WeekendHobby.com
เครื่องมือในการใช้งาน website =>> สมัครสมาชิก | Login | Logout | เปลี่ยนไอคอนส่วนตัว | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อโฆษณา         View stat by Truehits.net


คันเร่งไฟฟ้า

จาก สุวรรณภูมิ
IP:202.57.170.13

พฤหัสบดีที่ , 7/6/2550
เวลา : 16:13

อ่านแล้ว = ครั้ง
 เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งตรวจสอบกระทู้
 แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน ส่งหาเพื่อน

       รบกวนสอบถามผู้รู้ครับ ว่าคันเร่งไฟฟ้าของรถยนต์ในปัจจุบัน มีหลักการทำงานอย่างไร
ใช้อะไร เป็นตัวกำหนดค่าส่งไป ขอบคุณครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

แจ้งเพื่อเก็บขึ้นกระทู้พิเศษ คลิ๊กที่นี่แจ้งเพื่อนำขึ้นกระทู้พิเศษ

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  

คำตอบที่ 1
       มันจะทำหน้าที่เป็นเหมือนตัว Volume ที่อยู่ในเครื่องขยายเสียงครับ จะจ่ายไฟฟ้าแรงดันคงที่ให้กับตัวต้านทานปรับค่าได้ และขากลางจะเลื่อนได้เพื่อเลือกค่าความต้านทานคล้ายกับเป็น วงจรแบ่งแรงดันแบบปรับค่าได้

พอกดคันเร่งเพิ่มมันก็จะหมุนตามการกด ถ้ากดมากก็เหมือนกันเราหมุน Volume เร่งเสียงมาก แรงดันขาออกก็จะมากตามการกดคันเร่งและส่งสัญญาณไปยังกล่อง ECU

ตัว VR นี้จะมีอยู่ 2 ตัว ทำหน้าที่เปรียบเทียบกันไปเรื่อยๆ โดยแรงดันจะไม่เท่ากัน แต่แรงดันตามเส้นกราฟนั้นจะเป็นเส้นขนานกันตลอด ถ้าตัว VR ตัวใดตัวหนึ่งผิดพลาดเนก็จะไม่ขนาน ทำให้ EUC รู้ว่าเกิดปัญหาที่อุปกรณ์ครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก 5Lturbo 124.157.154.183 พฤหัสบดี, 7/6/2550 เวลา : 19:52  IP : 124.157.154.183   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 8816

คำตอบที่ 2
       ทำไมต้องมีคันเร่งไฟฟ้า สายคันเร่งเส้นเดียวถูกกว่ามั้งครับ เราใช้กันมาตั้งแต่รถคันแรกในโลก

เมื่อยี่สิบปีกว่าก่อนเราร้องหาความประหยัดกับรถเครื่องโตเมื่อครั้งโอเป็คเป็นผู้กำหนดราคาน้ำมันแทนบริษัทผู้ซื้อใหญ่ๆ ก็ถือกำเนิดระบบหัวฉีดกลไก พวก K tronic ไฟฟ้าJK tronic ของเยอรมันดาวสมรถหรูขนาดใหญ่ก็จิบน้อยลง

พี่ยุ่นกำลังพัฒนารถเล็กให้ขายได้ทั่วโลก นำโดยโตโยต้าผลิตเครื่องยนต์หัวฉีดไฟฟ้าขึ้นมา

เครื่อง 3TG 3TGUE หรือสุดแรงแบบ 3TGTZ วัตถุประสงค์คือเล็กแต่แรง สวนทางกับรถเยอรมันในเวลาเดียวกัน

หลังจากนั้นระบบหัวฉีดอีเล็คโทรนิกก็เข้ามาครองโลกของเครื่องยนต์

ตอนนั้น ECU มันแค่ 8bit มันได้แค่ จับมุมลิ้น จับองศาเพลา จับน็อก ส่งไฟไปจุดระเบิด แค่นี้เจ้ากล่องวิเศษก็เก่งมากแล้ว

แต่พอรถพัฒนาไปอีกขั้น เริ่มเอาระบบเบรคมาพ่วงเข้าไปด้วย มีการจับการหมุนของล้อ จับการกดเบรค จับความเร็ว ทำให้เกิดเบรค ABS ขึ้นในรถบ้านธรรมดา เจ้ากล่องที่ว่ามันพัฒนาเป็น 16 bit sampling Rated หลายพันครั้งต่อวินาที เรื่องให้ ECU ควบคุมเบรค ABSเรื่องแค่นี้จิบจ๊อยมาก




 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.44.62 ศุกร์, 8/6/2550 เวลา : 00:17  IP : 125.24.44.62   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 8851

คำตอบที่ 3
       จะเอาแรงบิดที่สัมพันธ์กับเครื่องยนต์ด้วยไหม ทำได้นะ เจ้า ECU ก็เอาระบบเกียร์มาให้ควบคุมด้วย อยากลากรอบก็เปลี่ยนเกียร์ช้า อยากประหยัดก็เปลี่ยนเร็ว

เจ้ากล่อง ECU ก็ฉลาดพอที่จะศึกษาเจ้านายว่าชอบขับแบบไหนก็ จ่ายน้ำมัน เปลี่ยนเกียร์ ให้ตามใจเจ้านายที่เรียกว่า Fuzzy logic

เอาความปลอดภัยเข้ามาพ่วงด้วยก็ยังได้ ถ้าหน้าหนาวกดปุ่ม winter mode อย่าหวังว่าจะได้ขับเกียร์ 1 มันจะขึ้น 2-3-4 เพราะ กันไม่ออกตัวเร็วให้รถไถลในพื้นลื่นๆ

แล้วถ้าขับแบบกดไม่ยั้ง ไม่สนว่าน้ำมันจะกินอย่างไร ไม่สนว่าลากเกียร์จนรอบสูงเกินจำเป็น ขับเร่งแล้วเบรค เร่งแล้วเบรค เหมือนพวกเด็กขับโชว์สาว อย่างนั้นเครื่องมันก็งงเหมือนกันว่าขับนรกอะไรแบบนี้ ขับแบบนี้ไม่ปลอดภัย และรถพังแน่

อย่างนั้นเอาอย่างนี้ดีกว่า แทนที่จะให้เท้าไปต่อสายคันเร่งไปคุมเปิดปิดลิ้น แล้วกล่อง ECU จ่ายน้ำมันตามมุมลิ้นปีกผีเสื้อ เอาเป็นว่ามาจับมุมที่เท้าแทนแล้วเรื่องมุมลิ้นกับปริมาณน้ำมัน ให้เป็นหน้าที่ ECU เอง

แบบนี้ซ่าไม่ออก กดคันเร่งเกินไปก็ใช่ว่ารถจะยอมให้กดได้ตามใจ หน้าฝนหน้าหนาว พอรถไถลหิมะหรือน้ำฝนมันก็ลดคันเร่งเอง เท้าไม่ยกแต่กล่องสั่งยกให้ได้ ออกตัวจนยางลื่นก็ลดคันเร่งเอง ออกรถให้ดังเอียดลั่นถนนก็ไม่มีทางทำได้แล้วเพราะกล่อง ECU ไม่ให้ทำ

จะขับทางไกลอยากพักเท้าก็กดปุ่มครุย รถวิ่งเองไม่ต้องกดคันเร่ง พอจะเบรค รถก็ปลดคันเร่งให้เอง



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.44.62 ศุกร์, 8/6/2550 เวลา : 00:38  IP : 125.24.44.62   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 8852

คำตอบที่ 4
       คราวนี้เจ้ากล่งมันโตขึ้นจากเดิมไปมากมาย จาก 16bit มันเป็น 32-64 bit มีโปรแกรมควบคุมมากมาย

มันคุมแม้กระทั่งการเลี้ยวโดยแทนที่จะมีเพลาเหล็กไปคุมการหมุนของเกียร์บังคับเลี้ยวเหมือที่มันมีมาร้อยกว่าปีก็เป็นการเลี้ยวโดยกล่อง ECU มันจะจับมุมพวงมาลัยแล้วแปลออกมาว่าให้ล้อหักเป็นมุมเท่าไร แม้กระทั่งถ้ารถคันหน้าอยู่ในระยะชนแน่ๆกดเบรคจน ABS ก็ยังบอกว่าชนแน่เจ้านาย มันจะเลี้ยวหลบไปด้านที่ถนนว่างๆโดย เรด้า ที่ฝังรอบตัวรถ

แม้แต่จะจอดยังจอดเองก็ได้ โดยคนขับไม่ต้องสาวพวงมาลัยให้เมื่อยมือ ระบบ wire harness มีใช้กันหลายปีพอสมควรแต่ไม่ใช่รุ่นในเมืองไทย

แม้แต่ความแข็งอ่อนของโช๊กอัพ ความสูงของรถมันยังเข้ามาคุม เช่น Land Rover หรือ Toyota cynus มันลดตัวถังที่สูงลงให้เตี้ยเมื่อใช้ความเร็วเพื่อการเกาะถนน เวลาเบรคที่ความเร็วก็คุมการยุบตัวของโช๊กอัพให้เท่ากันเพื่อไม่ให้รถหัวทิ่ม ใส่ของมาหที่หลังรถก็ปรับหลังให้สูงเท่าเดิม

มันทำงานแทนคนขับไปเกือบหมด ในอนาคตมันคงขับให้เองถ้าบอกมันว่าอยากไปไหน



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.44.62 ศุกร์, 8/6/2550 เวลา : 00:53  IP : 125.24.44.62   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 8853

คำตอบที่ 5
      

ขอบคุณ คุณ 5L turbo ที่ตอบแทนผมไปหมดแล้วด้านเท็คนิกว่ามันแปลน้ำหนักของเท้าไปเป็นมุมของลิ้นปีกผีเสื้อและคุมปริมาณน้ำมันให้สัมพันธ์กับอากาศเข้าเครื่องด้วยวิธีใด




 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.44.62 ศุกร์, 8/6/2550 เวลา : 00:57  IP : 125.24.44.62   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 8854

คำตอบที่ 6
      



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

kupree จาก kupree ศุกร์, 8/6/2550 เวลา : 07:16  IP :   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 8858

คำตอบที่ 7
       เซอร์โวมอเตอร์ควบคุมลิ้นปีกจะทำงานในลักษณะ เดียวกับเซอร์โวของ R/C Radio contorl แต่เซอร์โวของพวก R/C นั้นจะใช้ระบบคาบเวลาของ Pulse ในการควบคุมส่งผ่านสัญญาณ เหตุที่ต้องใช้สัญญาณ pulse เนื่องจากจากคลื่นความถี่นั้นมีโอกาสคลาดเคลื่อนได้จึงต้องส่งข้อมูลลักษณะ 0 , 1 แล้วใช้คาบเวลาตรวจจับการทำงาน โดยเซอร์โวจะสร้างพลัสคาบเวลาคงที่เปรียบเทียบกับเครื่องส่งส่งมา

แต่มอเตอร์เซอร์โวควบคุมลิ้นเร่งนั้นจะใช้การเปรียบเทียบแรงดันที่ ECU จ่ายเข้ามากับแรงดันที่ตำแหน่งลิ้นปีกแบ่งแรงดัน
ตัวลิ้นปีกผีเสื้อก็จะทำงานแบบเดียวกับ Volume ในเครื่องเสียงครับ โดยจะจ่ายไฟฟ้าแรงดันคงที่ให้กับแถบตัวต้านทาน ตัวแกนลิ้นปีกผีเสื้อจะยึดอยู่กับตัวหมุน Volume เป็นเหมือนวงจรเปรียบเทียบแรงดันปรับค่าได้ โดยจะมีวงจรเปรียบเทียบแรงดันทำหน้าที่ตรจสอบจับ ถ้าแรงดันสูงกว่าก็จะสั่งให้มอเตอร์เซอร์โวหมุนไปทางหนึ่ง ถ้าแรงดันต่ำกว่าก็จะสั่งให้มอเตอร์โวหมุนไปอีกทางหนึ่ง

ตัวอย่างเช่น เมื่อเหยียบคันเร่ง ประมาณครึ่งหนึ่ง แรงดันออกจากคันเร่ง 3.2V ผ่านเข้าไปในวงจรอินเตอร์เฟส ในกล่อง ECU แปลงเป็นข้อมูลแบบ Logic (มันแปลงและประมวลผลได้อย่างไร ความถี่จำนวนครั้งการหน่วง ต้องขออภัยด้วยครับเรื่องทาง ด้านเทคนิค ผมไม่รู้เรื่องครับ ตัองให้ท่านที่มีความรู้ด้านเทคนิคมาตอบครับ ผมอธิบายได้แค่หลักการทำงานแบบไดอะแกรมเท่านั้นครับ) ผ่านเข้าไปประมวลผล แล้วข้อมูลให้วงจรอินเตอร์เฟสออกมาเป็นสัญญาณแรงดัน
(ค่าแรงดันทั้งหมดนนี้ผมสมมุติเอานะครับ) อินเตอร์เฟสแปลงส่งสัญญาณออกมา 3.2V สัญาณนี้ก็จะส่งเข้าไปยังวงจรเปรียบเทียบแรงดันครับ // ดูอีกด้านหนึ่งลิ้นปีกผีเสื้อนั้นอยู่ในตำแหน่งปิด แรงดันที่ส่งออกมา 1.4V ซึ่งมีแรงดันต่ำกว่า สัญญาณที่ ECU ส่งมา วงจรเปรีบยเทียบแรงดันก็จะสั่งให่มอเตอร์เซอร์โวหมุนไปทางหนึ่งเพื่อให้ลิ้นปีกผีเสี้อหมุนเปิดไปยังต่ำแหน่งสูงขึ้น เมื่อหมุนไปจนแรงดันที่ออกจาขากลางตัวหมุน มีแรงดันเท่ากับที่ EUC จ่ายมา ก็จะหยุดหมุน ทำให้ลิ้นเร่งเปิดเท่ากับที่เรากดคันเร่ง
เมื่อเราลดแป้นเหยียบ แรงดันที่จ่ายมาก็ลด วงจรเปรียบเทียบแรงดันก็จะสั่งให้มอเตอร์หมุนไปในทางปิด จนอยู่ในแหน่งที่แรงดันเท่ากัน

ส่วนเรื่องของทางด้านเทคนิคนั้นผมไม่รู้ครับต้องให้ท่านอื่นมาตอบแทนครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก 5Lturbo 124.157.130.25 ศุกร์, 8/6/2550 เวลา : 20:07  IP : 124.157.130.25   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 8898

คำตอบที่ 8
       ส่วนการควบคุมน้ำมันนั้น แล้วแต่เคลืองยนต์แต่ล่ะรุ่นว่าจะใช้การทำงานควบคุมปริมาณน้ำมันอย่างใน

เครื่องยนต์ของพวก Nissan , Opel นั้น จะใช้การตรวจของปริมาณอากาศที่เครื่องยนต์ดูดเข้าไปใช้งานจริงๆ (Airflow sensorที่ไหลผ่านท่อแอร์โฟร์ ซึ่งมีขดลวดความร้อนทำจากทำจากโลหะผสม เมื่ออากาศไหลผ่านมากขดลวดเย็นลงค่าความต้านทานเปลี่ยนแปลง แรงดันตกคร่อมขดลวดเปลี่ยนแปลงส่งสัญญาณไปให้ ECU ว่าน้ำมันจ่ายเท่าไรให้ให้พอดีกับปริมาณอากาศที่เครื่องยนต์ใช้ไป

ถ้าเป็นพวก Toyota Honda จะใช้วิธีการตรวจจับสูญกาศ Vaccum sensor ที่อยู่ภายในท่อไอดี หรือหลังลิ้นเร่ง ถ้าสูญกาศสูงมาก ก็จะจ่ายน้ำมันน้อย ถ้าค่าสูญกาศน้อยหรือมีแรงอัด Boot จาก Turbo ก็จะจ่ายน้ำมันมากตามแรงดันอากาศ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก 5Lturbo 124.157.130.25 ศุกร์, 8/6/2550 เวลา : 20:43  IP : 124.157.130.25   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 8899

คำตอบที่ 9
       แก้คำตอบที่ 7 ย่อหน้าที่ 2

"ตัวหมุน Volume เป็นเหมือนวงจรเปรียบเทียบแรงดันปรับค่าได้ "

แก้เป็น "ตัวหมุน Volume เป็นเหมือนวงจรแบ่งแรงดันปรับค่าได้"


สมมุติเครื่อง Honda อธิบายการทำงานอีกหน่อยครับ ถ้ากดคันเร่งน้อยลิ้นปีกผีเสื้อเปิดน้อยตามคันเร่ง ค่าสูญกาศในท่อไอดีสูง Vacum sensor ก็จะส่งสัญญาณไปยัง ECU ให้รู้ว่ามีมวลอากาศเข้าไปน้อย ก็จะจ่ายน้ำมันน้อยตามครับ

ส่วน Nissan ลิ้นปีกเปิดน้อย ปริมาณอากาศที่ไหลเข้าเครื่องยนต์ก็น้อยตาม Airflow Sensorก็จะส่งสัญญาณให้ ECU รู้ว่าอากาศเข้าไปน้อยให้จ่ายน้ำมันน้อยตาม



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก 5Lturbo 58.147.124.126 ศุกร์, 8/6/2550 เวลา : 21:41  IP : 58.147.124.126   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 8901

คำตอบที่ 10
       ขอบ่นนิดหน่อยเรื่องอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

โดยส่วนตัวผมไม่ชอบคุนเร่งไฟฟ้าครับ ผมไม่ใช้คนขับรถเร็วครับ แต่ว่าเวลาแซงผมจะรีดความสามารถของเครื่องยนต์ออกมาให้เต็มที่ (เครื่อง1600ถ้าไม่รีดออกมาเต็มที่ มีหวังมุดใต้ท้อง10ล้อแน่ๆ) พวกคนเร่งไฟฟ้าจะมีการหน่วงเวลาด้วยครับ รถปล่อยไหลมา ที่ 90 เข้าเกียร์ 3 เพื่อเหยียบแซง แต่เหยียบคันเร่งมันจะไปเร่งทันที แต่ด้วยความเคยชินเหยียบคันเร่งปุ๊บปล่อยคลัช หัวคนพุ่งไปข้างหน้า แต่รถไม่ไปตาม จากนั้นรถก็จะพุ่งไปข้างหน้าแล้วหัวคนก็จะถูกกระชากกลับมาที่เดิม

เวลาขับไปจะให้เครื่องยนต์เบรค แต่พอปล่อยคันรถมันก็ยังวิ่งด้วยความเร็วเท่าเดิม แล้วก็ค่อยๆช้าลง ตอบสนองเชื่องช้า

กลายเป็นว่าคนขับต้องกลายเป็นเทพเจ้าไปเลย นอกจากต้องดูรถตามท้องถนน แล้วยังต้องมาจับจังหวะเครื่องยนต์อีก
แทนที่รถมันจะเอาใจคนทำตามที่คนขับสั้งทุกอย่าง กลายเป็นว่าคนขับต้องเอาใจรถคอยจับจังหวะการเปลี่ยนแปลงนิสัยรถ
เรื่องคันเร่งไม่เท่าไรเจอเบรค ABS ทำงานแล้วละก็หนาวเลยครับ รถไหลจะไปชนท้ายรถบรรทุกอยู่แล้ว ABS กลับเล่นตลกมาทำงานทำให้เบรคไม่อยู่ พอใกล้จะชนแล้วจึงตัดการทำงาน เบรคอยู่ฝากระโปงรถผมกับคลัสซีของรถบรรทุกห่างกันไม่ถึง 6 นิ้ว

ทำไมคนไทยไปเหื่อ คลั่งใคล้พวกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกค์จริงเลย ทั้งๆที่มันอันตรายสุดๆ และสามารถเสียได้โดยไม่มีอาการแจ้งล่วงหน้าแม้แต่นิดเดียว (ไม่มีการแจ้งล่วงหน้าจริงๆ) มันเหมือนกับการฝากชีวิตไว้กับความน่าจะเป็น ถ้าอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ไม่มีปัญหาก็ปลอดภัยกว่ารถที่ใช้ระบบกลไก แต่ถ้ามีปัญหาก็จะอัตรายมากกว่าเพราะไม่มีการแจ้งล่วงหน้า ทำให้เราเปลี่ยนอุปกรณ์ที่ใกล้เสียได้ทัน



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก 5Lturbo 58.147.124.126 ศุกร์, 8/6/2550 เวลา : 22:10  IP : 58.147.124.126   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 8902

คำตอบที่ 11
       ขอบคุณคุณ 5L turbo ที่มาให้ความรู้กันอีกรอบ


ผมเคยแปลเอกสารบางชิ้นที่ใช้ในการอบรมของ Yamazaki มาบ้างพอที่จะเล่าให้ฟังได้ถึงคันเร่งไฟฟ้าที่เป็นส่วนหนึ่งของระบบ wire harness ได้ว่าทำไมต้องมีระบบนี้

ระบบนี้เป็นระบบ Pre caution หรือ Preventive safty ที่ใช้กับรถในกรณีทีคนขับไม่อาจจะตอบสนองกับการขับในสภาพไม่ปกติได้ดีเท่าเกือบกับคนขับรถที่ชำนาญในรถที่ไม่มีระบบนี้ตัวอย่างเช่น

เข้าโค้งที่ความเร็วเกินกว่าตัวรถจะเข้าโค้งได้ปลอดภัย และกำลังจะแหกโค้ง ถ้าเป็นคนขับที่ชำนาญแล้วจะลดคันเร่งให้รถกลับมาทรงตัวได้ที่กลางโค้งอีกครั้ง แต่ถ้าไม่ได้ทำในเวลาอันเหมาะสม คันเร่งไฟฟ้าจะลดมุมลิ้นลงให้เครื่องเป็นเบรคอ่อนๆดึงรถกลับสู่สภาวะเสถียรเองได้อีกครั้ง

ในการออกตัวที่เกินกว่ายางจะรับได้ ยางจะฟรีรอบทิ้งทำให้ออกตัวช้าลงเพราะความฝืดของหน้ายางกับผิวถนนมันหมดไปแล้ว แต่ถ้าลดคันเร่งไปอีกนิดหนึ่งยางรถจะกลับมาจับผิวถนนได้อีกครั้งและรถจะสามารถออกตัวได้อีกครั้ง ระบบตัวนี้ใช้ในรถบ้านดีๆหลายรุ่นเช่น S500 , Lexsus ทุกรุ่น แม้กระทั่ง F1 ก็ใช้ระบบนี้เพื่อลดเวลาการออกตัวของรถในสนามแข่ง

ระบบนี้ให้ความเป็นอิสระในการออกแบบห้องเครื่องของรถรุ่นใหม่ได้ดีกว่าเพราะจะเอาท่อร่วมไอดีวางตรงไหนก็ได้ตามที่จะฝันให้เครื่องยนต์ทำงานได้ดีที่สุดโดยไมต้องสนใจว่าจะต้องมีสายคันเร่งมาเป็นตัวกำหนดมุมของท่อร่วมไอดี ดังนั้นการออกแบบเครื่อง V6-8-12 ที่รวบท่อร่วมไอดีไว้กลางเครื่องจะทำได้แบบอิสระต่อสายคันเร่งที่วิ่งขวางระบบอืนๆ


อีกอย่างก็คือการขับในสภาวะไม่ปกติ เช่นบนพื้นลื่นๆเช่นในหิมะและน้ำแข็ง ระบบนี้ทำให้การคุมรถให้อยู่ในโอวาทของผู้คับขี่ได้มากขึ้น รถจะมีการทรงตัวจากการไถลของกำลังเครื่องยนค์มากเกินจำเป็นที่ดีขึ้น

การใช้ ABS ในทางลูกรังคือการเอาขาลงในโลงข้างหนึ่งแล้วเพราะมันจะลดระยะเบรคแบบวิ่งบนทางดำดังนั้นรถจะไม่หยุดในระยะปลอดภับตามปกติ มันจะวิ่งทื่อเข้าหาโค้งแบบที่เหยีบเบรคไปก็ไร้ประโยชน์ แต่ถ้ามีระบบนี้มันจะลดความเร็วบางส่วนได้ก่อนจะต้องใช้เบรค


แต่ข้อเสียที่เกิดขึ้นก็มีเช่น ถ้าคนขับที่ชำนาญต้องการกระทืบคันเร่งสบัดตูดในโค้งเพื่อลดเวลาในโค้งลง ระบบนี้จะไม่ยอมให้ทำอะไรแบบนี้ พอรถเริ่มปัดท้ายคันเร่งจะลดตัวเองลงโดยที่คนขับไม่รู้ตัว

การกลับรถในที่แคบที่บางคนใช้วิธีกึ่งดิฟคือหมุนรถในแนวขวางเพื่อให้รัศมีวงเลี้ยวน้อยลง วิธีนี้จะใช้ความกว้างของเกาะกลางถนนเป็นรัศมีวงเลี้ยว ระบบจะไม่ยอมให้ทำ พอท้ายปัดระบบก็ลดคันเร่งทันที วงเลี้ยวจะให้รถเข้าช่องทางที่สองแทนจะเป็นช่องขวาสุดตามที่คิดไว้


คนขับรถที่ชำนาญแล้วชอบเล่นกับรถและกำลังเครื่องยนต์จะบ่นตลอกทางว่า เองทำไมมายุ่งกับข้านักฟ่ะ แต่ถ้าถึงเวลาฉุกเฉินระบบจะทำงานแทนแบบที่การตัดสินใจของมนุษย์ปกติจะทำไม่ทัน แล้วจะรู้ว่าระบบคันเร่งไฟฟ้ามันสร้างความปลอดภัยได้พอสมควรเลยทีเดียว


von Richthofen on Tour




 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

Ruj จาก Ruj 203.155.230.85 อาทิตย์, 10/6/2550 เวลา : 12:45  IP : 203.155.230.85   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 8947

      

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  



website รองรับการใช้งานทุกระบบปฏิบัติการของ PC Tablet SmartPhone ทุกระบบสามารถโพสข้อความและรูปภาพได้โดยไม่ต้องย่อไฟล์
เพื่อความปลอดภัยในการใช้ website WeekendHobby.Com สมาชิก เท่านั้น จึงจะตั้งกระทู้ หรือ ตอบกระทู้ได้ครับ
Login Click ที่นี่
สมัครสมาชิก Click ที่นี่



Since 22, Feb 2001 hit counter View My Stats  Truehits.net      วันศุกร์,19 เมษายน 2567 (Online 4654 คน)