WeekendHobby.com
เครื่องมือในการใช้งาน website =>> สมัครสมาชิก | Login | Logout | เปลี่ยนไอคอนส่วนตัว | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อโฆษณา         View stat by Truehits.net


ปลาทูน่า
krisharuno
จาก krisharuno
IP:124.121.173.231

อาทิตย์ที่ , 30/9/2550
เวลา : 21:49

อ่านแล้ว = ครั้ง
 เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งตรวจสอบกระทู้
 แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน ส่งหาเพื่อน

       ปลาทูน่าครีบเหลือง
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ YELLOWFIN TUNA
ชื่อวิทยาศาสตร์ Thunnus albacares (Bonnaterre,1788)

ปลาทูน่าครีบเหลืองเป็นปลาทูน่าขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรในเขตร้อนและอบอุ่น ระหว่างละติจูดที่ 40 องศาเหนือ ถึง 40 องศาใต้ ปลาทูน่าครีบเหลืองมักชอบว่ายน้ำตั้งแต่ผิวน้ำจนถึงความลึกประมาณ 300 เมตร ในระดับอุณหภูมิ 18-31 องศาเซลเซียส
ลักษณะพิเศษที่เห็นได้ชัดคือ ความกว้างที่สุดของลำตัวปลาอยู่บริเวณกึ่งกลางของครีบหลังอันแรก ครีบหลังอันแรกแยกออกจากครีบหลังอันที่สองอย่างชัดเจน ครีบหูมีความยาวถึงกึ่งกลางของฐานครีบหลังอันที่สองในปลาทูน่าขนาดใหญ่ ครีบหลังอันที่สองและครีบก้นมีขนาดยาวมาก (ยาวกว่าความยาวของครีบหลัง 20% ) เมื่อผ่าท้องออกดูจะพบว่าด้านล่างของตับจะไม่ลาย
ด้านหลังเป็นสีน้ำเงินดำ แล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีเหลือง และสีน้ำเงินด้านล่างของลำตัว ปลาทูน่าครีบเหลืองขนาดใหญ่ขนาดใหญ่จะพบจุดสีเข้มเป็นแถวตามแนวดิ่งประมาณ 20 แถว ครีบหลังและครีบก้นมีสีเหลืองสด มีครีบเล็กสีเหลืองจำนวน 7-10 คู่ และที่ปลายของครีบเล็กจะเป็นสีดำ
ขนาดของปลาทูน่าครีบเหลืองที่พบใหญ่ที่สุด มีความยาวมากกว่า 2 เมตร (วัดจากปากถึงเว้าครีบหาง) แต่ที่พบทั่วไปมีขนาด ประมาณ 0.5-1.5 เมตร ปลาทูน่าเริ่มเข้าสู่ภาวะโตเต็มวัยเมื่อมีความยาว 50-60 เซนติเมตร และเปอร์เซ็นต์ของปลาที่โตเต็มวัยจะสูงขึ้นเมื่อมีความยาวมากกว่า 70 เซนติเมตร ปลาทูน่าครีบเหลืองทุกตัวจะอยู่ในภาวะโตเต็มวัยเมื่อมีความยาว มากกว่า 120 เซนติเมตร
ปลาทูน่าครีบเหลืองเป็นปลาที่นิยมรับประทานสด และเป็นวัตถุดิบในการทำปลาทูน่าบรรจุกระป๋องโดยความนิยมรองจากปลาทูน่าครีบยาว โดยปกติเนื้อปลาทูน่าครีบเหลืองจะมีสีแดงแต่เมื่อถูกความร้อนจะกลายเป็นสีขาว เนื้อแน่นไม่ยุ่ยทำให้บรรจุกระป๋องได้ง่าย
การจับปลาทูน่าครีบเหลืองจะจับได้ด้วยเครื่องมือประมงอวนล้อม เบ็ดตวัดปลาทูน่า เบ็ดลาก และอวนลอย ซึ่งสามารถจับปลาทูน่าครีบเหลืองขนาดเล็กและขนาดปานกลาง แต่วิธีทำการประมงที่สำคัญที่สุดในการจับปลาทูน่าครีบเหลืองขนาดใหญ่ ที่อาศัยอยู่ในระดับลึกได้แก่เบ็ดราว ( Tuna Longline )






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

แจ้งเพื่อเก็บขึ้นกระทู้พิเศษ คลิ๊กที่นี่แจ้งเพื่อนำขึ้นกระทู้พิเศษ

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  

คำตอบที่ 1
       ปลาทูน่าตาโต
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ BIGEYE TUNA
ชื่อวิทยาศาสตร์ Thunnus obesus ( Lowe, 1839

ปลาทูน่าตาโตเป็นปลาทูน่าขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรในเขตร้อนและอบอุ่น ระหว่างละติจูด ที่ 40 องศาเหนือ ถึง 40 องศาใต้ ปลาทูน่าตาโตมักชอบว่ายน้ำตั้งแต่ผิวน้ำจนถึงความลึก ประมาณ 250 เมตร ในระดับอุณหภูมิระหว่าง 13-29 องศาเซลเซียส แต่อุณหภูมิที่ชอบได้แก่ 17-22 องศาเซลเซียส ดังนั้นเราอาจพบปลาทูนาตาโตในระดับความลึกที่ลึกกว่าปลาทูน่าครีบเหลือง ปลาทูน่าตาโตชอบอาศัยอยู่ต่ำกว่าระดับเทอร์โมไคลน์ ( Thermocline ) เล็กน้อยทำให้การแพร่กระจายของปลาชนิดนี้ขึ้นอยู่กับสภาวะภูมิอากาศตามฤดูกาลที่มีผลต่ออุณหภูมิของน้ำและชั้นเทอร์โมไคลน์ ( Thermocline )
ลักษณะพิเศษที่เห็นได้ชัดคือ ความกว้างที่สุดของลำตัวปลาอยู่บริเวณกึ่งกลางของครีบหลังอันแรก ปลาทูน่าตาโตเป็นปลาทูน่าที่มีลักษณะคล้ายปลาทูน่าครีบเหลือง แต่ลำตัวอ้วนสั้นกว่าครีบหลังอันแรกแยกออกจากครีบหลังอันที่สองอย่างชัดเจน ครีบหลังอันที่สองมีขนาดใกล้เคียงกับครีบหลังอันแรก ครีบหูมีความยาวถึงกึ่งกลางของฐานครีบหลังอันที่สอง ปลายครีบหางไม่มีแถบแนวดิ่งสีขาว เมื่อผ่าท้องออกจะพบว่าด้านล่างของตับจะเป็นลาย ตามีขนาดใหญ่
ด้านหลังเป็นสีน้ำเงินดำ แล้วค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินทางด้านล่างของลำตัวในปลาที่มีขนาดใหญ่ด้านล่างของลำตัวไม่มีจุดสีเข้มเป็นแถวตามแนวดิ่ง จุดเหล่านี้จะพบในปลาทูน่าตาโตที่มีขนาดเล็ก ทำให้ยากในการแยกปลาทูน่าตาโตจากปลาทูน่าครีบเหลืองขณะวัยอ่อน ครีบหลังอันแรกมีสีเหลืองเข้ม ครีบหลังอันที่สองจะมีสีเหลืองจาง มีครีบเล็ก ( Finlet ) สีเหลืองจำนวน 7-10 คู่และที่ปลายของครีบเล็กจะเป็นแถบสีดำ
ขนาดของปลาทูน่าตาโตที่พบใหญ่ที่สุดมีความยาวมากกว่า 2 เมตร แต่ที่พบทั่วไปมีขนาด ประมาณ 0.6-1.8 เมตร ( 1.8 เมตร มีอายุอย่างน้อย 3 ปี) ปลาทูน่าเริ่มเข้าสู่ภาวะโตเต็มวัยเมื่อมีความยาว 100-130 เซนติเมตร
ปลาทูน่าตาโตไม่นิยมนำมาบรรจุกระป๋อง เพราะเมื่อเนื้อปลาโดนความร้อนแล้วจะไมเป็นสีขาว จึงนิยมบริโภคเป็นปลาดิบมากกว่า โดยนำมารับประทานแทนปลาทูน่าครีบน้ำเงิน ซึ่งในปัจจุบันมีการควบคุมปริมาณการจับอย่างเข้มงวด
การจับปลาทูน่าตาโตจะจับได้โดยเครื่องมือประมงอวนล้อม โดยทั่วไปอวนล้อมมักจะจับได้ปลาทูน่าตาโตที่โตเต็มวัยขนาดเล็ก และปลาทูน่าวัยอ่อนหรืออาจจับได้ด้วยเบ็ดตวัดปลาทูน่า เบ็ดลาก แต่วิธีทำการประมง ที่สำคัญที่สุดในการจับปลาทูน่าตาโตขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่น้ำลึกได้แก่เบ็ดราวโดยระดับความลึกของเบ็ดราวรุ่นใหม่ อาจลงลึกได้ถึง 300 เมตร





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

krisharuno จาก ต้นหลิว 124.121.173.231 อาทิตย์, 30/9/2550 เวลา : 21:50  IP : 124.121.173.231   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 34736

คำตอบที่ 2
       ปลาทูน่าครีบยาว
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ LONGFIN TUNA, ALBACORE
ชื่อวิทยาศาสตร์ Thunnus alalunga (Bonnatere, 1788)

ปลาทูน่าครีบยาวเป็นปลาทูน่าขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรในเขตร้อนและอบอุ่น ระหว่างละติจูดที่ 45-50 องศาเหนือ ถึง 30-40 องศาใต้ อาศัยบริเวณผิวน้ำจนถึงกลางน้ำ ในระดับอุณหภูมิระหว่าง 13.5-25.5 องศาเซลเซียส
ลักษณะพิเศษที่เห็นได้ชัด ความกว้างที่สุดของลำตัวปลาอยู่ทางท้ายลำตัวมากกว่าปลาทูน่าชนิดอื่น ครีบหลังแยกออกเป็นสองส่วนอย่างชัดเจน เมื่อผ่าท้องพบว่าด้านล่างของตับจะเป็นลาย
ขนาดของปลาทูน่าครีบยาวที่พบใหญ่ที่สุดมีความยาวประมาณ 127 เซนติเมตร น้ำหนัก 40 กิโลกรัม แต่ที่พบทั่วไปมีขนาดประมาณ 40-100 เซนติเมตร ถึงแม้ว่าปลาทูน่าครีบยาวจะมีขนาดเล็ก แต่ได้รับสมญานามว่าเป็นไก่ทะเล (Sea chicken) อย่างแท้จริงและนิยมบรรจุกระป๋อง
การจับปลาทูน่าครีบยาวจะจับได้โดยเครื่องมืออวนล้อม เบ็ดตวัดปลาทูน่า เบ็ดลาก ซึ่งจะจับได้เฉพาะปลาขนาดเล็กแต่วิธีทำการประมงที่สำคัญที่สุดในการจับปลาทูน่าครีบยาวขนาดใหญ่ที่อยู่ในน้ำลึกได้แก่ เบ็ดราวที่ระดับความลึก 380 เมตร





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

krisharuno จาก ต้นหลิว 124.121.173.231 อาทิตย์, 30/9/2550 เวลา : 21:50  IP : 124.121.173.231   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 34737

คำตอบที่ 3
       ปลาทูน่าครีบน้ำเงินใต้
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ SOUTHERN BLUEFIN TUNA
ชื่อวิทยาศาสตร์ Thunnus maccoyii (Castelnau, 1872)

ปลาทูน่าสีน้ำเงินใต้เป็นปลาทูน่าขนาดใหญ่ที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรในเขตอบอุ่น ระหว่างละติจูดที่ 30-50 องศาใต้ สามารถอยู่ในระดับอุณหภูมิต่ำระหว่าง 5-20 องศาเซลเซียส
ลักษณะพิเศษที่เห็นได้ชัดคือ ความกว้างที่สุดของลำตัวปลาอยู่กึ่งกลางของครีบหลังอันที่หนึ่ง ตัวค่อนข้างอ้วนสั้น หัวโต ตาโต ครีบหลังแยกออกเป็นสองส่วนอย่างชัดเจน สันที่คอดหางมีสีเหลือง
ขนาดของปลาทูน่าสีน้ำเงินใต้ที่ใหญ่ที่สุดมีความยาวมากกว่า 225 เซนติเมตร แต่ที่พบทั่วไปมีขนาด ประมาณ 160-200 เซนติเมตร และมีน้ำหนักประมาณ 150 กิโลกรัม
ปลาทูน่าชนิดนี้นิยมรับประทานเป็นปลาดิบ การประมงหลัก ได้แก่การทำเบ็ดราวบริเวณประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

krisharuno จาก ต้นหลิว 124.121.173.231 อาทิตย์, 30/9/2550 เวลา : 21:51  IP : 124.121.173.231   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 34738

คำตอบที่ 4
       ปลาทูน่าครีบน้ำเงิน
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ NORTHERN BLUEFIN TUNA
ชื่อวิทยาศาสตร์ Thunnus thynnus (Linnaeus, 1758

ปลาทูน่าสีน้ำเงินเป็นปลาทูน่าขนาดใหญ่ในมหาสมุทรในเขตอบอุ่นระหว่างละติจูดที่ 5-50 องศาเหนือ สามารถอยู่อาศัยบริเวณผิวน้ำในระยะอุณหภูมิกว้างมากพบการแพร่กระจายบริเวณมหาสมุทรแอตแลนติกฝั่งตะวันตกและมหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งตะวันออก
ลักษณะพิเศษที่เห็นได้เด่นชัดคือ ความกว้างที่สุดของลำตัวปลาอยู่ทางตอนต้นของครีบหลังอันที่หนึ่ง ตัวค่อนข้างอ้วนสั้น หัวโต ตาโต ครีบหลังแยกออกเป็นสองส่วนอย่างชัดเจน ที่คอดหางมีสีดำ ขนาดของปลาทูน่าครีบสีน้ำเงินใหญ่ที่สุดมีความยาวมากกว่า 300 เซนติเมตร แต่ที่พบทั่วไปมีขนาด 200 เซนติเมตร





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

krisharuno จาก ต้นหลิว 124.121.173.231 อาทิตย์, 30/9/2550 เวลา : 21:54  IP : 124.121.173.231   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 34740

คำตอบที่ 5
       ปลาทูน่าท้องแถบ
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ SKIPJACK TUNA
ชื่อวิทยาศาสตร์ Katsuwonus pelamis (Linnaeus, 1758

ปลาทูน่าท้องแถบเป็นปลาทูน่าขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในมหาสมุทรในเขตร้อนและอบอุ่น ระหว่างละติจูดที่ 40 องศาเหนือ ถึง 40 องศาใต้ ระหว่างอุณหภูมิ 14.7-30 องศาเซลเซียส
ลักษณะพิเศษที่เห็นได้ชัดคือ ลำตัวเป็นรูปทรงเรียวยาวแบบกระสวย ไม่มีกระเพาะลม ด้านข้างลำตัวมีแถบสีดำทอดตามยาวกับลำตัว 4-5 แถบ ขนาดที่พบที่ใหญ่ที่สุดคือ 108 เซนติเมตร และมีน้ำหนักระหว่าง 32.5-34.5 กิโลกรัม
ปลาทูน่าท้องแถบเป็นปลาที่นิยมรับประทานสดและเป็นวัตถุดิบในการทำปลาทูน่าบรรจุกระป๋อง ในปัจจุบันปลาทูน่าท้องแถบเป็นปลาทูน่าที่มีอัตราการจับสูงสุดแทนปลาทูน่าครีบเหลือง
ปลาทูน่าท้องแถบอาศัยบริเวณผิวน้ำเกือบทั้งหมดจับได้จากเครื่องมือประมงอวนล้อม เบ็ตตวัดปลาทูน่า แต่สามารถจับได้บ้างด้วยเครื่องมือเบ็ดราว เบ็ดลาก และอวนลอย โดยทั่วไปมักจะสร้างเครื่องล่อปลาให้รวมฝูงหรือซั้ง เพื่อล่อปลาทูน่าท้องแถบให้อยู่รวมกันแล้วจึงทำการประมง





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

krisharuno จาก ต้นหลิว 124.121.173.231 อาทิตย์, 30/9/2550 เวลา : 21:55  IP : 124.121.173.231   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 34741

คำตอบที่ 6
       ปลาโอดำ
ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ LONGTAIL TUNA
ชื่อวิทยาศาสตร์ Thunnus tonggol (Bleeker, 1851)

ปลาโอดำเป็นปลาทูน่าชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่บริเวณผิวน้ำในเขตร้อนถึงเขตอบอุ่
ลักษณะพิเศษที่เห็นได้ชัดคือ ความกว้างที่สุดของลำตัวปลาอยู่บริเวณกึ่งกลางของครีบหลังอันแรก ครีบหลังอันแรกแยกจากครีบหลังอันที่สองอย่างขัดเจน ผ่าท้องออกดูจะพบว่าด้านล่างของตับจะไม่เป็นลาย ปลาโอดำขนาดใหญ่จะพบจุดสีเข้ม รูปร่างกลมรีเป็นแนวตามขนาดของลำตัว
ขนาดที่พบที่ใหญ่ที่สุดคือ 130 เมตร และมีน้ำหนักประมาณ 35 กิโลกรัม แต่ขนาดที่พบโดยทั่วไปมีความยาว 40-70 เซนติเมตร
มีการจับปลาชนิดนี้มากบริเวณนอกทะเลญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย อินเดีย โดยใช้เครื่องมือประมงอวนลอย






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

krisharuno จาก ต้นหลิว 124.121.173.231 อาทิตย์, 30/9/2550 เวลา : 21:56  IP : 124.121.173.231   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 34742

คำตอบที่ 7
      





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

krisharuno จาก ต้นหลิว 124.121.173.231 อาทิตย์, 30/9/2550 เวลา : 22:03  IP : 124.121.173.231   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 34743

คำตอบที่ 8
      





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

krisharuno จาก ต้นหลิว 124.121.173.231 อาทิตย์, 30/9/2550 เวลา : 22:03  IP : 124.121.173.231   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 34744

คำตอบที่ 9
       แล้วปลาทูบ้านเราล่ะน้าหลิว พันธ์ไหน ถึงได้ตัวเล็กนัก



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

Pow2512 จาก โป้ บางนา 192.55.18.36 จันทร์, 1/10/2550 เวลา : 14:00  IP : 192.55.18.36   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 34749

คำตอบที่ 10
       ปลาทูน่า... กิน กับน้ำพริกกะปิ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

เด็กโหลด จาก เด็กโหลด 61.19.227.5 จันทร์, 1/10/2550 เวลา : 15:27  IP : 61.19.227.5   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 34751

คำตอบที่ 11
       พันธ์กระจ้อยรี่ กั๊บบบบบบ โป้ง อิอิอิ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

ชนบท จาก ชนบท 203.156.34.26 จันทร์, 1/10/2550 เวลา : 15:48  IP : 203.156.34.26   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 34752

คำตอบที่ 12
       น้าโป้ ล้อเล่นหรือเปล่า ถ้าอยากรู้จริงๆละก็ นี่ไง...

ชื่อ ปลาทู
ชื่อสามัญ INDO-PACIFIC MACKEREL
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ RESTRELLIGER NEGLECTUS
วงศ์ SCOMBRIDAE
ปลาทูสั้น SHORT -BODIE MACKEREL
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ RESTRELLIGER BRA CHYSOMA
ลักษณะ


ปลาทู มีลำตัวแป้นยาว เพรียว ตาโต ปากกว้าง จะงอยปากจะแหลม เกล็ดเล็กละเอียด มีม่านตาเป็น เยื่อไขมัน บนขากรรไกรมีฟันซี่เล็กๆ มีซี่เหงือกแผ่เต็มคล้ายพู่ขนนก มีครีบหลัง 2 อัน ครีบหลังอันแรกมีก้านแข็ง ส่วนอันหลังก้านครีบอ่อน ครีบท้องมีก้านครีบแข็ง 1 อัน ครีบอกมีฐานครีบกว้าง แต่ปลายเรียว สีตัวพื้นท้องขาวเงิน ผิวด้านบนหลังมีสีน้ำเงินแกมเขียว แบบนี้มีประโยชน์ช่วยพรางตัวให้พ้นจากศัตรู ขนาดของปลาทูยาวประมาณ 14-20 เซนติเมตร แต่เคยพบปลาทูที่มีความยาวถึง 25 เซนติเมตรมาแล้ว
แหล่งที่พบ

สมัยก่อนเชื่อกันว่า ปลาทูที่คนไทยนิยมรับประทานกันนี้ ว่ายน้ำมาจากเกาะไหหลำ ต่อมาเมื่อกรมประมงได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับปลาทู จึงพบว่าปลาทูไม่ได้มาจากแหล่งดังกล่าว แต่มีอยู่ทั่วไปในอ่าวไทย ปลาทูเป็นปลาผิวน้ำ (PELAGIC FISH) อยู่รวมกันเป็นฝูงในบริเวณใกล้ฝั่งน้ำลึก ไม่เกิน 30 เมตร มีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 17 องศาเซลเซียส ความเค็มของน้ำไม่เกินร้อยละ 32.5 แต่อาจทนความเค็มได้ถึงร้อยละ 20.4 จะพบปลาทูชุกชุมมากบริเวณที่มีน้ำไหลลงสู่ทะเล เช่น บริเวณก้นอ่าวไทย บริเวณปากแม่น้ำต่างๆ เพราะบริเวณดังกล่าวมีอาหาร อุดมสมบูรณ์ เกิดแพลงก์ตอน พืช และสัตว์ อันเป็นอาหาร ที่สำคัญของปลาทู ซึ่งพบได้บริเวณอ่าวไทย ฝั่งตะวันตก ตะวันออก และทะเลอันดามัน จึงกล่าวได้ว่าแหล่งปลาทูที่พบหนาแน่น อยู่ในน่านน้ำอ่าวไทย ไม่ใช่ที่เกาะไหหลำดังความเชื่อที่มีมาแต่เดิม






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

krisharuno จาก ต้นหลิว จันทร์, 1/10/2550 เวลา : 15:51  IP :   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 34755

คำตอบที่ 13
       กระทู้ดีดีมีความรู้ครับผม



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

S.T.V.S. จาก S.T.V.S. 58.136.93.238 อังคาร, 2/10/2550 เวลา : 02:03  IP : 58.136.93.238   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 34762

คำตอบที่ 14
       น้าหลิวไปอยู่ กรมประมง ดีกว่ามั้ง........อิอิอิ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

ชนบท จาก ชนบท 203.156.34.186 อังคาร, 2/10/2550 เวลา : 07:45  IP : 203.156.34.186   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 34765

คำตอบที่ 15
       คงถือว่าโชคดีสำหรับชาวบ้านที่ปลาทูมันตัวเล็ก คนรุ่นน้าๆเลยได้กินปลาทูถูก ตอนนี้ปลาทูแท้แพงโคตร สำหรับคนจนคงซื้อไม่ลงเหมือนก่อน



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

Pow2512 จาก โป้ บางนา 192.55.18.36 อังคาร, 2/10/2550 เวลา : 08:27  IP : 192.55.18.36   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 34767

คำตอบที่ 16
       น้าหลิว เอาอีกนิด เห็นพวกน้าออกพม่าได้ทูน่าบ่อย ตรงส่วนไหนของทูน่า ที่ญี่ปุ่นเค้าถือว่าดีสุดและแพงสุด
โลละเป็นพันเลยนะ ผมจำไม่ได้แล้ว ช่วยไขให้กระจ่างที



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

Pow2512 จาก โป้ บางนา 192.55.18.36 อังคาร, 2/10/2550 เวลา : 08:31  IP : 192.55.18.36   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 34768

คำตอบที่ 17
       เคยได้ยินเขาเรียกว่า โทโร่ นะครับ
เป็นเนื้อที่ท้อง ปลาทูน่าครีบน้ำเงิน (รึเปล่า)
ยิ่งตัวใหญ่ๆยิ่งดี

ผิดถูกขออภัย ต้องรอ น้าต้นหลิว นักวิชาการประมงมาตอบ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

เด็กโหลด จาก เด็กโหลด 61.19.227.5 อังคาร, 2/10/2550 เวลา : 10:50  IP : 61.19.227.5   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 34770

คำตอบที่ 18
       น้าเด็กโหลดไม่กล้าตอบใช่ไหม...ทั้งๆที่ โทโร่นั้นถูกต้องแล้ว..แต่น้าโป้ออยากลองภูมิผมหรือเปล่า...งั้นเอาต่อสักหน่อย...อิอิอิ...

โทโร่เป็นส่วนเนื้อปลา Blue Fin Tuna ซึ่งการกำหนดราคาขึ้นอยู่กับปริมาณไขมันที่อยู่ในเนื้อหรือเราเรียกว่า Marbling โดยปกติส่วนที่มี Marbling มากที่สุดคือส่วนท้องของปลา โดยส่วนท้องที่ติดกับหัวเป็นส่วนที่มีราคามากที่สุดเรียกว่า โอโทโร่ (A) และส่วนท้องที่เหลือเรียกว่า ชุโทโร่ (B) จะมี Marbling น้อยกว่า ราคาก็จะถูกลง...แต่บ้านเราไม่ว่าที่ร้าน Sushi หรือร้าน Fuji มักไม่ค่อยได้เห็นเนื้อส่วนนี้เพราะส่วนมากจะเป็น Yellow Fin Tuna เสียมากกว่า และเนื้อส่วนท้องมีมันน้อยมาก ไม่ต่างจากปลาโอ...อย่าลืมนะครับถ้าวันไหนตกได้ Blue Fin Tuna ละก็ตัดส่วนท้องมาก่อนเลย..อิอิอิ


ตัวนี้แหละครับ






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

krisharuno จาก ต้นหลิว 203.107.249.206 อังคาร, 2/10/2550 เวลา : 12:27  IP : 203.107.249.206   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 34772

คำตอบที่ 19
       ไม่กล้าลองภูมิน้าหลิวหลอกครับ ต้องขอบคุณน้าหลิวมากๆต่างหากที่มาเพิ่มเติมความรู้อีก ทำให้webเรานี่มีสาระ เคยอ่าน(ไม่กล้าบอกว่าทำThesis ปลาทูไทย อายเพราะลืม เข้าหม้อหมดแล้ว ก็15ปี แล้วอ่ะ) ส่วน Blue Fin Tuna เนี่ยะ เผื่อเผลอๆใครตกได้ตอนทริปพม่า น้าๆคนอื่นจะได้ไม่เสียโอกาสลิ้มของดีที่ต้องลอง



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

Pow2512 จาก โป้ บางนา 192.55.18.36 อังคาร, 2/10/2550 เวลา : 16:58  IP : 192.55.18.36   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 34778

คำตอบที่ 20
       ผมเด็กเกษตรเหมือนกันครับน้าโป้
แต่ไม่มีโอกาสทำ Thesis ครับ
ตอนนี้ทำได้แค่...ที ละ ซี้ด ๆ ๆ ๆ ๆ ๆ...อิอิอิ

ตัวนี้ Doogtooth Tuna หรือทูน่าฟันหมา
ฟันเหมือนฟันหมาจริงๆ





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

krisharuno จาก ต้นหลิว อังคาร, 2/10/2550 เวลา : 17:36  IP :   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 34779

คำตอบที่ 21
       ผมก็เกษตรบางเขนKU48คร้าบ ยินดีที่เจอน้าๆในชมรมนี้



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

Pow2512 จาก โป้ บางนา 192.55.18.36 พุธ, 3/10/2550 เวลา : 09:53  IP : 192.55.18.36   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 34785

คำตอบที่ 22
       ผม KU44 ไม่ทันกันครับน้าโป้ ผมแก่ไปหน่อยเลยเรียนเร็วกว่าน้าโป้ ไม่งั้นได้เรียนพร้อมกันแน่ๆ..เจอน้าโป้ครั้งแรกที่ตราด..งานแข่งขันเมื่อต้นปีนี้..ยินดีที่ได้รู้จักอีกครั้งครับ...น่าจะรับน้องซะหน่อย...อิอิอิ

ผมทำปัญหาพิเศษ 2เรื่อง คือ
1. การถนอมอาหาร(ผลิตภัณฑ์จากปลาสีเสียด(ปลาเค็ม))
2. การจับปลากะตักด้วยอวนล้อมในเมืองไทย
2เรื่องนี้ผมอาศรัยอยู่ในเรือ 1เดือนเต็ม ช่วง summer ทั้ง 2เรื่อง ได้เกรดสูงสุด คุ้มค่าเหนื่อย..ออกไป Present หน้าชั้น ฮา..กันทั้งชั้น..เพราะผมเอาปลาสสะเค็ม ขนาด 8กก. ออกมาโชว์..ก่อนตัดแบ่งกันไปทอดคนละชิ้น..พร้อมให้อาจารย์ด้วย...ติดสินบนปลาเค็ม ได้เกรด A

เรียนจบไม่เคยใช้งานจริงๆ ซะที เพราะไปเป็นพนักงานขาย ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ 2ปีครึ่ง 3ปี จำไม่ได้ แล้วย้ายไปประจำที่ประเทศจีน เมืองปักกิ่ง 6ปี ช่วงนั้นไม่มีโอกาสจับคันเบ็ด ได้แต่ลูบ คลำ ย้ายกลับมาบ้านเรา และเมื่อปี 2000 ลาออกจากงานไปตกปลาอยู่ที่สตูล 7 ปีเต็มๆ มีเรือตกปลาเอง ออกตกปลาเดือนละ 2-3 ครั้ง....

แล้วกลับมาทำงานประจำอีกครั้งที่กรุงเทพเมื่อปีที่แล้ว และรู้จักกับน้าโยชนบท เมื่อเริ่มมาทำงาน..น้าโยได้เพิ่มเติ่มความรู้เรื่องตกปลาให้ผมเพียบเลย..ไม่น่าเชื่อแค่ปีเดียวผมลงทุนอุปกรณ์ตกปลาเป็นแสนแล้วครับ....





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

krisharuno จาก ต้นหลิว 203.107.249.206 พุธ, 3/10/2550 เวลา : 13:26  IP : 203.107.249.206   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 34787

คำตอบที่ 23
       ทันเห็นตูดแวปๆ ตอนน้าหลิวรับปญ.แล้วพวกน้องใหม่อย่างผมร้องไล่พี่ๆแล้วรับตังค์เข้าคณะอ่ะ 555 แต่น้าโยนี่ จอมปั้นดาราจริงๆ กลับจากทริปแรกก็ทำให้ผมอยากเสียตังค์ เฉียดหมื่นแล้วไปถอยอุปกรณ์2ชุดแบบเน้นคุณภาพ ไม่เน้นแบรนด์ยังแทบแย่เลย ไม่แปลกที่น้าหลิวจะหมดเป็นแสน ยิ่งพม่าให้ตกปลาด้วยเลยอาจต้องมีอีกเยอะนะน้า จริงมะน้าโย???



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

Pow2512 จาก โป้ บางนา 192.55.18.36 พุธ, 3/10/2550 เวลา : 15:43  IP : 192.55.18.36   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 34801

      

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  



website รองรับการใช้งานทุกระบบปฏิบัติการของ PC Tablet SmartPhone ทุกระบบสามารถโพสข้อความและรูปภาพได้โดยไม่ต้องย่อไฟล์
เพื่อความปลอดภัยในการใช้ website WeekendHobby.Com สมาชิก เท่านั้น จึงจะตั้งกระทู้ หรือ ตอบกระทู้ได้ครับ
Login Click ที่นี่
สมัครสมาชิก Click ที่นี่



Since 22, Feb 2001 hit counter View My Stats  Truehits.net      วันพฤหัสบดี,25 เมษายน 2567 (Online 5937 คน)