WeekendHobby.com
เครื่องมือในการใช้งาน website =>> สมัครสมาชิก | Login | Logout | เปลี่ยนไอคอนส่วนตัว | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อโฆษณา         View stat by Truehits.net


คาร์บอน เครดิต (CARBON CREDIT)
somsaks
จาก หนุ่มกระโทก
IP:202.91.19.192

พุธที่ , 12/3/2551
เวลา : 13:01

อ่านแล้ว = ครั้ง
 เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งตรวจสอบกระทู้
 แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน ส่งหาเพื่อน

       ยุคนี้ถ้าไม่พูดถึง คาร์บอนเครดิต คงจะไม่ได้

มีชื่อว่าบอร์ดพลังงานทางเลือก แต่ไม่กล่าวถึง คาร์บอนเครดิต เห็นทีจะเสียชื่อ

ผมขอขยายหางอึ่งสั้น ๆ ให้สมาชิกได้อ่านกัน ว่ามันคืออะไร และมีที่มาที่ไปอย่างไร

โม้ผิด ๆ ถูก ๆ ก็ขออภัย ในความขี้เท่อด้วยครับ


เรื่องนี้ความจริง อ.โก๋แก่ แห่งเว็บวิชาการ เคยลงถาม แต่ไม่มีคนตอบเลย
ผมเคยติดต่อท่านไปว่าเป็นอย่างไร แต่โชคไม่ดี ท่าน อ.โก๋แก่ไม่สบายหนักและได้เสียชีวิตในเวลาถัดมา

เป็นเรื่องที่สรุปออกมาแล้วนิดเดียวจริง ๆ

แต่ว่าต้องทำความเข้าใจในหลักการให้ดี เพราะเรื่องมันยาว

เอาเป็นว่าผมจะค่อย ๆ เขียนแล้วกัน วัยรุ่นใจร้อนห้ามต่อว่าอย่างเด็ดขาด





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

แจ้งเพื่อเก็บขึ้นกระทู้พิเศษ คลิ๊กที่นี่แจ้งเพื่อนำขึ้นกระทู้พิเศษ

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  2  

คำตอบที่ 1
       สถานการณ์และผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภาวะโลกร้อน
เป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้นานาประเทศหันมาร่วมกันป้องกันและแก้ไข
พร้อมทั้ง เสริมสร้างศักยภาพในการรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นทั้งในระดับท้องถิ่น
และระดับประเทศ ดังนั้น จึงมีการจัดตั้งอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศ (United Nation Framework convention on Climate Change : UNFCCC) และ
พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ขึ้น เพื่อกำหนดพันธกรณีให้ประเทศต่างๆ หันมาร่วมมือ
และดำเนินการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายภายใน
ระยะเวลาที่กำหนด จึงเป็นแนวทางและกรอบความร่วมมืออย่างเป็นรูปธรรมต่อการ
ป้องกันและแก้ไขปัญหาผลกระทบจากภาวะการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ประเทศไทยเป็นประเทศหนึ่งที่ตระหนักถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาภาวะโลกร้อน
ร่วมกับนานาประเทศ จึงได้ตกลงให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพ
ภูมิอากาศโลก โดยลงนามให้สัตยาบันต่ออนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลง
สภาพภูมิอากาศ เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2537 และลงนามให้สัตยาบันในพิธีสารเกียวโตเมื่อ
วันที่ 28 สิงหาคม 2545 จากการให้สัตยาบันครั้งนั้นส่งผลให้ประเทศไทยสามารถเข้าร่วม
ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ภายใต้กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean
Development Mechanism : CDM) บนพื้นฐานของภาคความสมัครใจได้

ประเทศไทยจึงได้จัดตั้งองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์กรมหาชน) ขึ้น
เพื่อปฏิบัติงานด้านการบริหารเกี่ยวกับก๊าซเรือนกระจกและการดำเนินการตามกลไก
การพัฒนาที่สะอาดภายใต้พิธีสารเกียวโตให้เป็นไปตามข้อกำหนดสากล

ปัจจุบันประเทศไทยได้มีการกำหนดกรอบ,ทิศทางในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนและสอดคล้อง
กับแนวทางการเตรียมพร้อมเพื่อรองรับการแก้ไขปัญหาจากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและภาวะโลกร้อน
ไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550-2554) โดยมุ่งเน้นและส่งเสริมการ
พัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการเพื่อลดมลพิษและควบคุมกิจกรรมที่จะส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต
ด้วยการควบคุมมลพิษทางอากาศที่จะส่งผลต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
และทำให้เกิดภาวะโลกร้อน ตลอดจนส่งเสริมให้มีกลไกที่มีประสิทธิภาพ

เพื่อกำหนดจุดยืนเชิงยุทธศาสตร์ต่อพันธกรณีและข้อตกลงระหว่างประเทศด้านสิ่งแวดล้อม
รวมทั้งข้อตกลงทางการค้าที่มีประเด็นเกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งแนวทางการพัฒนาดังกล่าวก็เพื่อ
ตอบสนองต่อการสร้างสภาพแวดล้อมเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและการพัฒนาที่ยั่งยืน
อันเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์การพัฒนาบนฐานความหลากหลายทางชีวภาพและการสร้าง
ความมั่นคงของฐานทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม

ดังนั้น แนวทางการพัฒนาประเทศในช่วงปี พ.ศ. 2550-2554 ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและ
สังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 จึงได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือน
กระจก รวมทั้งการปฏิบัติตามพันธกรณีข้อตกลงระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้อง จึงส่งผลให้ทุก
ภาคส่วน ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชน รวมทั้งองค์กรต่างๆ เกิดความ
ตระหนักและแสดงเจตนารมณ์ในการมีส่วนร่วมต่อการรับรู้ พร้อมกับร่วมกำหนดนโยบาย
และแนวทางปฏิบัติเพื่อให้บรรลุผลต่อการแก้ไขปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและภาวะ
โลกร้อนของประเทศอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.19.192 พุธ, 12/3/2551 เวลา : 13:08  IP : 202.91.19.192   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 22574

คำตอบที่ 2
       ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของนานาประเทศ
จึงเกิดการประชุมระดับนานาชาติขึ้น เพื่อหาแนวทางยับยั้งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
และป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับมนุษย์ โดยได้มีการลงนามรับรอง อนุสัญญาสหประชาชาติ
ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC)
ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2535 ณ สำนักงานใหญ่องค์การสหประชาติ ณ นครนิวยอร์ค ต่อมาประเทศต่างๆ จำนวน
กว่า 150 ประเทศ ได้ลงนามให้สัตยาบันในระหว่างการประชุมสหประชาชาติว่าด้วย
สิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (UNCED) หรือ การประชุมสุดยอดโลก (Earth Summit) ใน
เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2535 ณ กรุงริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล โดยมีสาระสำคัญของ
อนุสัญญาฯ ดังนี้

ให้มนุษยชาติตระหนักร่วมกันว่ากิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ได้ทำให้ระดับของก๊าซเรือน
กระจกในบรรยากาศเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก การเพิ่มขึ้นนี้ทำให้สภาวะเรือนกระจกใน
ธรรมชาติทวีความรุนแรงขึ้น โดยทำให้พื้นผิวและบรรยากาศของโลกร้อนมากขึ้น ซึ่ง
อาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศธรรมชาติและมวลมนุษยชาติ
สัดส่วนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งที่ผ่านมาในอดีตและในปัจจุบันส่วนใหญ่มาจาก
ประเทศพัฒนาแล้ว ในขณะที่สัดส่วนปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อประชากร
ของประเทศกำลังพัฒนายังมีระดับต่ำ แต่มีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้น เพื่อตอบสนองต่อ
ความต้องการของสังคมและการพัฒนาเศรษฐกิจ

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติระดับโลกที่ต้องการความ
ร่วมมือระหว่างประเทศ โดยจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมและการแก้ปัญหาร่วมกัน
ระหว่างประเทศที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพอย่างกว้างขวาง ตามหลักการความ
รับผิดชอบร่วมในระดับที่แตกต่าง (Common but differentiated responsibilities) และ
เป็นไปตามความสามารถและสภาพเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

วัตถุประสงค์หลักของอนุสัญญาฯ เพื่อรักษาระดับความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกใน
บรรยากาศให้คงที่ในระดับที่ไม่เป็นอันตรายต่อระบบสภาวะอากาศ ซึ่งวัตถุประสงค์นี้
ควรที่จะบรรลุภายในระยะเวลาอันพอเหมาะกับการให้ระบบนิเวศปรับตัวให้เข้ากับการ
เปลี่ยนแปลงสภาวะอากาศอย่างเป็นธรรมชาติ และเพื่อเป็นการป้องกันผลกระทบที่
รุนแรงต่อการผลิตอาหาร ตลอดจนเป็นการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจในลักษณะที่ยั่งยืน



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.19.192 พุธ, 12/3/2551 เวลา : 13:19  IP : 202.91.19.192   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 22575

คำตอบที่ 3
       พันธกรณีภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่กำหนดให้
ประเทศภาคีทั้งปวงคำนึงถึงความรับผิดชอบร่วมกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิกาศ โดยมี
ระดับความรับผิดชอบของแต่ละประเทศภาคีที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของการ
พัฒนาประเทศและภูมิภาค ซึ่งสามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้

• กำหนดรูปแบบปฏิบัติ เผยแพร่ และปรับปรุงตามแผนระดับประเทศและระดับภูมิภาค
อย่างเหมาะสม โดยมีมาตรการเพื่อบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เกิดขึ้น
จากการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากแหล่งกำเนิดอันเกิดจากการกระทำของมนุษย์และ
การกำจัดโดยการเก็บกักก๊าซเรือนกระจกทั้งปวง พร้อมทั้งมาตรการต่างๆ ที่ช่วยให้มี
การปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างเพียงพอ

• ส่งเสริมและร่วมมือในการพัฒนา การใช้ การเผยแพร่ รวมทั้งการถ่ายทอดเทคโนโลยี
วิธีปฏิบัติและกระบวนการที่ควบคุม ลด หรือป้องกันการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่มิได้
อยู่ภายใต้พิธีสารมอนทรีออล(1) จากกิจกรรมของมนุษย์ในสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น
จากภาคพลังงาน ขนส่ง อุตสาหกรรม เกษตรกรรม ป่าไม้และการจัดการของเสีย

• ส่งเสริมการจัดการแบบยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมและร่วมมือในการอนุรักษ์และการขยาย
แหล่งรองรับและเก็บกักก๊าซเรือนกระจกที่ไม่ได้อยู่ภายใต้พิธีสารมอนทรีออลตามความ
เหมาะสม รวมทั้งชีวมวล ป่าไม้ และมหาสมุทร ตลอดจนระบบนิเวศบนบก ชายฝั่งและ
ทะเลอื่นๆ

• ร่วมมือในการเตรียมการเพื่อปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ
ประเทศ การพัฒนาและการผสมผสานแผนการที่เหมาะสมในการจัดการเขตชายฝั่ง
ทรัพยากรน้ำ และการเกษตร เพื่อการคุ้มครองและฟื้นฟูพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจาก
ความแห้งแล้งและการเปลี่ยนแปลงสภาพเป็นทะเลทราย ตลอดจนอุทกภัยโดยเฉพาะ
อย่างยิ่งในภาคพื้นแอฟริกา

• คำนึงถึงประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเท่าที่จะเป็นไปได้ในส่วนที่เกี่ยวกับ
นโยบายและการดำเนินการด้านสังคม เศรษฐกิจ และสภาพแวดล้อมและใช้วิธีการอัน
เหมาะสม เช่น การประเมินผลกระทบในการสร้างแบบแผนและกำหนดโครงการหรือ
มาตรการในระดับประเทศที่ประเทศภาคีจะได้ปฏิบัติเพื่อบรรเทาหรือปรับตัวต่อการ
เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงการลดผลกระทบทางลบที่จะเกิดต่อ
เศรษฐกิจ การสาธารณสุข และคุณภาพสิ่งแวดล้อม

• ส่งเสริมและร่วมมือในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม เศรษฐกิจ และอื่นๆ
เพื่อการสังเกตการณ์อย่างเป็นระบบ รวมถึงการพัฒนาระบบฐานข้อมูลเกี่ยวกับระบบ
ภูมิอากาศ โดยมุ่งเสริมสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุ ผลกระทบ ขนาดความรุนแรง
และระยะเวลาของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

• ส่งเสริมและร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคม
เศรษฐกิจและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิอากาศและการเปลี่ยนแปลงสภาพ
ภูมิอากาศ

• ส่งเสริมและร่วมมือในการให้การศึกษา การฝึกอบรม และสร้างจิตสำนึกกับประชาชน
เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน
อย่างกว้างขวาง



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.19.192 พุธ, 12/3/2551 เวลา : 13:25  IP : 202.91.19.192   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 22576

คำตอบที่ 4
       สรุปง่าย ๆ ว่า อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations
Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) เป็นอนุสัญญาที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อ
รักษาระดับความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกในบรรยากาศให้คงที่ในระดับที่ปลอดจากการ
แทรกแซงของมนุษย์ และเพื่อให้ประเทศอุตสาหกรรม และอีกหลายประเทศในแถบยุโรป
กลางและยุโรปตะวันออกร่วมมือกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยสมัครใจ โดยไม่มี
กรอบเวลาบังคับที่แน่นอน

สำหรับประเทศไทยได้เห็นความสำคัญของปัญหาโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพ
ภูมิอากาศ จึงได้ลงนามในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2535 และได้ให้สัตยาบันเข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติ
ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nation Framework Convention on Climate
Change, UNFCCC) เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2537 โดยมีผลบังคับใช้กับประเทศไทยตั้งแต่
วันที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2538 เป็นต้นมา ส่งผลให้ประเทศไทยมีข้อผูกพันตามพันธกรณีต่างๆ
ที่ระบุในอนุสัญญาดังกล่าว



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.19.192 พุธ, 12/3/2551 เวลา : 13:29  IP : 202.91.19.192   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 22577

คำตอบที่ 5
       พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol)

ผลจากการลงนามในอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
ดังกล่าว ทำให้มีการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯ ขึ้นทุกปี โดยในการประชุม
สมัยที่ 3 (3rd Conference of the Parties: COP 3) ที่กรุงเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ได้มีการยกร่าง
พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol) ขึ้นเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2540 เพื่อจัดการกับปัญหา
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีรายละเอียดสาระสำคัญของ
พิธีสาร ดังนี้

• ประเทศภาคี ให้มีการปฏิบัติและ/หรือเพิ่มเติมรายละเอียดในนโยบาย
และมาตรการตามสถานการณ์ของประเทศ อาทิ

- การเพิ่มประสิทธิภาพของการใช้พลังงาน การปกป้องรักษาและการขยายแหล่ง
รองรับและที่เก็บกักก๊าซเรือนกระจก โดยต้องกระทำอย่างสอดคล้องกับข้อตกลง
ด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการเพื่อส่งเสริมการ
จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน การฟื้นฟูป่าและการปลูกป่า

- การส่งเสริมรูปแบบการเกษตรที่ยั่งยืนโดยการคำนึงการเปลี่ยนแปลงสภาพ
ภูมิอากาศ

- การศึกษาวิจัยและส่งเสริมการพัฒนาและเพิ่มการใช้พลังงานในรูปแบบใหม่ๆ โดย
ใช้เทคโนโลยีที่ช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และมีนวัตกรรมใหม่ๆ ที่
รักษาสิ่งแวดล้อม

- ลดหรือเลิกการสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในสาขาที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่
ขัดต่อวัตถุประสงค์ของอนุสัญญาฯ

- การให้มีการปฏิรูปสาขาที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมเพื่อเป้าหมายในการส่งเสริม
นโยบายและมาตรการที่จำกัดหรือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ไม่ได้ควบคุม
โดยพิธีสารมอนทรีออล

- การดำเนินมาตรการจำกัดและ/หรือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ไม่ได้ควบคุม
โดยพิธีสารมอนทรีออลในสาขาการคมนาคมขนส่ง และจำกัดและ/หรือลดการ
ปล่อยก๊าซมีเทนโดยวิธีการนำกลับมาใช้ใหม่ในการจัดการของเสีย การผลิต การ
คมนาคมขนส่ง และการกระจายพลังงาน ทั้งนี้ สามารถร่วมมือกับประเทศภาคีอื่น
ในการเพิ่มประสิทธิภาพของนโยบายและมาตรการของประเทศตนเองหรือร่วมกัน

• ประเทศภาคี ต้องจำกัดหรือลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ไม่ได้ควบคุม
โดยพิธีสารมอนทรีออลจากการคมนาคมขนส่งทางอากาศและที่ขนส่งทางทะเล โดย
ประสานความร่วมมือกับองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (International Civil
Aviation Organization) และองค์การพาณิชย์นาวีระหว่างประเทศ (International
Maritime Organization)

• ให้ประเทศภาคี แต่ละประเทศหรือหลายประเทศร่วมกันตั้งเป้าหมายในการ
ลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่าง ๆ ให้ต่ำกว่าระดับที่ปล่อยในปี พ.ศ. 2533 อย่าง
น้อยร้อยละ 5 เมื่อคิดเป็นปริมาณเทียบเท่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ภายในช่วงพันธกรณี
แรก คือ ระหว่างปี พ.ศ. 2551 ถึง 2555

• ประเทศภาคีสามารถเข้าร่วมในกลไกการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 3
รูปแบบ คือ การดำเนินการร่วมกัน (Joint Implementation: JI) กลไกการพัฒนาที่สะอาด
(Clean Development Mechanism: CDM) และการซื้อขายก๊าซเรือนกระจก (Emission
Trading: ET)

• ให้ประเทศภาคีทุกๆ ประเทศจัดทำรายงานบัญชีปริมาณการปล่อยก๊าซที่เกิดจากกิจกรรม
ของมนุษย์จากแหล่งต่างๆ และการกำจัดโดยแหล่งรองรับก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดที่
ไม่ได้ควบคุมโดยพิธีสารมอนทรีออล ตลอดจนมาตรการในการแก้ไขปัญหาที่เกิดจาก
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและมาตรการในการอำนวยความสะดวกในการ
ปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

• พิธีสารนี้จะมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 90 วัน นับจากวันที่ภาคีตามอนุสัญญาฯ ไม่
น้อยกว่า 55 ได้มอบสัตยาบันสาร ต้องมีปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
รวมกันอย่างน้อยกว่าร้อยละ 55 ของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมดในปี พ.ศ. 2533
ของภาคีที่มีชื่ออยู่



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.19.192 พุธ, 12/3/2551 เวลา : 13:50  IP : 202.91.19.192   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 22578

คำตอบที่ 6
       สำหรับก๊าซเรือนกระจกตามพิธีสารเกียวโตมีเพียง 6 ชนิด คือ
1 คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)
2 มีเทน (CH4) ( ตัวคุณ = 21 )
3 ไนตรัสออกไซด์ (N2O) ( ตัวคุณ = 310 )
4 ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs) ( ตัวคุณ = 140 - 11700 )
5 เปอร์ฟลูออโรคาร์บอน (PCFs) ( ตัวคุณ = 6500 - 9200 ) และ
6 ซัลเฟอร์เฮกซาฟลูโอไรด์ (SF6) ( ตัวคุณ = 23900 )

โดยก๊าซแต่ละชนิดจะมีประสิทธิภาพในการแผ่รังสีความร้อน (radioactive efficiency) ที่แตกต่างกัน
ดังนั้น ในการคำนวณปริมาณก๊าซเรือนกระจก จึงให้คำนวณเป็นปริมาณเทียบเท่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
โดยใช้ค่าศักยภาพในการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน (Global Warming Potential: GWP)
ของก๊าซแต่ละชนิดเป็นตัวคูณ


บทสรุป

ภายใต้พิธีสารเกียวโต กลุ่มประเทศที่ร่วมสัตยาบัน จะต้องร่วมมือกันในการลด
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้บรรลุตามเป้าหมาย คือให้อยู่ต่ำกว่าปริมาณการปลดปล่อยใน
ปี พ.ศ. 2533 ร้อยละ 5ในช่วงระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 - 2555 หรือที่เรียกว่าในช่วง
พันธกรณีแรก (First Commitment Period) ซึ่งแต่ละประเทศที่อยู่ในกลุ่มที่ 1 จะมี
เป้าหมายในการลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกแตกต่างกันออกไป ตามที่ระบุใน
ภาคผนวก ข (Annex B) ของพิธีสารเกียวโต พิธีสารยังได้กำหนดกลไกความร่วมมือในการ
ลดก๊าซเรือนกระจกไว้ 3 รูปแบบ ได้แก่

1 การซื้อขายก๊าซเรือนกระจก (Emission Trading:ET)

2 การดำเนินการร่วมกัน (Joint Implementation: JI) และ

3 กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM)

พิธีสารเกียวโตมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ซึ่งเป็นไปตามมาตรา 25
เมื่อสหพันธรัฐรัสเซียได้ลงนามให้สัตยาบัน ส่งผลให้ปริมาณรวมการปล่อยก๊าซ
คาร์บอนไดออกไซด์ในปี พ.ศ. 2533 คิดเป็นร้อยละ 61.6 ปัจจุบันมีประเทศต่างๆ เข้าร่วมในพิธี
สารเกียวโตรวมทั้งสิ้น 175 ประเทศ (ณ วันที่ 6 มิถุนายน 2550)

ประเทศที่ไม่ยอมร่มลงนามด้วยคือ เจ้าพี่ใหญ่ค่ายโลกเสรี สหรัฐอเมริกา (ทั้งที่เป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดในโลก )และ ออสเตรเลีย

หากท่านติดตามข่าวอยู่บ้าง จะทราบว่านายยอดบูดของเรา ประกาศไม่ยอมร่วมด้วย เห็นถึงความจริงใจในการแก้ปัญหาโลกร้อนของ รัดถะบานเมืองลุงแซม

ด้วยผลบุญอันนี้ ท่านจะเห็นว่า ประเทศพี่ใหญ่เรา หลัง ๆ มานี้เจอปัญหาภัยธรรมชาติอย่างหนัก เป็นข่าวดังไปทั่วโลก




 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.19.192 พุธ, 12/3/2551 เวลา : 14:00  IP : 202.91.19.192   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 22582

คำตอบที่ 7
       กลไกต่างๆ ในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายใต้พิธีสารเกียวโต


เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายของพิธีสารเกียวโตในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก พิธีสาร
เกียวโตมุ่งเน้นการดำเนินการในประเทศที่มีพันธกรณีเองเป็นหลัก อย่างไรก็ดี พิธีสารเกียวโต
ได้กำหนดกลไกที่ยืดหยุ่น (Flexibility Mechanisms) ไว้ 3 กลไก เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายใน
การลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศที่เข้าร่วมในกลุ่ม(ที่ต้องลดก๊าซเรือนกระจก) ได้แก่

• การดำเนินการร่วมกัน (Joint Implementation: JI) เป็นกลไกตามมาตรา 6 ที่เปิดโอกาส
ให้ประเทศในกลุ่มที่ร่วม ร่วมกันดำเนินโครงการต่างๆ เพื่อลดการปล่อยก๊าซ
เรือนกระจกเพิ่มเติมจากมาตรการที่มีอยู่แล้วในการดำเนินธุรกิจตามปกติ โดยผู้ดำเนิน
โครงการจะได้รับ Emission Reduction Unit (ERU) สำหรับก๊าซเรือนกระจกที่สามารถ
ลดได้และผ่านการตรวจวัดแล้ว

• กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM) เป็นกลไกตาม
มาตรา 12 ที่เป็นกลไกที่ดำเนินการร่วมกันระหว่างประเทศในกลุ่ม(ที่ต้องลดก๊าซเรือนกระจก) และ
ประเทศนอกกลุ่ม(ที่ไม่ต้องลดก๊าซเรือนกระจก) เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพิ่มเติมจากมาตรการที่จะ
เกิดขึ้นอยู่แล้วในการดำเนินธุรกิจตามปกติ และเป็นการช่วยเหลือประเทศภาคีที่อยู่นอกกลุ่ม
ให้สามารถบรรลุถึงการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยผู้ดำเนินโครงการจะได้รับ
Certified Emission Reduction (CER) สำหรับก๊าซเรือนกระจกที่สามารถลดได้และผ่าน
การรับรองแล้ว

• การซื้อขายก๊าซเรือนกระจก (Emission Trading: ET) เป็นกลไกตามมาตรา 17 ที่เป็น
การซื้อขายใบอนุญาตในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ประเทศในกลุ่มภาคผนวกที่ I
ได้รับ โดยใบอนุญาตนี้เรียกว่า Assigned Amount Unit (AAU)



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.19.192 พุธ, 12/3/2551 เวลา : 15:27  IP : 202.91.19.192   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 22592

คำตอบที่ 8
       พิธีสารเกียวโต มาตรา 12

1. กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism: CDM) ถูกกำหนดโดยนัยนี้

2. CDM มีวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยเหลือภาคีที่ไม่รวมอยู่ในภาคผนวก I ให้สามารถบรรลุถึง
การพัฒนาที่ยั่งยืน (sustainable development) และให้มีส่วนสนับสนุนวัตถุประสงค์
สูงสุดของอนุสัญญา และเพื่อช่วยเหลือภาคีที่มีชื่อรวมอยู่ในภาคผนวก I ให้สามารถ
ปฏิบัติพันธกรณีเกี่ยวกับการจำกัดและการลดการปล่อยตามปริมาณที่กำหนด ภายใต้ข้อ
ที่ 3 ได้อย่างสอดคล้อง

3. ภายใต้ CDM

• ภาคีที่ไม่รวมอยู่ในภาคผนวก I จะได้ประโยชน์จากการดำเนินกิจกรรม
โครงการ (Project activities) อันเป็นผลจากการลดการปล่อยก๊าซที่ได้ผ่านการ
รับรองแล้ว (Certified Emission Reductions)

• ภาคีที่มีชื่อรวมอยู่ในภาคผนวก I อาจนำการลดการปล่อยก๊าซซึ่งผ่านการรับรอง
แล้วที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมโครงการดังกล่าวไปใช้ เพื่อให้สอดคล้องกับส่วน
หนึ่งของพันธกรณีในการจำกัดและการลดการปล่อยตามปริมาณที่กำหนด
ภายใต้ข้อที่ 3 ตามการพิจารณาของที่ประชุมภาคีในฐานะที่เป็นการประชุมของ
ภาคีตามพิธีสารนี้ได้

4. CDM จะเป็นเช่นไรให้ขึ้นอยู่กับอำนาจและแนวปฎิบัติของที่ประชุมภาคีในฐานะที่เป็น
การประชุมของภาคีตามพิธีสารนี้ และโดยให้คณะกรรมการบริหาร (Executive Board)
ของ CDM เป็นผู้กำกับดูแล

5. การลดการปล่อยก๊าซที่เป็นผลจากแต่ละกิจกรรมโครงการ ต้องได้รับการรับรองจาก
หน่วยงานปฏิบัติงาน (Operational Entities) ที่ประชุมภาคีในฐานะที่เป็นการประชุม
ของภาคีตามพิธีสารนี้ ได้มอบหมายบนพื้นฐานของ

• การมีส่วนร่วมโดยสมัครใจ ตามที่แต่ละภาคีที่เกี่ยวข้องเห็นชอบ
• ผลประโยชน์ในระยะยาวที่แท้จริงและที่สามารถวัดได้ ที่เกี่ยวข้องกับการ
บรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
• การลดการปล่อยก๊าซที่ในส่วนเพิ่มเติมจากที่จะเกิดขึ้นในกรณีที่ไม่มีกิจกรรม
โครงการที่ผ่านการรับรองแล้ว

6. CDM ต้องช่วยเหลือในการจัดการจัดหาเงินทุนในการดำเนินกิจกรรมโครงการที่ผ่าน
การรับรองแล้วตามความจำเป็น

7. ในการประชุมสมัยแรก ที่ประชุมภาคีในฐานะที่เป็นการประชุมของภาคีตามพิธิสารนี้
ต้องจัดทำรูปแบบและวิธีการปฏิบัติอย่างละเอียดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้เกิดความ
โปร่งใส (transparency) ประสิทธิภาพ (efficiency) และความรับผิดชอบ (accountability)
โดยการตรวจสอบอย่างอิสระ (independent audition) และการตรวจทานความถูกต้อง
(verification) ของกิจกรรมโครงการ

8. ที่ประชุมภาคีในฐานะที่เป็นการประชุมของภาคีตามพิธีสารนี้ ต้องทำให้แน่ใจว่าเงิน
ส่วนแบ่ง (share) ที่ได้มาจากการดำเนินกิจกรรมโครงการที่ผ่านการรับรองแล้ว
ถูกนำไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายทางด้านบริหาร และนำไปช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาซึ่งมี
ความอ่อนไหวเป็นพิเศษที่จะได้รับผลกระทบในเชิงลบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพ
ภูมิอากาศ เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการปรับตัวให้เข้ากับสภาวะที่เป็นอยู่ (costs of adaptation)

9. การเข้าไปมีส่วนร่วมภายใต้กลไก CDM รวมทั้งในกิจกรรมที่กล่าวในย่อหน้าที่ 3
ข้างต้น และการเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดหาเพื่อให้ได้มาซึ่งการลดการปล่อยก๊าซซึ่ง
ผ่านการรับรองแล้ว อาจเกี่ยวข้องกับองค์กรเอกชน และ/หรือ องค์กรของรัฐ และขึ้นอยู่
กับแนวปฏิบัติใด ๆ ที่คณะกรรมการบริหารของ CDM อาจจัดหามา

10. การลดการปล่อยก๊าซซึ่งผ่านการรับรองแล้ว ที่ได้มาในระหว่างปี พ.ศ. 2543 (ค.ศ.
2000) จนถึงจุดเริ่มต้นของช่วงเวลาดำเนินการตามพันธกรณีช่วงแรก สามารถนำไปใช้
เพื่อช่วยให้เกิดการดำเนินการที่สอดคล้อง (compliance) ในช่วงระยะเวลาตาม
พันธกรณีช่วงแรกได้




กลไกการพัฒนาที่สะอาด จึงเป็นกลไกที่ทำให้เกิดความร่วมมือกันระหว่างประเทศใน
ภาคผนวกที่ I กับประเทศนอกภาคผนวกที่ I ด้วยความสมัครใจของทั้งสองฝ่าย โดย
ประเทศในภาคผนวกที่ I สามารถนำปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้จากโครงการที่
ดำเนินการร่วมกับประเทศนอกภาคผนวกที่ I ไปคิดเป็นปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือน
กระจกของประเทศของตน เพื่อให้บรรลุถึงพันธกรณีที่กำหนดไว้ในอนุสัญญาฯ ส่วน
ประเทศนอกภาคผนวกที่ I ก็ได้รับการสนับสนุนปัจจัยด้านต่างๆ ในการพัฒนาประเทศ
อย่างยั่งยืน ดังนั้น กลไกการพัฒนาที่สะอาดจึงเปรียบเสมือนแรงจูงใจให้ประเทศนอก
ภาคผนวกที่ I ปรับเปลี่ยนมาใช้เทคโนโลยีสะอาดเพิ่มมากขึ้น อันจะส่งผลให้การปล่อยก๊าซ
เรือนกระจกลดลง โดยแรงจูงใจที่กล่าวถึงคือ Certified Emission Reductions (CERs) หรือ
ที่เรียกกันทั่วไปว่า คาร์บอนเครดิต ที่ผู้ดำเนินโครงการจะได้รับ และสามารถนำไปขาย
ให้กับประเทศในภาคผนวกที่ I ได้

หมายเหตุ

ภายใต้อนุสัญญาฯ ได้มีการแบ่งประเทศภาคีออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ ประเทศในกลุ่ม
ภาคผนวกที่ I และประเทศนอกกลุ่มภาคผนวกที่ I

ประเทศในภาคผนวกที่ I คือประเทศประเทศภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
แต่มีบางประเทศที่อยู่ในกลุ่มนี้ที่ไม่ร่วมในพิธีสารเกียวโต เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย
เบลารุส โครเอเชีย มอนาโค



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.19.192 พุธ, 12/3/2551 เวลา : 15:59  IP : 202.91.19.192   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 22593

คำตอบที่ 9
       พอดีว่าบ้านอยู่แถวป่ามัน ห่างไกลความเจริญ ข้อมูลบางอย่างอาจจะคลาดเคลื่อนไปบ้าง
แต่โดยเนื้อหารวม ยังน่าจะพอถูกต้องอยู่บ้าง เล่ามาเสียยืดยาว ก็พอสรุปได้ว่า
ประเทศที่เจริญแล้วเป็นประเทศอุตสาหกรรม ผลิตก๊าซเรือนกระจกออกมามาก ก่อให้เกิดวิกฤติทางสภาพอากาศ ดังนั้นจึงมีโควต้าว่าจะปล่อยได้เท่าไหร่ในแต่ละปี ถ้าเกินก็จะต้องโดนปรับ ดังนั้นจึงสร้างกลไกมีแรงจูงใจให้ประเทศด้อยพัฒนาอย่างประเทศสารขัณฑ์ปล่อยออกมาน้อย ๆ หรือ สร้างพลังงานหมุนเวียน หรือ วิธีการในการกำจัดก๊าซเรือนกระจกเหล่านี้
แล้วเขาก็จ่ายเงินซื้อ เพื่อเอาไปหักลบกับโควต้าที่เขาปลดปล่อยออกมาเกิน

ถ้าโลกร้อนประเทศที่ได้รับผลกระทบหนักก่อนใครคือยุโรป ต่อไปอาจจะมีมาตรการกีดกันทางการค้าเกิดขึ้นกับประเทศที่ไม่ร่วมมือ หรือ กับ บริษัทที่ไม่ช่วยรักษาสภาพแวดล้อม

ตอนนี้พอแค่นี้ก่อน ว่าง ๆ จะมาเล่าให้ฟังต่อครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.19.192 พุธ, 12/3/2551 เวลา : 16:09  IP : 202.91.19.192   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 22595

คำตอบที่ 10
       เรื่อง carbon credit ไม่ใช่เรื่องไกลตัวนะครับ มันใกล้ตัวขึ้นมาทุกทีจนกลายเป็นชีวิตประจำวันไปโดยไม่รู้ตัวแล้ว

ราคาสินค้าจะถูกแพงอย่างไร คาร์บอนเครดิตเป็นตัววัดทั้งนั้นแม้กระทั้งราคาเนื้อและนม

อย่าคิดนะครับว่าสินค้าเกษตรมันจะไม่เกี่ยว เลี้ยงวัวเอานมก็มีตัวนี้โดยตดวัวและขี้วัวก็มีมีเทนเกิดขึ้นมาแล้วซึ่งก็โดนนับรวมเข้ากับเรื่องนี้ด้วยว่าจะควบคุมปริมาณมีเทนจากตดวัวและขี้วัวอย่างไร ไม่ใช่เรื่องตลกครับ เลี้ยงหมูก็ใมีขี้หมูที่เกิดมีเทนเหมือนกัน

ในยุโรปเวลานี้จะซื้อรถสักคันก็มีค่า CO2 Reject ออกมาให้เลือกซื้อ มันคือราคารถที่จะถูกหรือแพง ภาษีรถจะแพงเท่าไรตามค่าที่รถคันนั้นจะผลิต CO2 ออกมา

เห็นหรือเปล่าว่ามันใกล้ตัว และกำลังคืบคลานเข้ามาใกล้กระเป๋าเงินเราเงียบๆ ผมเชื่อว่าเวลานี้มันเข้าเขมือบเงินในกระเป๋าเราบางส่วนแล้วโดยไม่รู้ตัว





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.175.223 พุธ, 12/3/2551 เวลา : 19:40  IP : 125.24.175.223   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 22606

คำตอบที่ 11
       อีกหนึ่งกระทู้คุณภาพ จากคนคุณภาพ " หนุ่มกระโทก" ครับ





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

kupree จาก kupree พุธ, 12/3/2551 เวลา : 19:49  IP :   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 22608

คำตอบที่ 12
       ผมเอาเรื่องของรถมาให้อ่านกันว่า carbon credit มันใกล้ตัวแค่ไหน ผลิต ซื้อ ขาย รถใหม่มันเข้ามาเกี่ยวข้องแล้ว ผมเอามาให้อ่านกันแบบเนื้อๆไม่แปลให้ อ่านกันเองครับผมเชื่อว่าพวกเราบ้านหลังนี้คุณภาพแต่ละคนสูงพอตัว ไม่มีคนอ่านภาษษอังกฤษไม่แตก


VW will bring five new low-CO2 BlueMotion models to Frankfurt

By the time all the official announcements are made at the Frankfurt Motor Show (IAA), will there be any surprises for us? I'm sure there will be, but considering all of the pre-show releases we're getting from Ford, GM, Ford again, and others, that list will be a short one. Now, it's a little bit shorter.

VW is letting us know about additions to its low-CO2 model lineup that are coming to the show, including BlueMotion versions of the Touran, the Jetta, the Golf Variant wagon, the Golf Plus and the Caddy/Life, according to Automotive News Europe (subs req'd), These new BlueMotion vehicles will be on the market early next year, except for the Touran BlueMotion, which is coming in April.




 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.175.223 พุธ, 12/3/2551 เวลา : 19:51  IP : 125.24.175.223   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 22609

คำตอบที่ 13
       และเราได้เห็นสิ่งที่ไม่น่าเชื่ออีกแล้วว่า พอร์เช่ จับไข่กับ โฟล์ค เพื่อลดค่า CO2 ในรถของตัวเอง

ถ้าไม่ลดรถซูเปอร์คาร์แบบพอร์เช่ก็อย่าหวังว่าจะมีชีวิตต่อไปได้ โดน EU กระหน่ำแบนติดพื้นแน่นอน

ขอไม่แปลนะครับ ไม่มีเวลาพิมพ์ภาษาไทยตอนสมองวิ่งฉิวจริงๆ


Porsche + VW = -CO2

Obviously there are many historical and recent VW and Porsche connections (e.g. platform sharing on the Touareg/Cayenne) but are Porsche’s intentions transparent? It could be speculated that Porsche seeks - ostensibly - to ‘own’ a wider automotive group to enable sharing of innovation, manufacturing and distribution.

However, is this move really more about offsetting Porsche’s CO2 emissions in the short term? And to ensure its future is not limited to high-performance cars that are being subjected to more and more stringent environmental regulations?

The European Commission has outlined plans to reduce the average CO2 emitted per car per kilometer to 130g by 2012, down from 160g today. Porsche will need an average cut of about 138g per car to meet this. The Commission proposed financial penalties for manufacturers who cannot meet the regulations. The fines could be as high as €95 per gram per car by 2016. Which could add thousands of Euro to the average cost of a Porsche 911.

Is Porsche more interested in CO2 emissions and derivative trading (see earlier article) than staying true to its promise of building high quality powerful sports cars? Time is ticking







 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.175.223 พุธ, 12/3/2551 เวลา : 20:05  IP : 125.24.175.223   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 22613

คำตอบที่ 14
       The fines could be as high as €95 per gram per car by 2016. Which could add thousands of Euro to the average cost of a Porsche 911.

ประโยคนี้คงจะเริ่มเห็นภาพแล้วนะครับว่ามันสะเทือนราคารถ สะเทือนถึงภาษีรายปีและค่าประกันภัยด้วย

ค่าปรับจะเท่ากับ 95 ยูโรต่อกรัมต่อต่อคัน ดังนั้นราคา พอร์เช่ 911 จะมีราคาสูงขึ้นอีกหลายพันยูโร ดังนั้นต้องไปดูดปากกับ VW เพื่อเอาเท็กโนโลยีมาลดค่า CO2 ของพอร์เช่เองที่ไม่มีความรู้พอ


เห็นหรือเปล่าว่ามันเขมือบเงินในกระเป๋าเราเงียบๆไม่รู้ตัว อย่านึกว่าไม่ซื้อรถแล้วจะรอดนะครับ

ซื้อนมให้ลูกกินก็เสียค่าตดวัวขี้วัว ซื้อปูนซื้อเหล็กมาสร้างบ้านก็ต้องมีค่าบวกในการผลิตครับ ดังนั้นเราจะพ้นมันไปได้อย่างไร ต้องรอให้ หนุ่มกระโทก มาเฉลยภาคสอง carbon credit เกี่ยวกับการลดค่า CO2 ในการผลิต



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.175.223 พุธ, 12/3/2551 เวลา : 20:19  IP : 125.24.175.223   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 22614

คำตอบที่ 15
       ได้ยินว่าจะมีการซื้อ - ขาย CO2 เครดิตกันด้วยนะครับ ประเทศไหนใช้เกินโควต้า จะต้องไปหาซื้อจากประเทศที่ยังใช้ไม่ถึงโควต้า ที่สำคัญไอ้กันกะจีนไม่ยอมลงนามในพิธีสารเกียวโต เพราะมันใช้กันกระหน่ำอันนี้จริงหรือป่าวครับ พี่หนุ่มกระโทก และท่าน อ.วอน



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก ปาฝึกหัด 202.44.7.70 พฤหัสบดี, 13/3/2551 เวลา : 10:38  IP : 202.44.7.70   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 22633

คำตอบที่ 16
       ถูกต้องครับ มีการซื้อขาย

ปัจจุบัน ณ วันนี้เมืองไทย ขายได้อยู่ 3 บริษัทคือที่
1 โคราช โรงมันสงวนวงศ์ บ.โคราช เวสทู อีเนอยี่ ขายให้ สหราชอาณาจักร ปีละ สามแสนตัน
2 พิจิตร ไฟฟ้าพลังแกลบ AT Bio Power ขนาด 22 MW ประเทศที่ซื้อคือญี่ปุ่น ปีละ เจ็ดหมื่นตัน
3 ขอนแก่น โรงงาน ขอนแก่น ชูกา พาวเวอร์แพลนท์
ใช้กากอ้อย เศษไม้ มาผลิตไฟฟ้า ขายให้ สหราชอาณาจักรปีละ หกหมื่นตัน

จะมีของ ทักษิณปาล์ม ที่สุราษฏร์ และ อีกหลาย ๆ ที่ ที่ใกล้จะขายได้แล้ว

ส่วนจีน ไม่เข้าข่ายครับ ยังไม่มีโควต้า ยังเป็นประเทศที่ขายคาร์บอนเครดิตมากที่สุดอยู่ครับ

ลุงแซมเราเป็นประเทศที่ใช้ทรัพยากรโลกเปลืองที่สุดในโลก



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.19.205 พฤหัสบดี, 13/3/2551 เวลา : 10:55  IP : 202.91.19.205   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 22635

คำตอบที่ 17
       อยากขาย"คาร์บอนเครดิต" ต้องทำอย่างไร

ต้องเป็นโครงการเกี่ยวข้องกับนโยบายช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เช่น ผลิตพลังงานทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิง แปลงขยะเป็นพลังงาน พัฒนาประสิทธิภาพการคมนาคม ลดมลพิษสิ่งแวดล้อม ฯลฯ ที่เรียกกันว่า โครงการซีดีเอ็ม หรือ โครงการกลไกการพัฒนาที่สะอาด(Clean Development Mechanism : CDM)

โครงการซีดีเอ็ม สร้างขึ้นโดยพิธีสารเกียวโต เพื่อช่วยให้ประเทศพัฒนาแล้ว สามารถไปลงทุนโครงการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในประเทศกำลังพัฒนา เช่น โครงการสร้างโรงไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพในฟาร์มเลี้ยงหมู ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของโครงการซีดีเอ็ม

เจ้าของโครงการประเภทกลไกการพัฒนาที่สะอาดหรือโครงการซีดีเอ็มนั้นก่อนจะตกลงซื้อขายคาร์บอนเครดิตต้องมีการขอใบรับรอง CERs (Certified Emission Reductions) จากสหประชาชาติก่อนทั้งนี้เจ้าของกรรมสิทธิ์ CERs อาจมีทั้งโรงงานไฟฟ้าเอกชน ฟาร์มหมู โครงการปลูกป่า ซึ่งเป็นตัวเจ้าของโครงการไม่ใช่รัฐบาล นอกจากรัฐบาลจะเป็นเจ้าของโครงการเอง

ขั้นตอนสำคัญในการขอใบรับรองCERs คือ

1.ยื่นโครงการลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกไปที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

2.เสนอโครงการให้คณะรัฐมนตรีพิจารณา

3.ส่งเอกสารให้สหประชาชาติรับรองเพื่อออก CERs

ขณะนี้"บริษัทบริการสิ่งแวดล้อม" (Environmetal Service) กำลังเป็นธุรกิจใหม่ที่ต่างชาติทยอยเปิดในเมืองไทย เพื่อช่วยบริษัทหรือเจ้าของโรงงานที่ต้องการเป็นโครงการซีดีเอ็ม เช่น แนะนำขั้นตอนทำเอกสารขอ "CERs" หรือช่วยเป็นที่ปรึกษาการซื้อขายคาร์บอนเครดิตเช่น ให้คำปรึกษาการออกแบบโครงการ ธุรกิจตรวจประเมินและรับรองโครงการ ธุรกิจตัวกลางซื้อขายกับต่างประเทศ ฯลฯ
ที่มา คม ชัด ลึก



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก โชค 203.147.39.161 พฤหัสบดี, 13/3/2551 เวลา : 13:06  IP : 203.147.39.161   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 22647

คำตอบที่ 18
       หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการดำเนินโครงการ CDM

• ต้องเป็นโครงการที่เกิดขึ้นโดยความสมัครใจ

• ประเทศที่ร่วมโครงการจะต้องให้สัตยาบันต่อพิธีสารเกียวโต และต้องจัดตั้งองค์กร
กำกับดูแลการดำเนินงานตามกลไกการพัฒนาที่สะอาด (Designated National
Authority: DNA) (แน่นอนตอนนี้ประเทศไทยได้เข้าเงื่อนไขนี้แล้ว)

• โครงการที่ดำเนินการจะต้องมีส่วนช่วยในการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศเจ้าบ้าน

• หากมีเงินช่วยเหลือโครงการจากประเทศในกลุ่มภาคผนวกที่ I จะต้องไม่ใช่เงิน
ช่วยเหลือที่เพื่อการพัฒนาอย่างเป็นทางการ

• ต้องมีการสอบถามความคิดเห็นจากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการ และต้องดำเนินการ
วิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (ประชาพิจารณ์ไงล่ะ)

• การลดก๊าซเรือนกระจกที่เกิดขึ้น จะต้องเป็นการดำเนินโครงการเพิ่มเติมจากการ
ดำเนินงานตามปกติในด้านการเงิน (Financial additionality) การลงทุน (Investment
additionality) การถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology additionality) และด้าน
สิ่งแวดล้อม (Environmental additionality)

• กระบวนการต่างๆ ในการดำเนินโครงการจะต้องมีความโปร่งใส มีประสิทธิภาพ และมี
ความรับผิดชอบ โดยการผ่านการตรวจสอบและการพิสูจน์อย่างเป็นอิสระ


โครงการออก CDM แบ่งออกเป็น เป็น 3 ประเภท ได้แก่

• โครงการ CDM ทั่วไป แบ่งออกเป็น 15 ประเภท
1. อุตสาหกรรมด้านพลังงาน
2. อุตสาหกรรมการจำหน่ายพลังงาน
3. การใช้พลังงาน
4. อุตสาหกรรมการผลิต
5. อุตสาหกรรมเคมี
6. การก่อสร้าง
7. การขนส่ง
8. การทำเหมืองแร่และการถลุงแร่
9. การผลิตโลหะ
10. การรั่วไหลของก๊าซเรือนกระจกจากเชื้อเพลิง
11. การรั่วไหลของก๊าซเรือนกระจกจากกระบวนการผลิตและการใช้ halocarbons และ
sulphur hexafluoride
12. การใช้สารละลาย
13. การจัดการของเสีย
14. การปลูกป่า และการฟื้นฟูป่า
15. การเกษตร

• โครงการ CDM ด้านป่าไม้
คำจำกัดความของคำว่า "ป่า" คือพื้นที่ที่มีขนาดขั้นต่ำตั้งแต่ 0.05-1.0 เฮกเตอร์ (500-10,000 ตารางเมตร)
โดยมีต้นไม้ปกคลุม (crown cover) มากกว่า ร้อยละ 10-30 โดยต้นไม้เหล่านี้ต้องมีศักยภาพที่จะเติบโต
และมีความสูงไม่น้อยกว่า 2- 5 เมตร

ข้อนี้ยังถกเถียงกันเพราะว่าป่าชายเลนของไทยไม่เข้าเนื่องจากความสูงของต้นไม่ไม่ถึง ไม่เข้าหลักเกณฑ์ของหสประชาชาติ
กิจกรรมด้านป่าไม้ จำกัดอยู่สองข้อคือ การปลูกป่า และการฟื้นฟูป่า
1 การปลูกป่า (Afforestation) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ที่ดินที่กระทำโดย
มนุษย์ จากพื้นที่ที่ไม่เคยเป็นป่ามาก่อนในระยะเวลา 50 ปี ให้กลายเป็นป่า โดยการปลูก
หว่านเมล็ด หรือการส่งเสริมให้เกิดการขยายพันธุ์ตามธรรมชาติ

2 การฟื้นฟูป่า (Reforestation) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงสภาพการใช้ที่ดินที่กระทำโดย
มนุษย์ จากพื้นที่ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นป่าแต่ถูกแปลงสภาพให้ไปใช้ประโยชน์อื่น ให้กลับ
กลายเป็นป่าอีกครั้ง โดยการปลูก หว่านเมล็ด หรือการส่งเสริมให้เกิดการขยายพันธุ์ตาม
ธรรมชาติ โดยในช่วงพันธกรณีแรก จะจำกัดอยู่เฉพาะโครงการที่เกิดขึ้นบนพื้นที่ที่ไม่
เป็นป่า ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2532

โดยในการคิดช่วงเวลาเพื่อหาคาร์บอนเครดิต จะเริ่มนับจากวันเริ่มต้นกิจกรรมปลูกป่าหรือฟื้นฟูป่า


• โครงการ CDM ขนาดเล็ก



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.19.205 พฤหัสบดี, 13/3/2551 เวลา : 20:46  IP : 202.91.19.205   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 22687

คำตอบที่ 19
       โครงการ CDM ขนาดเล็ก

โครงการ CDM ขนาดเล็ก เป็นโครงการที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
และช่วยร่นระยะเวลาในการขอขึ้นทะเบียน เนื่องจากมีขั้นตอนที่ง่ายและกระชับขึ้น
โดยกิจกรรมที่สามารถเข้าร่วมเป็นโครงการชนิดนี้ แบ่งออกเป็น 4 ลักษณะได้แก่

• โครงการพลังงานหมุนเวียน ที่มีกำลังการผลิตสูงสุดไม่เกิน 15 MWe

• โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ที่สามารถลดการใช้พลังงานได้ไม่เกิน15 GWh ต่อปี
(ข้อนี้ต้องถามป๋า ETHAN ของเรา เพราะว่า ซิเมนต์ไทย กำลังขอขึ้นทะเบียนอยู่หลายโครงการ)

• โครงการอื่นๆ ที่สามารถลดปริมาณการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากกิจกรรมของ
มนุษย์ โดยโครงการดังกล่าวมีการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกไม่เกิน 15,000 ตัน CO2

• โครงการปลูกป่าและการฟื้นฟูสภาพป่าขนาดเล็ก ที่มีการดูดซับก๊าซเรือนกระจกไม่เกิน
8,000 ตัน CO2 ต่อปี หากมีการดูดซับเกินกว่านี้ ส่วนที่เกินจะไม่ถูกนับเป็นคาร์บอนเครดิต


โครงการที่เข้าข่ายโครงการ CDM ขนาดเล็ก จะได้รับสิทธิพิเศษ ดังนี้

• ใช้เอกสารประกอบโครงการที่ปรับให้ง่ายขึ้น

• วิธีการคำนวณการลดก๊าซเรือนกระจกและวิธีการในการติดตามตรวจสอบปริมาณการลดก๊าซเรือนกระจกที่ง่ายขึ้น

• สามารถควบรวมหลายโครงการเข้าด้วยกัน (bundling) หรือ แบบต่อเนื่อง ( Programmatic )
แบบ Bundle โครงการจะต้องเกิดในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกัน แต่แบบ Programmatic เกิดในระยะเวลาที่ห่างกันได้หลายปี
คือเกิดต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ

• ได้รับการผ่อนปรนเรื่องการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

• ค่าธรรมเนียมในการขึ้นทะเบียนต่ำกว่าโครงการทั่วไป

• ระยะเวลาในการพิจารณาโครงการเพื่อขึ้นทะเบียนสั้นกว่า

• สามารถใช้หน่วยงานปฏิบัติการในที่ได้รับหมอบหมายรายเดียวกันในการตรวจสอบเอกสารประกอบโครงการ (validation)
และการยืนยันการลดก๊าซเรือนกระจก(verification)



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.19.205 พฤหัสบดี, 13/3/2551 เวลา : 21:15  IP : 202.91.19.205   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 22689

คำตอบที่ 20
       ขั้นตอนในการดำเนินโครงการ CDM

1. การออกแบบโครงการ (Project Design) ผู้ดำเนินโครงการจะต้องออกแบบลักษณะ
ของโครงการและจัดทำเอกสารประกอบโครงการ (Project Design Document:PDD)
โดยมีการกำหนดขอบเขตของโครงการ วิธีการคำนวณการลดก๊าซเรือนกระจก
วิธีการในการติดตามผลการลดก๊าซเรือนกระจก การวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

2. การตรวจสอบเอกสารประกอบโครงการ (Validation) ผู้ดำเนินโครงการจะต้องว่าจ้างหน่วยงานกลาง
ที่ได้รับมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่แทนคณะกรรมการบริหารฯ หรือที่เรียกว่า Designated Operational Entity (DOE)
ในการตรวจสอบเอกสารประกอบโครงการ ว่าเป็นไปตามข้อกำหนดต่างๆ หรือไม่
ซึ่งรวมถึงการได้รับความเห็นชอบในการดำเนินโครงการจากประเทศเจ้าบ้านด้วย

3. การขึ้นทะเบียนโครงการ (Registration) เมื่อ DOE ได้ทำการตรวจสอบเอกสาร
ประกอบโครงการและลงความเห็นว่าผ่านข้อกำหนดต่างๆ ครบถ้วน จะส่งรายงาน
ไปยังคณะกรรมการบริหารกลไกการพัฒนาที่สะอาด (EB) เพื่อขอขึ้นทะเบียนโครงการ

4. การติดตามการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Monitoring) เมื่อโครงการได้รับการ
ขึ้นทะเบียนเป็นโครงการ CDM แล้ว ผู้ดำเนินโครงการจึงดำเนินโครงการตามที่
เสนอไว้ในเอกสารประกอบโครงการ และทำการติดตามการลดการปล่อยก๊าซเรือน
กระจก ตามที่ได้เสนอไว้เช่นกัน

5. การยืนยันการลดก๊าซเรือนกระจก (Verification) ผู้ดำเนินโครงการจะต้องว่าจ้างหน่วยงาน DOE
ให้ทำการตรวจสอบและยืนยันการติดตามการลดก๊าซเรือนกระจก

6. การรับรองการลดก๊าซเรือนกระจก (Certification) เมื่อหน่วยงาน DOE ได้ทำการตรวจสอบ
การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแล้ว จะทำรายงานรับรองปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ที่ดำเนินการได้จริงต่อคณะกรรมการบริหารฯ เพื่อขออนุมัติให้ออกหนังสือรับรองปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ หรือ CER
ให้ผู้ดำเนินโครงการ

7. การออกใบรับรองปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Issuance of CER)
เมื่อคณะกรรมการบริหารฯ ได้รับรายงานรับรองการลดก๊าซเรือนกระจก
จะได้พิจารณาออกหนังสือรับรองปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ลดได้ หรือ CER
ให้ผู้ดำเนินโครงการต่อไป

ทั้งนี้ หน่วยงานกลาง (DOE) ที่ทำหน้าที่ในการการตรวจสอบเอกสารประกอบโครงการ
(Validation) และการยืนยันการลดก๊าซเรือนกระจก (Verification) นั้น จะต้องเป็นหน่วยงาน
คนละหน่วยงานกัน

เห็นหรือยังครับว่ามันไม่หมูแบบที่ นสพ.ลงข่าว
บริษัทของไทยที่รับเขียน PDD เท่าที่ทราบยังไม่มี แต่ทราบมีมีความพยายามที่จะทำกัน
และทั้งเจ็ดขั้นตอนนี้ต้องเสียค่าใช้จ่ายประมาณ ???? ลองทายกันดู


























สิบล้านครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.19.205 พฤหัสบดี, 13/3/2551 เวลา : 21:30  IP : 202.91.19.205   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 22690

คำตอบที่ 21
      



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

yakusa จาก Sak YaKuSa 125.24.218.118 พฤหัสบดี, 13/3/2551 เวลา : 21:40  IP : 125.24.218.118   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 22693

คำตอบที่ 22
       ถึงกะเมาเลยเร๊อะคุณศักดิ์

ขั้นตอนทั้งหมดใช้เวลาอย่างเร็วประมาณ 1 ปีครับ

Kyoto Protocol จะหมดอายุปี 2012 ดังนั้นถ้าเริ่มตอนนี้
กว่าจะเสร็จ กว่าจะ verify ก็คงเหลือขายได้แค่สองปี

อนาคตยังไม่แน่นอน แต่มีแนวโน้มว่า ยังขายได้





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.19.205 พฤหัสบดี, 13/3/2551 เวลา : 21:49  IP : 202.91.19.205   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 22695

คำตอบที่ 23
       มันใกล้ตัวกว่าที่คิดมาก เราไปลงนามไว้แล้ว ก็ต้องทำตาม ต่อไปเลี้ยงหมูเกินกว่าสิบตัวก็ต้องเข้าระบบ อุตสาหกรรมไม้และกระดาษก็ต้องเข้าระบบ เลี้ยงวัวก็เข้าระบบ แม้แต่ปลูกข้าวก็ไม่เว้นเพราะมันให้ก๊าซเรือนกระจกจำนวนไม่น้อย


อ่านไว้เถอะ มันยากก็ต้องอ่าน เจอกันแน่ในชีวิตนี้ มันจะเป็นภาษีอีกตัวที่มนุษย์ทุกคนบนโลกต้องจ่ายในผลกรรมของตัวเองที่ทำไว้กับโลกใบนี้ในตลอดยุคอุตสาหกรรมที่ดำเนินมากว่าร้อยปี



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.25.238.171 ศุกร์, 14/3/2551 เวลา : 00:02  IP : 125.25.238.171   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 22712

คำตอบที่ 24
       พี่คับ
มีประเทศไรบ้างงับที่เข้าร่วมทั้งหมดอ่า
แล้วไทยอยู่ในกลุ่มไหนบอกผมทีงับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก *0* 118.173.251.53 จันทร์, 2/6/2551 เวลา : 15:36  IP : 118.173.251.53   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 27231

คำตอบที่ 25
       พิธีสารเกียวโต แบ่งกลุ่มภายใต้อนุสัญญา ฯ 191 ประเทศ

กลุ่มที่ 1 (Annex 1) ประเทศพัฒนาแล้ว 41 ประเทศ
มีพันธะกรณีในการลด 5% ของปี 1990 ในระหว่างปี 2008-2012

กลุ่มที่ 2 ( Non-Annex 1 ) ไม่มีพันธะกรณีในการลด เป็นประเทศกำลังพัฒนา 150 ประเทศ

ผมขี้เกียจพิมพ์ เอารูปไปดูเลยดีกว่า แต่เอียงคอหน่อยแล้วกัน
เพราะว่าเครี่องนี้โปรแกรมยังติดตั้งไม่สมบูรณ์

อย่าลืมอ่านหมายเหตุด้วยนะครับ





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.19.192 จันทร์, 2/6/2551 เวลา : 16:16  IP : 202.91.19.192   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 27240

คำตอบที่ 26
       อยากโตเป็คนที่มีคุณภาพอย่าง อ.วอนและพี่หนุ่มจังเลย




 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก ติ๊ก 124.120.82.43 อังคาร, 3/6/2551 เวลา : 12:12  IP : 124.120.82.43   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 27269

คำตอบที่ 27
       โครงการ ตั้งโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงชีวมวล 3 mw. ร่วมกับ ต้นตะกู พันธุ์ก้านแดง 4,000 ไร่ ลดภาวะโลกร้อน

ขายคาร์บอนเครดิต 10 ยูโร/ตัน

Sell BioMass Power Plant 3 MW. & TaGoo 4,000 rai Project. Carbon Sequestration

Sell Carbon Credit 10 EURO/Ton

For more details:

http://www.bioenergypowerplant.igetweb.com

Email: biomass.energy@hotmail.com

Mr.Vorapat Tel: 086 789 8845



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก kunvorapat 58.9.97.70 อาทิตย์, 8/6/2551 เวลา : 10:50  IP : 58.9.97.70   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 27539

คำตอบที่ 28
       ขอบคุณครับพี่หนุ่ม



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

cotto จาก cotto 203.130.145.67 จันทร์, 9/6/2551 เวลา : 07:34  IP : 203.130.145.67   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 27563

คำตอบที่ 29
       ข่าววันนี้http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9510000066554



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

dr.sak จาก dr.sak 117.47.0.238 พฤหัสบดี, 12/6/2551 เวลา : 17:35  IP : 117.47.0.238   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 27735

คำตอบที่ 30
       ขอบคุณทุกข้อมูลนะค่ะ
พอดีกำลังจะทำสัมมนาเรื่องนี้อยู่เลย
ข้อมูลละเอียดดีมากเลยค่ะ
ปล. ขอบคุณพี่ที่ตั้งกระทู้มากๆเลยนะค่ะ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก ปิ่น 114.128.115.194 จันทร์, 10/8/2552 เวลา : 11:00  IP : 114.128.115.194   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 44870

      

ยังมีคำตอบมากกว่านี้นะครับ คลิ๊กเพื่อดูหน้าถัดไป


คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  2  



website รองรับการใช้งานทุกระบบปฏิบัติการของ PC Tablet SmartPhone ทุกระบบสามารถโพสข้อความและรูปภาพได้โดยไม่ต้องย่อไฟล์
เพื่อความปลอดภัยในการใช้ website WeekendHobby.Com สมาชิก เท่านั้น จึงจะตั้งกระทู้ หรือ ตอบกระทู้ได้ครับ
Login Click ที่นี่
สมัครสมาชิก Click ที่นี่



Since 22, Feb 2001 hit counter View My Stats  Truehits.net      วันพฤหัสบดี,28 มีนาคม 2567 (Online 2522 คน)