WeekendHobby.com
เครื่องมือในการใช้งาน website =>> สมัครสมาชิก | Login | Logout | เปลี่ยนไอคอนส่วนตัว | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อโฆษณา         View stat by Truehits.net


อานุภาพพระปริตต์
somsaks
จาก หนุ่มกระโทก
IP:202.91.18.192

ศุกร์ที่ , 31/8/2550
เวลา : 01:01

อ่านแล้ว = ครั้ง
 เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งตรวจสอบกระทู้
 แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน ส่งหาเพื่อน

       หลายคนคงสงสัยว่าเรื่องอะไรหว่า พระปริตต์คืออะไร

เวลาที่ท่านนิมนต์พระไป งานทำบุญบ้าน งานมงคลต่าง ๆ
พระก็จะอัญเชิญเทวดา สวดพุทธมนต์ มีการโยงสายสิญจ์ ทำน้ำมนต์
หลายท่านคงสงสัยว่าท่านสวดอะไร มีความหมายและที่มาที่ไปเป็นอย่างไร ??

การทำน้ำมนต์นั้นผิดพุทธบัญญัติหรือไม่


กระทู้นี้จะมา สาธยายค่อย ๆ เล่าที่มาที่ไป ตลอดจนความหมายของพระปริตต์ ต่าง ๆ
ตามกำลังความสามารถ และเวลาที่ว่าง ให้ท่านสมาชิกได้ทราบกัน

ผิดพลาดประการใด ก็ขออภัย ด้วย เนื่องจาก ภูมิความรู้ของผมนั้นมีจำกัด










 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

แจ้งเพื่อเก็บขึ้นกระทู้พิเศษ คลิ๊กที่นี่แจ้งเพื่อนำขึ้นกระทู้พิเศษ

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  2  3  

คำตอบที่ 1
       บรรดาเวทมนต์ทั้งหลาย ที่นับถือว่าศักดิ์สิทธิ์เป็นมนต์ขลัง ในพระพุทธศาสนา สามารถปัดเป่าเหล่า อันตรายทั้งหลาย
ภัยพิบัติต่าง ๆ ขจัดภูติผีปิศาจ ความชั่วร้าย เสนียดจัญไร ลางชั่วร้าย ฝันร้าย บาปเคราะห์ สิ่งอัปมงคลต่าง ๆ

และนำมาซึ่งความสุข สวัสดีมีชัย ประสบสิ่งมงคล เจริญด้วย อายุ วรรณะ สุขะ พละ ทุกประการ


เวทมนต์ทั้งหลายนั้นก็คือ พระปริตต์นั่นเอง บางท่านคงจะเคยได้ยินคำว่า สวดมนต์เจ็ดตำนาณ สิบสองตำนาณ
ซึ่งเป็นพระพุทธมนต์มีอานุภาพแผ่ไปทั่วจักวาฬ

ในคัมภีร์ภิกขุนีภวังค์ มีการกล่าวถึงพระภิกษุถูกงูกัดตาย เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบจึงโปรดประธานพระพุทธานุญาต
ให้พระภิกษุแผ่เมตตาจิตไปยังพญางูทั้งสี่ เพื่อเป็นการรักษาป้องกันตนเอง โดยมีคาถาสำหรับสวดเป็นพระปริตต์เอาไว้ด้วย
คือขันธะปริตต์ ( ใครที่สวดบท ชินบัญชร คงจะคุ้น ๆ คำนี้นะครับ "ขันธะ โมระ ปริตตัญจะ อาฏานาฏิยสุตต"
ซึ่งเป็นการอ้าง อานุภาพพระปริตต์ มาป้องกัน)

ยังมีอีกหลายพระสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงใช้พระปริตต์โดยพระองค์เองบ้าง และตรัสสอนพระภิกษุบ้าง
สวดให้พระสาวกฟังบ้าง โปรดให้สาวกสวดถวายให้พระองค์บ้าง



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.18.192 ศุกร์, 31/8/2550 เวลา : 01:17  IP : 202.91.18.192   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 12297

คำตอบที่ 2
       คำว่า ปริตต์ มีความหมายว่า การคุ้มครองรักษา การคุ้มครองป้องกัน ยังมีคำที่ใช่คู่กันกับ ปริตต์ อีกคำหนึ่ง
คือ "ตาณ" แปลกว่าการป้องกัน แล้วโบราณแผลงเป็นคำศัพท์ว่า "ตำนาณ" แต่เรามาเขียนเพี้ยนกันไปเป็น "ตำนาน"
โดยไม่ทราบความหมายว่ามันผิดเพี้ยนไปอย่างสิ้นเชิง คราวนี้คงเข้าใจแล้วนะครับว่าในคำตอบที่หนึ่ง
ผมสะกดคำได้ถูกต้องแล้ว และ สวดเจ็ดตำนาณ หรือ สิบสองตำนาณ คืออะไร

เมื่อนำพระสูตร หรือพระคาถาใด ๆ มาทำ ปริตต์ ซึ่งเดิมไม่มีคำว่า ปริตต์ ต่อท้าย ท่านก็เปลี่ยนเรียกเป็นปริตต์
ดังจะเห็นจากชื่อที่เรียกไว้ในคัมภีร์ มิลินทปัญหา และในคัมภีร์วิสุทธิมรรค เช่น

รตนสูตร เป็น รตนปริตต์
ธชัคคสูตร เป็น ธชัคคะปริตต์
อาฏานาฏิยสูตร เป็น อาฏานาฏิยะปริตต์

ส่วนที่เรียก ปริตต์ อยู่แล้วก็เรียกไปตามเดิม เช่น ขันธะปริตต์ โมระปริตต์ โพชฌงคะปริตต์ เป็นต้น





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.18.192 ศุกร์, 31/8/2550 เวลา : 01:36  IP : 202.91.18.192   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 12298

คำตอบที่ 3
       แต่เดิมการสวดพระปริตต์เป็นการบริกรรมภาวนาเฉพาะตัว เพื่อคุ้มครองป้องกันตัวเอง เช่น ดังที่

พระพุทธเจ้าโปรดประธานพุทธานุญาตให้พระภิกษุแผ่เมตตาจิตไปยังพญางูทั้งสี่ ตระกูล ใน ขันธะปริตต์

หรือเช่นนกยูงทองคำทำพระปริตต์คุ้มครองตนเอง ในเรื่องโมระปริตต์


แตในบางครั้ง ก็ขยายวงกว้างออกไป เป็นการกระทำเพื่อคุ้มครองผู้อื่น เช่น โปรดให้พระอานนท์สวด รตนสูตร

กำจัดขับไล่ภูติผีปิศาจในนครเวศาลี แห่งแคว้นวัชชี จึงเกิดพิธีกรรมสวดพระปริตต์เป็นหมู่คณะ หรือเจริญพุทธมนต์

จึงเป็นการทำให้มีผู้เข้าใจผิดว่าการสวดพระปริตต์ หรือการเจริญพุทธมนต์เป็นการสาธยายพระพุทธวจนะ

เพื่อดำรงพระพุทธศาสนาให้ดำรงอยู่ชั่วกาลนาน แบบทำสังคายนา



การสวดพระปริตต์นั้น ด้วยมุ่งหมายให้เกิดปรสิทธิภาพ มีอำนาจ อานุภาพคุ้มครอง ป้องกันอันตรายภัยภิบัติต่าง ๆ

เกิดความสุขสวัสดีมีชัย และยังถือว่าเป็นมงคล


พระปริตต์ในพระพุทธศาสนา มีหลักและความมุ่งหมายตรงข้ามกับเวทมนต์ตามลัทธิอื่น ไม่มีคำสาปแช่งให้ร้าย

ซ้ำยังเป็นการให้ให้พรแสดงความปรารถนาดี ด้วยหลักธรรมสำคัญสองข้อ คือ

1 การอ้างความจริง (สัจจกิริยา)

2 ความรักใครไมตรีจิต (เมตตา)

หลักธรรมสองข้อนี้ มีอยู่ในพระปริตต์เกือบทุกบท เช่น การอ้างเอาพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ มากล่าวเป็นคำอวยพร
ดังใน รตนสูตร ที่ว่า

อิทัมปิ พุทเธ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตน สัจเจนะ สุวัตถิโหตุ
รัตนะคือพระพุทธเจ้า เป็นของประณีตแม้เช่นนี้ ด้วยสัจจะข้อนี้ ขอความสวัสดีจงมี

อิทัมปิ ธัมเม ระตะนัง ปะณีตัง เอเตน สัจเจนะ สุวัตถิโหตุ
รัตนะคือพระธรรม เป็นของประณีตแม้เช่นนี้ ด้วยสัจจะข้อนี้ ขอความสวัสดีจงมี

อิทัมปิ สังเฆ ระตะนัง ปะณีตัง เอเตน สัจเจนะ สุวัตถิโหตุ
รัตนะคือพระสงฆ์ เป็นของประณีตแม้เช่นนี้ ด้วยสัจจะข้อนี้ ขอความสวัสดีจงมี



วันนี้ขอพอแค่นี้ก่อนครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก ศุกร์, 31/8/2550 เวลา : 02:10  IP :   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 12299

คำตอบที่ 4
       สาธุ ครับท่าน มหาหนุ่ม ณ แดนกระโทก

อย่างนี้คงจะพอเรียกว่า ท่านผู้คงแก่เรียน ได้นะครับ

คำว่า ผู้คงแก่เรียน ผมไม่ได้ยินใครพูดมานานมากแล้วครับ วันนี้เลย ขอปัดฝุ่น ซะหน่อย



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก ผู้น้อย 58.8.146.93 ศุกร์, 31/8/2550 เวลา : 02:25  IP : 58.8.146.93   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 12300

คำตอบที่ 5
       ผมยังจำเลือนลาง "นะโม โพธิสัตว์โต ปริต ตังมัง รักขะตุ สัพพทา"..........ผมแปลไม่ออกหรอก แต่พอเดาได้ว่า คงเป็นคำสวดเพื่อขอ บารมีแห่งพระโพธิสัตว์ให้มาคุ้มครอง...ประมาณนี่น่ะ .....ท่านมหาหนุ่ม กระโทก นี่แจ๋วจริง ๆ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก Supermop 58.8.135.206 ศุกร์, 31/8/2550 เวลา : 05:23  IP : 58.8.135.206   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 12301

คำตอบที่ 6
       เก่งทั้งบู๊ และบุ๋น จริง ๆ อาจารย์พี่หนุ่ม



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก tik 124.120.79.232 ศุกร์, 31/8/2550 เวลา : 14:44  IP : 124.120.79.232   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 12315

คำตอบที่ 7
       ดังที่กล่าวไว้แล้วว่าความมุ่งหมายของพระปริตต์ ใช้หลักธรรม ไม่มีการสาปแช่งแบบลัทธิอื่นโดยเฉพาะในศาสนาพราหมณ์
เช่นความมุ่งหมายของโองการแช่งน้ำ ที่วิงวอนเทพเจ้า และสาปแช่งศัตรู ให้ร้ายปรปักษ์ ผู้ไม่ภักดี

ในโพชฌงคปริตต์ ก็ได้อ้างถึง สัจจกิริยา

"เอเตน สัจจะวัชเชนะ โสติ เต โหตุ สัพพะทา"
ด้วยการกล่าวสัจจะนี้ ขอความสวัสดีจงมีแก่ท่านทุกเมื่อเถิด

หลักธรรมของพระปริตต์อีกข้อหนึ่งคือ เมตตา (และกรุณา)

ขอนอกเรื่องนิดนึง

ว่าไปแล้วเรื่องของความรัก มีอยู่สองอย่างคือ

1 ความรักแบบที่อยาก ต้องการของนั้นมาไว้กับตัว เพื่อสนองความต้องการของตัวเอง
สมัยนี้มักจะเป็นแบบนี้

2 ความรักแบบที่ต้องการให้คนที่ให้เรารักมีความสุข นั่นคือความเมตตา กรุณา

ครอบครัวที่จะอยู่กันอย่างมีความสุข สามีภรรยาทีจะอยู่ด้วยกันยืนยาวจะต้องเป็นความรักแบบที่สอง
หรือพัฒนา จากความรักแบบที่หนึ่ง ให้เป็นความรักแบบที่สองให้ได้

แต่พระพุทธเจ้าท่านยังทรงสอนต่อ ไป คือ หลักพรหมวิหารสี่ คือ

- เมตตา อยากให้ผู้อื่นมีความสุข
- กรุณา อยากให้ผู้อื่นพ้นทุกข์
- มุทิตา ร่วมยินดีกับผูอื่น เมื่อเขาได้รับความสุข
- อุเบกขา การวางเฉย ข้อนี้สำคัญ สามข้อแรกนั้นยังไม่พอ จะต้องมีข้อนี้ประกอบด้วย จึงจะสมบูรณ์

ผมขอยกตัวอย่างง่าย ๆ แบบพื้น ๆ พ่อแม่มีความรัก ต่อลูก อยากให้ลูกมีความสุข เมื่อลูกเจ็บไข้ได้ป่วย อยากให้ลูกพ้นทุกข์
เมื่อลูกมีความสุข ก็ร่วมยินดีกับลูก อันนี้ถูกต้อง

แต่การเมตตา ทำทุกอย่างให้กับลูก โดยไม่ฝึกให้ลูกลำบากบ้าง ไม่หัดให้ลูกทำบ้าง มันผิด บางครั้งจะต้องถืออุเบกขา คอยดู อยู่ห่าง ๆ

อย่างนี้จึงจะถือว่าเป็นความรักที่แท้จริง

ขออภัยครับ เฉไฉ เลี้ยวออกนอกเส้นทาง เหตุการณ์มันพาไปครับ


พระพุทธชินราชในวิหารที่วัดทุ่งเศรษฐี จ.ขอนแก่น







 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.18.192 เสาร์, 1/9/2550 เวลา : 01:47  IP : 202.91.18.192   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 12322

คำตอบที่ 8
       ด้วยเหตุที่พระปริตต์ เป็นพุทธมนต์สำหรับสวดและบริกรรมภาวนาตามหลักพระพุทธศาสนา

ท่านพุทธโฆษะเถระ จึงกล่าวถึงหลักการสวดและบริกรรมไว้ในคัมภีร์สุมังคลวิลาสินี ว่า

"ผู้สวดพระปริตต์ กล่าวผิดอรรถบ้าง ผิดบาลีบ้าง หรือสวดไม่คล่องเสียเลย พระปริตต์ก็ไม่มีเดช

ผู้ที่สวดได้คล่องแคล่วชำนิชำนาญเท่านั้น พระปริตต์จึงจะมีเดช ถึงแม้ผู้ที่เล่าเรียนพระปริตต์

แล้วสวดเพราะเห็นแก่ลาภสักการะ พระปริตต์นั้นก็กาอำนวยประโยชน์ไม่ ท่านผู้ตั้งใจจะช่วยให้พ้นทุกข์

มีเมตตาเป็นปุเรจาริก (เป็นอารมณ์) แล้วสวดนั่นแล พระปริตต์จึงจะอำนวยประโยชน์"





ผู้สวดพระปริตต์จะต้องมีเมตตาจิตเป็นเบื้องต้น แล้วสวดด้วยคิดจะช่วยขจัดปัดเป่าให้เขาพ้นทุกข์

ตามความมุ่งหมายของพระปริตต์ และขณะสวดขอให้มีจิตใจมั่นคงอย่าฟุ้งซ่าน

พระปริตต์จะบำบัด ขจัดปัดเป่า ป้องกัน คุ้มครอง มีเดช มีอานุภาพนั้น เกี่ยวกับความ จะต้องสวด

และบริกรรมโดยถูกต้อง และฟังด้วยเลื่อมใสศรัทธา การเปล่งเสียงพระปริตต์ด้วยจิตที่เลื่อมใส ศรัทธา

อย่างแท้จริงพร้อมกับจินตนาการ เชื่อกันว่าเป็นยาวิเศษที่มีสรรพคุณชะงัด ไม่น้อยไปกว่าสมุนไพรทั้งหลาย

การตั้งใจสวดย่อมแสดงถึงความเมตตารักใคร่ที่มีต่อกัน เพื่อป้องกันและปัดเป่าภยันตรายออกไป

โดยมิได้มีการรำลึกถึงเทพทั้งหลาย เพราะเป็นการเอาอานุภาพพระพุทธคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

เอาสัจจะและพระธรรม ความเมตตากรุณา ให้แผ่ออกไปกว้างขวางโดยไม่มีขอบเขต




พระปริตต์จะไม่คุ้มครองรักษาเพราะเหตุสามประการคือ

- กรรมเข้าขัดขวาง

- กิเลศเข้าขัดขวาง

- เพราะไม่เชื่อในอานุภาพ

หากท่านสนใจในเรื่องนี้เหตุสามประการนี้ สามารถอ่านได้ในคัมภีร์ มิลินทปัญหา พระนาคเสนเถระได้ทรงอธิบายเอาไว้อย่างชัดแจ้ง




เจดีย์หลวงปูชา สุภัทโท วัด หนองป่าพง อุบลราชธานี







 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.18.192 เสาร์, 1/9/2550 เวลา : 02:21  IP : 202.91.18.192   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 12323

คำตอบที่ 9
      



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

Rin จาก Rin 202.12.118.36 เสาร์, 1/9/2550 เวลา : 09:02  IP : 202.12.118.36   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 12325

คำตอบที่ 10
       สาธุ ครับ.....



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

a_anan จาก a_anan 124.121.48.152 เสาร์, 1/9/2550 เวลา : 09:17  IP : 124.121.48.152   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 12327

คำตอบที่ 11
       อืมม์....เมตตาธรรม ค้ำจุนโลก...



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก Supermop 58.8.136.208 เสาร์, 1/9/2550 เวลา : 19:50  IP : 58.8.136.208   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 12331

คำตอบที่ 12
      
เมื่อจะมีการบริกรรมพระปริตต์ ก็สมควรที่จะชักชวนใครต่อใครมาร่วมฟังด้วย จึงมีการอัญเชิญ ทวยเทพมั้งหลายให้มาร่วมฟัง

ด้วยคำเชิญ ซึ่งเรียกกันมาว่า "บทชุมนุมเทวดา" ในเจ็ดตำนาณ กับ สิบสองตำนาณ แตกต่างกันนิดหน่อย

สะมันตา จักกะวาเฬสุ อัตราคัจฉันตุเทวะตา
สัทธัมมัง มุนิราชัสสะ สุณันตุ สัคคะโมกขะทัง ฯ

(ขอเชิญเทวดาทั้งหลายในจักวาฬทั้งหลายโดยรอบ จงมาประชุมกัน ณ ที่นี้
แล้วขอเชิญฟังพระสัทธรรม ที่ชี้ทางไปสู่สวรรค์และพระนิพพาน ของจอมมุนีเจ้ากันเถิด )


สัคเค กาเมจะรูเป คิริสิขะระตะเฏ จันตะลิกเข วิมาเน
ทีเป รัฏเฐ จะ คาเม ตะรุวะนะคะหะเน เคหะวัตถุมหิ เขตเต
ภุมมา จายันตุ เทวา ชะละถะละวิสะเม ยักขะคันธัพพะนาคา
ติฏฐันตา สันติเก ยัง มุนิวะระวะจะนัง สาธะโว เม สุณัน ตุฯ

(ขอเชิญเทวดาทั้งหลาย ผู้สิงสถิตอยู่ในสวรรค์ชั้มกามภพ ในชั้นรูปภพ ผู้สิงสถิตอยู่บนยอดเขา
ผู้สิงสถิตที่หุบผา ทั้งที่สิงสถิตอยู่บนวิมาณอากาศ และภุมมเทวดาทั้งหลาย ซึ่งสิงสถิตในทวีป ในรัฐ
ในหมู่บ้าน บนต้นไม้ ในป่า ในเรือน เรือกสวนไร่นา รวมั้งปรรดายักษ์ คนธรรพ์ และนาคทั้งหลาย
ผู้เป็นสาธุชน ซึ่งสิงสถิตอยู่ในน้ำ บนบก ณ ที่ลุ่ม ที่ดอน ที่ใกล้เคียง จงมาชุมนุมกัน
ขอเชิญฟังคำของพระมุนีเจ้าอันประเสริฐ ซึงข้าพเจ้าทั้งหลายจะกล่าว ณ บัดนี้กันเถิด)


ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา
ธัมมัสสะวะนะกาโล อะยัมภะทันตา

(ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย เวลานี้เป็นเวลาฟังธรรม
ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย เวลานี้เป็นเวลาฟังธรรม
ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย เวลานี้เป็นเวลาฟังธรรม)


เมื่ออัญเชิญเทวดา เสร็จแล้ว ก็เริ่มสวด

นะโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมา สัมพุทธัสสะ
นะโม ตัสสะ ภควโต อรหโต สัมมา สัมพุทธัสสะ

(ขอความนอบน้อม จงมี แด่องค์พระผู้มีพระภาคอรหันต์ สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอความนอบน้อม จงมี แด่องค์พระผู้มีพระภาคอรหันต์ สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอความนอบน้อม จงมี แด่องค์พระผู้มีพระภาคอรหันต์ สัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น)


ต่อด้วยไตรสรณคมน์

พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ สังคัง สรณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ ทุติยัมปิ สังคัง สรณัง คัจฉามิ
ตติยัมปิ พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ตติยัมปิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ ตติยัมปิ สังคัง สรณัง คัจฉามิ

(ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง
แม้ในวาระที่ 2 ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง
แม้ในวาระที่ 3 ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่ง )

แค่เริ่มต้นก็เป็นมงคลแล้วครับ อย่างน้อยเทวดาทั้งหลายก็คงมาฟังเราบ้าง มากน้อยแล้วแต่พลังจิต
ยิ่งเสียงเพราะ ๆ ฟังเสนาะหู ใคร ๆ ก็อยากฟัง สวดเสียงดัง ๆ ได้บริหารปอดเป็นผลพลอยได้
ภูตผี ปิศาจทั้งหลายย่อมออกห่าง ด้วยฤทธิ์เดช อำนาจของเทวดา

คนที่กลัวผีทั้งหลายก็หยุดกลัวกันได้ เทวดามาคุ้มครองในเบื้องต้น แล้วครับ




 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.18.192 เสาร์, 1/9/2550 เวลา : 20:08  IP : 202.91.18.192   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 12332

คำตอบที่ 13
      
(ถ้าสวดให้คนไข้ฟัง หรือสวดให้งานทำบุญสะเดาะเคราะห์ต่อชะตาอายุ สวดดังนี้)

พุทธัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สรณัง คัจฉามิ
ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สรณัง คัจฉามิ
สังฆัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สรณัง คัจฉามิ

ทุติยัมปิ พุทธัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สรณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สรณัง คัจฉามิ
ทุติยัมปิ สังฆัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สรณัง คัจฉามิ

ตะติยัมปิ พุทธัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สรณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ ธัมมัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สรณัง คัจฉามิ
ตะติยัมปิ สังฆัง ชีวิตัง ยาวะ นิพพานัง สรณัง คัจฉามิ







 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.18.192 เสาร์, 1/9/2550 เวลา : 20:22  IP : 202.91.18.192   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 12333

คำตอบที่ 14
      
สาธุ ครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

kupree จาก kupree อาทิตย์, 2/9/2550 เวลา : 19:28  IP :   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 12346

คำตอบที่ 15
      
สัมพุทเธ (บทคำกล่าว นมัสการพระพุทธเจ้า)


พระคาถานี้ ไม่มีในหนังสือสวดมนต์ของพม่า เข้าใจว่าพระเถระ ผู้เป็นนักปราชญ์ของไทยเป็นผู้แต่งขึ้น
หรือนำมาจากพระคัมภีร์ใดพระคัมภีร์หนึ่ง ซึ่งยังไม่พบที่มา แต่ดูจะมีความเชื่อสอดคล้องกับพระคาถา
ที่แทรกเพิ่มเติมที่อยู่ในพระอาฏานาฏิยะปริตต์ ที่ว่า "เอเต จัญเญ สัมพุทธา อเนกสตโกฏิโย
พระพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านี้ก็ดี พระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายอื่นอีกนับด้วยร้อยโกฏิเป็นอันมากก็ดี "
(บทพระอาฏานาฏิยะปริตต์ จะได้เขียนต่อในภายหลังครับ)

แสดงให้เห็นว่าในเรื่องพระปริตต์นั้น พระโบราณาจารย์ได้นำเอาความนับถือตามแนวพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน
เข้ามาให้ความคุ้มครองรักษาด้วย โดยไม่จำกัดอานุภาพ ของพระพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณ ให้อยู่แต่ในวงแคบ
นับเป็นความรอบคอบอย่างยิ่ง



สัมพุทเธ อัฏฐะวีสัญจะ ทวาทะสัญจะ สะหัสสะเก
ปัญจะสะตะสะหัสสานิ นะมามิ สิระสา อะหัง
เตสัง ธัมมัญจะ สังฆัญจะ อาทะเรนะ นะมามิหัง

(ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสัมพุทธเจ้า 512,028 พระองค์ ด้วยเศียรเกล้า
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ ของพระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น โดยเคารพด้วย)

นะมะการานุภาเวนะ หันตวา สัพเพ อุปัททะเว
อะเนกา อันตะรายาปิ วินัสสันตุ อะเสสะโต ฯ

(ด้วยอานุภาพแห่งการทำความนอบน้อม ขอจงขจัดเสียซึ่งอุปัททวะทั้งหลายทั้งปวง
ถึงแม้อันตรายเป็นอันมาก ก็จงพินาศไปโดยสิ้นเชิง )

สัมพุทเธ ปัญจะปัญญา สัญจะ จะตุวีสะติสะหัสสะเก
ทะสะสะตะสะหัสสานิ นะมามิ สิระสา อะหัง
เตสัง ธัมมัญจะ สังฆัญจะ อาทะเรนะ นะมามิหัง

(ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสัมพุทธเจ้า 1,024,055 พระองค์ ด้วยเศียรเกล้า
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ ของพระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น โดยเคารพด้วย)

นะมะการานุภาเวนะ หันตวา สัพเพ อุปัททะเว
อะเนกา อันตะรายาปิ วินัสสันตุ อะเสสะโต ฯ

(ด้วยอานุภาพแห่งการทำความนอบน้อม ขอจงขจัดเสียซึ่งอุปัททวะทั้งหลายทั้งปวง
ถึงแม้อันตรายเป็นอันมาก ก็จงพินาศไปโดยสิ้นเชิง )

สัมพุทเธ นะวุตตะระสะเต อัฏฐะจัตตาฬีสะสะหัสสะเก
วีสะติสะตะสะหัสสานิ นะมามิ สิระสา อะหัง
เตสัง ธัมมัญจะ สังฆัญจะ อาทะเรนะ นะมามิหัง

(ข้าพเจ้าขอนอบน้อมพระสัมพุทธเจ้า 2,048,109 พระองค์ ด้วยเศียรเกล้า
ข้าพเจ้าขอนอบน้อมทั้งพระธรรมและพระสงฆ์ ของพระสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น โดยเคารพด้วย)

นะมะการานุภาเวนะ หันตวา สัพเพ อุปัททะเว
อะเนกา อันตะรายาปิ วินัสสันตุ อะเสสะโต ฯ

(ด้วยอานุภาพแห่งการทำความนอบน้อม ขอจงขจัดเสียซึ่งอุปัททวะทั้งหลายทั้งปวง
ถึงแม้อันตรายเป็นอันมาก ก็จงพินาศไปโดยสิ้นเชิง )









 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.18.192 อาทิตย์, 2/9/2550 เวลา : 20:08  IP : 202.91.18.192   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 12347

คำตอบที่ 16
       ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 4 สมเด็จพระพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส
ได้ทรงพระนิพนธ์ "นะมะการะสิทธิคาถา"
ผู้เชี่ยวชาญบาลี ได้ยกย่องชมเชยบทสวดนี้ว่าแต่งได้ไพเราะมาก
มีความหมายดี นอบน้อมถึงพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆเจ้า

จึงใช้สวดแทนบท สัมพุทเธ หรือท่านใดจะสวดทั้งสองบทนี้ก็ไม่ผิดกติการแต่ประการใด

นะมะการะสิทธิคาถา

โย จักขุมา โมหะมะลาปะกัฏโฐ
สามัง วะ พุทโธ สุคะโต วิมุตโต
มารัสสะ ปาสา วินิโมจะยันโต
ปาเปสิ เขมัง ชะนะตัง วิเนยยัง ฯ
พุทธัง วะรันตัง สิระสา นะมามิ
โลกัสสะ นาถัญจะ วินายะกัญจะ
ตันเตชะสา เต ชะยะ สิทธิ โหตุ
สัพพันตะรายา จะ วินาสะเมนตุ ฯ

(ท่านพระองค์ใด มีพระปัญญาจักขุ ขจัดมลทิน คือโมหะเสียแล้ว ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า โดยลำพังพระองค์เอง
เสด็จไปดีพ้นไปแล้ว ทรงเปลื้องชุมชนอันเป็นเวไนย จากบ่วงแห่งมาร นำมาให้ถึงความเกษม
ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายนมัสการพระพุทธเจ้าผู้บวรพระองค์นั้น ผู้เป็นนาถะและผู้นำแห่งโลก
ด้วยเดชพระพุทธเจ้านั้น ขอความสำเร็จแห่งชัยชนะจงมีแด่ท่าน และขออันตรายทั้งปวง จงถึงความพินาศ)


ธัมโม ธะโช โย วิยะ ตัสสะ สัตถุ
ทัสเสสิ โลกัสสะ วิสุทธิมัคคัง
นิยยานิโก ธัมมะธะรัสสะธารี
สาตาวะโห สันติกะโร สุจิณโณ ฯ
ธัมมัง วะรันตัง สิระสา นะมามิ
โมหัปปะทาลัง อุปะสันตะทาหัง
ตันเตชะสา เต ชะยะสิทธิ โหตุ
สัมพันตะรายา จะ วินาสะเมนตุ ฯ

(พระธรรมเจ้าใด เป็นดุจธงชัยแห่งพระศาสดาพระองค์นั้น ทางแสดงแห่งความบริสุทธิ์แก่โลกคุ้มครองชนผู้ทรงธรรม ประพฤติดีแล้ว
นำความสุขมา ทำความสงบ ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายนมัสการพระธรรมอันบวรนั้น อันทำลายโมหะ ระงับความเร่าร้อน
ด้วยเดชพระธรรมเจ้านั้น ขอความสำเร็จแห่งชัยชนะจงมีแด่ท่าน และขออันตรายทั้งปวง จงถึงความพินาศ)


สัทธัมมะเสนา สุ คะตานุโค โย
โลกัสสะ ปาปูปะกิเล สะเชตา
สันโต สะยัง สันตินิโยชะโก จะ
สวากขาตะธัมมัง วิทิตัง กะโรติ ฯ
สังฆัง วะรันตัง สิระสา นะมามิ
พุทธานุพุทธัง สะมะสีละทิฏฐิง
ตันเตชะสา เต ชะยะ สิทธิ โหตุ
สัพพันตะรายา จะ วินาสะเมนตุ ฯ

(พระสงฆเจ้าใด เป็นเสนาประกาศพระสัทธรรม ดำเนินตามพระศาสดา ผู้เสด็จดีแล้ว ผจญเสียซึ่งอุปกิเลสอันลามกของโลก
เป็นผู้สงบเองด้วย ประกอบผู้อื่นไว้ในความสงบด้วย ย่อมทำพระธรรม อันพระศาสดาตรัสดีแล้ว ให้มีผู้รู้ตาม
ข้าพระพุทธเจ้าขอถวายนมัสการพระสงฆเจ้าผู้บวรนั้น ผู้ตรัสรู้ตามพระพุทธเจ้ามีศีลและทิฎฐิเสมอกัน
ด้วยเดชพระสงฆเจ้านั้น ขอความสำเร็จแห่งชัยชนะจงมีแด่ท่าน และขออันตรายทั้งปวง จงถึงความพินาศ)



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.18.192 จันทร์, 3/9/2550 เวลา : 00:16  IP : 202.91.18.192   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 12354

คำตอบที่ 17
       และท่านยังได้แต่งบท "นะโมการะอัฏฐะกะ" อาจารย์ เสถียรพงศ์ วรรณปก ได้เคยเขียนไว้ว่า
"มีความไพเราะมาก ยากที่ปัจจุบันจะแต่งบทสวดมนต์ที่ไพเราะ และสละสวยเช่นนี้ออกมาได้"

ความจริงบทนี้มิได้อยู่ในพระปริตต์แต่อย่างใด แต่ก็นิยมสวดรวมในพระปริตต์ด้วยเช่นกัน


นะโมการะอัฏฐะกะ

นะโม อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ มะเหสิโน
นะโม อุตตะมะธัมมัสสะ สวากขาตัสเสวะ เตนิธะ
นะโม มะหาสังฆัสสาปิ วิสุทธะสีละทิฏฐิโน
นะโม โอมาตยารัทธัสสะ ระตะนัตตะยัสสะ สาธุกัง
นะโม โอมะกาตี ตัสสะ ตัสสะวัตถุตตะยัสสะปิ
นะโม การัปปะภาเวนะ วิคัจฉันตุ อุปัททะวา
นะโม การานุภาเวนะ สุวัตถิ โหตุ สัพพะทา
นะโม การัสสะ เตเชนะ วิธิมหิ โหมิ เตชะวา ฯ

(ขอนอบน้อมแต่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้แสวงหาผลประโยชน์อันใหญ่
ขอนอบน้อมแด่พระธรรมอันสูงสุด ในพระศาสนานี้ ที่พระองค์ตรัสแล้ว
ขอนอบน้อมแด่พระสงฆ์หมู่ใหญ่ แด่พระรัตนตรัยที่ปรารภแล้ว ให้สำเร็จประโยชน์
ขอนอบน้อมแด่หมวดวัตถุ อันล่วงพ้นโทษต่ำช้านั้น
ด้วยการประกาศการกระทำความนอบน้อม อุปัทวะทั้งหลาย จงปราศจากไปด้วยอานุภาพแห่งการกระทำความนอบน้อม
ขอความสวัสดีจงมีทุกเมื่อ ด้วยเดชแห่งการกระทำความนอบน้อม เราจงเป็นผู้มีเดช ในมงคลพิธีเถิด)



แค่สวดสองสามบทก็อัญเชิญพระบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาปกป้องคุ้มครอง
พระธรรมอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นความจริงทุกกาลสมัย พระสงฆ์ผู้เป็นสาวก มาปกป้องค้มครอง

ภูติผีปิศาจ ไม่ต้องไปกลัวแล้วครับ ผมไปเที่ยวที่ไหนไม่เคยกลัวเลยแม้แต่น้อย



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.18.192 จันทร์, 3/9/2550 เวลา : 00:40  IP : 202.91.18.192   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 12356

คำตอบที่ 18
       มงคลสูตร

จาก อรรถกถา ขุททกนิกาย สุตตนิบาต จูฬวรรค
ถามว่า พระสูตรนี้ มีเหตุเกิดขึ้นอย่างไร.
ตอบว่า พระสูตรนี้ มีเหตุเกิดขึ้นดังต่อไปนี้.

ดังได้สดับมา ในชมพูทวีป มหาชนประชุมกันในที่ทั้งหลายมีประตูพระนคร สันถาคาร (ห้องโถง) และที่ประชุมเป็นต้น ในที่นั้นๆ
แม้ให้เงินและทองแล้ว ก็ชวนกันและกันกล่าวพาหิรกถา มีเรื่องการลักนางสีดาเป็นต้นมีประการต่างๆ เรื่องหนึ่งๆ กว่าจะจบลงก็ใช้เวลาถึง ๔ เดือน
ในบรรดาพาหิรกถาเหล่านั้น มงคลกถาก็ตั้งขึ้นว่า อะไรหนอแลชื่อว่า มงคล. สิ่งที่เห็นแล้วหรือ ชื่อว่ามงคล
สิ่งที่ฟังแล้วหรือ ชื่อว่ามงคล สิ่งที่ได้ทราบแล้วหรือชื่อว่า มงคล ใครเล่ารู้จักมงคล

ครั้งนั้น ชายคนหนึ่งชื่อว่า ทิฏฐมังคลิกะ พูดว่า ข้าพเจ้าย่อมรู้จักมงคล สิ่งที่เห็นแล้ว ชื่อว่าเป็นมงคลในโลก
รูปที่สมมติกันว่าเป็นมงคลยิ่ง ชื่อว่าสิ่งที่เห็นแล้ว คือ คนบางคนในโลกนี้ตื่นแต่เช้าตรู่ เห็นนกแอ่นลมบ้าง,
เห็นต้นมะตูมหนุ่มบ้าง, หญิงมีครรภ์บ้าง, กุมารทั้งหลายซึ่งประดับตกแต่งแล้วบ้าง, หม้อน้ำที่เต็มบ้าง,
ปลาตะเพียนสดบ้าง, ม้าอาชาไนยบ้าง, รถเทียมม้าอาชาไนยบ้าง, โคอุสภะบ้าง, แม่โคบ้าง, สีแดงบ้าง
ก็หรือว่าเห็นรูปแม้อื่นใดที่สมมติกันว่าเป็นมงคลยิ่งเห็นปานนี้ นี้เขาเรียกกันว่า ทิฏฐมงคล

คำของชายคนนั้น บางพวกก็ยอมรับ บางพวกก็ไม่ยอมรับ. ชนพวกใดไม่ยอมรับ ชนพวกนั้นก็ถกเถียงกับนายทิฏฐมังคลิกะนี้


ครั้งนั้น ชายคนหนึ่งชื่อว่า สุตมังคลิกะ กล่าวว่า แน่ะผู้เจริญ ชื่อว่าจักษุนี้ เห็นรูปที่ดีบ้าง ที่งามบ้าง ไม่งามบ้าง ที่ชอบใจบ้าง ที่ไม่ชอบใจบ้าง
ถ้าหากว่ารูปที่ตานั้นเห็นแล้วจักพึงเป็นมงคลไซร้ แม้รูปทุกชนิดก็พึงเป็นมงคล รูปที่เห็นแล้วจึงไม่ใช่เป็นมงคล แต่อีกอย่างหนึ่งแล
เสียงที่ฟังแล้ว (ต่างหาก) เป็นมงคล (เพราะว่า) เสียงที่สมมติกันว่าเป็นมงคลยิ่ง ชื่อว่าสิ่งที่ได้ฟังแล้ว คือ คนบางคนในโลกนี้ลุกขึ้นแต่เช้าแล้ว
ย่อมฟังเสียงว่า วัฑฒะ เจริญบ้าง, ว่า วัฑฒมานะ เจริญอยู่บ้าง, ปุณณะ เต็มบ้าง, ปุสสะ ขาวบ้าง, สุมนา ดอกมะลิบ้าง, สิริ มิ่งขวัญบ้าง,
สิริวัฒน์ เจริญด้วยมิ่งขวัญบ้าง, หรือว่า วันนี้ฤกษ์ดี, ยามดี, วันดี, มงคลดี หรือฟังเสียงที่สมมติกันว่าเป็นมงคลยิ่งอย่างใดอย่างหนึ่งเห็นปานนี้ นี้เขาเรียกกันว่า สุตมงคล

คำแม้ของสุตมังคลิกะนั้น บางพวกก็ยอมรับ บางพวกก็ไม่ยอมรับ. พวกใดไม่ยอมรับ พวกนั้นก็ถกเถียงกับนายสุตมังคลิกะนั้น

ครั้งนั้น ชายคนหนึ่งชื่อว่า มุตมังคลิกะ พูดว่า ท่านผู้เจริญ สิ่งที่ได้ฟังนี้ บุคคลย่อมได้ฟังสิ่งที่ดีบ้าง ไม่ดีบ้าง พอใจบ้าง ไม่พอใจบ้าง
ถ้าหากสิ่งที่ได้ฟังนั้นเป็นมงคลไซร้ แม้ทุกสิ่งที่ได้ฟังก็เป็นมงคลหมด เพราะฉะนั้นสิ่งที่ได้ฟังหาเป็นมงคลไม่ แต่อีกประการหนึ่งแล
สิ่งที่ได้ทราบ จัดว่าเป็นมงคล กลิ่น รส โผฏฐัพพะที่สมมติกันว่าเป็นมงคลยิ่ง ชื่อว่าสิ่งที่ได้ทราบเป็นมงคล คือบุคคลบางคนในโลกนี้
ตื่นแต่เช้าสูดกลิ่นดอกไม้มีกลิ่นดอกปทุมบ้าง เคี้ยวไม้ชำระฟันสีขาวบ้าง จับต้องแผ่นดินบ้าง จับต้องข้าวกล้าที่เขียวสดบ้าง
จับต้องโคมัยสดบ้าง จับต้องเต่าบ้าง จับต้องเกวียนบรรทุกงาบ้าง ดอกไม้บ้าง ผลไม้บ้าง หรือว่าย่อมลูบไล้ร่างกายอย่างดีด้วยดินขาว (ดินสอพอง)
นุ่งผ้าสาฏกสีขาวบ้าง โพกผ้าขาวบ้าง ก็หรือว่าสูดกลิ่นแม้อื่นอย่างใดอย่างหนึ่งที่สมมติกันว่าเป็นมงคลยิ่งเห็นปานนี้
หรือว่าลิ้มรส หรือว่าถูกต้องโผฏฐัพพะ นี้เขาเรียกกันว่า มุตมงคล

คำของนายมุตมังคลิกะแม้นั้น บางพวกก็เชื่อถือ บางพวกไม่เชื่อถือ.

ในบรรดาคนเหล่านั้น นายทิฏฐมังคลิกะไม่อาจจะให้นายสุตมังคลิกะและนายมุตมังคลิกะยินยอมได้
นายสุตมังคลิกะก็ไม่อาจจะให้นายทิฏฐมงคลิกะและนายสุตมังคลิกะยินยอมได้
นายทิฏฐมังคลิกะและนายสุตมังคลิกะนอกนี้ก็ไม่อาจให้นายมุตมังคลิกะยินยอมได้

ก็ในบรรดามนุษย์เหล่านี้ มนุษย์เหล่าใดเชื่อถือคำของนายทิฏฐมังคลิกะ มนุษย์เหล่านั้นก็ลงสันนิษฐานกันว่า สิ่งที่เห็นแล้วเท่านั้นเป็นมงคล
มนุษย์เหล่าใดเชื่อคำของนายสุตมังคลิกะและนายมุตมังคลิกะ มนุษย์เหล่านั้นก็ลงสันนิษฐานว่าสิ่งที่ได้ฟังแล้วเท่านั้นเป็นมงคล (หรือว่า) สิ่งที่ได้ทราบแล้วเท่านั้นเป็นมงคล



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.18.192 จันทร์, 3/9/2550 เวลา : 02:41  IP : 202.91.18.192   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 12357

คำตอบที่ 19
       ถ้อยคำปรารภมงคลนี้ปรากฏไปทั่วแล้วในชมพูทวีปทั้งสิ้นด้วยประการฉะนี้.
ครั้งนั้น มนุษย์ทั้งหลายในชมพูทวีปทั้งสิ้นรวมกันเป็นพวกๆ คิดมงคลทั้งหลายกันว่า “อะไรหนอแล เป็นมงคล”
แม้อารักขเทวดาทั้งหลายของพวกมนุษย์เหล่านั้นฟังถ้อยคำนั้นแล้ว ก็คิดมงคลทั้งหลายกันเหมือนกัน
ภุมมเทวดาทั้งหลายที่เป็นมิตรของเทวดาเหล่านั้นมีอยู่ ครั้งนั้น ภุมมเทวดาทั้งหลายฟังจากเทวดาเหล่านั้นแล้ว ก็คิดมงคลทั้งหลายเหมือนกัน
อากาสัฏฐเทวดาที่เป็นมิตรของภุมมเทวดาแม้เหล่านั้นก็มีอยู่ ฯลฯ

เทวดาชั้นจาตุมมหาราชิกาที่เป็นมิตรของอากาสัฏฐเทวดาก็มีอยู่
โดยอุบายนี้นั้นแล จนถึงอกนิษฐเทวดาที่เป็นมิตรของสุทัสสีเทวดาก็มีอยู่
ครั้งนั้น แม้อกนิษฐเทวดาฟังจากสุทัสสีเทวดานั้นแล้วก็รวมกันเป็นพวกๆ เหมือนอย่างนั้นคิดมงคลทั้งหลาย
การคิดเรื่องมงคลเกิดขึ้นในที่ทุกแห่งจนถึงหมื่นจักรวาลด้วยประการฉะนี้.
ก็การคิดเรื่องมงคลนั้นซึ่งบังเกิดขึ้นแล้ว แม้อันนักคิดทั้งหลายวินิจฉัยกันอยู่ว่า
สิ่งนี้เป็นมงคลๆ ก็ไม่ถึงการตกลงกันได้เลย คิดกันอยู่สิ้นเวลา ๑๒ ปี
พวกมนุษย์พวกเทวดาและพวกพรหมทั้งปวง เว้นพระอริยสาวกทั้งหลายแตกกันเป็น ๓ พวก
คือ พวกทิฏฐมังคลิกะพวก ๑ พวกสุตมังคลิกะพวก ๑ พวกมุตมังคลิกะพวก ๑.
ไม่มีใครแม้คนเดียวที่ชื่อว่าถึงการตัดสินใจได้ตามความเป็นจริงว่า สิ่งนี้เท่านั้นเป็นมงคล.

ความโกลาหลเรื่องมงคลเกิดขึ้นแล้วในโลก

(เรื่องชั้นของเทวดาทั้งหลาย จะมาอธิบายให้ฟังทีหลังครับ ถ้าไม่ลืม)



พระยืนที่เมืองเกินร้อย ....... จังหวัดร้อยเอ็ด






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.18.192 จันทร์, 3/9/2550 เวลา : 03:03  IP : 202.91.18.192   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 12359

คำตอบที่ 20
      


พวกเทพเจ้าชั้นสุทธาวาสนั้นเองทราบวาระจิตของมนุษย์แล้ว ก็เที่ยวบอกไปในถิ่นมนุษย์ว่า
โดยกาลล่วงไป ๑๒ ปี พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจักตรัสมงคล นี้ชื่อว่า มังคลโกลาหล

เมื่อเทพเจ้าทั้งหลายและมนุษย์ทั้งหลายค้นหากันแล้วๆ ไม่ได้มงคลทั้งหลายอยู่ โดยล่วงไป ๑๒ ปี เทวดาทั้งหลายชั้นดาวดึงส์ก็มาประชุมพร้อมกัน

ครั้งนั้น ท้าวสักกะจอมเทพจึงตรัสถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า (ขณะนี้) ประทับอยู่ที่ไหน พวกเทวดาทั้งหลายก็กราบทูลว่า
ข้าแต่เทวะ พระองค์ประทับอยู่ในมนุษยโลก ท้าวสักกะตรัสถามว่า ใครได้ทูลถามปัญหานั้นกะพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว
เทพยดาทั้งหลายทูลว่า ข้าแต่เทวะ ยังไม่มีใครทูลถาม ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย เพราะเหตุไรหนอแล พวกท่านจึงละเลย
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นผู้แสดงมงคลที่ไม่มีส่วนเหลือ แล้วสำคัญเราว่าเป็นผู้ควรถาม ชื่อว่าทิ้งไฟเสียแล้ว มาใช้แสงหิ่งห้อย
ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ทั้งหลาย พวกท่านจงไป จงทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น พวกท่านก็จักได้การตอบปัญหาซึ่งมีสิริ (มีคุณค่า) อย่างแน่นอน
ท้าวสักกะเทวราชจึงตรัสสั่งเทพบุตรองค์หนึ่งว่า ท่านจงทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้า ในเรื่องนี้

พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแก้ปัญหานั้นของเทพบุตรนั้น จึงได้ตรัสพระสูตรนี้



แต่ก่อนนี้ผมก็เคยอ้างบางส่วนในพระสูตรนี้ มีหนังสือแต่งออกมาหลายเล่ม เช่นของพันเอกปิ่น มุทุกัณฑ์ "มงคลชีวิต 38 ประการ"
คนที่ยังอายุน้อย ๆ หลาย ๆ คน คงไม่เคยอ่านหนังสือเล่มนี้





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.18.192 จันทร์, 3/9/2550 เวลา : 03:04  IP : 202.91.18.192   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 12360

คำตอบที่ 21
      



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

chyvw จาก ชาย 202.44.210.31 พุธ, 5/9/2550 เวลา : 16:21  IP : 202.44.210.31   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 12468

คำตอบที่ 22
       พระปริตต์ "มังคลสูตร"

อะเสวะนา จะ พาลานัง ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา
ปูชา จะ ปูชะนียานัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง
(การไม่คบคนพาล, การคบบัณฑิต ,การบูชาบุคคลที่ควรบูชา นี้เป็นอุดมมงคล)

ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ ปุพเพ จะ กะตะปุญญะตา
อัตตะสัมมาปะณิธิ เอตัมมังคะละมุตตะมัง
(อยู่ในถิ่นมีสิ่งแวดล้อมดี ,ความเป็นผู้มีบุญอันกระทำแล้วในกาลก่อน, การตั้งตนไว้ชอบ , นี้เป็นอุดมมงคล)

พาหุสัจจัญจะ สิปปัญจะ วินะโย จะ สุสิกขิโต
สุภาสิตา จะ ยา วาจา เอตัมมังคะละมุตตะมัง
(พหูสูตรเล่าเรียนศึกษามาก ,มีศิลปวิทยา, มีระเบียบวินัย, วาจาสุภาสิต นี้เป็นอุดมมงคล)

มาตาปิตุอุปัฏฐานัง ปุตตะ ทารัสสะ สังคะโห
อะนากุลา จะ กัมมันตา เอตัมมังคะละมุตตะมัง
(การบำรุงมารดาบิดา , การสงเคราะห์บุตร, การสงเคราะห์ภรรยา , การงานอันไม่อากูล นี้เป็นอุดมมงคล)

ทานัญจะ ธัมมะจะริยา จะ ญาตะกานัญจะ สังคะโห
อะนะวัชชานิ กัมมานิ เอตัมมังคะละมุตตะมัง
(รู้จักให้ทาน , การประพฤติธรรม ,การสงเคราะห์ญาติ การงานไม่มีโทษ นี้เป็นอุดมมงคล)

อาระตี วิระติ ปาปา มัชชะปานา จะ สังยะโม
อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ เอตัมมังคะละมุตตะมัง
(การงดการเว้นจากบาป , เว้นจาการดื่มน้ำเมา , ความไม่ประมาทในธรรมทั้งหลาย นี้เป็นอุดมมงคล)

คาระโว จะ นิวาโต จะ สันตุฏฐิ จะ กะตัญญุตา
กาเลนนะ ธัมมัสสะวะนัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง
(ความเคารพ , ความประพฤติถ่อมตน, ความสันโดษ ,ความกตัญญู , การฟังธรรมโดยกาล นี้เป็นอุดมมงคล)

ขันตี จะ โสวะจัสสะตา สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง
กาเลนนะ ธัมมะสากัจฉา เอตัมมังคะละมุตตะมัง
(มีความอดทน , เป็นผู้ว่าง่ายสอนง่าย , การได้เห็นสมณะทั้งหลาย , การสนทนาธรรมโดยกาล นี้เป็นอุดมมงคล)

ตะโป จะ พรัหมะจะริยัญจะ อะริยะสัจจานะ ทัสสะนัง
นิพานะสัจฉิกิริยา จะ เอตัมมังคะละมุตตะมัง
(มีความเพียรเผากิเลส , ประพฤติพรหมจรรย์ , การเห็นอริยสัจ , การกระทำนิพพานให้แจ้ง นี้เป็นอุดมมงคล)


ผุฏฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะติ
อะโสกัง วิระชัง เขมัง เอตัมมังคะละมุตตะมัง
(จิตของผู้ใดอันโลกธรรมทั้งหลายถูกต้องแล้ว ย่อมไม่หวั่นไหว , ไม่เศร้าโศก , จิตปราศจากธุลี , เป็นจิตเกษม นี้เป็นอุดมมงคล)

เอตาทิสานิ กัตะวานะ สัพพัตถะมะปะราชิตา
(เทพยดาและมนุษย์ทั้งหลายพากันสร้างสื่งที่เป็นมงคลชั้นอุดมทั้ง 38 ประการ เห็นปานฉะนี้แล้ว
ย่อมเป็นผู้ไม่พ่ายแพ้ในทุกสถานที่ บรรลุถึงซึ่งความสวัสดีในกาลทุกเมื่อ)

สัพพัตถะ โสตถิง คัจฉันติ ตันเตสัง มังคะละมุตตะมันติ
(จัดป็นมงคลชั้นอุดมของเทพยดาและมนุษย์เหล่านั้นฉะนี้แล)



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 125.25.210.233 พฤหัสบดี, 13/9/2550 เวลา : 01:09  IP : 125.25.210.233   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 12606

คำตอบที่ 23
       ขอขยายความของมงคลชีวิตในแต่ละข้อต่ออีกซักเล็กน้อยครับ

มงคลชีวิตข้อที่ 1: ไม่คบคนพาล
บาลี: อเสวนา จ พาลานํ (อะเสวะนา จะ พาลานัง)

พาล แปลว่า โง่เขลา อับปัญญา รู้เท่าไม่ถึงการณ์ คนพาลคือคนโง่เขลา
คนเกเรแม้คนมีปริญญาสูงๆแต่ประพฤติทุจริตทางกาย วาจา ใจ เรียกว่า คนพาล
การไม่คบคนพาลจึงเป็นมงคล เพราะการคบคนพาลพาไปหาผิด
การไม่คบคนพาลจึงทำให้พ้นจากโอกาสที่จะหลงเข้าสู่ความผิด
นำมาซึ่งความสรรเสริญของคนทั่วไป และประสบความสุขความก้าวหน้าในชีวิต
เป็นการตัดกำลังไม่ให้เชื้อคนพาลระบาดไป เพราะขาดคนสนับสนุน

มงคลชีวิตข้อที่ 2: คบบัณฑิต
บาลี: ปณฑิตานญฺจ เสวนา (ปัณฑิตานัญจะ เสวะนา)

บัณฑิต แปลว่า ผู้มีปัญญา นักปราชญ์ หมายถึง ผู้รู้ทัน และมีเหตุผล ในการกระทำ ในคำที่พูด และเรื่องที่คิด
คบบัณฑิตเป็นมงคล เพราะได้ความรู้ ความปลอดภัย ความสรรเสริญ ความสุข เกียรติยศ ชื่อเสียง
และชื่อว่าได้ทำความดีด้วย ทำให้บรรลุมรรคผลนิพพานได้ง่าย ได้ชื่อว่ามี "กัลยาณมิตร"

มงคลชีวิตข้อที่ 3: บูชาบุคคลที่ควรบูชา
บาลี: ปูชา จ ปูชนียานํ (ปูชา จะ ปูชะนียานัง)

บูชา คือ สักการะ เคารพ นับถือ ยำเกรง กราบไหว้ ทำด้วยความเอื้อเฟื้อ การบูชาเป็นมงคล เพราะทำให้เราลดทิฏฐิมานะลงได้
ป้องกันความเห็นผิด และทำให้เราได้แบบอย่างที่ดีจากคนที่เราเคารพ เป็นการขจัดคนพาลให้พินาศไปโดยทางอ้อม
และเป็นการเชิดชูบัณฑิตให้สูงเด่นยิ่งขึ้น และได้ชื่อว่าเป็นผู้มี "กตัญญูกตเวที" อีกด้วย

มงคลชีวิตข้อที่ 4: อยู่ในถิ่นอันสมควร
บาลี: ปฏิรูปเทสวาโส จ (ปะฏิรูปะเทสะวาโส จะ)

ปฏิรูป แปลว่า เหมาะสมหรือสมควร เทสะ แปลว่าสถานที่หรือท้องถิ่น ปฏิรูปเทสวาสะ คือการอยู่ในท้องถิ่นอันสมควร
คืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีมีความพร้อม การอยู่ในประเทศอันสมควรเป็นมงคล เพราะการอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ดีย่อมทำให้เป็นคนดี
คนมีความรู้ถ้าอยู่ในถิ่นที่ไม่ต้องใช้วิชาความรู้ ความรู้นั้นก็หมดค่าไป และทำให้คนเรากล้าต่อการเผชิญกับปัญหา
เพื่อสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีได้ ได้รับความสุขกาย สุขใจ มีความเจริญก้าวหน้า ทั้งทางโลกและทางธรรม

มงคลชีวิตข้อที่ 5: ทำบุญมาไว้ก่อน
บาลี: ปุพฺเพ จ กตปุญฺญตา (ปุพเพ จะ กะตะปุญญะตา)

บุญ แปลว่า ความดี ความสุข สิ่งที่ชำระจิตใจ สิ่งที่ฟอกจิต การทำบุญไว้ก่อนเป็นมงคล เพราะการทำบุญเป็นการสร้างความดี
ซึ่งมีระยะเวลายาวนานต้องอดทน เหมือนปลูกต้นไม้ยืนต้นจะต้องคอยผลไม้นั้นเป็นปีๆ การทำบุญในอดีตส่งผลในปัจจุบัน
การทำบุญในปัจจุบันส่งผลในปัจจุบันและอนาคต ผู้ทำความดีจึงต้องคิดว่าเป็นการสร้างฐานแห่งอนาคตไว้ฉะนั้น

มงคลชีวิตข้อที่ 6: ตั้งตนชอบ
บาลี: อตฺตสมฺมาปณิธิ จ (อัตตะสัมมาปะณิธิ จะ)

อัตตะ หรือ ตน หมายถึงกายกับใจ การตั้งตนไว้ชอบคือการวางตัวในการดำรงชีพ หรือในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องและมั่นคง
จึงจะได้ชื่อว่าเป็นคนมีคุณภาพชีวิต การตั้งตนไว้ชอบเป็นมงคล เพราะเป็นการสร้างความมั่นคง ความปลอดภัยแก่ตนเอง
เป็นตัวอย่างที่ดีแก่คนอื่น มีความก้าวหน้า เป็นผู้ป้องกันภัยในอบายภูมิ และได้รับสมบัติ 3 ประการคือ มนุษยสมบัติ ทิพยสมบัติ และนิพพานสมบัติ








 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 125.25.210.233 พฤหัสบดี, 13/9/2550 เวลา : 01:14  IP : 125.25.210.233   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 12607

คำตอบที่ 24
       มงคลชีวิตข้อที่ 7: เป็นพหูสูต
บาลี: พาหุสจฺจญฺจ (พาหุสัจจัญจะ)

พหู แปลว่ามาก สูต แปลว่าความเป็นผู้ได้สดับตรับฟัง ดังนั้นพหูสูต จึงหมายถึงความเป็นผู้รู้ ได้สดับตรับฟังมาก
หรือความเป็นผู้คงแก่เรียน พหูสูตเป็นมงคล เพราะการฟังมาก (ในที่นี้รวมถึงผู้ที่รู้จากการอ่านด้วย)
ย่อมเพิ่มวุฒิปัญญา เชาวน์ และไหวพริบ นำความรู้ที่ได้ยินได้ฟัง ได้อ่าน ไปปฏิบัติเพื่อช่วยเหลือตนเองหรือคนอื่นได้มาก
และเป็นช่องทางนำความเจริญด้วย ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ความเจริญก้าวหน้ามาสู่ตน ไม่มีใครแย่งชิงได้ เป็นสหชาติปัญญา

มงคลชีวิตข้อที่ 8: รอบรู้ในศิลปะ
บาลี: สิปฺปญฺจ (สิปปัญจะ)

สิปปะ หรือ ศิลปะ หมายถึง วิชาชีพหรือความฉลาดในการใช้มือ ความมีศิลปะเป็นมงคล
เพราะคนมีศิลปะจะช่วยตัวเองได้ไม่ว่าจะตกอยู่ในสถานะใด คนมีศิลปะย่อมเจริญก้าวหน้า
ได้รับความสุขทั้งในโลกนี้และโลกหน้า และทำให้โลกเจริญทั้งด้านวัตถุและจิตใจ
ดังพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 6 ที่ว่า "ศิลปกรรมนำใจให้สร่างโศก ช่วยบรรเทาทุกข์ในโลกให้เหือดหาย"

มงคลชีวิตข้อที่ 9: มีวินัยที่ดี
บาลี: วินโย จ สุสิกฺขิโต (วินะโย จะ สุสิกขิโต)

วินัย แปลว่า ข้อแนะนำ บทฝึกหัด ได้แก่ กฎเกณฑ์และข้อบังคับต่างๆ ที่ใช้ในสังคมนั้นๆ มีวินัยเป็นมงคล
เพราะวินัยเป็นตัวกำหนดให้เกิดความสามัคคี ความมีระเบียบสร้างความเข้มแข็งในกิจการงานต่างๆ ทำให้สังคมที่ดีดำรงอยู่

มงคลชีวิตข้อที่ 10: มีวาจาอันเป็นสุภาษิต
บาลี: สุภาสิตา จ ยา วาจา (สุภาสิตา จะ ยา วาจา)

วาจา คือ คำพูด สุภาษิต คือพูดดี คำว่า วาจาสุภาษิตจึงหมายถึงพูดดี วาจาสุภาษิตเป็นมงคล
เพราะคนที่พูดวาจาสุภาษิต จะบันดาลให้การงานทั้งปวงสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี มีความเจริญก้าวหน้าทั้งทางโลกและทางธรรม
ได้รับความสำเร็จในเรื่องที่เจรจา

มงคลชีวิตข้อที่ 11: ดูแลบำรุงบิดามารดา
บาลี: มาตาปิตุอุปฏฺฐานํ (มาตาปิตุอุปัฏฐานัง)

มารดา แปลว่า ผู้รักษาบุตร ผู้เลี้ยงดูบุตร บิดา แปลว่า ผู้รักใคร่บุตร ผู้ให้สัตว์โลกยินดี การเลี้ยงดูมารดาเป็นมงคล
เพราะเป็นการสืบต่อสังคมโดยอัตโนมัติ การบำรุงเลี้ยงดูมารดาบิดา ทำให้ได้รับการยกย่องสรรเสริญ มีความเจริญก้าวหน้า
เป็นตัวอย่างที่ดีแก่อนุชนรุ่นหลัง

มงคลชีวิตข้อที่ 12: ดูแลสงเคราะห์บุตร
บาลี: ปุตฺตสงฺคโห (ปุตตะสังคะโห) แยกมาจาก ปุตฺตทารสฺส สงฺคโห (ปุตตะทารัสสะ สังคะโห)

บุตร แบ่งตามคุณธรรม มี 3 ประเภท คือ
1. อภิชาตบุตร บุตรที่ยิ่งใหญ่กว่ามารดาบิดา
2. อนุชาตบุตร บุตรเสมอมารดาบิดา
3. อวชาตบุตร บุตรที่เลวกว่ามารดาบิดา

บุตรทั้ง 3 ประเภทนี้มีอยู่ในทุกสังคม ตระกูลจะมั่นคงได้ บุตรจะต้องเป็นอภิชาตบุตร หรืออนุชาตบุตร
ส่วนอวชาตบุตร เกิดมาเพื่อทำลายวงศ์ตระกูลโดยเฉพาะ การเลี้ยงดูบุตรเป็นมงคล
เพราะบุตรเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัว ซึ่งก็คือส่วนหนึ่งของประเทศชาติ ถ้าเลี้ยงดูบุตรให้ดีได้รับการศึกษา
ก็เท่ากับสร้างครอบครัวให้ดี ประเทศชาติจะเจริญมั่นคง

การไม่ดูแลบุตรปล่อยให้เป็นจิ้งจอกสังคม มารสังคม เป็นนักเลง เป็นโจร เป็นคนไม่มีวินัย เป็นนักเลงหญิง นักเลงการพนัน
เท่ากับว่าทำลายสังคมและประเทศชาติด้วย








 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 125.25.210.233 พฤหัสบดี, 13/9/2550 เวลา : 01:18  IP : 125.25.210.233   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 12608

คำตอบที่ 25
      
มงคลชีวิตข้อที่ 13: ดูแลสงเคราะห์ภรรยา (สามี) ข้อนี้กลุ่มแม่บ้านคงชอบเป็นพิเศษ
บาลี: ทารสงฺคโห (ทาระสังคะโห) แยกมาจาก ปุตฺตทารสฺส สงฺคโห (ปุตตะทารัสสะ สังคะโห)

ทาระ แปลว่า เมีย ภรรยา แปลว่า ผู้ที่สามีต้องเลี้ยงดู คือเมีย พระพุทธศาสนา
ได้กำหนดหลักการเลี้ยงดู หรือสงเคราะห์ภรรยาไว้ห้าประการ ได้แก่
1 การยกย่อง
2 ไม่ดูหมิ่น
3 ไม่นอกใจ
4 มอบความเป็นใหญ่ให้
5 มอบเครื่องแต่งตัวตลอดถึงพาออกงานด้วย

การเลี้ยงดูภรรยาเป็นมงคล เพราะทำให้ชีวิตครอบครัวมั่นคงยั่งยืนเป็นการร่วมกันสร้างฐานะให้มั่นคง
การสงเคราะห์ภรรยาเป็นการสร้างความมั่นคงและมั่นใจให้แก่ภรรยา ครอบครัวมีความสงบสุข
ได้รับการยกย่องสรรเสริญ และเป็นตัวอย่างที่ดีแก่อนุชนรุ่นหลัง

มงคลชีวิตข้อที่ 14: ทำการงานไม่ให้คั่งค้าง
บาลี: อนากุลา จ กมฺมนฺตา (อะนากุลา จะ กัมมันตา)

กรรม หรือการงาน แบ่งออกเป็นสองอย่าง คือ งานทางโลกและงานทางธรรม
งานทางโลก ได้แก่ ทำนา ทำสวน ค้าขาย บริการ รับราชการ เป็นต้น
ส่วนงานทางธรรม ได้แก่ งานสร้างสันติสุขให้แก่โลก ลดละกิเลส ความเห็นแก่ตัว ความริษยา เป็นต้น ให้น้อยลง
งานไม่คั่งค้างเป็นมงคล เพราะถ้าหากงานคั่งค้างแล้วย่อมไม่มีประโยชน์ไม่เห็นผล งานไม่คั่งค้าง
จะทำให้ฐานะของตน ครอบครัว และประเทศชาติเจริญขึ้นเพราะฉะนั้นงานที่ทำเสร็จเห็นผลงานจึงเป็นมงคล

มงคลชีวิตข้อที่ 15: ให้ทาน
บาลี: ทานญฺจ (ทานัญจะ)

ทาน แปลว่า ให้ และเป็นการให้ด้วยเจตนาอยากให้ ทานมี 2 อย่างคือ
1 อามิสทาน ให้วัตถุสิ่งของ เช่น ปัจจัย 4 ดอกไม้ ธูป เทียน เป็นต้น
2 ธรรมทาน ให้สิ่งที่ไม่ใช่วัตถุ เช่น ให้คำแนะนำสั่งสอน ให้อภัย เป็นต้น

การให้ทานเป็นมงคล เพราะเป็นการฝึกใจให้เป็นนักเสียสละ เป็นการลดความเห็นแก่ตัว ถ้าต่างคนต่างมุ่งหวังให้ทาน
ความเห็นแก่ตัวจะลดลง การทุจริตจะลดลง ทำให้มีชื่อเสียงในสังคม แม้ตายแล้วย่อมไปเกิดในสวรรค์

มงคลชีวิตข้อที่ 16: ปฏิบัติธรรม
บาลี: ธมฺมจริยา จ (ธัมมะจะริยา จะ)

ธรรม คือ คำสอนของพระพุทธเจ้าและสาวก จริยา แปลว่าประพฤติ ธรรมจริยา จึงหมายถึง การประพฤติปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า
และของพระสาวก การประพฤติธรรมเป็นมงคล เพราะเป็นการยกระดับจิตใจให้สูงขึ้น ผู้ประพฤติธรรมมีแต่ความสุข (ธมฺมจารี สุขํ เสติ)
ผู้ประพฤติธรรมได้ชื่อว่าสอนคนอื่นด้วยการประพฤติตลอดเวลา สร้างความเจริญก้าวหน้าแก่ตนเองและส่วนรวมเป็นผู้สร้างทางสวรรค์เอาไว้

มงคลชีวิตข้อที่ 17: ช่วยเหลือสงเคราะห์ญาติ/พี่น้อง
บาลี: ญาตกานญฺจ สงฺคโห (ญาตะกา นัญจะ สังคะโห)

การสงเคราะห์ญาติคือ เมื่อยามญาติ อัตคัด เกินขัดข้องควรหาช่อง สงเคราะห์ ไม่เลาะหนี
เขาซาบซึ้ง ถึงคุณ อบอุ่นดี หากถึงที เราจน ญาติสนใจ


มงคลชีวิตข้อที่ 18: ทำงานที่ไม่มีโทษ
บาลี: อนวชฺชานิ กมฺมานิ (อะนะวัชชานิ กัมมานิ)

ทำงานที่ไม่มีโทษ ซึ่งประกอบด้วยลักษณะดังต่อไปนี้
1.ไม่ผิดกฎหมาย คือทำให้ถูกต้องตามกฎหมายของบ้านเมือง
2.ไม่ผิดประเพณี คือแบบแผนที่ปฏิบัติกันมาแต่เดิม ควรดำเนินตาม
3.ไม่ผิดศีล คือข้อห้ามที่บัญญัติไว้ในศีล 5
4.ไม่ผิดธรรม คือหลักธรรมทั้งหลายอาทิเช่น การพนัน การหลอกลวง








 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 125.25.210.233 พฤหัสบดี, 13/9/2550 เวลา : 01:24  IP : 125.25.210.233   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 12609

คำตอบที่ 26
       มงคลชีวิตข้อที่ 19: ละเว้นการทำบาป
บาลี: อารตี วิรตี ปาปา (อาระตี วิระตี ปาปา)

บาปคือสิ่งที่ไม่ดี เสีย ความชั่วที่ติดตัว ซึ่งไม่ควรทำ ท่านว่าสิ่งที่ทำแล้วถือว่าเป็นบาปได้แก่ อกุศลกรรมบถ ๑๐ คือ

1.ฆ่าสัตว์
2.ลักทรัพย์
3.ประพฤติผิดในกาม
4.พูดเท็จ
5.พูดส่อเสียด
6.พูดคำหยาบ
7.พูดเพ้อเจ้อ
8.โลภอยากได้ของเขา
9.คิดพยาบาทปองร้ายคนอื่น
10.เห็นผิดเป็นชอบ

มงคลชีวิตข้อที่ 20: สำรวมจากการดื่มน้ำเมา
บาลี: มชฺชปานา จ สญฺญโม (มัชชะปานา จะ สัญญะโม)

ว่าด้วยเรื่องของน้ำเมานั้น อาจทำมาจากแป้ง ข้าวสุก การปรุงโดยผสมเชื้อ หรืออะไรก็แล้วแต่ที่ดื่ม
แล้วทำให้มึนเมา เช่นเบียร์ ไวน์ ไม่ใช่แค่เหล้าเท่านั้น ล้วนมีโทษอันได้แก่

1.ทำให้เสียทรัพย์ เพราะต้องนำเงินไปซื้อหา ทั้ง ๆ ที่เงินจำนวนเดียวกันนี้ สามารถนำเอาไปใช้ในสิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างอื่นได้มากกว่า
2.ทำให้เกิดการทะเลาะวิวาท ซึ่งนำไปสู่ความวุ่นวาย เจ็บตัว หรือถึงแก่ชีวิต และคดีความ เพราะน้ำเมาทำให้ขาดการยับยั้งชั่งใจ
3.ทำให้เกิดโรค โรคที่เกิดเนื่องมาจากการดื่มสุราล้วนแล้วแต่บั่นทอนสุขภาพกายจนถึงตายได้เช่น โรคตับแข็ง โรคหัวใจ โรคความดัน
4.ทำให้เสียชื่อเสียง เมื่อคนเมาไปทำเรื่องไม่ดีเข้าเช่นไปลวนลามสตรี ปล่อยตัวปล่อยใจ ก็ทำให้วงศ์ตระกูล และหน้าที่การงานเสี่อมเสีย

มงคลชีวิตข้อที่ 21: ไม่ดำรงตนอยู่ในความประมาท
บาลี: อปฺปมาโท จ ธมฺเมสุ (อัปปะมาโท จะ ธัมเมสุ)

ไม่ประมาท คือมี สติพร้อม คอยหน่วงน้อม ธรรมคุณ ไม่ผลุนผลัน ธรรมอันใด ไม่ดี หลีกหนีพลัน ธรรมดีนั้น ยึดแน่น ไม่แคลนคลอน
ธรรมในที่นี้ก็คือ หลักปฏิบัติที่ทำแล้วมีผลในทางดี และเป็นจริงที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงโปรดแนะทางไว้
คนที่ประมาทในธรรมนั้นมีลักษณะที่สรุปได้ดังนี้คือ
1.ไม่ทำเหตุดี แต่จะเอาผลดี
2.ทำตัวเลว แต่จะเอาผลดี
3.ทำย่อหย่อน แต่จะเอาผลมาก

มงคลชีวิตข้อที่ 22: มีความเคารพในบุคคลที่ควรเคารพ
บาลี: คารโว จ (คาระโว จะ)

ความเคารพ นับถือ คือเสน่ห์ ไม่โลเล เหมือนลิง วิ่งหลอกหลอน ทั้งต่อหน้า ลับหลัง พึงสังวร ย่อมงามงอน สวยสง่า ราคาแพง
ท่านได้กล่าวว่าสิ่งที่ควรเคารพมีอยู่ดังนี้

1.พระพุทธเจ้า
2.พระธรรม
3.พระสงฆ์
4.การศึกษา
5.ความไม่ประมาท คือการดำเนินตามหลักธรรมคำสอนพระพุทธศาสนาอื่นๆ ด้วยความเคารพ
6.การสนทนาปราศรัย คือการต้อนรับอาคันตุกะผู้มาเยือนด้วยความเคารพ

มงคลชีวิตข้อที่ 23: มีความถ่อมตน
บาลี: นิวาโต จ (นิวาโต จะ)

มีความถ่อมตน มารยาทสวย นิ่มนวล ความอ่อนน้อมถ่อมตน คือ การไม่แสดงออก
ถึงความสามารถที่ตัวเองมีอยู่ให้ผู้อื่นทราบเพื่อข่มผู้อื่น หรือเพื่อโอ้อวด
การไม่อวดดี เย่อหยิ่งจองหอง แต่แสดงตนอย่างสงบเสงี่ยม
ท่านว่าไว้ว่าโทษของการอวดดีนั้นมีอยู่ดังนี้คือ

1.ทำให้เสียคน คือไม่สามารถกลับมาอยู่ในร่องในรอยได้เหมือนเดิม เสียอนาคต
2.ทำให้เสียมิตร คือไม่มีใครคบหาเป็นเพื่อนด้วย ถึงจะมีก็ไม่ใช่เพื่อนแท้

มงคลชีวิตข้อที่ 24: มีความสันโดษ
บาลี: สนฺตุฏฺฐี จ (สันตุฏฺะฐี จะ)

ความสันโดษ พอใจ ในสิ่งของที่ตนมีอยู่
คำว่าสันโดษไม่ได้หมายถึงการอยู่ลำพังคนเดียวอย่างเดียว แต่หมายถึงการพอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ ในของของตัว
ซึ่งท่านได้ให้นิยามที่เป็นลักษณะของความสันโดษเป็นดังนี้ คือ

1.ยถาลาภสันโดษ หมายถึงความยินดีตามมีตามเกิด คือมีแค่ไหนก็พอใจเท่านั้น
เป็นอยู่อย่างไรก็ควรจะพอใจ ไม่คิดน้อยเนื้อต่ำใจในสิ่งที่ตัวเองเป็นอยู่

2.ยถาพลสันโดษ หมายถึงความยินดีตามกำลัง เรามีกำลังแค่ไหนก็พอใจเท่านั้น
ตั้งแต่กำลังกาย กำลังทรัพย์ กำลังบารมี หรือกำลังความสามารถเป็นต้น







 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 125.25.210.233 พฤหัสบดี, 13/9/2550 เวลา : 01:31  IP : 125.25.210.233   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 12610

คำตอบที่ 27
      
มงคลชีวิตข้อที่ 25: มีความกตัญญู
บาลี: กตญฺญุตา (กะตัญญุตา)

คือ การรู้คุณ และตอบแทนท่านผู้นั้น บุญคุณที่ว่านี้มิใช่ว่าตอบแทนกันแล้วก็หายกัน
แต่หมายถึงการรำลึกถึงพระคุณที่เคยให้ความอุปการะแก่เราด้วยความเคารพยิ่ง

ท่านว่าสิ่งของหรือผู้ที่ควรกตัญญูนั้นมีดังนี้

1.กตัญญูต่อบุคคล บุคคลที่ควรกตัญญูก็คือ ใครก็ตามที่มีบุญคุณควรระลึกถึง
และตอบแทนพระคุณ เช่น บิดา มารดา อาจารย์ เป็นต้น
2.กตัญญูต่อสัตว์ ได้แก่สัตว์ที่มีคุณต่อเราช่วยทำงานให้เรา เราก็ควรเลี้ยงดูให้ดี
เช่นช้าง ม้า วัว ควาย หรือสุนัขที่ช่วยเฝ้าบ้าน เป็นต้น

มงคลชีวิตข้อที่ 26: ฟังธรรมตามกาล
บาลี: กาเลน ธมฺมสฺสวนํ (กาเลนะ ธัมมัสสะวะนัง)

เมื่อมีโอกาส เวลา หรือตามวันสำคัญต่างๆ ก็ควรต้องไปฟังธรรมบ้าง เพื่อสดับตรับฟัง
สิ่งที่เป็นประโยชน์ในหลักธรรมนั้นๆ และนำมาใช้กับชีวิตเรา เพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้น

ท่านว่าเวลาที่ควรไปฟังธรรมนั้นมีดังนี้คือ

1.วันธรรมสวนะ ก็คือวันพระ หรือวันที่สำคัญทางศาสนา
2.เมื่อมีผู้มาแสดงธรรม ก็อย่างเช่น การฟังธรรมตามวิทยุ การที่มีพระมาแสดงธรรมตามสถานที่ต่างๆ หรือการอ่านจากสื่อต่างๆ
3.เมื่อมีโอกาสอันสมควร อาทิเช่นในวันอาทิตย์เมื่อมีเวลาว่าง หรือในงานมงคล งานบวช งานกฐิน งานวัดเป็นต้น

มงคลชีวิตข้อที่ 27: มีความอดทน
บาลี: ขนฺตี จ (ขันตี จะ)

ท่านว่าลักษณะของความอดทนนั้นสามารถจำแนกออกได้เป็นดังต่อไปนี้คือ

1.ความอดทนต่อความลำบาก คือความลำบากที่ต้องประสพตามธรรมชาติ ซึ่งอาจมาจากสภาพแวดล้อม เป็นต้น
2.ความอดทนต่อทุกขเวทนา คือทุกข์ที่เกิดจากสังขารของเราเอง เช่นความไม่สบายกาย เป็นต้น
3.ความอดทนต่อความเจ็บใจ คือการที่คนอื่นทำให้เราต้องผิดหวัง หรือพูดจาให้เจ็บช้ำใจ ไม่เป็นอย่างที่หวัง เป็นต้น
4.ความอดทนต่ออำนาจกิเลส คือสิ่งยั่วยวนทั้งหลายถือเป็นกิเลสทั้งทางใจและทางกายอาทิ เช่น
ความนึกโลภอยากได้ของเขา หรือการพ่ายแพ้ต่ออำนาจเงิน เป็นต้น

มงคลชีวิตข้อที่ 28: เป็นผู้ว่าง่าย
บาลี: โสวจสฺสตา (โสวะจัสสะตา)

ควรเป็นคน สอนง่าย ไม่ตายด้าน ก่อความรำคาญให้ผู้อื่น

ท่านว่าผู้ว่าง่ายนั้นมีลักษณะที่สังเกตได้ดังนี้คือ

1.ไม่พูดกลบเกลื่อนเมื่อได้รับการว่ากล่าวตักเตือน คือการรับฟังด้วยดี ไม่ใช่แก้ตัวแล้วปิดประตูความคิดไม่รับฟัง
2.ไม่นิ่งเฉยเมื่อได้รับการเตือน คือการนำคำตักเตือนนั้นมาพิจารณาและแก้ไขข้อบกพร่องนั้นๆ
3.ไม่จับผิดผู้ว่ากล่าวสั่งสอน คือการที่ผู้สอนอาจจะมีความผิดพลาด เนื่องจากความประมาท
เราควรให้อภัยต่อผู้สอน เพราะการจับผิดทำให้ผู้สอนต้องอับอายขายหน้าได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ดีงาม

มงคลชีวิตข้อที่ 29: ได้เห็นสมณะ
บาลี: สมณานญฺจ ทสฺสนํ (สะมะณานัญจะ ทัสสะนัง)

คำว่าสมณะแปลตรงตัวได้ว่า ผู้สงบ (หมายถึงผู้อยู่ในสมณเพศ)

ท่านว่าคุณสมบัติของสมณะต้องประกอบไปด้วย ๓ อย่างคือ

1.ต้องสงบกาย คือมีความสำรวมในการกระทำทุกอย่าง รวมถึงกิริยา มรรยาท ตามหลักศีลธรรม
2.ต้องสงบวาจา คือการพูดจาให้อยู่ในกรอบของความพอดี มีความสุภาพสงบเสงี่ยมในคำพูดและภาษาที่ใช้ เป็นไปตามข้อปฏิบัติ ประเพณี
3.ต้องสงบใจ คือการทำใจให้สงบปราศจากกิเลสครอบงำ ไม่ว่าจะเป็น โลภ โกรธ หลง หรือความพยาบาทใดๆ ตั้งมั่นอยู่ในสมาธิภาวนา

มงคลชีวิตข้อที่ 30: สนทนาธรรมตามกาล
บาลี: กาเลน ธมฺมสากจฺฉา (กาเลนะ ธัมมะสากัจฉา)

การได้สนทนากันเรื่องธรรม ทำให้ขยายขอบเขตการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนความรู้ และได้รู้ในสิ่งใหม่ๆ ที่เราอาจนึกไม่ถึง
หรือเป็นการเผื่อแผ่ความรู้ที่เรามีให้แก่ผู้อื่นได้ทราบด้วย ก่อนที่เราจะสนทนาธรรม ควรต้องพิจารณาและคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้คือ

1.ต้องรู้เรื่องที่จะพูดดี
2.ต้องพูดเรื่องจริง มีประโยชน์
3.ต้องเป็นคำพูดที่ไพเราะ
4.ต้องพูดด้วยความเมตตา
5.ต้องไม่พูดจาโอ้อวด หรือยกตนข่มท่าน

มงคลชีวิตข้อที่ 31: บำเพ็ญตบะ
บาลี: ตโป จ (ตะโป จะ)

ตบะ โดยความหมายแปลว่า ทำให้ร้อน ไม่ว่าด้วยวิธีใด การบำเพ็ญตบะหมายความถึงการทำให้กิเลส
ความรุ่มร้อนต่างๆ หมดไป หรือเบาบางลง

ลักษณะการบำเพ็ญตบะมีดังนี้

1.การมีใจสำรวมในอินทรีย์ทั้ง ๖ (อายตนะภายใน ๖ อย่าง) ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ไม่ให้หลง ติดอยู่กับสัมผัสภายนอกมากเกินไป
ไม่ให้กิเลสครอบงำใจเวลาที่รับรู้อารมณ์ผ่านอินทรีย์ทั้ง ๖ (อินทรีย์สังวร)
2.การประพฤติรักษาพรหมจรรย์ เว้นจากการร่วมประเวณี หรือกามกิจทั้งปวง

มงคลชีวิตข้อที่ 32: ประพฤติพรหมจรรย์
บาลี: พฺรหฺมจริยญฺจ (พรัหมะจะริยัญจะ)

คำว่าพรหมจรรย์หมายความถึง การบวชซึ่งละเว้นเมถุน การครองชีวิตที่ปราศจากเมถุน
การประพฤติธรรมอันประเสริฐ ท่านว่าลักษณะของธรรมที่ถือว่าเป็นการประพฤติพรหมจรรย์นั้น
(ไม่ใช่ว่าต้องบวชเป็นพระ) มีอยู่ดังนี้คือ

1.ให้ทาน บริจาคทานไม่ว่าจะเป็นทรัพย์ สิ่งของ เงินทอง หรือปัญญา
2.ช่วยเหลือผู้อื่นในกิจการงานที่ชอบ ที่ถูกที่ควร (เวยยาวัจจมัย)
3.รักษาศีล 5 คือไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักขโมย ไม่ทำผิดในกาม ไม่พูดปด ไม่ดื่มน้ำเมา (เบญจศีล)








 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 125.25.210.233 พฤหัสบดี, 13/9/2550 เวลา : 01:41  IP : 125.25.210.233   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 12611

คำตอบที่ 28
       มงคลชีวิตข้อที่ 33: เห็นอริยสัจ
บาลี: อริยสจฺจานทสฺสน (อะริยะสัจจานะทัสสะนะ)

อริยสัจ หมายถึงความจริงอันประเสริฐ หลักแห่งอริยสัจมีอยู่ 4 ประการตามที่ท่านได้สั่งสอนไว้มีดังนี้

1.ทุกข์ คือความไม่สบายกายไม่สบายใจ ความเป็นจริงของสัตว์โลกทุกผู้ทุกนามต้องมีทุกข์
2.สมุทัย คือเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ นอกจากเหตุแห่งทุกข์ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
3.นิโรธ คือความดับทุกข์ ภาวะที่ตัณหาดับสิ้นไป ความหลุดพ้น หรือหมายถึงภาวะของพระนิพพานนั่นเอง
4.มรรค คือข้อปฏิบัติ หรือหนทางที่นำไปสู่การดับทุกข์ การเดินทางสายกลางเพื่อไปให้ถึงการดับทุกข์

มงคลชีวิตข้อที่ 34: ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
บาลี: นิพฺพานสจฺฉิกิริยา จ (นิพพานะสัจฉิกิริยา จะ)

ข้อนี้ก็ตรงตัวเลยครับ หมั่นฝึกฝนตนทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
ท่านพระพุทธโฆษาจารย์ ผู้รจนาคัมภีร์วิสุทธิมรรค ท่านเป็นพระอรหันต์ขั้นปฏิสัมภิทาญาณ
ท่านอธิบายถึงการระลึกถึงคุณพระนิพพาน โดยท่านยกบาลี ๘ ข้อ ไว้เป็นแนวเครื่องระลึก

มงคลชีวิตข้อที่ 35: มีจิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรม
บาลี: ผุฏฺฐสฺส โลกธมฺเมหิ จิตฺตํ ยสฺส น กมฺปต (ผุฏฺฐัสสะ โลกะธัมเมหิ จิตตัง ยัสสะ นะ กัมปะตะ)

คำว่าโลกธรรม มีความหมายถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นอยู่เป็นประจำบนโลกนี้ ซึ่งเราไม่ควรมีจิดหวั่นไหวต่อสิ่งต่างๆ เหล่านี้

ท่านว่าลักษณะของโลกธรรมมี 4 ประการคือ

1.การได้ลาภ เมื่อมีลาภผลก็ย่อมมีความเสื่อมเป็นธรรมดา
2.การได้ยศ ยศฐาบรรดาศักดิ์ล้วนเป็นสิ่งสมมุติขึ้นมาทั้งนั้น
3.การได้รับการสรรเสริญ ที่ใดมีคนนิยมชมชอบ ที่นั่นก็ย่อมต้องมีคนเกลียดชังเป็นเรื่องธรรมดา
4.การได้รับความสุข ที่ใดมีสุขที่นั่นก็จะมีทุกข์ด้วย

มงคลชีวิตข้อที่ 36: มีจิตไม่เศร้าโศก
บาลี: อโสกํ (อะโสกัง)

คราวพลักพราก ต้องมีสติ คุมจิต ไม่เสียใจ ไม่โศกเศร้า

ท่านว่ามีเหตุอยู่ 5 ประการที่ทำให้จิตเราต้องโศกเศร้าคือ

1.ความโศกเศร้าที่เกิดเนื่องมาจากความรัก
2.ความโศกเศร้าที่เกิดจากความใคร่
3.ใช้ปัญญาพิจารณาอยู่เนืองๆ ถึงความไม่เที่ยงในสิ่งของทั้งหลาย และร่างกายของเรา
4.ไม่ยึดมั่นในตัวตน หรือความจีรังยั่งยืน ในคนหรือสิ่งของว่าเป็นของเรา
5.ทุกอย่างในโลกล้วนเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกขณะ แม้ร่างกายเราก็ใช้เป็นที่อาศัยชั่วคราวเท่านั้น

มงคลชีวิตข้อที่ 37: มีจิตปราศจากกิเลส
บาลี: วิรชํ (วิระชัง)

ธุลี คือ กิเลส(สภาพที่ทำให้จิตเศร้าหมอง ย่อมไม่ติดอยู่ในจิตที่ฝึกดีแล้ว เหมือนหยาดน้ำไม่ติดอยู่บนใบบัว)
จิตทีฝึกฝนดีแล้วย่อมหลุดพ้นไม่พัวพันอยู่กับกิเลสทั้งปวง เป็นจิตที่ปลอดโปร่งเป็นอิสรเสรีและมีศักยภาพสูงสุด
เป็นจิตที่นำเอาความสงบร่มเย็นที่ยั่งยืนมาสู่โลก

มงคลชีวิตข้อที่ 38: มีจิตเกษม
บาลี: เขมํ (เขมัง)

เกษม หมายถึงมีความสุข สบาย หรือสภาพที่มีจิตใจที่เป็นสุข มีจิดเกษมก็คือว่ามีจิตที่เป็นสุข
ในที่นี้หมายถึงการละแล้วซึ่งกิเลส ที่ท่านว่าไว้ว่าเป็นเครื่องผูกอยู่ 4 ประการคือ

1.การละกามโยคะ คือการละความยินดีในวัตถุ
2.การละภวโยคะ คือการละความยินดีในภพ
3.การละทิฏฐิโยคะ คือการละความยินดีในความเห็นผิดเป็นชอบ
4.การละอวิชชาโยคะ คือการละความยินดีในอวิชชาทั้งหลาย ความไม่รู้ทั้งหลาย


จบแล้วครับ มงคลชีวิตทั้ง 38 ประการ ซึ่งพระพุทธองค์ทรงสั่งสอนเอาไว้กว่า 2500 ปี
เป็นข้อปฏิบัติที่ล้วนแต่มีประโยชน์ ไม่มีโทษ จะเริ่มจากสิ่งง่าย ๆ เบื้องต้นก่อน
และหน้าที่ในแต่ละวัย ตั้งแต่วัยเด็ก วัยศึกษาหาความรู้ วัยที่มีครอบครัว จนถึงวัยชรา







 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 125.25.210.233 พฤหัสบดี, 13/9/2550 เวลา : 01:51  IP : 125.25.210.233   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 12612

คำตอบที่ 29
       เพิ่งเข้ามาดู สาธุ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก 710 61.7.150.14 อาทิตย์, 16/9/2550 เวลา : 14:09  IP : 61.7.150.14   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 12686

คำตอบที่ 30
       อนุโมทนาสาธุ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก สยาม 124.121.10.169 พุธ, 30/1/2551 เวลา : 20:14  IP : 124.121.10.169   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 19666

      

ยังมีคำตอบมากกว่านี้นะครับ คลิ๊กเพื่อดูหน้าถัดไป


คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  2  3  



website รองรับการใช้งานทุกระบบปฏิบัติการของ PC Tablet SmartPhone ทุกระบบสามารถโพสข้อความและรูปภาพได้โดยไม่ต้องย่อไฟล์
เพื่อความปลอดภัยในการใช้ website WeekendHobby.Com สมาชิก เท่านั้น จึงจะตั้งกระทู้ หรือ ตอบกระทู้ได้ครับ
Login Click ที่นี่
สมัครสมาชิก Click ที่นี่



Since 22, Feb 2001 hit counter View My Stats  Truehits.net      วันอังคาร,16 เมษายน 2567 (Online 4380 คน)