WeekendHobby.com
เครื่องมือในการใช้งาน website =>> สมัครสมาชิก | Login | Logout | เปลี่ยนไอคอนส่วนตัว | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อโฆษณา         View stat by Truehits.net


ความเงียบของเสียง โดยอาจารย์สดับพิณ รัตนเรือง
battousai
จาก battousai
IP:168.120.34.226

ศุกร์ที่ , 30/7/2553
เวลา : 13:35

อ่านแล้ว = ครั้ง
 เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งตรวจสอบกระทู้
 แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน ส่งหาเพื่อน

       สรรพสิ่งมีสองด้านเสมอ การยอมรับในสองด้านของสรรพสิ่ง ก่อให้เกิดความเข้าใจอันสมบูรณ์ "แสง" เกื้อหนุนให้เกิด "เงา" ส่วนเงาก็ยืนยันความมีอยู่ของแสง "รูปทรง" ดำรงอยู่ได้ใน "ความสว่าง" เพราะพื้นที่ว่างช่วยขับให้รูปทรงปรากฏโดดเด่น ฉันใดก็ฉันนั้น เราได้ยิน "เสียง" ก็เพราะมี "ความเงียบ" เป็นฉาก ทั้งเสียงและความเงียบจึงเป็นสองด้านของการรับรู้ และความเข้าใจทางโสตประสาท และความเข้าใจใน "ดนตรี" อย่างสมบูรณ์






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

แจ้งเพื่อเก็บขึ้นกระทู้พิเศษ คลิ๊กที่นี่แจ้งเพื่อนำขึ้นกระทู้พิเศษ

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  

คำตอบที่ 1
       เมื่อนึกถึงองค์ประกอบดนตรีที่เราสร้างสรรค์ บรรเลง และฟังกันอยู่ทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นเพลงประเภทใด เรามักนึกถึง แนวทำนอง เสียงประสาน จังหวะจะโคน แต่องค์ประกอบดนตรีอีกอย่างหนึ่งซึ่งสำคัญมาก แต่เราไม่ค่อยนึกถึงกัน คือ "ความเงียบ" ความเงียบช่วยขับให้เสียงที่ต้องการปรากฏ โดดเด่นขึ้นมาในการรับรู้ และในแง่ของดนตรี ความเงียบช่วยแยกแยะประโยคดนตรี หรือทำนองเพลงให้เราฟังเข้าใจ







 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

battousai จาก battousai 168.120.34.226 ศุกร์, 30/7/2553 เวลา : 13:37  IP : 168.120.34.226   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 878

คำตอบที่ 2
       ดนตรีสากลเห็นความสำคัญของ "ความเงียบ" ถึงกับมีการบันทึกความเงียบเป็นลายลักษณ์ไม่ต่างกับการบันทึก "เสียงโน้ต" เป็นลายลักษณ์ ภาษาเขียนของดนตรีนั้น มีสัญลักษณ์บันทึกความเงียบไม่ต่างจากสัญลักษณ์บันทึกตัวโน้ต

นอกจากนี้ยังมีสัญลักษณ์บอกความเงียบ หรือ "ความนิ่ง" อื่นๆอีกด้วย เช่นสัญลักษณ์ "เฟอร์มาตา (Fermata)" หมายถึงให้คงเสียง หรือค้างเสียง หรือยืดเสียงเอาไว้ตามอารมณ์ให้เหมาะสมในการบรรเลง ซึ่งหากผู้บรรเลงทำได้เหมาะเจาะ การนิ่ง การค้างเสียง การยืดเสียงเช่นนี้ ก่อให้เกิดรสชาติทางอารมณ์ในการบรรเลงและการฟังอย่างมาก ท่านผู้อ่านอาจเคยไปชมการแสดงดนตรีของวงดุริยางค์ที่ในตอนท้ายเพลง เมื่อจบเสียงหรือคอร์ดสุดท้ายแล้ว ผู้อำนวยเพลงก็ยังค้างมือค้างไม้อยู่ในท่าเดิม ยังไม่ลดไม้บาต็องที่ใช้โบกสะบัดลงเสียที ช่วงขณะนั้น บรรยากาศจะเต็มไปด้วยความเงียบ แต่ทุกคนคงจะรู้สึกได้ว่าเป็นความเงียบที่เป็นเวทีให้อารมณ์ของดนตรีได้โลดแล่นต่อไปอีกนิดหนึ่ง นี่เป็นการใช้ความนิ่งความเงียบให้เกิดอารมณ์ทางศิลปะ เราผู้ฟังก็ควรเคารพความเงียบนั้น อย่าเพิ่งปรบมือทำลายความเงียบลงก่อนเวลาอันควร ในช่วงขณะเหล่านี้ หากไปดูในโน้ตดนตรีที่ผู้ประพันธ์บันทึกเอาไว้ ก็อาจเห็นเขาบันทึกโน้ตสุดท้ายให้ค้าง ลากยาวต่อไปอีกหลายๆห้องดนตรี พร้อมกำกับสัญลักษณ์ดังกล่าวเอาไว้ด้วย ทั้งสัญลักษณ์ ตัวหยุด หรือสัญลักษณ์อื่นๆ แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจของผู้ประพันธ์และผู้บรรเลงในการ "เล่น" กับความเงียบ และยังแสดงให้เห็นว่า "ความเงียบ" มีที่ทางและที่อยู่อย่างแน่นอนในระบบระเบียบภาษาเขียนของดนตรี อย่างไรก็ตาม แม้ดนตรีฝรั่งจะเห็นความสำคัญของความนิ่ง ความเงียบ แต่ก็ดูจะเป็นการนำเอาความเงียบมาใช้เพื่อให้เสียงดนตรีมีความหมายขึ้น โดยเฉพาะช่วยขับรสชาติ และอารมณ์ของเสียงดนตรีให้ปรากฏโดดเด่นขึ้น คือเป็นการใช้ความเงียบเพื่อมุ่งเร้าอารมณ์





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

battousai จาก battousai 168.120.34.226 ศุกร์, 30/7/2553 เวลา : 13:39  IP : 168.120.34.226   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 879

คำตอบที่ 3
       หันมาดูศิลปะตะวันออกกันบ้าง ศิลปะตะวันออกเช่น ศิลปะจีน หรือญี่ปุ่นโบราณ เป็นต้น นั่นเขามุ่งเสพสุนทรียรสของความว่าง ความนิ่ง และความเงียบกันโดยตรงเลย รูปเขียนจีนโบราณจำนวนมากมาย เน้น "พื้นที่ว่าง" บางรูปมีรูปทรงอะไรต่างๆเพียงเล็กน้อย เช่น ชะง่อนเขา ยอดเขามีต้นไม้โผล่ยอดมานิดหน่อย นกบินเหงาๆอยู่หนึ่งตัว นอกนั้นที่เห็นก็เป็นเหว โตรกเขาหรือท้องฟ้า ซึ่งก็ล้วนเป็นที่โล่ง เสมือนว่ารูปทรงนิดๆหน่อยๆเหล่านั้น เป็นตัวช่วยขับให้ผู้ชมเห็น และสัมผัสกับความว่าง เป็นการใช้ความว่างเพื่อสงบระงับอารมณ์ แทนที่จะมุ่งเร้าอารมณ์แบบฝรั่ง





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

battousai จาก battousai 168.120.34.226 ศุกร์, 30/7/2553 เวลา : 13:41  IP : 168.120.34.226   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 880

คำตอบที่ 4
       นักดนตรีจีนโบราณก็ล้วนเป็นปราชญ์ด้วยในตัว มิใช่โดยอาชีพ แต่โดยจิตวิญญาณ ท่านใช้ศิลปะและดนตรีเพื่อกล่อมเกลาและชำระจิตวิญญาณ การประพันธ์และบรรเลงดนตรีหรือบทกวีต่างๆนั้น นอกเหนือจากจะเป็นการแสดงซากแห่งความคิดออกมาให้ปรากฏแก่โลกแล้วจุดมุ่งหมายที่สำคัญกว่า คือการใช้ศิลปะและดนตรีเป็นพาหนะนำจิตวิญญาณมุ่งสู่โลกภายในดนตรีจีนและญี่ปุ่นโบราณจึงมักมีเสียงน้อย ค่อย และนิ่ง เพลงบางบทนั้นนิ่งมากจนราวกับว่าความเงียบคือเนื้อหาหลัก ท่านอาจเคยเห็นรูปหรือดูภาพยนต์จีนโบราณ ที่นักปราชญ์จีนหลับตาเล่นจะเข้จีนอย่างสุขุม ท่านบรรจงดีดสายแต่ละสายเสียงแต่ละเสียงอย่างประณีต เสียงแต่ละเสียงห่างกันมาก นานๆจะดังสักทีหนึ่ง และเมื่อจิตใจเข้าที่ลงตัวจนว่างจริงๆ เพลงบทนั้นก็ไม่ดังเลย เพราะไม่จำเป็น...





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

battousai จาก battousai 168.120.34.226 ศุกร์, 30/7/2553 เวลา : 13:42  IP : 168.120.34.226   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 881

คำตอบที่ 5
       ในแวดวงของดนตรีคลาสสิกฝรั่งที่มีการพัฒนาภาษาดนตรีมาไกล ดนตรีเต็มไปด้วยสีสันและเรื่องราวอย่างเข้มข้นนั้น ก็เริ่มมีแนวคิดของการประดิษฐ์เพลงแบบเห็นความงามของความน้อยความนิ่ง ตลอดจนความนิ่งเป็นเนื้อหาทางดนตรีจริงๆ เมื่อราวๆต้นศตวรรษที่ 20 เช่น ท่ามกลางบทเพลงเดี่ยวเปียโนอันซับซ้อนไพเราะอย่างวิจิตรพิสดาร ต้องใช้ทั้งฝีมือและความเข้าใจในการบรรเลงอย่างสูง เช่น บทเพลงของ Chopin หรือ Liszt นักแต่งเพลงฝรั่งเศสชื่อ ซาตี (Erik Satie; ค.ศ. 1866 - 1925) ก็แต่งเพลงเดี่ยวเปียโนที่แสนจะไพเราะเรียบง่าย มือไม้ที่ใช้ในการบรรเลงแทบจะไม่ต้องเคลื่อนที่ไปไหนให้ยุ่งยากผาดโผน แต่มีเสน่ห์ประทับใจ ประทับอารมณ์คนเล่นคนฟัง จนซาตีกลายเป็นนักประพันธ์และนักคิดทางดนตรีที่มีสานุศิษย์มากมาย






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

battousai จาก battousai 168.120.34.226 ศุกร์, 30/7/2553 เวลา : 13:44  IP : 168.120.34.226   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 882

คำตอบที่ 6
       หรือในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ทางประเทศออสเตรีย ก็มีนักประพันธ์เพลงเอกอีกท่านหนึ่งชื่อเวเบิร์น (Anton Webern; ค.ศ.1883 - 1945) ท่านผู้นี้เริ่มชีวิตการประพันธ์เพลงในแนวดนตรีแบบโรแมนติก ที่มีท่วงทำนองและสีสันของเสียงประสานอันซับซ้อนวิจิตรแบบโรแมนติก แต่หลังจากร่ำเรียนเพียรอบรมบ่มเพาะจิตใจเพื่อแสวงหาแนวทางดนตรีอันเป็นเอกลักษณ์ของตัวเองอยู่พักใหญ่ บทเพลงอันเป็นเอกลักษณ์ของท่านซึ่งส่งผลกว้างไกลต่อพัฒนาการของดนตรีคลาสสิกตะวันตกต่อมาไม่น้อย กลับเป็นบทเพลงที่ล้วนแสนสั้น บางบทมีเสียงเรียงร้อยกันอยู่ไม่กี่เสียงบรรยายให้ได้ภาพรวมๆก็คือ ฟังแล้วหรือบรรเลงแล้วก็ราวกับเรากำลังมองขึ้นไปบนท้องฟ้า แลเห็นดวงดารากระจายกันอยู่ห่างๆตรงนั้นตรงนี้ ให้ความรู้สึกโล่งๆแต่ก็ลึกลับ






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

battousai จาก battousai 168.120.34.226 ศุกร์, 30/7/2553 เวลา : 13:45  IP : 168.120.34.226   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 883

คำตอบที่ 7
       "ความเงียบ" มาส่งเสียงดังมากที่สุดในบทเพลงคลาสสิกฝรั่งบทหนึ่งก็ในราวหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในเพลงชื่อ 4'33" (สี่นาที สามสิบสามวินาที) แต่งโดย จอห์น เคจ (John Cage; ค.ศ.1912 - 1992) เพลงบทนี้เคจแต่งในปี ค.ศ.1952 เป็นเพลงให้บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีอะไรก็ได้หรือกลุ่มใดก็ได้ นำออกแสดงครั้งแรกที่สหรัฐฯ ให้บรรเลงด้วยเปียโน การแสดงรอบปฐมครั้งนั้น สร้างความฮือฮาเป็นอย่างมากแก่วงการ เพราะเมื่อการแสดงเริ่ม นักเปียโนเดินออกมานั่งที่เก้าอี้เปียโน เตรียมบรรเลง แล้วเขาก็นั่งจ้องโน้ตเงียบๆอยู่เป็นเวลา 4 นาที 33 วินาที ครบเวลาแล้วก็ปิดฝาเปียโน เดินกลับหลังเวทีไป ความเงียบที่จงใจให้เกิดเป็นเวลา 4 นาทีกว่าๆนั้น สร้างความประหลาดใจ อึดอัดใจ และอัศจรรย์ใจแก่ผู้ชมเป็นอย่างมาก







 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

battousai จาก battousai 168.120.34.226 ศุกร์, 30/7/2553 เวลา : 13:47  IP : 168.120.34.226   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 884

คำตอบที่ 8
       ในเพลงบทนี้เคจต้องการเสนอความคิดที่ว่า ดนตรีมีอยู่ทั่วทุกแห่งหนไป ถ้าเพียงแต่เราจะเปิดหูเปิดใจออกไปแล้วก็ "ฟัง" เคจมีความเห็นว่า เสียงทุกอย่างมีศักยภาพเป็นดนตรีทั้งสิ้นในระหว่างที่เพลงบทนี้ดำเนินไปอย่างเงียบๆ ถ้าเปิดหูเปิดใจออกไป ทุกคนก็จะได้ยินเสียงต่างๆเกิดขึ้นมากมาย มากมายอย่างที่เราไม่คาดคิดมาก่อน เคจเห็นว่าปัญหาของผู้คนในยุคสมัยใหม่ก็คือคนไม่ค่อยฟัง ได้แต่คอยจะมองหาสิ่งที่ตัวเองคาดหวังหรือคิดอะไรไว้ก่อนอยู่ในใจในหู ด้วยทัศนคติแบบนี้ทำให้เราไม่ได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆเพิ่มขึ้นเลยในชีวิต เพลงบทนี้เตือนให้เราเห็นทั้งคุณค่าของเสียงที่เกิดขึ้น และพร้อมกันนั้นก็ได้เห็นคุณค่าของ "ความเงียบ" ที่เป็นฉากหลังของเสียงด้วย






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

battousai จาก battousai 168.120.34.226 ศุกร์, 30/7/2553 เวลา : 13:48  IP : 168.120.34.226   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 885

คำตอบที่ 9
       ในชีวิตประจำวันในบ้านในเรีอนในครอบครัว พ่อแม่ผู้ปกครองอย่าเพียงแต่นึกถึงการจะให้บุตรหลานแสดงออก ส่งเสียง หรือกระทั่งร้องรำทำดนตรีเท่านั้น ขอเสนอให้นึกถึงการจัดบรรยากาศครอบครัวให้มี "ความเงียบ" อันเหมาะสมและสร้างสรรค์ให้แก่เด็กๆด้วย ในแต่ละวันให้เด็กๆได้มีโอกาสอยู่อย่างสุขสงบ เห็นความงามและคุณค่าของความเงียบด้วย เขาจะได้หัด "ฟัง" เสียงต่างๆรอบตัว และที่สำคัญคือในที่สุดก็อาจจะได้ยิน "เสียงของตัวเอง" ด้วย


เอกสารอ้างอิงจาก......
http://www.chintakarn.com/journal/aug45/hush.html







 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

battousai จาก battousai 168.120.34.226 ศุกร์, 30/7/2553 เวลา : 13:52  IP : 168.120.34.226   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 886

คำตอบที่ 10
      
ขอบคุณภาพประกอบสวย ๆ พร้อมข้อมูลดีๆ ค่ะ

เด็กชายเก้ากะหนูแพร ศิลปะไม่จำกัดรูปแบบ

สานศิลป์ในหัวใจ....

ขอให้สิ่งดี ๆ แบบนี้อยู่คู่กับเราตลอดไปค่ะ......



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

homeofart จาก Home Of Art 110.168.19.42 ศุกร์, 30/7/2553 เวลา : 14:59  IP : 110.168.19.42   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 887

      

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  



website รองรับการใช้งานทุกระบบปฏิบัติการของ PC Tablet SmartPhone ทุกระบบสามารถโพสข้อความและรูปภาพได้โดยไม่ต้องย่อไฟล์
เพื่อความปลอดภัยในการใช้ website WeekendHobby.Com สมาชิก เท่านั้น จึงจะตั้งกระทู้ หรือ ตอบกระทู้ได้ครับ
Login Click ที่นี่
สมัครสมาชิก Click ที่นี่



Since 22, Feb 2001 hit counter View My Stats  Truehits.net      วันพฤหัสบดี,25 เมษายน 2567 (Online 6250 คน)