WeekendHobby.com


ด่วน !!!..บัตรฟรี VIP....เที่ยวชมงานถ่ายภาพพลุ นานาชาติพัทยา....
mop
จาก MOP
พุธที่ , 11/8/2553
เวลา : 07:40

อ่าน = 310
61.90.5.162
       ด่วน !!!..บัตรฟรี VIP....เที่ยวชมงานถ่ายภาพพลุ นานาชาติพัทยา....

เพิ่งได้รับบัตรเชิญมาสด ๆ ร้อน ๆ ทั้งหมด 4 ใบ วันนี้เลยเอามาแจกเพื่อน ๆ ครับ

บัตรเชิญ 1 ใบ สำหรับ 4 ท่าน

บัตรนี้เอาไว้เข้าในบริเวณงานที่เค้าจัดน่ะครับ จะมีสารพัดโชว์บนเวที ตั้งแต่ 14.00 น. เป็นต้นไป (เดี๋ยวหากำหนดการมาให้อีกที)

ส่วนตัวผมว่าไม่เหมาะกับช่างภาพที่ไปถ่ายภาพพลุ ครับ แต่ถ้าคิดว่าจะไป "ดู" พลุก็โอเค.......เพราะทางผู้จัดมิได้เตรียมจุดถ่ายภาพพลุให้กับช่างภาพ เหมือนงานพลุอาซาฮี

เพื่อนสมาชิกที่สนใจ สามารถรับบัตรได้ในวันศุกร์ นี้ครับ...เพราะวันพฤหัส ผมต้องไปทำงานที่เขาใหญ่........หรือ...จะโทรนัดดักรับตามรายทางก็ตามสะดวก.....081-754-5456

มิเช่นนั้น วันศุกร์ผมจะฝากบัตรไว้ที่ร้าน 4Whell Parts ถนนเกษตร-นวมินทร์ ตอม่อ68 ครับ

ส่วนตัวผมเองอยากไปถ่ายภาพพลุ เลยขอสละสิทธิการใช้บัตรครั้งนี้ครับ....

ขอขอบคุณพี่เพ็บ ผบ.สส. ลุงนพ WJ มา ณ.ที่นี้ด้วยครับ

ขอผู้ที่มั่นใจว่าไปเที่ยวงานดังกล่าวได้จริง ๆ น๊ะครับ เอาให้ชัวร์



ที่เช็คข่าวมา เค้าบอกว่ารถจะติดวินาศสันตะโร เลยล่ะครับ (เลยไม่อยากเอารถไปเอง)....กำลังวางแผนเช่ารถตู้เพื่อนอยู่ครับ แล้วจะมาแจ้งให้ทราบอีกครา....ไปด้วยกันเมาท์กันมันส์ ๆ ในรถ ขากลับก็หลับในรถกลับบ้านใครบ้านมัน สบายดี ....ใครสนใจลงชื่อไว้ก่อน แต่จะไปเมื่อไหร่ ไปรึเปล่า ยังไม่แน่นอนครับ

ตอนนี้เล็ง ๆ ไว้ที่โซนเขาพระตำหนัก กับแหลมบาลีฮายครับ....กำลังหาข่าวอยู่ว่า สยามเบย์ชอว์ ให้ขึ้นไปถ่ายภาพบนดาดฟ้าได้รึเปล่า.....ช่วย ๆ กันหาข่าวหน่อยครับ

แผน 2 .....ข่าวไม่ได้กรอง แจ้งว่าวันที่ 13 จะมีการจุดพลุซ้อมใหญ่ ครับ อาจจะไปวันนั้นเลยก็ได้ คนจะได้น้อย ๆ หน่อย เผื่อวันที่ 14 ฝนตกละก็เฮเลยครับ ^51^

คอยติดตามอย่างใจจดใจจ่อครับ ^51^

กระทู้อ้างอิง
http://www.weekendhobby.com/board/photo/question.asp?id=25306&page=1

ขอบคุณเจ้าของภาพที่ถ่ายมาจากเขาพระตำหนัก มา ณ. ที่นี้ด้วยครับ





เครื่องมือในการใช้งาน website =>> สมัครสมาชิก | Login | Logout | เปลี่ยนไอคอนส่วนตัว | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อโฆษณา         View stat by Truehits.net


   
   

คำตอบที่ 1
       นี่แผนที่ไปท่าเรือแหลมบาลีฮาย





mop จาก MOP  61.90.5.162  พุธ, 11/8/2553 เวลา : 07:42   


คำตอบที่ 2
       รอดูๆๆ



sutadl จาก nikia  210.1.9.114  พุธ, 11/8/2553 เวลา : 08:03   


คำตอบที่ 3
       รอดูภาพพุลสวยๆด้วยครับพี่ป้อม



Nai...Jads จาก นาย.....เจษฎ์  125.26.9.176  พุธ, 11/8/2553 เวลา : 09:47   


คำตอบที่ 4
       สันตะโรแน่นอนพี่ ผมอยากไปเหมือนกันแต่กลัวเรื่องรถติดนี่แหละ ยังไงจะโทรหาครับ



เฌอเขียว จาก เฌอเขียว  58.8.121.159  พุธ, 11/8/2553 เวลา : 09:55   


คำตอบที่ 5
       รอชมความงามจากกรถ่ายทอดในกระทู้แล้วกันครับ



ชินโนะสุเกะ จาก ชินโนะสุเกะ  111.84.252.43  พุธ, 11/8/2553 เวลา : 15:23   


คำตอบที่ 6
       ข่าวล่ามาเรือเกลือ....ตะแล๊บแก๊บ แจ้งว่าวันที่ 13 จะมีการจุดพลุซ้อมใหญ่ ....นี่ยิงแบบหน่อมแน้ม ไม่หมดแม็ก

ดังนั้นงดเดินทางวันที่ 13 น๊ะครับ

สรุปว่า....ตอนนี้ถ้าจะไปคงไปวันเสาร์ที่ 14 ตอนเที่ยง ๆ ครับ เผื่อวนดูเชิงโลเคชั่นได้หลายจุดหน่อย

ตอนนี้หาคนหารค่ารถตู้ .......เลยยังไม่กล้าจองครับ



mop จาก MOP  58.8.237.168  พุธ, 11/8/2553 เวลา : 15:57   


คำตอบที่ 7
       ตอนนี้เช่ารถตู้ Toyota Comuter หลังคาสูง 9 ที่นั่งได้แล้วครับ...ราคา 1800 บาท + คน...ขากลับเติมน้ำมันให้เค้าเต็มตามจริง

ออกจาก กทม. เที่ยงวันเสาร์ ....ถ่ายภาพพลุเสร็จ นั่งหลับกลับ กทม....แยกย้ายกันกลับบ้านใครบ้านมัน

สนใจลงชื่อด่วนครับ

1. Supermop

2. พี่ม้าแกลบ

3. พี่พลสามวา + 1

4. หมูน้อย รูปหล่อ + 1


รับเต็มที่ไม่เกิน 9 คนครับ....รีบจองด่วน



mop จาก MOP  58.8.237.168  พุธ, 11/8/2553 เวลา : 16:34   


คำตอบที่ 8
       คนคงเหยียบกันตายแน่เลยครับ ข่าวมาว่าที่พักเต็มทุกระดับชั้นเลยครับ อยากได้แบบหน้าหาดเลยครับ คงแจ่ม



sppclickta จาก ซ้งครับ  110.168.41.128  พุธ, 11/8/2553 เวลา : 22:05   


คำตอบที่ 9
       คำตอบที่ 7
ตอนนี้เช่ารถตู้ Toyota Comuter หลังคาสูง 9 ที่นั่งได้แล้วครับ...ราคา 1800 บาท + คน...ขากลับเติมน้ำมันให้เค้าเต็มตามจริง

ออกจาก กทม. เที่ยงวันเสาร์ ....ถ่ายภาพพลุเสร็จ นั่งหลับกลับ กทม....แยกย้ายกันกลับบ้านใครบ้านมัน

สนใจลงชื่อด่วนครับ

1. Supermop

2. พี่ม้าแกลบ

3. พี่พลสามวา + 1

4. หมูน้อย รูปหล่อ + 1

5.น้องต้อง

6.น้องส้ม

5-6น้องต้องน้องส้มขอไปด้วยนะครับท่านป้อม......
งั้นก็เท่ากับเหลืออีก1ที่นั้งเท่านั้นถูกต้องหรือไม่ครับท่านป้อม

 แก้ไขเมื่อ : 12/8/2553 10:12:33



ม้าแกลบ จาก ม้าแกลบ  124.121.187.130  พฤหัสบดี, 12/8/2553 เวลา : 10:10   


คำตอบที่ 10
       โอเคครับ....เพิ่มน้องต้อง + ส้ม ได้เลยครับพี่

สรุป ตอนนี้รวมทั้งหมด 8 ที่นั่งแล้วครับ....คงเหลือเพียงอีก 1 ที่นั่งเท่านั้น



mop จาก MOP  61.90.16.46  พฤหัสบดี, 12/8/2553 เวลา : 10:40   


คำตอบที่ 11
       Concept

การถ่ายภาพพลุในเวลากลางคืน มีหลักการณ์เบื้องต้นเช่นเดียวกับการถ่ายภาพเส้นแสงไฟบนท้องถนนยาม
ค่ำคืน นั่นก็คือการเปิดรับแสงนาน เพื่อบันทึกการเคลื่อนที่ของแหล่งกำเนิดแสงอย่างต่อเนื่อง แต่สิ่งที่ต้อง
คำนึงถึงจะต่างออกไปบ้างเช่นกระแสลม, ปริมาณแสงของพลุ, จำนวนและลักษณะ ฯลฯ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว
จะเป็นสิ่งที่คาดเดาได้ค่อนข้างยาก อาจจะทำให้มือใหม่นึกท้อใจในการจับจังหวะและวางองค์ประกอบ
แต่เมื่อฝึกถ่ายภาพพลุบ่อยๆ ประสบการณ์ก็จะเป็นสิ่งที่ช่วยได้มากในทุกๆ ด้าน อันจะส่งผลให้ผลงานออกมา
ดีขึ้นเรื่อยๆ

อุปกรณ์ที่เราเลือกใช้จะมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากที่จะส่งผลต่อภาพ อุปกรณ์ที่ไม่สมบรูณ์ก็จะส่งผลให้โอกาส
ที่จะได้ภาพดีๆ เกิดขึ้นได้ยาก

"การอยู่ถูกที่ถูกเวลา" เป็นสิ่งที่ใช้ได้เสมอ ซึ่งการที่เราจะบรรลุผลเช่นนั้นได้ก็จะต้องเกิดจากการหาข้อมูล
ประกอบเอาไว้ล่วงหน้า มันเป็นการยากที่จะได้ภาพดีๆ หากคุณรู้แต่เพียงว่าจะมีการแสดงพลุที่ไหน แล้วก็
เดินทางเข้าไปยังจุดนั้นเลย คุณควรที่จะคำนึงถึงสภาพแวดล้อมในสถานที่นั้นๆ ด้วย

Equipments


เมื่อได้ยินคำว่า "เปิดรับแสงนาน" อุปกรณ์ที่สำคัญเป็นอันดับหนึ่งอย่างแน่นอนก็คือ
"ขาตั้งกล้อง" เพื่อทำให้กล้องอยู่นิ่งที่สุดตลอดช่วงเวลาการเปิดรับแสง ซึ่งขาตั้งกล้อง
ก็ควรที่จะมีความมั่นคงแข็งแรง ไม่โยกคลอนหรือสั่นไหวได้ง่ายๆ ไม่เช่นนั้นแล้ว
เส้นแสงของพลุก็จะขาดความคมชัดอันเนื่องมาจากการสั่นไหวของตัวกล้อง

และเมื่อมีขาตั้งกล้อง สิ่งที่จะตามมาก็คือ "สายลั่นชัตเตอร์" ซึ่งจะมีความสำคัญยิ่ง
กว่าการถ่ายภาพแสงไฟบนท้องถนน เพราะในการถ่ายภาพพลุนั้นควรที่จะต้องใช้
ชัตเตอร์ "B" มากกว่าการใช้สปีดชัตเตอร์ต่ำปกติ เพราะเป็นการถ่ายภาพแบบจับ
จังหวะที่ต้องควบคุมจังหวะเวลาให้ดีที่สุด ดังนั้นสายลั่นชัตเตอร์จึงเป็นสิ่งที่ขาด
ไม่ได้ เพราะหากใช้ชัตเตอร์ "B" คุณก็ต้องใช้สายลั่นชัตเตอร์เท่านั้น ไม่สามารถใช้
การถ่ายภาพแบบหน่วงเวลา (Self-Timer) ได้เลย

อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากก็คือเลนส์ ซึ่งในที่นี้จะหมายถึงการเลือกช่วงระยะของเลนส์
ที่จะใช้งาน การถ่ายภาพพลุไม่จำเป็นต้องใช้เพียงเลนส์มุมกว้าง (Wide) เท่านั้น
ตรงกันข้ามในบางโอกาสมันอาจจะใช้ไม่ได้เลยก็มี เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับระยะทางจาก
กล้องถึงจุดยิงพลุ รวมทั้งขนาดของพลุที่แตกตัวแล้วด้วย ซึ่งถ้าจะให้ดีที่สุดก็ควรมี
เลนส์ที่ครอบคลุมระยะทำการตั้งแต่มุมกว้างไปจนถึงเทเลโฟโต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
เมื่อคุณไม่รู้ตำแหน่งที่พลุจะถูกจุดขึ้น ซึ่งคุณจะสามารถปรับเปลี่ยนเลนส์ได้อย่าง
ทันท่วงทีตามความเหมาะสม และถ้าจะให้ดีที่สุดก็ควรใช้เลนส์ซูมที่สามารถเปลี่ยน
ระยะได้ เพราะหากคุณใช้เลนส์ฟิกส์และต้องมีการย้ายตำแหน่งตามความเหมาะสม
กับขนาดของพลุ นั่นหมายความว่าคุณต้องเคลื่อนย้ายตำแหน่งไปไกลพอสมควรด้วย
การวิ่ง ซึ่งก็จะทำให้ทุลักทุเลไม่น้อยเลยทีเดียว แต่ถ้าสามารถเปลี่ยนระยะได้จาก
เลนส์ ก็จะไม่ต้องเคลื่อนย้ายไปไหน

The Exposure

• สปีดชัตเตอร์
ในกรณีนี้เราจะใช้ชัตเตอร์ "B" ดังนั้นสปีดชัตเตอร์ที่เหมาะสมก็ไม่ใช่สิ่งที่ต้องคำนึงถึง หากแต่สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญก็คือระยะเวลาที่เราจะสั่งให้ม่านชัตเตอร์
เปิดและปิด ซึ่งหากเปิดรับแสงนานเกินไปก็จะทำให้เกิดภาพโอเว่อร์ แต่ถ้าปิดรับแสงเร็วเกินไปก็จะเกิดภาพมืดหรือภาพโอเว่อร์

• รูรับแสง
เมื่อต้องการใช้สปีดชัตเตอร์ต่ำ ก็หมายความว่าเราควรจะเลือกใช้รูรับแสงแคบๆตั้งแต่ f/13 ขึ้นไป ผลพลอยได้จากเรื่องนี้ก็คือ เส้นของแสงพลุจะเรียวและคมชัด
มากขึ้น ในบางจังหวะของลูกไฟที่ทำมุมได้องศากับกล้องพอดีก็จะเกิดประกายแฉกขึ้นได้ด้วย

• ค่า ISO
เลือกใช้ค่า ISO ที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อคุณภาพสูงสุด และเพื่อให้เราสามารถเปิดรับแสงได้ยาวนานมากขึ้น ซึ่งนั่นหมายความว่าเส้นแสงของพลุในภาพ
จะมีความยาวและรัศมีที่มากขึ้นด้วยเช่นกัน


How to?

ในการถ่ายภาพพลุ เมื่อคุณปรับตั้งค่าของกล้องเรียบร้อยแล้ว ให้เปลี่ยนระบบโฟกัสมาเป็นแบบ manual แล้วลองปรับโฟกัสไปยังจุดที่คาดว่าพลุจะถูกยิงขึ้นมา
(บางครั้งก็สามารถใช้ระยะอินฟินิตี้ของเลนส์ได้เลย) เหตุที่ต้องเปลี่ยนมาใช้ระบบโฟกัส manual ก็เพราะว่าหากเราใช้ระบบออโต้โฟกัสในระหว่างการแสดงพลุ
ระบบโฟกัสของเลนส์จะวิ่งตลอดเวลาและไม่อยู่นิ่ง และเพราะเป็นการถ่ายภาพเวลากลางคืนและตัวแบบไม่ได้อยู่คงที่ ดังนั้นระบบออโตโฟกัสจะสร้างปัญหา
ให้กับการถ่ายภาพเป็นอย่างมาก ควรใช้โฟกัสแบบ manual จะดีกว่า เพราะจุดโฟกัสของเราจะมีเพียงตำแหน่งเดียวในภาพ ซึ่งหากคุณอยู่ในระยะที่ห่าง
พอสมควรจากพลุ ก็ปรับระยะโฟกัสของเลนส์ไปที่อินฟินิตี้ได้เลย

ตรวจสอบมุมรับภาพของคุณด้วยการลองซูมเลนส์เข้า-ออกดูว่า มันมีระยะครอบคลุมในภาพได้ขนาดไหน เพราะคุณไม่สามารถรู้ได้เลยว่าพลุแต่ละลูกจะมีรัศมี
เท่าไหร่ การเลือกมุมที่ดี จะช่วยให้คุณมีโอกาสในการเก็บพลุทั้งลูกได้มากกว่า ซึ่งในเวลาถ่ายจริงคุณก็ปรับระยะซูมเพื่อเพิ่มหรือลดพื้นที่ของภาพได้ทันทีตาม
ความเหมาะสม

เมื่อการแสดงพลุเริ่มต้น คุณยังไม่ต้องให้ความสำคัญกับการกดชัตเตอร์ แต่ควรให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนมุมภาพหรือองศาของตัวกล้องให้ดี ตั้งสติ
ให้มั่นแล้วทำให้เร็ว มองในช่องมองภาพแล้วปรับมุมภาพให้เข้าที่ ยอมเสียพลุชุดแรกๆ ไปเพื่อให้ภาพต่อมาออกมาดี ซึ่งมันจะดีกว่ารีบถ่ายภาพตั้งแต่ต้น
แล้วภาพออกมาไม่ดีทั้งหมด หากจำเป็นต้องย้ายจุดถ่ายภาพ ก็ควรรีบทำเสียตั้งแต่ในขั้นตอนนี้

เมื่อปรับทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ก็ถือสายลั่นเตรียมลั่นชัตเตอร์เอาไว้ เมื่อคุณได้ยินเสียงพลุก็เริ่มกดชัตเตอร์ ซึ่งในขณะที่คุณได้ยินเสียง นั่นแปลว่าพลุถูกส่งขึ้น
บนท้องฟ้าแล้ว (เนื่องจากเสียงเดินทางได้ช้ากว่าแสง คุณจึงเห็นภาพก่อนที่จะได้ยินเสียง) จากนั้นก็รอจนกว่าพลุจะแตกตัวออก เปิดชัตเตอร์รับแสงเอาไว้
ประมาณ 8 วินาที จากนั้นลองดูผลที่ได้ว่าภาพสว่างหรือมืดเกินไปหรือไม่? หากสว่างเกินไปก็ลองหรี่รูรับแสงให้แคบลง หรือลดเวลาการเปิดรับแสงให้สั้นลง
หากภาพออกมามืดเกินไป ให้ขยายรูรับแสงให้กว้างขึ้น (แต่ไม่ควรต่ำกว่า f/8) หรือเพิ่มเวลาในการเปิดรับแสงให้นานขึ้นกว่าเดิม ในส่วนนี้ต้องขึ้นอยู่กับ
จำนวนและความสว่างของพลุด้วย

How to?

ในการถ่ายภาพพลุ เมื่อคุณปรับตั้งค่าของกล้องเรียบร้อยแล้ว ให้เปลี่ยนระบบโฟกัสมาเป็นแบบ manual แล้วลองปรับโฟกัสไปยังจุดที่คาดว่าพลุจะถูกยิงขึ้นมา
(บางครั้งก็สามารถใช้ระยะอินฟินิตี้ของเลนส์ได้เลย) เหตุที่ต้องเปลี่ยนมาใช้ระบบโฟกัส manual ก็เพราะว่าหากเราใช้ระบบออโต้โฟกัสในระหว่างการแสดงพลุ
ระบบโฟกัสของเลนส์จะวิ่งตลอดเวลาและไม่อยู่นิ่ง และเพราะเป็นการถ่ายภาพเวลากลางคืนและตัวแบบไม่ได้อยู่คงที่ ดังนั้นระบบออโตโฟกัสจะสร้างปัญหา
ให้กับการถ่ายภาพเป็นอย่างมาก ควรใช้โฟกัสแบบ manual จะดีกว่า เพราะจุดโฟกัสของเราจะมีเพียงตำแหน่งเดียวในภาพ ซึ่งหากคุณอยู่ในระยะที่ห่าง
พอสมควรจากพลุ ก็ปรับระยะโฟกัสของเลนส์ไปที่อินฟินิตี้ได้เลย

ตรวจสอบมุมรับภาพของคุณด้วยการลองซูมเลนส์เข้า-ออกดูว่า มันมีระยะครอบคลุมในภาพได้ขนาดไหน เพราะคุณไม่สามารถรู้ได้เลยว่าพลุแต่ละลูกจะมีรัศมี
เท่าไหร่ การเลือกมุมที่ดี จะช่วยให้คุณมีโอกาสในการเก็บพลุทั้งลูกได้มากกว่า ซึ่งในเวลาถ่ายจริงคุณก็ปรับระยะซูมเพื่อเพิ่มหรือลดพื้นที่ของภาพได้ทันทีตาม
ความเหมาะสม

เมื่อการแสดงพลุเริ่มต้น คุณยังไม่ต้องให้ความสำคัญกับการกดชัตเตอร์ แต่ควรให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนมุมภาพหรือองศาของตัวกล้องให้ดี ตั้งสติ
ให้มั่นแล้วทำให้เร็ว มองในช่องมองภาพแล้วปรับมุมภาพให้เข้าที่ ยอมเสียพลุชุดแรกๆ ไปเพื่อให้ภาพต่อมาออกมาดี ซึ่งมันจะดีกว่ารีบถ่ายภาพตั้งแต่ต้น
แล้วภาพออกมาไม่ดีทั้งหมด หากจำเป็นต้องย้ายจุดถ่ายภาพ ก็ควรรีบทำเสียตั้งแต่ในขั้นตอนนี้

เมื่อปรับทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ก็ถือสายลั่นเตรียมลั่นชัตเตอร์เอาไว้ เมื่อคุณได้ยินเสียงพลุก็เริ่มกดชัตเตอร์ ซึ่งในขณะที่คุณได้ยินเสียง นั่นแปลว่าพลุถูกส่งขึ้น
บนท้องฟ้าแล้ว (เนื่องจากเสียงเดินทางได้ช้ากว่าแสง คุณจึงเห็นภาพก่อนที่จะได้ยินเสียง) จากนั้นก็รอจนกว่าพลุจะแตกตัวออก เปิดชัตเตอร์รับแสงเอาไว้
ประมาณ 8 วินาที จากนั้นลองดูผลที่ได้ว่าภาพสว่างหรือมืดเกินไปหรือไม่? หากสว่างเกินไปก็ลองหรี่รูรับแสงให้แคบลง หรือลดเวลาการเปิดรับแสงให้สั้นลง
หากภาพออกมามืดเกินไป ให้ขยายรูรับแสงให้กว้างขึ้น (แต่ไม่ควรต่ำกว่า f/8) หรือเพิ่มเวลาในการเปิดรับแสงให้นานขึ้นกว่าเดิม ในส่วนนี้ต้องขึ้นอยู่กับ
จำนวนและความสว่างของพลุด้วย

การถ่ายภาพพลุ เป็นการถ่ายภาพอีกแบบหนึ่งที่คนใช้กล้อง DSLR ไม่ควรพลาด
เพราะเป็นรูปแบบการถ่ายภาพที่ได้รับความสนุกสนานจากการคิดคำนวณ, จับจังหวะ,
หามุมภาพ และภาพที่ได้ก็มักจะสร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้ชมได้ไม่น้อย

Concept

การถ่ายภาพพลุในเวลากลางคืน มีหลักการณ์เบื้องต้นเช่นเดียวกับการถ่ายภาพเส้นแสงไฟบนท้องถนนยาม
ค่ำคืน นั่นก็คือการเปิดรับแสงนาน เพื่อบันทึกการเคลื่อนที่ของแหล่งกำเนิดแสงอย่างต่อเนื่อง แต่สิ่งที่ต้อง
คำนึงถึงจะต่างออกไปบ้างเช่นกระแสลม, ปริมาณแสงของพลุ, จำนวนและลักษณะ ฯลฯ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว
จะเป็นสิ่งที่คาดเดาได้ค่อนข้างยาก อาจจะทำให้มือใหม่นึกท้อใจในการจับจังหวะและวางองค์ประกอบ
แต่เมื่อฝึกถ่ายภาพพลุบ่อยๆ ประสบการณ์ก็จะเป็นสิ่งที่ช่วยได้มากในทุกๆ ด้าน อันจะส่งผลให้ผลงานออกมา
ดีขึ้นเรื่อยๆ

อุปกรณ์ที่เราเลือกใช้จะมีส่วนสำคัญเป็นอย่างมากที่จะส่งผลต่อภาพ อุปกรณ์ที่ไม่สมบรูณ์ก็จะส่งผลให้โอกาส
ที่จะได้ภาพดีๆ เกิดขึ้นได้ยาก

"การอยู่ถูกที่ถูกเวลา" เป็นสิ่งที่ใช้ได้เสมอ ซึ่งการที่เราจะบรรลุผลเช่นนั้นได้ก็จะต้องเกิดจากการหาข้อมูล
ประกอบเอาไว้ล่วงหน้า มันเป็นการยากที่จะได้ภาพดีๆ หากคุณรู้แต่เพียงว่าจะมีการแสดงพลุที่ไหน แล้วก็
เดินทางเข้าไปยังจุดนั้นเลย คุณควรที่จะคำนึงถึงสภาพแวดล้อมในสถานที่นั้นๆ ด้วย



Equipments


เมื่อได้ยินคำว่า "เปิดรับแสงนาน" อุปกรณ์ที่สำคัญเป็นอันดับหนึ่งอย่างแน่นอนก็คือ
"ขาตั้งกล้อง" เพื่อทำให้กล้องอยู่นิ่งที่สุดตลอดช่วงเวลาการเปิดรับแสง ซึ่งขาตั้งกล้อง
ก็ควรที่จะมีความมั่นคงแข็งแรง ไม่โยกคลอนหรือสั่นไหวได้ง่ายๆ ไม่เช่นนั้นแล้ว
เส้นแสงของพลุก็จะขาดความคมชัดอันเนื่องมาจากการสั่นไหวของตัวกล้อง

และเมื่อมีขาตั้งกล้อง สิ่งที่จะตามมาก็คือ "สายลั่นชัตเตอร์" ซึ่งจะมีความสำคัญยิ่ง
กว่าการถ่ายภาพแสงไฟบนท้องถนน เพราะในการถ่ายภาพพลุนั้นควรที่จะต้องใช้
ชัตเตอร์ "B" มากกว่าการใช้สปีดชัตเตอร์ต่ำปกติ เพราะเป็นการถ่ายภาพแบบจับ
จังหวะที่ต้องควบคุมจังหวะเวลาให้ดีที่สุด ดังนั้นสายลั่นชัตเตอร์จึงเป็นสิ่งที่ขาด
ไม่ได้ เพราะหากใช้ชัตเตอร์ "B" คุณก็ต้องใช้สายลั่นชัตเตอร์เท่านั้น ไม่สามารถใช้
การถ่ายภาพแบบหน่วงเวลา (Self-Timer) ได้เลย

อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากก็คือเลนส์ ซึ่งในที่นี้จะหมายถึงการเลือกช่วงระยะของเลนส์
ที่จะใช้งาน การถ่ายภาพพลุไม่จำเป็นต้องใช้เพียงเลนส์มุมกว้าง (Wide) เท่านั้น
ตรงกันข้ามในบางโอกาสมันอาจจะใช้ไม่ได้เลยก็มี เรื่องนี้เกี่ยวข้องกับระยะทางจาก
กล้องถึงจุดยิงพลุ รวมทั้งขนาดของพลุที่แตกตัวแล้วด้วย ซึ่งถ้าจะให้ดีที่สุดก็ควรมี
เลนส์ที่ครอบคลุมระยะทำการตั้งแต่มุมกว้างไปจนถึงเทเลโฟโต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
เมื่อคุณไม่รู้ตำแหน่งที่พลุจะถูกจุดขึ้น ซึ่งคุณจะสามารถปรับเปลี่ยนเลนส์ได้อย่าง
ทันท่วงทีตามความเหมาะสม และถ้าจะให้ดีที่สุดก็ควรใช้เลนส์ซูมที่สามารถเปลี่ยน
ระยะได้ เพราะหากคุณใช้เลนส์ฟิกส์และต้องมีการย้ายตำแหน่งตามความเหมาะสม
กับขนาดของพลุ นั่นหมายความว่าคุณต้องเคลื่อนย้ายตำแหน่งไปไกลพอสมควรด้วย
การวิ่ง ซึ่งก็จะทำให้ทุลักทุเลไม่น้อยเลยทีเดียว แต่ถ้าสามารถเปลี่ยนระยะได้จาก
เลนส์ ก็จะไม่ต้องเคลื่อนย้ายไปไหน




The Exposure

• สปีดชัตเตอร์
ในกรณีนี้เราจะใช้ชัตเตอร์ "B" ดังนั้นสปีดชัตเตอร์ที่เหมาะสมก็ไม่ใช่สิ่งที่ต้องคำนึงถึง หากแต่สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญก็คือระยะเวลาที่เราจะสั่งให้ม่านชัตเตอร์
เปิดและปิด ซึ่งหากเปิดรับแสงนานเกินไปก็จะทำให้เกิดภาพโอเว่อร์ แต่ถ้าปิดรับแสงเร็วเกินไปก็จะเกิดภาพมืดหรือภาพโอเว่อร์

• รูรับแสง
เมื่อต้องการใช้สปีดชัตเตอร์ต่ำ ก็หมายความว่าเราควรจะเลือกใช้รูรับแสงแคบๆตั้งแต่ f/13 ขึ้นไป ผลพลอยได้จากเรื่องนี้ก็คือ เส้นของแสงพลุจะเรียวและคมชัด
มากขึ้น ในบางจังหวะของลูกไฟที่ทำมุมได้องศากับกล้องพอดีก็จะเกิดประกายแฉกขึ้นได้ด้วย

• ค่า ISO
เลือกใช้ค่า ISO ที่ต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เพื่อคุณภาพสูงสุด และเพื่อให้เราสามารถเปิดรับแสงได้ยาวนานมากขึ้น ซึ่งนั่นหมายความว่าเส้นแสงของพลุในภาพ
จะมีความยาวและรัศมีที่มากขึ้นด้วยเช่นกัน



How to?

ในการถ่ายภาพพลุ เมื่อคุณปรับตั้งค่าของกล้องเรียบร้อยแล้ว ให้เปลี่ยนระบบโฟกัสมาเป็นแบบ manual แล้วลองปรับโฟกัสไปยังจุดที่คาดว่าพลุจะถูกยิงขึ้นมา
(บางครั้งก็สามารถใช้ระยะอินฟินิตี้ของเลนส์ได้เลย) เหตุที่ต้องเปลี่ยนมาใช้ระบบโฟกัส manual ก็เพราะว่าหากเราใช้ระบบออโต้โฟกัสในระหว่างการแสดงพลุ
ระบบโฟกัสของเลนส์จะวิ่งตลอดเวลาและไม่อยู่นิ่ง และเพราะเป็นการถ่ายภาพเวลากลางคืนและตัวแบบไม่ได้อยู่คงที่ ดังนั้นระบบออโตโฟกัสจะสร้างปัญหา
ให้กับการถ่ายภาพเป็นอย่างมาก ควรใช้โฟกัสแบบ manual จะดีกว่า เพราะจุดโฟกัสของเราจะมีเพียงตำแหน่งเดียวในภาพ ซึ่งหากคุณอยู่ในระยะที่ห่าง
พอสมควรจากพลุ ก็ปรับระยะโฟกัสของเลนส์ไปที่อินฟินิตี้ได้เลย

ตรวจสอบมุมรับภาพของคุณด้วยการลองซูมเลนส์เข้า-ออกดูว่า มันมีระยะครอบคลุมในภาพได้ขนาดไหน เพราะคุณไม่สามารถรู้ได้เลยว่าพลุแต่ละลูกจะมีรัศมี
เท่าไหร่ การเลือกมุมที่ดี จะช่วยให้คุณมีโอกาสในการเก็บพลุทั้งลูกได้มากกว่า ซึ่งในเวลาถ่ายจริงคุณก็ปรับระยะซูมเพื่อเพิ่มหรือลดพื้นที่ของภาพได้ทันทีตาม
ความเหมาะสม

เมื่อการแสดงพลุเริ่มต้น คุณยังไม่ต้องให้ความสำคัญกับการกดชัตเตอร์ แต่ควรให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนมุมภาพหรือองศาของตัวกล้องให้ดี ตั้งสติ
ให้มั่นแล้วทำให้เร็ว มองในช่องมองภาพแล้วปรับมุมภาพให้เข้าที่ ยอมเสียพลุชุดแรกๆ ไปเพื่อให้ภาพต่อมาออกมาดี ซึ่งมันจะดีกว่ารีบถ่ายภาพตั้งแต่ต้น
แล้วภาพออกมาไม่ดีทั้งหมด หากจำเป็นต้องย้ายจุดถ่ายภาพ ก็ควรรีบทำเสียตั้งแต่ในขั้นตอนนี้

เมื่อปรับทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ก็ถือสายลั่นเตรียมลั่นชัตเตอร์เอาไว้ เมื่อคุณได้ยินเสียงพลุก็เริ่มกดชัตเตอร์ ซึ่งในขณะที่คุณได้ยินเสียง นั่นแปลว่าพลุถูกส่งขึ้น
บนท้องฟ้าแล้ว (เนื่องจากเสียงเดินทางได้ช้ากว่าแสง คุณจึงเห็นภาพก่อนที่จะได้ยินเสียง) จากนั้นก็รอจนกว่าพลุจะแตกตัวออก เปิดชัตเตอร์รับแสงเอาไว้
ประมาณ 8 วินาที จากนั้นลองดูผลที่ได้ว่าภาพสว่างหรือมืดเกินไปหรือไม่? หากสว่างเกินไปก็ลองหรี่รูรับแสงให้แคบลง หรือลดเวลาการเปิดรับแสงให้สั้นลง
หากภาพออกมามืดเกินไป ให้ขยายรูรับแสงให้กว้างขึ้น (แต่ไม่ควรต่ำกว่า f/8) หรือเพิ่มเวลาในการเปิดรับแสงให้นานขึ้นกว่าเดิม ในส่วนนี้ต้องขึ้นอยู่กับ
จำนวนและความสว่างของพลุด้วย


Suggestions

คำแนะนำสำหรับการถ่ายภาพพลุ

• ตำแหน่งที่เหมาะสมในการตั้งกล้องของคุณคือรัศมี 1-3 กิโลเมตรจากจุดที่จะทำการแสดงพลุ ดังนั้นกางแผนที่เพื่อวางแผนเรื่องของตำแหน่งเสียก่อน

• ตำแหน่งที่ดีที่สุด ก็คือตำแหน่งที่จะมีผู้ชมรวมทั้งตากล้องอยู่มากที่สุดเช่นกัน หากเป็นไปได้ ก็ควรหาสถานที่สำรองเอาไว้ด้วย

• คุณจำเป็นต้องไปถึงก่อนเวลามากๆ หากต้องการได้ตำแหน่งในการตั้งกล้องที่ดีที่สุด บางทีอาจจะเป็น 6-8 ช.ม. ก่อนหน้าหรืออาจจะเป็นวัน หากเป็นการ
แสดงพลุที่มีชื่อเสียง การไปใกล้ๆ เวลาจะทำให้โอกาสในการตั้งกล้องของคุณน้อยลงหรือไม่มีเลย

• ฉากหน้าที่เป็นผืนน้ำที่สะท้อนแสงสีของพลุ จะยิ่งช่วยให้ภาพของคุณดูตระการตามากขึ้นไปอีก จึงไม่ควรลังเลที่จะบรรจุมันเข้าเป็นส่วนหนึ่งของภาพด้วย

• ห้อยกระเป๋ากล้องเอาไว้กับแกนขาตั้งเพื่อถ่วงน้ำหนัก อันจะส่งผลให้ขาตั้งของคุณมั่นคงไม่โยกคลอนได้ดีมายิ่งขึ้น และควรดูด้วยว่าส่วนขาตั้งที่กางออกไป
อยู่ในเส้นทางการเดินหรือไม่ เพราะหากมีการเดินชนหรือเตะเข้ากับขาตั้งในขณะเปิดรับแสง ภาพนั้นก็อาจจะเสียไปทันที

• ติดขนมขบเคี้ยวและน้ำดื่มไปกับตัวด้วย เพราะในจุดที่คุณต้องไปอยู่อาจจะเป็นที่ๆ ไม่สามารถหาซื้อสิ่งเหล่านี้ได้ หรือถึงแม้จะมี คุณก็คงไม่อยากทิ้งกล้อง
และอุปกรณ์ของคุณให้ห่างจากตัวแน่ๆ

• ในการจัดองค์ประกอบภาพ หากมีสิ่งอื่นเช่น อาคาร, ต้นไม้, ผู้คน รวมเข้าไปด้วย ก็จะช่วยให้ภาพดูมีชีวิตชีวามากขึ้นกว่ามีแต่ลูกพลุอย่างเดียว นอกจากนั้น
มันยังช่วยเปรียบเทียบขนาดและตำแหน่งของพลุด้วย

• ในวันที่มีกระแสลมแรง หางพลุจะปลิวไปตามกระแสลม หากไม่คำนึงถึงจุดนี้ พลุในภาพของคุณก็อาจจะขาดหายไปจากขอบภาพได้ด้วย ดังนั้นการอ่าน
รายงานพยากรณ์อากาศล่วงหน้าก็จะช่วยให้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจของคุณแน่นขึ้นด้วย

• พึงระลึกไว้เสมอว่า พลุคือสิ่งที่มี "ควัน" เป็นส่วนประกอบที่เราควรจะหลีกเลี่ยง พลุบางชนิดจะมีควันเป็นปริมาณมาก กระแสลมจะช่วยพามันออกไปจาก
ภาพของคุณได้ แต่จะโชคร้ายมากหากคุณอยู่ใต้ลม เพราะควันจะลอยเข้ามาหาคุณโดยตรง นี่คืออีกเหตุผลที่ว่าทำไมต้องคำนึงถึงทิศทางลมด้วย

• การแสดงพลุจะแบ่งออกเป็นชุดๆ สลับกันยิง และจะมีช่วงเวลาที่ต้องหยุดสักระยะสำหรับทีมจุดพลุ ดังนั้นอย่าเพิ่งรีบเก็บกล้องและอุปกรณ์ รอต่อไปจน
แน่ใจว่าการแสดงจบแล้วจริงๆ เพราะพลุในชุดสุดท้ายจะเป็นพลุที่อลังการที่สุด หากคุณเก็บกล้องและขาตั้งไปแล้ว ก็อาจจะกลับมาปรับตั้งใหม่ไม่ทันเวลา

• กระดาษดำหรือผ้าดำ คือเทคนิคในการบันทึกภาพพลุหลายๆ ลูกเอาไว้ในภาพเดียวกันโดยไม่เกิดโอเว่อร์ วิธีการคือเปิดชัตเตอร์ค้างเอาไว้ แล้วใช้วัสดุสีดำ
เหล่านี้ปิดหน้าเลนส์เอาไว้เป็นช่วงๆ โดยเิดให้แสงผ่านเฉพาะเวลาที่ลูกพลุแตกตัวแล้วเท่านั้น แต่ต้องระวังอย่าให้กล้องและเลนส์ถูกกระทบกระเทือน
และมันไม่มีสูตรตายตัว ประสบการณ์จะบอกคุณเองว่าควรจะปรับเปลี่ยนวิธีหรือเปิดรับแสงได้นานเท่าไหร่

• อย่าลืมปิดระบบป้องกันภาพสั่นไหวเมื่อใช้ขาตั้งกล้อง

• เมื่อมุมภาพและค่าปรับตั้งต่างๆ ของคุณได้รับการปรับจนลงตัวแล้ว ก็แทบจะไม่ต้องสนใจช่องมองภาพอีก จับจังหวะโดยการมองด้วยตาเปล่าได้เลย ยืนมองดู
จังหวะพลุให้สบายใจแล้วกดเฉพาะปุ่มในสายลั่นชัตเตอร์เท่านั้น

การถ่ายภาพพลุในช่วงแรกๆ หากได้ภาพไม่ดีหรือไม่ได้เลยถือว่าเป็นเรื่องปกติ หากได้ภาพดีถือว่าเป็นเรื่องประหลาด
เพราะเราควบคุมอะไรหลายๆ อย่างไม่ได้ และความตื่นเต้นรีบร้อนจากความเร็วและต่อเนื่องของพลุมักจะทำให้เรา
ทำอะไรผิดๆ ถูกๆ แม้กระทั่งจังหวะการกดชัตเตอร์ก็จะสับสนไปด้วย แต่ประสบการณ์เท่านั้นที่จะช่วยคุณได้ ความ
ขยันค้นคว้าหาข้อมูล มีสมาธิ มีความอดทน และประสบการณ์ จะเป็นสิ่งปูทางไปสู่ความสำเร็จในการถ่ายภาพพลุของคุณ

ขอขอบคุณ http://www.tsdmag.com/alpha/firework.php




mop จาก MOP  115.87.207.69  ศุกร์, 13/8/2553 เวลา : 08:11   


      

Since 22, Feb 2001 hit counter View My Stats  Truehits.net      วัน<%=WeekdayName(Weekday(Date))%>,<%=formatdatetime(date(),1)%> (Online <%=Application("OnlineUsers")%> คน)
                                       

เพื่อลดภาระของ ฐานข้อมูล ซึ่งมีขนาดใหญ่มาก เพราะเวบเปิดมากว่า 10 ปี
จึงทำให้เวบช้าลงมาก ทีมงานจึงขออนุญาต แปลงข้อมูลจาก ฐานข้อมูลหลักเป็น SHTML File
เพื่อลดภาระการทำงานของ ฐานข้อมูลหลักครับ การแปลงฐานข้อมูลนี้ จะทำให้กระทู้นี้
ไม่สามารถตอบคำถามได้อีกต่อไปครับ แต่จะสามารถค้นหาชื่อกระทู้ และ Link ตรงมาที่หน้านี้ได้เหมือนเดิมครับ

ด้วยความนับถืออย่างสูง ทีมงาน Weekendhobby.com


Convert on : 14/9/2554 5:19:56

Error processing SSI file