ศุกร์,26 เมษายน 2567
 Shimano
 CT-700-S
 TLD STAR 15/30S
 CT-1000
 Trinidad TN-12
 Charter 2000
 Crestfire CR-100D

 ABU
 7000 C
 6500 C
 ABU 6500 C
 ABU 6500 C 32 Speed
 6600 CL Black Max

 PENN
 525 MAG
 320 GTI
 225 LD

 ACCURATE
 Boss 870
 Boss Magnum 870

 DAIWA
 Sealine 20 SH
 BG-10

 Pro Gear
 Pro Gear 251

ABU 6500 C 
โดย พี่ CKจาก Fishingthailand.com  

รูปที่ 1.
รอกอาบู 6500 ซีธรรมดา หลายท่านคงเคยได้ยิน ผ่านหูกันมาบ้าง แต่บางท่านก็ยังไม่เคยเห็นตัวจริงว่า "ซี ธรรมดา" มันเป็นอย่างไร ดีตรงไหน ทำไมนักตกปลาหลายๆท่าน จึงนิยมแต่ "ซี ธรรมดา"
"คำว่า ซี ธรรมดา" ก็คือ รอกอาบู รหัส 6500 ที่มีต่อท้ายด้วย C ตัวเดียว ไม่มีรหัสอื่นๆ ต่อท้ายอีกเหมือนรุ่นใหม่ๆ เช่น CS : C3 : C4 เราลองมาดูกันว่า มันมีอะไรบ้างสำหรับรอกรุ่นนี้ครับ

 

รูปที่ 2.
AMBASSADEUR 6500 C

 

 

รูปที่ 3. 
จุดสังเกตุสำหรับรอกรุ่นนี้ ดูตรงที่ตัวสตาร์ปรับเบรค จะเป็น 4 แฉก ในขณะที่รุ่นใหม่ๆ จะเป็น 5 แฉก

 

 

รูปที่ 4.
น็อตทุกจุด สำหรับรอกอาบูรุ่นเก่า จะเป็นน็อตหัวแบน แต่สำหรับรอกรุ่นใหม่ จะเป็นน็อตหัว 4 แฉก

 

 

รูปที่ 5.
MADE IN SEWDEN ตัวหนังสือนี้สำหรับรุ่นเก่าๆ จะ คม ชัด ลึก แต่สำหรับรุ่นใหม่ๆ จะไม่ค่อยคม บางตัวเขียนมาไม่ตรงด้วยซ้ำไปครับ

 

 

รูปที่ 6.
กล่องของรอกตัวนี้เป็นสีฟ้า สเป็คของรอกตัวนี้ โปรดดูที่ข้างกล่องครับ อัตราทด 4.7/1 เป็นอัตราทดมาตราฐานสำหรับอาบูรุ่นเก่าๆ ปัจจุบัน อัตราทดจะอยู่ที่ 5.3/1 เป็นอัตราทดมาตราฐานสำหรับตระกูล 6XXX ยกเว้น6XXX ที่เป็น HI SPEED จะมีอัตราทดที่ 6.3/1 เช่น HCL : C4

 

รูปที่ 7.
ชุดเสียงของรอกตัวนี้ เป็นระบบเสียงสปริง
อาบูตระกูล 6XXX จะมีระบบเสียงอยู่ 3 แบบครับ คือ เสียงสปริง เสียงแผ่น และ เสียง(เรียกไม่ถูกครับ)แบบของร็อคเก็ต
เสียงแผ่น จะเป็นระบบเสียงที่ไม่มีอะไรสลับซับซ้อน ไว้ไปดูตอนผ่า อาบู 2 Speed นะครับ


รูปที่ 8. 
ชุดเสียงของอาบู ชุดนี้ จะมีท่อสีดำ(ที่เห็นในรูป) สวมทับลงไปในเสาของเฟรมก่อนที่จะปิดฝาฝั่งเสียง
นักตกปลาหลายท่าน เปิดรอกฝั่งนี้ออกมา ท่อสีดำตัวนี้ก็จะกระเด็นออกมา แล้วก็ดูไม่ออกว่า มันหลุดออกมาจากตรงไหน

 


รูปที่ 9. 
เฟืองสีขาวตัวนี้ ทำหน้าที่ทดเฟืองจากสปูล ไปที่แกนตัวเกลี่ยสาย เพื่อให้ตัวเกลี่ยสายทำงาน
สำหรับ 6500 รุ่นใหม่ๆ เฟืองตัวนี้จะเป็นสีดำ ยกเว้น ตระกูล ร็อคเก็ต จะเป็นตัวสีขาวเหมือนรุ่นนี้
รอกบางตัวที่ตีสายหรือหมุนแล้วมีเสียงหอน ลองตรวจสอบเฟืองตัวนี้ดูกันนะครับ เฟืองบางตัวมีเศษพลาสติกอยู่ในเฟือง ทำให้เวลาหมุนหรือตีสายมีเสียงหอน เพียงแค่เอาวัตถุแหลมๆ กรีดร่องของเฟืองให้เศษต่างๆ หลุดออกมา เสียงดังกล่าวก็จะเงียบหายไปครับ


รูปที่ 10. 
เฟรมชุดนี้ มีอยู่ในอาบูตระกูล 6XXX ทุกรุ่น อาจจะต่างกันที่สีของเฟรม แสดงว่าเฟรมตัวนี้แข็งแรง ไม่มีปัญหา ทางอาบูถึงจะใช้มาจนถึงปัจจุบัน

 

รูปที่ 11. 
ฝาของรอกตัวนี้ ผมดูแล้วเหมือนกับรอกรุ่นใหม่ๆ แต่รู้สึกว่า จะหนากว่า

 

 

รูปที่ 12. 
ลองเอาเหรียญ 1 บาท มาเทียบดู ความหนา รู้สึกจะหนากว่าเหรียญ 1 บาท

 

 

รูปที่ 13. 
ดูกันชัดๆ ตัวปรับเบรค 4 แฉก บางคนเรียก 4 กง

 


รูปที่ 14. 
ห้องเครื่องของรอกรุ่นนี้ ดูแล้วแตกต่างกับรุ่นใหม่ๆ เพราะไม่มีส่วนที่เป็น กราไฟท์เลย ส่วนรุ่นใหม่ จะเห็นมีบางชิ้นที่เป็นกราไฟท์
สำหรับห้องเครื่องรุ่นเก่านี้ ที่เห็นยังพอมีอยู่ในปัจจุบัน ก็คือ รุ่น 6500Syncro ซึ่งทั้งห้องเครื่อง และ เฟืองขับ จะเป็นรุ่นเดียวกับ 6500C ตัวนี้ทั้งสิ้น


รูปที่ 15. 
ระบบกันตีกลับ ของรอกอาบูรุ่นเก่าๆ และตระกูล 7XXX ในปัจจุบัน จะเป็นหัวนกกระจอก สับเข้าไปที่ฐานแกนใต้เฟือง
ระบบนี้เป็นระบบเดียวกับที่ใช้ในรอกทะเลใหญ่ๆ ทั้งหลาย
ปัจจุบัน รอกตระกูล 6XXX ส่วนใหญ่ จะหันมาใช้ระบบ ลูกปืนกันตีกลับ

 

รูปที่ 16. 
แกนมือหมุน ทำหน้าที่เป็นแกนของเฟืองขับ ดูแข็งแรงกว่า อาบูรุ่นใหม่ๆ รุ่นนี้จึงไม่มีปัญหาเรื่องเฟืองจะกินแกน ทำให้เบรคติด และนี่อาจจะเป็นสาเหตุที่นักตกปลาส่วนใหญ่ กล่าวถึงอาบูรุ่นเก่าๆ และต้องการที่จะเป็นเจ้าของมัน



รูปที่ 17. 
เฟืองขับของ 6500C จะเป็นเฟืองที่ใช้แผ่นเบรคขนาดใหญ่เพียงแผ่นเดียว

 

 

รูปที่ 18. 
ปัญหาของรอกรุ่นนี้คือ ตัวแผ่นกดเบรค จะขึ้นสนิม รอกตัวนี้เป็นรอกใหม่เอี่ยม ไม่เคยใช้งานมาก่อน เปิดออกมา ก็เป็นสภาพอย่างที่เห็น

 

รูปที่ 19. 
สปูลอัลลอยด์ เหมือนรอกในปัจจุบัน เฟืองสีขาวที่เห็นทำหน้าที่ทดเฟืองไปที่ตัวเกลี่ยสาย และ ทำหน้าที่กรีดชุดสัญญานเสียง

 

 

รูปที่ 20. 
ระบบชะลอหลอดเก็บสาย 2 จุด เหมือนกับรอกรุ่นใหม่ ภายในบรรจุลูกปืน 1 ตลับ และ หลังเฟืองกรีดเสียงอีก 1 ตลับ

 

 

รูปที่ 21. 
หลอดเก็บสายทำงานอิสระ แกนของหลอดเก็บสายไม่ได้หมุนตาม (ยกเว้นรอกแกนตายที่แกนจะหมุนตามหลอดเก็บสาย) จึงบรรจุลูกปืนไว้ในหลอดเก็บสาย

 


รูปที่ 22. 
ถ้าเป็นรุ่นที่ใช้ลูกปืนกันตีกลับ แกนตัวนี้จะมีบูชมาสวนอีกตัวหนึ่ง
แต่สำหรับตัวนี้ไม่ใช้ลูกปืนกันตีกลับ จะมีบูชพลาสติกสีดำ มาสวนลงในแกน ทำหน้าที่ประคองแกน บูชตัวนี้ควรมีจารบีหล่อลื่นอยู่ตลอดเวลา เพราะถ้าบูชสึก ก็จะทำให้การทำงานของเฟืองไม่เที่ยงตรง ทำให้เฟืองเสียหายได้

 

รูปที่ 23. 
รูปนี้ผมต้องการให้ดูส่วนปลายของแกนมือหมุน
รอกอาบูเกือบทุกรุ่น ที่ปลายของแกนมือหมุนจะถูกล็อคไว้ด้วยแหวนเกือกม้า ตรงจุดนี้จะต้องมีจารบีหล่อลื่นอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากเวลาเราหมุนมือหมุน แหวนตัวนี้จะไม่ตามกับแกนมือหมุน ถ้าขาดการหล่อลื่น จะทำให้ปลายแกนทองเหลือสึกหรอได้


รูปที่ 24. 
ก่อนที่จะจบการผ่ารอก อาบู 6500C อยากจะแนะนำท่านที่มีรอกตระกูล 6XXX ที่ไม่ใช่เป็นรอกแกนตาย ในฝาปรับหน่วง จะเห็นมีแผ่นพลาสติกสีดำกลมๆ มีเขี้ยวอยู่ เขี้ยวดังกล่าวทำหน้าที่ยึดแกนหลอดเก็บสาย ให้กระชับเพื่อให้หลอดเก็บสายทำงานได้ศูนย์ที่เที่ยงตรง
ปัญหาอยู่ที่ว่า นักตกปลาจะต้องปรับหน่วงที่ฝาตลอดเวลา ทำให้เขี้ยวตรงจุดนี้มักจะหลวมหรือหัก เมื่อเขี้ยวตัวนี้หลวมหรือหัก ก็จะทำให้แกนหลอดเก็บสายไม่ได้ศูนย์ เป็นเหตุให้สปูลเสียดสีกับขอบเฟรม ตีสายแล้วฟู่ ทำให้นักตกปลาคิดว่ารอกตัวเอง แกนคด
ถ้าท่านใดพบปัญหาดังกล่าว สามารถซื้อแผ่นดังกล่าวเปลี่ยนได้ที่ สยามซู ในราคาแผ่นละ 15 บาท ถ้าเป็นรอกที่มีสติ๊กเกอร์ก็จะซื้อได้ในราคา 5 บาท (ราคาอะไหล่โปรดตรวจสอบกับสยามซู) ก็จะทำให้ปัญหาดังกล่าวหมดไป

รูปที่ 25. 
สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณทุกท่านที่กรุณาเข้ามาชมเว็ปไซท์ Fishing Thailand ขอขอบคุณ คุณโจ เจ้าของรอกที่นำรอกตัวนี้มาให้ตรวจเช็ค

 

 

[BACK]


Home | Bicycle | Offroad | Fishing | Radio Control | GPS Corner | Second hand | Member area
Copyright © 2000, www.WeekendHobby.com, All right reserved.

Contact Webmaster