปที่ โต๊ะโกบ้อเต๊ก ที่ยืนห่างกันสิบก้าว โต๊ะโกบ้อเต๊ก โดนพลังถึงกับถอยหลังไปสองก้าว นี่แหละที่ผมบอกว่ามันต้องมีอนุภาคอะไรสักอย่างออกจาฝ่ามือขอ งฮุ้งปวยเอี้ยง ไปยัง โต๊ะโกบ้อเต๊ก และมันต้องมีมวลด้วยไม่อย่างนั้นมันจะผลักคนทั้งคนให้ถอยหลังไปสองก้าวได้อยางไร

ตอนนี้เริ่มวาดภาพอนุภาคแรงออกแล้วใช่ไหมครับ ลองนึกภาพ แม่เหล็กสองก้อนที่ผลักกันมันมีอนุภาคแรงเล็กๆวิ่งระหว่างขั้วแม่เหล็กนี้ทำให้มันผลักกันเหมือนฮุ้งปวยเอี้ยงกับโต๊ะโกบ้อเต๊ก แสงสว่างก็เหมือนกันมันเป็นอนุภาคเล็กๆนำเอาคลื่นแม่เหล้ไฟฟ้าวิ่งจากเหล่งกำเนิดแสงมายังตาเราเราถึงรู้สึกถึงแสง

อ้าวแล้วถ้ามันเป็นอนุภาคแล้วมันมีความถี่แสงได้อย่างไร สีต่างๆคือแสงที่มีความถี่ต่างกัน ถ้ามีความถี่สูงมากๆมันก็จะกลายเป็นแสงที่มองไม่เห็นอย่างแสง UV มันเป็นอนุภาคมันต้องวิ่งเป็นเส้นตรงจากแหล่งกำเนิดแสงมาถึงตาเราซิ มันจะมีความถื่ได้อย่างไร ซึ่งเราก็รู้กันอยู่ว่าแสงมันเดินทางเป็นเส้นตรงอยู่แล้ว

ใช่แล้วครับมันเดินทางเป็นเส้นตรงแต่หงิกๆน่ะ เพราะโฟตรอนมันคือตัวกลางที่มีมวลเป็นศูนย์อยู่ตัวหนึ่งที่ไม่มองไม่เห็นมันพาคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามาแบบหงิกๆตามความถี่ไง มันหงิกน้อยๆก็เป็นความถื่ต่ำๆแบบคลื่นวิทยุ มันหงิกๆมากๆมันก็กลายเป็นแสง ดังนั้นแสงก็คือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าอย่างหนึ่งนั่นเองที่มีตัวนำคือโฟตรอนที่มีมวลเป็นศูนย์

ถ้าโฟตรอนมันมีมวล มันก็วิ่งเท่าความเร็วแสงไม่ได้ตามกฎของไอสไตน์ใช่ไหมครับ มันจะต้องใช้พลังงานเป็นอนันต์เลยใช่ไหมครับ


หรือเราจะมองเห็นความสัมพันธ์ของอนุภาคว่า แรง มันก็คือผลกระทบของ อนุภาค นำพาแรงต่อ อนุภาคของสสาร นั่นเอง

งง งง นะ ใช่ไหมครับ อย่างที่ผมบอกไงว่าให้ลืมสิ่งที่เรียนมาแล้วให้หมด แล้วมาเริ่มต้นความเข้าใจใหม่กับวิชาควอนตั้ม






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.50.55 จันทร์, 8/9/2551 เวลา : 19:27  IP : 125.24.50.55   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31903

คำตอบที่ 21
       อ้าวแล้ว กฎของนิวตันมันไม่โดนกฎของแรงทั้งสี่หรือทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ควอนตัมทำลายหมดสิ้นเลยหรือนี่

ไม่โดนครับ เพราะกฎของนิวตันบอกถึงสิ่งที่มีความเร็วต่ำกว่าแสงมากๆ เช่นลูกแอปเปิ้ลหล่นโดนหัว รถชนกัน ลูกสนุ๊กชนกัน แต่ไม่ใช่บอกถึง อนุภาคขนาดอะตอมวิ่งด้วยความเร็วใกล้แสง หรือโฟตอนของแสงเป็นตัวกลางนำเอาคลื่นแม่เหล้กไฟฟ้าวิ่งความเร็วเท่าแสง ดังนั้นสิ่งที่เราจะเรียนรู้กันนี้เป็นการเรียนรู้สิ่งที่เล็กมากๆและเร็วมากๆ ดังนั้นสภาพของมันต้องการศณิตศาสตร์ที่เหนื่อไปอีกขั้น นั่นคือคณิตศาสตร์ที่ว่าด้วยควอนตัม


อนุภาคที่ว่านี้มันเลือกที่จะกระทำหรือไม่กระทำได้เช่น แม่เหล็กมีผลต่อเหล็กแต่ไม่มีผลต่อทองแดง อลูมิเนียมการนำพาแรงคือ อนุภาคนำพาแรงสามารถถูกดูดกลืนหรือสร้างได้เฉพาะกับอนุภาคสสารที่มีผลกระทบต่อแรงชนิดนั้น เช่น อิเล็กตรอนและโปรตอนมีประจุไฟฟ้า ดังนั้นพวกมันสามารถสร้างและดูดรับตัวพาแรงแม่เหล็กไฟฟ้าซึ่งก็คือโฟตอน ได้ ในขณะที่นิวตริโนไม่มีประจุไฟฟ้า ก็ไม่สามารถสร้างหรือดูดรับโฟตอนได้



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.50.55 จันทร์, 8/9/2551 เวลา : 19:38  IP : 125.24.50.55   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31904

คำตอบที่ 22
       เรามาดูแรงของแม่เหล็กไฟฟ้ากันบ้างว่ามันเกี่ยวกับอะไรกันบ้างกับชีววิตประจำวันของเรา แรงเสียดทานของวัตถุไม่ว่าจะเป็นล้อรถกับถนนก็เกิดจากแรงของแม่เหล็กไฟฟ้าระหว่าประจุของโมเลกุลของยางรถกับถนน เราวางของบนโต๊ะไม่ร่วงลงมาทะลุพื้นก็เพราะแรงแม่เหล็กไฟฟ้าของอะตอมต่ออะตอมของวัตถุและโต๊ะผลักกัน

การที่อะตอมหลายๆอะตอมกอดกันเป็นโมเลกุลได้เพราะแรงแม่เหล็กไฟฟ้าระหว่างอะตอมต่ออะตอมข้างๆ ซึ่งในแต่ละอะตอมมีอีเล็กตรอนที่มีประจุลบเท่ากับโปรตรอนที่เป้นประจุบวก ทำให้ประจุของอะตอมเป็นกลาง แต่ยังมีแรงของประจุตกค้างในอะตอมที่ทำให้อนุภาคในอะตอมข้างๆบางส่วนมีผลต่อแรงนั้นที่เรียกว่า residual electromagnetic force ทำให้อะตอมหลายๆอะตอมกอดกันเป็นโมเลกุลที่ใหญ่ขึ้นได้

ดังนั้นแรงแม่เหล็กไฟฟ้านี่เองที่ทำให้วัตถุกอดกันเป็นก้อนได้ ทำให้โลกทั้งใบไม่แตกเป็นเสี่ยงๆ ทำให้เกิดแรงเสียดทานระหว่างวัตถุ






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.50.55 จันทร์, 8/9/2551 เวลา : 20:18  IP : 125.24.50.55   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31906

คำตอบที่ 23
       เรารู้เรื่องอะตอมมันกอดกันเป็นโมเลกุลโดยแรงของแม่เหล็กไฟฟ้าแล้วอะไรทำให้นิวเคลียสคือ นิวตรอนและโปรตรอนมันกอดกันเป็นมวลส่วนใหญ่ของอะตอมได้ล่ะ

นี่ไงมันต้องโดดมาใช้แรงอีกสองตัวที่เหลือแล้วคือ Weak interaction แรงนิวเคลียชนิดอ่อน Strong interaction แรงนิวเคลียชนิดเข้ม คราวนี้เรื่องมันยาวต้องพูดถึง ควาร์ก หน่วยที่เล็กที่สุดของอะตอมกันแล้ว เพราะมันคือแรงที่ควาร์กกระทำต่อกันจนก่อรูปเป็น อีเล็กตรอน นิวตรอน โปรตรอน

ส่วนแรงดึงดูดผมขอข้ามเพราะถึงทุกวันนี้นักฟิสิกส์ยังไม่รู้เลยว่ามันคืออะไร แต่รู้ว่ามันทำงานอย่างไรเท่านั้น มันคือแรงที่สัมพันธ์กับขนาดของมวลระหว่างของสองสิ่งหรือหลายสิ่งเท่านั้น


จะอ่านกันต่อหรือจะให้หยุดเท่านี้ก็บอกผมด้วยนะครับ ผมจะได้ไม่บ้าพิมพ์เรื่องที่คนไม่อ่านให้เสียเวลา วันนี้ผมขอหยุดเท่านี้ครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.50.55 จันทร์, 8/9/2551 เวลา : 20:27  IP : 125.24.50.55   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31907

คำตอบที่ 24
       ถ้า อ. บ้าพิมพ์ต่อ ผมก็บ้าอ่านต่อละครับ ผมว่าได้ความรู้มากเลย อย่างเรื่องฮีทไปท์ผมก็ตามอ่าน บางทีก็ขำดี อ.ยกตัวอย่างและอธิบายด้วยกำลังภายในเก่งครับนับถือ

ขอความคิดเห็นท่านอื่นด้วยครับ ถ้าให้เขียนให้ผมอ่านคนเดียวเห็นทีคงจาไม่คุ้ม



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก NJL 125.27.214.142 จันทร์, 8/9/2551 เวลา : 21:12  IP : 125.27.214.142   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31908

คำตอบที่ 25
       ถ้าเราใช้กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนขยายภาพของสสารเราก็จะเห็นโมเลกุลและถ้าใช้ Super จุลทรรศน์อิเล็กตรอนเราก็จะเห็นอะตอม และภายในอะตอมจะมี อิเล็กตรอน โปรตรอนและนิวตรอนรวมกันเรียกว่านิวเคลียส ภายในนิวเคลียสจะมี อนุมูลหรือควาร์ก 6 ตัว





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

degsure จาก Degsure 118.174.172.156 จันทร์, 8/9/2551 เวลา : 21:24  IP : 118.174.172.156   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31909

คำตอบที่ 26
       เพราะอะตอมแต่ละตัวมีแรงดึงดูดมันจึงดูดติดกันและก่อเกิดเป็นรูปร่างต่างๆกันเช่น เหล็ก ทองแดง เงิน เป็นต้น

การแยกควาร์กออกจากกันคงต้องกระทำเหมือนตัวนาคที่จับหอยมาทุบกับหิน และเพราะควาร์กมันล็กกว่าอนุภาคเลยไม่มีอะไรจะมาทุบมันได้

การเอาอนุภาคขนาดเท่ากันมาชนกันด้วยแรงเท่าๆ กัน ก็พอที่จะทุบให้ควาร์กมันกระเด็นออกมาได้ซินะครับ





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

degsure จาก Degsure 118.174.172.156 จันทร์, 8/9/2551 เวลา : 21:33  IP : 118.174.172.156   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31910

คำตอบที่ 27
      


" ออกมา ออกมา ออกมา อีก " ครับ





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

kupree จาก kupree 125.26.73.123 จันทร์, 8/9/2551 เวลา : 22:25  IP : 125.26.73.123   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31911

คำตอบที่ 28
       นั่งคิดอยู่นานครับ ว่าจะทำอย่างไรถึงได้อนุภาคอิเล็กตรอนแล้วส่งเข้าไปในสูญญากาศได้เผอิญหันไปเห็นจอทีวีรุ่นหลอดแก้วเก่าๆ เลยร้อง อ๋ออออ...

การทำงานเริ่มจากการสร้างสนามแม่เหล็กทั้งซ้ายและขวาโดยข้างหนึ่งเข้ม ข้างหนึ่งอ่อน แล้วจึงจุดชนวนเพื่อยิงอิเล็กตรอนเข้าไปในหลอดสูญญากาศ

จากนั้นก็เพิ่มสนามแม่เหล็กข้างหนึ่งและลดอีกข้างหนึ่งสลับไปมาจึงสามารถบังคับทิศทางอิเล็กตรอนได้

เครื่องเร่งอนุภาคจึงต่างตรงเรื่องขนาด พลังงานและไม่มีแผ่นเรืองแสงนั่นเองมันจึงหมุนวนได้ไม่รู้จบสิ้นและเพิ่มความเร็วขึ้นเรื่อยๆ เหมือนขับรถในสมามที่เป็นวงกลมแล้วเหยียบคันเร่งให้สุดโดยไม่ต้องกลัวชนอะไร





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

degsure จาก Degsure 118.173.236.86 อังคาร, 9/9/2551 เวลา : 09:42  IP : 118.173.236.86   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31917

คำตอบที่ 29
       แอบอ่านมาตลอดครับ อาจารย์ von เขียนต่อนะครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

banpot จาก banpot 202.149.122.19 อังคาร, 9/9/2551 เวลา : 10:43  IP : 202.149.122.19   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31921

คำตอบที่ 30
       นะ มะ ระ อะ นะ เท วะ อะ

พระอรหันต์ไม่ตาย เพราะพระอรหันต์ไม่ใช่เทวดา




สุดยอด ครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

earth1991 จาก ปา'ยุภักษ์ 202.57.143.214 อังคาร, 9/9/2551 เวลา : 11:01  IP : 202.57.143.214   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31923

      

ยังมีคำตอบมากกว่านี้นะครับ คลิ๊กเพื่อดูหน้าถัดไป


คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  2  3  4  5  



website รองรับการใช้งานทุกระบบปฏิบัติการของ PC Tablet SmartPhone ทุกระบบสามารถโพสข้อความและรูปภาพได้โดยไม่ต้องย่อไฟล์
เพื่อความปลอดภัยในการใช้ website WeekendHobby.Com สมาชิก เท่านั้น จึงจะตั้งกระทู้ หรือ ตอบกระทู้ได้ครับ
Login Click ที่นี่
สมัครสมาชิก Click ที่นี่



Since 22, Feb 2001 hit counter View My Stats  Truehits.net      วันศุกร์,29 มีนาคม 2567 (Online 4696 คน)