WeekendHobby.com
เครื่องมือในการใช้งาน website =>> สมัครสมาชิก | Login | Logout | เปลี่ยนไอคอนส่วนตัว | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อโฆษณา         View stat by Truehits.net


ความรู้ดีๆ 4x4 จากชาวบูรพา

จาก น้าพี
IP:124.121.36.241

พฤหัสบดีที่ , 25/5/2549
เวลา : 20:22

อ่านแล้ว = 3650 ครั้ง
 เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งตรวจสอบกระทู้
 แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน ส่งหาเพื่อน

      


 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

แจ้งเพื่อเก็บขึ้นกระทู้พิเศษ คลิ๊กที่นี่แจ้งเพื่อนำขึ้นกระทู้พิเศษ

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  

คำตอบที่ 1
      

fiogf49gjkf0d

..........ข้อควรระวังในการใช้ไฮ-ลิฟท์ แจค
เมื่อรถของคุณเกิดยางแบน หรือยางหลุดออกมานอกกระทะล้อ จำเป็นต้องทำการ เปลี่ยนเอาล้อมาใส่แทน การใช้ไฮ-ลิฟท์ แจค เพื่อทำการเปลี่ยนล้อต้องทำด้วย ความระมัดระวัง ไม่ควรทำด้วยตัวเองเพียงคนเดียว ควรมีผู้ช่วยและให้ยืนห่างพอ ที่จะไม่เกิดอันตราย เมื่อต้องใช้ไฮ-ลิฟท์ แจค ยก ให้ยกที่บริเวณกันชนให้สูงพอ จนล้อลอยพ้นขึ้นจากพื้น แล้วหาขอนไม้หรือก้อนหินมาหมุนที่ปลายเพลาหรือ แหนบก่อนทำการถอดเปลี่ยนยาง เสร็จแล้วค่อยให้ไฮ-ลิฟท์ แจค ยกลงมา ห้ามทำ การยกค้ำลอยไว้ในขณะเปลี่ยนยางเป็นอันขาด
http://www.siamcar.com/siam4x4/tech/t5.html



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก น้าพี 124.121.36.241 พฤหัสบดี, 25/5/2549 เวลา : 20:23  IP : 124.121.36.241   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 836

คำตอบที่ 2
      

fiogf49gjkf0d
นี่คือวิธีที่ท่านจะใช้ระบบขับเคลื่อน4ล้อแบบ Part time ของท่านให้มีประสิทธิภาพและปลอดภัยมากที่สุด

* ในเวลาปกติหรือส่วนใหญ่ให้ขับรถด้วยระบบขับเคลื่อน 2 ล้อ ( นี่คือที่มาของคำว่า “บางเวลา Part time”- เพราะคุณใช้มันเป็นบางครั้งเท่านั้น)
* สลับเปลี่ยนเป็นระบบขับเคลื่อน 4 ล้อเมื่อคุณจำเป็นต้องเผชิญหิมะ,น้ำแข็ง หรือ ทางลื่นจากฝน ( ถ้าคุณใช้ระบบ (Manual hub) ก็ควรล็อคตลอดเวลาที่สภาพอากาศไม่ดี )
* สลับเป็นระบบขับเคลื่อน 4 ล้อก่อนที่ท่านจะติดกับอุปสรรคดีกว่าติดแล้วค่อยเปลี่ยนเป็น 4 ล้อ
* สลับกลับไปที่ ระบบขับเคลื่อน 2 ล้อทันทีที่ไม่ต้องการในขณะที่รถยังเคลื่อนที่อยู่( โดยทั่วไปรถส่วนใหญ่มีระบบ สลับโดยไม่ต้องหยุดรถแล้ว)
* มั่นใจว่าน้ำหนักที่คุณบรรทุกในกระบะหลังมีน้ำหนักใกล้เคียงกับด้านหน้า (โดยเฉพาะเมื่อขับเคลื่อน 2 ล้อ) เช่นถ้าหน้าทิ่ม แรงฉุดการขับเคลื่อนของรถมาจากเพลาหลัง และจะทำให้แรงฉุดลดน้อยลงทั้ง 2 เพลา (จากสาเหตุกระบะไม่ได้บรรทุกอะไร เนื่องจะไม่มีน้ำหนักกดลง)

ข้อเสียของการขับรถขับเคลื่อน 4 ล้อบนถนนดำด้วยความเร็วสูง
- ถ้าขณะเลี้ยวคุณใช้ระบบขับเคลื่อน 4 ล้ออยู่ คุณจะรู้สึกว่าการเลี้ยวจะไม่ค่อยคล่องตัวเหมือนขับ 2 ล้อ (อาการขืนของล้อจะเกิดขึ้น – การเลี้ยวจะมีวงกว้างขึ้นมากกว่าปกติ)ทำไม ? เพราะขณะที่ขับเคลื่อน 4 ล้อ แกนเพลา ระบบเฟืองได้ถูกเชื่อมต่อ – เพลาทั้งสองได้รับกำลังพอๆกัน และ ความเร็วรอบเดียวกัน (นี้จึงเป็นสาเหตุการขืนขณะเลี้ยว)
- ขณะที่คุณเหยียบเบรค, เพลาหน้าจะรับแรง 80% และส่วนที่เหลือจะส่งผ่านเพลากลางไปยังเพลาหลังทำให้เกิดความ ไม่สมดุลของเบรคและเกิดอาการล็อคล้อ นี่เป็นสาเหตุทำให้รถส่ายและหมุน คว่ำได้
- ขณะที่คุณขับเคลื่อน 4 ล้อ ,ระบบ ABS ของท่านจะทำงานไม่สมบูรณ์ ดังนั้นควรขับ 2 ล้อในเวลาปกติเพื่อความปลอด ภัยดีกว่า
offroad tips and technicals / Suzuki 4WD club of Tasmania



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก น้าพี 124.121.36.241 พฤหัสบดี, 25/5/2549 เวลา : 20:24  IP : 124.121.36.241   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 837

คำตอบที่ 3
      

fiogf49gjkf0d
เทคนิคการขับรถผ่านทางโคลน

ก่อนออกเดินทางไปที่ใดก็ตาม เราควรจะศึกษาและประเมิณถึงสภาพเส้นทาง ลักษณะโดยทั่วไปของพื้นดิน ลำธาร น้ำ หิน โดยเฉพาะโคลน เพื่อเลือกใช้ยางให้ถูกต้องกับสภาพนั้นหรือเตรียมการรับสภาพข้อเสียที่รถเรามีอยู่ และใช้เทคนิคอื่นๆหรือเตรียมเครื่องมือในการผ่านอุปสรรคนั้นๆไปได้ การขับรถในทางโคลนที่มีความนิ่ม ความแข็ง การให้ตัว แต่ละแบบนั้น มีเทคนิคการขับที่แตกต่างกันออกไป ทีนี้เรามาดูกันว่าโคลนแต่ละแบบ ยางแต่ละชนิดมีข้อดีข้อเสียต่างกันอย่างไร ดังจะกล่าวถึงสภาพหลักๆที่พบบ่อยมีดังนี้

ทางโคลนเล่ะๆ ที่มีพื้นข้างใต้ที่แข็งเช่น เส้นทางผาสวรรค์บน-ล่าง
ยางหน้าแคบจะทำงานได้ดีที่สุดโดยการกดแทรกหน้ายางลงไปในโคลนเหลวจนถึงพื้นชั้นดินที่แข็งด้านใต้ก่อให้เกิดแรงกดพารถเคลื่อนตัวไปได้ ตรงกันข้ามกับยางหน้ากว้างที่หน้ายางจะลอยปั่นอยู่ในชั้นโคลนเหลวโดยไม่ลงลึกลงไปถึงระดับดินแข็ง
โคลนหนา เนื้อแน่น เหนียวหนึบ เช่น เส้นทางถ้ำผานกนางแอ่น
ยางหน้ากว้างจะทำงานได้ดีในสภาพแบบนี้เนื่องจากมีการลอยตัวและจับโคลนได้เป็นอย่างดี พร้อมกับการปล่อยลมยางช่วยให้เหลือประมาณ 20 -25 ปอนด์ต่อ ตร.นิ้ว จะทำให้ผ่านอุปสรรคไปได้สบายเลยทีเดียว

แต่ถ้าไม่มองถึงเรื่องชนิดของโคลนหรือยางเลย เราพอจะมีหลักวิธีทั่วๆปในการผ่านอุปสรรคโคลนไปได้ก็คือ อย่างแรกยางเราจำเป็นต้องเป็นแบบดอกใหญ่ หรือที่เรารู้จักกันในรูปของยางMud ที่สามารถสะบัดโคลนและทำความสะอาดตัวเองได้ดี ถ้าดอกถี่ๆหรือเล็ก โคลนจะเข้าไปอุดจนมันลื่น จะไม่สามารถจับพื้นให้รถเคลื่อนตัวไปได้ แต่ไอ้เจ้ายางMud ที่ว่านี้ข้อดีของเค้าคือว่าดอกใหญ่มีที่ว่างระหว่างดอกกว้าง เพื่อจะให้โคลนดินที่ติดอยู่หลุดและดอกยางจะสะอาดอยู่ตลอดเวลา อย่างไรก็ตาม ยางพวกนี้จะมีข้อเสียขณะวิ่งบนทางดำหรือยางมะตอยจะลื่นหรือไม่ดีเอามากๆเพราะว่ามันมีดอกยางที่สัมผัสผิวถนนน้อย แล้วก็ในทรายก็ทำท่าจะขุดให้ลึกอย่างเดียวไม่ให้เคลื่อนไปข้างหน้าเท่าไหร่ สุดท้ายคือเสียงดังมากครับเวลาวิ่งบนถนนหลวง

เทคนิคการขับในทางโคลน
เทคนิคการขับรถในทางโคลนค่อนข้างแตกต่างกับลักษณะพื้นแบบอื่นๆ และแตกต่างกันตามชนิดของพื้นโคลนนั้นๆ การปล่อยลมยางจะช่วยได้มากในสภาพโคลนหนาๆลึกๆพร้อมกับที่จะทำให้ก่อให้เกิดปัญหาได้เช่นกันเมื่อไปเจอของแข็งที่ไม่คาดคิดใต้โคลนนั้น โดยปกติพื้นโคลนจะมีพวกรากไม้หรือกิ่งไม้คอยรอที่จะบาดแก้มยางของคุณได้ตลอดเวลา ดังนั้นทางที่ดีที่สุดพยายามหลีกเลี่ยงวิธีการปล่อยลมยางออกเป็นวิธีสุดท้ายก็แล้วกัน ถ้าจำเป็นจริงๆ
การขับรถบนเส้นทางที่มีร่องลึก ร่องลายล้อจะมีสภาพที่แน่นและค่อนข้างแข็งเนื่องจากน้ำได้เซาะร่องล้อนั้น แม้ว่าบางครั้งร่องล้อเก่าจะดูลึกกว่า น่ากลัวว่าบริเวณที่ไม่มีร่องล้อแต่มันสามารถจะมั่นใจได้ว่าสภาพดินนั้นแข็งและสามารถไปได้ อย่าเปิดลายหรือเส้นทางใหม่โดยไม่จำเป็น นอกจากเป็นการทำลายเส้นทางธรรมชาติแล้ว ยังอาจจะสร้างปัญหาจากสภาพพื้นดินที่เราไม่รู้เพิ่มขึ้นอีก
เทคนิคอีกอย่างคือการสายพวงมาลัยไปมาประมาณ 90 องศาจากตรงกลางเพื่อช่วยในการเซาะของหน้ายางเข้าไปในโคลนอันจะก่อให้เกิดการเคลื่อนตัวได้ แต่อย่าหมุนล้อแบบเร็วหรือมากเกินไปจนทำให้ระบบบังคับเลี้ยวพังจะทำให้ปัญหาบานปลายไปใหญ่
จากที่กล่าวมาทั้งหมดแล้า การขับรถผ่านทางโคลนนั้นไม่สามารถคาดเดาลักษณะของปัญหาได้ทั้งหมด เราจำเป็นต้องมีทักษะการขับรถอื่นๆควบคู่ไปด้วยและเลือกใช้วิธิต่างๆให้ถูกต้องกับเวลาและสถานการณ์ และสิ่งที่สำคัญที่สุดและไม่มีทางเปลี่ยนก็คือคุณจำเป็นต้องมียางMud ที่ดี ดอกใหญ่ พร้อมกับอุปกรณ์กู้ภัย เช่นวินซ์ หรือ Hilift Jack อื่นๆติดไปด้วยทุกครั้ง.
การบำรุงรักษารถหลังจากผ่านโคลน
โคลนนั้นโดยเฉพาะดินเหนียวที่หน้าจะติดแน่นมาก มันจะสะสมข้างในวงล้อ และส่วนที่มีผลกระทบมากคือผ้าเบรค ลักษณะแบบนี้จำเป็นต้องทำความสะอาดโดยทันทีที่พบ แต่การสะสมแบบอื่นที่จะสังเกตูไม่ค่อยเห็นโดยชัดเจนแตจำเป็นต้องเอาออกคือบริเวณวงกระทะล้อ ถึงแม้ว่าจะมีปริมาณเพียงเล็กน้อยแต่มันอาจจะทำให้ล้อหมุนไม่สมดุล ก่อให้เกิดอาการสั่นขณะวิ่งได้
นอกเหนือจากสภาพที่สังเกตุได้ เราจำเป็นต้องตราจเข็คช่วงล่างส่วนอื่นเช่น diff หรือ ท่อระบายของgearbox เพราะอาจจะก่อให้เกิดความเสียหายอื่นตามมาอีกมากมาย.
From
www.offroader.com



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก น้าพี 124.121.36.241 พฤหัสบดี, 25/5/2549 เวลา : 20:25  IP : 124.121.36.241   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 838

คำตอบที่ 4
      

fiogf49gjkf0d
ใส่ยางใหญ่ขึ้น ดีขึ้นตรงไหน? แล้วแย่ลงยังไง?
คำถามนี้น่าจะเป็นคำถามที่อยู่ในใจใครหลายคนที่ขับรถขับเคลื่อน 4 ล้ออยู่และคิดจะเปลี่ยนยางหรือแต่งให้รถดูดีขึ้น ส่วนใหญ่อาจจะทราบจากคำบอกเล่าหรือตามหนังสือนิตยสารต่างๆ และ นี่ก็ถือว่าเป็นแหล่งข้อมูลอีกแห่งหนึ่งซึ่งผู้ที่วิเคราะห์และระบุข้อดี ข้อเสียโดย Bf Goodrich ผู้ผลิตยางออฟโรดรายใหญ่ ยอดนิยมไปทั่วโลก ทางเราจึงนำมานำเสนอเพื่อแบ่งปันข้อมูลกันในการพิจารณา ที่จะเปลี่ยนยางครั้งต่อไปน่ะครับ

ข้อดีสำหรับการใส่ยางใหญ่ๆให้กับรถของคุณ
1. แน่ล่ะ อย่างแรกคือ มันจะทำให้รถของคุณดูแน่น ดูดุ สวยงาม เพิ่มระยะสูงจากพื้นถนนถึงเพลา
2. ยางใหญ่ มีหน้ายางกว้าง จะไม่ค่อยมีอาการจมตัวลงขณะที่คุณวิ่งบนพื้นนิ่มๆ เช่น โคลนเล่ะ พื้นทราย
3. ยางใหญ่ๆ มีอากาศ หรือลมบรรจุอยู่ภายในมาก นั่นก็คือมันจะไม่แบนง่ายๆหรือใช้เวลานานกว่าจะรั่วจนหมดถึงแบนแต๋นแต๋
4. ยางใหญ่ๆ จะมีพื้นที่หรือหน้ายางที่สัมผัสพื้นถนนมากขึ้น ก่อให้เกิด การฉุดลากที่ดี
5. แก้มยางที่หนาๆจะก่อให้เกิดความนุ่มนวล ซับแรงกดในขณะที่ขับหรือไต่ พื้นหินหยาบได้ดี
6. แก้มยางที่หนาขึ้นทำให้การขับรถบนถนนเรียบหรือดินลูกรังได้รับความนุ่มนวล สบายยิ่งขึ้น

ข้อเสีย สำหรับยางที่สูงขึ้น ใหญ่ขึ้นกว่าปกติ
1. ทุกๆนิ้วความสูงของยางที่เพิ่มขึ้น รถคุณจะสูญเสียกำลังเครื่องยนต์ 3.5 %
2. ยางที่ใหญ่ขึ้นจะมีผลกระทบทำให้ระบบห้ามล้อต้องทำงานหนักขึ้น ระยะหยุดเพิ่มขึ้น
3. การใส่ยางที่ใหญ่ขึ้นอาจก่อความลำบากและกำลังตกลงในการปีนไต่เนินชัน เพราะน้ำหนักที่มาก และ แหนบต้องทำงานหนักขึ้น
4. หน้ายางที่กว้างจะมีผลเสียทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนหรือผลกระทบกับชิ้นส่วนต่างๆของระบบบังคับเลี้ยว
5. ยางหน้ากว้าง ใหญ่ขึ้น มีน้ำหนักมากขึ้น แน่นอนก็ต้องตามมาด้วยอัตราการกินน้ำมันที่เพิ่มขึ้นด้วย
6. มีราคาใหญ่มากขึ้น ราคาก็สูงเพิ่มขึ้นตามตัว

ทีนี้ก็คงจะมีข้อมูลเพิ่มมากขึ้นในการพิจารณาว่าเราจะใส่ยางใหญ่ขนาดไหน กำลังดีให้เหมาะกับรถของเรา ไม่ว่าจะเป็นลักษณะการใช้ หรือท่องเที่ยว โอกาสในการใช้ ผลเสียหรือผลกระทบที่จะมีต่อเครื่อง ระบบช่วงล่าง มีมั้ย ต้องดัดแปลงปรับปรุงอะไรเพิ่มหรือเปล่า ถ้าคุ้มมีกำลังทรัพย์ละก็OK สุดท้ายคงจะไม่มีใครสามารถบอกได้แทนท่านละครับว่าขนาดไหนดี ขึ้นอยู่กับท่านคนเดียวว่าอยากได้แบบไหน ข้อเสียยอบรับได้หรือไม่ ถ้าได้ไม่มีปัญหาก็ใส่มันเต็มที่ไปเลย



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก น้าพี 124.121.36.241 พฤหัสบดี, 25/5/2549 เวลา : 20:26  IP : 124.121.36.241   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 839

คำตอบที่ 5
      

fiogf49gjkf0d
การกระทำที่อาจจะก่อให้เกิดความยุ่งยากในการเดินทาง
การออกเดินทางท่องเที่ยวแต่ละครั้งนั้น สิ่งหนึ่งที่เรากลัวกันมากคือ รถเสียระหว่างเดินทางไม่ว่าจะเป็นขาไปหรือขากลับ มันช่างเป็นอะไรที่บรรยายไม่ถูกสำหรับผู้ที่ต้องเผชิญสถานการณ์เช่นนี้ ไม่ว่าสถานที่ ธรรมชาติจะสวยขนาดไหน ยากที่จะทิ้งความกังวลเรื่องนี้ออกไปได้ และที่สำคัญถ้าเกิดในเส้นทางที่เลวร้าย ในป่าเขาห่างไกลชุมชนยิ่งไปกันใหญ่ ซึ่งมันจะทำให้ท่านไม่สนุก มีความกลัวและระแวงการเดินทางแบบนี้ไปอีกนาน
สิ่งเหล่านี้เราสามารถป้องกันหรือลดโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ให้น้อยที่สุดได้ ถ้าเรารู้จักความระมัดระวัง ใส่ใจกับสิ่งเล็กๆน้อย มันอาจจะเป็นเรื่องธรรมดาที่น่าจะรู้หรือปฏิบัติเป็นประจำรู้แล้ว แต่ถ้าท่านละเลยมัน หรือพลาดในการกระทำบางอย่าง อาจเป็นเหตุให้เกิดปัญหาบานปลายใหญ่โตได้
มีการกระทำที่พบเป็นประจำอยู่ 10 อย่างที่ในหมู่นักท่องเที่ยว ขับรถทั้งหมาย ละเลย และไม่ให้ความสำคัญกับมันในขณะหรือก่อนเดินทาง ทำให้สามารถก่อให้รถของท่านมีปัญหาระหว่างเดินทางได้ มีอะไรบ้างครับเรามาดูกัน

1. ความไม่ใส่ใจ ขาดการดูแลสภาพของยางรถของคุณ ดอกยาง การฉีกขาดของแก้มยาง รวมทั้งกะทะล้อ ผมว่ามีไม่กี่คนหรอกครับที่ก้มดูยางรถตัวเองอย่างละเอียดถี่ถ้วนก่อนออก เดินทาง ดูซักนิดเถอะครับ เส้นละ 1 นาที รวม 4 นาทีเอง
2. การใช้ความเร็วหรือรอบเครื่องยนต์สูงๆ เพื่อเอาชนะอุปสรรค หลายครั้งที่พิสูจน์มาแล้วครับว่า ในเส้นทางออฟโรด การใช้รอบสูงๆ ใส่เต็มๆ ใช่ว่าจะประสบความสำเร็จเสมอไป ใช้ความพอดีดุจพินิจในสภาพเส้นทางโดยเฉลี่ยซัก 2000 -3000 รอบก็พอ อุปสรรคต่างๆ โคลน น้ำ โขดหิน หรือ ลาดชัน ไม่จำเป็นต้องชนะด้วยความเร็ว ตรงกันข้ามันอาจจะนำมาซึ่งความเสียหายของรถมากว่าความสำเร็จในที่สุด
3. รถสมัยนี้ทุกคัน ระบบบังคับเลี้ยวพวงมาลัยจะเป็นแบบพาวเวอร์ มันทำให้ท่านเบาแรง หมุนพวงมาลัยซ้าย-ขวาได้อย่างรวดเร็ว นี่แหล่ะจะเป็นสาเหตุตัวทำลายช่างล่างและระบบบังคับเลี้ยวของท่านอย่างดี ถ้าท่านกระทำมันขณะรถนิ่งอยู่กับที่บ่อยๆ โดยเฉพาะในเส้นทางที่หยาบ เป็นโขดหิน เพราะมันจะเกิดอาการขัดตัว ฝืนตัวระหว่างล้อกับพื้นดินอย่างเร็วและแรง ขณะที่ท่านส่ายมันไปมาอยู่กับที่ พอนึกภาพออกน่ะครับ ต้องระวังดีๆ
4. การเหยียบครัชหรือเลี้ยงครัชขณะลงเนินหรือขึ้นเนินชัน อันนี้คงไม่ต้องบอกน่ะครับว่าถ้าทำแล้วอาการของรถจะเป็นอย่างไร อย่าเผลอทำนะครับ เพราะมันจะจบลงด้วยความรุนแรงและรวดเร็วเสมอ
5. การขับรถท่องเที่ยวป่าแน่นอนต้องไปเป็นกลุ่มหลายคนหลายคัน เพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ที่สำคัญความคิดเห็นที่กล้า บ้าบิ่นของใครบางคนอาจจะอันตรายสำหรับการเดินทาง อย่าเห็นพ้อง หรือ เออออ ห่อหมกกันไปหมดในเวลาที่ต้องใช้ความระมัดระวังหรืออันตรายมากกับอารมณ์สนุกหรือท้าทายจากเพื่อนเรา การแสดงความคิดเห็นหรือขัดแย้งอาจจำเป็นในบางกรณี
6. "การขับรถคร่อมสิ่งกีดขวาง" ได้! แต่ต้องดูให้ดี รถคุณสูงเท่าไหร่? ไอ้ที่จะคร่อมสูงเท่าไหร่? ไม่น่าอายถ้าเกิดความไม่แน่ใจ แล้วจอดลงมาดู พิจารณา หรือเบี่ยงออกไป
7. ถ้าท่านเป็นคันแรก อย่ารีบเร่งที่จะขับผ่านลำน้ำถึงแม้ท่านจะเคยผ่าน ( เมื่อนานมาแล้ว) พื้นท้องน้ำ ความลึกเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา เป็นความผิดมหันหรือประมาทอย่างยิ่ง ถ้าท่านไม่ลงไปสำรวจมันก่อน
8. การสอดนิ้วไว้ในช่องพวงมาลัยรถตลอดเวลาขณะขับบนทางวิบาก บางคนอาจจะยังไม่รู้ว่าทำไมต้องใส่โช็คกันสะบัด พวงมาลัยรถน่ากลัวนักหรือ? มันจะตีแรงขนาดไหน? ระวังไว้เถอะครับ อาการดีดหรือตีกลับขณะที่ล้อไปชนสิ่งกีดขวางทำให้ล้อหันแล้วส่งอาการมาที่พวงมาลัยมันแรงและเร็วไม่ใช่เล่น ไม่เชื่ออย่าลบหลู่น่ะ
9. " ทิ้งโทรศัพท์มือถือไว้ที่บ้าน" อย่าอมยิ้มหรือนึกว่าไม่สำคัญน่ะครับ บางครั้งการมีหรือไม่มีโทรศัพท์ ณ สถานการณ์หนึ่งๆ มันมีผลลัพท์ออกมาคนละเรื่องเลยน่ะ
10. " เริ่มคิดจะเปลี่ยนเกียรเป็นระบบขับเคลื่อน 4 ล้อเมื่อรถคุณติดในอุปสรรคแล้ว " บางครั้งการปรับเปลี่ยนตอนนี้อาจจะสายไปซะแล้วสำหรับการเปลี่ยนใจ ใส่สี่ล้อก่อนเถอะครับเมื่อคุณเริ่มรู้สึกว่าจะมีอุปสรรคข้างหน้าแล้ว

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้คิดว่าคงจะเป็นประโยชน์ต่อพวกเรานักขับรถออฟโรดสมัครเล่นทั้งหลาย เพื่อลดการสูญเสียหรือหลีกเลี่ยงความเสียหายอันอาจจะเกิดกับรถท่านได้ อ้อ ! อีกนิดหนึ่ง " ออกรถอย่าลืมปลดเบรคมือน่ะครับ ( สำหรับ Jeep ทั้งหลาย)"
ที่มา : www.abc4x4.com



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก น้าพี 124.121.36.241 พฤหัสบดี, 25/5/2549 เวลา : 20:26  IP : 124.121.36.241   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 840

คำตอบที่ 6
      

fiogf49gjkf0d
Body Lifts ( การยกสูงด้วยวิธียกตัวถัง)
รถออฟโรดมันต้องยางMud ถ้าได้ยางใหญ่ๆ ก็ดีใต้ท้องจะได้สูงขึ้น ลุยได้เต็มที่ เพราะฉะนั้นการยกสูงสำหรับรถออฟโรดนั้นเป็นของคู่กัน ใครไม่ได้ทำดูจะหน่อมแน้มไปหน่อย การยกสูงที่นิยมกันในบ้านเรานั้นมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ คือแบบยกช่วงล่าง (Suspension Lift) กับ แบบยกตัวถัง ( Body Lift) บางคันก็เลือกแบบใดแบบหนึ่ง บางคันก็ทำทั้ง 2 แบบ ขึ้นอยู่กันยี่ห้อรถ ช่วงล่าง และที่สำคัญคือ กำลังทรัพย์ ถ้าเบี้ยน้อยหอยน้อย ส่วนใหญ่ก็มามองที่การยกตัวถัง ที่ค่าใช้จ่ายถูกกว่ายกช่วงล่างหลายเท่าตัว แต่ก็ยังกังวลเรื่องผลเสียโดยรวมที่มีมากกว่ายกช่วงล่าง เราก็เลยค้นคว้าหาข้อมูลข้อดีข้อเสียของการยกตัวถังมาให้อ่านกัน จะได้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจของท่านในกรณีที่ต้องการ

ข้อดีของการยกตัวถัง
1. ถูก ไม่แพง
2. จุดศูนย์ถ่วงของน้ำหนักรถอยู่ต่ำกว่าการยกช่างล่าง
3. เพิ่มพื้นที่เพื่อที่จะใส่ยางใหญ่อย่างเห็นได้ชัด พร้อมทั้งจะทำให้เพลาอยู่คนละระดับกับแนวกันชน

ข้อเสียของการยกตัวถัง
1. ไม่ได้เพิ่มระยะความสูงของช่วงล่างจากพื้นดิน
2. การยกตัวถังที่มากกว่า 2 นิ้ว จำเป็นต้องใส่ก้อนเหล็กรองตัวถังเพื่อรับน้ำหนักโดยรอบซึ่งในระยะยาวอาจก่อให้เกิดการล้าหรือเคลื่อนได้
3. และที่พบมากที่สุดคือ เมื่อยกตัวถังไม่ว่าจะแค่ 1 นิ้วหรือสูงกว่าจะทำให้หม้อน้ำ/พัดลมหม้อน้ำอยู่คนละระดับกัน ถ้ายกสูงมากๆ อาจจะต้องดัดแปลงชุดเพลาจากห้องเกียร์ สายไฟ และ กรองน้ำมันเชื้อเพลิง อื่นๆอีกมากมาย

ใช่ครับ ของถูก ดีๆ ไม่มีในโลก ถ้าใครจะยกตัวถังก็ควรจะต้องคิดดีๆ หาร้านที่มีช่างมีฝีมือ ไว้ใจได้ มีประสบการณ์ น่าจะทำให้ปัญหาต่างๆที่อาจเกิดขึ้นมีน้อยที่สุด



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก น้าพี 124.121.36.241 พฤหัสบดี, 25/5/2549 เวลา : 20:27  IP : 124.121.36.241   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 841

คำตอบที่ 7
      

fiogf49gjkf0d
หิน...สุดๆ
หลังจากที่กลับมาจากทริปกีบสมุทร แก่งหินเพิง จากสภาพเส้นทางที่ได้พบมา เห็นสภาพความเสียหายของช่วงล่างที่เกิดขึ้นกับรถเพื่อนๆ มากบ้างน้อยบ้างขึ้นอยู่กับสภาพรถบวกฝีมือแล้วก็โชคช่วยนิดหน่อย ก็เลยเป็นที่มาของการนำเสนอเรื่องเทคนิคการขับรถในสภาพถนนที่เต็มไปด้วยหินเพื่อให้เพื่อนได้ไว้เป็นข้อมูลในการเดินทางที่จะเส้นทางแบบนี้ อาจจะพอช่วยลดความเสียหายไปได้บ้างไม่มากก็น้อย
การขับรถบนทางหินนั้นสิ่งแรกที่สำคัญที่สุดคือสภาพและชนิดของรถ ความสูงของรถกับระบบช่วงล่าง สองอย่างนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่เราต้องพิจารณาว่ารถเรานั้นเหมาะสมที่จะเดินทางผ่านไปได้หรือไม่ ความสูงของรถที่พอเพียงจะสามารถทำให้เราผ่านอุปสรรคหินขนาดใหญ่ใต้ท้องรถไปได้โดยไม่มีการกระแทกกับชิ้นส่วนใดๆของช่วงล่าง พร้อมกับระบบช่วงล่าง (โช็คอับ แหนบ เพลา) ที่ดีจะทำให้ล้อรถนั้นสามารถไต่เคลื่อนไปบนพื้นหินได้ตลอด
ระบบช่วงล่างอิสระ เช่นปีกนก หรือคอยสปริงนั้น ปกติจะขับไปได้อย่างราบเรียบ มีการให้ตัวที่ดี บนสภาพทางหินเช่นนี้ แต่จากการออกแบบระบบช่วงล่างแบบนี้จะมีข้อจำกัดเรื่องขนาดของล้อและความสูงของช่วงล่าง อีกอย่างสิ่งที่แน่นอนและตายตัวสำหรับการขับรถบนทางหินคือเราจำเป็นต้องใช้ความเร็วต่ำหรือช้ามากๆขณะที่ขับผ่านอุปสรรคเพื่อหลีกเลี่ยงการกระแทกกับพื้นให้มากที่สุด
เนื่องจากระบบช่วงล่างอิสระที่อยู่ด้านหน้าโดยปกติจะทำให้การขับนั้นราบเรียบจากการยุบตัวของช่วงล่าง สิ่งนี้มันได้ทำให้ระบบนี้มีการเปลี่ยนแปลงความสูงของช่างล่างหรือการยุบตัวด้านหน้าขณะเดินทางอยู่ตลอดเวลา ขณะที่ล้อหน้ากระทบกับอุปสรรคหรือหิน ล้อจะถูกยกขึ้นเพื่อซับแรงกระแทก พร้อมกับแกนเพลาหรือดุมเพลาที่อยู่ใต้ท้องที่อยู่ในตำแหน่งแนวเดียวกันจะมีอาการยุบตัวลงทำให้กระปุกเพลาเกิดการกระแทกหินได้ ถึงแม้ว่าขนาดของหินที่เราค่อมผ่านนั้นจะต่ำกว่าความสูงของช่วงล่างเรากว่าครึ่งก็ตาม
ช่างล่างด้านหน้าที่เป็นระบบคานแข็งนั้นในสภาพการขับทั่วไปจะไม่สบายราบเรียบเหมือนระบบช่วงล่างอิสระ แต่ระบบคานแข็งจะมีข้อดีคือขณะที่ขับบนทางออฟโรดนั้นเมื่อเวลาล้อหน้ากระทบอุปสรรค แกนเพลาทั้งแกนจะถูกยกลอยตามเพื่อรับแรงกระแทก สิ่งนี้จะทำให้ความสูงของช่วงล่างไม่มีการยุบตัวและสามารถรักษาความสูงของช่วงล่างไว้ได้โดยไม่มีการกระแทก
ถ้าเราจำเป็นต้องผ่านอุปสรรคที่เป็นหินหน้าตัดขนาดใหญ่หรือสูง เราจำเป็นต้องเข้าแบบทำมุมเฉียงเพื่อให้ล้อแตะอุปสรรคที่ละล้อ จำไว้เสมอว่าการเอียงเข้าหาอุปสรรคแบบนี้ต้องคำนึงถึงระดับความเอียงของรถช่วงขณะที่จะทิ้งตัวลงจากหินว่าจะต้องไม่มากเกินไปที่จะทำให้รถคว่ำได้

สรุปแล้วการขับรถบนถนนที่มีหินใหญ่ น้อยมากมาย ก่อนอื่นเราต้องดูสภาพรถเราเอง ความสูงและระบบช่วงล่างว่าพอไปได้มั้ย ข้อดีข้อเสียของรถเราอยู่ที่ไหน ต้องใช้ความระมัดระวังเพิ่มขึ้นกว่าปกติหรือไม่ ถ้าเราไม่ประมาท รอบคอบ เราก็จะผ่านอุปสรรคหินๆต่างเหล่านี้ไปได้อย่างสบายโดยที่ท้องไม่มีบาดแผลใดๆให้ช้ำใจ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก น้าพี 124.121.36.241 พฤหัสบดี, 25/5/2549 เวลา : 20:28  IP : 124.121.36.241   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 842

คำตอบที่ 8
      

fiogf49gjkf0d
การเตรียมตัวก่อนออกเดินทางไกล

คาดว่าปีใหม่นี้หรือในเดือนธันวาคมที่มีวันหยุดยาวหลายวัน ส่วนใหญ่จะให้รางวัลกับชีวิตกับตัวเองโดยการเดินทางไปพักผ่อนในสถานที่ไกลๆ ที่ใช้เวลานาน ที่ในช่วงกลางปีไม่สามารถทำได้ ความพร้อมของยานพนะที่จะพาเราและครอบครัวไปเป็นเรื่องสำคัญรวมทั้งเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆที่ถ้าหากขาดไปอาจจะทำการพักผ่อนหมดสนุกไปเลยก็ได้ ผมได้คัดลอกคู่มือการเตรียมการเดินทางไกลโดยรถยนต์จากผู้มีความรู้และชำนาญเรื่องการท่องเที่ยวป่าทางรถยนต์มาเสนอ ซึ่งอาจจะมีประโยชน์หรือแนวทางสำหรับท่านก่อนการเดินทางเพื่อการท่องเที่ยวที่สนุกโดยปราศจากปัญหามากวนใจ

1. ก่อนที่ท่านจะเดินทางไปที่แห่งใดควรศึกษาสภาพแวดล้อม อากาศ ลักษณะพื้นที่เพื่อการเตรียมตัวเรื่องเสื้อผ้า รองเท้า ให้เหมาะสมกับที่นั่น ท่านควรจะโทรแจ้งเพื่อนหรือญาติที่ใกล้ชิดบอกสถานที่ที่จะไป ไปเมื่อไหร่กลับเมื่อไหร่ หมายเลขทะเบียนรถ เบอร์มือถือ จำนวนคนและใครในคณะที่ไปกับท่านด้วย อย่าประมาทหรือถือว่าเป็นการแช่งตัวเอง แต่รอบคอบไว้ดีกว่าครับ
2. โทรศัพท์มือถือ ไฟฉาย วิทยุVR ถ่านสำรองต้องนำไปด้วยครับ
3. อุปกรณ์และยาชุดปฐมพยาบาล ตรวจเช็คว่ามีทุกอย่างครบถ้วน ไม่หมดอายุ ถ้าสถานที่ที่ไปมียุงเยอะก็ต้องนำยาทากันยุงติดไปด้วย
4. อุปกรณ์กู้รถฉุกเฉินเช่น พลั่ว โซ่หรือสายพานลากรถ สเกล ยูโบว ในการเดินทานเราไม่อาจคาดเดาได้ว่าจะไม่มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นระหว่างทางเช่น รถตกข้างทาง ตกหลุมใหญ่ หรือรถเสีย ของพวกนี่จำเป็นครับ อ้อ ถ้ารถท่านมีเครื่องมือดับเพลิงยิ่งดีใหญ่ครับสามารถใช้ได้ทั้งในรถและในป่าถ้าเกิดท่านบังเอิญก่อกองไฟที่ใหญ่เกินกว่าที่จะดับได้โดยกระทันหัน
5. ปั๊มลมสำหรับเติมลมยางรถยนต์
6. สายพ่วงแบตเตอรี่
7. ชุดเครื่องมือประจำรถ แม่แรง ที่ขันล้อ น้ำมันเอนกประสงค์ ไฟส่องสำหรับซ่อมรถเวลากลางคืน
8. น้ำมันเครื่อง น้ำมันเกียร น้ำมันเบรค จารบี อย่าง 1 -2 ลิตร
9. ฟิวส์ที่ใช้ในรถ ทุกชนิดและทุกขนาด
10. ตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์ทุกชิ้นส่วน
- ระดับน้ำมันเครื่อง , น้ำมันเกียร , น้ำมันเบรค , น้ำมันพวงมาลัยพาวเวอร์ ,
- ระดับน้ำสำรองหม้อน้ำ , น้ำฉีดกระจก, น้ำกลั่นในแบตเตอรี่
- สภาพของสายพานเครื่องยนต์ ไดชาด , ท่อยางหม้อน้ำ , ขั้วแบตเตอรี่
- รังผึ้งหม้อน้ำมีโคลน ดินไปจับหรือไม่ ใบพัดลมหม้อน้ำเป็นอย่างไร , เป่ากรองอากาศ
11. วินซ์มือ จำเป็นสำหรับรถที่ไม่มีวินซ์

สิ่งของต่างๆที่ได้นำเสนอมา อย่าไปหวังเผื่อว่าจะไปหาเอาข้างหน้าหรือเพื่อนร่วมเดินทางท่านคงจะมี เตรียมไปเองดีกว่าครับเพราะถ้าเพื่อนเราคิดเหมือนกันอาจจะทำให้ในกลุ่มเราไม่มีของบางอย่างเลยก็ได้ ขอให้ท่านขับรถท่องเที่ยวอย่างมีความสุขน่ะครับ




 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก น้าพี 124.121.36.241 พฤหัสบดี, 25/5/2549 เวลา : 20:28  IP : 124.121.36.241   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 843

คำตอบที่ 9
      

fiogf49gjkf0d






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก น้าพี 124.121.36.241 พฤหัสบดี, 25/5/2549 เวลา : 20:30  IP : 124.121.36.241   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 844

คำตอบที่ 10
      

fiogf49gjkf0d






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก น้าพี 124.121.36.241 พฤหัสบดี, 25/5/2549 เวลา : 20:32  IP : 124.121.36.241   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 845

คำตอบที่ 11
      

fiogf49gjkf0d
การกำหนดระดับความยากง่ายสำหรับเส้นทาง Offroad

ระดับ 1 - 2 เส้นทางเรียบๆ ไม่จำเป็นต้องรถขับเคลื่อน 4 ล้อก็เดินทางได้ เช่น ทางลูกรังอัดแน่น หรือ พวกแนวกันไฟป่า
ระดับ 3 - 4 เส้นทางระดับปานกลาง, จำเป็นต้องเป็นรถแบบขับเคลื่อน 4 ล้อ - อาจจะมีติดบ้างแต่ไม่มาก เช่น เส้นทางเกวียน เป็นร่องลึก ภูมิประเทศที่เป็นเนินเขามีทางขึ้นลง,ข้ามลำธารที่ไม่ลึกมาก, บ่อโคลน หรือ ทราย ระหว่างทางธรรมดา
ระดับ 5 - 6 ระดับท้าทาย, จำเป็นต้องใช้เกียร์ Low ตลอด, รถอาจจะต้องมีเสียหายบ้างเช่น เส้นทางที่เป็นหิน ไต่เนินหิน , เส้นทางที่เอียงมากๆ , บ่อหลุมโคลนลึกยาว ,การข้ามแม่น้ำหรือลำห้วยที่มีระดับน้ำลึกพอสมควร
ระดับ 7 - 8 ระดับเส้นทางที่ยาก, รถที่ไปจะต้องมีช่วงล่างและอุปกรณ์ที่พร้อม สมบูรณ์สำหรับเส้นทางหนักๆ เช่น คานแข็ง วินซ์ ยางใหญ่ สนอกเกิล Air Locker , รถอาจจะมีความเสียหายหนักเกิดขึ้นได้ เช่น ปีนป่ายเขาหิน ทางที่ชันลื่นมากๆ , ปลักโคลนลึกๆยาว , ข้ามลำน้ำหรือห้วยที่ลึกมากๆ
ระดับ 9 - 10 ระดับยากสุดๆ , รถที่ไปต้องมีช่วงล่าง ชิ้นส่วนต่างๆรวมทั้งอุปกรณ์ เป็นแบบ Heavy Duty เท่านั้น ( เช่น ตลอดเส้นทางเป็นก้อนหินใหญ่ ชันๆ เอียงมากๆ มีโอกาสที่รถพลิกคว่ำหรือพังได้ง่ายๆ






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก น้าพี 124.121.36.241 พฤหัสบดี, 25/5/2549 เวลา : 20:33  IP : 124.121.36.241   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 846

คำตอบที่ 12
      

fiogf49gjkf0d
WINCHING SAFETY ( การใช้วินซ์อย่างปลอดภัย)

ก่อนที่ท่านจะใช้สายพานลาก/ดึงรถหรือดึงสายสลิงออกมาวินซ์ , ขอให้นึกถึงข้อควรระวังในเรื่องความปลอดภัยเป็นสำคัญเพราะว่า " อุบัติเหตุจากสายสลิงหรือสายลากนั้นอาจจะสามารถก่อให้เกิดบาดเจ็บหรือถึงแก่เสียชีวิตได้!!!! "
1. ก่อนทำการลากหรือดึง ต้องมั่นใจว่าจุดยึดที่รถทั้งสองคันได้จับอย่างถูกจุดชิ้นส่วนและแน่นหนา
2. จุดที่ลากที่จะคล้องตะขอนั้นต้องถูกเชื่อมต่อไว้กับแชสซีของรถเท่านั้น พยายามอย่าใช้ตะขอที่เคลือบอลูมีเนียมเพราะว่าเนื้อโลหะอาจอ่อนหรือหย่อนคุณภาพแล้วตั้งแต่ตอนเคลือบอลูมีเนียม ตะขออลูมีเนียมพวกนี้ที่ใส่น็อตยึดหรือเชื่อมติดไว้กับกันชน ส่วนใหญ่มีไว้เพียงเพื่อความสวยงามเท่านั้น
3. ห่วงร้อยที่ติดมากับรถ กันชนหน้าหลัง ไม่ใช่จุดจับหรือดึง
4. ต้องมั่นใจว่าไม่มีผู้ใดอยู่ในระยะกวาดของสายพานหรือสลิงหากมีการขาดหรือหลุดเกิดขึ้น
5. ต้องแน่ใจว่าสายสลิงหรือสายพานได้คล้อง/ยึดกับจุดจับอย่างแน่นหนาไม่มีทางหลุดได้
6. ทำการตรวจสภาพว่าสายสลิงหรือสายพานต้องอยู่ในสภาพดี ไม่แตกเป็นขุยหรือฉีกขาด
7. ห้ามทำการงอหรือพับสายสลิงของวินซ์อ้อมที่จุดลากแล้วดึงกลับมาที่ตัวเอง วิธีนี้จะทำให้สายสลิงงอและแตกที่จุดนั้นและทำสายสลิงเสียในที่สุด ถ้าจำเป็นต้องใช้ Snatch box ในการคล้องเพื่อเปลี่ยนทิศทางสลิงดีที่สุด

จากข้อควรระวังและปฏิบัติข้างบนดูเหมือนเป็นอะไรที่เป็นหลักการที่ควรจะเป็นใช่มั้ย? แต่หลายครั้งได้พบว่านักเดินทางที่คิดว่าตัวเองมีประสบการณ์ มีความชำนาญ ได้ลืมที่จะกระทำตามข้อปลอดภัยดังกล่าว การสะบัดของสายสลิงจากการขาดขณะดึงนั้นสามารถทำให้เกิดการเสียชีวิตได้ การที่คุณยึดจุดที่จะลากหรือดึงที่ไม่ดีก็เช่นกันเมื่อมันหลุดจากรถที่คุณดึง สภาพที่ตะขอหรือห่วงที่จะดีดกลับมาก็จะไม่แตกต่างอะไรกับสลิงขาดเหมือนกัน

ขณะที่กำลังดึงอยู่นั้นต้องนำกระสอบหรือผ้าห่ม ที่ค่อนข้างมีน้ำหนักมาวางไว้บนสายสลิงตรงกลางระหว่างจุดดึง เพื่อที่ป้องการการสบัดของสายสลิงได้ในระดับหนึ่ง ไม่ได้ป้องกันการขาดของสลิงแต่สามารถลดหรือหยุดการแกว่งหรือผ่อนแรงของการดีดกลับได้เท่านั้น เพราะฉะนั้นท่านจำเป็นต้องตรวจสอบและทำทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นจุดดึง จุดยึด สภาพสายสลิง การยืนของผู้คนให้ปลอดภัยจากระยะการดีด และต้องมีอุปกรณ์ในการผ่อนการสะบัดดังกล่าว ถ้าได้ด้านของการประเมิณความเสี่ยงของอุบัติเหตุของการใช้วินซ์ อาจจะสรุปได้ว่า โอกาสความเสี่ยง - ปานกลาง และ ความรุนแรงของอุบัติเหตุ - สูงสุด คือถึงกับเสียชีวิต เพราะฉะนั้นอย่าประมาทและละเลยสิ่งนี้เป็นอันขาดขณะใช้วินซ์ทุกครั้ง

แถมเกร็ดความรู้อีกซักหน่อย ถ้าท่านจำเป็นต้องลากรถขึ้นจากหล่มหรืออุปสรรคใดๆก็ตาม ต้องใช้ลักษณะการลากจากข้างหลัง หรือ ท่านต้องเดินหน้าเท่านั้น เพราะรถท่านไม่ได้ออกแบบมาสำหรับการดึงจากด้านหน้าแล้วท่านใช้การถอยหลังของรถ เพราะถ้าทำอย่างนี้อาจจะทำให้ระบบเกียร์ Hub ของท่านพังได้
ที่มา www.4wheeldrives.about.com
ในภาพจะเห็นกระจกหน้าและเบาะด้านข้างคนขับแตก ทะลุที่เกิดจากแรงสะบัดของสายพานที่ขาดหรือหลุดออกมา



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก น้าพี 124.121.36.241 พฤหัสบดี, 25/5/2549 เวลา : 20:34  IP : 124.121.36.241   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 847

คำตอบที่ 13
      

fiogf49gjkf0d
บางครั้งขณะที่เราเดินทางออกจากบ้านเพื่อไปออกทริป เคยมีความคิดอยู่ในใจบ้างมั้ยว่า เอ้?? เราลืมอะไรหรือเปล่า , ยังขาดอะไรอีกมั้ย, เอาของมาครบแล้วหรือไม่ แบบฟอร์ม Offroad travelling Check List สามารถที่จะช่วยท่านได้ เพื่อให้เกิดความมั่นใจโดยเฉพาะมือใหม่หรือท่านที่ไม่ได้เที่ยวประจำ ไม่ได้มีกล่องเก็บของถาวร จะไปทีก็มานั่งนึงที โอกาสลืมอะไรบางอย่างย่อมเกิดขึ้นได้
ใช้ Check List ซิครับ !!!






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก น้าพี 124.121.36.241 พฤหัสบดี, 25/5/2549 เวลา : 20:35  IP : 124.121.36.241   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 848

คำตอบที่ 14
      

fiogf49gjkf0d
เฟืองท้าย "ลิมิเต็ดสลิป" (Limited Slip Differrential)
หน้าที่ของเฟืองท้ายลิมิเต็ดสลิป
ปกติถ้าขับรถไปในทางที่ลื่นมากๆเช่นโคลนหรือติดหล่ม จะสังเกตุได้ว่าสาเหตุหนึ่งที่ไม่สามารถขับเคลื่อนรถต่อไปได้คือการหมุนฟรีของล้อข้างหนึ่งที่ลอยอยู่ในอากาศหรือในหล่ม ขณะที่ล้อที่อยู่บนพื้นกลับไม่มีกำลังที่จะพาตัวรถขับเคลื่อนไปได้ เพราะการทำงานของรถที่มีเฟืองท้ายธรรมดาจะมีการแบ่งถ่ายกำลังด้วยชุดเฟืองดอกจอกระหว่างเพลาขับด้านซ้ายและขวากับตัวเรือนเฟืองบายศรี เพื่อทดรอบการหมุนของล้อทั้ง 2 ข้าง สำหรับการเลี้ยวซึ่งล้อจะหมุนไม่เท่ากัน เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายกับยางและชุดเพลาขับ ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดอาการดังกล่างกับรถประเภทขับเคลื่อน 4 ล้อโดยเฉพาะออฟโรดที่ต้องปีนป่ายทางที่มีผิวลื่นเป็นประจำจึงมีการออกแบบเฟืองท้ายแบบ "ลิมิตเต็ดสลิป" โดยใช้เทคนิคในการจำกัดไม่ให้เกิดการสูญเสียกำลังขับของล้อเมื่อเกิดการลื่นหรือล้อหมุนฟรี ด้วยการใช้ความฝืดของแผ่นครัทซ์ หรือแรงกดจากการกดของสปริงและแรงหน่วงจกาการทดเฟืองแล้วแต่ว่าจะออกแบบมาแบบไหนมาเป็นตัวช่วยป้องกันการสูญเสียการขับเคลื่อน

หลักการทำงานของลิมิตเต็ดสลิป
เมื่อล้อข้างใดข้างหนึ่งหมุนฟรีกำลังขับเคลื่อนจะถูกส่งจากล้อที่หมุนเร็วกว่าไปยังล้อที่หมุนช้ากว่า ทำให้ล้อที่หมุนฟรีอยู่มีลดกำลังขับเคลื่อนลง ขณะที่ล้ออีกข้างหนึ่งจะมีกำลังขับเคลื่อนมากกว่า ทำให้สามารถพารถเคลื่อนตัวต่อไปได้ โดยเทคนิคการออกแบบกลไกนี้จะมีการออกแบบมาหลายลักษณะ แต่โดยรวมจะให้มีการส่งกำลังขับมายังล้อที่อยู่ตรงข้ามกับล้อที่หมุนฟรี วิธีที่ใช้และใช้มากกว่าวิธีอื่นคือใช้ความฝืดของแผ่นครัทซ์เปียกซ้อนกันหลายแผ่นเป็นตัวควบคุมกำลังขับเคลื่อนไปยังล้อทั้งคู่โดยออกแบบกลไกภายในชุดตัวเรือนเฟืองดอกจอกให้มีชุดครัทซ์เป็นตัวส่งกำลังร่วมอยู่ที่ด้านหลังเฟืองดอกจอกตัวใหญ่หรือเฟืองหัวเพลาขับทั้ง2ข้างแทนที่จะส่งกันโดยตรงเพียงอย่างเดียวในเฟืองท้ายปกติทั่วไป และมีกลไกที่ทำให้ครัทซ์จับตัวเช่น ใช้สปริงกดเมื่อมีการลื่นไถลของล้อข้างใดข้างหนึ่งทำให้เกิดการส่งกำลังขับเคลื่อนไปที่ล้อทั้งคู่ บางรุ่นก็ใช้แรงบิดจากระบบส่งกำลังมาทำให้ครัทซ์จำตัว หรือ แบบสปริงกดกระทำกับเฟืองแบบจานประกบกันและสวมกับหัวเพลาขับ เมื่อมีการเลี้ยวหรือล้อทั้ง2ข้างหมุนไม่เท่ากัน เฟืองที่ประกบกันอยู่จะแยกออกจากกัน ซึ่งจะทำให้เกิดเสียงดังจากการที่ร่องฟันเฟืองหมุนเสียดสีกัน ซึ่งแบบนี้มีใช้มานานแล้วในรถบางประเภทเท่านั้น

หลายท่านอาจจะยังงงอยู่กับระบบการทำงาน พอให้รู้จักกับเฟืองท้ายชนิดนี้ก็พอว่ามันทำงานอย่างไร มีประโยชน์ขนาดไหนโดยเฉพาะกับรถออฟโรดที่ต้องเจอกับสภาพเส้นทางลื่นๆ เป็นหลุมบ่อลึกๆ สำหรับท่านที่มีเฟืองท้ายแบบนี้การบำรุงรักษาควรใช้น้ำมันเฟืองท้ายแบบลิมิเต็ดสลิปเท่านั้นซึ่งจะมีเขียนอยู่ข้างกระป๋องทุกยี่ห้อว่า For Limited slip Differrential
ข้อมูลบางส่วนคัดลอกมาจากหนังสือนักเลงรถกระบะ
(ภาพที่แนบเป็น Demo การทำงานของ AirLocker ที่ใช้แรงดันลมเป็นตัวกดสปริงให้ล้อทั้ง 2 ข้างทำงานตลอดเวลาตามที่เราต้องการ)




 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก น้าพี 124.121.36.241 พฤหัสบดี, 25/5/2549 เวลา : 20:36  IP : 124.121.36.241   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 849

คำตอบที่ 15
      

fiogf49gjkf0d
ไปเที่ยวเดินป่า ควรเตรียมอะไรไปบ้าง
รายการสิ่งของที่แนะนำให้เตรียมไปเพื่อการเดินป่า
1 เสื้อแขนยาว ใส่เดินป่า ๑ ตัว -ป่าเมืองไทยมีต้นไม้รกกว่าเมืองนอกนะครับ
2. เสื้อยืดแขนสั้น ๑ - ๒ ตัว
3. เสื้อ สำหรับใส่นอน ๑ ตัว (เพราะอากาศหลายที่เย็น-ชื้น)
4 . เสื้อกันฝน หรือปันโจ ๑ ตัว (หน้าฝน)
5. กางเกงขายาว ใส่เดินป่า ๑ ตัว
6. กางเกง สำหรับใส่นอน ๑ ตัว
7. เสื้อ กางเกง ใส่เดินทางปกติ ๑ ชุด (ตามสะดวก) -หลายคนไม่นำไป
8. หมวก หรือผ้าโพกศีรษะ (ผ้าขาวม้าก็ได้)
9. ชุดชั้นใน ๒-๓ ชุด (ตามความเหมาะสม)
10. ผ้าเช็ดตัว ๑ ผืน
11. ผ้าขาวม้า ผ้าถุง ใช้อาบน้ำ ๑ ผืน
12. ถุงเท้า ๒ - ๓ คู่ (ส่วนถุงเท้ากันทาก-ตามสะดวก)
13. รองเท้าหุ้มส้น หรือหุ้มข้อ ใส่เดินป่า ๑ คู่
14. รองเท้าแตะ ๑ คู่
15. หวี หรือแปรงผม ๑ อัน (ตามสะดวก)
16. แปรงสีฟัน ๑ ด้าม (ตามสะดวก)
17. แป้งทาตัว ของใช้ส่วนตัวอื่นๆ (ตามสะดวก)
18. ยาสีฟัน สบู่ แชมพูสระผม (ตามสะดวก)
19. ยาทากันยุง กันแมลง
20. ยาสำหรับผู้ที่มีโรคประจำตัว
21. พลาสเตอร์ปิดแผล และยาสามัญทั่วไป (ถ้ามี)
22. ถุงพลาสติกใหญ่ ๒ ใบ (ใช้ใส่เสื้อผ้า-ผ้าเปียก)
23. ช้อน ๑ คัน
24. แก้วน้ำ ๑ ใบ (อาจใช้อย่างอื่นแทนได้)
25. กระติกหรือ ขวดใส่น้ำดื่ม ๑ ใบ
26. ไฟฉายพร้อมแบตเตอรี่ ๑ กระบอก
27. มีดพก มีดพับ ใช้ทำอาหาร ๑ เล่ม
28. เป้ ใส่สัมภาระ ๑ ใบ
29. ปากกา ๑ ด้าม หรือดินสอ 1 แท่ง
30. สมุดบันทึก ๑ เล่ม
31. กล้องส่องทางไกล ๑ อัน หรือแว่นขยาย (ถ้ามี)
32. เต็นท์ / เปลนอน
33. ผ้าพลาสติกปูพื้น และกันฝน ๑ - ๒ ผืน -โดยเฉพาะหน้าฝนและหน้าหนาวที่มีน้ำค้างแรง
34. ถุงนอน ๑ ใบ หรือผ้าห่ม 1 ผืน
35. หม้อสนาม ๑ ใบ
36. กล่องใส่อาหารกลางวัน ๑ ใบ (ใช้แทนจานได้ด้วย) - ทำให้คุณไม่ต้องใช้ถุงพลาสติค
37. มีดเดินป่า ใช้หาฟืน ๑ เล่ม (ควรมี)
38. ไฟแช๊คแก๊ส ๑ อัน
39. เทียนไข ขนาดกลาง ๓ เล่ม
40. เชือกใช้ยึดเต็นท์ หรือทำราวตากผ้า ยาว ๓ - ๕ ม.

---
ที่เหลือเช่น เข็มทิศ GPS แผนที่ trekking pole เตาแกส ตะเกียงแกส ชุดครัว backpack สเปรป้องกันตัว เครื่องกรองน้ำพกพา ฯลฯ ให้พิจารณาตามความเหมาะสมของพื้นที่ หลายพื้นที่นั้นไม่อนุญาตให้ก่อไฟแล้วนะครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก น้าพี 124.121.36.241 พฤหัสบดี, 25/5/2549 เวลา : 20:45  IP : 124.121.36.241   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 855

คำตอบที่ 16
      

fiogf49gjkf0d
จะทำอย่างไรเมื่อยางรถระเบิดขณะขับรถอยู่
" เมื่อยางรถระเบิดขณะขับรถ ยางระเบิดในขณะขับรถ
มีข้อแนะนำให้ปฏิบัติดังนี้ "
1. มือทั้งสองต้องจับอยู่ที่พวงมาลัยอย่างมั่นคง
2. ถอนคันเร่งออก
3. ควบคุมสติให้ดีอย่าตกใจมองกระจกหลังเพื่อให้ทราบว่ามีรถใดตามมาบ้าง
4. แตะเบรกอย่างแผ่วเบาและถี่ๆ อย่าแตะแรงเป็นอันขาด เพราะจะทำให้รถหมุน
5. ห้ามเหยียบคลัตช์โดยเด็ดขาดเพราะถ้าเหยียบคลัตช์รถจะไม่เกาะถนนรถจะลอยตัวและจะทำให้บังคับรถได้ยากยิ่งขึ้นอาจเสียหลัก เพราะการเหยียบคลัตช์เป็นการตัดแรงบิดของเครื่องยนต์ ให้ขาดจากเพลา
6. ห้ามดึงเบรกมืออย่างเด็ดขาด จะทำให้รถหมุน
7. เมื่อความเร็วรถลดลงพอประมาณแล้วให้ยกเลี้ยวสัญญาณเข้าข้างทางซ้ายมือ
8. เมื่อความเร็วลดลงระดับควบคุมได้ ให้เปลี่ยนเกียร์ต่ำลงและหยุดรถ
ข้อสังเกตเมื่อยางระเบิด คือ ไม่ว่ายางด้านใดจะระเบิด ล้อหน้าหรือล้อหลังก็ตาม เมื่อระเบิดด้านซ้าย รถก็จะแฉลบไปด้านซ้ายก่อน แล้วก็จะสะบัดกลับและสะบัดไปด้านซ้ายอ ีกที สลับกันไปมา และในทำนองตรงกันข้าม หากระเบิดด้านขวาอาการก็จะ กลับเป็นตรงกันข้าม
อุบัติเหตุร้ายแรงที่เกิดขึ้นส่วนมากก็คือ หากขณะยางระเบิดรถวิ่งอยู่ที่ความเร็วสูงมากๆ พอยางระเบิดขึ้นมารถก็จะกลิ้งทันที ทำอะไรไม่ได้
ดังนั้นการขับรถที่ใช้ความเร็วสูงๆจึงมักจะแก้ไขอะไรในเรื่องนี้ไม่ได้เพื่อเป็นการป้องกันอุบัติเหตุร้ายแรงที่จะเกิดขึ้น ในขณะขับรถ จึงไม่ควรขับรถเร็ว (ความเร็วทีถือว่าปลอดภัยใน DEFENSIVE
DRIVING คือ ความเร็วไม่เกิน 100 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง)



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก น้าพี 124.121.36.241 พฤหัสบดี, 25/5/2549 เวลา : 20:46  IP : 124.121.36.241   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 856

คำตอบที่ 17
      

fiogf49gjkf0d
เมื่อรถตกน้ำ ในกรณีที่รถเกิดอุบัติเหตุแล้วตกลงไปในแม่น้ำ ลำคลองใดๆ ก็ตาม รถจะไม่ตกลงไปในน้ำแล้วจมทันที เหมือนหินตกน้ำ แต่จะค่อยๆ จมลงทีละน้อยๆจนกว่าจะถึง พื้นล่างและในนาทีวิกฤตนี้ ควรตั้งสติให้ดีและปฏิบัติดังต่อไปนี้
1. ปลด SAFETY BELT ออกทุกๆคน รวมทั้งผู้โดยสารด้วย
2. อย่าออกแรงใดๆ เพื่อสงวนการใช้อากาศหายใจซึ่งมีอยู่เป็นจำนวนจำกัด
3. ให้ยกส่วนศีรษะให้สูงเหนือระดับน้ำที่ค่อยๆ เพิ่มขึ้นในรถ
4. ปลดล็อกประตูรถทุกบาน
5. หมุนกระจกให้น้ำไหลเข้าในรถเพื่อป รับความดัน! ในรถและนอกรถให้เท่ากันมิฉะนั้นท่านจะเปิดประตูรถไม่ออก เพราะน้ำจากภายนอกตัวรถจะดันประตูไว้
6. เมื่อความดันใกล้เคียงกันแล้วให้ผลักบานประตูออกให้กว้างสุด แล้วท่านก็ออกจากห้องโดยสารของรถได้
7. จากนั้นท่านอาจจะปล่อยตัวให้ลอยขึ้นเหนือน้ำตามธรรมชาติ หรือจะว่ายน้ำขึ้นมาก็ได้ ในกรณีนี้ หากน้ำลึกมากๆ อาจจะมองไม่เห็นว่า ทิศใดเหนือน้ำ ทิศใดใต้น้ำเพราะว่า มืดไปหมด ไม่ควรใช้วิธีว่ายน้ำ เพราะ อาจจะว่าย ไปในทิศทางที่ไม่ขึ้นเหนือน้ำ กรณีเช่นนี้ ควรปล่อยตัวให้ลอยขึ้นตามธรรมชาติหรือลองเป่าปากดูว่า ฟองอากาศลอยไปในทิศทางใด ให้ว่ายน้ำไปในทิศทางที่ฟองอากาศลอยไป ก็จะไม่มีอาการหลงน้ำ นอกจากนั้น ก่อนออกจากรถ
หากท่านมีผู้โดยสารที่เป็นเด็กๆ อาจจะหนีบ เด็กๆ นั้นออกมากับท่านได้อีกหนึ่งคน ดังนั้นหากท่านปฏิบัติ ตามวิธี
การเหล่านี้ ก็จะช่วยให้ชีวิตของท่าน ปลอดภัย ได้ ในยามคับขัน

ขอให้ทุกคน ขับรถอย่างปลอดภัย ไม่เกิดอุบัติเหตุใดๆ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก น้าพี 124.121.36.241 พฤหัสบดี, 25/5/2549 เวลา : 20:47  IP : 124.121.36.241   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 857

คำตอบที่ 18
      

fiogf49gjkf0d

เทคนิคการปฏิบัติ หลังซื้อเครื่องยนต์มือสอง

เทคนิคการปฏิบัติ หลังซื้อเครื่องยนต์จากเชียงกง เป็นเทคนิคจำเป็นที่จะต้องนำไปปฏิบัติเพื่อให้ได้เครื่องยนต์ที่สมบูรณ์ที่สุดต้องมีการปรับแต่งหรือปรับปรุง ไม่ใช่การซ่อมแซม เพื่อให้เครื่องยนต์ที่เลือกซื้อมามีประสิทธิภาพสูง และมีอายุการใช้งานยาวนานที่สุด

เปลี่ยนน้ำมันเครื่อง
เป็นสิ่งแรกที่จำเป็นต้องปฏิบัติ เพราะไม่ทราบถึงอายุการใช้งานของน้ำมันเครื่องก่อนที่เครื่องยนต์จะถูกส่งมา และไม่ทราบว่าเครื่องยนต์ตัวนั้นถูกวางกองไว้กี่วัน กี่เดือนแล้ว
โดยเฉพาะในต่างประเทศที่มีค่าครองชีพสูง อัตราค่าใช้จ่ายการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องแต่ละครั้งจะแพงมาก คนทั่วไปใช้น้ำมันเครื่องกันในระยะทางนับหมื่นกิโลเมตร
เมื่อเครื่องยนต์ตกมาเป็นกรรมสิทธิ์ของเราแล้ว จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่องคุณภาพดี (ไม่ต้องใส่หัวเชื้อ) ก่อนนำไปใช้งานทุกครั้ง

เปลี่ยนไส้กรองน้ำมันเครื่อง
ปฏิบัติพร้อมไปกับการเปลี่ยนน้ำมันเครื่อง ควรใช้ไส้กรองของแท้ และเปลี่ยนครั้งเว้นครั้งในการถ่ายน้ำมันเครื่อง (กรณีใช้น้ำมันเครื่องแบบเดิมตลอด)

เปลี่ยนสายพานไดชาร์จสายพานแอร์
เมื่อไม่ทราบถึงอายุการใช้งานที่ผ่านมา จึงไม่อาจคาดเดาอายุการใช้งานที่เหลืออยู่ได้ ราคาสายพานเส้นละ 100-200 บาท คุ้มค่ากับการใช้งานอย่างมั่นใจ อย่าใช้สายตา
วิเคราะห์อายุการใช้งานของสายพานเส้นเก่า โดยเฉพาะสายพานแบบร่องวีในเครื่องยนต์รุ่นใหม่ ๆ ที่หาซื้อยาก ถ้าไปขาดกลางทางจะลำบาก
ถ้าสายพานเก่าสภาพยังดีอยู่ เมื่อเปลี่ยนแล้ว ให้เก็บไว้เป็นอะไหล่ท้ายรถ

เปลี่ยนสายพานขับแคมชาฟท์ (สายพานไทม์มิง)
เพราะไม่ทราบถึงอายุการใช้งานที่ผ่านมา ตามปกติ สายพานไทม์มิงจะมีอายุการใช้งานประมาณ 50,000-100,000 กม. ถ้าคิดจะประหยัดในส่วนนี้ อาจจะต้องทิ้งทั้งบล็อก
เพราะเมื่อสายพานไทม์มิงขาด วาล์วจะชนกับลูกสูบจนเสียหาย
การเลือกเปลี่ยนสายพานของแท้แม้จะแพง แต่อายุการใช้งานกว่า 50,000 กม. นั้นคุ้มค่าและมั่นใจได้มากกว่า อาจจะต้องเปลี่ยนลูกรอกด้วย

เปลี่ยนหัวเทียน
จำเป็นต้องเปลี่ยนเพื่อสมรรถนะของเครื่องยนต์ ถ้าเป็นเครื่องยนต์ที่ใช้หัวเทียนขนาดธรรมดา ควรใช้หัวเทียนแพลททินัม ND W20 EX-ZU หัวละ 80-100 บาท แม้จะแพง
แต่ประสิทธิภาพสูง และทนทานหลายหมื่นกม.
ถ้าเครื่องยนต์ใช้หัวเทียนบล็อกเล็ก (ส่วนมากพวกทวินแคม 16 วาล์ว) เลือกใช้แบบธรรมดาก็ราคาหัวละ 70-90 บาทเข้าไปแล้ว ถ้าเป็นแพลททินัมจะแพงประมาณเกือบสอง
ร้อยบาทขึ้นไป ถ้าสู้ค่าใช้จ่ายไหวจะเลือกใช้ก็ดี เพราะทนทานและประสิทธิภาพสูง

เปลี่ยนเทอร์โมสตัท
ที่เรียกกันว่า “วาล์วน้ำ” จำเป็นต้องใช้ ห้ามถอดออก เพื่อให้เครื่องยนต์ปรับตัวให้ร้อนได้รวดเร็ว เพราะเครื่องยนต์ที่อุณหภูมิต่ำเกินไปจะมีสมรรถนะต่ำและการสึกหรอสูง
และอย่าเข้าใจผิดว่าเทอร์โมทตัททำให้เครื่องร้อน เพราะเมื่อถึงอุณหภูมิที่ควบคุมหรือกำหนดไว้ เทอร์โมสตัท ก็จะเปิดให้น้ำผ่านได้ เปรียบเสมือนไม่มีเทอร์โมสตัท
เทอร์โมสตัทจะปิดการไหลเวียนของน้ำก็ต่อเมื่ออุณหภูมิต่ำเกินไปเท่านั้น
เทอร์โมสตัทจะทำให้เครื่องยนต์โอเวอร์ฮีท (ร้อนจัด) ก็ต่อเมื่อ “เสีย” คือ เมื่อถึงอุณหภูมิที่กำหนด เทอร์โมสตัทก็ไม่ยอมเปิด ทำให้น้ำในระบบระบายความร้อนไม่มีการไหล
เวียน
ในเมื่อเราไม่ทราบว่าเทอร์โมสตัทของเดิมเสียหรือไม่ (นอกจากนำไปต้มและใช้เทอร์โมมิเตอร์วัดอุณหภูมิน้ำ ซึ่งเสียเวลา) จึงต้องเปลี่ยนตัวใหม่ จำเป็นต้องซื้อเทอร์โมสตัท ที่มีการควบคุมการเปิด-ปิดที่อุณหภูมิเดียวกัน โดยอ่านดูจากตัวเลขที่มีการปั๊มไว้

เปลี่ยนไส้กรองเบนซิน
ถ้าเป็นเครื่องยนต์ธรรมดาก็แค่ไม่กี่สิบบาท ถ้าเป็นเครื่องหัวฉีดก็ 400-800 บาท เน้นว่าจำเป็นต้องเปลี่ยน

เปลี่ยนผ้าคลัตช์
ถึงแม้ผ้าคลัตช์เดิมจะมีสภาพดีก็ต้องเปลี่ยน จะได้ไม่ต้องเสียค่ายกเกียร์-เปลี่ยนคลัตช์ไปอีกนาน โดยเลือกเปลี่ยนผ้าคลัตช์แพงเท่าที่กระเป๋าจะทนได้ใช้ของแท้จะดีที่สุด
ถ้างบประมาณไม่พอให้นำแผ่นคลัตช์เก่าไปย้ำ (ค่าใช้จ่าย 200-400 บาท) พอใช้ได้ แต่สู้ของแท้ไม่ได้

หวีคลัตช์
ถ้ามีร่องรอยสึกหรอ หน้าสัมผัสไม่เรียบ ต้องเปลี่ยน หรือนำไปเจียรที่โรงกลึง

ฟลายวีล
ถ้ามีร่องรอยสึกหรอ หน้าสัมผัสไม่เรียบ ต้องส่งไปเจียรที่โรงกลึง

เปลี่ยนลูกปืนคลัตช์
ไหน ๆ ยกเครื่องออกมาแล้ว ถือโอกาสเปลี่ยนลูกปืนคลัตช์เลย สำหรับรถญี่ปุ่นก็ 150-300 บาท เท่านั้น รถยุโรปก็ไม่ค่อยเกิน 500 บาท

ท่อหรือสายน้ำมันเชื้อเพลิง
เพิ่มความมั่นใจที่จะไม่รั่วซึมอันเป็นต้นเหตุของเพลิงไหม้ อย่าเสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย

เปลี่ยนไส้กรองอากาศ
แท้หรือเทียมแล้วแต่กระเป๋าจะทนได้ แต่จำเป็นต้องเปลี่ยน

เปลี่ยนทองขาวและคอนเดนเซอร์
จำเป็นต้องเปลี่ยน ค่าใช้จ่าย 100-200 บาทเท่านั้น

ฝาจานจ่ายและหัวนกกระจอก
ถ้าจะไม่เปลี่ยนก็ต้องนำมาขูดตะกรันที่เป็นฉนวนไฟฟ้า

เปลี่ยนซีลข้อเหวี่ยงด้านหน้าและด้านท้าย
จะได้ไม่ต้องเสียเวลาและค่าแรง 2 ต่อ เพราะการเปลี่ยนซีลหลังข้อเหวี่ยง จะต้องเปลี่ยนหลังจากยกเกียร์ ยกคลัตช์ หรือถอดฟลายวีลเท่านั้น

เปลี่ยนยางแท่นเครื่องและยางแท่นเกียร์
ค่าใช้จ่ายไม่สูง แต่ใช้งานได้นาน

เปลี่ยนสายหัวเทียน
ป้องกันปัญหาการ “ขาดใน” จนเครื่องยนต์ทำงานไม่สมบูรณ์ ค่าใช้จ่าย 200-500 บาทเท่านั้น

เปลี่ยนปะเก็นฝาวาล์ว
เนื่องจากต้องตั้งวาล์วก่อนที่จะนำไปใช้งาน ควรเปลี่ยนปะเก็นฝาวาล์วไปพร้อมกันเลย เพราะราคาไม่แพง

ไขน๊อตยึดฝาสูบใหม่ทุกตัว
ข้อควรระวังตรงจุดนี้ก็คือ ต้องไขให้ได้ตามสเปคของเครื่องยนต์รุ่นนั้นๆ ปัองกันปัญหาน๊อตยึด

เปลี่ยนหรือไล่ไขเข็มขัดรัดท่อ-เปลี่ยนท่อยางหม้อน้ำ
ทั้งด้านบนและด้านล่าง

เปลี่ยนบู๊ชคันเกียร์
ถ้าซื้อเครื่องยนต์มาพร้อมเกียร์ ก็จำเป็นต้องเปลี่ยน เพราะราคาไม่แพง

เปลี่ยนซีลเพลากลาง
ถ้าเครื่องยนต์ซื้อมาพร้อมเกียร์ ก็จำเป็นต้องเปลี่ยน

เปลี่ยนสวิตช์วัดแรงดันน้ำมันเครื่อง
ตัวละไม่เกิน 100 บาท

เปลี่ยนเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิน้ำหล่อเย็น
ต้องเปลี่ยนให้ตรงรุ่นของเครื่องยนต์ เพื่อการวัดที่แม่นยำ กรณีเปลี่ยนเครื่องข้ามรุ่นหรือข้ามตระกูล ควรหาทางติดตั้งเซ็นเซอร์ดีกว่าตัวเก่า (ของเครื่องตัวเก่า)
กับเครื่องตัวใหม่ เพื่อไม่ให้ค่าที่แสดงบนหน้าปัดผิดพลาด

เปลี่ยนประเก็นท่อไอเสีย
ค่าใช้จ่ายไม่น่าเกิน 100-200 บาท

ลูกรอกสายพานแอร์
ถ้างบประมาณเหลือและใช้ระบบลูกรอกตั้งความตึงของสายพาน ควรเปลี่ยนเพื่อความมั่นใจ ถ้าลองหมุนดูแล้วยังดีอยู่ อาจไม่ต้องเปลี่ยน

เช็คปั๊มฟรีใบพัดลมหม้อน้ำ(ถ้ามี)
ถ้าความหนืดน้อยกว่าปกติ ต้องอัดซิลิโคน 1-3 หลอดหรือเปลี่ยนใหม่ (ใช้แล้ว) ค่าใช้จ่าย 300-600 บาท

ใบพัดลม
ถ้าแตกหักหรือบิดเบี้ยว ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในขั้นตอนการขนส่ง ที่แออัดไปด้วยอะไหล่เต็มตู้คอนเทรนเนอร์ ตรวจเช็คดูถ้าแตกหักหรือบิดเบี้ยว ไม่ได้ศูนย์ก็ต้องเปลี่ยน


***ขอบคุณแหล่งข้อมูลที่ www.9yakyai.com ***



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก น้าพี 124.121.36.241 พฤหัสบดี, 25/5/2549 เวลา : 20:48  IP : 124.121.36.241   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 858

คำตอบที่ 19
      

fiogf49gjkf0d
รถออฟโรดที่ใช้งานแบบออฟโรดนั้น มักจะนิยมใส่ยางที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ กว่าเลขไมล์จะครบ 10,000 กม. ระยะจริงอาจจะปาเข้าไปเกือบๆ 15,000 กม. แล้วแต่ขนาดยาง ประกอบกับการใช้งานในแบบออฟโรดความสึกหรอยิ่งเพิ่มหนักเข้าไปอีก ไหนจะจุ่มน้ำในห้วยแบบมิดฝากระโปรง ไหนจะต้องลากรอบเครื่องขึ้นไปถึง 3,000-4,000 รอบ เวลาเจอโคลนที่ทั้งหนาและเหนียว
ชิ้นส่วนที่ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญต่อความเป็นความตายของเครื่องยนต์ ที่สามารถป้องกันไม่ให้เกิดโศกนาฏกรรมต่อลูกสูบ และทั้งหมดของเครื่องยนต์ นั่นคือ สายพานราวลิ้น (TIMING BELT)
หากสายพานราวลิ้นเกิดขาด ระบบของเครื่องยนต์จะทำงานไม่สัมพันธ์กัน จังหวะการเปิดของวาล์ว และการหมุนของเพลาข้อเหวี่ยงไม่ถูกจังหวะ ลูกสูบจึงมีอาการกระทุ้งก้านวาล์ว ทำให้เกิดความเสียหายต่อเครื่องยนต์
ไม่ควรให้ครบ 100,000 กม. แล้วค่อยเปลี่ยนด้วยเหตุผลที่กล่าวมา เอาเป็นว่า 70,000-80,000 กม. ก็เปลี่ยนสายพานราวลิ้นได้แล้ว และควรเปลี่ยนลูกปืนลูกรอกไปพร้อมกันเลย
การใช้งานในแบบออฟโรดนั้น มีโอกาสที่น้ำหรือโคลนจะเข้าไปกัดเซาะชะล้างเอาจาระบีออกไป หรืออาจทำให้ลูกปืนเป็นสนิม หมุนได้ไม่ดีเท่าที่ควร

คัดข้อมูลบางส่วนมาจาก http://www.grandprixgroup.com



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก น้าพี 124.121.31.69 อาทิตย์, 28/5/2549 เวลา : 17:55  IP : 124.121.31.69   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 908

คำตอบที่ 20
      

fiogf49gjkf0d
สิ่งหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามก็คือ การอัดจาระบีเพลากลาง และ หมั่นตรวจเช็คจาระบีลูกปืนล้อ เพราะเคยมีบางท่านที่บอกว่าเข้าป่ามา 1 ปีแล้ว ไม่เคยอัดจาระบีเลยสักครั้งเดียว และในที่สุดก็ต้องซ่อมใหญ่ เพราะเพลากลางขาด เนื่องจากภายในเต็มไปด้วยสนิม และดุมล้อเกิดความเสียหาย ลูกปืนล้อแตก สาเหตุมาจากการที่ไม่เคยตรวจดูจาระบีในกะโหลกเลย
ควรอัดจาระบีทุกครั้งรถที่มีการแช่น้ำ ลุยโคลน จาระบีจะเข้าไปดันน้ำ ซึ่งขังอยู่ในเพลากลาง ให้ออกมาและควรตรวจเช็คจาระบีลูกปืนล้อทุกๆ 2-3 เดือน แล้วแต่ความบ่อยในการลุย พร้อมทั้งตรวจดูว่าซีลหัว กะโหลกอยู่ในสภาพที่ดีหรือไม่ เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำและฝุ่นเข้าไปทำลายลูกปืนล้อได้
การอัดจาระบีเพลากลางและตรวจเช็คจาระบีดุมล้อ เป็นสิ่งที่ทำได้บ่อยๆ ไม่ยุ่งยากซับซ้อนแต่ประการใด

คัดข้อมูลบางส่วนมาจาก http://www.grandprixgroup.com



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก น้าพี 124.121.31.69 อาทิตย์, 28/5/2549 เวลา : 17:59  IP : 124.121.31.69   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 909

คำตอบที่ 21
      

fiogf49gjkf0d
อย่าหวังว่าการแต่งกายมิดชิดจะช่วยให้ท่านรอดพ้นจากทากได้ !
การป้องกันแบบพื้นบ้านที่ง่ายที่สุด ก็คือการใช้ ยาเส้น (ที่มวนใบจากสูบนั่นแหละ) นำมาแช่น้ำจนสีออกคล้ายน้ำชาแก่ๆ นำมาราดช่วงหัวเข่าลงไปให้เปียกขากางเกง ถุงเท้าและรองเท้า ส่วนกากยาเส้นก็นำมาใช้ปิดแผลห้ามเลือดหากถูกกัด

ทากกัดได้ ในขณะที่ถูกกัดห้ามดึงตัวทากออกทันที เพราะจะทำให้แผลเปิด ถ้าไม่มียาเส้นให้ใช้ กย 15 หยดลงบนตัวทากก็จะได้ผลเช่นกัน และหากถูกกัดไปเรียบร้อยแล้วกลับมาบ้านยังคันไม่หายแล้วละก็ ให้ใช้ ผงพิเศษตราร่มชูชีพ โรยบริเวณแผล อาจใช้น้ำผสมนิดหน่อยเพื่อให้เข้มข้นแล้วแต้มบริเวณแผลก็ได้

ในกรณีเร่งด่วนหากอะไรก็ไม่สามารถห้ามเลือดได้แล้ว สิ่งเดียวที่ผมเคยใช้และได้ผลที่สุดก็คือ ผ้าอนามัย จะเป็นแบบมีปีกหรือไม่มีปีกก็ได้ นำมาปิดแผลรับรองว่าเผลอแป๊บเดียวเลือดหยุดแน่นอน


คัดข้อมูลบางส่วนมาจาก http://www.grandprixgroup.com



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก น้าพี 124.121.31.69 อาทิตย์, 28/5/2549 เวลา : 18:15  IP : 124.121.31.69   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 910

คำตอบที่ 22
      

fiogf49gjkf0d
ข้อควรปฏิบัติ 7 ประการ

1. การจับพวงมาลัย นับว่าเป็นพื้นฐานการขับบนเส้นทางออฟโรดอย่างแท้จริง มือทั้งสองข้างของผู้ขับจะต้องกำอยู่ภายนอกวงพวงมาลัยเท่านั้น ห้ามกำแน่นมากจนเกินไปและห้ามสอดมือล้วงเข้าไปในวงพวงมาลัยขณะหักเลี้ยว เพราะหากล้อหน้าเกิดเหยียบก้อนหินหรือตกหลุมอย่างแรงพวงมาลัยจะหมุนตีกลับอย่างเช่นกัน อาจทำให้ได้รับบาดเจ็บ

2. การคาดเข็มขัดนิรภัย ทุกคนที่อยู่ในรถจะต้องคาดเข็มขัดนิรภัยเพื่อความปลอดภัยของตัวท่านเอง ยกเว้นกรณีเดียวคือการข้ามน้ำลึก

3. การลดกระจกข้างลงเมื่อเกิดสถานการณ์คับขัน ทำให้สามารถชะโงกหน้าเพื่อดูว่าท่านต้องวางล้ออย่างไรเพื่อขับผ่านอุปสรรคและเป็นการป้องกันไม่ให้ศรีษะกระแทกกับกระจกข้างด้วย ที่สำคัญท่านสามารถมุดออกจากรถได้ในกรณีรถจมน้ำ

4. หลีกเลี่ยงการใส่รองเท้าแตะ เพราะจะทำให้ท่านควบคุมการเหยียบคันเร่ง เบรก และคลัตช์ไม่ถนัด รองเท้าแตะอาจคล้องกับแป้นเหยียบเบรกทำให้เกิดอันตรายขณะขับ โดยเฉพาะเวลาที่ท่านต้องลงลุยโคลนอาจถูกหนามไผ่ หรือหินแหลมทิ่มทะลุรองเท้าแตะได้ เมื่อกลับขึ้นรถรองเท้าแตะก็จะลื่นแฉลบกับแป้นเหยียบ จึงไม่สมควรที่จะใส่รองเท้าแตะขณะเดินทาง

5. การปรับเบาะนั่งไม่ให้เอนนอนมากเกินไป ในทางตรงข้ามท่านควรปรับเบาะให้พนักพิงมาข้างหน้าเพื่อดันหลังของท่านขณะขับขึ้นทางชัน เพื่อท่านจะสามารถเห็นเส้นทางข้างหน้าได้ทันทีที่รถอยู่บนยอดเนิน

6. การเก็บของในรถที่อาจก่อให้เกิดอันตราย ผมหมายถึงสิ่งของที่สามารถกลิ้งไปมาได้อาจเป็นของมีคม เช่น มีด ไขควง อุปกรณ์ที่ติดรถ หรืออาจเป็นของที่มีน้ำหนัก เช่น รอกทด ขวด ตัวยูโบล์ท (โอเมก้า) สิ่งเหล่านี้จะทำให้ท่านพะวงขณะขับและหากเกิดรถพลิกตะแคงคว่ำก็อาจทำให้เกิดอันตรายได้

7. การแต่งกายต้องรัดกุมไม่รุ่มร่าม เพราะเสื้อผ้าที่รุ่มร่ามอาจไปเกี่ยวเข้ากับสายสลิงขณะทำการวินช์ซึ่งจะทำให้เกิดอันตรายต่อท่านได้ หรือกรณีอื่นๆ เช่น การเดินลุยน้ำลึกเพื่อดูไลน์จะทำให้ว่ายน้ำไม่ถนัดหากถูกกระแสน้ำพัดไป จึงควรใส่ใจกับการแต่งกายด้วย


คัดข้อมูลบางส่วนมาจาก http://www.grandprixgroup.com



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก น้าพี 124.121.31.69 อาทิตย์, 28/5/2549 เวลา : 18:18  IP : 124.121.31.69   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 911

คำตอบที่ 23
      

fiogf49gjkf0d
ระมัดระวังไม่ควรปรับทอร์ชั่นบาร์มากจนเกินไป เอาแค่เลี้ยวแล้วยางไม่เสียดสีกับตัวรถก็พอแล้ว

การเติมลมยางไม่เกิน 27-28 ปอนด์ สำหรับรถที่หนักไม่เกิน 2 ตัน ก็น่าจะพอเพียงแล้ว เพื่อให้แก้มยางทำงาน เป็นการช่วยซับแรงกระแทกได้ในระดับหนึ่งก็ยังไม่เข้าใจ !


คัดข้อมูลบางส่วนมาจาก http://www.grandprixgroup.com



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก น้าพี 124.121.31.69 อาทิตย์, 28/5/2549 เวลา : 18:23  IP : 124.121.31.69   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 912

คำตอบที่ 24
      

fiogf49gjkf0d
ดินหนังหมู



ลักษณะผิวเรียบและมีความลื่นมาก หากเป็นดินที่มีน้ำซับจะมีสีดำเป็นดินเหนียวข้อควรปฏิบัติ ควรใช้ยางหน้าแคบที่มีดอกลึกเพื่อให้สามารถจิกผิวดิน และขณะขับผ่านไม่ควรเร่งเครื่องให้มีรอบสูงเกินไป เพราะจะทำให้เกิดการแฉลบ อาจเกิดอันตรายได้ วิธีที่ถูกต้องคือ กดคันเร่งในลักษณะปั๊มเป็นจังหวะ เพื่อให้เกิดแรงเสียดทานที่เหมาะสมซ้ำกันหลายๆ ครั้ง โดยใช้เกียร์ 4L และเลือกใช้เกียร์ 1 อาจจะเลือกใช้เกียร์ที่สูงขึ้นหากอยู่ในลักษณะขับขึ้นเนิน


ดินโคลนเหลวปานกลาง



ลักษณะผิวเละเหลวแต่ข้างล่างแข็ง ตามปกติจะเป็นร่องล้อ รถสามารถเคลื่อนโดยไม่แขวนใต้ท้อง
ข้อควรปฏิบัติ ไม่ควรขับคร่อมร่องเพราะอาจขวางลำและยางหลุดขอบหรือขาไก่หัก เหมาะที่จะใช้ยางที่มีหน้าแคบ เพื่อให้จิกถึงพื้นแข็ง (แต่ยางหน้ากว้างก็สามารถใช้ได้หากมีความสูงของยางมากพอ) ควรขับโดยรักษารอบเครื่องให้คงที่ หากกดคันเร่งมากเกินไปอาจทำให้จมติดอกได้ ให้เลือกใช้เกียร์ต่ำ ไม่ควรขับแบบกระโจน เพราะจะทำให้โคลนกระเด็นติดรังผึ้งหม้อน้ำและเข้าไดชาร์จ

ดินโคลนเหลวมาก



ลักษณะเหลวที่คนไม่สามารถเดินผ่านได้เพราะจะจมลึกถึงต้นขา
ข้อปฏิบัติ เลือกใช้ยางที่มีหน้ากว้างจะเหมาะสมกว่ายางหน้าแคบ เพราะมีการกระจายน้ำหนักที่ดีกว่าและมีแรงเสียดทานมากกว่า ไม่ควรใช้เกียร์ 1 โดยเฉพาะรถที่เป็นเครื่องยนต์ดีเซล เพราะแรงบิดและความเร็วในการปั่นล้อจะมีจำกัด ควรเลือกใช้เกียร์ 2 ที่มีแรงบิดที่พอเพียง แต่ความเร็วในการปั่นล้อจะสูงพอที่จะสลัดโคลนให้ออกจากดอกยาง
หากจำเป็นก็สามารถใช้เกียร์ 3 ได้ แต่ก็มีข้อเสียคือ หากไม่สามารถเคลื่อนที่ไปได้ ถ้ารถหยุดนิ่งควรหยุดคันเร่งทันที มิฉะนั้นรถจะจมลึกได้อย่างง่ายดาย พร้อมกับใช้เทคนิคการส่ายพวงมาลัยซ้าย-ขวา เพื่อเป็นการหาพื้นผิวที่ดอกยางสามารถเกาะได้ รถจะเคลื่อนที่ในลักษณะร่อนไปบนผิวโคลน

คัดข้อมูลบางส่วนมาจาก http://www.grandprixgroup.com



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก น้าพี 124.121.31.69 อาทิตย์, 28/5/2549 เวลา : 18:37  IP : 124.121.31.69   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 913

คำตอบที่ 25
      

fiogf49gjkf0d
"START IN GEAR" โดยเฉพาะกรณีที่เครื่องยนต์ดับคาเนิน (โดยที่ยังอยู่ในตำแหน่งเกียร์ 4L) ให้ปฏิบัติโดยใส่เกียร์ 1 ไว้พร้อมกับบิดกุญแจสตาร์ทรถ ไม่ต้องเหยียบคลัตช์ และเพื่อความเหมาะสมคล่องตัวให้ใช้เท้าขวากดคันเร่งไว้ ส่วนเท้าซ้ายวางอยู่ในตำแหน่งแป้นเหยียบเบรก เพื่อเป็นการป้องกันรถไหลถอยหลังลงเนิน

ทันทีที่สตาร์ทเครื่องรถจะขยับไปข้างหน้า ทั้งนี้เพราะแรงบิดของเกียร์ 1 (4L) นั้นมีมากพอที่จะดึงรถให้ขึ้นเนินในลักษณะขยับทีละนิด หากเครื่องยนต์เกิดดับอีกให้ทำการสตาร์ทซ้ำพร้อมกับกดคันเร่ง เมื่อสตาร์ทรถติดแล้วให้เร่งรอบเครื่องช่วย รถก็จะเคลื่อนตัวต่อไปได้

วิธีนี้สิ่งที่ห้ามเด็ดขาดก็คือ การเหยียบคลัตช์ เพราะจะทำให้รถไหลถอยหลัง

การลุยน้ำมาแล้วจอดรถทันที สิ่งที่ห้ามปฏิบัติอีกข้อหนึ่งก็คือ การดึงเบรกมือ เพราะเพียงชั่วข้ามคืนผ้าเบรกก็จะบวมและจับกับจานเบรกจนทำให้รถไม่สามารถเคลื่อนตัวได้ในวันรุ่งขึ้น

เมื่อขับรถลุยน้ำมาแล้วควรขับรถต่อไปสักระยะหนึ่ง พร้อมกับการแตะเบรกเบาๆ เพื่อเป็นการไล่น้ำให้ระเหยออกจากผ้าเบรกก่อนจอดรถ ซึ่งยังจะเป็นการป้องกันแผ่นคลัตช์และจานฟลายวีลเป็นสนิมอีกด้วย

คัดข้อมูลบางส่วนมาจาก http://www.grandprixgroup.com



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก น้าพี 124.121.31.69 อาทิตย์, 28/5/2549 เวลา : 19:12  IP : 124.121.31.69   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 914

คำตอบที่ 26
      

fiogf49gjkf0d
เป็นข้อมูลที่ดีมาก ๆ ครับน้าพี .....น้าพีให้ทีมเว็บเค้าจัดขึ้นเป็นกระทู้พิเศษเลยครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก นายMOP JUC(Original) 58.8.136.110 อังคาร, 6/6/2549 เวลา : 20:47  IP : 58.8.136.110   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 1436

      

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  



website รองรับการใช้งานทุกระบบปฏิบัติการของ PC Tablet SmartPhone ทุกระบบสามารถโพสข้อความและรูปภาพได้โดยไม่ต้องย่อไฟล์
เพื่อความปลอดภัยในการใช้ website WeekendHobby.Com สมาชิก เท่านั้น จึงจะตั้งกระทู้ หรือ ตอบกระทู้ได้ครับ
Login Click ที่นี่
สมัครสมาชิก Click ที่นี่



Since 22, Feb 2001 hit counter View My Stats  Truehits.net      วันเสาร์,20 เมษายน 2567 (Online 5471 คน)