WeekendHobby.com
เครื่องมือในการใช้งาน website =>> สมัครสมาชิก | Login | Logout | เปลี่ยนไอคอนส่วนตัว | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อโฆษณา         View stat by Truehits.net


TRIZ
somsaks
จาก หนุ่มกระโทก
IP:115.67.241.108

จันทร์ที่ , 25/5/2552
เวลา : 19:11

อ่านแล้ว = ครั้ง
 เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งตรวจสอบกระทู้
 แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน ส่งหาเพื่อน

       วันนี้มาแนะนำเรื่อง TRIZ

คำว่า TRIZ มาจากภาษารัสเซีย ย่อจากอะไรอย่าไปรู้เลย ไม่ใช่อะไรด๊อก ผมเองอ่านภาษารัสเซียไม่เป็นนั่นเอง
ถ้าจะแปลให้เป็นภาษาอังกฤษก็คงจะแปลได้ว่า Theory of the Solution of Inventive Problems

เนื่องจากเป็นการให้เกียรติประเทศต้นกำเนิดของความคิดนี้ จึงนิยมยังคงใช้คำว่า TRIZ เช่นเดียวกับ
คำว่า KAIZEN ที่มีกำเนิดมาจากประเทศญี่ปุ่น

ก่อนจะรู้เรื่อง TRIZ ผมขอเล่าประวัติที่มาที่ไปของ ยอดชายผู้คิดค้นหลักการของ TRIZ ขึ้นมาก่อน








 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

แจ้งเพื่อเก็บขึ้นกระทู้พิเศษ คลิ๊กที่นี่แจ้งเพื่อนำขึ้นกระทู้พิเศษ

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  

คำตอบที่ 1
       ต้นกำเนิดของ TRIZคือ นาย เกนริค อัลชูลเลอร์ ที่ถือกำเนิดเมื่อปี 2469 ไม่ผิดครับเกือบร้อยปีที่แล้ว
ที่เมือง ทัชเคนท์ ในสาธารณรัฐอุชเบกิซฐานของอดีตสหภาพโซเวียต

กระทาชายนายนี้เริ่มเป็นนักประดิษฐ์เมื่ออายุเพียง 14 ปี (ตอนผมอายุเท่าแก ผมยังเล่นเป่ากบ กระโดดหนังยางอยู่เลย)
เขาศึกษาด้าน mechanical engineering และเริ่มทำงานแรกเป้นผู้ช่วยนักประดิษฐ์ให้แก่กองทัพเรือโซเวียต
(ยุคนั้นยังเรียกโซเวียตอยู่นะครับ) หน้าที่ของผู้ช่วยนักประดิษฐ์คือทำหน้าที่กรอกเอกสารต่าง ๆ ในกรมสิทธิบัตร
ของกองทัพเรือ (โอ้โห เขามีมาเกือบร้อยปี ของพี่ไทยเรากว่าผมจะไปจดได้เลือดตาแทบกระเด็น แก้แล้วแก้อีก ๆ)
ระหว่างที่ทำงานไป สมองแกก็ครุ่นคิดไปว่าไอ้สิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ นี้ เกิดขึ้นได้อย่างไร จากความโชคดีหรือความคิดที่แว๊บเข้ามา

นายเกนริคใช้เวลาศึกษาสิทธิบัตรที่นำมาจดทะเบียน หลายร้อยหลายพันชิ้น และมองหาสิ่งที่เหมือน ๆ กัน
หรือรูปแบบที่เกิดขึ้นเป็นประจำ เมื่อค้นพบแล้วเขาก็บันทึกเอาไว้ (เป็นตัวอย่างของนักวิทยาศาสตร์ที่ดี)

เขาใช้เวลากว่า 20 ปี ในการพัฒนาหลักการของ TRIZ จนสรุปได้หลักการ 40 ข้อ
หลังจากนั้นผลงานของเขาก็ได้รับการตีพิมพ์ มีวิศวกรชาวโซเวียตกว่าครึ่งแสน ที่ได้รับการฝึก
ปัจจุบันนี้มีการนำ TRIZ ไปใช้และก่อให้เกิดการจดสิทธิบัตรนับล้านชิ้น







 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.241.108 จันทร์, 25/5/2552 เวลา : 19:14  IP : 115.67.241.108   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 42423

คำตอบที่ 2
       ขณะที่ เกนริคมีเรียนอยู่ระดับ 9 ซึ่งเทียบเท่า ม.3 ของไทย ได้สิทธิบัตรการประดิษฐ์เครื่องดำน้ำ
พอขึ้นเกรด 10 เขาได้สร้างเรือติดเครื่องยนต์จรวดซ่งใช้สารคาร์ไบด์เป็นเชื้อเพลิง
เมื่อ พศ. 2489 เกนริคได้พัฒนาสิ่งประดิษฐ์ชิ้นหนึ่งที่เป็นประโยชน์มากนั่นคือ
วิธีหนีออกมาจากเรือดำน้ำซึ่งเคลื่อนที่ไม่ได้โดยไม่ต้องใช้เครื่องดำน้ำ ผมพยายามหาว่ามันเป็นอย่างไร
ทุกวันนี้ก็ยังไม่ทราบครับ เนื่องจากสิ่งประดิษฐ์นี้ถูกจัดอยู่ในประเภทที่เป็นวามลับทางทหาร !
ต่อมาเกนริคจึงได้เข้าไปทำงานในฝ่ายสิทธิบัตรประจำหน่วยทะเลสาปแคสเปียนของกองทัพเรือโซเวียต

ในสมัยหนุ่ม ๆ ตอนที่มียศเรือเอก ประจำการที่ทะเลสาปแคสเปียน เกนริคเคยเขียนจดหมายฉบับหนึ่ง
ที่ใคร ๆ ขนานนามว่า "จดหมายเสี่ยงตาย" จดหมายฉบับนี้ จ่าหน้าซองว่า "จดหมายส่วนตัวถึงสหายสตาลิน"
ข้อความในจดหมายได้พยายามชี้ให้ผู้นำประเทศเห็นว่า วิธีการของโซเวียตในเรื่องนวัตกรรม และ การประดิษฐ์คิดค้น
แสนจะล้าสมัย ไร้ระเบียบแบบแผนแถมท้ายในตอนจบของจดหมายยังได้แสดงข้อคิดที่แสนจะยียวนกวนตีนเสียอีก

จดหมายฉบับนี้ใช้เวลาสองปี ไม่ผิดครับ สองปี กว่าที่จะได้รับคำตอบอันแสนจะเลือดเย็นกลับมา
อาชีพการงานของเขาต้องพังพินาศในกาลต่อมาและชีวิตของเขาต้องเปลี่ยนแปลงไปตลอดกาล
คือถูกตั้งข้อหาพยายามก่อวินาศกรรมด้วยสิ่งประดิษฐ์และถูกตัดสินจำคุก 25 ปี !

เกนริคเคยกล่าวว่า "ผมไม่เพียงแต่ต้องการประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่าง ๆ ขึ้นมาเท่านั้น
แต่ผมยังต้องการช่วยคนอื่นซึ่งต้องการเป็นนักประดิษฐ์ด้วยเช่นกัน"


สมัยพวกเราเรียน ม.3 ทำอะไรกันอยู่บ้างครับ ??
ผมไม่ได้เรียน ม.3 มศ. 3 ผมก็ไม่ได้เรียน เพราะอาจารย์หมั่นไส้ไม่ยอมให้ผมเรียน ก็เคยบอกแล้วว่าความรู้ต่ำเรียนมาน้อย
ข้อนี้ผมรอดตัวไป



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.241.108 จันทร์, 25/5/2552 เวลา : 19:19  IP : 115.67.241.108   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 42424

คำตอบที่ 3
       ระหว่างที่อยู่ในคุกที่มอสโคว์ เดนริคไม่ยอมเซ็นต์ชื่อรับสารภาพ จึงถูกสอบปากคำอย่างต่อเนื่องตลอดคืน
และในตอนกลางวันก็ห้ามหลับ ซึ่งเขาเองก็เข้าใจดีว่าถ้าหากตกอยู่ในสภาพนั้น ชีวิตเขาคงไม่รอดแน่นอน

เขาได้ตั้งโจทย์ว่า ทำอย่างไรจึงจะหลับและไม่หลับในเวลาเดียวกันได้ ดูแล้วปัญหานี้งไม่มีทางแก้ได้
เขาได้รับอนุญาตให้แค่ให้พักด้วยการนั่งลืมตาเท่านั้น ซึ่งเขาแก้ปัญหานี้ด้วยการฉีกกระดาษจาซองบุหรี่
สองชิ้น และใช้ก้านไม้ขีดต่างดินสอวาดรูปนัยน์ตาดำลงไปในกระดาษแต่ละชิ้น และใช้น้ำลายของเพื่อนนักโทษร่วมห้อง
เป็นเสมือนกาวทาลงในกระดาษ ปิดลงไปในเปลือกตาซึ่งหลับตาอยู่ จากนั้นเขาก็ไปนั่งอยู่ตรงช้องมองของประตูห้องขัง
และหลับ โดยที่ผู้สอบสวนต่างแปลกใจว่าเหตุใด นายเกนริคจึงดูสดชื่นได้ทุกวัน

ในที่สุดเขาถูกส่งไปอยู่ที่ค่ายกักกันในไซบีเรีย ต้องทำงานวันละ 12 ชม ซึ่่งเขารู้ตัวดีว่าหากเป็นเชนนี้ต่อไปคงเอาชึวิตไม่รอด
จึงตั้งคำถามกับตัวเองว่า "กรูจะเลือกอย่างไหนดีหว่า ระหว่าง ทำงานต่อไปหรือปฏิเสธไม่ยอมทำ แต่โดนขังเดี่ยว"
ในที่สุดเขาเลือกโดนขังเดี่ยว และถูกส่งไปอยู่ร่วมกับพวกอาชญากร ทีนี่้เองการเอาชีวิตรอดทำได้ง่ายกว่าไซบีเรียมาก
เขาผูกมิตรกับพวกนักโทษด้วยการเล่านิยายเรื่องต่าง ๆ ที่เขาจำได้อย่างขึ้นใจให้คนเหล่านั้นฟัง







 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.241.108 จันทร์, 25/5/2552 เวลา : 19:24  IP : 115.67.241.108   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 42425

คำตอบที่ 4
      
ต่อมาก็ถูกย้ายไปอยู่ในค่ายกักกันนักโทษปัญญาชนสูงอายุที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ นักกฏหมาย สถาปนิก
ซึ่งกำลังจะตายไปอย่างช้า ๆ ดังนั้นเขาจึงช่วยสร้างกำลังใจให้แก่คนที่สิ้นหวังเหล่านั้นโดยการเปิด
มหาวิทยาลัยที่มี นักศึกษาคนเดียว ขึ้นมา ทุก ๆ เช้าเขาจะเข้าเรียนหนังสือเป็นเวลา 12-14 ชม
ซึ่งสอนโดยบรรดา นักโทษเหล่านั้น

ที่เหมืองถ่านหิน "วาร์คูตา" เขาใช้เวลาวันละ 8-10 ชม ในการพัฒนาทฤษฎี TRIZ ขึ้นมาในขณะที่ต้องคอย
ช่วยแก้ปัญหาฉุกเฉินทางเทคนิคในเหมืองถ่านหินอยู่เป็นประจำ ไม่มีใครยอมเชื่อว่านักประดิษฐ์หนุ่มผู้นี้
เพิ่งมาทำงานในเหมืองเป็นครั้งแรก ทุกคนคิดว่านายเกนริคกำลังเล่นตลกตบตากับพวกเขาอยู่
แม้กระทั่งนายช่างใหญ่ของเหมืองก็ไม่ยอมเชื่อว่า นายเกนริคกำลังใช้วิธีการ TRIZ ในการช่วยงาน

คืนหนึ่ง เกนริคได้ทราบข่าวว่า สตาลินตายแล้ว หลังจากนั้นอีกปีครึ่งเขาก็ได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสรภาพ
จึงได้เดินทางกลับบ้านและพบว่าแม่ของเขาได้ ฆ่าตัวตายไปแล้วเนื่องจากความสิ้นหวังที่จะได้พบหน้าลูกชายอีก




 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.241.108 จันทร์, 25/5/2552 เวลา : 19:40  IP : 115.67.241.108   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 42427

คำตอบที่ 5
       ในปี 2499 บทความชิ้นแรกของเขาได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร ปัญหาทางจิตวิทยา
สำหรับนักวิทยาศาสตร์แล้ว บทความนี้เปรียบเสมือนลูกระเบิดที่ถูกโยนเข้ามาในวงการ

เพราะในยุคนั้นนักจิตวิทยาทั่วโลกต่างเชื่อว่า การประดิษฐ์คิดค้นสิ่งต่าง ๆ นั้นเกิดขึ้นได้
จากการหยั่งรู้โดยบังเอิญ กล่าวง่าย ๆ คือ แว๊บขึ้นมาเองในสมอง

เกนริค ได้วิเคาระห์สิทธิบัตรต่าง ๆ จากทั่วโลกประมาณ 200,000 ชิ้น เขาได้สรุปว่ามีความขัดแย้งทางเทคนิค
ประมาณ 1,500 อย่าง ที่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างง่ายดายโดยใช้หลักการพื้นฐาน

เขาบอกไว้ว่า "ต้องเสียเวลา 100 ปี กว่าจะหยั่งรู้ถึงปัญหา หรือคุณอาจใช้เลาเพียง 15 นาที โดยใช้หลักการเหล่านี้"


พอปี 2502 เกนริค ก็ร้อนวิชาขึ้นมาอีก และต้องการที่จะให้ทฤษฎีของเขาได้รับการยอมรับ
เขาจึงทำหนังสือขอโอกาสพิสูจน์ทฤษฎีของเขาถึงองค์กรสูงสุดด้านสิทธิบัตรของโซเวียต
(สหพันธ์สมาคมนักประดิษฐ์และผู้มีความคิดริเริ่ม VOIR)

หลังจากนั้นเขาก็เขียนจดหมายตามไปอีกเรื่อย ๆ นับเป็นร้อย ๆ ฉบับ ในที่สุดเก้าปีถัดมา (โห โคตรอึดเลย)
เขาจึงได้รับคำตอบอนุมัติให้จัดการสัมนาเรืองวิธีวิทยาในเชิงการประดิษฐ์ที่เมือง ซินทารี สาธารณรัฐจอร์เจีย







 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.241.108 จันทร์, 25/5/2552 เวลา : 20:04  IP : 115.67.241.108   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 42428

คำตอบที่ 6
       ในครั้งนั้นถือเป็นการสัมนา TRIZ เป็นครั้งแรกในโลก

เขาได้พบคนกลุ่มหนึ่งที่ได้ถือว่าเป็นลูกศิษย์ของเขา ซึ่งต่อมาบุคคลเหล่านี้ได้แยกย้ายกัน
ไปเปิดโรงเรียนสอนเรื่อง TRIZ ขึ้นในเมืองของตน

ในปี 2512 เขาได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งขึ้นมาชื่อว่า Algorithm of Inventing ถ้าจะแปลเป็นภาษาไทย
ก็คงเป็นชื่อหนังสือ "ขั้นตอนของการประดิษฐ์" ถ้าเป็นผม ผมอาจจะตั้งชื่อว่า "ตับของการประดิษฐ์"
เอาให้มันแปลกแหวกแนวกว่าชาวบ้านซะหน่อย เป็นมีหนังสือ หัวใจโน่น หัวใจนี่ อยู่หลายเล่ม
ความจริง ตับมันก็สำคัญไม่น้อยเหมือนกันนะครับ

ในหนังสือเล่มนี้เขาได้เสนอหลักการ 40 ข้อ ในการแก้ปัญหาเชิงการประดิษฐ์ที่มีความสลับซับซ้อน

โวลูสลาฟ มิโตรฟานอฟ ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยความคิดสร้างสรรค์ทางเทคนิคที่เมืองเลนินกราด
เล่าว่า ครั้งหนึ่ง เมื่อ โรเบิร์ต แองกลิน นักประดิษฐ์ชั้นแนวหน้าของเมืองเลนินกราด ผู้มีผลงานประดิษฐ์กว่า 40 ชิ้น
ซึ่งกว่าจะได้มาแต่ละชิ้นต้องพัฒนาด้วยความคิดสร้างสรรค์แบบลองผิดลองถูกอย่างยากลำบาก
ได้มาร่วมสัมนา TRIZ เขานั่งเงียบเฉยตลอดระยะเวลาการอบรมสัมนา หลังจากที่ทุกคนออกไปแล้ว
เขาก้ยังคงนั่งอยู่ที่โต๊ะ ให้มือทั้งสองกุมหัวและพูดกับตัวเองว่า
"กรูเสียเวลาไปไม่รู้เท่าไหร่..... ถ้ากรูได้มีโอกาสรู้เรื่อง TRIZ ก่อน กรูคงไม่ต้องเสียเวลามากมายขนาดนี้ ! "

สมาคม TRIZ ของรัสเซียไดถูกก่อตั่งเมื่อปี พศ 2532 แน่นอนครับ นายกสมาคมจะเป็นใครไม่ได้
นอกจา นาย เกนริค อัลชูลเลอร์ นั่นเองคร๊าบ

อยากรู้ละซิว่า เนื่อหา TRIZ มีอะไรบ้าง ใครทนไม่ได้ไปค้นหาในเน็ตกันเองแล้วกันเด้อ
ผมนั่งจิ้มดีดอยู่หลาย ชั่วโมงแล้ว ขอเวลาไปทำการบ้านเรื่องอื่นก่อนครับ








 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.241.108 จันทร์, 25/5/2552 เวลา : 20:35  IP : 115.67.241.108   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 42429

คำตอบที่ 7
      

เเม้จะจบดื้อ ๆ เเต่ก็ขอบพระคุณที่หาเรื่องดีๆ มาให้อ่านครับ





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

kupree จาก kupree 125.26.75.242 จันทร์, 25/5/2552 เวลา : 20:58  IP : 125.26.75.242   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 42430

คำตอบที่ 8
      

ทำไมแก่ถึงได้หาเรื่องดี๋ๆมาไห่อ่านอยู่เรื่อยหืออีตาหนุ่มกระโทก ฉันหนะภูมิใจแก่จริงๆหนะ

อย่างงั้น ฉันขอขอบใจแก่หลายๆเด็อ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก nithi 116.58.231.242 อังคาร, 26/5/2552 เวลา : 10:38  IP : 116.58.231.242   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 42436

คำตอบที่ 9
       ขอแนะนำให้รู้จัก TRIZ ว่ามันคืออะไร ??

จากการที่เกนริคได้วิเคราะห์สิทธิบัตรจากสาขาวิศวกรรมชั้นนำทั่วโลกนับพัน นับหมื่นชิ้น
เขาได้ค้นพบวิธีการแก้ปัญหาที่เขาเห็นว่ามีประสิทธิผลที่สุด ผลงานนี้ทำให้เกิดความเข้าใจ
ถึงแนวโน้ม หรือรูปแบบของวิวัฒนาการทางเทคนิค และยังเป็นการวางรากฐานสำหรับการพัฒนา
วิธีวิเคราะห์ในการแก้ปัญหาเชิงประดิษฐ์

กฏที่ได้สรุปง่าย ๆ คือ การปรับปรุงสวนใด ๆ ของระบบที่ได้พัฒนาถึงขั้นสุดยอดของการทำงาน
ตามหน้าที่ที่ถูกออกแบบมาแล้ว จะนำไปสู่ความขัดแย้งกับอีกส่วนหนึ่งของระบบ และในที่สุดความขัดแย้งนี้
ก็จะนำไปสู้การปรับปรุงส่วนที่มีการพัฒนามาน้อยกว่า กระบวนการเหล่านี้เป็นการสร้างความต่อเนื่อง
ที่จะผลักดันเข้าสู่ความฝันอันสูงสุดของระบบ ความเข้าใจกระบวนการของการพัฒนานี้ทำให้เราสามารถทำนาย
แนวโน้มในอนาคตของการพัฒนาทางเทคนิคได้

อ่านไปแล้วจะงง ขอยกตัวอย่างซักตัวอย่างดีกว่า

เมื่อจะเพิ่มกำลังของเครื่องยนต์ (ปรับปรุงในเชิงบวก) ก็ต้องมีการเพิ่มขนาดของเครื่องยนต์ (ผลเชิงลบ)
ดังนั้น จึงต้องพิจารณาการเพิ่มกำลังเพียงบางส่วนเพื่อที่จะลดผลในเชิงลบ
ปรับปรุงระบบหัวฉีดให้พ่นเป็นฝอยละเอียดยิ่งขึ้น(พัฒนาส่วนที่พัฒนามาน้อย) เพื่อให้เผาไหม้ได้สมบูรณ์

ตัวอย่างที่ 2

การแยกน้ำเป็นไฮโดรเจนเพื่อใช้เผาไหม้ ในห้องเผาไหม้

1ไฮโดรเจนช่วยในการเผาไหม้ (ปรับปรุงในเชิงบวก)
2ต้องใช้ไฟฟ้าจากการขับของเครื่องยนต์(ผลในเชิงลบ)
3ต้องพัฒนาประสิทธิภาพของเครื่องแยกน้ำเป็นแกส(พัฒนาส่วนที่พัฒนามาน้อย)
จะเห็นว่าในข้อ 3 ไม่สามารถพัฒนาได้แล้วเนื่องจากไม่สามรถข้ามกฎของ Faraday ได้
และผลในเชิงลบ(ข้อ 2) มีผลมากกว่าการปรับปรุงในเชิงบวก(ข้อ 1)

จะเห็นได้ว่า จากการประเมินในเบื้องต้นด้วย TRIZ ก็พอจะรู้แล้วว่าเป้นไปได้หรือไม่





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.41.220 อังคาร, 26/5/2552 เวลา : 11:13  IP : 115.67.41.220   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 42437

คำตอบที่ 10
       รากฐานของ TRIZ

1 Technical system ระบบเทคนิค
อุปกรณ์หรือสรรพสิ่งทั้งหลาย ที่ทำงานตามหน้าที่ถือว่าเป็นระบบทางเทคนิค
ในระบบหนึ่ง ๆ อาจประกอบด้วยระบบย่อยหลาย ๆ ระบบมาต่อกัน
แต่ละระบบต่างก็เป็นระบบทางเทคนิคด้วยเช่นกันและปฏิบัติงานตามหน้าที่กันได้เอง

2 Level of Innovation ระดับของนวัตกรรม
จากการวิเคราะห์สิทธิบัตรมาเป้นจำนวนมาก เกรริคแบ่งนวัตกรรมออกเป็น 5 ระดับคือ
2.1 ระดับการปรับปรุงอย่างง่าย ต้องการใช้ความรู้เท่าที่มีอยู่ภายในสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับระบบนั้น
2.2 เป็นการประดิษฐ์ที่ต้องมีการแก้ปัญหาความขัดแย่งทางเทคนิคและต้องการใช้ความรู้จากสาขาต่าง ๆ กัน
ทีมีอยู่ภายใต้กิจการเดียวกันที่เกี่ยวข้องกันกับระบบ
2.3 เป็นการประดิษฐ์ที่ต้องมีการแก้ปัญหาความขัดแย้งทางกายภาพและต้องการใช้ความรู้จากกิจการอื่น ๆ
2.4 มีการพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นใหม่ขึ้นมาโดยมีการผ่าทางตันปัญหา ซึ่งต้องการใช้ความรู้จากวิทยาศาสตร์สาขาต่าง ๆ
2.5 เป็นการค้นพบปรากฏการณ์ชนิดใหม่ ซึ่งทำให้สามารถผลักดันเทคโนโลยีที่มีอยู่ไปสู่ระดับที่สูงขึ้น

3 Law of Ideality หรือ ความฝันอันสูงสุด
สะท้อนให้เห็นการใช้ประโยชน์สูงสุดของทรัพยากรที่มีอยู่ แนวความคิดทางวิศวกรรมทั่วไปจะกล่าวว่า
เราจะต้องสร้างกลไกหรืออุปกรณ์ที่จะทำหน้าที่ให้เป้นไปตามต้องการ แต่ TRIZ จะคิดว่า ให้ปฏิบัติงานตามหน้าที่
โดยไม่เอากลไกหรืออุปกรณ์ใหม่เข้ามาในระบบ เข้าทำนองสูงสุดคืนสู่สามัญนั่นเอง
สิ่งปประดิษฐ์ที่ใกล้ความฝันอันสูงสุด ระบบก็จะยิ่งเรียบง่าย สิ่งประดิษฐ์ใดที่ยังห่างจุความฝันสูงสุด ระบบนั้นก็จะยิ่งซับซ้อน

4 Contradiction เรื่องของความขัดแย้ง
สิ่งประดิษฐ์ที่ประสิทธิผลสูงสุดที่ทำได้ ก็ต่อเมื่อผู้ประดิษฐ์ก้ไขปัญหาทางเทคนิคที่มีความขัดแย้ง
โดยต้องหาว่าความขัดแย้งนั้นเกิดขึ้นเมื่อใด ที่ไหน??
คำตอบคือ มันเกิดขึ้นเมื่อเราพยายามจะปรับปรุงคุณสมบัติของระบบ ทำให้คุณสมบัติอย่างหนึ่งอย่างใดของระบบเสียไป
เราจึงต้องหาวิธีการแก้อย่างประณีประนอม

5วิวัฒนาการของระบบทางเทคนิค









 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.41.220 อังคาร, 26/5/2552 เวลา : 12:59  IP : 115.67.41.220   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 42439

คำตอบที่ 11
      



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

earthwind จาก earthwind 58.137.23.200 อังคาร, 26/5/2552 เวลา : 14:49  IP : 58.137.23.200   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 42440

คำตอบที่ 12
      
หลักการ 40 ข้อ ของ TRIZ โดย เกนริค อัลซุูลเลอร์

1 Segmentation การแยกเป็นส่วน ๆ

-แยกเป็นส่วนอิสระ
ตย: ข้องอของท่อลมเล็ก ๆ หลาย ๆ ท่อจะทำให้กระแสลมไหลได้เรียบและดีกว่าท่อใหญ่เพียงท่อเดียว

-ทำเป็นแบบพับเก็บได้
ตย: เสาไฟสัญญาณจราจรชนิดชั่วคราว ถ้าทำเสาไฟให้มีโครงสร้างพบพับงอได้
การขนย้ายและติดตั้งจะทำได้ง่าย ใช้เวลาอันสั้น

-เพิ่มระดับชั้นของการแบ่งส่วนวัสดุ
ตย: สายพานลำเลียงแทนทีจะใช้ลูกกลิ้งยางตัวใหญ่ตัวเดียว ก็แบ่งเป็นใช้ลูกกลิ้งยางขนาดสั้นสามลูก
หรือแบ่งย่อยออกเป็นลูกบอล 9 ลูก จากนั้นแบ่งสายพานเป็นสามเส้น

ไปดูรูปในคำตอบที่ 6 เด้อ




 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.41.220 อังคาร, 26/5/2552 เวลา : 14:57  IP : 115.67.41.220   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 42442

      

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  



website รองรับการใช้งานทุกระบบปฏิบัติการของ PC Tablet SmartPhone ทุกระบบสามารถโพสข้อความและรูปภาพได้โดยไม่ต้องย่อไฟล์
เพื่อความปลอดภัยในการใช้ website WeekendHobby.Com สมาชิก เท่านั้น จึงจะตั้งกระทู้ หรือ ตอบกระทู้ได้ครับ
Login Click ที่นี่
สมัครสมาชิก Click ที่นี่



Since 22, Feb 2001 hit counter View My Stats  Truehits.net      วันศุกร์,19 เมษายน 2567 (Online 4674 คน)