WeekendHobby.com
เครื่องมือในการใช้งาน website =>> สมัครสมาชิก | Login | Logout | เปลี่ยนไอคอนส่วนตัว | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อโฆษณา         View stat by Truehits.net


คืน 17 นี้อย่าลืมดู "ฝนดาวตก"
producer_att
จาก อัฐJUC1657
125.26.22.159
จันทร์ที่ , 16/11/2552
เวลา : 13:19

อ่านแล้ว = 4144 ครั้ง
 เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งตรวจสอบกระทู้
 แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน ส่งหาเพื่อน

       คืน 17นี้อย่าลืมดู "ฝนดาวตก" เริ่มดูได้ตั้งแต่เที่ยงคืนครึ่ง ช่วงพีคสุด ตีสี่ถึงตีห้า ของเช้ามืดวันพุธที่ 18 อาจเห็นได้100ดวงต่อชั่วโมง
เตรียมไปหาที่กางเต็นท์ดูดาวกันเถอะพี่น้อง

--------------------------------------------------
ฝนดาวตกสิงโต 2552
7 พฤศจิกายน 2552 รายงานโดย: วรเชษฐ์ บุญปลอด

ฝนดาวตกสิงโตหรือฝนดาวตกลีโอนิดส์ (Leonids) ในปีนี้อาจกลายเป็นข่าวดังและได้รับความสนใจมากเป็นพิเศษอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากนักดาราศาสตร์คำนวณพบว่าอัตราการเกิดดาวตกในฝนดาวตกกลุ่มนี้อาจสูงกว่าระดับปกติ และคาดว่าสามารถสังเกตเห็นได้ชัดในแถบตะวันออกของยุโรปจนถึงเกือบทั้งหมดของเอเชียโดยไม่มีแสงจันทร์รบกวน

ฝนดาวตกเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติซึ่งทำให้มองเห็นดาวตกจำนวนหนึ่งพุ่งออกมาจากบริเวณเดียวกันบนท้องฟ้า ฝนดาวตกเกิดขึ้นทุกปีและมีอยู่หลายกลุ่ม จำนวนดาวตกมีหลายระดับ ตั้งแต่ต่ำมากเพียงไม่กี่ดวงต่อชั่วโมงจนถึงมากกว่า 100 ดวงต่อชั่วโมง ฝนดาวตกเกิดขึ้นเมื่อโลกเดินทางฝ่าเข้าไปในบริเวณที่มีสะเก็ดดาวอยู่หนาแน่นในอวกาศ สะเก็ดดาวเหล่านี้มีต้นกำเนิดจากดาวหาง เมื่อดาวหางเข้าใกล้ดวงอาทิตย์ น้ำแข็งที่ผิวจะระเหิดและนำพาเศษชิ้นส่วนเล็ก ๆ ที่เรียกว่าสะเก็ดดาว (meteoroid) หลุดออกมาและทิ้งไว้ตามทางโคจร เราเรียกแนวของสะเก็ดดาวเหล่านี้ว่าธารสะเก็ดดาว (meteoroid stream) ฝนดาวตกสิงโตเกิดจากดาวหางเทมเพล-ทัตเทิล (55P/Tempel-Tuttle) มีคาบประมาณ 33 ปี ล่าสุดได้ผ่านเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์เมื่อ พ.ศ. 2541 ฝนดาวตกส่วนมากมีชื่อตามดาวหรือกลุ่มดาวที่จุดกระจายฝนดาวตก (radiant) ปรากฏอยู่ ฝนดาวตกสิงโตจึงมีจุดกระจายอยู่ในกลุ่มดาวสิงโต

ในอดีตนักดาราศาสตร์ไม่สามารถพยากรณ์เวลาและอัตราการเกิดดาวตกจากฝนดาวตกได้ หรือทำได้ก็ไม่แม่นยำนัก เทคนิคการพยากรณ์ซึ่งนำมาใช้กับฝนดาวตกสิงโตตั้งแต่ปี 2542 ด้วยการสร้างแบบจำลองเพื่อพยากรณ์การเคลื่อนที่ของสะเก็ดดาวโดยคำนึงถึงแรงภายนอกที่ส่วนใหญ่คือแรงโน้มถ่วงกระทำต่อสะเก็ดดาว ทำให้การพยากรณ์ฝนดาวตกสิงโตตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาค่อนข้างใกล้เคียงกับปรากฏการณ์จริง แม้จะยังมีโอกาสคลาดเคลื่อนได้

ดาวหางเทมเพล-ทัตเทิล มีธารสะเก็ดดาวอยู่หลายสาย ธารสายหลักที่โลกจะเข้าไปใกล้ในปีนี้กำเนิดขึ้นเมื่อดาวหางโคจรเข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์เมื่อ ค.ศ. 1466 และ 1533 โดยทั่วไปธารสะเก็ดดาวจะมีเส้นทางอยู่ใกล้วงโคจรของดาวหาง แต่เบี่ยงเบนไปเนื่องจากแรงรบกวนจากวัตถุต่าง ๆ ในระบบสุริยะ

ผลงานวิจัยโดยนักดาราศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญการพยากรณ์ฝนดาวตกจากอย่างน้อย 3 กลุ่ม ให้ผลใกล้เคียงกันว่าฝนดาวตกสิงโตในปีนี้จะมีดาวตกถี่มากที่สุดในเวลาเกือบตี 5 ของเช้ามืดวันพุธที่ 18 พฤศจิกายน 2552 ตามเวลาประเทศไทย ด้วยอัตราประมาณ 130 - 200 ดวงต่อชั่วโมง (เดิมคาดหมายว่าอาจสูงถึง 500 ดวง แต่ผลการพยากรณ์ล่าสุดเมื่อเดือนกันยายนลดลงมาที่ 200 ดวงต่อชั่วโมง) นอกจากนั้น ตัวเลขนี้ยังใช้กับสถานที่ที่ท้องฟ้ามืดสนิท ไม่มีสิ่งใดบดบังท้องฟ้า ไม่มีแสงรบกวน และจุดกระจายดาวตกอยู่ที่จุดเหนือศีรษะ

ฝนดาวตกสิงโตเริ่มขึ้นราววันที่ 10 พ.ย. โดยมีอัตราต่ำมาก แล้วจะค่อย ๆ สูงขึ้นจนสูงที่สุดในราววันที่ 17-19 พ.ย. หลังจากนั้นจึงลดลงและสิ้นสุดในราววันที่ 21 พ.ย. ช่วงวันที่มีดาวตกถี่มากที่สุด ประเทศไทยจะเริ่มสังเกตได้ตั้งแต่คืนวันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2552 โดยเริ่มในเวลาประมาณ 00:30 น. (เข้าสู่วันที่ 18) คาดว่าดาวตกในชั่วโมงแรกจะมีน้อยมาก อาจเห็นเพียงไม่กี่ดวงแต่มักพุ่งเป็นทางยาวบนท้องฟ้าโดยมีทิศทางมาจากซีกฟ้าตะวันออก

เมื่อเวลาผ่านไป จุดกระจายฝนดาวตกซึ่งอยู่ในกลุ่มดาวสิงโตจะเคลื่อนสูงขึ้นตามการหมุนของโลก อัตราการเกิดดาวตกก็จะเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ จากการคำนวณคะเนว่าช่วงเวลา 03:00 - 04:00 น. ควรนับได้อย่างน้อย 5 ดวง และอาจถึง 10 ดวง ดาวตกสามารถเกิดขึ้นได้ทั่วท้องฟ้า แต่เมื่อลากเส้นตามแนวของดาวตกแต่ละดวงย้อนกลับไปจะบรรจบกันที่บริเวณหัวสิงโตซึ่งมีลักษณะคล้ายเคียว มีดาวหัวใจสิงห์เป็นส่วนของด้ามเคียว

เมื่อใกล้เช้า กลุ่มดาวสิงโตจะเคลื่อนขึ้นไปอยู่สูงเหนือศีรษะ ผลการพยากรณ์ระบุว่าดาวตกอาจมีจำนวนมากที่สุดในช่วงเวลา 04:00 - 05:00 น. หากสังเกตในที่มืด ห่างไกลจากเมืองใหญ่ ช่วงเวลาดังกล่าวควรนับได้อย่างน้อย 60 ดวง และอาจสูงถึง 100 ดวง โดยในช่วงใกล้ตี 5 จะมีอัตราสูงสุดราว 1-2 ดวงต่อนาที และอาจสูงกว่านี้ที่ 2-3 ดวงต่อนาที นักดาราศาสตร์คาดว่าจะมีลูกไฟ (fireball) ซึ่งเกิดจากสะเก็ดดาวขนาดใหญ่ให้เห็นได้บ้าง

หากเป็นไปตามการพยากรณ์ ช่วงเวลา 05:00 - 05:30 น. ควรนับดาวตกได้เป็นจำนวนราวครึ่งหนึ่งของช่วงเวลา 04:00 - 05:00 น. ก่อนท้องฟ้าสว่าง สำหรับในเมืองที่มีแสงไฟฟ้าและมลพิษรบกวน ดาวตกที่นับได้จะต่ำกว่านี้ประมาณ 6-7 เท่า สำหรับผู้ที่ต้องการดูฝนดาวตกครั้งนี้ เนื่องจากคาดหมายว่าดาวตกจะมีจำนวนมากที่สุดในช่วงใกล้เช้ามืด ดังนั้นหากไม่สะดวกที่จะเฝ้าสังเกตตลอดทั้งคืน แนะนำให้นอนเอาแรง แล้วตั้งนาฬิกาปลุกเพื่อตื่นมาดูตั้งแต่ตี 4 เป็นต้นไป

แม้ว่าการพยากรณ์ฝนดาวตกอาจมีความแม่นยำเชื่อถือได้มากขึ้นตามที่ได้พิสูจน์มาแล้ว แต่เราต้องตระหนักว่าฝนดาวตกแตกต่างจากปรากฏการณ์อื่นอย่างสุริยุปราคาหรือจันทรุปราคาที่สามารถระบุเวลาได้แม่นยำถึงระดับทศนิยมของวินาที เรามองไม่เห็นสะเก็ดดาวในอวกาศ จึงไม่สามารถล่วงรู้ได้ว่าแท้จริงแล้วมันเคลื่อนที่และอยู่กันหนาแน่นมากน้อยเพียงใด การพยากรณ์ที่กล่าวมานี้อาศัยแบบจำลองซึ่งพอจะใช้เป็นแนวทางได้ แต่ไม่สามารถยืนยันได้ว่าจะตรงกับปรากฏการณ์จริง หากตรงก็แสดงว่าวิธีการพยากรณ์ที่ทำมานั้นได้เดินมาถูกทางแล้ว หากไม่ตรงก็เป็นข้อมูลสำคัญที่สามารถนำไปใช้ปรับปรุงการพยากรณ์ในอนาคต ดังนั้นไม่ว่าดาวตกจะมีจำนวนมากหรือน้อย การสังเกตดาวตกก็เป็นประโยชน์สำหรับการเก็บรวบรวมข้อมูลทางดาราศาสตร์เสมอ

ที่มา :http://thaiastro.nectec.or.th/skyevnt/meteors/2009leonids.html






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

แจ้งเพื่อเก็บขึ้นกระทู้พิเศษ คลิ๊กที่นี่แจ้งเพื่อนำขึ้นกระทู้พิเศษ

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  

คำตอบที่ 1
       ......ขอทราบเทคนิคการถ่ายภาพด้วยคร้าบบบบบ.......



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

porpon จาก บอย พอพล 113.53.88.74 จันทร์, 16/11/2552 เวลา : 20:11   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 457596

คำตอบที่ 2
       เสียดายบ้านไม่ได้อยู่ ตจว. คงไม่ค่อยเห็น....ขอบคุณมากครับ

ถ่ายฝนดาวตก คงใช้วิธีการเปิด Shuter B ค้างเอาไว้ครับ.....ISO ต่ำ ๆ + หน้ากล้องแคบ ๆ + เปิดค้างนาน ๆ (แค่ไหนไม่รู้)..........อาจจะลองแบบ 15 นาที...30 นาที...45 นาที...ดูครับ.....อันนี้เดาให้ฟังน่ะครับ ผมก็ไม่เคยถ่ายเหมือนกัน

http://www.weekendhobby.com/board/photo/question.asp?id=24715&page=1

ต้องนายสีหมอกครับ ขานี้ชอบแนวนี้ครับ....ผมกลัวกล้องหาย อิอิอิ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

mop จาก SUPERMOP 58.8.159.123 จันทร์, 16/11/2552 เวลา : 20:24   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 457599

คำตอบที่ 3
       ผมกำลังลังเลว่าถ้าถ่ายด้วยDSLR ไอ้เจ้าCCDมันจะพังหรือว่าเกิด Hot Pixel หรือเปล่า
สงสัยต้องไปปัดฝุ่นกล้องฟิลม์
แต่ปัญหาใหญ่ กลัวไม่ตื่น 55555



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

producer_att จาก อัฐJUC1657 125.24.142.48 จันทร์, 16/11/2552 เวลา : 23:19   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 457669

คำตอบที่ 4
       Hot Pixel อยู่ในประกันอะป่าว ท่านอัฐ แล้วคืนนี้จะไปดูที่ไหน



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

หมูผอม จาก หมูผอม 115.67.32.44 อังคาร, 17/11/2552 เวลา : 20:51   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 457980

คำตอบที่ 5
       ท่านหมูผอม ผมว่าจะเข้าไปดูในไร่หลังบ้าน คงจะไปตอนตี4 จะถูกตีหัวหรือเปล่าก็ไม่รู้



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

producer_att จาก อัฐJUC1657 125.24.138.81 อังคาร, 17/11/2552 เวลา : 22:41   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 458033

คำตอบที่ 6
       เสียดายจังครับเมื่อคืนหลับสนิทเลย



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

เอ J-CAR จาก เอ J-CAR 203.166.139.5 พุธ, 18/11/2552 เวลา : 12:37   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 458188

      

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  



website รองรับการใช้งานทุกระบบปฏิบัติการของ PC Tablet SmartPhone ทุกระบบสามารถโพสข้อความและรูปภาพได้โดยไม่ต้องย่อไฟล์
เพื่อความปลอดภัยในการใช้ website WeekendHobby.Com สมาชิก เท่านั้น จึงจะตั้งกระทู้ หรือ ตอบกระทู้ได้ครับ
Login Click ที่นี่
สมัครสมาชิก Click ที่นี่



Since 22, Feb 2001 hit counter View My Stats  Truehits.net      วันศุกร์,26 เมษายน 2567 (Online 7156 คน)