WeekendHobby.com
เครื่องมือในการใช้งาน website =>> สมัครสมาชิก | Login | Logout | เปลี่ยนไอคอนส่วนตัว | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อโฆษณา         View stat by Truehits.net


PM party กันเป็นประจำ ที่ อช บางบัวทอง ภาค 7
loft60
จาก loft60-84
210.1.50.194
จันทร์ที่ , 18/6/2550
เวลา : 16:42

อ่านแล้ว = 38554 ครั้ง
 เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งตรวจสอบกระทู้
 แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน ส่งหาเพื่อน

       มาต่อกันที่ ภาค 7 ครับ

ภาค 5
http://jeep.thailandoffroad.com/board/Question.asp?ID=J24848

ภาค 6
http://jeep.thailandoffroad.com/board/question.asp?page=29&id=J26206

เป็น แนว Edutainment นะครับ อ่านกันเล่นๆๆๆ มีสาระบ้าง ไม่มีบ้าง ........กับ Hobby weekend.......










 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

แจ้งเพื่อเก็บขึ้นกระทู้พิเศษ คลิ๊กที่นี่แจ้งเพื่อนำขึ้นกระทู้พิเศษ

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 7 จาก >>> 1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  
21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  

คำตอบที่ 181
       http://www.student.chula.ac.th/~44350049/Source/Smoking%20Cessation.htm




 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60 จาก Loft60-84 210.1.50.194 อังคาร, 26/6/2550 เวลา : 08:44   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 202126

คำตอบที่ 182
       http://www.thaicpg.org/file/smoking-course.pdf

การวิจัยครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60 จาก Loft60-84 210.1.50.194 อังคาร, 26/6/2550 เวลา : 09:09   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 202131

คำตอบที่ 183
       เภสัชจลนศาสตร์



bupropion ดูดซึมได้ดีในทางเดินอาหาร สามารถรับประทานยาพร้อมอาหารได้ เนื่องจากอาหารไม่มี

ผลยับยั้งการดูดซึมของยา โดยจะได้ระดับยาสูงสุดในพสาสมาในเวลา 2-3 ชั่วโมงหลังได้รับยา ค่าครึ่งชีวิตโดย

เฉลี่ยของ bupropion ประมาณ 14 ชั่วโมงภายหลังได้รับยาแบบ single dose หากได้รับยาแบบ multiple dose

ค่าครึ่งชีวิตโดยเฉลี่ยของยาจะมีค่าอยู่ประมาณ 21 ชั่วโมง ในการทดลองในหลอดแก้วพบว่า bupropionสามารถจับกับ albumin ได้อย่างน้อยร้อยละ 84 ที่ความเข้มข้น 200 mcg/mL ยาจะถูกเปลี่ยนแปลงที่ตับ

และขับออกทางปัสสาวะเป็นส่วนใหญ่ มีประมาณร้อยละ 10 ที่ขับออกทางอุจจาระ ซึ่ง metabolites ของ

bupropion ได้แก่ hydroxybupropion, erythrohydrobupropion และ erythrohydrobupropion

หากผู้ใช้มีความผิดปกติของการทำงานของตับหรือไต จะทำให้การขับออกของยาใช้เวลายาวนานขึ้น






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60 จาก Loft60-84 210.1.50.194 อังคาร, 26/6/2550 เวลา : 10:05   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 202143

คำตอบที่ 184
       ข้อควรระวัง
1. ให้หยุดยาหากผู้มีผื่นคัน ลมพิษ เจ็บแน่นหน้าอก หรือหายใจไม่ออก มีรายงานประมาณ 1-3 ราย
ในผู้ได้รับยา 1,000 ราย
2. ห้ามใช้ในผู้ป่วยโรค bulimia หรือ anorexia nervosa เนื่องจากมีอุบัติการณ์การชักที่สูงในผู้ที่ใช้
ยานี้
3. ห้ามใช้ยานี้ร่วมกับ monoamine oxidase (MAO) inhibitors แนะนำให้หยุดยา MAO inhibitors
อย่างน้อย 14 วันก่อนเริ่มยา bupropion
4. หากผู้ใช้มีอาการชักระหว่างการรักษา ให้หยุดยาทันที
5. หากใช้ยานี้ร่วมกับ transdermal nicotine therapy อาจทำให้ความดันโลหิตสูงแบบเฉียบพลันได้
6. ให้ระวังการใช้ในผู้ที่มีประวัติ head trauma, seizure, central nervous system (CNS) tumor,
severe hepatic cirrhosis หรือกำลังได้รับยาที่ทำให้เกิด lower seizure threshold เนื่องจาก
ปัจจัยเหล่านี้เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอาการชัก
7. ในผู้ที่มีภาวะตับทำงานบกพร่องให้เพิ่มความระมัดระวังในการใช้ยา และลดขนาดยาลงจากปกติ
ให้เหลือไม่เกิน 150 มิลลิกรัม โดยให้วันเว้นวัน
8. ยานี้มีความปลอดภัยตาม pregnancy risk category ระดับ B อาจพิจารณาใช้ในสตรีมีครรภ์
แต่ควรอยู่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิดจากบุคลากรการแพทย์





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60 จาก Loft60-84 210.1.50.194 อังคาร, 26/6/2550 เวลา : 10:25   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 202148

คำตอบที่ 185
       อาการไม่พึงประสงค์
อาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อยได้แก่ อาการปากแห้ง และนอนไม่หลับ ซึ่งแก้ไขได้โดยการลดขนาด
ของยาที่ให้ลง และอาการนอนไม่หลับอาจแก้ไขโดยให้ยาห่างจากเวลาเข้านอน มีการทดลองให้ยา bupropion
ขนาด 100 ถึง 300 มิลลิกรัมต่อวันเทียบกับยาหลอก (placebo) และสังเกตอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นแก่
ระบบต่างๆ ของร่างกาย ผลแสดงในตารางที่ 4
ตารางที่ 4 อาการไม่พึงประสงค์ที่พบได้เมื่อใช้ยา bupropion เปรียบเทียบกับยาหลอก
Body System/Adverse Experience bupropion placebo
100 to 300 มิลลิกรัม/วัน (n=150)
(n=461) %
%
Body (General)
Neck pain 2 < 1
Allergic reaction 1 0
Cardiovascular
Hot flashes 1 0
Hypertension 1 < 1
Digestive
Dry mouth 11 5
Increased appetite 2 < 1
Anorexia 1 < 1
Musculoskeletal
Arthralgia 4 3
Myalgia 2 1
Nervous system
Insomnia 31 21
Dizziness 8 7
Tremor 2 1
Somnolence 2 1
Thinking abnormality 1 0
Respiratory
Bronchitis 2 0
Skin
Pruritus 3 < 1
Rash 3 < 1
Dry skin 2 0
Urticaria 1 0
Special senses
Taste perversion 2 < 1



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60 จาก Loft60-84 210.1.50.194 อังคาร, 26/6/2550 เวลา : 10:26   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 202149

คำตอบที่ 186
       ปฏิกิริยาระหว่างยา
1. ระมัดระวังการใช้ยาในผู้ที่ใช้ bupropion ร่วมกับยาที่ induce metabolism ของ bupropion
ได้แก่ carbamazepine, phenobarbital, phenytoin หรือยาที่ inhibit metabolism ของ bupropion
ได้แก่ cimetidine
2. เอนไซม์ที่ใช้ในการเปลี่ยนยาที่ตับคือ cytochrome P-450 isoenzyme ชนิด 2B6 (CYP2B6) ดังนั้น
ควรระวังการใช้ยาที่มีผลต่อเอนไซม์นี้ได้แก่ orphenadrine, cyclophosphamide
3. bupropion มีฤทธิ์ยับยั้ง cytochrome P-450 isoenzyme ชนิด 2D6 (CYP2D6) ดังนั้นอาจ
มีปฏิกิริยากับยาอื่นๆ ที่ถูกเปลี่ยนด้วยเอนไซม์ตัวนี้ได้แก่ ยากลุ่ม antidepressant (เช่น nortriptyline,
imipramine, desipramine, paroxetine, fluoxetine, sertraline) ยากลุ่ม antipsychotic (เช่น
haloperidol, resperidone, thioridazine) ยากลุ่ม beta-adrenergic blocking agents (เช่น
metoprolol) ดังนั้นหากมีความจำเป็นต้องให้ยาร่วมกัน แนะนำให้ใช้ยาในขนาดต่ำ





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60 จาก Loft60-84 210.1.50.194 อังคาร, 26/6/2550 เวลา : 10:34   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 202152

คำตอบที่ 187
       การได้รับยาเกินขนาด
หากผู้ป่วยได้รับยาเกินขนาดให้ติดตาม cardiac rhythm และ vital signs แนะนำให้ติดตามค่า EEG
ในช่วง 48 ชั่วโมงแรกหลังจากได้รับยา ไม่แนะนำให้ใช้ยาที่ทำให้อาเจียน ให้ทำ gastric lavage ทันทีที่ผู้ป่วย
ได้รับยาเกินขนาด ควรให้ activated charcoal ร่วมด้วย ไม่มี antidotes ที่ใช้สำหรับ bupropion เนื่องจาก
ความเสี่ยงของการเกิดอาการชักขึ้นอยู่กับปริมาณยาที่ได้รับ ควรที่จะให้ผู้ป่วยพักอยู่ในโรงพยาบาลเพื่อเฝ้าดู
อาการระยะหนึ่ง หากผู้ป่วยมีอาการชักแนะนำให้รักษาโดยให้ยา benzodiazepine
ข้อมูลที่ผู้ป่วยควรทราบเมื่อได้รับยาเม็ดรับประทาน bupropion HCl sustained release
1. bupropion HCl sustained release คืออะไร
bupropion HCl sustained release คือยาที่ช่วยเลิกบุหรี่ มีการทดลองทางคลินิกแสดงว่า มากกว่า
1 ใน 3 ของผู้ป่วยที่ใช้ยาอย่างน้อย 1 เดือน สามารถเลิกบุหรี่ได้ และยายังช่วยมิให้เกิดอาการถอน
บุหรี่ เมื่อต้องการเลิกสูบ อย่างไรก็ตามควรใช้ยาร่วมกับเข้าโครงการสนับสนุนการเลิกบุหรี่
2. ผู้ใดที่ไม่ควรใช้ยา bupropion
ไม่ควรใช้ยานี้ หาก
● มีโรคลมชักเป็นโรคประจำตัว
● ใช้ยาอื่นที่มีส่วนประกอบของ bupropion
● มีโรคที่เกี่ยวกับการรับประทานอาหาร เช่น bulimia หรือ anorexia nervosa
● เพิ่งหยุดดื่ม alcohol หรือ เพิ่งเลิกใช้ยา sedatives เช่น benzodiazepines
● กำลังใช้ยากลุ่ม monoamine oxidase inhibitor (MAOI)
● แพ้ยา bupropion
3. สามารถใช้ยานี้ได้หรือไม่หากมีโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังหรือโรคถุงลมโป่งพอง
สามารถใช้ยานี้ได้ โดยที่มีข้อพิสูจน์ว่ายานี้สามารถช่วยคนที่เป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรังหรือโรคถุงลม
โป่งพองในการเลิกสูบบุหรี่ อย่างไรก็ตามผู้ใช้ยาควรเข้าร่วมโครงการสนับสนุนการเลิกบุหรี่
4. มีข้อควรคำนึงในการใช้ในสตรีหรือไม่
ยา bupropion ไม่แนะนำให้ใช้ในสตรีมีครรภ์ หรือสตรีให้นมบุตร และควรแจ้งให้แพทย์ทราบ
เมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์ หรือต้องการมีบุตร ขณะกำลังใช้ยานี้อยู่



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60 จาก Loft60-84 210.1.50.194 อังคาร, 26/6/2550 เวลา : 10:51   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 202155

คำตอบที่ 188
       5. มีข้อควรคำนึงหรือไม่ในผู้ที่มีความผิดปกติของตับหรือไต
ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบหากท่านมีความผิดปกติของตับหรือไต ก่อนที่จะรับประทานยา เนื่องจาก
แพทย์ต้องทำการปรับเปลี่ยนขนาดของยาเพื่อให้เหมาะสมกับการทำงานของตับและไตของท่าน
6. ผู้ป่วยจะรับประทานยาอย่างไร
● ท่านควรจะรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง โดยปกติจะแนะนำให้รับประทานยาขนาด 150 มิลลิกรัม
1 เม็ด ในตอนเช้า และ 1 เม็ดในตอนเย็น โดยที่ควรรับประทานยาห่างกันอย่างน้อย 8 ชั่วโมง
● ไม่ควรรับประทานยาเกินกว่าที่กำหนด หากท่านลืมรับประทานยา ห้ามรับประทานยาเป็นจำนวน
2 เท่าในมื้อต่อไป ให้ทานยามื้อต่อไปในขนาดเดิม และไม่ควรรับประทานยามากเกินกว่าที่
แพทย์สั่ง เนื่องจากจะมีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการชัก หากรับประทานยาเกินขนาด
● มีความสำคัญมากที่ต้องกลืนยาทั้งเม็ด ห้ามเคี้ยว บด หรือแบ่งยา
7. ผู้ใช้จะรับประทานยานานเท่าไร
โดยปกติควรรับประทานยาอย่างน้อย 7-12 สัปดาห์ ในบางรายอาจต้องรับประทานยานานกว่านี้
เพื่อช่วยในการเลิกบุหรี่ อย่างไรก็ตามให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
8. ผู้ป่วยควรจะเลิกสูบบุหรี่เมื่อใด
ยาใช้เวลาประมาณ 1 สัปดาห์ถึงจะได้ระดับที่สามารถช่วยเลิกบุหรี่ ดังนั้นเพื่อที่จะให้ได้ประสิทธิผล
สูงสุดจากการใช้ยา ไม่ควรเลิกสูบบุหรี่ทันที ให้รออย่างน้อย 1 สัปดาห์หลังจากรับประทานยา
9. ผู้ใช้จะสูบบุหรี่ได้หรือไม่ เมื่อกำลังได้รับยาอยู่
ไม่มีอันตรายหากจะสูบบุหรี่ร่วมกับรับประทานยา อย่างไรก็ตามหากท่านยังคงสูบบุหรี่ภายหลัง
รับประทานยาไปแล้ว 1 สัปดาห์ ก็จะลดโอกาสที่จะประสบผลสำเร็จในการเลิกสูบบุหรี่
10. ผู้ป่วยสามารถใช้ bupropion และ nicotine patches ร่วมกันได้หรือไม่
สามารถใช้ได้ แต่ควรได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากแพทย์ การใช้ bupropion และ nicotine
patches ร่วมกันจะเพิ่มโอกาสของการเกิดความดันโลหิตสูงได้ ดังนั้นให้แจ้งแก่แพทย์ผู้ดูแลท่าน
หากท่านต้องการใช้ยา 2 ชนิดร่วมกัน เพื่อแพทย์จะได้ทำการติดตามความดันโลหิตของท่าน
อย่างใกล้ชิด และห้ามสูบบุหรี่หากท่านใช้ยานี้ร่วมกัน เพราะท่านอาจได้รับ nicotine เกินขนาด
ซึ่งนำมาถึงอาการไม่พึงประสงค์ที่เป็นอันตรายได้
11. อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา bupropion ที่ควรทราบ ได้แก่
● ความดันโลหิตสูง
● อาการปากแห้งคอแห้ง และนอนหลับยาก แต่อาการเหล่านี้มักหายไปเมื่อเวลาผ่านไป 2-3 สัปดาห์
และหากท่านนอนไม่หลับ แนะนำให้รับประทานยาห่างจากเวลาเข้านอน
● อาการไม่พึงประสงค์ที่พบมากขณะทำการทดลองทางคลินิกที่เป็นสาเหตุให้เลิกรับประทาน
ยาคือ อาการมือสั่น และผื่นที่ผิวหนัง
● ให้เลิกรับประทานยา และติดต่อแพทย์หากท่านมีอาการของการแพ้ยา เช่น ผื่นตามผิวหนัง ลมพิษ
อาการหายใจไม่ออก อาการไข้
12. สามารถดื่มสุราได้หรือไม่หากรับประทานยานี้
ไม่ควรดื่มสุรา หรือดื่มเพียงปริมาณเล็กน้อย หากท่านดื่มสุราปริมาณมากและหยุดดื่มกระทันหัน
จะเพิ่มโอกาสของการเกิดอาการชักได้ ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ถึงการดื่มสุราเมื่อใช้ยานี้ อันนี้อันตรายมากครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60 จาก Loft60-84 210.1.50.194 อังคาร, 26/6/2550 เวลา : 10:54   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 202156

คำตอบที่ 189
       13. ยานี้จะมีผลต่อยาอื่นที่กำลังรับประทานอยู่หรือไม่
ยานี้อาจมีผลต่อยาอื่นที่ท่านกำลังรับประทานอยู่ มีความสำคัญมากในการใช้ยาและไม่ควรใช้ยาที่จะทำให้ท่านเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอาการชัก ดังนั้นจึงควรแน่ใจว่าแพทย์ทราบว่าท่านกำลังใช้ยา
อะไรอยู่บ้าง ทั้งที่แพทย์สั่งและซื้อรับประทานเอง
14. ควรจะเก็บยาอย่างไร
เก็บยาที่อุณหภูมิห้อง ป้องกันจากแสงแดด เก็บยาในภาชนะที่ปิดฝามิดชิด และเก็บยาให้พ้นมือเด็ก



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60 จาก Loft60-84 210.1.50.194 อังคาร, 26/6/2550 เวลา : 10:55   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 202157

คำตอบที่ 190
       ทางเลือกที่ 2 ครับ ยาอีกชนิดหนึ่ง


clonidine
The US Public Health Service (USPHS) แนะนำให้ใช้ clonidine เป็นทางเลือกที่สอง (second-line
drug) ในผู้ป่วยที่ต้องการเลิกสูบบุหรี่ แต่ต้องได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากบุคลากรทางสาธารณสุข จาก
หลักฐานทางการแพทย์หลายฉบับได้ชี้ให้เห็นว่า clonidine ทั้งรูปแบบรับประทาน หรือ รูปแบบแผ่นติดผิวหนัง
สามารถเพิ่มอัตราการเลิกสูบบุหรี่ได้เป็น 2 เท่าเมื่อเทียบกับยาหลอก อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบกับยาที่เป็น
ทางเลือกแรกในการเลิกบุหรี่เช่น bupropion sustained release, nicotine polacrilex gum หรือ transdermal
nicotine จะเห็นได้ว่า clonidine มีอาการไม่พึงประสงค์มากกว่า ดังนั้นการใช้ clonidine ควรพิจารณาเมื่อใช้ยา
ที่เป็นทางเลือกแรกไม่ได้ผล หรือมีข้อจำกัดไม่สามารถใช้ยาที่เป็นทางเลือกแรกได้



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60 จาก Loft60-84 210.1.50.194 อังคาร, 26/6/2550 เวลา : 10:56   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 202159

คำตอบที่ 191
       ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
clonidine เป็นอนุพันธ์ของ imidazoline มีฤทธ์ิกระตุ้น peripheral alpha-adrenergic receptors ทำให้
เกิด vasoconstriction นอกจากนั้นยังยับยั้งกระแสประสาท sympathetic จากสมองส่วนกลาง มีผลให้ความ
ดันโลหิตลดลง และการเต้นของหัวใจช้าลง เชื่อว่าการได้รับ clonidine จะลดความรุนแรงของอาการถอน
นิโคตินจากการเลิกสูบบุหรี่ได้



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60 จาก Loft60-84 210.1.50.194 อังคาร, 26/6/2550 เวลา : 11:01   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 202161

คำตอบที่ 192
       เภสัชจลนศาสตร์
clonidine ถูกดูดซึมได้ดีในระบบทางเดินอาหาร และทางผิวหนัง ความเข้มข้นสูงสุดของยาหลัง
รับประทาน เกิดขึ้นในระยะเวลาประมาณ 3-5 ชั่วโมง หากใช้แผ่นติดผิวหนังระดับยาในเลือดจะขึ้นภายในระยะ
เวลา 2-3 วัน การดูดซึมของยาเมื่อใช้แผ่นติดผิวหนังบริเวณต้นแขนและหน้าอกจะไม่มีความแตกต่างกัน แต่จะ
ดูดซึมได้น้อยหากติดบริเวณต้นขา ค่าการกระจายตัวเฉลี่ยของยาประมาณ 2.1 ลิตรต่อกิโลกรัม ภายหลังการ
รับประทาน ความเข้มข้นของยาสูงสุดจะพบได้ที่ไต ตับ ม้าม และระบบทางเดินอาหาร ความเข้มข้นต่ำสุดของยา
พบที่สมอง ยา clonidine สามารถผ่านรกและขับออกทางน้ำนมได้ ยาถูกเปลี่ยนสภาพที่ตับประมาณร้อยละ 50
และถูกขับทางปัสสาวะร้อยละ 65-72 และทางอุจจาระร้อยละ 22 ค่าครึ่งชีวิตของยามีค่าประมาณ 6-20
ชั่วโมง ในผู้ที่มีการทำงานของไตปกติ และมีค่าระหว่าง 18-41 ชั่วโมงในผู้ที่มีการทำงานของไตบกพร่อง



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60 จาก Loft60-84 210.1.50.194 อังคาร, 26/6/2550 เวลา : 11:02   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 202162

คำตอบที่ 193
       ขนาดและวิธีใช้
ยาในรูปแบบรับประทาน
ขนาดที่แนะนำคือให้รับประทาน 0.1 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง อาจให้ผู้ป่วยเริ่มรับประทานยาในวันที่
ต้องการเลิกสูบบุหรี่ หรืออาจให้รับประทานยาก่อนหน้า เช่น รับประทาน 3 วันก่อนหยุดสูบบุหรี่ โดยที่สามารถ
เพิ่มขนาดยา ทุกสัปดาห์ ในขนาด 0.1 มิลลิกรัมต่อวัน ในการศึกษาทางคลินิก มีการใช้ยาหลายขนาดตั้งแต่
0.15-0.75 มิลลิกรัม ต่อวัน และระยะเวลาในการให้ยาจะแตกต่างกันตั้งแต่ 3 - 10 สัปดาห์
ยาในรูปแบบแผ่นติดผิวหนัง
ขนาดที่แนะนำคือให้ใช้แผ่นติดผิวหนังที่ให้ขนาดยา 0.1 มิลลิกรัมต่อ 24 ชั่วโมง โดยให้ติดผิวหนังและ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60 จาก Loft60-84 210.1.50.194 อังคาร, 26/6/2550 เวลา : 11:05   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 202164

คำตอบที่ 194
       เปลี่ยนทุก 7 วัน อาจให้เริ่มใช้แผ่นติดผิวหนังในวันที่ต้องการเลิกสูบบุหรี่ หรืออาจให้ใช้ยาก่อนหน้าเช่น
ติดผิวหนัง 3 วันก่อนหยุดสูบบุหรี่ โดยที่สามารถเพิ่มขนาดยาทุกสัปดาห์ ในขนาด 0.1 มิลลิกรัมต่อ 24 ชั่วโมง
ในการศึกษาทางคลินิก มีการใช้ยาหลายขนาดตั้งแต่ 0.1-0.2 มิลลิกรัมต่อ 24 ชั่วโมง และระยะเวลาในการ
ให้ยาจะแตกต่างกันตั้งแต่ 3-10 สัปดาห์
เมื่อต้องการหยุดยา ควรค่อยๆ ลดขนาดยา และหยุดยาภายในเวลา 2-4 วัน เพื่อหลีกเลี่ยงอาการถอนยา
ที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น กระสับกระส่าย ใจสั่น นอนไม่หลับ ปวดศีรษะ เหงื่อออก หัวใจเต้นเร็ว ปวดท้อง คลื่นไส้
และปวดกล้ามเนื้อ อย่างไรก็ตามอาการถอนยาที่เกิดขึ้นมักเกิดในผู้ที่ใช้ยาเป็นเวลานานมากกว่า 1-2 เดือน
หรือใช้ยาแบบรับประทานในขนาดสูง (มากกว่า 1.2 มิลลิกรัมต่อวัน) และความเสี่ยงของการเกิดอาการถอนยา
จะเพิ่มมากขึ้นหากผู้ใช้ยามีประวัติเป็นโรคความดันโลหิตสูง หรือโรคระบบหลอดเลือด



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60 จาก Loft60-84 210.1.50.194 อังคาร, 26/6/2550 เวลา : 11:05   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 202165

คำตอบที่ 195
       อาการไม่พึงประสงค์
อาการไม่พึงประสงค์ที่พบบ่อยเมื่อใช้ยารูปแบบรับประทานคือ ปากแห้ง ง่วงซึม และท้องผูก ในบางราย
อาจเกิดอาการมึนงง ปวดศีรษะ อ่อนล้า โดยทั่วไปอาการเหล่านี้จะหายไปเองเมื่อเวลาผ่านไป หรืออาการจะลดลง
หากลดขนาดยาที่ใช้ อาการไม่พึงประสงค์ที่พบเมื่อใช้แผ่นติดผิวหนังจะเหมือนแบบรับประทาน และอาจพบ
อาการทางผิวหนังบริเวณที่ติดแผ่นยาด้วย อย่างไรก็ตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้แบบติดผิวหนังมักจะมี
ความรุนแรงที่น้อยกว่าและเกิดขึ้นน้อยกว่าแบบรับประทาน แต่อาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดขึ้นเหล่านี้จะหาย
ไปเองเมื่อเวลาผ่านไป



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60 จาก Loft60-84 210.1.50.194 อังคาร, 26/6/2550 เวลา : 11:12   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 202167

คำตอบที่ 196
       ข้อควรระวังและข้อห้ามใช้
ควรใช้ยานี้อย่างระมัดระวังในผู้ป่วย severe coronary insufficiency, conduction disturbances,
recent MI, cerebrovascular disease, chronic renal failure ในผู้ป่วยบางรายอาจมีการดื้อยาได้ จึง
มีความจำเป็นต้องประเมินประสิทธิภาพของยาเป็นระยะ มีรายงานการไม่สามารถควบคุมความดันโลหิตในผู้ป่วย
ที่ใช้แผ่นติดผิวหนัง อย่างไรก็ตามอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นมีน้อยมาก ยานี้มีความปลอดภัยตาม pregnancy risk
category ระดับ C ดังนั้นจึงควรใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้นในหญิงมีครรภ์
ห้ามใช้ยานี้ในผู้ที่มีประวัติแพ้ยาหรือแพ้ส่วนประกอบของแผ่นติดผิวหนัง



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60 จาก Loft60-84 210.1.50.194 อังคาร, 26/6/2550 เวลา : 11:12   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 202168

คำตอบที่ 197
       ปฏิกิริยาระหว่างยา
1. ยาอาจลดฤทธ์ิของยา levodopa
2. ยาอาจเสริมฤทธิ์ยาที่มีฤทธิ์ลดความดันโลหิตเช่น beta-adrenergic blocking agents อาจทำ
ให้เกิดความดันโลหิตต่ำ
3. การใช้ยานี้ร่วมกับ prazosin ทำให้ฤทธ์ิของ clonidine ลดลง
4. การใช้ยานี้ร่วมกับ verapamil ทำให้เพิ่มฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและทำให้เกิดพิษ โดยทำให้เกิด
ความดันโลหิตต่ำรุนแรง และอาจนำไปสู่ atrioventricular (AV) block
การได้รับยาเกินขนาด
อาการของการได้รับยาเกินขนาดได้แก่ ความดันโลหิตต่ำ อ่อนเพลีย อาเจียน กระสับกระส่าย เมื่อยล้า
นอนไม่หลับ หัวใจเต้นไม่ปกติ ปากแห้ง และชัก โดยอาการมักเกิดขึ้นภายในเวลา 30-60 นาทีภายหลังได้รับยา
และอาการอาจแสดงอยู่เป็นเวลา 36-48 ชั่วโมง หากอาการที่กล่าวมาข้างต้นเกิดในผู้ที่ใช้แผ่นติดผิวหนังให้ลอกแผ่นติดผิวหนังออกทันที หากผู้ป่วยรับประทานยาเกินขนาด แนะนำให้ล้างท้อง หรือทำให้อาเจียน
ตามด้วยให้ผงถ่าน ในกรณีที่หมดสติแนะนำให้ล้างท้องทันที เนื่องจากอาจเกิดอาการโคม่าตามมาได้


อันตรายเหมือนกันนะ ยาตัวนี้



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60 จาก Loft60-84 210.1.50.194 อังคาร, 26/6/2550 เวลา : 11:14   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 202170

คำตอบที่ 198
       การเก็บรักษา
ควรเก็บรักษายาทั้งรูปแบบรับประทาน และแผ่นติดผิวหนังไว้ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียส
สำหรับยารูปแบบรับประทานให้เก็บในขวดกันแสง ยาไวต่อแสงนะครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60 จาก Loft60-84 210.1.50.194 อังคาร, 26/6/2550 เวลา : 11:15   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 202171

คำตอบที่ 199
       เพื่อนๆๆ ที่ต้องการเลิก จาก ยาสองตัวข้างบน แล้วไม่สำเร็จ ก็ต้อง อันนี้เลย ยาตัวที่ 3



nortriptyline HCl

nortriptyline เป็นยาในกลุ่ม tricyclic antidepressants ที่ได้ถูกนำมาใช้เป็นยาช่วยเลิกบุหรี่ในผู้ที่
มีข้อห้ามใช้จากกลุ่มยาช่วยเลิกบุหรี่ที่เป็น first-line drug คือ NRT หรือ sustained release bupropion HCl
หรือในผู้ที่ใช้ยาช่วยเลิกบุหรี่ที่เป็น first-line drug แล้วไม่ประสบผลสำเร็จ ยานี้จึงถูกจัดเป็นยาช่วยเลิกบุหรี่
ที่เป็น second-line drug



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60 จาก Loft60-84 210.1.50.194 อังคาร, 26/6/2550 เวลา : 11:20   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 202173

คำตอบที่ 200
       by the book เค้าบอกว่า
การเลิกบุหรี่จะมีอาการซึมเศร้า อิอิ เราก็เป็นหรือเปล่า


ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา

ยานี้มีฤทธิ์ยับยั้งการเก็บกลับสารสื่อประสาทได้แก่ norepinephrine และ serotonin ที่ presynaptic
receptor จึงสามารถบรรเทาอาการซึมเศร้า ซึ่งเป็นอาการที่จะพบได้ขณะที่พยายามเลิกบุหรี่



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60 จาก Loft60-84 210.1.50.194 อังคาร, 26/6/2550 เวลา : 11:23   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 202175

คำตอบที่ 201
       แผนที่ สาม ตามสูตร อช เพื่อเลิกบุหรี่ให้สำเร็จ

เภสัชจลนศาสตร์
nortriptyline ถูกดูดซึมได้ดีภายหลังการรับประทาน มีค่า bioavailability ร้อยละ 65 มีปริมาตรการ
กระจายตัว 25 ลิตร/กิโลกรัม สามารถกระจายผ่านรก และขับออกทางน้ำนมได้ โดยมีระดับยาในน้ำนมเท่าๆ
หรือมากกว่าในเลือดของมารดา ยานี้ถูกเปลี่ยนสภาพที่ตับ โดยเอนไซม์ cytochrome P450 โดยเฉพาะ CYP2D6
และขับออกทางปัสสาวะและอุจจาระ ค่าครึ่งชีวิตมีค่า 16 ชั่วโมงถึงมากกว่า 90 ชั่วโมง ผลการรักษาจะพบได้
ภายใน 2 สัปดาห์ เมื่อระดับความเข้มข้นของ nortriptyline มีค่าระหว่าง 50-150 นาโนกรัม/มิลลิลิตร
ขนาดและวิธีใช้
เริ่มด้วยขนาดวันละ 25 มิลลิกรัม และค่อยๆ เพิ่มขนาดขึ้นจนถึง วันละ 75-100 มิลลิกรัม การให้ยา
อาจแบ่งให้วันละถึง 4 ครั้ง หรือให้แบบวันละครั้ง การใช้ยาควรเริ่มตั้งแต่ 10-28 วันก่อนวันที่จะเลิกบุหรี่ และ
ใช้ติดต่อกัน 6-12 สัปดาห์


กำลังหาตัวที่ ได้ด้วยอ่ะ อิอิ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60 จาก Loft60-84 210.1.50.194 อังคาร, 26/6/2550 เวลา : 11:26   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 202176

คำตอบที่ 202
      

อาการไม่พึงประสงค์

อาการไม่พึงประสงค์ที่สำคัญและพบบ่อย ได้แก่ อาการง่วงนอน ปากแห้ง ตาพร่า หน้ามืด มือสั่น
ปัสสาวะคั่ง ท้องผูก นอกจากนี้ ยานี้ยังสามารถก่อให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ในระบบหัวใจและหลอดเลือด
ที่รุนแรงได้ เช่น หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ ความดันโลหิตสูง orthostatic hypotension

เน้นการใช้ยาตัวนี้นะครับ By the book
.............................................
ข้อควรระวังและข้อห้ามใช้
ระวังการใช้ในผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคต้อหิน hyperthyroidism มีประวัติปัสสาวะคั่ง โรค
ต่อมลูกหมากโต โรคลมชัก หรือผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงต่ออาการชัก ผู้ป่วย schizophrenia ผู้ที่มีโรคตับอาจต้องปรับลดขนาดยา การใช้ร่วมกับยา MAOIs อาจทำให้เกิดอาการชักที่รุนแรง ไข้สูง หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว โคม่า
จึงห้ามให้ร่วมกัน หากจำเป็น ต้องให้ยาห่างกันอย่างน้อย 14 วัน เนื่องจากยาทำให้เกิดอาการง่วงซึม จึงควรระวัง
การทำงานที่ต้องการความตื่นตัว ใช้ความระมัดระวังสูง เช่น การทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร การขับรถ
ห้ามใช้ยานี้ในผู้ที่เพิ่งฟื้นตัวจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย ผู้ที่แพ้ยา
การใช้ยาในหญิงตั้งครรภ์ จะพิจารณาเมื่อใช้มาตรการในการเลิกบุหรี่อื่นไม่ได้ผลแล้ว และพิจารณาแล้ว
ว่าการใช้ยาจะมีประโยชน์มากกว่าโทษ ยานี้มีความปลอดภัยตาม pregnancy risk category ระดับ D การใช้ยา
ในหญิงให้นมบุตรต้องให้ด้วยความระมัดระวังอย่างมาก อาจต้องพิจารณาหยุดการให้นมหากจำเป็นต้องใช้ยา



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60 จาก Loft60-84 210.1.50.194 อังคาร, 26/6/2550 เวลา : 11:29   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 202179

คำตอบที่ 203
       แย่แล้ว ยาตัวนี้ ไม่ได้อีกแล้ว สงสัย ต้องเลิก แล้วเรา อิอิ

ปฏิกิริยาระหว่างยา
1. ยาอาจลดฤทธ์ิในการลดความดันโลหิตของยาลดความดันโลหิต
2. ยาอาจเสริมฤทธ์ิยาที่มีฤทธ์ิกดประสาทส่วนกลาง เช่น แอลกอฮอล์ ยานอนหลับ***************************************************************************************************
3. การใช้ยานี้ร่วมกับ sympathomimetic drugs, anticholinergic drugs อาจเสริมฤทธ์ิกันได้
4. การใช้ยานี้ร่วมกับยาที่ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ CYP2D6 เช่น quinidine, ยากลุ่ม selective
serotonin reuptake inhibitors (SSRIs) เช่น fluoxetine, paroxetine อาจทำให้ระดับยา nortriptyline
เพิ่มมากขึ้น มีค่าครึ่งชีวิตยาวขึ้น การกำจัดยาลดลง อาจต้องมีการปรับลดขนาดยาลง
การเก็บรักษา
เก็บยาในภาชนะปิดสนิท ที่อุณหภูมิต่ำกว่า 30 องศาเซลเซียส



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60 จาก Loft60-84 210.1.50.194 อังคาร, 26/6/2550 เวลา : 11:31   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 202181

คำตอบที่ 204
       เอกสารอ้างอิง เผื่อ อยากทราบเพิ่ม นะครับ

1. Taylor HJ. Tobacco dependence treatment in patients with heart and lung disease: Implications
for intervention and review of pharmacological therapy. J Cardiopulm Rehabil 2000;20:
215-23.
2. Wongwiwatthananukit S, Jack HM, Popovich NG. Smoking cessation: Part 2- Pharmacologic
approaches. J Am Pharm Assoc 1998;38:339-53.
3. Sharon C. Current strategies for cessation of smoking for head and neck cancer patients. Curr
Opin Otolaryngol Head Neck Surg 2002;10:69-79.
4. West R, McNeill A, Raw M. Smoking cessation guidelines for health professionals: an update.
Thorax 2000;55:987-99.
5. Sutherland G. Current approaches to the management of smoking cessation. Drugs 2002;62
(Suppl 2):53-61.
6. Haxby DG. Treatment of nicotine dependence. Am J Health-Syst Pharm 1995;52:265-81.
7. Fiore MC, Jorenby DE, Baker TB et al. Tobacco dependence and the nicotine patch: clinical
guidelines for effective use. JAMA 1992;268:2687-94.
8. Thompson GH, Hunter DA. Nicotine replacement therapy. Ann Pharmacother 1998;32:1067-75.
9. Benowitz NL. Nicotine replacement therapy. What has been accomplished - Can we do better?
Drugs 1993;45:157-70.
10. Svensson CK. Clinical pharmacokinetics of nicotine. Clin Pharmacokinet 1987;12:30-40.
11. Schneider NG. Nicotine therapy in smoking cessation. Pharmacokinetic considerations. Clin
Pharmacokinet 1992;23:169-72.
12. McEvoy GK, ed. AHFS Drug Information 2002. Bethesda MD: American Society of Health-System
Pharmacist, 2002:1367-84.
13. บุษบา จินดาวิจักษณ์ และคณะ. ก้าวใหม่ของเภสัชกรในงานบริบาลผู้ป่วยนอก. กรุงเทพฯ: สมาคม
เภสัชกรรมโรงพยาบาล (ประเทศไทย), 2546:153-74.
14. Palmer KJ, Buckley MM, Faulds D. Transdermal nicotine. A review of its pharmacodynamic and
pharmacokinetic properties, and therapeutic efficacy as an aid to smoking cessation. Drugs
1992;44:498-529.
15. Gora ML. Nicotine transdermal systems. Ann Pharmacother 1993;27:742-50.
16. Silagy C, Lancaster T, Stead L, et al. Nicotine replacement therapy for smoking cessation. Cochrane
Database Syst Rev 2003, vol. 1.
17. Hurt RD, Sachs DPL, Glover ED, et al. A comparison of sustained-release bupropion and placebo
for smoking cessation. N Engl J Med 1997;337:1195-202.
18. Jorenby DE, Leischow SJ, Nides MA, et al. A controlled trial of sustained-release bupropion, a
nicotine patch or both for smoking cessation. N Engl J Med 1999;340:685-91.
19. Bolliger CT, Gilljam H, Lebargy F, et al. Bupropion hydrochloride is effective and well tolerated
as an aid to smoking cessation: a multicountry study. Eur Respir J 2001;18 suppl. 33:11S.



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60 จาก Loft60-84 210.1.50.194 อังคาร, 26/6/2550 เวลา : 11:35   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 202183

คำตอบที่ 205
       บทสรุป ครับ เอามาจาก web นี้ ก็ น่าอ่านมาก มีชาหญ้าดอกขาว และ น้ำยาอมอดบุหรี่

http://www.balavi.com/webboard/QAview.asp?id=6809











 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60 จาก Loft60-84 210.1.50.194 อังคาร, 26/6/2550 เวลา : 11:57   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 202191

คำตอบที่ 206
       ขอบคุณมากๆครับสำหรับข้อมูล

เคยลองเลิกอยู่หลายครั้งแต่ไม่เคยสำเร็จ หักดิบทีไรมีผลต่อร่างกายทุกที เช่น ปวดท้อง ง่วงนอน

สาเหตุที่เลิกไม่ได้คือ ความเคยชินที่ต้องสูบเวลาออกไปนอกบ้าน เวลาขับรถ เวลานั้งกินกาแฟ และที่สำคัญคือใจ
คราวนี้อยากเลิกให้ได้ซักที ลูกที่บ้านไม่ให้หอม บอกว่า"พ่อเหม็นบุหรี่ เข้าใจมั๊ยเนี้ย"

ปล.เคยลองใช้หมากฝรั่งนิโคตินดูแล้วไม่ได้ผล




 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก เดียร์ล้อขาว 203.209.38.31 อังคาร, 26/6/2550 เวลา : 14:36   แก้ไขข้อความ แก้ไขข้อความ   เปลี่ยนรูปใหม่ เปลี่ยนรูป   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 202221

คำตอบที่ 207
       ลองนี่สิแล้วไม่ต้องสูบ เพราะมันเปียก อ่ะ 555

http://www.sat-gps-locate.com

กรอกเบอร์มือถือ 081 ก็เป็น 6681 ในช่องแรก
ช่องที่สองก็ใส่เบอร์ที่เหลือ *******



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60 จาก Loft60-84 210.1.50.194 อังคาร, 26/6/2550 เวลา : 15:00   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 202225

คำตอบที่ 208
       อ่านนี่เลยครับ ถ้า มีประสพการณ์ เลิกมาไม่สำเร็จ

If you have tried to quit smoking and failed before, take comfort in the fact that most smokers fail several times before quitting successfully. Your past failures are not a lesson that you are unable to quit. Instead, view them as part of the normal journey toward becoming a nonsmoker.
The information below will ease your way and help insure that this is the last time you ever need to go through the quitting process. You can do it!

Please wait a few moments while this page loads. You may wish to print it out.



QUITTING TIPS

© 2000 by Patrick Reynolds
The most important step to take is the first step --
admitting you have an addiction.


When asked why you smoke, you might have said, "I just like to smoke!" or "It's my choice to smoke."
The tobacco companies have promoted the idea that smoking is a matter of personal choice. As I see it, there really isn't as much choice as they have suggested to their customers.

Ask yourself, and be totally honest: Am I addicted to tobacco? Am I truly making a freely made choice when I smoke?

You might consider that you need to have a cigarette. Studies have shown that nicotine addiction is as hard to break as heroin or cocaine addiction.

In Nicotine Anonymous' 12 Step program, which sprang from the venerable Alcoholics Anonymous program, the first step is admitting to yourself, "I'm powerless over tobacco." Making this admission may seem trivial to you, but for many it is a very significant part of completing the journey to becoming a non-smoker.

By telling smokers that smoking is a personal choice, the tobacco industry has helped to keep its customers in denial about the true extent of their addiction. If smoking is a choice, then what's the rush to quit? The tobacco companies have used this spin to help keep millions of customers buying their deadly products.

Admitting that you're smoking more out of addiction than choice will help motivate you to go on to the next steps -- taking control of yourself and becoming a nonsmoker.

This admission will further serve you by helping you stay smokefree later. In the months and years after you quit, when temptations to smoke occasionally overpower you -- and they will -- remind yourself, "I have an addiction and I'm powerless over tobacco." Saying this to yourself in overwhelmed moments of desire will help give you the strength to say no to "just one" cigarette.

If you can make it for just five minutes without giving in, the urge to smoke be controllable or disappear. In this way, you'll be able to stay smokefree for life.



--------------------------------------------------------------------------------

For me there were two very distinct and
EQUALLY IMPORTANT phases to quitting:

Phase One — Quitting with help
Phase Two — Staying smokefree and not relapsing






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60 จาก Loft60-84 210.1.50.194 อังคาร, 26/6/2550 เวลา : 15:38   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 202227

คำตอบที่ 209
       และ ปฏิบัติการ หักดิบ ฝึกพฤติกรรมใหม่ ครับ


DEEP BREATHING PERHAPS THE SINGLE MOST POWERFUL AND IMPORTANT TECHNIQUE Every time you want a cigarette, do the following. Do it three times.

Inhale the deepest lung-full of air you can, and then, very slowly, exhale. Purse your lips so that the air must come out slowly.

As you exhale, close your eyes, and let your chin gradually sink over onto your chest. Visualize all the tension leaving your body, slowly draining out of your fingers and toes, just flowing on out.

This is a variation of an ancient yoga technique from India, and is VERY centering and relaxing. If you practice this, you'll be able to use it for any future stressful situation you find yourself in. And it will be your greatest weapon during the strong cravings sure to assault you over the first few days.

This deep breathing technique will be a vital help to you. Reread this point now, and as you do, try it for the first time. Inhale and exhale three times. See for yourself!


The first few days, drink LOTS of water and fluids to help flush out the nicotine and other poisons from your body.


Remember that the urge to smoke only lasts a few minutes, and will then pass. The urges gradually become farther and farther apart as the days go by.


Do your very best to stay away from alcohol, sugar and coffee the first week or longer, as these tend to stimulate the desire for a cigarette. Avoid fatty foods, as your metabolism will slow down a bit without the nicotine, and you may gain weight even if you eat the same amount as before quitting. So discipline about diet is extra important now. No one ever said acquiring new habits would be easy!


Nibble on low calorie foods like celery, apples and carrots. Chew gum or suck on cinnamon sticks.


Stretch out your meals; eat slowly and wait a bit between bites.


After dinner, instead of a cigarette, treat yourself to a cup of mint tea or a peppermint candy.


In one study, about 25% of quitters found that an oral substitute was invaluable. Another 25% didn't like the idea at all -- they wanted a clean break with cigarettes. The rest weren't certain. Personally, I found a cigarette substitute to be a tremendous help. The nicotine inhaler (by prescription) is one way to go: it's a shortened plastic cigarette, with a replaceable nicotine capsule inside.


A simpler way to go is bottled cinnamon sticks, available at any supermarket. I used these every time I quit, and they really helped me. I would chew on them, inhale air through them, and handle them like cigarettes. After a while, they would get pretty chewed up on one end -- but I'd laugh, reverse them and chew on the other end. Others may prefer to start a fresh stick. Once someone asked me, "Excuse me, but is that an exploded firecracker in your mouth?" I replied that I was quitting smoking – and they smiled and became supportive. Luckily, I never needed the cinnamon sticks after the first three days of being a nonsmoker.


Go to a gym, sit in the steam, exercise. Change your normal routine – take time to walk or even jog around the block or in a local park.


Look in the black pages under Yoga, and take a class – they're GREAT! Get a one hour massage, take a long bath -- pamper yourself.


Ask for support from coworkers, friends and family members. Ask for their tolerance. Let them know you're quitting, and that you might be edgy or grumpy for a few days. If you don't ask for support, you certainly won't get any. If you do, you'll be surprised how much it can help. Take a chance -- try it and see!


Ask friends and family members not to smoke in your presence. Don't be afraid to ask. This is more important than you may realize.


On your quit day, hide all ashtrays and destroy all your cigarettes, preferably with water, so no part of them is smokeable.




 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60 จาก Loft60-84 210.1.50.194 อังคาร, 26/6/2550 เวลา : 16:03   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 202231

คำตอบที่ 210
       ผมเคยเลิกมาหลายครั้งแล้วแต่ได้แค่ไม่กี่วัน อิอิ

นี่ครับ Phase 2 วิธีการภาค 2 ครับ กันมันกลับมาอีก

Phase Two
Staying smokefree and not relapsing

Here is the most valuable secret I can share with you, and probably the most important information on this page.

After the urges to smoke have become more and more infrequent, overwhelming surprise attacks are sure to come, a few weeks and months into your new smokefree life.

When these nearly out-of-control urges came (and they always engulfed me in unexpected moments), I learned that if I did my deep breathing (see above), and if I could just HOLD ON for 5 minutes -- the overpowering urge to smoke would completely pass.

That is by far the single most important thing I learned -- the hard way -- about how to quit successfully.

Because I didn't know this, I failed 11 times. I finally stopped for good on my 12th try, in Spring 1985. It's the key to what has empowered me to stay smokefree for the past dozen years or so.

So know that out-of-control, very nearly irresistible urges to have "just one" are going to take you by surprise, like a sudden gale that seems to come from nowhere. This will happen one or more times in the coming months.

Every time it does, do your deep breathing (see above), hold on for 5 minutes -- you can do it -- and the urge will completely pass.

I'm convinced that this is the single most important secret to quitting for life






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

loft60 จาก Loft60-84 210.1.50.194 อังคาร, 26/6/2550 เวลา : 16:14   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 202233

      

ยังมีคำตอบมากกว่านี้นะครับ คลิ๊กเพื่อดูหน้าถัดไป


คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 7 จาก >>> 1  2  3  4  5  6  7  8  9  10  11  12  13  14  15  16  17  18  19  20  
21  22  23  24  25  26  27  28  29  30  



website รองรับการใช้งานทุกระบบปฏิบัติการของ PC Tablet SmartPhone ทุกระบบสามารถโพสข้อความและรูปภาพได้โดยไม่ต้องย่อไฟล์
เพื่อความปลอดภัยในการใช้ website WeekendHobby.Com สมาชิก เท่านั้น จึงจะตั้งกระทู้ หรือ ตอบกระทู้ได้ครับ
Login Click ที่นี่
สมัครสมาชิก Click ที่นี่



Since 22, Feb 2001 hit counter View My Stats  Truehits.net      วันเสาร์,27 เมษายน 2567 (Online 4048 คน)