WeekendHobby.com
เครื่องมือในการใช้งาน website =>> สมัครสมาชิก | Login | Logout | เปลี่ยนไอคอนส่วนตัว | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อโฆษณา         View stat by Truehits.net


ยิงปืนอย่างไรให้แม่น
yahoo!
จาก Yahoo!
IP:124.157.201.69

จันทร์ที่ , 7/8/2549
เวลา : 10:37

อ่านแล้ว = ครั้ง
 เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งตรวจสอบกระทู้
 แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน ส่งหาเพื่อน

       การยิงปืน ใครมีเทคนิคแบบไหนที่จะทำให้ยิงไม่หลุดเป้าดำ ช่วยแบ่งประสบการณ์ให้เพื่อนๆหน่อยครับ


 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

แจ้งเพื่อเก็บขึ้นกระทู้พิเศษ คลิ๊กที่นี่แจ้งเพื่อนำขึ้นกระทู้พิเศษ

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  

คำตอบที่ 1
       ยิงแห้งมือเดียว ทั้งซ้ายและขวาทุกวัน ยิงจริงอย่าตกใจเสียง



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก เสี่ยวเอ้อ 61.47.16.70 จันทร์, 7/8/2549 เวลา : 13:59  IP : 61.47.16.70   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 24995

คำตอบที่ 2
       ผมไม่แน่ใจว่าคำถามจะเป็นการยิงแข่งขันแบบทั่วไปหรือปล่าว เพราะถ้าจะยิงแม่นคงใช้หลักการพวกนี้ได้ครับ ( ประยุกต์ได้ครับ นี่เป็นของปืนสั้นอัดลมนะครับ แต่ปืนสั้นอัดลมเป็นพื้นฐานของการยิงปืนทั่วไปครับ ) แต่ถ้าเป็นยิงต่อสู้คงต้องรบกวนพี่ๆ ท่านอื่นมาตอบนะครับ


การยิงปืน
การที่จะยิงปืนได้ดีนั้น จะมีปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยมีปัจจัยหลักๆ 3 อย่างคือ

1. พื้นฐานในการยิงปืน จะประกอบไปด้วย

1.1ท่ายืน: มีความสมดุล นิ่ง อยู่ในแนวเป้าหมาย

1.2การจับปืน: สบายๆ แน่ใจเสมอว่าการเล็งจะอยู่ในแนวเป้าหมาย เป็นไปอย่างธรรมชาติ

1.3การหายใจ: พัฒนาจังหวะของการหายใจสำหรับการยิงทุกครั้ง และทุกๆการแข่งขัน การปล่อยกระสุนจะต้องเกิดขึ้นในช่วงที่มีการหยุดหายใจในสภาพธรรมชาติ

1.4การเล็ง: จะเน้นที่ศูนย์หน้า ให้อยู่ในบริเวณเป้าหมายที่กำหนด การเคลื่อนที่จะอยู่แต่ในบริเวณนี้เท่านั้น

1.5การควบคุมไกปืน: จะมีความสัมพันธ์กับท้ายปืน (Rear) ขณะที่การเล็งจะอยู่ในแนวเส้น ตรงระยะเวลาในการเหนี่ยวไกจะขึ้นอยู่กับชนิดการแข่งขัน

1.6การยิง: ยิงอย่างมั่นใจโดยปฏิบัติตามขั้นตอนที่ฝึกมาอย่างเคร่งครัด

1.7การรักษาสภาพหลังการยิง(follow through): ต้องมีความต่อเนื่องในการเล็งและการเหนี่ยวไกหลังจากการยิง

1.8การวิเคราะห์: ต้องมีการวิเคราะห์ การยิงของเรา เพื่อเป็นตัวชี้ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้เราสามารถจะแก้ไขข้อผิดพลาดได้

2. การฝึกฝน

จะต้องมีการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องทั้งทางร่างกายและจิตใจ

3. เครื่องมือ , อุปกรณ์

ปืน : ใช้ปืนที่เหมาะกับตัวเรา เตรียมตัวสำหรับการยิงแห้ง ตรวจสอบศูนย์หน้าและศูนย์หลัง น้ำหนักไกปืนต้องถูกต้อง ทดสอบกลุ่มกระสุนสำหรับปืนของเรา

อุปกรณ์ทั่วๆไป : น้ำมัน ไขควง ที่ทำความสะอาดลำกล้อง นาฬิกา บันทึกประจำวันของการยิง แว่นสายตา ปากกา ยากันยุง และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

เครื่องแต่งกาย : รองเท้าที่สบายและเหมาะสม เสื้อผ้าแบบสบายๆ หมวกและที่ปิดหัว















1.พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการยิงปืน

1.1 การตั้งท่าและความมั่นคง

จุดประสงค์

1. ก่อให้เกิดความสมดุลย์ และความมั่นคงของร่างกายและมือ โดยให้มีการกระทบต่อระบบกล้ามเนื้อและโครงร่างให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้

2. รักษาระดับพื้นที่การใช้แขนและพื้นที่การยิงให้น้อยที่สุด

3. รักษาระดับ ศีรษะและแขนให้อยู่ในจุดที่เหมาะสม เพื่อให้ตามองเห็นได้ชัดที่สุดระหว่างการเล็งเป้าหมาย

4. เพื่อที่จะทำให้มีความมั่นคงตลอดเวลาสำหรับการยิง

การเปลี่ยนแปลงหรือการแปรผัน
น.น.และรูปร่างที่แตกต่างกัน อาจจะมีผลทำให้เกิดการแปรผัน เราจะต้องวิเคราะห์การตั้งท่าของตัวเรา และจะต้องระมัดระวัง ในที่จะเปลี่ยนแปลงแม้จะมีเหตุผลในการเปลี่ยน

การตั้งท่าที่สมบูรณ์แบบ
1. วางเท้าให้ห่างกันประมาณ ความกว้างของไหล่และให้ขนานกันมากที่สุด ในขณะที่จะทำการยิง โดยอาจจะเคลื่อนไหวแบบช้าๆ ให้กว้างขึ้นประมาณ 10 ซ.ม.

2. ให้ น.น.ตัว และน.น.ปืน ตกกระจายบนขาทั้ง 2 ข้าง

3. ยืนตรงแต่มีการผ่อนคลาย ให้ น.น. ตกที่ระดับสะโพก เพื่อหลีกเลี่ยงการกระทบต่อร่างกายและกล้ามเนื้อหลัง

4. แขนที่ใช้ยิงจะต้องเหยียดเต็มที่ พร้อมกับข้อมือ และข้อศอกจะต้องนิ่งที่สุด

5. มองจากด้านบน โดยให้มุมของแขนกับไหล่อยู่ที่ประมาณ 12-20 องศา

6. แขนที่ไม่ใช้ยิง จะต้องผ่านคลาย โดยอาจจะเหน็บอยู่ ที่กระเป๋าหรือเข็มขัดด้านหน้า เพื่อป้องกันการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น

7. เงยศีรษะขึ้นและจ้องที่เป้าหมาย เพื่อที่ตาจะปรับได้อย่างถูกต้องและปราศจากการรบกวน

8. ในจุดยิงความสมดุลที่ถูกต้องจะถูกพบ โดยการเคลื่อนไหวของแขนเข้าหาเป้าหมายอย่างช้าๆ

9. ในจุดที่เตรียมพร้อม 45 องศากับเป้า แขนจะถูกยกขึ้นมาสู่จุดยิงโดยการบังคับของกล้ามเนื้อไหล่เท่านั้น โดยส่วนอื่นๆ จะไม่เคลื่อนไหว

การผ่อนคลายคือหลักที่สำคัญที่สุดของการพักร่างกาย

การฝึก
เราจะต้องทำตัวให้คุ้นเคยกับการตั้งท่าที่ถูกต้องในทุกๆครั้งที่เรายืนอยู่ที่เส้น หรือช่วงระหว่างการยิงแห้ง การฝึกที่ผิดๆ จะทำให้เราเคยตัวและทำให้เรายากที่จะก้าวสู่ขั้นสูงต่อไป ฉะนั้นจึงควรฝึกการตั้งให้ถูกต้องและทำให้คุ้นเคย



1.2 การจับปืน

ทิศทางของกระสุนจะเปลี่ยนแปลงเนื่องมาจากการกำปืนที่แตกต่างกัน การจับปืนที่ถูกแบบนั้นจะรู้สึกว่าฝืนธรรมชาติอยู่เล็กน้อย เพราะปรากฏว่าผู้ที่ยังไม่เคยฝึกมาก่อน เมื่อจับปืนมักจะจับไม่ถูกเสมอ การจับปืนในระยะแรกๆจะลำบากพอควร แต่เมื่อฝึกแล้วก็สามารถจะทำได้

การจับปืนนั้น ก่อนอื่นจะต้องทำมือให้เป็นรูปตัว V เอาด้ามปืนสอดเข้าระหว่างตัว V ให้ส่วนบนของมือเสมอกันแล้วกำปืนด้วยนิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อย นิ้วชี้ยังไม่ใช้งานให้แนบอยู่ข้างปืนเหนือโกร่งไกก่อน นิ้วหัวแม่มือเหยียดแนบข้างตัวปืนอยู่บนส่วนบนของด้ามปืน การแตะไกของนิ้วชี้ก็ให้ใช้ส่วนกลางของนิ้วข้อปลายเป็นส่วนที่แตะไก การแตะไกในลักษณะนี้ในตอนแรกๆจะขัดๆไม่สะดวก เนื่องจากนิ้วจะต้องบิดเล็กน้อย ผู้ฝึกก็จะต้องพยายามแก้ไขโดยการบิดนิ้วสักระยะหนึ่ง อย่าแก้ไขโดยการเลื่อนมือเป็นอันขาด ถ้าผู้ฝึกเลื่อนมือเพื่อให้แตะไกสะดวก การจับปืนจะผิดทันที ผลก็จะทำให้การจับปืนผิดไป ผู้ฝึกจะต้องพยายามฝึกลั่นไกให้ถูกวิธีโดยไม่เปลี่ยนการจับปืน ซึ่งจะใช้เวลา 2-3 วันก็จะสามารถทำได้



1.3 การควบคุมการหายใจ

การหายใจจะต้องอาศัยการเคลื่อนไหวของท้อง กล้ามเนื้อหน้าอกและหลัง สำหรับการยิงปืนนั้นได้มีความคิดเกิดขึ้นว่า ถ้ามีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อให้น้อยที่สุด การยิงน่าจะดีที่สุด จึงคิดว่าน่าจะมีการหายใจให้น้อยที่สุดจนกระทั่งไม่หายใจเลยในระหว่างการปล่อยกระสุนออกไป

การกลั้นหายใจ
เมื่อทำการกลั้นหายใจ โลหิตจะขาดออกซิเจน ซึ่งถ้านานมากจะเกิดอาการหน้ามืด และสิ้นสติในที่สุด เนื่องมาจากการแตกตัวของเซลล์สมอง อันมีผลมาจากการที่เลือดไม่ได้รับออกซิเจนนั่นเอง

เราควรจะมีการฝึกการใช้หายใจให้เป็นประโยชน์ต่อตัวเรามากที่สุด โดยเฉลี่ยเราต้องการระยะเวลาประมาณ 6-10 วินาทีในการที่จะไม่ต้องหายใจ เพื่อการยิงที่แม่นยำ แต่เราจะต้องเข้าใจรูปแบบของระบบหายใจที่เหมาะสมสำหรับตัวเรา ที่จะใช้ในการแข่งขัน แต่โดยทั่วไปจะมีพื้นฐานที่คล้ายคลึงกัน

รูปแบบปกติของการหายใจ
โดยปกติปอดของเราจะถูกใช้เพียง 1/3 ของพื้นที่เท่านั้น ดังนั้นช่วงที่มีการเรียนหรือนั่งเงียบๆเป็นเวลานาน เราจำเป็นต้องหายใจแบบลึกๆ สักครั้งเพื่อที่ขับอากาศเสียและรับอากาศใหม่

เมื่อเราหายใจออก ระยะช่วงสุดท้ายของการหายใจออกนั้นจะมีช่วงที่มีการหยุดหายใจโดยสภาพธรรมชาติเป็นระยะเวลาสั้นๆ ช่วงที่หยุดหายใจโดยสภาพธรรมชาตินี้ สามารถที่จะยืดระยะเวลาออกไปได้หลายวินาที โดยปราศจากอันตราย ซึ่งเป็นที่มาของระยะเวลาที่มีการคาดหวังไว้ว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการยิงปืน โดยเมื่อกระสุนถูกปล่อยออกไปแล้ว ระบบหายใจก็จะเริ่มขึ้นใหม่

การพัฒนาระบบการหายใจสำหรับการยิงปืน
หายใจออก เพื่อไล่อากาศเสียออกให้หมด จากนั้นหายใจลึกๆ ประมาณ 2-3 ครั้งก่อนจะยกปืน การหายใจออกเป็นรูปแบบหนึ่งของการผ่อนคลายทางกายภาพด้วย

การยิงที่มั่นใจ
1. สมมุติว่าท่ายืนของเราถูกต้องแล้ว ก่อนที่จะยกปืนขึ้นจากที่วางปืน ให้หายใจเข้าลึกๆอย่างช้าๆ แล้วหายใจออก ประมาณ 2 ครั้ง

2. ขณะยกปืนขึ้น หายใจเข้าแบบปกติ เมื่อปืนถึงจุดบริเวณที่ตั้งเป้าหมาย หายใจออกจนถึงจุดที่หยุดการหายใจ

3. ช่วงที่หยุดการหายใจ เราสามารถทำการยิงได้ ขณะที่โครงร่างของเราจะต้องมั่นคง

4. เมื่อกระสุนถูกยิงออกไป ทุกส่วนของร่างกายจะยังคงรักษาสภาพเช่นนั้นอยู่ระยะหนึ่ง จากนั้นจึงลดแขนลง ระบบการใจปกติจะเริ่มขึ้นใหม่



1.4 การเล็ง

“หลับตาซ้ายเล็งด้วยสายตาข้างขวา ให้ยอดศูนย์หน้าอยู่กึ่งกลางช่องบากศูนย์หลัง เสมอสันบากศูนย์หลัง วางไว้ส่วนล่างของที่หมาย”

หลับตาซ้ายเล็งด้วยสายตาข้างขวา ให้ใช้สายตาข้างเดียวในการเล็งปืน และให้ใช้สายตาข้างเดียวกันกับมือที่ถือปืน ในกรณีนี้เป็นการถือปืนด้วยมือขวา

ให้ยอดศูนย์หน้าอยู่กึ่งกลางช่องบากศูนย์หลัง จัดศูนย์หน้าไว้ในช่องกลางของศูนย์หลัง โดยจัดจากช่องว่างระหว่างขอบศูนย์หน้าและศูนย์หลัง ให้มีความหนาของช่องพอๆกัน ก็แปลว่าศูนย์หน้าได้อยู่กึ่งกลางช่องของศูนย์หลังแล้ว

เสมอสันบากศูนย์หลัง จัดให้ส่วนบนของยอดศูนย์หน้าเสมอกับส่วนบนของศูนย์หลัง

วางไว้ส่วนล่างของที่หมาย จัดศูนย์ทั้งชุดไปวางไว้ที่ส่วนล่างของเป้า (วงกลมสีดำ) เสร็จพิธีการจัดศูนย์เล็ง

การเล็งลักษณะนี้ เป็นการจักภาพศูนย์เล็งเพื่อการฝึกสำหรับการฝึกยิงเป้าวงกลมดำเท่านั้นเพราะว่าการฝึกในลักษณะนี้มีขอบเขตจำกัดอยู่ที่ว่า วงกลมดำจะต้องมีขนาดเดิมเสมอ ถ้าวงกลมดำมีขนาดเปลี่ยนไป วิถีกระสุนก็จะเปลี่ยนไปด้วย การแก้ไขแนวการเล็งก็จะต้องแก้ไขโดยการตั้งศูนย์ใหม่หรือนำเอาเป้าเดิมที่เคยเล็งอยู่ไปทับกับเป้าใหม่แล้วเล็งด้วยเป้าเดิม

การเล็งลักษณะนี้ เรียกว่าการเล็งแบบ “เล็งนั่งแท่น” คือเอาเป้าไปวางไว้บนแท่นของศูนย์ปืนนั่นเอง ซึ่งมีการเล็งอีกลักษณะหนึ่ง ที่เรียกว่า “เล็งจี้” เอาศูนย์ปืนเล็งจี้ที่กลางเป้าไม่ว่าเป้าจะมีขนาดใดก็ตาม

การเล็งทั้งสองลักษณะนี้ขอแนะนำให้ใช้วิธีการเล็งแบบ “นั่งแท่น” เพราะจะเป็นแบบที่ปฏิบัติได้ง่ายกว่า ทั้งนี้เนื่องจากภาพของศูนย์ที่มองเห็นจะเป็นสีดำจะทับกับส่วนที่เป็นสีขาวของเป้าทำให้ตัดกันง่ายต่อการจัด ส่วนการเล็งแบบ “เล็งจี้” นั้นภาพสีดำของศูนย์ปืนจะไปทับกับวงดำซึ่งจะทำให้การจัดภาพการเล็งยากมาก ทั้งนี้เพราะขณะที่ทำการเล็งนั้น ภาพของศูนย์ปืนจะมีขนาดเท่ากับก้านไม้ขีดไฟเท่านั้น

การเล็ง
1. ศูนย์หน้าต้องมองเห็นชัด

2. ศูนย์หลังจะเบลอ

3. แสง 2 ข้างของศูนย์หน้าต้องเท่ากัน

4. ความกว้างของศูนย์หน้าขึ้นอยู่กับบุคคล

5. ความลึกของศูนย์หลังต้องเพียงพอที่จะเห็นศูนย์หน้าชัด

จุดรวมของการเล็ง
จะเน้นที่ศูนย์หน้า เป้าที่เห็นจะเบลอ เพราะตาของเราไม่สามารถจับจุดทั้งสองพร้อมกันได้การเน้นจุดที่ศูนย์หน้าต้องระวังความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดาย และต้องรีบแก้ไขอย่างทันที

ตาทั้ง 2 ข้างต้องเปิดช่วงระหว่างการเล็ง โดยอาจจะมีการปิดตาข้างข้างหนึ่งบนแว่นที่ใช้ยิง แต่ควรจะให้แสงเข้าตาที่ไม่ได้ใช้เล็งได้บ้าง แว่นตาต้องเลือกให้เหมาะกับตัวเรา ถ้าเรามีปัญหาเรื่องสายตา ต้องปรึกษากับจักษุแพทย์

วิธีการเล็งโดยเปิดตาทั้ง 2 ข้างโดยไม่มีการปิดตาเป็นที่ชื่นชอบมากกว่า

การเล็งที่เหมาะสม
เปิดตาทั้งสองข้าง ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับการหาจุดที่ชัดเจน ให้ตัดสินใจว่าตาข้างไหนชัดเจนและให้ปิดตาอีกข้าง

เลนซ์ของแว่นตาที่ใช้ยิงปืน ต้องแน่ใจว่าจะไม่ปิดตาอย่างสมบูรณ์ขณะที่ตาทั้งสองข้างต้องการแสงเพื่อที่จะเล็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โฟกัสครึ่งหนึ่งของศูนย์หน้า ขอบของศูนย์หลังจะเบลอเล็กน้อยและเป้าหมายจะอยู่นอกโฟกัส

ความสนใจจะอยู่แนวเส้นตรงของการเล็ง ขณะเดียวกันจะต้องรักษาพื้นที่ให้การเคลื่อนไหวน้อยที่สุด (Wobble Area) การกดไกปืนจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ ขณะที่ความสนใจจะอยู่ที่แนวเล็งตลอด

การเล็งจะใช้เวลา 6-8 วินาที ถ้าไม่สามารถยิงออกไปได้ในระยะเวลานี้
ให้ยกเลิกและให้เริ่มต้นทั้งหมดใหม่อีกครั้ง



การตั้งศูนย์
ศูนย์ปืนจะประกอบด้วยศูนย์หน้าและศูนย์หลัง ศูนย์หน้าจะติดตายตัวไม่สามารถจะปรับตั้งได้ การปรับตั้งจะปรับตั้งที่ศูนย์หลัง โดยการเลื่อนศูนย์หลังขึ้นหรือลง เลื่อนไปทางซ้ายหรือทางขวา

หลักการตั้งมีดังนี้ เมื่อเรายิงออกไป ตำบลกระสุนตกไปที่ใดก็ตาม ให้ถือหลักว่าเราต้องการจะเลื่อนตำบลกระสุนตกไปที่ใดก็ให้เลื่อนศูนย์หลังไปตามนั้น เช่น ตำบลกระสุนตกต่ำกว่าวงดำ เราต้องการเลื่อนกระสุนให้ขึ้น เราก็เลื่อนศูนย์หลังขึ้น ถ้าต้องการเลื่อนตำบลกระสุนตกลงข้างล่าง เราก็เลื่อนศูนย์หลังลงข้างล่าง ต้องการให้กลุ่มกระสุนเลื่อนไปทางขวา ก็เลื่อนศูนย์หลังไปทางขวา ต้องการให้กลุ่มกระสุนเลื่อนไปทางซ้าย ก็เลื่อนศูนย์หลังไปทางซ้าย

วิธีการเลื่อนศูนย์อย่างใดก็จะต้องศึกษาดูจากอาวุธปืนในแต่ละประเภท หรือแต่ละบริษัทผู้ผลิต แต่ส่วนมาก ถ้าตัวตั้งศูนย์อยู่ด้านบน การหมุนเกลียวเข้าเป็นการลดศูนย์ลง การหมุนเกลียวออกเป็นการยกศูนย์หลังขึ้น ตัวตั้งทางข้างถ้าหมุนเกลียวเข้าจะเลื่อนกลุ่มกระสุนไปทางขวา ถ้าหมุนเกลียวออกจะเลื่อนกลุ่มกระสุนไปทางซ้าย เหมือนกับการใช้กฎมือขวา คือให้นิ้วโป้งเป็นทิศทางของตำบลกลุ่มกระสุนที่จะเลื่อนไป และนิ้วทั้ง4 เป็นทิศทางการหมุนเกลียว



1.5 การลั่นไก

การลั่นไกปืนจะต้องค่อยๆกดไกเบาๆ จนกว่าปืนจะลั่นเอง โดยที่ผู้ยิงอาจจะยังไม่รู้สึกตัว ปืนจะไม่มีอาการเคลื่อนไหว และภาพของการเล็งเหมือนเดิม จึงจะเป็นการลั่นไกที่ถูกต้อง ซึ่งกระสุนจะถูกตรงที่เล็งเอาไว้ ผู้ยิงไม่ควรจะรีบยิงเมื่อการเล็งถูกต้องเพราะกลัวปืนจะเคลื่อนออกจากแนวเล็งเสียก่อน เพราะการรีบยิงจะทำให้การลั่นไกกระตุก ซึ่งเป็นผลทำให้แนวเล็งเคลื่อนออกจากเป้าก่อนที่กระสุนปืนจะหลุดพ้นออกจากลำกล้งปืน การที่จะลั่นไกปืนให้มีความนุ่มนวลไม่กระตุกหรือกระชากนั้น มิใช่ว่าเมื่อผู้ยิงเข้าใจแล้วก็จะสามารถกระทำได้ ผู้ยิงจำเป็นที่จะต้องฝึกลั่นไกโดยไม่ใส่กระสุนปืน (dry fire) เป็นระยะเวลานานๆจนเกิดความคุ้นเคย และเกิดความชำนาญขึ้นเอง เมื่อเกิดความชำนาญขึ้นแล้ว ก็จะสามารถลั่นไกได้นุ่มนวลโดยไม่ต้องตั้งใจมากมายนัก

การฝึกลั่นไกโดยไม่ใส่กระสุนปืนนั้น เมื่อทำการฝึกจะสามารถตรวจสอบได้ว่าการปฏิบัตินั้นถูกต้องหรือไม่ โดยการเล็งศูนย์ปืนไว้ที่เป้า และพยายามลั่นไกให้ลั่นแล้ว ถ้าแนวเล็งไม่ได้หลุดออกจากจุดที่เล็ง ก็หมายความว่าการฝึกลั่นไกนั้นถูกต้อง ถ้าการลั่นไกนัดใดเมื่อลั่นแล้ว แนวศูนย์เคลื่อนออกจากแนวเล็งก็หมายความว่าการลั่นไกในนัดนั้นไม่ถูกต้องรุนแรงเกินไปจนทำแนวเล็งเคลื่อน ถ้าการยิงในนัดนั้นมีกระสุนปืน กระสุนปืนก็จะพลาดเป้า การฝึกยิงปืนโดยไม่ใส่กระสุนปืนนี้มีความสำคัญมาก ผู้ยิงที่ยังขาดความชำนาญในการลั่นไกจะต้องพยายามฝึกลั่นไกโดยไม่ใส่กระสุนปืนให้มากๆ อย่าใช้วิธีฝึกโดยใส่กระสุนปืนตลอดเวลา การฝึกโดยใช้กระสุนตลอดเวลานั้นจะไม่ได้ผลในการฝึกการลั่นไกได้ดีเท่า ในระยะแรกๆของการฝึก ผู้ฝึกจะต้องพยายามฝึกลั่นไกโดยไม่ใส่กระสุนประมาณวันละ 70-80 ครั้ง หรือมากกว่านั้น แต่การฝึกลั่นไกโดยใช้กระสุนเพียงวันละประมาณ 20-30 นัดเท่านั้น ซึ่งการฝึกลั่นไกโดยไม่ใส่กระสุนนั้นเป็นการฝึกที่ทรมานจิตใจมาก ผู้ฝึกมักจะไม่ชอบแต่ถ้าพยายามทำให้ได้ก็ขอรับรองว่าการฝึกจะได้ผลอย่างรวดเร็ว จะสามารถยิงได้อย่างนิ่มนวลโดยไม่มีอาการกระชากหรือกระตุกไก ซึ่งการลั่นไกในลักษณะนี้จะเป็นไปโดยอัตโนมัติ เหมือนกับการลั่นไกโดยไม่ใส่กระสุน (การฝึกวิธีนี้สามารถกระทำได้เฉพาะ ปืนอัดลมแบบใช้ CO2 และแบบอัดอากาศเท่านั้น ปืนอัดลมแบบสปริงไม่สามารถฝึกแบบนี้ได้ ยกเว้นแบบที่ใช้ไกไฟฟ้า)



1.6 การยิง

การที่จะชนะการแข่งขัน เราจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆอย่างถูกต้อง การเช่นนั้นจะทำให้เราสามารถควบคุมปฏิกิริยาต่างๆของตนเองได้ และจะนำเราไปสู่ชัยชนะดังนั้นจึงควรมีลำดับการยิงดังนี้

1. หยิบปืนขึ้นมา วางอย่างระวังในมือที่ใช้ยิง โดยมือที่ไม่ได้ใช้ยิง

2. ตรวจสอบการกำปืน เพื่อดูว่าศูนย์ตกหรือไม่

3. ตั้งท่าที่เราถนัดและถูกต้อง

4. หายใจลึกๆ 1-2 ครั้ง

5. หายใจครั้งที่ 3 พร้อมกับการยกปืนขึ้น เมื่อถึงจุดเป้าหมายที่เราตั้งใจไว้ หายใจออกจนถึงจุดต่ำสุดของการหายใจออก โดยเน้นที่ศูนย์หน้าเอาไว้

6. สร้างประสาทสัมผัสกับไกปืนเบาๆเป็นครั้งแรก

7. รักษาแนวเล็ง

8. เพิ่มแรงกดที่ไกปืน

9. เน้นการเล็งแนวยิง

10. ยิงโดยรักษาแนวเล็งไว้ตลอดเวลา

11. รักษาสภาพ ทุกขั้นตอนของพื้นฐานการยิง

12. จับภาพในช่วงที่กระสุนถูกปล่อยออกไป

13. วิเคราะห์ ตรวจสอบและแก้ไข

1.7 การรักษาสภาพต่างๆ หลังการยิง

จุดประสงค์

1. ควบคุมพื้นฐานของการยิงทั้งในช่วงก่อนและหลังการยิง

2. สามารถที่จะประเมินความผิดพลาดที่เกิดขึ้น

การที่จะสามารถควบคุมการยิงได้อย่างสมบูรณ์ จะต้องมีความตั้งใจอย่างมาก โดยอาศัยประสาทสัมผัสและพื้นฐานที่ดีในการฝึกตามขั้นตอนต่างๆ เราจะต้องรู้ความผิดพลาดหรือสิ่งที่ถูกต้องเมื่อกระสุนปล่อยออกมา และจะต้องรู้ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร เพื่อที่เราจะได้นำมาวิเคราะห์ได้ถูกต้อง

การรักษาสภาพเช่นนี้ เป็นส่วนหนึ่งของกีฬาหลายๆชนิดเช่น กอล์ฟ เป็นต้น การรักษาสภาพจะมีปัญหาการผิดพลาดเกิดขึ้นเนื่องมาจาก

1. กล้ามเนื้อในช่วงการยิงกระสุนออกไป

2. การกระตุกของกล้ามเนื้อ ซึ่งมักจะพบขณะที่กระสุนอยู่ในลำกล้อง

3. ไม่สามารถกำหนดจุดยิงที่ถูกต้องบนเป้าไว

การรักษาสภาพสามารถพบเห็นได้หรือไม่

เราสามารถจะพบได้เพียงบางส่วนเช่น การเหนี่ยวไกปืน การยืน การหายใจ และการถือปืน

พื้นฐานการยิงของเราไม่ใช่จะต้องรักษาสภาพแค่ช่วงปล่อยกระสุนออกเท่านั้นแต่ต้องรักษาสภาพต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง เพื่อไม่ให้มีการผิดพลาดเกิดขึ้นหลังปล่อยกระสุนออกไป ทุกขึ้นตอนของการแข่งขันจะต้องรักษาสภาพไว้อย่างมั่นคง จนกระทั่งกระสุนได้ทะลุเป้าหมายตามที่เราคาดไว้ ขึ้นตอนต่างๆนั้นจะประกอบไปด้วย

1. การตั้งท่า

2. การกำปืน

3. การหายไจ

4. การถือปืน

5. การเล็ง

6. การลั่นไก

7. follow through

การรักษาสภาพเกี่ยวกับการเล็ง

เรายังคงเน้นที่ศูนย์หน้า โดยสังเกตว่าศูนย์หน้าอยู่ตรงจุดไหน หลังจากการยิง (ในกรณีมีแรงถีบของปืน) เพราะแรงถีบจะทำให้ศูนย์เบนออกจากแนว

เมื่อนิ้วที่เหนี่ยวไกเริ่มเคลื่อนไหว มันต้องไม่ถูกรบกวน จนกระทั่งกระสุนได้ถูกปล่อยออกไป แรงต้านไกปืนจะยังคงอยู่ แม้กระสุนจะถูกปล่อยออกไป เราควรจะกดเข้าไปอีกประมาณ 5 ม.ม. เพื่อเน้นการรักษาสภาพหลังการยิง (follow through)

เราต้องจดจำไว้เสมอว่า เราจะต้องกระทำอย่างต่อเนื่องทั้งก่อนและหลังการยิง



1.8 การวิเคราะห์การยิง

1. อธิบายแนวเล็ง ขณะที่กระสุนถูกปล่อยออกไป

2. รายละเอียดเกี่ยวกับการลั่นไก

3. จุดยิงที่เกิดจาก ข้อ1 และ 2

4. เปรียบเทียบจุดเป้าหมายกับการขานคะแนน

5. กระสุนเข้าบริเวณเป้าหมายหรือไม่

6. ถือปืนนานไปไหม

7. แรงต้านไกปืนเป็นอย่างไร

8. เราจะต้องรักษาสภาพอะไรไว้ตลอดระยะเวลาที่กระสุนถูกปล่อยออกไป

9. มีกระสุนนัดไหนหรือไม่ที่สร้างความประหลาดใจให้กับเรา

10. การคาดหวังสัมพันธ์กับผลที่ออกมาหรือไม่

11. ต้องมีการบันทึก ทั้งความถูกต้องและความผิดพลาด ไม่ใช่แค่จดไว้ในใจเท่านั้น



การที่เราสามารถเข้าใจได้ว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เราได้ยิงดีหรือไม่ดี จะทำให้เราสามารถแก้ไขกายิงที่ผิดพลาดของเรา ผู้ฝึกสอนอาจจะสามารถช่วยวิเคราะห์ความผิดพลาดบางอย่างของเราได้แต่จะช่วยได้เพียงบางส่วนเท่านั้น เมื่อถึงจุดๆหนั่งจะไม่มีใครสามารถที่จะช่วยเราได้ ยกเว้นตัวเราเองเพราะเราเป็นผู้ยิงไม่ใช่ผู้ฝึกสอน เราควรจะวิเคราะห์สิ่งต่างๆได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะทำให้เราสามารถพัฒนาตัวเองให้ก้าวขึ้นสู่ระดับมืออาชีพต่อไป

การวิเคราะห์ความผิดพลาด

ถ้าเราปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆอย่างถูกต้อง เมื่อการผิดพลาดเกิดขึ้น เราก็จะสามารถวิเคราะห์ได้ว่าเกิดจากอะไร โดยสังเกตจากกลุ่มการยิงซึ่งจะมีความแตกต่างกันตามการยิงของแต่ละคน

การเรียนรู้เกี่ยวกับพื้นฐานของการยิง และสามารถจัดศูนย์ได้ตามต้องการจะทำให้กระสุนเข้าสู่จุดศูนย์กลางของเป้าหมายตามที่เราต้องการ แต่ถ้ามีการผิดพลาดเกิดขึ้น ก็จะเห็นได้จากการย้ายของกลุ่มกระสุนที่ห่างออกจากเป้าหมาย ยกเว้นความผิดพลาดนั้นเกิดจากตัวปืน ซึ่งเป็นอีกกรณีหนึ่ง

ความผิดพลาดอาจจะเกิดได้จากหลายสาเหตุ

1. การเล็งที่ผิดเป้าหมาย : เป็นแนวขนาน (แนวศูนย์ถูกต้อง แต่ผิดจุดเป้าหมาย) เป็นมุมแหลม (ศูนย์หน้าไม่สัมพันธ์กับศูนย์หลัง)

2. ผลการการกำมือ : แน่นหรือหลวมเกินไป

3. จากการเหนี่ยวไกปืน หรือ กางนิ้วมือที่ยิงไม่ถูกต้อง

4. ความผิดพลาดของปืน : มีผงตะกั่วไปกระบอกปืน ใช้กระสุนผิดหรือใช้กระสุนไม่เหมาะสม

5. กระตุก หรือ สะดุ้ง

จงกำจัดข้อผิดพลาดเหล่านี้ด้วยความอดทนและสังเกตอย่างละเอียด

กระสุนสามารถจะไปจุดไหนของเป้าก็ได้ โดยอาจจะเกิดจากความผิดพลาดเหล่านี้

1. เล็งเป้านานเกินไป

2. เหนี่ยวไกไม่ดี

3. ความผิดพลาดหลายอย่างรวมกัน

จงแยกแยะความผิดแต่ละอย่างออกมาในเวลานั้น คนยิงเท่านั้นที่จะสามารถกระทำได้ยกตัวอย่างกรณีสูงขวา ผู้หัดใหม่จะอยู่ที่ 6 ของ 2 นาฬิกา แต่ผู้ที่มีความชำนาญจะอยู่ที่ 9 หรือ 10 ของ 2 นาฬิกา

เพราะฉะนั้นเมื่ออยู่ระหว่างการฝึก จะต้องทำการทบทวนความผิดพลาดต่างๆที่เกิดขึ้นโดยจะต้องทบทวนในแต่ละขั้นตอนที่มีการผิดพลาดและเมื่อทำการทบทวนขั้นตอนใดๆก็จะต้องคำนึงเฉพาะขั้นตอนนั้นเท่านั้น ไม่ใช่คำนึงถึงทั้งหมด เช่นในการฝึกการลั่นไก ก็จะคิดและทบทวนเฉพาะแต่จุดๆนี้เท่านั้น การคิดเรื่องอื่นๆด้วยจะทำให้สับสนและหนักเกินไปสำหรับเรา

จังหวะการยิงที่ไม่ต่อเนื่อง

เกิดจากความลังเลในการยิงนัดแรกหรือนัดต่อๆมา

เราต้องพัฒนาจังหวะการยิงให้ต่อเนื่อง และพร้อมที่จะนำมาใช้ตลอดเวลา ฝึกหัดการใช้เวลาสำหรับทุกๆนัดและทุกๆจุด กำหนดเวลาการยิงให้ชัดเจนโดยมีการเผื่อเวลาสำรองเอาไว้ด้วย

การวิเคราะห์การยิงจะมี 3 ขั้นตอน

1. มองเห็นศูนย์หรือไม่

2. เหนี่ยวไกได้อย่างนุ่มนวลไหม

3. มีการรักษาสภาพอย่างต่อเนื่อง (follow through) หลังกระสุนปล่อยออกไปไหม

ถ้ามีอะไรเบี่ยงเบนจาก 3 หัวข้อนี้หมายความว่า บางส่วนของการวางแผนไม่ถูกนำมาใช้เราจะต้องย้อนกลับไปดูตัวเราเองใหม่อีกครั้ง

แผนจะต้องถูกเขียนขึ้นมาอย่างน้อย 2 อาทิตย์ ก่อนการแข่งขัน และจะต้องอ่านอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ในอาทิตย์แรก และวันละครั้งในอาทิตย์ที่2 จากนั้นในตอนเช้าของวันแข่ง ทบทวนอีก 1 รอบ จะต้องไม่มีการเปลี่ยนแผนการในช่วง 2 อาทิตย์นี้ เราจะต้องวางแผนมาเรียบร้อยแล้วจึงนำมาปฏิบัติ และจะต้องมีการทบทวนแผนอย่างดี

ในการแข่งขันเราก็จะคำนึงถึงเฉพาะ 3 หัวข้อ ดังที่กล่าวมาแล้ว จะไม่มีการอ่านแผนในระหว่างการแข่งขันเพราะอาจจะทำให้เราสับสัน ทุกอย่างจะเป็นไปโดยอัตโนมัติ เราจะพิจารณาจากผลที่ได้ออกมา เช่นถ้าผลที่ออกมาไม่เป็นไปตามที่เราคาด เราก็จะต้องมาตรวจสอบตาม 3 หัวข้อที่กล่าวมา เช่นอาจจะมองเห็นศูนย์ไม่ชัดเจนเท่าที่ควร นัดต่อไปสมมติฐานของเราก็คือศูนย์ต้องชัด การวางแผนจะต้องกระทำทุกการแข่งขันและทุกนัดที่ยิง ไม่ใช่ใช้แผนเดียวกันตลอด

การวิเคราะห์กลุ่มกระสุน (Group Evaluation)

เพื่อดูความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เพราะถ้าไม่ผิดพลาดอะไรเลยกลุ่มกระสุนจะอยู่รอบๆจุดศูนย์กลางของเป้า ถ้าผิดไปจากนี้เราจะต้องวิเคราะห์อย่างเที่ยงตรง

สูง/สูงมาก

Ø ระดับศูนย์หน้าพอดีกับระดับศูนย์หลังหรือไม่ หรือสูงกว่า

Ø ข้อมือนิ่งหรือไม่

Ø ถ้าการเล็งถูกต้อง มันสูงจากพื้นที่เป้าหมายหรือไม่ ทำไม?

Ø มีปัญหาเรื่องการสะท้อนกลับ (Recoil) หรือไม่

สูง/ขวา

Ø ข้อมือนิ่งหรือไม่ช่วงการเหนี่ยวไก

Ø การเหนี่ยวไกนิ่มนวลและต่อเนื่องหรือไม่

Ø การกำปืน คงที่หรือไม่

Ø ปืนเงยขึ้นหรือเปล่า

Ø มีการรักษาสภาพหลังยิงหรือเปล่า

ขวา/แนวราบ

Ø แสง 2 ข้างของศูนย์หน้าเท่ากันหรือไม่

Ø วางนิ้วที่เหนี่ยวไกยาวไปไหม

Ø แรงกดหัวแม่มือต่อด้านข้างของปืนมีปัญหาหรือไม่

Ø ปลายนิ้วมือที่เหนี่ยวไกอยู่ตรงจุดไหนของไกปืน

ต่ำ/ขวา

Ø ข้อมือนิ่งหรือไม่

Ø การเหนี่ยวไกนิ่มนวลและสัมพันธ์กับท้ายปืนไหม

กระสุนกระจาย

Ø วิเคราะห์เกี่ยวกับการเล็ง การควบคุมไกปืนและการรักษาสภาพ

Ø ศึกษาดูว่ามีแบบฝึกหัดใดที่ยังไม่ได้กระทำ

ต่ำ/ต่ำมาก

Ø นิ้วที่เหนี่ยวไกวางที่จุดศูนย์กลางของหรือไม่

Ø ใช้แรงเหนี่ยวไกมากกว่าปกติหรือไม่

Ø ศูนย์หน้าอยู่ระดับเดียวกับศูนย์หลังหรือไม่

Ø มีปัญหาเกี่ยวกับการสะท้อนกลับ (Recoil) ไหม

Ø จุดรวม (focus) เลยศูนย์หน้าไปแทนที่จะอยู่เหนือศูนย์หน้า

ต่ำ/ซ้าย

Ø การเหนี่ยวไกนิ่มนวลและสัมพันธ์กับท้ายปืนไหม

Ø นิ้วที่เหนี่ยวไกพ้นจากด้านปืนหรือเปล่า

Ø มีการรักษาสภาพหรือไม่

ซ้าย/แนวราบ

Ø แสง 2 ข้างของศูนย์หน้าเท่ากันหรือไม่

Ø แนวเล็งเคลื่อนไปทางซ้ายระหว่างการถือปืนหรือไม่

Ø มีช่องว่างระหว่างนิ้วที่เหนี่ยวไกกับด้ามปืนไหม

สูง/ซ้าย

Ø ข้อศอกและข้อมือนิ่งไหมระหว่างการยิง

Ø มีการสะท้อนกลับของปืนหรือไม่

Ø การเหนี่ยวไกนิ่มนวลและสัมพันธ์กับท้ายปืนหรือไม่

แนวดิ่งแคบ

Ø ศูนย์หน้าสัมพันธ์กับศูนย์หลังหรือไม่

Ø มีการหายใจสะดุดระหว่างการยิงหรือเปล่า

Ø เหนี่ยวไกก่อนเล็งพื้นที่เป้าหมายไหม

Ø ฝึกมาเพียงพอหรือไม่

แนวราบ

Ø ตัวส่ายไหม

Ø เท้าแยกห่างกันไปหรือไม่

Ø การกำด้านปืนคงที่ไหม

Ø จุดศูนย์กลาง (focus) อยู่ตรงไหนของศูนย์หน้า

เกาะกลุ่มตรงกลาง

Ø รูปแบบที่คาดหวัง และเป็นที่ต้องการของทุกคน



นี่คือผลสุดท้ายที่เราจะได้รับ ถ้าเรามีการฝึกฝนการใช้พื้นฐานอย่างถูกต้อง ซึ่งจะต้องใช้ความชำนาญผสมผสานกับการฝึกอย่างต่อเนื่อง



“ใจ” ความอดทน ความมั่นใจ และมีความจริงใจ นั่นแหละที่จะทำให้การยิงปืนได้บรรลุถึงเป้าหมาย ทำไมนักกีฬายิงปืนบางคนทำการซ้อมยิงดี แต่พอเข้าทำการแข่งขันแพ้ทุกครั้ง คะแนนซ้อมเคยได้สูงๆ แต่เวลาแข่งตกลงอย่างไม่น่าเชื่อ นั่นคือ “ใจ” ไปทำอารมณ์กับสิ่งแวดล้อม กลัวบ้าง เต้นบ้าง ไม่พอใจเสียงรบกวนบ้าง ผู้แข่งข้างเคียงทำลายสมาธิบ้าง ทำให้ไม่มีความจริงใจ ไม่ตั้งใจยิงปืนอย่างแท้จริงแล้วจะทำให้ท่านยิงปืนได้ดีอย่างไร ผลก็คือ “แพ้”


คัดลอกมาจาก http://www.kmitl.ac.th/shooting/
ขอบคุณมากครับ








ขอบคุณสำหรับข้อมมูลดีๆนะครับ
จาก : buaann(buaann) 17/6/2556 22:37:58 [110.169.226.79]
 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก วาดเป้า 202.129.50.246 จันทร์, 7/8/2549 เวลา : 17:37  IP : 202.129.50.246   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 25013

คำตอบที่ 3
       ขอบคุณมากครับ คุณวาดเป้า อธิบายได้ดีมากๆ เลยครับ เป็นพื้นฐานของการยิงปืนจริงๆ ผม พึ่งฝึกยิงปืน มีคนมาอธิบายให้ฟังอย่างโน่นทีอย่างนี้ที พอยิงแล้ว ก็ยังมีข้อเสียอยู่บ้าง ตอนนี้กำลังฝึกยิงแห้งอยู่ครับ คงตัองใช้เวลาอยู่เหมือนกัน กว่าจะเข้าที่เข้าทาง
ขอบคุณครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

yahoo! จาก Yahoo! 124.157.149.199 อังคาร, 8/8/2549 เวลา : 21:30  IP : 124.157.149.199   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 25088

คำตอบที่ 4
       เอาสั้นๆง่ายๆ นะครับ ( ไม่ทราบว่าใช้ปืนอะไรอยู่ครับ )

1. จับปืนดี ต้อง grip ปืนให้เหมือนเดิมทุกครั้ง
2. จัดศูนย์ดี ศูนย์หน้าต้องชัด เป้าเบลอ ศูนย์หลังเบลอ เน้นเลยครับ ต้องเห็นศูนย์หน้าชัดครับ ถ้าเลยเวลาไปแล้วศูนย์หน้าเบลอแล้วให้วางเลยครับ ยิงไปก็เหมือนเดาสุ่มครับ
3. ลั่นไกดี ( บีบมือ ) ต้องไม่กระตุก กระชาก ครับ และจะต้องสัมพันธ์กับ การจัดสูนย์ครับ ( ลั่นไกขณะที่ศูนย์หน้าชัด )
4. ทบทวนนัดที่ผ่านมา ถ้าไม่เข้าเป้าหมายหรือนอกเหนือความคาดหมาย ว่าข้อผิดพลาดเกิดจากอะไร แล้วแก้ไข

ทุกคนเกิดมายิงแม่นกันทุกคนอยู่ในตัวเองแล้วครับ ( ควบคู่กับการฝึกฝน ) แต่ใกมการแข่งขัน ใครจะคุมให้แม่นได้นานกว่าเท่านั้นแหละครับที่เป็นตัวตัดสิน ฝีมือ 50% จิตใจ 50% ครับ

“ใจ” ความอดทน ความมั่นใจ และมีความจริงใจ นั่นแหละที่จะทำให้การยิงปืนได้บรรลุถึงเป้าหมาย ทำไมนักกีฬายิงปืนบางคนทำการซ้อมยิงดี แต่พอเข้าทำการแข่งขันแพ้ทุกครั้ง คะแนนซ้อมเคยได้สูงๆ แต่เวลาแข่งตกลงอย่างไม่น่าเชื่อ นั่นคือ “ใจ” ไปทำอารมณ์กับสิ่งแวดล้อม กลัวบ้าง เต้นบ้าง ไม่พอใจเสียงรบกวนบ้าง ผู้แข่งข้างเคียงทำลายสมาธิบ้าง ทำให้ไม่มีความจริงใจ ไม่ตั้งใจยิงปืนอย่างแท้จริงแล้วจะทำให้ท่านยิงปืนได้ดีอย่างไร ผลก็คือ “แพ้”






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก วาดเป้า 202.129.50.246 พุธ, 9/8/2549 เวลา : 08:08  IP : 202.129.50.246   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 25111

คำตอบที่ 5
       เอาสั้นๆง่ายๆ นะครับ ( ไม่ทราบว่าใช้ปืนอะไรอยู่ครับ )

1. จับปืนดี ต้อง grip ปืนให้เหมือนเดิมทุกครั้ง
2. จัดศูนย์ดี ศูนย์หน้าต้องชัด เป้าเบลอ ศูนย์หลังเบลอ เน้นเลยครับ ต้องเห็นศูนย์หน้าชัดครับ ถ้าเลยเวลาไปแล้วศูนย์หน้าเบลอแล้วให้วางเลยครับ ยิงไปก็เหมือนเดาสุ่มครับ
3. ลั่นไกดี ( บีบมือ ) ต้องไม่กระตุก กระชาก ครับ และจะต้องสัมพันธ์กับ การจัดสูนย์ครับ ( ลั่นไกขณะที่ศูนย์หน้าชัด )
4. ทบทวนนัดที่ผ่านมา ถ้าไม่เข้าเป้าหมายหรือนอกเหนือความคาดหมาย ว่าข้อผิดพลาดเกิดจากอะไร แล้วแก้ไข

ทุกคนเกิดมายิงแม่นกันทุกคนอยู่ในตัวเองแล้วครับ ( ควบคู่กับการฝึกฝน ) แต่ใกมการแข่งขัน ใครจะคุมให้แม่นได้นานกว่าเท่านั้นแหละครับที่เป็นตัวตัดสิน ฝีมือ 50% จิตใจ 50% ครับ

“ใจ” ความอดทน ความมั่นใจ และมีความจริงใจ นั่นแหละที่จะทำให้การยิงปืนได้บรรลุถึงเป้าหมาย ทำไมนักกีฬายิงปืนบางคนทำการซ้อมยิงดี แต่พอเข้าทำการแข่งขันแพ้ทุกครั้ง คะแนนซ้อมเคยได้สูงๆ แต่เวลาแข่งตกลงอย่างไม่น่าเชื่อ นั่นคือ “ใจ” ไปทำอารมณ์กับสิ่งแวดล้อม กลัวบ้าง เต้นบ้าง ไม่พอใจเสียงรบกวนบ้าง ผู้แข่งข้างเคียงทำลายสมาธิบ้าง ทำให้ไม่มีความจริงใจ ไม่ตั้งใจยิงปืนอย่างแท้จริงแล้วจะทำให้ท่านยิงปืนได้ดีอย่างไร ผลก็คือ “แพ้”






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก วาดเป้า 202.129.50.246 พุธ, 9/8/2549 เวลา : 08:08  IP : 202.129.50.246   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 25112

คำตอบที่ 6
       มันฝึกซ้อมครับ...ถามผู้รู้ขอคำแนนะจากเจ้าหน้าที่สนาม




 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

คำก้อน จาก คำก้อน 203.146.56.211 พุธ, 9/8/2549 เวลา : 09:12  IP : 203.146.56.211   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 25114

คำตอบที่ 7
       ขอบคุณครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก ศรีอรัญ 203.154.18.13 เสาร์, 12/8/2549 เวลา : 17:42  IP : 203.154.18.13   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 25303

คำตอบที่ 8
       ตอนนี้ใช้ปืน ของ kimber procarry HD II ครับ ขนาด 11มม. ทดลองยิงแห้งทั้งเช้าและเย็นครับ ระยะนี้ก็เริ่มเข้าเป้าดำแล้วครับ ระยะ 15 เมตร วันหน้าไปซ้อมยิงสนามจะลองเอาภาพมาให้ดูนะครับ ว่า พอใช้ได้หรือยัง
ขอบคุณหลายๆ เด้อครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

yahoo! จาก Yahoo! 58.147.21.149 อังคาร, 15/8/2549 เวลา : 20:28  IP : 58.147.21.149   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 25468

คำตอบที่ 9
       1 ต้องทำกิ๊ปให้เหมาะสมกับมือ
2 ต้องสังเกตให้ได้ว่าจับปืนแบบไหนแล้วยิงแม่น
3เวลาชี้อะไรต้องชี้ให้ตรงและตั้งใจให้ฝึกจนเป็นนิสัยถาวร
4 ต้องออกกำลังกายเป็นประจำให้ร่างกายแข็งแรง ระบบหายใจมั่นคง
5 เวลาเหนื่ยวไกลอย่างตื่นเต้นให้เป็นอัตโนมัติเหมือนปีบยาสีฟันตอนเช้า
6 เล็งให้ถูกหลักส่วนท่ายิงถนัดใครถนัดมัน ที่สำคัญอยู่ที่พลังของร่างกายและแขน



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก วันชัย 203.188.18.92 เสาร์, 23/9/2549 เวลา : 20:01  IP : 203.188.18.92   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 27294

คำตอบที่ 10
       ขอบคุณครับ คุณวันชัย แล้วผมจะลองดูใหม่อีกทีครับ วันอาทิตย์นี้ไปสนามจะไปลองยิงใหม่ ภาวนาว่าคงจะไม่ตื่นเต้น จนเกินไป ครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

yahoo! จาก Yahoo! 222.123.9.198 เสาร์, 23/9/2549 เวลา : 20:07  IP : 222.123.9.198   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 27295

คำตอบที่ 11
       ยิงให้เข้า x ครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก มือปืน 58.8.136.60 พฤหัสบดี, 16/11/2549 เวลา : 15:40  IP : 58.8.136.60   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 30514

คำตอบที่ 12
       อ่านของคุณวาดเป้าแล้วมึนครับ ง่าย ๆ ครับ 1 . หลับตาซ้ายเล็งด้วยสายตาขวา 2. ยอดศูนย์หน้าเสมอช่องบากศูนย์หล้ง 3. สุดลมหายใจให้เต็มปอด แล้วผ่อนออกครึ่งหนึ่ง ( ครึ่งเดียวนะครับ ) กลั้นเอาไว้ 4. ค่อย ๆ เหนี่ยวไกจนกว่าปืนจะลั่นไปเอง ถ้าทำได้อย่างนี้แล้วเล็งไหตรงไหนก็โดนตรงนั้นแหละครับ ส่วนมากจะไปเสียจังหวะที่ 4 กระตุกไก ครับ ว่าง ๆ มาที่สนามยิงปืนหาดใหญ่ซิครับ ยิงไม่ถูกไม่ให้ออกจากสนามครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก kimber 203.113.76.7 จันทร์, 20/11/2549 เวลา : 16:56  IP : 203.113.76.7   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 30723

คำตอบที่ 13
       ขอบคุณมากครับ สำหรับคำแนะนำของทุกท่าน ตอนนี้ก็ดีขึ้นมากแล้วครับ เข้าเป้าดำแล้วครับ จากคำแนะนำของทุกๆ ท่าน จะนำไปปฏิบัติทุกข้อครับ....




 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

Yahoo! จาก Yahoo! 222.123.77.238 พุธ, 22/11/2549 เวลา : 10:45  IP : 222.123.77.238   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 30867

คำตอบที่ 14
       การยิงปืน
การที่จะยิงปืนได้ดีนั้น จะมีปัจจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยมีปัจจัยหลักๆ 3 อย่างคือ

1. พื้นฐานในการยิงปืน จะประกอบไปด้วย

1.1ท่ายืน: มีความสมดุล นิ่ง อยู่ในแนวเป้าหมาย

1.2การจับปืน: สบายๆ แน่ใจเสมอว่าการเล็งจะอยู่ในแนวเป้าหมาย เป็นไปอย่างธรรมชาติ

1.3การหายใจ: พัฒนาจังหวะของการหายใจสำหรับการยิงทุกครั้ง และทุกๆการแข่งขัน การปล่อยกระสุนจะต้องเกิดขึ้นในช่วงที่มีการหยุดหายใจในสภาพธรรมชาติ

1.4การเล็ง: จะเน้นที่ศูนย์หน้า ให้อยู่ในบริเวณเป้าหมายที่กำหนด การเคลื่อนที่จะอยู่แต่ในบริเวณนี้เท่านั้น

1.5การควบคุมไกปืน: จะมีความสัมพันธ์กับท้ายปืน (Rear) ขณะที่การเล็งจะอยู่ในแนวเส้น ตรงระยะเวลาในการเหนี่ยวไกจะขึ้นอยู่กับชนิดการแข่งขัน

1.6การยิง: ยิงอย่างมั่นใจโดยปฏิบัติตามขั้นตอนที่ฝึกมาอย่างเคร่งครัด

1.7การรักษาสภาพหลังการยิง(follow through): ต้องมีความต่อเนื่องในการเล็งและการเหนี่ยวไกหลังจากการยิง

1.8การวิเคราะห์: ต้องมีการวิเคราะห์ การยิงของเรา เพื่อเป็นตัวชี้ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ซึ่งจะทำให้เราสามารถจะแก้ไขข้อผิดพลาดได้

2. การฝึกฝน

จะต้องมีการฝึกฝนอย่างต่อเนื่องทั้งทางร่างกายและจิตใจ

3. เครื่องมือ , อุปกรณ์

ปืน : ใช้ปืนที่เหมาะกับตัวเรา เตรียมตัวสำหรับการยิงแห้ง ตรวจสอบศูนย์หน้าและศูนย์หลัง น้ำหนักไกปืนต้องถูกต้อง ทดสอบกลุ่มกระสุนสำหรับปืนของเรา

อุปกรณ์ทั่วๆไป : น้ำมัน ไขควง ที่ทำความสะอาดลำกล้อง นาฬิกา บันทึกประจำวันของการยิง แว่นสายตา ปากกา ยากันยุง และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

เครื่องแต่งกาย : รองเท้าที่สบายและเหมาะสม เสื้อผ้าแบบสบายๆ หมวกและที่ปิดหัว















1.พื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการยิงปืน

1.1 การตั้งท่าและความมั่นคง

จุดประสงค์

1. ก่อให้เกิดความสมดุลย์ และความมั่นคงของร่างกายและมือ โดยให้มีการกระทบต่อระบบกล้ามเนื้อและโครงร่างให้น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้

2. รักษาระดับพื้นที่การใช้แขนและพื้นที่การยิงให้น้อยที่สุด

3. รักษาระดับ ศีรษะและแขนให้อยู่ในจุดที่เหมาะสม เพื่อให้ตามองเห็นได้ชัดที่สุดระหว่างการเล็งเป้าหมาย

4. เพื่อที่จะทำให้มีความมั่นคงตลอดเวลาสำหรับการยิง

การเปลี่ยนแปลงหรือการแปรผัน
น.น.และรูปร่างที่แตกต่างกัน อาจจะมีผลทำให้เกิดการแปรผัน เราจะต้องวิเคราะห์การตั้งท่าของตัวเรา และจะต้องระมัดระวัง ในที่จะเปลี่ยนแปลงแม้จะมีเหตุผลในการเปลี่ยน

การตั้งท่าที่สมบูรณ์แบบ
1. วางเท้าให้ห่างกันประมาณ ความกว้างของไหล่และให้ขนานกันมากที่สุด ในขณะที่จะทำการยิง โดยอาจจะเคลื่อนไหวแบบช้าๆ ให้กว้างขึ้นประมาณ 10 ซ.ม.

2. ให้ น.น.ตัว และน.น.ปืน ตกกระจายบนขาทั้ง 2 ข้าง

3. ยืนตรงแต่มีการผ่อนคลาย ให้ น.น. ตกที่ระดับสะโพก เพื่อหลีกเลี่ยงการกระทบต่อร่างกายและกล้ามเนื้อหลัง

4. แขนที่ใช้ยิงจะต้องเหยียดเต็มที่ พร้อมกับข้อมือ และข้อศอกจะต้องนิ่งที่สุด

5. มองจากด้านบน โดยให้มุมของแขนกับไหล่อยู่ที่ประมาณ 12-20 องศา

6. แขนที่ไม่ใช้ยิง จะต้องผ่านคลาย โดยอาจจะเหน็บอยู่ ที่กระเป๋าหรือเข็มขัดด้านหน้า เพื่อป้องกันการเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น

7. เงยศีรษะขึ้นและจ้องที่เป้าหมาย เพื่อที่ตาจะปรับได้อย่างถูกต้องและปราศจากการรบกวน

8. ในจุดยิงความสมดุลที่ถูกต้องจะถูกพบ โดยการเคลื่อนไหวของแขนเข้าหาเป้าหมายอย่างช้าๆ

9. ในจุดที่เตรียมพร้อม 45 องศากับเป้า แขนจะถูกยกขึ้นมาสู่จุดยิงโดยการบังคับของกล้ามเนื้อไหล่เท่านั้น โดยส่วนอื่นๆ จะไม่เคลื่อนไหว

การผ่อนคลายคือหลักที่สำคัญที่สุดของการพักร่างกาย

การฝึก
เราจะต้องทำตัวให้คุ้นเคยกับการตั้งท่าที่ถูกต้องในทุกๆครั้งที่เรายืนอยู่ที่เส้น หรือช่วงระหว่างการยิงแห้ง การฝึกที่ผิดๆ จะทำให้เราเคยตัวและทำให้เรายากที่จะก้าวสู่ขั้นสูงต่อไป ฉะนั้นจึงควรฝึกการตั้งให้ถูกต้องและทำให้คุ้นเคย



1.2 การจับปืน

ทิศทางของกระสุนจะเปลี่ยนแปลงเนื่องมาจากการกำปืนที่แตกต่างกัน การจับปืนที่ถูกแบบนั้นจะรู้สึกว่าฝืนธรรมชาติอยู่เล็กน้อย เพราะปรากฏว่าผู้ที่ยังไม่เคยฝึกมาก่อน เมื่อจับปืนมักจะจับไม่ถูกเสมอ การจับปืนในระยะแรกๆจะลำบากพอควร แต่เมื่อฝึกแล้วก็สามารถจะทำได้

การจับปืนนั้น ก่อนอื่นจะต้องทำมือให้เป็นรูปตัว V เอาด้ามปืนสอดเข้าระหว่างตัว V ให้ส่วนบนของมือเสมอกันแล้วกำปืนด้วยนิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อย นิ้วชี้ยังไม่ใช้งานให้แนบอยู่ข้างปืนเหนือโกร่งไกก่อน นิ้วหัวแม่มือเหยียดแนบข้างตัวปืนอยู่บนส่วนบนของด้ามปืน การแตะไกของนิ้วชี้ก็ให้ใช้ส่วนกลางของนิ้วข้อปลายเป็นส่วนที่แตะไก การแตะไกในลักษณะนี้ในตอนแรกๆจะขัดๆไม่สะดวก เนื่องจากนิ้วจะต้องบิดเล็กน้อย ผู้ฝึกก็จะต้องพยายามแก้ไขโดยการบิดนิ้วสักระยะหนึ่ง อย่าแก้ไขโดยการเลื่อนมือเป็นอันขาด ถ้าผู้ฝึกเลื่อนมือเพื่อให้แตะไกสะดวก การจับปืนจะผิดทันที ผลก็จะทำให้การจับปืนผิดไป ผู้ฝึกจะต้องพยายามฝึกลั่นไกให้ถูกวิธีโดยไม่เปลี่ยนการจับปืน ซึ่งจะใช้เวลา 2-3 วันก็จะสามารถทำได้



1.3 การควบคุมการหายใจ

การหายใจจะต้องอาศัยการเคลื่อนไหวของท้อง กล้ามเนื้อหน้าอกและหลัง สำหรับการยิงปืนนั้นได้มีความคิดเกิดขึ้นว่า ถ้ามีการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อให้น้อยที่สุด การยิงน่าจะดีที่สุด จึงคิดว่าน่าจะมีการหายใจให้น้อยที่สุดจนกระทั่งไม่หายใจเลยในระหว่างการปล่อยกระสุนออกไป

การกลั้นหายใจ
เมื่อทำการกลั้นหายใจ โลหิตจะขาดออกซิเจน ซึ่งถ้านานมากจะเกิดอาการหน้ามืด และสิ้นสติในที่สุด เนื่องมาจากการแตกตัวของเซลล์สมอง อันมีผลมาจากการที่เลือดไม่ได้รับออกซิเจนนั่นเอง

เราควรจะมีการฝึกการใช้หายใจให้เป็นประโยชน์ต่อตัวเรามากที่สุด โดยเฉลี่ยเราต้องการระยะเวลาประมาณ 6-10 วินาทีในการที่จะไม่ต้องหายใจ เพื่อการยิงที่แม่นยำ แต่เราจะต้องเข้าใจรูปแบบของระบบหายใจที่เหมาะสมสำหรับตัวเรา ที่จะใช้ในการแข่งขัน แต่โดยทั่วไปจะมีพื้นฐานที่คล้ายคลึงกัน

รูปแบบปกติของการหายใจ
โดยปกติปอดของเราจะถูกใช้เพียง 1/3 ของพื้นที่เท่านั้น ดังนั้นช่วงที่มีการเรียนหรือนั่งเงียบๆเป็นเวลานาน เราจำเป็นต้องหายใจแบบลึกๆ สักครั้งเพื่อที่ขับอากาศเสียและรับอากาศใหม่

เมื่อเราหายใจออก ระยะช่วงสุดท้ายของการหายใจออกนั้นจะมีช่วงที่มีการหยุดหายใจโดยสภาพธรรมชาติเป็นระยะเวลาสั้นๆ ช่วงที่หยุดหายใจโดยสภาพธรรมชาตินี้ สามารถที่จะยืดระยะเวลาออกไปได้หลายวินาที โดยปราศจากอันตราย ซึ่งเป็นที่มาของระยะเวลาที่มีการคาดหวังไว้ว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อการยิงปืน โดยเมื่อกระสุนถูกปล่อยออกไปแล้ว ระบบหายใจก็จะเริ่มขึ้นใหม่

การพัฒนาระบบการหายใจสำหรับการยิงปืน
หายใจออก เพื่อไล่อากาศเสียออกให้หมด จากนั้นหายใจลึกๆ ประมาณ 2-3 ครั้งก่อนจะยกปืน การหายใจออกเป็นรูปแบบหนึ่งของการผ่อนคลายทางกายภาพด้วย

การยิงที่มั่นใจ
1. สมมุติว่าท่ายืนของเราถูกต้องแล้ว ก่อนที่จะยกปืนขึ้นจากที่วางปืน ให้หายใจเข้าลึกๆอย่างช้าๆ แล้วหายใจออก ประมาณ 2 ครั้ง

2. ขณะยกปืนขึ้น หายใจเข้าแบบปกติ เมื่อปืนถึงจุดบริเวณที่ตั้งเป้าหมาย หายใจออกจนถึงจุดที่หยุดการหายใจ

3. ช่วงที่หยุดการหายใจ เราสามารถทำการยิงได้ ขณะที่โครงร่างของเราจะต้องมั่นคง

4. เมื่อกระสุนถูกยิงออกไป ทุกส่วนของร่างกายจะยังคงรักษาสภาพเช่นนั้นอยู่ระยะหนึ่ง จากนั้นจึงลดแขนลง ระบบการใจปกติจะเริ่มขึ้นใหม่



1.4 การเล็ง

“หลับตาซ้ายเล็งด้วยสายตาข้างขวา ให้ยอดศูนย์หน้าอยู่กึ่งกลางช่องบากศูนย์หลัง เสมอสันบากศูนย์หลัง วางไว้ส่วนล่างของที่หมาย”

หลับตาซ้ายเล็งด้วยสายตาข้างขวา ให้ใช้สายตาข้างเดียวในการเล็งปืน และให้ใช้สายตาข้างเดียวกันกับมือที่ถือปืน ในกรณีนี้เป็นการถือปืนด้วยมือขวา

ให้ยอดศูนย์หน้าอยู่กึ่งกลางช่องบากศูนย์หลัง จัดศูนย์หน้าไว้ในช่องกลางของศูนย์หลัง โดยจัดจากช่องว่างระหว่างขอบศูนย์หน้าและศูนย์หลัง ให้มีความหนาของช่องพอๆกัน ก็แปลว่าศูนย์หน้าได้อยู่กึ่งกลางช่องของศูนย์หลังแล้ว

เสมอสันบากศูนย์หลัง จัดให้ส่วนบนของยอดศูนย์หน้าเสมอกับส่วนบนของศูนย์หลัง

วางไว้ส่วนล่างของที่หมาย จัดศูนย์ทั้งชุดไปวางไว้ที่ส่วนล่างของเป้า (วงกลมสีดำ) เสร็จพิธีการจัดศูนย์เล็ง

การเล็งลักษณะนี้ เป็นการจักภาพศูนย์เล็งเพื่อการฝึกสำหรับการฝึกยิงเป้าวงกลมดำเท่านั้นเพราะว่าการฝึกในลักษณะนี้มีขอบเขตจำกัดอยู่ที่ว่า วงกลมดำจะต้องมีขนาดเดิมเสมอ ถ้าวงกลมดำมีขนาดเปลี่ยนไป วิถีกระสุนก็จะเปลี่ยนไปด้วย การแก้ไขแนวการเล็งก็จะต้องแก้ไขโดยการตั้งศูนย์ใหม่หรือนำเอาเป้าเดิมที่เคยเล็งอยู่ไปทับกับเป้าใหม่แล้วเล็งด้วยเป้าเดิม

การเล็งลักษณะนี้ เรียกว่าการเล็งแบบ “เล็งนั่งแท่น” คือเอาเป้าไปวางไว้บนแท่นของศูนย์ปืนนั่นเอง ซึ่งมีการเล็งอีกลักษณะหนึ่ง ที่เรียกว่า “เล็งจี้” เอาศูนย์ปืนเล็งจี้ที่กลางเป้าไม่ว่าเป้าจะมีขนาดใดก็ตาม

การเล็งทั้งสองลักษณะนี้ขอแนะนำให้ใช้วิธีการเล็งแบบ “นั่งแท่น” เพราะจะเป็นแบบที่ปฏิบัติได้ง่ายกว่า ทั้งนี้เนื่องจากภาพของศูนย์ที่มองเห็นจะเป็นสีดำจะทับกับส่วนที่เป็นสีขาวของเป้าทำให้ตัดกันง่ายต่อการจัด ส่วนการเล็งแบบ “เล็งจี้” นั้นภาพสีดำของศูนย์ปืนจะไปทับกับวงดำซึ่งจะทำให้การจัดภาพการเล็งยากมาก ทั้งนี้เพราะขณะที่ทำการเล็งนั้น ภาพของศูนย์ปืนจะมีขนาดเท่ากับก้านไม้ขีดไฟเท่านั้น

การเล็ง
1. ศูนย์หน้าต้องมองเห็นชัด

2. ศูนย์หลังจะเบลอ

3. แสง 2 ข้างของศูนย์หน้าต้องเท่ากัน

4. ความกว้างของศูนย์หน้าขึ้นอยู่กับบุคคล

5. ความลึกของศูนย์หลังต้องเพียงพอที่จะเห็นศูนย์หน้าชัด

จุดรวมของการเล็ง
จะเน้นที่ศูนย์หน้า เป้าที่เห็นจะเบลอ เพราะตาของเราไม่สามารถจับจุดทั้งสองพร้อมกันได้การเน้นจุดที่ศูนย์หน้าต้องระวังความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างง่ายดาย และต้องรีบแก้ไขอย่างทันที

ตาทั้ง 2 ข้างต้องเปิดช่วงระหว่างการเล็ง โดยอาจจะมีการปิดตาข้างข้างหนึ่งบนแว่นที่ใช้ยิง แต่ควรจะให้แสงเข้าตาที่ไม่ได้ใช้เล็งได้บ้าง แว่นตาต้องเลือกให้เหมาะกับตัวเรา ถ้าเรามีปัญหาเรื่องสายตา ต้องปรึกษากับจักษุแพทย์

วิธีการเล็งโดยเปิดตาทั้ง 2 ข้างโดยไม่มีการปิดตาเป็นที่ชื่นชอบมากกว่า

การเล็งที่เหมาะสม
เปิดตาทั้งสองข้าง ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับการหาจุดที่ชัดเจน ให้ตัดสินใจว่าตาข้างไหนชัดเจนและให้ปิดตาอีกข้าง

เลนซ์ของแว่นตาที่ใช้ยิงปืน ต้องแน่ใจว่าจะไม่ปิดตาอย่างสมบูรณ์ขณะที่ตาทั้งสองข้างต้องการแสงเพื่อที่จะเล็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โฟกัสครึ่งหนึ่งของศูนย์หน้า ขอบของศูนย์หลังจะเบลอเล็กน้อยและเป้าหมายจะอยู่นอกโฟกัส

ความสนใจจะอยู่แนวเส้นตรงของการเล็ง ขณะเดียวกันจะต้องรักษาพื้นที่ให้การเคลื่อนไหวน้อยที่สุด (Wobble Area) การกดไกปืนจะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ ขณะที่ความสนใจจะอยู่ที่แนวเล็งตลอด

การเล็งจะใช้เวลา 6-8 วินาที ถ้าไม่สามารถยิงออกไปได้ในระยะเวลานี้
ให้ยกเลิกและให้เริ่มต้นทั้งหมดใหม่อีกครั้ง



การตั้งศูนย์
ศูนย์ปืนจะประกอบด้วยศูนย์หน้าและศูนย์หลัง ศูนย์หน้าจะติดตายตัวไม่สามารถจะปรับตั้งได้ การปรับตั้งจะปรับตั้งที่ศูนย์หลัง โดยการเลื่อนศูนย์หลังขึ้นหรือลง เลื่อนไปทางซ้ายหรือทางขวา

หลักการตั้งมีดังนี้ เมื่อเรายิงออกไป ตำบลกระสุนตกไปที่ใดก็ตาม ให้ถือหลักว่าเราต้องการจะเลื่อนตำบลกระสุนตกไปที่ใดก็ให้เลื่อนศูนย์หลังไปตามนั้น เช่น ตำบลกระสุนตกต่ำกว่าวงดำ เราต้องการเลื่อนกระสุนให้ขึ้น เราก็เลื่อนศูนย์หลังขึ้น ถ้าต้องการเลื่อนตำบลกระสุนตกลงข้างล่าง เราก็เลื่อนศูนย์หลังลงข้างล่าง ต้องการให้กลุ่มกระสุนเลื่อนไปทางขวา ก็เลื่อนศูนย์หลังไปทางขวา ต้องการให้กลุ่มกระสุนเลื่อนไปทางซ้าย ก็เลื่อนศูนย์หลังไปทางซ้าย

วิธีการเลื่อนศูนย์อย่างใดก็จะต้องศึกษาดูจากอาวุธปืนในแต่ละประเภท หรือแต่ละบริษัทผู้ผลิต แต่ส่วนมาก ถ้าตัวตั้งศูนย์อยู่ด้านบน การหมุนเกลียวเข้าเป็นการลดศูนย์ลง การหมุนเกลียวออกเป็นการยกศูนย์หลังขึ้น ตัวตั้งทางข้างถ้าหมุนเกลียวเข้าจะเลื่อนกลุ่มกระสุนไปทางขวา ถ้าหมุนเกลียวออกจะเลื่อนกลุ่มกระสุนไปทางซ้าย เหมือนกับการใช้กฎมือขวา คือให้นิ้วโป้งเป็นทิศทางของตำบลกลุ่มกระสุนที่จะเลื่อนไป และนิ้วทั้ง4 เป็นทิศทางการหมุนเกลียว



1.5 การลั่นไก

การลั่นไกปืนจะต้องค่อยๆกดไกเบาๆ จนกว่าปืนจะลั่นเอง โดยที่ผู้ยิงอาจจะยังไม่รู้สึกตัว ปืนจะไม่มีอาการเคลื่อนไหว และภาพของการเล็งเหมือนเดิม จึงจะเป็นการลั่นไกที่ถูกต้อง ซึ่งกระสุนจะถูกตรงที่เล็งเอาไว้ ผู้ยิงไม่ควรจะรีบยิงเมื่อการเล็งถูกต้องเพราะกลัวปืนจะเคลื่อนออกจากแนวเล็งเสียก่อน เพราะการรีบยิงจะทำให้การลั่นไกกระตุก ซึ่งเป็นผลทำให้แนวเล็งเคลื่อนออกจากเป้าก่อนที่กระสุนปืนจะหลุดพ้นออกจากลำกล้งปืน การที่จะลั่นไกปืนให้มีความนุ่มนวลไม่กระตุกหรือกระชากนั้น มิใช่ว่าเมื่อผู้ยิงเข้าใจแล้วก็จะสามารถกระทำได้ ผู้ยิงจำเป็นที่จะต้องฝึกลั่นไกโดยไม่ใส่กระสุนปืน (dry fire) เป็นระยะเวลานานๆจนเกิดความคุ้นเคย และเกิดความชำนาญขึ้นเอง เมื่อเกิดความชำนาญขึ้นแล้ว ก็จะสามารถลั่นไกได้นุ่มนวลโดยไม่ต้องตั้งใจมากมายนัก

การฝึกลั่นไกโดยไม่ใส่กระสุนปืนนั้น เมื่อทำการฝึกจะสามารถตรวจสอบได้ว่าการปฏิบัตินั้นถูกต้องหรือไม่ โดยการเล็งศูนย์ปืนไว้ที่เป้า และพยายามลั่นไกให้ลั่นแล้ว ถ้าแนวเล็งไม่ได้หลุดออกจากจุดที่เล็ง ก็หมายความว่าการฝึกลั่นไกนั้นถูกต้อง ถ้าการลั่นไกนัดใดเมื่อลั่นแล้ว แนวศูนย์เคลื่อนออกจากแนวเล็งก็หมายความว่าการลั่นไกในนัดนั้นไม่ถูกต้องรุนแรงเกินไปจนทำแนวเล็งเคลื่อน ถ้าการยิงในนัดนั้นมีกระสุนปืน กระสุนปืนก็จะพลาดเป้า การฝึกยิงปืนโดยไม่ใส่กระสุนปืนนี้มีความสำคัญมาก ผู้ยิงที่ยังขาดความชำนาญในการลั่นไกจะต้องพยายามฝึกลั่นไกโดยไม่ใส่กระสุนปืนให้มากๆ อย่าใช้วิธีฝึกโดยใส่กระสุนปืนตลอดเวลา การฝึกโดยใช้กระสุนตลอดเวลานั้นจะไม่ได้ผลในการฝึกการลั่นไกได้ดีเท่า ในระยะแรกๆของการฝึก ผู้ฝึกจะต้องพยายามฝึกลั่นไกโดยไม่ใส่กระสุนประมาณวันละ 70-80 ครั้ง หรือมากกว่านั้น แต่การฝึกลั่นไกโดยใช้กระสุนเพียงวันละประมาณ 20-30 นัดเท่านั้น ซึ่งการฝึกลั่นไกโดยไม่ใส่กระสุนนั้นเป็นการฝึกที่ทรมานจิตใจมาก ผู้ฝึกมักจะไม่ชอบแต่ถ้าพยายามทำให้ได้ก็ขอรับรองว่าการฝึกจะได้ผลอย่างรวดเร็ว จะสามารถยิงได้อย่างนิ่มนวลโดยไม่มีอาการกระชากหรือกระตุกไก ซึ่งการลั่นไกในลักษณะนี้จะเป็นไปโดยอัตโนมัติ เหมือนกับการลั่นไกโดยไม่ใส่กระสุน (การฝึกวิธีนี้สามารถกระทำได้เฉพาะ ปืนอัดลมแบบใช้ CO2 และแบบอัดอากาศเท่านั้น ปืนอัดลมแบบสปริงไม่สามารถฝึกแบบนี้ได้ ยกเว้นแบบที่ใช้ไกไฟฟ้า)



1.6 การยิง

การที่จะชนะการแข่งขัน เราจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆอย่างถูกต้อง การเช่นนั้นจะทำให้เราสามารถควบคุมปฏิกิริยาต่างๆของตนเองได้ และจะนำเราไปสู่ชัยชนะดังนั้นจึงควรมีลำดับการยิงดังนี้

1. หยิบปืนขึ้นมา วางอย่างระวังในมือที่ใช้ยิง โดยมือที่ไม่ได้ใช้ยิง

2. ตรวจสอบการกำปืน เพื่อดูว่าศูนย์ตกหรือไม่

3. ตั้งท่าที่เราถนัดและถูกต้อง

4. หายใจลึกๆ 1-2 ครั้ง

5. หายใจครั้งที่ 3 พร้อมกับการยกปืนขึ้น เมื่อถึงจุดเป้าหมายที่เราตั้งใจไว้ หายใจออกจนถึงจุดต่ำสุดของการหายใจออก โดยเน้นที่ศูนย์หน้าเอาไว้

6. สร้างประสาทสัมผัสกับไกปืนเบาๆเป็นครั้งแรก

7. รักษาแนวเล็ง

8. เพิ่มแรงกดที่ไกปืน

9. เน้นการเล็งแนวยิง

10. ยิงโดยรักษาแนวเล็งไว้ตลอดเวลา

11. รักษาสภาพ ทุกขั้นตอนของพื้นฐานการยิง

12. จับภาพในช่วงที่กระสุนถูกปล่อยออกไป

13. วิเคราะห์ ตรวจสอบและแก้ไข

1.7 การรักษาสภาพต่างๆ หลังการยิง

จุดประสงค์

1. ควบคุมพื้นฐานของการยิงทั้งในช่วงก่อนและหลังการยิง

2. สามารถที่จะประเมินความผิดพลาดที่เกิดขึ้น

การที่จะสามารถควบคุมการยิงได้อย่างสมบูรณ์ จะต้องมีความตั้งใจอย่างมาก โดยอาศัยประสาทสัมผัสและพื้นฐานที่ดีในการฝึกตามขั้นตอนต่างๆ เราจะต้องรู้ความผิดพลาดหรือสิ่งที่ถูกต้องเมื่อกระสุนปล่อยออกมา และจะต้องรู้ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร เพื่อที่เราจะได้นำมาวิเคราะห์ได้ถูกต้อง

การรักษาสภาพเช่นนี้ เป็นส่วนหนึ่งของกีฬาหลายๆชนิดเช่น กอล์ฟ เป็นต้น การรักษาสภาพจะมีปัญหาการผิดพลาดเกิดขึ้นเนื่องมาจาก

1. กล้ามเนื้อในช่วงการยิงกระสุนออกไป

2. การกระตุกของกล้ามเนื้อ ซึ่งมักจะพบขณะที่กระสุนอยู่ในลำกล้อง

3. ไม่สามารถกำหนดจุดยิงที่ถูกต้องบนเป้าไว

การรักษาสภาพสามารถพบเห็นได้หรือไม่

เราสามารถจะพบได้เพียงบางส่วนเช่น การเหนี่ยวไกปืน การยืน การหายใจ และการถือปืน

พื้นฐานการยิงของเราไม่ใช่จะต้องรักษาสภาพแค่ช่วงปล่อยกระสุนออกเท่านั้นแต่ต้องรักษาสภาพต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง เพื่อไม่ให้มีการผิดพลาดเกิดขึ้นหลังปล่อยกระสุนออกไป ทุกขึ้นตอนของการแข่งขันจะต้องรักษาสภาพไว้อย่างมั่นคง จนกระทั่งกระสุนได้ทะลุเป้าหมายตามที่เราคาดไว้ ขึ้นตอนต่างๆนั้นจะประกอบไปด้วย

1. การตั้งท่า

2. การกำปืน

3. การหายไจ

4. การถือปืน

5. การเล็ง

6. การลั่นไก

7. follow through

การรักษาสภาพเกี่ยวกับการเล็ง

เรายังคงเน้นที่ศูนย์หน้า โดยสังเกตว่าศูนย์หน้าอยู่ตรงจุดไหน หลังจากการยิง (ในกรณีมีแรงถีบของปืน) เพราะแรงถีบจะทำให้ศูนย์เบนออกจากแนว

เมื่อนิ้วที่เหนี่ยวไกเริ่มเคลื่อนไหว มันต้องไม่ถูกรบกวน จนกระทั่งกระสุนได้ถูกปล่อยออกไป แรงต้านไกปืนจะยังคงอยู่ แม้กระสุนจะถูกปล่อยออกไป เราควรจะกดเข้าไปอีกประมาณ 5 ม.ม. เพื่อเน้นการรักษาสภาพหลังการยิง (follow through)

เราต้องจดจำไว้เสมอว่า เราจะต้องกระทำอย่างต่อเนื่องทั้งก่อนและหลังการยิง



1.8 การวิเคราะห์การยิง

1. อธิบายแนวเล็ง ขณะที่กระสุนถูกปล่อยออกไป

2. รายละเอียดเกี่ยวกับการลั่นไก

3. จุดยิงที่เกิดจาก ข้อ1 และ 2

4. เปรียบเทียบจุดเป้าหมายกับการขานคะแนน

5. กระสุนเข้าบริเวณเป้าหมายหรือไม่

6. ถือปืนนานไปไหม

7. แรงต้านไกปืนเป็นอย่างไร

8. เราจะต้องรักษาสภาพอะไรไว้ตลอดระยะเวลาที่กระสุนถูกปล่อยออกไป

9. มีกระสุนนัดไหนหรือไม่ที่สร้างความประหลาดใจให้กับเรา

10. การคาดหวังสัมพันธ์กับผลที่ออกมาหรือไม่

11. ต้องมีการบันทึก ทั้งความถูกต้องและความผิดพลาด ไม่ใช่แค่จดไว้ในใจเท่านั้น



การที่เราสามารถเข้าใจได้ว่าอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เราได้ยิงดีหรือไม่ดี จะทำให้เราสามารถแก้ไขกายิงที่ผิดพลาดของเรา ผู้ฝึกสอนอาจจะสามารถช่วยวิเคราะห์ความผิดพลาดบางอย่างของเราได้แต่จะช่วยได้เพียงบางส่วนเท่านั้น เมื่อถึงจุดๆหนั่งจะไม่มีใครสามารถที่จะช่วยเราได้ ยกเว้นตัวเราเองเพราะเราเป็นผู้ยิงไม่ใช่ผู้ฝึกสอน เราควรจะวิเคราะห์สิ่งต่างๆได้ด้วยตนเอง ซึ่งจะทำให้เราสามารถพัฒนาตัวเองให้ก้าวขึ้นสู่ระดับมืออาชีพต่อไป

การวิเคราะห์ความผิดพลาด

ถ้าเราปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆอย่างถูกต้อง เมื่อการผิดพลาดเกิดขึ้น เราก็จะสามารถวิเคราะห์ได้ว่าเกิดจากอะไร โดยสังเกตจากกลุ่มการยิงซึ่งจะมีความแตกต่างกันตามการยิงของแต่ละคน

การเรียนรู้เกี่ยวกับพื้นฐานของการยิง และสามารถจัดศูนย์ได้ตามต้องการจะทำให้กระสุนเข้าสู่จุดศูนย์กลางของเป้าหมายตามที่เราต้องการ แต่ถ้ามีการผิดพลาดเกิดขึ้น ก็จะเห็นได้จากการย้ายของกลุ่มกระสุนที่ห่างออกจากเป้าหมาย ยกเว้นความผิดพลาดนั้นเกิดจากตัวปืน ซึ่งเป็นอีกกรณีหนึ่ง

ความผิดพลาดอาจจะเกิดได้จากหลายสาเหตุ

1. การเล็งที่ผิดเป้าหมาย : เป็นแนวขนาน (แนวศูนย์ถูกต้อง แต่ผิดจุดเป้าหมาย) เป็นมุมแหลม (ศูนย์หน้าไม่สัมพันธ์กับศูนย์หลัง)

2. ผลการการกำมือ : แน่นหรือหลวมเกินไป

3. จากการเหนี่ยวไกปืน หรือ กางนิ้วมือที่ยิงไม่ถูกต้อง

4. ความผิดพลาดของปืน : มีผงตะกั่วไปกระบอกปืน ใช้กระสุนผิดหรือใช้กระสุนไม่เหมาะสม

5. กระตุก หรือ สะดุ้ง

จงกำจัดข้อผิดพลาดเหล่านี้ด้วยความอดทนและสังเกตอย่างละเอียด

กระสุนสามารถจะไปจุดไหนของเป้าก็ได้ โดยอาจจะเกิดจากความผิดพลาดเหล่านี้

1. เล็งเป้านานเกินไป

2. เหนี่ยวไกไม่ดี

3. ความผิดพลาดหลายอย่างรวมกัน

จงแยกแยะความผิดแต่ละอย่างออกมาในเวลานั้น คนยิงเท่านั้นที่จะสามารถกระทำได้ยกตัวอย่างกรณีสูงขวา ผู้หัดใหม่จะอยู่ที่ 6 ของ 2 นาฬิกา แต่ผู้ที่มีความชำนาญจะอยู่ที่ 9 หรือ 10 ของ 2 นาฬิกา

เพราะฉะนั้นเมื่ออยู่ระหว่างการฝึก จะต้องทำการทบทวนความผิดพลาดต่างๆที่เกิดขึ้นโดยจะต้องทบทวนในแต่ละขั้นตอนที่มีการผิดพลาดและเมื่อทำการทบทวนขั้นตอนใดๆก็จะต้องคำนึงเฉพาะขั้นตอนนั้นเท่านั้น ไม่ใช่คำนึงถึงทั้งหมด เช่นในการฝึกการลั่นไก ก็จะคิดและทบทวนเฉพาะแต่จุดๆนี้เท่านั้น การคิดเรื่องอื่นๆด้วยจะทำให้สับสนและหนักเกินไปสำหรับเรา

จังหวะการยิงที่ไม่ต่อเนื่อง

เกิดจากความลังเลในการยิงนัดแรกหรือนัดต่อๆมา

เราต้องพัฒนาจังหวะการยิงให้ต่อเนื่อง และพร้อมที่จะนำมาใช้ตลอดเวลา ฝึกหัดการใช้เวลาสำหรับทุกๆนัดและทุกๆจุด กำหนดเวลาการยิงให้ชัดเจนโดยมีการเผื่อเวลาสำรองเอาไว้ด้วย

การวิเคราะห์การยิงจะมี 3 ขั้นตอน

1. มองเห็นศูนย์หรือไม่

2. เหนี่ยวไกได้อย่างนุ่มนวลไหม

3. มีการรักษาสภาพอย่างต่อเนื่อง (follow through) หลังกระสุนปล่อยออกไปไหม

ถ้ามีอะไรเบี่ยงเบนจาก 3 หัวข้อนี้หมายความว่า บางส่วนของการวางแผนไม่ถูกนำมาใช้เราจะต้องย้อนกลับไปดูตัวเราเองใหม่อีกครั้ง

แผนจะต้องถูกเขียนขึ้นมาอย่างน้อย 2 อาทิตย์ ก่อนการแข่งขัน และจะต้องอ่านอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ในอาทิตย์แรก และวันละครั้งในอาทิตย์ที่2 จากนั้นในตอนเช้าของวันแข่ง ทบทวนอีก 1 รอบ จะต้องไม่มีการเปลี่ยนแผนการในช่วง 2 อาทิตย์นี้ เราจะต้องวางแผนมาเรียบร้อยแล้วจึงนำมาปฏิบัติ และจะต้องมีการทบทวนแผนอย่างดี

ในการแข่งขันเราก็จะคำนึงถึงเฉพาะ 3 หัวข้อ ดังที่กล่าวมาแล้ว จะไม่มีการอ่านแผนในระหว่างการแข่งขันเพราะอาจจะทำให้เราสับสัน ทุกอย่างจะเป็นไปโดยอัตโนมัติ เราจะพิจารณาจากผลที่ได้ออกมา เช่นถ้าผลที่ออกมาไม่เป็นไปตามที่เราคาด เราก็จะต้องมาตรวจสอบตาม 3 หัวข้อที่กล่าวมา เช่นอาจจะมองเห็นศูนย์ไม่ชัดเจนเท่าที่ควร นัดต่อไปสมมติฐานของเราก็คือศูนย์ต้องชัด การวางแผนจะต้องกระทำทุกการแข่งขันและทุกนัดที่ยิง ไม่ใช่ใช้แผนเดียวกันตลอด

การวิเคราะห์กลุ่มกระสุน (Group Evaluation)

เพื่อดูความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เพราะถ้าไม่ผิดพลาดอะไรเลยกลุ่มกระสุนจะอยู่รอบๆจุดศูนย์กลางของเป้า ถ้าผิดไปจากนี้เราจะต้องวิเคราะห์อย่างเที่ยงตรง

สูง/สูงมาก

Ø ระดับศูนย์หน้าพอดีกับระดับศูนย์หลังหรือไม่ หรือสูงกว่า

Ø ข้อมือนิ่งหรือไม่

Ø ถ้าการเล็งถูกต้อง มันสูงจากพื้นที่เป้าหมายหรือไม่ ทำไม?

Ø มีปัญหาเรื่องการสะท้อนกลับ (Recoil) หรือไม่

สูง/ขวา

Ø ข้อมือนิ่งหรือไม่ช่วงการเหนี่ยวไก

Ø การเหนี่ยวไกนิ่มนวลและต่อเนื่องหรือไม่

Ø การกำปืน คงที่หรือไม่

Ø ปืนเงยขึ้นหรือเปล่า

Ø มีการรักษาสภาพหลังยิงหรือเปล่า

ขวา/แนวราบ

Ø แสง 2 ข้างของศูนย์หน้าเท่ากันหรือไม่

Ø วางนิ้วที่เหนี่ยวไกยาวไปไหม

Ø แรงกดหัวแม่มือต่อด้านข้างของปืนมีปัญหาหรือไม่

Ø ปลายนิ้วมือที่เหนี่ยวไกอยู่ตรงจุดไหนของไกปืน

ต่ำ/ขวา

Ø ข้อมือนิ่งหรือไม่

Ø การเหนี่ยวไกนิ่มนวลและสัมพันธ์กับท้ายปืนไหม

กระสุนกระจาย

Ø วิเคราะห์เกี่ยวกับการเล็ง การควบคุมไกปืนและการรักษาสภาพ

Ø ศึกษาดูว่ามีแบบฝึกหัดใดที่ยังไม่ได้กระทำ

ต่ำ/ต่ำมาก

Ø นิ้วที่เหนี่ยวไกวางที่จุดศูนย์กลางของหรือไม่

Ø ใช้แรงเหนี่ยวไกมากกว่าปกติหรือไม่

Ø ศูนย์หน้าอยู่ระดับเดียวกับศูนย์หลังหรือไม่

Ø มีปัญหาเกี่ยวกับการสะท้อนกลับ (Recoil) ไหม

Ø จุดรวม (focus) เลยศูนย์หน้าไปแทนที่จะอยู่เหนือศูนย์หน้า

ต่ำ/ซ้าย

Ø การเหนี่ยวไกนิ่มนวลและสัมพันธ์กับท้ายปืนไหม

Ø นิ้วที่เหนี่ยวไกพ้นจากด้านปืนหรือเปล่า

Ø มีการรักษาสภาพหรือไม่

ซ้าย/แนวราบ

Ø แสง 2 ข้างของศูนย์หน้าเท่ากันหรือไม่

Ø แนวเล็งเคลื่อนไปทางซ้ายระหว่างการถือปืนหรือไม่

Ø มีช่องว่างระหว่างนิ้วที่เหนี่ยวไกกับด้ามปืนไหม

สูง/ซ้าย

Ø ข้อศอกและข้อมือนิ่งไหมระหว่างการยิง

Ø มีการสะท้อนกลับของปืนหรือไม่

Ø การเหนี่ยวไกนิ่มนวลและสัมพันธ์กับท้ายปืนหรือไม่

แนวดิ่งแคบ

Ø ศูนย์หน้าสัมพันธ์กับศูนย์หลังหรือไม่

Ø มีการหายใจสะดุดระหว่างการยิงหรือเปล่า

Ø เหนี่ยวไกก่อนเล็งพื้นที่เป้าหมายไหม

Ø ฝึกมาเพียงพอหรือไม่

แนวราบ

Ø ตัวส่ายไหม

Ø เท้าแยกห่างกันไปหรือไม่

Ø การกำด้านปืนคงที่ไหม

Ø จุดศูนย์กลาง (focus) อยู่ตรงไหนของศูนย์หน้า

เกาะกลุ่มตรงกลาง

Ø รูปแบบที่คาดหวัง และเป็นที่ต้องการของทุกคน



นี่คือผลสุดท้ายที่เราจะได้รับ ถ้าเรามีการฝึกฝนการใช้พื้นฐานอย่างถูกต้อง ซึ่งจะต้องใช้ความชำนาญผสมผสานกับการฝึกอย่างต่อเนื่อง



“ใจ” ความอดทน ความมั่นใจ และมีความจริงใจ นั่นแหละที่จะทำให้การยิงปืนได้บรรลุถึงเป้าหมาย ทำไมนักกีฬายิงปืนบางคนทำการซ้อมยิงดี แต่พอเข้าทำการแข่งขันแพ้ทุกครั้ง คะแนนซ้อมเคยได้สูงๆ แต่เวลาแข่งตกลงอย่างไม่น่าเชื่อ นั่นคือ “ใจ” ไปทำอารมณ์กับสิ่งแวดล้อม กลัวบ้าง เต้นบ้าง ไม่พอใจเสียงรบกวนบ้าง ผู้แข่งข้างเคียงทำลายสมาธิบ้าง ทำให้ไม่มีความจริงใจ ไม่ตั้งใจยิงปืนอย่างแท้จริงแล้วจะทำให้ท่านยิงปืนได้ดีอย่างไร ผลก็คือ “แพ้”



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก 55 124.121.24.101 ศุกร์, 1/12/2549 เวลา : 01:20  IP : 124.121.24.101   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 31232

      

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  



website รองรับการใช้งานทุกระบบปฏิบัติการของ PC Tablet SmartPhone ทุกระบบสามารถโพสข้อความและรูปภาพได้โดยไม่ต้องย่อไฟล์
เพื่อความปลอดภัยในการใช้ website WeekendHobby.Com สมาชิก เท่านั้น จึงจะตั้งกระทู้ หรือ ตอบกระทู้ได้ครับ
Login Click ที่นี่
สมัครสมาชิก Click ที่นี่



Since 22, Feb 2001 hit counter View My Stats  Truehits.net      วันศุกร์,29 มีนาคม 2567 (Online 2429 คน)