WeekendHobby.com


รถพลังลม วิธีประหยัดพลังงานกับ Air Car น่ารักๆ ค่ะ
rbj 434
จาก Tak IZU 034
พุธที่ , 2/7/2551
เวลา : 09:02

อ่าน = 2884
124.120.9.28
       .......เห็นเป็นข่าวสารดีๆ มีสาระ น่าใช้สำหรับยุคประหยัดพลังงานค่ะ

วิธีเดินทางด้วยพลังงานสะอาด และประหยัดมีหลายวิธีการ ทั้งเดิน และปั่นจักรยาน กระทั่งการพยายามประดิษฐ์เครื่องยนต์พลังลมอัด แต่ที่ประสบความสำเร็จจนถึงการนำไปใช้เชิงพาณิชย์แล้วก็คือคุณ Guy Negre ชาวฝรั่งเศส ซึ่งใช้เวลาในการวิจัยพัฒนาประมาณ 14 ปี ผลผลิตจะอยู่ในรูปของรถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์พลังลมอัดเพียงอย่างเดียวหรือใช้ร่วมกับเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง รถชนิดนี้ใช้ได้ดีในเมืองเพราะไม่มีมลพิษกรณีใช้ลมอัด หรือมีมลพิษน้อยลงกรณีใช้ร่วมกับเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมัน

เสียงเครื่องยนต์จะเบามาก ขณะรถติดจะไม่มีการใช้พลังงานเลย องค์ประกอบสำคัญที่ทำให้เกิดความสำเร็จอยู่ที่การออกแบบกระบอกสูบ-ลูกสูบให้ทำงานที่ความดัน 2 ระดับให้มีประสิทธิภาพสูง ถังลมมีปริมาตร 90 ลูกบาศก์เมตร เก็บลมอัดที่ความดัน 300 บาร์ (ประมาณ 300 เท่าของบรรยากาศ) ระบบนี้เป็นจริงได้เพราะการพัฒนาเทคโนโลยีเส้นใยคาร์บอน (Carbon fiber) ที่ทำให้สามารถผลิตถังที่มีความแข็งแรง ปลอดภัยจากการเกิดระเบิด และมีน้ำหนักเบามาก

ระบบควบคุมเป็นอีกปัจจัยสำคัญของความสำเร็จ รถชนิดนี้ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมการทำงานเกือบทุกระบบ การควบคุมลมที่ป้อนเข้าสู่เครื่องยนต์ใช้ระบบการกระจายเชิงอิเล็กโตรแมกเนติกส์แบบง่าย มีการติดตั้งมอเตอร์และอัลเทอร์เนเตอร์ (Electric motor-alternator) ขนาด 5 กิโลวัตต์ไว้ที่ล้อช่วยแรง (Flywheel) ขณะเบรกจะมีการผลิตไฟฟ้าไปเก็บไว้ใช้ต่อไป

ในอนาคตหากมีการใช้รถประเภทนี้จำนวนมาก จะมีสถานีเติมลมในลักษณะเดียวกับสถานีเติมก๊าซ LPG หรือ CNG (Compressed natural gas) ที่นิยมเรียก NGV (Natural Gas Vehicle) ในบ้านเรา ในกรณีที่ยังไม่มีสถานีเติมลม มีการติดตั้งระบบอัดลมเข้าถังที่ใช้ไฟฟ้าเป็นตัวขับมาด้วยแล้ว ระยะเวลาในการอัดลมจะประมาณ 5.5 ชั่วโมงเมื่อใช้ไฟฟ้า 220 โวลต์ หรือ 3.5 ชั่วโมงเมื่อใช้ไฟฟ้า 380 โวลต์ หากคิดเป็นกิโลเมตรละประมาณ 50 สตางค์

ล่าสุดบริษัท Tata Motors บริษัทรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศอินเดีย ประกาศผลิตรถยนต์ที่ใช้พลังงานลมในการขับเคลื่อน โดยจะทยอยนำส่งเข้าสู่โชว์รูมในปี พ.ศ. 2552 รถยนต์พลังลม หรือ AirCar นี้ ใช้การปล่อยอากาศจากระบบบีบอัดอากาศด้วยความดันสูง โดยอากาศที่ปล่อยออกมาจะทำหน้าที่หมุนเพลา ทำให้รถเคลื่อนที่ไปได้ โดยการเติมอากาศ สามารถเติมได้ตามสถานีอัดอากาศด้วยราคาไม่แพง โดยความเร็วสูงสุดที่ทำได้อยู่ที่ประมาณ 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และสามารถวิ่งได้ประมาณ 200 กิโลเมตรต่อการเติมอากาศหนึ่งครั้ง


MINICAT’s
L l h P nb
places CU Vitesse
km/h autonomie
en cycle
urbain autonomie
à 60 km/h
CITYCAT’S
Berline 3,84 1,72 1,75 750 6 500 110 200 240
Taxi 3,84 1,72 1,75 750 4+1 500 110 200 240
Fourg 3,84 1,72 1,75 690 1+1 550 110 200 240
Pick-up 3,9 1,72 1,7 650 2 550 110 200 240
MINICAT’S
Mini 2,65 1,62 1,66 550 3 110 150 170



บริษัทผู้ออกแบบรถยนต์พลังลมคันนี้ คือ บริษัท MDI จากประเทศลักเซมเบิร์ก ซึ่งให้สิทธิบัตรแก่ TATAในการผลิตรถยนต์พลังลมในประเทศอินเดีย โมเดลแรกของTATA CityCAT ตั้งราคาไว้ประมาณ 400,000 บาท โดย TATA หวังไว้ว่าจุดเด่นของ CityCAT ที่ไม่มีการปล่อยมลพิษทางอากาศ และราคาไม่แพง จะทำให้รถพลังลมรุ่นแรกนี้ จะทำยอดขายได้ดีในตลาดอินเดีย และแน่นอนตอนนี้ Tata Motors กำลังรุกตลาดกระบะไทยอย่างหนัก คาดว่าปีหน้าคงนำรถพลังลมมาเปิดตลาดที่เมืองไทยแน่นอน

น่าสนใจไม่น้อยเลยนะคะ สำหรับใช้ในเมืองค่ะ .........น่ารักดีด้วย จิ .........





เครื่องมือในการใช้งาน website =>> สมัครสมาชิก | Login | Logout | เปลี่ยนไอคอนส่วนตัว | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อโฆษณา         View stat by Truehits.net


   
   

คำตอบที่ 1
       ดีครับ ช่วยกันพัฒนายานยนต์ให้ปลอดมลพิษและไม่ต้องง้อน้ำมัน ขอให้บ้านเมืองไทยของเราได้ใช้เร็ว แต่การจราจรจะเป็นไงถ้าคนใช้กันแยอะ



จาก คนรักรถฟอร์ด   58.136.95.10  พุธ, 16/7/2551 เวลา : 05:30   


คำตอบที่ 2
       อันนี้ของไทยทำครับ "เก๋งเซลล์เชื้อเพลิง" คันแรกของไทย รายที่สองของเอเชีย

หลังจากไดัพัฒนา "มินิบัสไฮบริดไฟฟ้า-โซลาร์เซลล์" เมื่อปลายปี 49 และเปิดตัว "รถเซลล์เชื้อเพลิงต้นแบบ" ขนาด 960 วัตต์คันแรกไปเมื่อปลายปี 50 ที่ผ่านมา ล่าสุด เจ้าของผลงานก็เปิดตัวนวัตกรรมใหม่อีกครั้งกับรถเก๋งเซลล์เชื้อเพลิงขนาด 8-10 เมกะวัตต์

สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ได้พาคณะสื่อมวลชนรวมถึงผู้จัดการวิทยาศาสตร์ร่วมงานเปิดตัวนวัตกรรม "รถเก๋งเซลล์เชื้อเพลิง" คันแรกของไทยขึ้นเมื่อวันที่ 11 ก.ค.51 ณ บริษัท คลีนฟูเอล เอ็นเนอร์ยี เอ็นเตอร์ไพร้ส์ จำกัด จ.ปทุมธานี หลังจากได้รับงบประมาณสนับสนุนการวิจัย 14 ล้านบาทเป็นเวลาหนึ่งปี

พลอากาศโทมรกตเผยว่า รถเก๋งเซลล์เชื้อเพลิงคันนี้เป็นการต่อยอดรถเซลล์เชื้อเพลิงต้นแบบชนิดเมมเบรนแลกเปลี่ยนโปรตอน (PEMFC) ที่ได้พัฒนามาก่อนหน้า โดยเพิ่มกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าจาก 960 วัตต์เป็น 8-10 กิโลวัตต์เป็นผลสำเร็จ ทำให้รถดังกล่าวแล่นได้ด้วยความเร็วสูงสุด 130 กม.ต่อชั่วโมง ด้วยราคาต้นแบบวิจัย 6 ล้านบาท ทว่าหากมีการผลิตจำนวนมากจะทำให้ภายในหนึ่งปี รถเก๋งเซลล์เชื้อเพลิงจะมีราคาคันละ 2 ล้านบาทเศษ

"ไฟฟ้าที่เซลล์เชื้อเพลิงผลิตได้ราว 5-7 กิโลวัตต์จะถูกนำไปใช้กับมอเตอร์ไฟฟ้าเพื่อขับเคลื่อนรถยนต์ ส่วนที่เหลือเรายังนำไปใช้กับระบบเครื่องเสียง หรือแม้แต่ระบบทำความเย็นได้" พลอากาศโทมรกตกล่าว โดยรถดังกล่าวมีข้อดีคือทำงานได้ในอุณหภูมิ 40-80 องศาเซลเซียส ใกล้เคียงกับเครื่องยนต์สันดาปในปัจจุบัน และปรับสมดุลในระบบได้เร็ว มีอายุการขณะใช้งานรวมกันกว่า 1 หมื่นชั่วโมง

ทั้งนี้ รถเก๋งเซลล์เชื้อเพลิงจะทำงานโดยใช้เชื้อเพลิงไฮโดรเจน เพื่อผลิตกระแสไฟขับเคลื่อนมอเตอร์ไฟฟ้า 5.5 แรงม้า ซึ่งทีมวิจัยได้ประกอบตัวถังรถขึ้นเอง และนำเข้าเฉพาะถังเก็บไฮโดรเจนขนาด 900 ลิตรจากประเทศสหรัฐอเมริกาติดตั้งจำนวน 1 ถัง เพียงพอที่จะแล่นได้นาน 20 นาที ได้ระยะทาง 30-40 กม.

ทั้งนี้ รถเก๋งคันดังกล่าวมีอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงนาทีละ 54 ลิตร โดยสามารถติดตั้งถังไฮโดรเจนเพิ่มเติมอีก 4-5 ถังจะทำให้รถเก๋งเซลล์เชื้อเพลิงแล่นได้ยาวนานขึ้น

"เราได้ทดลองวิ่งระยะทางไม่ไกลนานประมาณครึ่งเดือนพบว่า รถเก๋งเซลล์เชื้อเพลิงใช้งานได้ดี ไม่ต้องใช้น้ำมัน ไม่มีไอเสียที่เป็นมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม" นักวิจัยกล่าว

พลอากาศโทมรกตกล่าวอีกว่า รถเก๋งเซลล์เชื้อเพลิงดังกล่าวเรียกได้ว่าเป็นรถเก๋งเซลล์เชื้อเพลิงคันแรกของไทย และเป็นที่ 2 ของเอเชีย นอกเหนือจากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเมื่อเดือนที่ผ่านมา ค่ายรถยนต์ฮอนด้าของญี่ปุ่น เพิ่งมีการลองตลาดรถเก๋งเซลล์เชื้อเพลิง 100 คันแรก ขณะที่ค่ายรถยนต์จากเยอรมนี อย่างบีเอ็มดับเบิลยูและเดมเลอร์ไครสเลอร์ได้พัฒนารถเก๋งเซลล์เชื้อเพลิงแล้วเช่นกัน

ด้าน ศ.ดร.อานนท์ บุณยะรัตเวช เลขาธิการสภาวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า หลังการเปิดตัวดังกล่าว วช.จะเร่งทำหนังสือถึงนายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีถึงความก้าวหน้าทางการวิจัยดังกล่าว เพื่อให้เกิดการขยายผลกับกระทรวงพลังงานและกระทรวงอุตสาหกรรมต่อไป

สำหรับการวิจัยพัฒนาข้างหน้า ร.ท.ภราดร แสงสุวรรณ ผู้ช่วยนักวิจัย กล่าวว่า จะหาแนวทางความร่วมกับศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) วิจัยพัฒนาถังเก็บไฮโดรเจนที่มีมาตรฐานและความปลอดภัยต่อไป เพื่อให้การผลิตรถเก๋งเซลล์เชื้อเพลิงของคนไทยสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างครบวงจรยิ่งขึ้น.







จาก ทททท  61.91.73.130  พุธ, 16/7/2551 เวลา : 15:40   


คำตอบที่ 3
       เปิดตัวคุ้นๆ นะ เหมือนงานอะไรซักอย่างแถวๆบ้านเลย ฮ่ะๆ





จาก ทททท  61.91.73.130  พุธ, 16/7/2551 เวลา : 15:41   


คำตอบที่ 4
       ให้ดูอีก





จาก ทททท  61.91.73.130  พุธ, 16/7/2551 เวลา : 15:42   


คำตอบที่ 5
       http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=2542&Key=news11

ที่มา





จาก ทททท  61.91.73.130  พุธ, 16/7/2551 เวลา : 15:42   


      

Since 22, Feb 2001 hit counter View My Stats  Truehits.net      วัน<%=WeekdayName(Weekday(Date))%>,<%=formatdatetime(date(),1)%> (Online <%=Application("OnlineUsers")%> คน)
                                       

เพื่อลดภาระของ ฐานข้อมูล ซึ่งมีขนาดใหญ่มาก เพราะเวบเปิดมากว่า 10 ปี
จึงทำให้เวบช้าลงมาก ทีมงานจึงขออนุญาต แปลงข้อมูลจาก ฐานข้อมูลหลักเป็น SHTML File
เพื่อลดภาระการทำงานของ ฐานข้อมูลหลักครับ การแปลงฐานข้อมูลนี้ จะทำให้กระทู้นี้
ไม่สามารถตอบคำถามได้อีกต่อไปครับ แต่จะสามารถค้นหาชื่อกระทู้ และ Link ตรงมาที่หน้านี้ได้เหมือนเดิมครับ

ด้วยความนับถืออย่างสูง ทีมงาน Weekendhobby.com


Convert on : 26/8/2554 6:24:25

Error processing SSI file