WeekendHobby.com
เครื่องมือในการใช้งาน website =>> สมัครสมาชิก | Login | Logout | เปลี่ยนไอคอนส่วนตัว | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อโฆษณา         View stat by Truehits.net


ศึกษาไว้กันแห้ว

จาก BJ
IP:210.1.18.252

ศุกร์ที่ , 29/6/2550
เวลา : 14:33

อ่านแล้ว = ครั้ง
 เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งตรวจสอบกระทู้
 แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน ส่งหาเพื่อน

       ศึกษาสิทธิไว้กันแห้ว เงินชราภาพ บำเหน็จ-บำนาญลูกจ้าง

แม้เมืองไทยจะมีการใช้ระบบ “ประกันสังคม” ในส่วนของคนที่ทำงานในบริษัทห้างร้านต่าง ๆ มานานแล้ว แต่ก็ยังมีผู้ประกันตนที่ถูกหักเงินจากค่าจ้างสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมไม่น้อยเลยที่ยังไม่ค่อยรู้ หรือพอรู้…แต่ไม่ค่อยเข้าใจ เกี่ยวกับ สิทธิ ที่ตนเองพึงจะได้รับ จนรู้สึกว่าถูกหักเงินโดยไม่ได้ประโยชน์ จะให้ได้ประโยชน์ก็ต้องศึกษากติกาเกี่ยวกับสิทธิต่าง ๆ ให้ดีรวมถึงสิทธิในส่วนที่เรียกว่า “เงินชราภาพ” ด้วย
ทั้งนี้ พนักงานลูกจ้างบางคนอาจยังไม่รู้ หรือรู้แต่ไม่กระจ่าง หรือ เคยรู้แต่ลืมไปแล้ว ว่าเงิน 5% ของเงินเดือนทุกเดือนที่ถูกหักสมทบประกันสังคมนั้น จำนวน 3% ใน 5 % ที่ถูกหักไปคือ “เงินชราภาพ” หรือเงินออมตามกฎหมายประกันสังคม เป็นเงินที่รัฐบังคับให้ลูกจ้างแบ่งรายได้จากการทำงานส่วนหนึ่งเพื่อเก็บออมไว้ใช้จ่ายในยามชรา โดยสิทธิได้รับเงินทดแทนกรณีชราภาพนั้น “มี 2 แบบ”
คือ 1. “บำเหน็จ” คือเงินที่เป็นก้อน กับ
2. “บำนาญ” ที่จะได้รับทุกเดือนไปตลอดชีวิต ซึ่งจะขอรับประโยชน์ทดแทนทั้ง 2 แบบนี้ได้เมื่อมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ และต้องสิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตนแล้ว
ตามกฏเกณฑ์เงื่อนไขของสำนักงานประกันสังคม (สปส.) จะมีการจัดเก็บเงินสมทบกรณีชราภาพทั้งจากนายจ้างและลูกจ้างฝ่ายละ 3% ของอัตราค่าจ้างลูกจ้าง โดยในกรณีที่ส่งเงินสมทบน้อยกว่า 180 เดือน หรือน้อยกว่า 15 ปี จะได้รับเงิน “บำเหน็จชราภาพ” ซึ่งมีกฎเกณฑ์แยกย่อยอีกกล่าวคือ….
หากส่งไม่ครบ 12 เดือน มีสิทธิรับเงินบำเหน็จชราภาพเฉพาะส่วนของตนเองกลับคืนทั้งหมดเท่านั้น, หากส่งเงินสมทบตั้งแต่ 12 เดือนขึ้นไปแต่ไม่ถึง 180 เดือน จะได้รับเงินบำเหน็จชราภาพเฉพาะส่วนของลูกจ้างและนายจ้างที่จ่ายสมทบเข้ากองทุน พร้อมดอกผลตามอัตราที่ สปส.กำหนด
กรณีส่งเงินสมทบครบ 180 เดือน จึงจะได้รับเงิน “บำนาญชราภาพ” ที่เป็นแบบรับทุกเดือนไปจนตลอดชีวิต โดยขณะนี้ยังไม่มีผู้ใดได้รับเงินบำนาญดังกล่าวนี้ เพราะทาง สปส. เริ่มเก็บเงินสมทบกรณีชราภาพนี้เมื่อ 31 ธ.ค. 2541 ซึ่งในปี 2557 จึงจะเป็นปีแรกที่จะมีการเริ่มจ่ายเงินบำนาญชราภาพ แต่ระหว่างนับถอยหลังนี้…ก็ควรศึกษากฎเกณฑ์กันไว้
เกณฑ์เงินบำนาญชราภาพก็คือ ผู้ประกันตนจะได้รับเงิน 15% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย (ฐานค่าจ้าง 15,000 บาท/เดือน) และถ้าส่งเงินสมทบมากกว่า 15 ปีจะได้รับเพิ่มอีกร้อยละ 1 ทุก ๆ ปี
อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงปี 2557 อัตราที่ว่านี้อาจมีการปรับเพิ่มอีก เพราะก่อนหน้านี้มีข่าวจะดำเนินการปรับเพิ่มเงินบำนาญ จากอัตรา 15% เป็น 20% ของค่าจ้าง และเพิ่มอัตราผลประโยชน์หลังปีที่ 15 จากเดิม 1% เป็น 1.5% เท่ากับจำนวนปีที่ผ่านมา นัยว่าเป็นการปรับให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม แต่เบื้องต้นหากยึดอัตราเดิมของบำนาญชราภาพ มีตัวอย่างการคำนวนเพื่อความเข้าใจดังนี้คือ….
สมมุติ นาย ก. เป็นผู้ประกันตนที่ได้รับค่าเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย เท่ากับ 13,000 บาท (การหาค่าเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย คือการนำค่าจ้าง 60 เดือนสุดท้ายมาบวกกัน และหารด้วย 60) บำนาญชราภาพ 15% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ซึ่งคำนวณโดยเอา 15x13,000 แล้วหารด้วย 100 ก็จะเท่ากับ 1,950
นาย ก. ก็จะได้รับเงินบำนาญชราภาพเดือนละ 1,950 บาท ไปจนตลอดชีวิต
และถ้าเป็นกรณีที่นาย ก. จ่ายเงินสมทบมาเกิน 180 เดือน ก็จะได้เพิ่มอัตราเงินบำนาญชราภาพขึ้นอีก 1% ต่อระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบครบทุก 12 เดือน หรือ 1 ปี
เช่น จ่ายเงินสมทบมา 192 เดือน หรือ 16 ปี ก็จะได้รับเงินบำนาญชราภาพในอัตรา 16% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย, จ่ายเงินสมทบมา 204 เดือน หรือ 17 ปี ก็จะได้ 17% , จ่ายเงินสมทบมา 216 เดือนหรือ 18 ปี ก็ 18% เพิ่มเป็นรอบระยะเวลา 12 เดือนต่อ 1% อย่างนี้ไปเรื่อย ๆ แล้วเมื่อเอาเปอร์เซ็นต์ที่เพิ่มขึ้นไปคำนวณตามวิธีที่ยกตัวอย่างมาข้างต้นก็จะได้อัตราบำนาญชราภาพที่จะได้รับในแต่ละเดือน
สำหรับขั้นตอนการขอรับประโยชน์ทดแทน “บำเหน็จ-บำนาญชราภาพ” นั้น ก็เริ่มจาก 1. ผู้ประกันตน/ทายาทผู้มีสิทธิ กรอกแบบ สปส. 2-01 และยื่นที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัด/สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ หรือยื่นขอรับทางไปรษณีย์โดยมีหลักฐานครบถ้วน 2. เจ้าหน้าที่ตรวจหลักฐานและพิจารณา 3. มีหนังสือแจ้งผลการพิจารณา 4. พิจารณาสั่งจ่ายซึ่งอาจจะเป็นเงินสดหรือเช็ค (ผู้ประกันตน/ผู้มีสิทธิมารับด้วยตนเองหรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมารับแทน) หรือส่งธนาณัติให้ หรือโอนเข้าบัญชีธนาคารตามบัญชีของผู้ขอรับประโยชน์ทดแทน
ทั้งนี้ ต้องยื่นเรื่องภายใน 1 ปีนับแต่วันสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างการเป็นผู้ประกันตน ซึ่งหากผู้ประกันตนเสียชีวิต ทางทายาทคือ บุตร สามี หรือภรรยา บิดาหรือมารดา ก็สามารถยื่นเรื่องขอรับสิทธิส่วนนี้ได้ แต่ตรงนี้ต้องระวังเพราะทายาทที่เป็นบุตร สามีหรือภรรยา บิดาหรือมารดา ต้องเป็น “โดยชอบด้วยกฎหมาย” ซึ่งเครื่องยืนยันสำคัญก็คือ “ทะเบียนสมรส” หรือการ “จดรับรองบุตร”ไว้ ถ้าไม่มีในส่วนนี้ก็จะ “เสียสิทธิ” ที่ควรได้ต้องถูกหักเงิน “ประกันสังคม” ทุกเดือน..ก็ต้องใส่ใจ ศึกษาสิทธิที่ควรได้และกฎเกณฑ์ที่เงื่อนไข..ให้พร้อม กับ “เงินชราภาพ” ก็นับถอยหลังรอรับได้เลย

คัดลอกจาก นสพ เดลินิวส์



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

แจ้งเพื่อเก็บขึ้นกระทู้พิเศษ คลิ๊กที่นี่แจ้งเพื่อนำขึ้นกระทู้พิเศษ

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  

คำตอบที่ 1
       รับทราบ และขอบคุณสำหรับข้อมูลที่มีประโยชน์ครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

เด็กโหลด จาก เด็กโหลด 203.155.213.135 ศุกร์, 29/6/2550 เวลา : 15:09  IP : 203.155.213.135   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 32727

คำตอบที่ 2
       สรุปหน่อยครับน้าBJ เยอะไปขี้เกียจอ่าน...

เอาเป็นว่า อายุครบ 55ปี ได้คืนบางส่วน และหรือ อีกส่วนรับเฉลี่ยไปตลอดชีวิต..แต่อย่างน้อยต้องส่งตั้งแต่ 12เดือนขึ้นไปว่างั้น...

ถ้าส่งไม่ถึง 12เดือน ได้อะไรครับน้า BJ..
(ยุ่งละสิเปิดกระทู้นี้ทำไม โดนถามซะงั้น)





ผมมีข้อสงสัยอยู่เรื่องนึงครับ ว่า ในเมื่อกฏหมายมีการบังคับใช้เงินบำนาญชราภาพ เริ่มปี2541 ธันวา แล้วเงินประกันก่อนหน้านี้หายไปไหน
จาก : Manny(Manny) 18/4/2554 17:39:23 [221.128.72.194]
 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

krisharuno จาก ต้นหลิว ศุกร์, 29/6/2550 เวลา : 16:41  IP :   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 32731

      

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  



website รองรับการใช้งานทุกระบบปฏิบัติการของ PC Tablet SmartPhone ทุกระบบสามารถโพสข้อความและรูปภาพได้โดยไม่ต้องย่อไฟล์
เพื่อความปลอดภัยในการใช้ website WeekendHobby.Com สมาชิก เท่านั้น จึงจะตั้งกระทู้ หรือ ตอบกระทู้ได้ครับ
Login Click ที่นี่
สมัครสมาชิก Click ที่นี่



Since 22, Feb 2001 hit counter View My Stats  Truehits.net      วันพฤหัสบดี,28 มีนาคม 2567 (Online 2047 คน)