WeekendHobby.com
เครื่องมือในการใช้งาน website =>> สมัครสมาชิก | Login | Logout | เปลี่ยนไอคอนส่วนตัว | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อโฆษณา         View stat by Truehits.net


แอร์แว ใช้งานได้จริงหรือ!!!
turboman82
จาก TurBoMan_FluK
IP:110.49.249.69

พุธที่ , 16/11/2554
เวลา : 23:51

อ่านแล้ว = ครั้ง
 เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งตรวจสอบกระทู้
 แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน ส่งหาเพื่อน

       ขออนุญาตถาม อ.วอน พี่หนุ่มกระโทก และท่านผู้รู้ทุกท่าน ผมได้ไปอ่านบทความเรื่อง แอร์แว ช่วยเพิ่มแรงดันน้ำ แต่เห็นภาพแล้ว ผมไม่แน่ใจว่าจะใช้งานได้จริงหรือไม่ หลักการจะเหมือนกับเครื่องตะบันน้ำหรือป่าว หรือ เป็นเรื่องต้มเป็ด กันแน่ เพราะผมไม่มีความรู้ด้านวิชาการมากนัก ถ้ามันใช้งานได้จริง จะได้เอามาทำใช้ที่สวนคับ

ที่มา http://topicstock.pantip.com/jatujak/topicstock/2008/02/J6334889/J6334889.html






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

แจ้งเพื่อเก็บขึ้นกระทู้พิเศษ คลิ๊กที่นี่แจ้งเพื่อนำขึ้นกระทู้พิเศษ

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  

คำตอบที่ 1
       ก่อนอื่นผมต้องขอออกตัวก่อนว่าผมมีความรู้เรื่องปั๊มน้ำไม่มากนัก
แต่ดูจากเหตุและผลที่ว่ามันช่วยเพิ่มแรงดันนั้นคงเป็นไปไม่ได้ครับ
เพราะอยู่ดี ๆ พลังงานมันจะเกิดขึ้นมาได้อย่างไรในเมื่อเราไม่ได้ใส่เพิ่มเข้าไป

เรามาดูกันว่าปัญหาของการสูบน้ำที่เกิดขึ้นนั้นมีอะไรบ้าง

"เนื่องจากระยะทางระหว่างจุดสูบน้ำ และถังเก็บน้ำอยู่ห่างกันและมีความลาดชันสูงส่งผลให้เครื่องสูบน้ำได้รับความเสียหาย
และชาวบ้านมองว่ามันไม่คุ้มกับค่าซ่อมบำรุงมอเตอร์สูบน้ำ"

ถ้าอ่านเนื้อความนี้ผมคิดว่าปั๊มคงพังด้วยสาเหตุสองอย่างคือ มอเตอร์ทำงานหนัก และ การเกิด Water Hammer

การจะต่อปั๊มน้ำ สิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ เฮดของปั๊ม และ ต้นกำลัง

- เฮดของปั๊มมีหน่วยเป็นเมตร จะมีสองส่วนคือเฮดด้านดูด และเฮดด้านส่ง

ต้องไปดูที่ตัวปั๊มว่ามีความสามารถด้านส่งได้สูงสุดกี่เมตร และระยะดูดกี่เมตร
อย่าวางปั๊มไว้สูงกว่าเฮดด้านดูด เพราะปั๊มจะดูดน้ำไม่ขึ้น
ในปั๊มจะมี สเปคว่าที่เฮดเท่านั้นเมตรจะมีอัตราไหลเท่าไหร่
ถ้าปั๊มตัวนั้นมีเฮดโดยรวมน้อยกว่าความสูงที่เราต้องการส่งน้ำไปใช้ ปั๊มตัวนั้นก็ไม่สามารถนำมาใช้งานได้
ต้องเลือกตัวใหม่ที่มีเฮดมากกว่าความสูงที่ใช้งาน

-ต้นกำลัง

การคำนวณแรงม้าของปั๊มที่ต้องใช้ (ในทางทฤษฎี) ให้ใช้สูตรนี้

แรงม้า ( ตาม ทฤษฎี ) = (Q x TH )/273
Q = ปริมาณน้ำเป็นลูกบาศก์เมตร ต่อ ชั่วโมง
TH = Total Head

ตัวอย่าง ต้องการสูบน้ำในอัตรา 120 ลิตร ต่อวินาที มีระยะความสูงรวม 4.5 เมตร ต้องใช้กี่แรงม้า

Q =120 ลิตรต่อวินาที = ( 120 x 60 x 60 )/1000 = 432 ลบม / ชม
แรงม้าที่ต้องใช้ = Q x TD/273 = 432 x 4.5/273 = 7.12 แรงม้า

แรงม้าที่คำนวณได้นี้เป็นกำลังงานที่ใช้ในการยกน้ำไปในระยะยกที่สูงตามที่กำหนด
โดยที่ยังไม่ได้คิดความสูญเสียที่เกิดจากความเสียดทาน , ประสิทธิภาพของมอเตอร์ และประสิทธิภาพของปั๊ม

ถ้าประสิทธิภาพของปั๊ม 75% และ ของมอเตอร์ 80 %
แรงม้าที่ต้องใช้ก็คือ 7.12/0.75/0.85 =11.17 แรงม้า

เห็นไหมครับว่าถ้าจะต่อปั๊มใช้งานมันต้องคำนวณไม่ใช่ว่าจบใส่แบบลูกทุ่ง
คิดแบบง่าย ๆ คือ 1 ลบม / ชม ต้องใช้แรงม้าตามทฤษฏี เท่ากับ 1/273 = 0.00367 แรงม้า ต่อระยะยก 1 เมตร
(ทุก 16.67 ลิตร/นาที-เมตร ต้องใช้ 0.00367 แรงม้า) ได้ค่าเท่าไหร่เอามาคุณด้วยประสิทธิภาพของปั๊มกับประสิทธิภาพของมอเตอร์
จึงจะเป็นขนาดมอเตอร์ที่ต้องใช้งานจริง ๆ

สองข้อแรกเป็นภาคพื้นฐาน การติดตั้งจริงยังมีเทคนิคเล็ก ๆ น้อยคือ

1 เราต้องลดแรงดันที่สูญเสียจากความฝืดในท่อให้มากที่สุดซึ่งการจะลดความฝิดได้คือการเพิ่มขนาดท่อให้ใหญ่ น้ำไหลสะดวก
2 ท่อดูดมีกฏเกณฑ์ทั่วไป ๆ ไปดังนี้
- ท่อต้องเป็นท่อแข็ง
-ขนาดจะต้องไม่เล็กกว่าขนาดหน้าแปลนด้านดูดของปั๊มถ้าเป็นไปได้ควรมีขนาดใหญ่กว่า 2 ขนาดมาตรฐาน ( 100,125,150,200,250 มม)
เช่นถ้าใช้ท่อขนาด 100 ควรใช้ท่อด้านดูดขนาด 150 มม ห้ามใช้ท่อที่มีขนาดเล็กกว่าหน้าแปลนด้านดูดอย่างเด็ดขนาด !
การต่อที่หน้าแปลนให้ใช้ข้อลด ที่ต้องให้ท่อด้านดูดใหญ่กว่าเพื่อให้แน่ใจว่าน้ำที่เข้าสู่ปั๊มจะเต็มตลอดเวลา
-อุปกรณ์ที่ปลายท่อดูดต้องมีเพื่อช่วยให้น้ำไหลเข้าไปอย่างสม่ำเสมอ สูญเสียพลังงานน้อย เช่นปากแตร
-มีกรองป้องกันไม่ให้สิ่งแปลกปลอมไหลปนกับน้ำเข้าไปในท่อดูด ( Strainer )
-ใส่ฟูตวาล์ว ( กระโหลก ) เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำในท่อดูดและในเรือนปั๊มรั่วออกไปเมื่อปั๊มหยุดทำงาน
จะได้ไม่ต้องมาคอยเติมน้ำทุกครั้งที่เริ่มสูบน้ำใหม่

ถ้าต่อท่อโดยการต่อตรง ๆ ไม่มีอุปกรณ์อะไรเลยจะมีการสูญเสียพลังงานในการไหลเข้าท่อสูงมากและอาจจะเกิด Vortex (วังน้ำวน) ซึงทำให้อากาศ
เข้าไปในท่อดูดทำให้สูญเสียการเป็นสูญญากาศในปั๊ม เป็นเหตุให้ปั๊มชำรุดได้

คราวนี้มาถึงปัญหาของไอ้เจ้าแอร์แวร์ที่ถามมา
ผมว่ามันไม่ได้ช่วยเพิ่มแรงดันให้แรงขึ้นหรอกครับ เพราะแรงดันที่เกิดขึ้นนั้มันมาจากปั๊มล้วน ๆ



คราวนี้ถ้าต่อกับแบบลูกทุ่งปัญหาที่เกิดตามมาก็คือ

เกิด Water Hammer ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่ความดันในท่อมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงและเฉียบพลัน
โดยมีความดันเพิ่มขึ้นและลดลงจากความดันเดิมในลักษณะเป็นคลื่นขึ้นลงสลับกันไป
สาเหตุของการเกิด Water Hammer คือการเปลี่ยนแปลงความเร็วในท่ออย่างกระทันหันเช่นปิดเปิดวาล์วน้ำอย่างกระทันหัน
ทำให็โมเมนตัมของน้ำเปลี่ยนไปเป็นแรงกระแทกตามผนังท่อ ถ้าแรงมันมากเกินกว่าความสามารถของท่อ ท่อก็จะแตกระเบิดได้
ระดับความเสียหายขึ้นอยู่กับความเร็วของการไหล , อัตราการเปลี่ยนแปลงความเร็วของการไหล ลักษณะการยึดท่อให้อยู่กับที่

แล้วเราจะแก้ Water Hammer ได้ยังไงกันล่ะ

1 เนื่องจากมันมาจากการอัตราการเปลี่ยนแปลงความเร็วของการไหน เราก็เพิ่มขนาดท่อ
พื้นที่หน้าตัดท่อแปรผันตามรัศมียกกำลังสอง ถ้าขนาดรัศมีท่อใหญ่ขึ้น 2 เท่า พื้นที่หน้าตัดท่อจะมากขึ้น 4 เท่า
ถ้าพื้นที่หน้าตัดใหญ่ขึ้น 4 เท่า ความเร็วของน้ำจะลดลงไป 4 เท่า

2 เพิ่มเวลาการปิดเปิดวาล์วน้ำให้ใช้เวลาคือค่อย ๆ ปิด ไม่ใช่ปิดอย่างทันที
3 ติดอุปกรณ์ป้องกันเช่น Pressure Relief Valve ,Surge Tank , Air Chamber

ไอ้แอร์แวร์ที่ว่านี่แหละครับ มันก็คือ Air Chamber นั่นเอง
คืออากาศในกระบอกมันขยายตัวหดตัวได้ดีกว่าน้ำดังนั้นมันจึงทำหน้าที่ผ่อนคลายความรุนแรงเมื่อมีความดันเพิ่มขึ้นได้

มาถามผมว่าแอร์แวรเพิ่มแรงดันให้ปั๊ม ผมขอตอบว่าไม่ใช่ แต่มันเป็นตัวแก้ปัญหาของการเดินท่อที่ไม่ถูกต้องครับ





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 1.46.157.217 พุธ, 23/11/2554 เวลา : 15:46  IP : 1.46.157.217   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 54668

คำตอบที่ 2
       ขอบคุณสำหรับคำตอบคับพี่หนุ่ม ทีนี้ถึงบางอ้อแล้วคับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

turboman82 จาก TurBoMan_FluK 49.228.19.195 พุธ, 23/11/2554 เวลา : 22:44  IP : 49.228.19.195   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 54669

คำตอบที่ 3
       มันทำหน้าที่ลดแฮมเมอร์ของระบบครับ ส่วนเรื่องเพิ่มระยะการยกตัวของน้ำผมยังไม่เห็นว่ามีหลักการอะไรมาอธิบายได้



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.45.72 พฤหัสบดี, 24/11/2554 เวลา : 12:53  IP : 125.24.45.72   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 54675

คำตอบที่ 4
       กรณีตามรูป ถ้าสมมุติว่าภายใน แอร์ แชมเบอร์ มีน้ำเต็ม มันน่าจะสามารถ ป้องกันน้ำในปั้มป์ หรือ ท่อดูด รั่วผ่าน ฟุตวาล์ว และรั่วซึมที่ ซีลปัมป์ในกรณี ที่ปั้มป์ไม่ได้ใช้งาน เมื่อสตาร์ทป้ั้มป์ ทำให้ สามารถดูดน้ำได้ทันที เป็นไปได้ได้มั้ยครับ?



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somdej จาก เกียแดง&ซุปเปอร์เอมี 223.206.161.120 พุธ, 30/11/2554 เวลา : 10:40  IP : 223.206.161.120   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 54693

คำตอบที่ 5
       ไม่ได้ครับ ตามปกติหมันหน้าปั้มมีการรั่วน้อยๆเพื่อป้องกันหมันไหม้ตอนใช้งานอยู่แล้ว มันคือจุดที่อากาศเข้าได้น้อยๆเหมือนกัน ถ้าฟุตวาวล์รั่วอย่างไรก็น้ำหมดท่อเหมือนกัน
วิธีแก้คือใช้ฟุตวาวล์คุณภาพดีที่ไม่รั่ว หรือไม่ก็ต้องปล่อยให้รั่วแต่ใช้ปั้มประเภท self priming pump จะได้ไม่ต้องเสียเวลาไปเติมน้ำเข้าเสื้อปั้ม



ขอบคุณครับ อ.วอน
จาก : เกียแดง & ซุปเปอร์เอมี(somdej) 1/12/2554 11:16:01 [223.206.161.120]
 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.20.21 พฤหัสบดี, 1/12/2554 เวลา : 00:29  IP : 125.24.20.21   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 54695

คำตอบที่ 6
      



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

tadthep จาก โทน 118.173.195.252 จันทร์, 23/2/2558 เวลา : 20:51  IP : 118.173.195.252   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 56331

      

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  



website รองรับการใช้งานทุกระบบปฏิบัติการของ PC Tablet SmartPhone ทุกระบบสามารถโพสข้อความและรูปภาพได้โดยไม่ต้องย่อไฟล์
เพื่อความปลอดภัยในการใช้ website WeekendHobby.Com สมาชิก เท่านั้น จึงจะตั้งกระทู้ หรือ ตอบกระทู้ได้ครับ
Login Click ที่นี่
สมัครสมาชิก Click ที่นี่



Since 22, Feb 2001 hit counter View My Stats  Truehits.net      วันพุธ,17 เมษายน 2567 (Online 2968 คน)