WeekendHobby.com
เครื่องมือในการใช้งาน website =>> สมัครสมาชิก | Login | Logout | เปลี่ยนไอคอนส่วนตัว | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อโฆษณา         View stat by Truehits.net


วันอาสาฬหบูชาสำคัญอย่างไร ??
somsaks
จาก หนุ่มกระโทก
IP:202.91.18.200

เสาร์ที่ , 28/7/2550
เวลา : 18:04

อ่านแล้ว = ครั้ง
 เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งตรวจสอบกระทู้
 แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน ส่งหาเพื่อน

       สมัยที่ผมยังเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนเทศบาล ผมจำได้ว่าคุณครูสมเกียรติ รอดน้อย
เคยสอนผมอ่านว่า อาสาน-หะ-บูชา แปลว่า วันบูชา ใน เดือนแปด ปีไหนมีเดือนแปดสองหน ให้ใช้วันในเดือนแปดหลัง
ตอนเด็ก ๆ เมื่อผมมีปัญหาอะไรที่ผมไม่เข้าใจ หรืออยากรู้อยากเห็น ผมจะถามครูสมเกียรติเป็นคนแรก
แม้กระทั่งนามสกุล "รอดน้อย" ผมยังถามคุณครูว่า รอดน้อย ทำไมยังมีชีวิตอยู่ ครูสมเกียรติตอบผมว่า
ครูเป็นคนสิงห์บุรี ลูกหลานชาวบางระจัน ศัตรูหน้าไหนมาแหยม เป็นอันว่าเหลือชีวิตรอดกลับไปน้อย






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

แจ้งเพื่อเก็บขึ้นกระทู้พิเศษ คลิ๊กที่นี่แจ้งเพื่อนำขึ้นกระทู้พิเศษ

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 5 จาก >>> 1  2  3  4  5  

คำตอบที่ 121
       คลับคล้ายคลับคลาว่า เป็น พระอานนท์ พระพุทธอนุชา ขอรับกระผม

รายละเอียดคงต้องให้ท่าน อ.VON กระมัง
ผมมันพวกครูพักลักจำ หรืออะไรจำพวกนี้แหละครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 125.25.208.50 ศุกร์, 14/9/2550 เวลา : 00:52  IP : 125.25.208.50   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 12636

คำตอบที่ 122
       จากอรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท จิตตวรรคที่ ๓
๗. เรื่องพระปูติคัตตติสสเถระ [๓๐]

ข้อความเบื้องต้น

พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในกรุงสาวัตถี ทรงปรารภพระเถระชื่อว่า ปูติคัตตติสสเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า “อจิรํ วตยํ กาโย” เป็นต้น.

พระเถระกายเน่า

ได้ยินว่า กุลบุตรชาวกรุงสาวัตถีผู้หนึ่ง ฟังธรรมกถาในสำนักของพระศาสดา ถวายชีวิตในพระศาสนา ได้บรรพชาอุปสมบทแล้ว ได้ชื่อว่า พระติสสเถระ. เมื่อกาลล่วงไปๆ โรคเกิดขึ้นในสรีระของท่าน ต่อมทั้งหลายประมาณเท่าเมล็ดผักกาดผุดขึ้น. มัน (โตขึ้น) โดยลำดับ ประมาณเท่าเมล็ดถั่วเขียว ประมาณเท่าเมล็ดถั่วดำ ประมาณเท่าเมล็ดกระเบา ประมาณเท่าผลมะขามป้อม ประมาณเท่าผลมะตูม แตกแล้ว. สรีระทั้งสิ้นได้เป็นช่องเล็กช่องน้อย ชื่อของท่านเกิดขึ้นแล้วว่า พระปูติคัตตติสสเถระ (พระติสสเถระผู้มีกายเน่า).

ต่อมา ในกาลเป็นส่วนอื่น กระดูกของท่านแตกแล้ว. ท่านได้เป็นผู้ที่ใครๆ ปฏิบัติไม่ได้. ผ้านุ่งและผ้าห่มเปื้อนด้วยหนองและเลือด ได้เป็นเช่นกับขนมร่างแห. พวกภิกษุมีสัทธิวิหาริกเป็นต้นไม่อาจจะปฏิบัติได้ (จึงพากัน) ทอดทิ้งแล้ว. ท่านเป็นผู้ไม่มีที่ พึ่งนอน (แซ่ว) แล้ว.






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.40.80 อาทิตย์, 9/12/2550 เวลา : 19:02  IP : 125.24.40.80   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 16119

คำตอบที่ 123
      
พระพุทธเจ้าทรงพยาบาลและทรงแสดงธรรม

ก็ธรรมดาว่าพระพุทธเจ้าทั้งหลายย่อมไม่ทรงละการตรวจดูโลกสิ้น ๒ วาระ (คือ) ในกาลใกล้รุ่ง เมื่อทรงตรวจดูโลก ทรงตรวจดูจำเดิมแต่ขอบปากแห่งจักรวาล ทำพระญาณให้มุ่งต่อพระคันธกุฏี, เมื่อทรงตรวจดูเวลาเย็น ทรงตรวจดูจำเดิมแต่พระคันธกุฏี ทำพระญาณให้มุ่งต่อที่ (ออกไป) ภายนอก.

ก็ในสมัยนั้น พระปูติคัตตติสสเถระปรากฏแล้วภายในข่าย คือพระญาณของพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระศาสดาทรงเห็นอุปนิสัยแห่งพระอรหัตของติสสภิกษุ ทรงดำริว่า “ภิกษุนี้ถูกพวกสัทธิวิหาริกเป็นต้นทอดทิ้งแล้ว, บัดนี้ เธอยกเว้นเราเสีย ก็ไม่มีที่พึ่งอื่น” ดังนี้แล้ว จึงเสด็จออกจากพระคันธกุฏี เหมือนเสด็จเที่ยวจาริกในวิหาร เสด็จไปสู่โรงไฟ ทรงล้างหม้อ ใส่น้ำ ยกตั้งบนเตา เมื่อทรงรอให้น้ำร้อน ได้ประทับยืนในโรงไฟนั่นเอง, ทรงรู้ความที่น้ำร้อนแล้ว เสด็จไปจับปลายเตียงที่ติสสภิกษุนอน.

ในกาลนั้น พวกภิกษุกราบทูลว่า “ขอพระองค์จงเสด็จหลีกไป พระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์จักยก๑- (เอง) แล้ว (ช่วยกัน) ยกเตียง นำไปสู่โรงไฟ.






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.40.80 อาทิตย์, 9/12/2550 เวลา : 19:04  IP : 125.24.40.80   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 16120

คำตอบที่ 124
       ๑- สำนวนภาษามคธใช้ คหธาตุ.

พระศาสดาทรงให้นำรางมา ทรงเทน้ำร้อน (ใส่) แล้ว ทรงสั่งภิกษุเหล่านั้นให้ (เปลื้อง) เอาผ้าห่มของเธอ ให้ขยำด้วยน้ำร้อน แล้วให้ผึ่งแดด.
ลำดับนั้น พระศาสดาประทับยืนอยู่ในที่ใกล้ของเธอ ทรงรดสรีระนั้นให้ชุ่มด้วยน้ำอุ่น ทรงถูสรีระของเธอ ให้เธออาบแล้ว. ในที่สุดแห่งการอาบของเธอ, ผ้าห่มนั้นแห้งแล้ว.
ทีนั้น พระศาสดาทรงช่วยเธอให้นุ่งผ้าห่มนั้น ทรงให้ขยำผ้ากาสาวะที่เธอนุ่งด้วยน้ำ แล้วให้ผึ่งแดด. ทีนั้น เมื่อน้ำที่กายของเธอพอขาด (คือแห้ง) ผ้านุ่งนั้นก็แห้ง. เธอนุ่งผ้ากาสาวะผืนหนึ่ง ห่มผ้ากาสาวะผืนหนึ่ง เป็นผู้มีสรีระเบา มีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง นอนบนเตียงแล้ว.
พระศาสดาประทับยืน ณ ที่เหนือศีรษะของเธอ ตรัสว่า “ภิกษุ กายของเธอนี้ มีวิญญาณไปปราศแล้ว หาอุปการะมิได้ จักนอนบนแผ่นดิน เหมือนท่อนไม้”
ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า

๗. อจิรํ วตยํ กาโย ปฐวึ อธิเสสฺสติ
ฉุฑฺโฑ อเปตวิญฺญาโณ นิรตฺถํว กลิงฺครํ
ไม่นานหนอ กายนี้จักนอนทับแผ่นดิน.
กายนี้มีวิญญาณไปปราศ อันบุคคลทิ้งแล้ว, ราวกับ
ท่อนไม้ไม่มีประโยชน์ฉะนั้น.







 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.40.80 อาทิตย์, 9/12/2550 เวลา : 19:05  IP : 125.24.40.80   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 16121

คำตอบที่ 125
       แก้อรรถ

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อจิรํ วต เป็นต้น ความว่า ภิกษุต่อกาลไม่นานเลย กายนี้จักนอนทับแผ่นดิน คือจักนอนเบื้องบนแห่งแผ่นดินที่สัตว์นอนแล้วด้วยการนอนปกตินี้.
ด้วยบทว่า ฉุฑฺโฑ พระศาสดาทรงแสดงเนื้อความว่า “กายนี้ จักเป็นของชื่อว่าเปล่า เพราะความมีวิญญาณไปปราศ ถูกทอดทิ้งแล้วนอน.”
เหมือนอะไร?
เหมือนท่อนไม้ ไม่มีประโยชน์.
อธิบายว่า เหมือนท่อนไม้อันไร้อุปการะ ไม่มีประโยชน์,

จริงอยู่ พวกมนุษย์ผู้มีความต้องการด้วยทัพสัมภาระ เข้าไปสู่ป่าแล้ว ตัดไม้ตรงโดยสัณฐานแห่งไม้ตรง ไม้คดโดยสัณฐานแห่งไม้คด ถือเอา (เป็น) ทัพสัมภาระ, แต่ตัดไม้เป็นโพรง ไม้ผุ ไม้ไม่มีแก่น ไม้เกิดเป็นตะปุ่มตะป่ำที่เหลือ ทิ้งไว้ในป่านั้นนั่นเอง มนุษย์พวกอื่นผู้มีความต้องการด้วยทัพสัมภาระมาแล้ว ชื่อว่าหวังถือเอาชิ้นไม้ที่ถูกทิ้งไว้นั้น ย่อมไม่มี,

มนุษย์เหล่านั้นแลดูไม้นั้นแล้ว ย่อมถือเอาไม้ที่เป็นอุปการะแก่ตนเท่านั้น; ไม้นอกนี้ ย่อมเป็นไม้ถมแผ่นดิน๑- อย่างเดียว, ก็ไม้นั้นพึงเป็นไม้แม้ที่ใครๆ อาจจะทำเชิงรองเตียงหรือเขียงเท้า หรือว่าตั่งแผ่นกระดานด้วยอุบายนั้นๆ ได้;

ส่วนว่า บรรดาส่วน ๓๒ ในอัตภาพนี้ แม้ส่วนหนึ่ง ชื่อว่าเข้าถึงความเป็นของที่จะพึงถือเอาได้ ด้วยสามารถแห่งอุปกรณ์วัตถุมีเชิงรองเตียงเป็นต้น หรือด้วยมุขเป็นอุปการะอย่างอื่น ย่อมไม่มี กายนี้มีวิญญาณไปปราศแล้ว ต่อวันเล็กน้อยเท่านั้น ก็จักต้องนอนเหนือแผ่นดิน เหมือนท่อนไม้ไม่มีประโยชน์ฉะนั้น ดังนี้แล.

๑- ปฐวีคตํ.






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.40.80 อาทิตย์, 9/12/2550 เวลา : 19:06  IP : 125.24.40.80   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 16122

คำตอบที่ 126
      
พระปูติคัตตติสสเถระนิพพาน

ในเวลาจบเทศนา พระปูติคัตตติสสเถระบรรลุพระอรหัตพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาแล้ว. แม้ชนอื่นเป็นอันมากก็ได้เป็นพระอริยบุคคลมีพระโสดาบันเป็นต้น. ฝ่ายพระเถระบรรลุพระอรหัตแล้วก็ปรินิพพาน. พระศาสดาโปรดให้ทำสรีรกิจของท่าน ทรงเก็บ (อัฐิ) ธาตุ แล้วโปรดให้ทำเจดีย์ไว้.

พวกภิกษุกราบทูลถามพระศาสดาว่า “พระเจ้าข้า พระปูติคัตตติสสเถระบังเกิดในที่ไหน?”
พระศาสดา. เธอปรินิพพานแล้ว ภิกษุทั้งหลาย.
พวกภิกษุ. พระเจ้าข้า กายของภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัยแห่งพระอรหัตเห็นปานนั้น
เกิดเป็นกายเน่า เพราะเหตุอะไร?
กระดูกทั้งหลายแตกแล้ว เพราะเหตุอะไร?
อะไรเป็นเหตุถึงความเป็นอุปนิสัยแห่งพระอรหัตของท่านเล่า?
พระศาสดา. ภิกษุทั้งหลาย ผลนี้ทั้งหมดเกิดแล้วแก่ติสสะนั่น ก็เพราะกรรมที่ตัวทำไว้.
พวกภิกษุ. ก็กรรมอะไร? ที่ท่านทำไว้ พระเจ้าข้า.
พระศาสดาตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถ้ากระนั้น พวกเธอจงฟัง” ดังนี้แล้ว
ทรงนำอดีตนิทานมา (ตรัสดังต่อไปนี้





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.40.80 อาทิตย์, 9/12/2550 เวลา : 19:07  IP : 125.24.40.80   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 16123

คำตอบที่ 127
      
บุรพกรรมของพระติสสะ

ติสสะนี้เป็นพรานนก ในกาลแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสปะ ฆ่านกเป็นอันมากบำรุงอิสรชน, ขายนกที่เหลือจากนกที่ให้แก่อิสรชนเหล่านั้น. คิดว่า “นกที่เหลือจากขาย อันเราฆ่าเก็บไว้ จักเน่าเสีย” จึงหักกระดูกแข้งและกระดูกปีกของนกเหล่านั้น ทำอย่างที่มันไม่อาจบินหนีไปได้ แล้วกองไว้. เขาขายนกเหล่านั้นในวันรุ่งขึ้น, ในเวลาที่ได้นกมามากมาย ก็ให้ปิ้งไว้ เพื่อประโยชน์แห่งตน.

วันหนึ่ง เมื่อโภชนะมีรสของเขาสุกแล้ว พระขีณาสพองค์หนึ่งเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาต ได้ยืนอยู่ที่ประตูเรือนของเขา เขาเห็นพระเถระแล้ว ยังจิตให้เลื่อมใส คิดว่า
“สัตว์มีชีวิตมากมายถูกเราฆ่าตาย, ก็พระผู้เป็นเจ้ายืนอยู่ที่ประตูเรือนของเรา และโภชนะอันมีรสก็มีอยู่พร้อมภายในเรือน, เราจะถวายบิณฑบาตแก่ท่าน”
ดังนี้แล้ว จึงรับบาตรของพระขีณาสพนั้น ใส่โภชนะอันมีรสนั้นให้เต็มบาตรแล้ว ถวายบิณฑบาตอันมีรส แล้วไหว้พระเถระด้วยเบญจางคประดิษฐ์ กล่าวว่า “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าพึงถึงที่สุดแห่งธรรมที่ท่านเห็นเถิด.”
พระเถระได้ทำอนุโมทนาว่า “จงเป็นอย่างนั้น.”








 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.40.80 อาทิตย์, 9/12/2550 เวลา : 19:08  IP : 125.24.40.80   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 16124

คำตอบที่ 128
       ประมวลผลกรรม

ภิกษุทั้งหลาย ผล (ทั้งหมด) นั่นสำเร็จแล้วแก่ติสสะ ด้วยอำนาจแห่งกรรมที่ติสสะทำแล้วในกาลนั้นนั่นเอง;
กายของติสสะเกิดเน่าเปื่อย, และกระดูกทั้งหลายแตกก็ด้วยผลของการทุบกระดูกนกทั้งหลาย;
ติสสะบรรลุพระอรหัต ก็ด้วยผลของการถวายบิณฑบาตอันมีรสแก่พระขีณาสพ ดังนี้แล.

เรื่องพระปูติคัตตติสสเถระ จบ.







 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.40.80 อาทิตย์, 9/12/2550 เวลา : 19:10  IP : 125.24.40.80   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 16125

คำตอบที่ 129
       เนื้อความในพระไตรปิฎก
คาถาธรรมบท จิตตวรรคที่ ๓


[๑๓] นักปราชญ์ย่อมทำจิตที่ดิ้นรน กลับกลอกรักษาได้โดยยาก
ห้ามได้โดยยาก ให้ตรง ดังช่างศรดัดลูกศรให้ตรง ฉะนั้น
จิตนี้อันพระโยคาวจรยกขึ้นแล้วจากอาลัย คือเบญจกาม
คุณเพียงดังน้ำ ซัดไปในวิปัสสนากรรมฐานเพียงดังบก เพื่อ
จะละบ่วงมาร ย่อมดิ้นรน ดุจปลาอันชาวประมง ยกขึ้นแล้ว
จากที่อยู่คือน้ำโยนไปแล้วบนบก ดิ้นรนอยู่ ฉะนั้น การ
ฝึกฝนจิตที่ข่มได้ยาก อันเร็ว มีปรกติตกไปในอารมณ์
อันบุคคลพึงใคร่อย่างไร เป็นความดี เพราะว่าจิตที่บุคคล
ฝึกดีแล้วนำสุขมาให้ นักปราชญ์พึงรักษาจิตที่เห็นได้แสนยาก
ละเอียดอ่อนมีปกติตกไปตามความใคร่ เพราะว่าจิตที่บุคคล
คุ้มครองแล้วนำสุขมาให้ ชนเหล่าใดจักสำรวมจิตอันไปใน
ที่ไกล ดวงเดียวเที่ยวไป หาสรีระมิได้ มีถ้ำเป็นที่อยู่อาศัย
ชนเหล่านั้นจะพ้นจากเครื่องผูกแห่งมาร ปัญญาย่อมไม่บริบูรณ์
แก่บุคคลผู้มีจิตไม่ตั้งมั่น ไม่รู้แจ่มแจ้งซึ่งพระสัทธรรม
มีความเลื่อมใสอันเลื่อนลอย ภัยย่อมไม่มีแก่พระขีณาสพ ผู้มี
จิตอันราคะไม่รั่วรด ผู้มีใจอันโทสะไม่ตามกระทบแล้ว
ผู้มีบุญและบาปอันละได้แล้ว ผู้ตื่นอยู่ กุลบุตรทราบกายนี้ว่า
เปรียญด้วยหม้อแล้ว พึงกั้นจิตนี้ให้เปรียบเหมือนนคร
พึงรบมารด้วยอาวุธคือ ปัญญา อนึ่ง พึงรักษาตรุณวิปัสสนา
ที่ตนชนะแล้ว และไม่พึงห่วงใย กายนี้อันบุคคลทิ้งแล้ว
มีวิญญาณปราศแล้วไม่นานหนอจักนอนทับแผ่นดิน ประดุจ
ท่อนไม้ไม่มีประโยชน์โจรหัวโจกเห็นโจรหัวโจก ก็หรือคน
มีเวรเห็นคนผู้คู่เวรกันพึงทำความฉิบหาย และความทุกข์ใดให้
จิตที่บุคคลตั้งไว้ผิดพึงทำบุคคลนั้นให้เลวยิ่งกว่าความฉิบหาย
และความทุกข์นั้นมารดาบิดาไม่พึงทำเหตุนั้นได้ หรือแม้ญาติ
เหล่าอื่นก็ไม่พึงทำเหตุนั้นได้ จิตที่บุคคลตั้งไว้ชอบแล้ว
พึงทำเขาให้ประเสริฐกว่าเหตุนั้น ฯ


จบจิตตวรรคที่ ๓







 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.40.80 อาทิตย์, 9/12/2550 เวลา : 19:10  IP : 125.24.40.80   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 16126

คำตอบที่ 130
       ผมขอมอบ อรรถกถา ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท จิตตวรรคที่ ๓ เรื่องพระปูติคัตตติสสเถระ ให้กับเพื่อนบางท่าน


ผมอยากให้อ่านแล้วพิจรณาถึงหลักธรรม ถ้ายังไม่เข้าใจให้กลับไปอ่านตั้งต้นใหม่ ถ้ายังไม่เข้าใจอีกผมอยากให้อ่านจนกว่าจะเข้าใจ


ถ้าพยายามเข้าใจเพียงอรรถกถาเดียวก็ถือว่าไม่เสียชาติเกิดแล้วครับ

อจิรํ วตยํ กาโย ไม่นานหนอกายนี้
ปฐวึ อธิเสสฺสติ จักนอนทับแผ่นดิน
ฉุฑฺโฑ อเปตวิญฺญาโณ
มีวิญญาณไปปราศ ถูกทิ้ง
นิรตฺถํว กลิงฺครํ
ราวกับท่อนไม้ท่อนฟืนไร้ประโยชน์






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.40.80 อาทิตย์, 9/12/2550 เวลา : 19:21  IP : 125.24.40.80   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 16130

คำตอบที่ 131
       1. ขอให้เราเรียนเก่งๆนะค่ะ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก หลิว ทิม 203.172.199.250 จันทร์, 16/6/2551 เวลา : 09:54  IP : 203.172.199.250   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 27861

คำตอบที่ 132
       ตอนนี้กิเลสเริ่มทำให้เราขาดสติ กำลังทำสิ่งที่ขัดต่อหลักคำสอนของพระพุทธศาสนา สติจงกลับมาเถิด อย่าให้ความชั่วครอบงำจิตใจ พูดดี คิดดี ทำดี เขียนแต่สิ่งดี ซึ่งตอนนี้มีแต่กระทู้ระบายความเครียด



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

Tommy_Prerunner จาก Tommy_Prerunner 118.173.145.70 จันทร์, 16/6/2551 เวลา : 10:37  IP : 118.173.145.70   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 27868

คำตอบที่ 133
       ถ้าเรามีจิตใจที่ชอบช่วยเหลือผู้อื่น (ไม่ต้องการการตอบแทน)ก็แสดงว่าเป็นการสร้างกุศลใช่หรือไม่ครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก ติ๊ก 124.120.83.225 จันทร์, 16/6/2551 เวลา : 11:45  IP : 124.120.83.225   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 27870

คำตอบที่ 134
       จะเข้าพรรษาอีกรอบ นกท. ขอคัดมาให้อ่าน

มหานมัสการ

นะโม ตัสสะ ภะควะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (3 ครั้ง)

ข้าพเจ้า ขอนอบน้อมแด่ผู้มีพระภาค ผู้ไกลจากกิเลส
ตรัสรู้ด้วยพระองค์เอง พระองค์นั้น

โบราณาจารย์เรียกบทสวดนี้ว่า "มหานมัสการ" คือบทนอบน้อมที่สำคัญยิ่ง
เนื่องจากเป็นบทแรกที่ชาวพุทธนิยมสวดนอบน้อมพระพุทธเจ้า

ความจริงบทนี้เป็นบทที่เป็นคำอุทานเปล่งออกมาด้วยความปิติยิดีที่ซาบซึ้งในพระพุทธคุณ
ในสมัยพุทธกาล มีบุคลลหลายคนที่เปล่งคำอุทานนี้ออกมา เพื่่อนอบน้อมพระพุทธเจ้า
เช่น ท้าวสักกะ(พระอิททร์) พราหมณ์พรัหมายุ (ผมเขียนถูกนะครับไม่ผิด อ่านว่าพรัม-มา-ยุ)
พราหมณ์อารามทัณฑะ นางธนัญชานี เป็นต้น ดังที่ปรากฏในพระสูตรนั้น ๆ

มีมติอยู่ว่า มีเทพ 5 ตน กล่าวบทนี้เป็นเบื้องแรกคือ
สาตาคิริเทพ กล่าวว่า นโม
อสุรินทราหู กล่าวว่า ตสฺส
ท้าวจตุมหาราช กล่าวว่า ภควโต
ท้าวสักกเทวราช กล่าวว่า อรหโต
ท้าวมหาพรหม กล่าวว่า สฺมมา สมฺพุทฺธสฺส

ดังปรากฏในคัมภีร์ กัจจายนเภน กล่าว่า

สาตาคิริ นโม ยฺกโข ตฺสส จ อสุรินฺทโก
ภควโต มหาราชา สฺกโก จ อรหโต ตถา
สฺมมาสฺมพุทฺธ พฺรหฺมา จ เอเต ปญฺจ ปติฏฺฐิตา

แต่บัณฑิตทั้งหลายไม่ยอมรับมตินี้ เพราะไม่มีหลักฐานอ้างอิงในบาลีและอรรถกถา
ทั้งในพระบาลี ก็ปรากฏคำเหล่านี้เป็นคำอุทานที่บุคคลคนเดียวเปล่งออกมา



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.19.192 ศุกร์, 27/6/2551 เวลา : 13:26  IP : 202.91.19.192   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 28514

คำตอบที่ 135
       ธรรมะของพระพุทธเจ้า ลึกซึ้งยิ่งนัก ในวันอาสาฬหบูชา คือวันเพ็ญเดือนแปด
ก่อนเข้าพรรษาหนึ่งวัน พระพุทธเจ้าได้แสดงธรรมจักกัปปวัตตนสูตร แก่เหล่าเบญจวัคคีย์
อันมีความจริงสี่ประการ คือ อริยะสัจสีประการ

หากจะสรุปแบบง่าย ๆ ในบทธรรมจักรกัปปวัตตนสูตรที่พระพุทธองค์ทรงแสดงไว้ก็คือ

1 ทุกข์ หรือ ปริญเญยธรรม คือธรรมที่ควรกำหนดรู้ คือไม่ต้องไปทำอะไรกับมัน แค่กำหนดรู้เป็นพอ

2 สมุทัย หรือ ปหาตัพพธรรม คือสิ่งที่ควรละ คือตัณหาทั้ง 3 อันมี กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา
ถ้ายอมรับว่าตัณหาทั้งสามนี้เป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์ ก็สมควรละ

3 นิโรธ หรือสัจฉิกาตัพพธรรม คือ สิ่งที่ควรทำให้รู้แจ้ง ทำลายความมืด หรือ อวิชชา ความไม่รู้

4 ทุกขนิโรธคามินิปฏิปทา เป็นข้อปฏิบัติให้ถึงการดับทุกข์นั้น คือ ภาเวตัพพธรรม
เป็นธรรมที่ควรปฏิบัติให้มาก คือให้ดำเนินตามอริยมรรคอันมีองค์แปด

ผมนั้นยังเหมือนทัพพีตักแกง แต่บ่รู้รสแกง
กำลังพยายามทำตัวให้เป็นแม่วัว สอนลูกวัวกินหญ้า ตัวเองก็กินหญ้าตา รู้รสแห่งหญ้านั้นด้วย




 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 202.91.19.192 ศุกร์, 27/6/2551 เวลา : 13:28  IP : 202.91.19.192   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 28515

คำตอบที่ 136
       ปีนี้ก็ใกล้เข้ามาล้วครับ สาธุ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก Big Tui 119.42.65.236 ศุกร์, 4/7/2551 เวลา : 17:05  IP : 119.42.65.236   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 28962

คำตอบที่ 137
       ดีนะที่มีคนสนใจเรื่งพระพุธทเจ้าส่วนมากจะมีน้อย



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก ..................... 125.24.128.153 อังคาร, 15/7/2551 เวลา : 21:26  IP : 125.24.128.153   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 29423

      

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 5 จาก >>> 1  2  3  4  5  



website รองรับการใช้งานทุกระบบปฏิบัติการของ PC Tablet SmartPhone ทุกระบบสามารถโพสข้อความและรูปภาพได้โดยไม่ต้องย่อไฟล์
เพื่อความปลอดภัยในการใช้ website WeekendHobby.Com สมาชิก เท่านั้น จึงจะตั้งกระทู้ หรือ ตอบกระทู้ได้ครับ
Login Click ที่นี่
สมัครสมาชิก Click ที่นี่



Since 22, Feb 2001 hit counter View My Stats  Truehits.net      วันศุกร์,19 เมษายน 2567 (Online 3809 คน)