WeekendHobby.com
เครื่องมือในการใช้งาน website =>> สมัครสมาชิก | Login | Logout | เปลี่ยนไอคอนส่วนตัว | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อโฆษณา         View stat by Truehits.net


กระทู้เก่า เรื่องเทอร์โบของอ,วอนครับ
PhumJai
จาก PhumJai
IP:58.147.45.212

พุธที่ , 27/5/2552
เวลา : 04:16

อ่านแล้ว = ครั้ง
 เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งตรวจสอบกระทู้
 แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน ส่งหาเพื่อน

       ดีเซลเทอร์โบเหมือนคู่บุญแต่ชาติปางก่อน เกิดมาเพื่อขุมกำลังของรถ Off Road พันธุ์แท้ ขณะที่เครื่องเบ็นซินต้องใช้ขนาดกว่า 4ลิตรเพื่อให้มีกำลังรอบต่ำพอที่จะลุยให้ผ่านอุปสรรค ์ไปได้แต่ดีเซลแค่ 2.5ลิตรคลานแบบไม่ยากและไม่กลัวน้ำ


ผมจะเล่าเรื่องให้ฟังแบบอาหารเหลวกลืนง่ายๆ แต่ไม่ถึงขนาดน้ำเกลือเข้าเส้น เพราะบางตอนเป็นภาคคำนวน แต่ผมจะมีทางลัดให้ โดยจะสอนให้ดู Turbo mapping chart ไม่ให้ร้านมันหลอกเอาหอยเล็กหอยใหญ่เกินกว่าที่เครื่ องต้องการมาหลอกขายได้


เรื่องนี้ผมเอากระทู้เก่าที่ผมเขียนบทความลง Racing web ต่างๆ เมื่อหลายปีก่อน มาดัดแปลงให้เข้ากับเครื่องดีเซลตูดดำขวัญใจในรถของช าว 4x4 ส่วนไหนเป็นเรื่องของเครื่องเบ็นซินรอบจัดลากชนหมื่น รอบ ผมจะตัดทิ้งไปเพราะมันจะอ่านแล้วเอาไปใช้อะไรกับเครื ่องดีเซลวิ่งตุ๊กๆรอบไม่เกิน 4500 รอบได้

แน่นอนว่าข้อมูลที่ผมเขียนตอนนั้นได้มาจากเวปเมืองนอ กส่วนมากเป็นเวปอเมริกาที่เล่น American Muscle Car ต่างๆเอาขย่ำรวมกันมาเขียนให้รู้กัน ตอนนี้จะให้ผมให้เครดิดก็คงตามกันไม่เจอแล้วครับ



หลังจากอ่านเสร็จแล้ว ผมว่าเพื่อนๆหลายคนต้องบอกเหมือนที่ผมว่าไว้ มันไม่ยากเหมือนที่คิด

ระบบอัดอากาศเข้าพอร์ทไอดีเพื่อเพิ่มสมรถนะเครื่องยน ต์มีมานานแล้วกว่า 70ปี โดย สมัยนั้นเครื่องบินที่ต้องการเพิ่มเพดานบินต้องเพิ่ม อากาศเข้าเครื่องเนื่องจากอากาศที่เบาบางจะทำให้กำลั งเครื่องยนต์ตกลงจนถึงกับดับกลางอากาศได้ เท็คโนโลยีอัดอากาศเข้ามาสู่วงการรถแข่งในอีกไม่กี่ป ีต่อมาโดยรถแข่งส่วนมากจะเพิ่มแรงม้าโดยการอัดอากาศก ันเกือบทุกคัน ในสมัยนั้นความรู้เรื่องโลหะวิทยายังไม่เจริญมากนัก ระบบอัดอากาศยังใช้เป็น Super charger ต่อตรงเข้าเพลาเครื่องกันอยู่

ต่อมาระบบกังหันเทอร์ไบด์ในเครื่องบินเรื่มเข้ามาแทน ระบบเครื่องลูกสูบ โลหะต่างก็ได้รับการพัฒนาไปไกลจนทนความร้อนในห้องเผา ไหม้ได้สูงกว่าแต่ก่อนมาก ระบบอัดอากาศเริ่มใช้ระบบ Turbo charger กันในวงการแข่งเพราะมันไม่อั้นรอบเหมือนระบบ Supper Charger เพราะไอเสียยิ่งมากมันยิ่งปั่นจี๋อัดอากาศมากขึ้นแปร ผันกับรอบเครื่อง และต่อมาเริ่มเอามาลงกับรถบ้านเป็นเจ้าแรกโดย BMW ในรุ่น 2002 เมื่อ 30ปีก่อน และเป็นจุดเริ่มต้นของรถเทอร์โบในปัจจุบันนี้




เรื่องของเทอร์โบที่ชอบถามกันว่าใส่แล้วจะแรงแค่ไหน และจะเร็วได้สะใจหรือเปล่า คำตอบมาตราฐานก็คือ ขึ้นอยู่กับเงินพร้อมจะจ่ายมีเท่าไรก็แรงและเร็วได้เ ท่านั้น เงินไม่อั้นก็แรงได้เท่าที่ใจนึก เครื่องราคาแสนกว่าบาทของรถดีเซลเทอร์โบญี่ปุ่นจะเอา แรงเท่าดีเซลเทอร์โบรถยุโรปราคาเกือบล้านในขนาดเท่าก ันย่อมเป็นไปไม่ได้เพราะค่าตัวมันต่างกันหลายเท่า ถ้าให้ญี่ปุ่นทำเครื่องดีเซลเทอร์โบดีๆมาใส่ปิคอัพ อาจจะต้องซื้อรถในราคาล้านกว่าบาทมาขนผักก็ได้ ของแบบนี้อยู่ที่เงินแปรผันกับความแรงครับ เพราะว่าเทอร์โบอย่างเดียวมันแรงได้ไม่สุด ต้องใส้ในของเครื่องที่ดีพอจะรับกับระบบอัดอากาศด้วย ถึงจะไปกันได้ เอาแค่วาวล์ก็ต่างกันแล้ว ระบบ NA ถูกออกแบบให้เปิดปิดในแรงดันอากาศต่ำกว่าบรรยากาศ แต่ระบบเทอร์โบสปริงต้องสู้กับแรงดันมากกว่าบรรยากาศ เท่าตัว สปริงและบ่าวาวล์ต้องแข็งกว่าปกติ ยังไม่รวมถึงลูกสูบและก้านสูบที่ต้องทนต่อแรงที่มากก ว่าไม่ต่ำกว่า 30% ของแรงม้าที่เพิ่มขึ้นจากระบบอัดอากาศ




การเผาไหม้ในเครื่องยนต์ต้องการสองสิ่งคือเชื้อเพลิง และอากาศ หรือเอาให้เท็คนิกมากหน่อยก็อ็อกซิเจนกับเชื้อเพลิง ถ้าเพิ่มอากาศได้ก็เพิ่มเชื้อเพลิงได้ การเพิ่มเชื้อเพลิงโดยไม่เพิ่มอากาศสิ่งที่ตามมาคือค วันดำกลบตูด

ความจุของกระบอกสูบเป็นเหมือนกระป๋องตวงอากาศใบหนึ่ง ถ้าให้เครื่องดูดเข้าไปเอง Normal Aspirated ทำอย่าไรก็ดูดได้น้อยกว่าความจุเพราะจะเกิดแรงดันติด ลบที่หัวสูบเมื่อรอบเครื่องยนต์สูงๆ ตามปกติรถทั่วไปทำได้เพียง 75-90% ของปริมาตร ตัวนี้คือ Volumetric efficiency ต่อให้เป็นระบบ Multi valve บวกกับวาวล์แปรผัน VVTI ก็ยังไม่เกินตัวเลขนี้ (ยกเว้นระบบ Resonance air pump หรือวงการแต่งรถเรียกว่า Ram effect ของ F1 ไม่มี เทอร์โบแต่ถีบลมเข้าสูบได้ 1.2 bar สบายๆ เอาไว้คราวหน้ามีเวลาจะเล่าให้ฟัง) แต่ถ้ามีปั้มลมสักตัวอัดอากาศเข้าโดยไม่ต้องให้เครื่ องดูดเองจะเหมือนยัดนุ่นเข้าหมอน จะยัดเข้าไปมากกว่าความจุก็ยังได้ อากาศจะแน่นตัวเหมือนกับนุ่นโดนบีบ ถ้า บูสเข้าไปสัก 15 PSI คือความดันสองเท่าของบรรยากาศ แล้วจ่ายน้ำมันไปอีกสองเท่าตัว กำลังที่ได้จะเหมือนกับเครื่องยนต์ที่ใหญ่กว่าเดิมอี กสองเท่าตัวจุดระเบิด แน่นอนสิ่งที่ตามมาคือแรงม้าที่มากกว่า


แต่ฝันไม่เป็นจริง มันไม่ถึงสองเท่าเพราะยังมีตัวแปรอื่นๆอีกหลายตัว เพราะตอนที่อีตานายช่างชาวเยอรมันทำแบบนี้มันมีควันม ันดำปี๋ออกมาจากตูดเลย อย่างนี้แสดงว่าลมอัดสองเท่าบรรยากาศมันไม่ใช่ใส่น้ำ มันเพิ่มได้สองเท่าอย่าที่คิดไว้แล้ว งง งงง งงงงงงงงงง

เจ้าปั้มลมที่ผมว่ามันคือเทอร์โบนี่เอง มันทำให้สมการ PV=nRT เป็นจริงในกระบอกสูบไม่ใช่ในห้องทดลอง จากสมการ - แรงดัน - ปริมารตร - อุณหภูมิ มันกอดคอไปด้วยกันตลอดเวลา

เพิ่มแรงดัน ปริมาตรอากาศที่ใหญ่สองเท่าลดลงจนยัดเข้าไปในกระบอกส ูบเล็กๆได้ แต่อุณหภูมิจะสูงตามไปด้วยทำให้ปริมาตรอากาศที่กะไว้ ว่าจะหดลงมาเหลือครึ่งเดียวมันดันขยายตัวขึ้นอีกทำให ้ยัดไม่ลงกระบอกสูบถ้าไม่ลดอุณหภูมิให้เท่าเดิมเสียก ่อน ดังนั้น Intercooler จึงเกิดขึ้นมา เพื่อการนี้โดยเฉพาะ

แต่ลดอย่าไรก็ไม่มีทางจะเย็นเท่าเดิมเพราะค่าอุณหภูม ิแลกเปลี่ยนความร้อนใน intercooler มันแปรผันแบบ สมการ e^x เหมือนครึ่งชีวิตของสารรังสี ดังนั้นแรงม้าสองเท่าคงได้แต่ฝันพร้อมกับควันดำปี๋ออ กตูด

อย่างนั้นเอาสัก 30% พอไหวไหม ให้อากาศตอนยัดเข้ากระบอกสูบมันร้อนได้สักค่าหนึ่งที ่ยอมรับได้ว่ามันสุดๆแค่นี้ ถ้าคิดแบบนี้พอเป็นจริงทางวิศวกรรม คำตอบคือได้ครับ แบบนี้หวานหมูขึ้นตั้งแยอะกว่าจะเอาตั้งสองเท่าเหมือ นตอนแรก
แต่ข้อจำกัดอย่างอื่นตามมาเป็นทิวแถว เช่นจะอัดได้สูงสุดเท่าไรเครื่องไม่กระจายเป็นชิ้น ตัวอย่างก็เห็นกันอยู่ว่าพื้นฐานของเครื่องสำคัญมาก เช่น 4D56T ตัวเทอร์โบเแท้ๆแต่กำเนิด 15PSI ยังเฉยๆวิ่งได้ตลอดอายุเครื่อง แต่พอเป็น 4M40T อัดเกิน 10PSI ก็จะเป็นจะตายเสียให้ได้ เผลอไปนิดเดียวก็กระจาย แต่ถ้าเป็น 4D56T waste gate ตายมันไม่เปิดลดไอเสียจนแรงดันพุ่งถึง 25 PSI มันยังอยู่ได้สักพัก จะเห็นว่า VG Turbo มันตัดที่ 25PSI ใครใช้ สตราด้า จะรู้ดีตอนมันตัดน้ำมันหัวแทบทิ่มพวงมาลัย


ความร้อนของเครื่องเทอร์โบมันสูงกว่าเครื่อง NA เนื่องจากเครื่องดีเซลมันเปลี่ยนพลังงานได้ประมาณ 30-35% นอกนั้นจะกลายเป็นความร้อนทั้งหมด ถ้ามันรีดม้าออกมาได้มากกว่าเครื่อง NA ความร้อนก็ต้องมากว่าเครื่อง NA ด้วยเช่นกัน เพราะน้ำมันที่จ่ายมันเพิ่มขึ้น ความร้อนตัวนี้จะไปทำลายชิ้นส่วนต่างตอนรอบสูงๆ เช่นตอนอัดแช่ สัก 4500 รอบ ถ้าระบบระบายความร้อนและน้ำมันเครื่องไม่ดีพอก็เตรีย มตัวสูบกระจายได้ แรงที่ตกบนแบริ่งที่เรียกว่า ช๊าปอก ช๊าปก้าน ก็กดดันด้วยแรงมหาศาล และถ้าความร้อนไปทำลายโมเลกุลของน้ำมันจนบางลงจะเกิด การขัดสีที่เรียกว่า ช๊าปละลายขึ้นได้ จะเห็นได้ว่าพื้นฐานของเครื่องสำคัญมากกับการอัดเทอร ์โบว่าจะได้สูงสุดเท่าไร



ตอนวันรวมพล โชกุน 4M40T อัดสุดๆยังไล่ปาเหลี่ยม 4D56T ตอนกลับบ้านไม่ทันตั้งหลายคัน ใครบอกว่าขนาดใหญ่แล้วได้เปรียบ เล็กแต่เท็คนิกดีกลับบ้านไปอาบน้ำนอนแล้ว เครื่องใหญ่บูสท์ต่ำกว่าเพิ่งถึงปากซอยเอง ใครคันกระเป๋าอยากลง 4M40T คิดใหม่ได้ครับ สิงห์คะนองนายังไม่เอามาแต่งเครื่องเล่นเลย เพราะพื้นฐานมันไม่แข็งพอ
เทอร์โบประกอบด้วยสองส่วนคือส่วนของโข่งไอดี และส่วนของโข่งไอเสีย สำหรับส่วนของไอเสียมีหน้าที่เดียวก็คือทำอย่างไรให้ รีดพลังงานที่ไอเสียพุ่งออกมาให้หมุนใบพัดให้มากที่ส ุดแล้วต่อแกนไปหมุนในอัดไอดีที่อีกโข่งหนึ่ง ส่วนไอดีก็มีหน้าที่เดียวคือทำอย่างไรจะเอาแกนที่หมุ นจี๋จากโข่งไอดีมาหมุนใบพัดให้อัดอากาศให้มากที่สุดไ ด้

เมื่อแยกหน้าที่กันแบบนี้เรามาผ่าเทอร์โบดูหน้าที่กั นเป็นชุดๆไปเลยครับ

ตัวแรกคือใบไอเสีย อากาศจากห้องเผาไหม้จะพุ่งด้วยความเร็วสูงออกจากวาวล ์ไอเสียมาที่ Maniflow หรือเขาควายไอเสียตามที่ช่างเรียกกัน เมื่อมันมารวมกันแล้วก็จะพุ่งเข้าตัวเทอร์โบเข้าชนใบ ให้เกิดการหมุนขึ้น แต่จะหมุนดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับรูปร่างและขนาดของใบ ด้วยครับ
สมมุติว่าใบไอเสียใหญ่ใครๆก็บอกได้ว่ามันต้องดีกว่าใ บเล็ก มันจะเปลี่ยนพลังงานไอเสียที่วิ่งมาชนมันได้ดีกว่า เพราะหน้ามันใหญ่กว่า แต่มันจะสร้างความเสียหายอันใหญ่หลวงให้กับเครื่องยน ต์ คือมันจะอั้นไอเสีย ถ้าไอเสียอั้นมันก็ทำให้เครื่องไม่มีแรงเหมือนคนท้อง ผูก เพราะไอเสียมันขับออกจากกระบอกสูบได้ไม่หมด เพราะใบเทอร์โบฝั่งไอเสียมันต้านไอเสียมากจนสูบวิ่งส ุดแล้วก็วิ่งออกยังไม่หมดวาวล์ก็ชิงปิดเสียก่อน ไอเสียมันยังค้างในกระบอกสูบแย่งที่ไอดี คราวนี้เครื่องกำลังตกแถมยังเจอปัญหาเครื่องร้อนเสีย อีก



เห็นไหมใครบอกว่าใหญ่แล้วดี แบบนี้ใช้ไม่ได้กับเทอร์โบครับ
คราวนี้เอาใบไอเสียเล็กบ้าง ใส่ใบแบบนี้เครื่องไม่อั้นไอเสียแต่แรงหมุนจะน้อยกว่ าใบใหญ่ ก็ใบมันนิดเดียวจะเอาเอาแรงที่ไหนมาหมุนแกนมากๆเหมือ นใบใหญ่ แต่เครื่องจะเย็นเพราะความร้อนมันตามไอเสียไปหมด แบบนี้เล็กเกินไป เครื่องเลยไม่มีแรงพอให้วิ่งได้สมใจ


ดังนั้นใบพอดีๆกับขนาดเครื่องจึงจำเป็นมาก แล้วเท่าไรถึงจะพอดีล่ะ แบบนี้ต้องคำนวนครับ เอากะกันแล้วใส่แบบร้านท่อไอเสียสมองลิง เชียร์ลูกค้าให้ใส่รุ่นโน้นเบอร์นี้แล้วเครื่องแรง ควันน้อย แบบนี้ใครหลงไปเชื่อจ่ายเงินซื้อมาใส่ก็เสี่ยงดวงกัน เอง


ใบเทอร์โบมีการบิดตัวและเล็กใหญ่ไม่เท่ากัน ถ้าคนมือซนไปรื้อเล่นจะเห็นว่ามันบิดตัวเป็นก้นหอยตร งกลางใบจะสั้นๆและบานออกตอนปลายใบยาวงอนสวยเหมือนดอก ไม้ รูปร่างแบบนี้ต้องออกแบบมาแล้วเป็นอย่างดีว่ามันจะเป ลี่ยนพลังงานไอเสียทุกหยาดหยดเป็นแรงหมุนได้ดีที่สุด แต่ละสำนักออกแบบก็บอกว่าใบรูปร่าแบบนี้ดีกว่าแบบโน้ น ใบแบบโน้นอั้นกว่าแบบนี้ ฯลฯ ฯลฯ แต่ละสำนักเทอร์โบมันบลัฟกันเหมือน อีผุผุ คุยข่ม เจ้าปลาดุกติดล้อวีโก้ อย่างไรก็อย่างนั้น


สำหรับผมเองถ้าเทอร์โบลูกไหนมันมีแรงดันหน้าไอเสียต่ ำกว่าแรงดันไอเสียที่กำลังจะออกมาจากสูบเกินครึ่งผมโ ยนทิ้งเพราะลูกนี้มันอั้นไอเสีย ต่อให้เชียร์ซื้อเทอร์โบแถมน้องเมียอย่างไรก็ไม่ซื้อ ครับ

เรามาดูกันว่าใบแต่ละรูปร่างมันดีอย่างไร เริ่มจากไอเสียมันพุ่งเข้าชนใบก่อนเป็นอันดับแรก มันจะชนปลายใบแล้วจะขยายตัวออกไปตามแนวตั้งฉากกับแกน เทอร์โบ ตอนที่ชนกับตอนที่ออกใบมันจะหมุนไปด้วยดังนั้นถ้าจะใ ห้พลังงานจลของไอเสียมัยพุ่งตั้งฉากกับหน้าใบตลอดเวล าเหมือนใบเรือที่จะได้แรงสูงสุดตือต้องตั้งฉากกับทิศ ทางลมเสมอ ดังนั้น ใบเทอร์โบต้องเอียงรับกับมุมของการหมุนด้วยเพื่อให้ไ อเสียที่ขยายตัวตั้งฉากกับใบตลอดเวลา กลีบใบถึงต้องเอียง เป็นกลีบดอกไม้เหมือนที่เห็นกัน


ขณะที่ไอเสียวิ่งชนใบจะเรียกว่า inducer stage แกสจะมีแรงดันสูงอยู่มากพอชนใบแล้วแกสจะขยายตัวตามเส ื้อโข่งพาใบให้หมุนแล้วออกไปทางท่อไอเสีย ตอนที่มันขยายตัวบานออกจะเรียกว่า Exducer stage ทั้งสองอันนี้ผมจนปัญญาแปลเป็นไทย ได้แต่เล่าให้ฟังเพราะทั้งสองตัวนี่มันสำคัญมาก เทอร์โบจะดีหรือไม่ทั้งสองตัวนี้เป็นตัวตัดสินเลยครั บ



นอกจากใบแล้วเสื้อโข่งก็สำคัญไม่แพ้กันถ้าออกแบบเสื้ อไม่ดีลมก็จะวิ่งสะเปะสะปะไม่ชนใบแบบเต็มๆ แล้ถ้าเสื้อใหญ่ไม่สัมพันธ์กับใบจะเกิดอาการ Clip ของรอบขึ้น คือไอเสียมากเกินกว่าจุดนี้ใบก็ไม่ใช่จะหมุนเร็วขึ้น ดังนั้นปลายจะเหี่ยวบูสท์ฝั่งไอดีจะตกเพราะอาหารเท่า เดิมแต่ทำงานเพิ่มขึ้นมันเป็นไปไม่ได้ที่เครื่องจะมี แรงตอนปลาย



แต่โข่งทางไอเสียมันยังไม่สำคัญเท่าฝั่งไอดีเพราะค่า การขยายตัวของแกสไอเสียในโข่งเทอร์มันนิดเดียว แต่ฝั่งไอดีมันเล่นกันเป็นเท่าตัว ดังนั้นแค่พอไม่ให้เกิดช่องว่าระหว่างใบกับเสื้อก็พอ ไม้ให้เกิดการ Clip ก็พอแล้ว แต่ก็ต้องมากพอให้มัน scroll ไอเสียที่ขยายตัวออกไปได้ ผมไม่รู้ว่าจะแปลเป็นไทยว่าอะไร เอาเป็นว่าทางออกมันต้องบานใหญ่กว่าตอนไอเสียเข้าเพร าะไอเสียมันขยายตัวในโข่งแล้ววิ่งออกมาด้วยแรงดันที่ ต่ำกว่า ตัวนี้เรียกว่า scroll out ยังมี scroll in อีก





ผมบอกแบบนี้คนทั่วไปจะเห็นภาพง่ายกว่าคำว่า scrall ที่มีแต่วิศวกรที่เรียนวิชา dynamic เท่านั้นจะเข้าใจมากกว่าตั้งเยอะครับ

แถมอีกนิด ชลศาสตร์ วิชา Fluid dynamic ก็มี scroll ให้ดู อย่างกังหันเพลตันที่เขื่อนขนาดใหญ่ต่างๆที่เอามาปั่ นไฟขายจะเห็นว่าโข่งของกันหันขนาดยักษ์คนเข้าไปเดินไ ด้ ทางน้ำเข้าจะรีดท่อให้เรียวลงบีบน้ำฉีดเป็นลำเข้าชนใ บกังหัน แล้วจากนั้นในห้องเทอร์ไบด์ก็เข้าเล็กปลายออกบานเหมื อนกันทั้งที่น้ำมันเป็นของเหลวที่ไม่ขยายตัวในความดั น เมื่อไม่ขยายตัวแล้วจะบานไปทำไมกัน เรื่องแบบนี้มันเป็นทรง escentric ที่ความเร็วของน้ำต่ำบริเวณกลางใบแสดงว่า ปริมาตรต้องสูงกว่าน้ำที่ความเร็วสูงในความดันเดียวก ัน และ ให้ไม่เกิด Cavitation ของสูญญากาศหลังใบกังหันน้ำให้ใบมันกุดจากฟองศูนย์ยา กาศมันชนหลังใบครับ ใบเทอร์ไบด์แต่ละใบเป็นเหล็กตันๆขนาดเท่ารถปิคอัพคัน หนึ่งมันโดนฟองศูนย์ยากาศกัดสึกจนกุดได้เลยถ้าปล่อยใ ห้มันเกิดขึ้นนานๆ


ปล่อยให้วิศวกรชลประทานปวดหัวดีกว่า เรามาเอาเทอร์โบในรถยนต์กันต่อเดี๋ยววิศวกรชลประทานจ ะตกงาน






เรามาเอาด้านโข่งไอดีกันบ้างโข่งไอดีมันซับซ้อนกว่าด ้านไอเสียเยอะแยะ เรามาว่ากันเป็นข้อๆเหมือนด้านไอเสียกัน


ใบอัดอากาศมีหน้าที่เปลี่ยนการหมุนของแกนเป็นอากาศที ่ถูกดูดจากปากโข่งมาอัดให้มีปริมาตรที่เล็กลง แน่นอนแรงดันอากาศหลังใบต้องสูงขึ้นด้วยแต่ไอ้ตัวร้า ยคือความร้อนมันตามมาด้วยติดๆ

การวัดขนาดของใบวัดได้จากstage ของอากาศคือ inducer stage และ exducer stage ของรูปทรงใบอัดกับลักษณะจำเพาะของใบเท่านั้น การวัดด้วยไม้บรรทัดเป็นวิธีของช่างสมองลิงทำให้ลูกค ้าดูเพื่อขายของ ถ้าร้านไหนทำแสดงว่าทำได้แค่ท่อไอเสียกับขันน็อตติดเ ทอร์โบเท่านั้น แต่ แม็ทซ์เทอร์โบไม่เป็นครับ จำเอาไว้เลยครับว่าการวัดขนาดใบเอาไม่บรรทัดวัดไม่ได ้

ถ้ามองใบเทอร์โบด้านไอดีจากปากท่อเข้าจะเห็นเหมือนพั ดลมใบหนึ่ง ใบที่เห็นจะบานออกขยายใหญ่ด้านใน ตรงจุดที่มองเห็นจากปากเทอร์โบเรียกว่า inducer stage มีหน้าที่สร้างสูญญากาศหน้าโข่งไอดีเพื่อให้เกิดการไ หลของอากาศขี่บนกลีบใบ (ขี่บนกลีบใบจริงๆครับถ้าไม่อย่างนั้นแล้วจะเป็นกระแ สลมที่วิ่งแบบ Terbulance หรือลมวนวิ่งสะเปะสะปะที่อัดแล้วไม่ลง) เข้าไปในใบชั้นในที่เรียกว่า exducer stage ที่จุดนี้ใบจะผายใหญ่ขึ้นทำการอัดอากาศให้มีขนาดเล็ก ลงจากการเหวี่ยงตัวของใบ รูปทรงของใบในส่วนนี้สำคัญมาก บูสท์จะมาเร็วมาช้า มามากมาน้อยก็รูปทรงที่จุดนี้แหละครับ จากการเหวี่ยงตัวของใบจะโยนอากาศเข้าสู่ผนังของโข่งไ อดี และพร้อมจะออกไปเข้าท่อร่วมไอดี

แต่หยุดก่อน ทรงของใบตั้งแต่ stage แรกถึงสุดท้ายพยายามจะไม่ให้มันเกิด Terbulance ในกลีบใบ แต่พอจะออกมาที่ปากโข่งมันดันเป็น Swirl จากการเหวี่ยงของใบอัดวิ่งออกมาเสียนี่ ถ้าเกิดในกระบอกสูบมันจะดีมากเพราะลมวนจะคลุกเปลวเชื ้อเพลิงกับเชื้อเพลิงที่ยังไม่เผาไหม้ให้เผาหมดจดดีข ึ้น จนรถดีเซลบางยี่ห้อชู Swirl chamber เป็นจุดขายว่าดีกว่านุ่มกว่าระบบ DI แต่มันเกิดในท่อร่วมไอดีมันจะทำให้แรงดันตกและอั้นลม ที่จะวิ่งไปเครื่องยนต์ ถ้าจะดูตัวอย่างก็เหมือนวิ่งเรียงแถวผ่านประตูจะได้จ ำนวนคนมากกว่าตอนมีคนตะโกนว่าไฟไหม้แล้ววิ่งสะเปะสะป ะชนกันอุตลุดหน้าประตู ดังนั้นจึงต้องมีครีบใบขวางทางลมออกที่ก่อนปากทางออก เพื่อเรียงลมให้เป็นระเบียบวิ่งลื่นๆเรียงกันออกมาที ่เรียกว่า Anti swirl fin





ตอนนี้จะเห็นความแตกต่างของใบอัดไอดีกับใบกังหันไอเส ียแล้วว่ามันทำงานตรงกันข้ามเลย คือ inducer stage จะอยู่ริมนอกของใบ ขณะที่ด้านไอดีจะอยู่กลางใบ แต่ exducer stage ของไอเสียจะอยู่กลางใบขณะที่ไอดีจะอยู่ริมใบ ดันนั้นมันต้องทำงานตรงกันข้ามกันแน่นอน



คราวนี้ถ้าช่างหรือร้านค้าบอกว่า เทอร์โบตัวนี้ใบใหญ่กว่าจะอัดดีกว่าลูกเก่าให้เปลี่ย นเสียคิดราคาถูกๆ ฯลฯ ก็เอาเทอร์โบทุ่มหัวมันได้เลย ขนาดไม่ใช่เรื่องสำคัญสักนิด เท็คนิกของทรงใบต่างหากที่สำคัญที่สุดของเทอร์โบต่อใ ห้ลูกเท่าหม้อข้าวถ้าใบมันห่วยแตกก็สู้ลูกเท่าถ้วยกา แฟไม่ได้ครับ


คราวหน้าอย่าโดนร้านเทอร์โบหลอกเรื่องขนาดใบเทอร์โบอ ีกนะครับ เพราะขนาดของใบมันบอกได้แค่อั้นหรือไม่อั้นเท่านั้น





ตัวที่สำคัญไม่แพ้ใบแต่คนส่วนมากไม่เห็นความสำคัญคือ เสื้อเทอร์โบ ทั้งสองฝั่งคือ โข่งไอดีและโข่งไอเสียจะเหมือนกับหอยโข่งสองตัวเรียง กัน แต่จะทำหน้าที่ตรงกันข้ามกัน เรามาดูที่ไอเสียก่อน

ปากโข่งไอเสียจะ Scroll แบบขาลงเล็กน้อย บางยี่ห้อจะใช้ร่องเซาะที่ผิวให้เกิดการ Scroll แทน เหมือนกับการบีบปลายสายยางให้น้ำพุ่งเป็นลำตอนล้างรถ ไอเสียจะพุ่งไปชนใบไอเสียด้วยความเร็วกว่าปกติที่ออก มาจากท่อร่วมไอเสีย ถ้า scroll มาก ไอเสียจะอั้นที่รอบสูง ถ้า scroll น้อยไอเสียจะไม่เร็วพอตอนรอบต่ำๆ ดังนั้นขนาดของเสื้อจะเป็นตัวกำหนดขนาดของเครื่องยนต ์ไม่ใช่ขนาดของใบตามที่เข้าใจกัน

เข้าใจผิดก็เข้าใจใหม่นะครับ เห็นไหมครับว่าไม่ยากเลยเพียงแต่ไม่มีใครบอกเท่านั้น พวกที่รู้ส่วนมากมักจะเงียบเอาไว้เพราะหวงวิชาเก็บไว ้แรงคนเดียว

คราวนี้เรามาพูดเรื่องที่คนส่วนมากคุยกันคือ A/R ใครคุยเรื่อง A/R ของเทอร์โบมักจะดูแล้วภูมิฐานรู้แจ้งเห็นจริงของทฤษฎ ีเทอร์โบ แต่ช้าก่อนครับ มันไม่ได้ลึกซึ้งอะไรเกินกว่าเข้าใจ ถ้าอ่านที่ผมเล่าให้ฟังครบแล้วจะรู้ทะลุไปไกลกว่านั้ นอีกเพราะ A/R มันเป็นเพียง กอไก่ ขอไข่ ที่จะเลือกเทอร์โบเท่านั้น ไม่ต่างกับเข้าร้าน 7-11 ซื้อถุงยางแล้วจะพลิกดูที่สันกล่องจะบอกขนาด S , M , L ไว้







A คือ พื้นที่หน้าตัดของ Scroll ตรงส่วนหน้าปากทางเข้าของไอเสีย และ R คือระยะจากศูนย์กลางแกนเทอร์โบมาถึงศูนย์กลางของท่อป ากทางออกของ Scroll โดยตัวของมันไม่ได้บอกอะไรมากนัก A พื้นที่หน้าตัดของท่อเข้าจะบอกว่าใช้กับเครื่องขนาดเ ท่าไรที่รอบเท่าไรแล้วไม่อั้น และ R จะบอกว่าขนาดของใบเป็นเท่าไร ใบใหญ่อั้นมาก ใบเล็กอั้นน้อย ใบใหญ่แรงดีกว่าใบเล็กแต่รอบขึ้นช้า ใบเล็กรอบดีกว่าใบใหญ่

แล้วมันบอกอะไรอีก นอกจากนี้เราลองมาดูกัน

ถ้า A/R ต่ำๆแสดงว่ารูเล็กใบใหญ่ บูสท์จะมาเร็วตีนต้นจะดีมากเพราะเหมือนเราปีบปลายสาย ยางให้ไอเสียพุ่งไปชนใบได้แรงขึ้นใบใหญจะให้แรงที่ดี กว่าใบเล็กแต่จะอั้นไอเสียที่รอบสูง จำที่ผมบอกได้ไหมครับว่าถ้าแรงดันหน้าโข่งมากกว่าครึ ่งของแรงดันที่ออกจากเครื่องก่อนวาวล์จะเปิดผมจะโยนเ ทอร์โบทิ้งเพราะลูกนั้นมันอั้นเกินไปใส่แล้วรถไม่วิ่ ง แถมเครื่องร้อนอีกต่างหาก มันต้องพอดีๆถึงจะเหมาะกับเครื่องรุ่นนั้นๆที่จะเอาไ ปติดตั้ง

ถ้า A/R สูงๆ แสดงว่า รูใหญ่แต่ใบเล็ก อันนี้เป็นม้าตีนปลายครับเพราะต้นมันเหี่ยวกว่ามันจะ เริ่มบูสท์ชาวบ้านเข้าวิ่งไปไหนต่อไหนกันแล้วแต่ผลที ่ได้คือปลายดีมากและไม่อั้นรอบสูง แต่จะหงุดหงิดกับ Turbo Lag เพราะบูสท์มันตกแล้วขึ้นยาก

แค่นี้จริงๆที่ A/R มันบอกให้ได้นอกเหนือจากความภูมิฐานดูคล้ายกับจะรู้ของคนพูด



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

แจ้งเพื่อเก็บขึ้นกระทู้พิเศษ คลิ๊กที่นี่แจ้งเพื่อนำขึ้นกระทู้พิเศษ

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  

คำตอบที่ 1
       เครื่องดีเซลเน้นรอบต่ำดังนั้น A/R สูงๆมันไม่มีประโยชน์อะไรเลย ถ้ารอบวิ่งชน 1500แล้วยังไม่เริ่มบูสท์แสดงว่าลูกนั้นไม่เหมาะแล้ว ครับ ปลายของเครื่องดีเซลรถบ้านไม่เกิน 4000 รอบ รถแต่งเครื่องสุดเดช วิ่งไม่เกิน 5000 รอบ เทอร์โบเบอร์อะไรที่เริ่มบูสท์ที่ 1500 รอบก็ทำรอบให้สุดเครื่องได้ทั้งนั้นโดยปลายไม่เหี่ยว ไม่เหมือนกับเครื่องเบ็นซินที่วิ่งชนหมื่นรอบที่ปลาย เหี่ยวไปเรียบร้อยแล้วที่ 6-7000รอบ ดังนั้น อย่าไปวิตกจริตกับ A/R ต่ำๆให้มากนักเครื่องดีเซลมันใช้ถึงสุดความสามารถของ เทอร์โบเสียที่ไหนกัน

ส่วนด้านไอดีก็กลับกันกับไอเสียอย่างที่ผมบอกไว้ ผมขอข้ามไปเลย อย่าไปยึดติดกับใบเล็กใบใหญ่อีกล่ะ ถ้ายังไม่เข้าใจก็ย้อนกลับไปอ่านที่ผ่านมาแล้วใหม่อี กครั้งว่าขนาดมันไม่สำคัญเท่าเท็คนิกของ inducer - exducer ในการออกแบบใบ บางครั้งใบด้านไอดีอัดดีเกินไปจนกินแรงของการหมุนของ ไอเสีย และด้านหลังใบอัดอากาศเกิดแรงดันที่สูงเกินไปจน waste gate เปิดสุดแล้วก็ยังไม่พอต้องไปเปิด Blow off Valve บ่อยๆตอนกระทืบคันเร่งก็ยังมี ทางแก้ต้องใส่ Trim Valve เพื่อลดลมเข้าทางโข่งไอดีก็ยังเห็นกันได้กับรถประเภท เอาปลายลูกเดียว
สำหรับมือใหม่หัดขับ waste gate คืออุปกรณ์คุมแรงดันที่อัดมาจากใบไอดีโดยคุมจำนวนไอเ สียที่ใหลมาปั่นใบไอเสียโดยให้ไอเสียส่วนเกินวิ่งออก ไปอีกทางโดยไม่ต้องผ่านไปหมุนใบ Blow off Valve คือระบบรักษาความปลอดภัยของเครื่องยนต์โดยถ้าแรงดันท างไอดีเกินวาวล์จะเปิดระบายไอดีทิ้งออกไปไม่ให้เครื่ องต้องรับบูสท์สูงเกินไป

การออกแบบเทอร์โบสักตัวหรือเลือกซื้อมาใช้งานต้องประ กอบด้วยสามประการที่ผมบอกไว้คือ ใบไอดี ใบไอเสียและโข่งใบ
การเลือกเทอร์โบสักตัวมาเป็นเนื้อคู่ของเครื่องทำอย่ างไรดี

ถ้าเป็นผมเองจะใช้ของเดิมๆติดเครื่องมาเพราะอย่างที่ บอกไว้แล้วว่า เทอร์โบที่เหมาะกับเครื่องตัวนั้นทางโรงงานได้ทดสอบไ ว้แล้วว่าเหมาะที่สุดกับการใช้งานปกติทั่วไป ไม่มาช้าเกินไปจนเทอร์โบแล็ก หรือเร็วเกินไปจนปลายเหี่ยวหรืออั้นจนเครื่องร้อน พวกที่เอาเทอร์โบตัวใหญ่อีกนิดของ 4M40 มาใส่ 4D56 จะพบกับปัญหาบูสท์มาช้ารอบเกิน 2000 ไปตั้งมากแล้วเพิ่งจะมาแผ่วๆแล้วจะเอาแรงที่ไหนมาเอา รถหนักเกือบสองตันวิ่งแซงชาวบ้านตอนคลานเกียร์ 2-3 เพราะจุดประสงค์หลักของเทอร์โบถูกติดตั้งให้ตีนต้นมา เร็วรถขับจะไม่อืดให้รำคาญใจ

แต่ถ้าไม่พอใจของเดิมจะหาเนื้อคู่ใหม่จะทำอย่างไร ขั้นแรกต้องคำนวนขนาดของเทอร์โบที่จะเอามาลง เนื่องจากของดีๆยื่ห้อดังจะบอกหน่วยเป็นระบบอังกฤษ ดังนั้นผมต้องใช้ระบบเดิมของผู้ผลิตด้วยถ้าไม่อย่านั ้นแปลงหน่วยกันมือหงิก ก็ขนาดบูสท์เกจติดรถยังบอกเป็น PSI ไม่ใช่ KSC เลยครับ

ขั้นแรกต้องหาปริมาณอากาศที่ต้องป้อนให้เครื่องก่อนค รับ เครื่องสี่จังหวะ ขนาด 2500cc หรือ 152 ลูกบาศนิ้วต้องการอากาศขนาดนี้ทุกการหมุนสองรอบเพลาเ ครื่อง ดังนั้นอากาศที่ต้องการที่รอบต่างๆคือ

volume of air (cu ft/min)= (engine rpm x engine cid)/(1728 x 2)
แต่อะไรก็ตามหาพ้นกฎตัวแรกของ Gas Law ไปได้ยังจำได้ไหมครับ ปริมาณ-แรงดัน-อุณหภูมิ ที่ไปไหนต้องไปด้วยกัน

PV=nRT

สำหรับมือใหม่หัดขับ P คือแรงดันมีหน่วยเป็น Absolute Pressure ไม่ใช่ Gauge Pressure ผมว่าบางคนต้องไม่รู้ว่า Absolute และ Gauge ต่างกันอย่างไร เอาเป็นว่าตอนดับเครื่องถ้าดู Boost Gauge จะเห็นว่ามันชี้ที่ ศูนย์ แต่จริงๆแล้วมันมีบรรยากาศอีก 14.7 PSI ของโลกกดดันทุกอย่างอยู่ ที่เรียกว่าแรงดันหนึ่งบรรยากาศหรือ 1Bar นี่แหละคือ Absolute Pressure ที่ผมพูดถึง และ V คือปริมาตรของอากาศที่แรงดันนั้นๆ n คือ number of air molecules หรือจำนวนโมเลกุลของอากาศ R คือค่าคงที่ของอากาศ T คืออุณหภูมิของอากาศเป็น Absolute temperature


เอาอีกแล้ว แล้วมันเป็นอย่างไรล่ะนี้เจ้า แอบโซลุท เท็มป์ คืออะไร เอาแบบนี้ ตอนที่เทอร์โมมิเตอร์มันชี้ที่ ศูนย์องศามันไม่ใช่ศูนย์จริงมันลงไปได้ต่ำกว่านั้นเร ื่อยๆจนค่าติดลบจนลงไม่ได้แล้ว ที่จุดนั้นเรียกว่าศูนย์องศาสัมบูรณ์ หรือ absolute temperature หรือ -460 Rankine ต่ำกว่าศูนย์ ที่ความเย็นจุดนั้นพลังงานจลน์ของโมเลกุลของอากาศที่ เราจะคำนวนมันจะเป็นศูนย์ หรืออะตอมมันหยุดนิ่งสนิด

โอ้ย...จะคำนวนเทอร์โบมาใส่รถสักตัวมันไปยุ่งอะไรกับ อะตอมหยุดนิ่งสนิด ไอ้โน้นก็สัมบูรณ์ ไอ้นี่ก็สัมบูรณ์ หน่วยเกิดมาจากท้องพ่อท้องแม่ก็เพิ่งได้ยินวันนี้ องศาแรงคิ้น เคยได้ยินแต่องศาเคลวิน องศาเซลเซียส เจ้าองศาแร้งกินมันโผล่ออกมาได้อย่างไร เอาอย่างนี้ดีกว่าเดินเข้าร้านไปซื้อเทอร์โบของเดิมๆ ใส่ดีกว่า
อืมมม....ผมว่าตัดสินใจถูกแล้ว ของเดิมๆดีที่สุด โน่นมีผู้เห็นทางสว่างลุกหนีไปเข้าร้านเทอร์โบซื้อขอ งเดิมๆไปอีกหนึ่งราย

แต่ยังมีคนนั่งรอผมคำนวนอีกกลุ่มใหญ่ผมจำเป็นต้องคำน วนต่อไป
จากสมการที่ผมว่าไว้ถ้าอยากจะรู้ว่าอากาศหลังเทอร์โบ หลังจากมันอัดเข้าเครื่องไปหนึ่งนาทีแล้วอากาศจำนวนน ั้นถ้าผมเอาตาชั่งมาชั่งน้ำหนักดูจะหนักเท่าไรก็นี่เ ลยกลับหัวหางสมการเสียใหม่

n=PV/(RT)

n(lbs/min)= P(psia) x V(cu.ft./min) x 29/(10.73 x T(deg R))


อยากรู้ว่าไอ้ที่อัดเข้าเครื่องไปหนึ่งนาทีปริมาตรเท ่าไรก็กลับหัวกลับหางอีกที


V(cu.ft./min) = n(lbs/min) x 10.73 x T(deg R)/(29 x P(psia))
ฮู้......ลุกหนีไปไหนอีกสองคน .... อ้อเปลี่ยนใจไปใช้ของเดิมติดรถแล้วใช่ไหมครับ นับว่าคิดถูกแล้วครับยินดีด้วย เดินดีๆนะครับ ประคองกันเดิน เมาสมการเดินขาขวิดกันเลย

ย่างที่ผมบอกเอาไว้ก่อนแล้วว่าเครื่องธรรมดาจะทำอย่า งไรก็ใส่อากาศไม่เต็มกระบอกสูบ จะใส่ได้อย่างมากก็ 85-95% ก็เก่งมากแล้ว เนื่องจากไอเสียที่ยังค้างอยู่ หรือไม่ก็ไอดีลงไม่ทันวาวล์มันปิดก่อน ดังนั้น ค่าตัวนี้เรียกว่า Volumetric Efficiency ดังนั้นที่เครื่องยนต์จะใช้อากาศจริงๆ ต้องได้สมการงอกใหม่มาอีกตัวดังนี้


actual air flow = ideal air flow x volumetric efficiency

เอาล่ะครับเริ่มเห็นเค้าเทอร์โบลูกใหม่กันแล้วเพราะม าได้ครึ่งทางแล้ว ใช่ครับแค่ครึ่งทางเอง ดังนั้นเรามาว่ากันต่อ
สมมุติว่าเครื่องขนาด 231 cu.in. หมุนสุดเดชแต่งปั้มสุดๆหมุนได้ 5000รอบ ค่าสัมประสิทธิ์การประจุอากาศได้ 85% อุณหภูมิอากาศก่อนเข้าเครื่อง 80F วิ่งที่ถนนเลียบหาดบางแสน จะได้ต้องใช้จำนวนอากาศเท่าไรต่อนาที

volume, in cu.ft per minute = 5000 x 231 = 334.2cfm/(1728 x 2)

เรารู้ไปอีกขั้นแล้วครับ สมมุติว่าเจ้าคันนี้มันบูสท์สุดเดช 19PSI แบบไม่กลัวเครื่องกระจาย แล้วจะต้องการอากาศเท่าไร
ขั้นแรกต้องรู้ก่อนว่าเอาอากาศ 80F มาอัด19PSI อุณหภูมิมันพุ่งพรวดไปเท่าไร ก็สมการเดิมครับ สามสหาย V-T-P ที่ผมบอกไว้พอเข้าแล้วมันได้ ประมาณ 250F สูงกว่าน้ำเดือดเสียอีก สมมุติว่าตัวเลขมันประมาณเท่านี้หัวจะได้ไม่ล้านผมไม ่หงอก เดี๋ยวอีกสามสมการเรามาดูกันว่าไอ้ที่ผมกะเอาไว้มันจ ะจริงไหม
Absolute temperature = 250 deg F + 460 = 710 deg R

Absolute pressure = 19 psig + 14.7 = 33.7 psia


n (lbs/min)= (33.7 psia x 334.2 cfm x 29)/(10.73 x 710 deg R ) = 42.9 lbs of air per minute (ideal)


lbs air per minute actual = lbs/min ideal x vol. eff.
= 42.9 x 0.85
= 36.4 lbs air/minute

โจทย์เดียวกันถ้ารถอีกคันรุ่นเดียวกันแต่ใส่ Intercooler อีกใบลดอุณหภูมิอากาศก่อนเข้าเครื่องเหลือ 130F และลดบูสท์ลงเหลือ 17PSI ขอท้าเช็งด้วยจะเกิดอะไรขึ้นจะถือหางคัน บูสท์ 19PSI หรือ 17PSI intercooler ดีครับ เอ้า...วางเงินได้ก่อนคำนวนให้ดู


Absolute temperature = 130 deg F + 460 = 590 deg R

Absolute pressure = 17 psig + 14.7 = 31.7 psia

n(lbs/min)= 31.7 psia x 334.2 cfm x 29/ 10.73 x 590 deg R

= 48.5 lbs of air per minute (ideal)

lbs air per minute actual = 48.5 x 0.85 = 41.3 lbs air/minute

เห็นหรือเปล่าคันที่มีอินเตอร์แม้บูสท์ต่ำกว่าก็เอาอ ากาศยัดเครื่องได้มากกว่า แล้วแบบนี้จะไม่ฉีกคันแรกกระจุยได้อย่างไรใครไม่มีอิ นเตอร์รีมหามาใส่รถเสียรับรองว่าไม่ผิดหวังครับ มันใส่อากาศเข้าเครื่องมากกว่าเห็นๆ ถึง 20% แม้จะบูสท์ต่ำกว่าตั้ง 2PSI

ผมเกลียดการอ้างลอยๆแบบที่ใช้ความรู้สึก หรือประสพการณ์มาข่มกัน ถ้าจะอ้างต้องพิศูจน์ได้ทางฟิสิกค์แบบนี้ครับ ใครก็เถียงไม่ออก เพราะถ้าบอกว่ากฎทางฟิสิกค์ไม่จริงก็ต้องเอาขวดฟาดกบ าลแก้โง่กันแล้วครับ (พูดรุนแรงไปนิดแต่เห็นภาพกระจ่างดี)

เราจะไปช๊อบปิ้งเทอร์โบกันแล้วครับ การจะซื้อเทอร์โบสักตัวต้องทำอย่างไร อย่างแรกต้องขอ Turbo Mapping มาดูก่อนว่ามันบูสท์ที่เท่าไร เหี่ยวที่เท่าไร ประสิทธิภาพของการแปลงพลังงานเท่าไร แล้วจึงจ่ายเงินค่าตัวกัน ถ้าร้านบอกว่ารุ่นนี้ดีครับเขาใส่กันทั้งเมือง วิ่งสองร้อยยังขึ้นได้อีกก็อย่าไปเชื่อครับ ของแบบนี้ Mapping ของเทอร์โบเบอร์นั้นๆมันบอกได้ว่าสมควรจะซื้อหรือเลื อกรุ่นอื่นดีกว่า
ตัวเลขอันแรกคือประสิทธิภาพของเทอร์โบในการเปลี่ยนไอ เสียให้เป็นพลังงานหมุนใบพัดอัดอากาศ ลูกเดียวกันมีหลายค่าที่เปลี่ยนแปลงตามแรงดันและปริม าณอากาศและรอบการหมุนของใบเทอร์โบ
สมมุติว่าเทอร์โบที่แรงดันหนึ่งและปริมาณอากาศที่อัด ได้หนึ่ง มีประสิทธิภาพ 70% หมายความว่าพลังงานไอเสียที่พ่นออกมากลายเป็นพลังงาน หมุนของเทอร์โบ 70% อีก 30%กลายเป็นความร้อนทิ้งไปเฉยๆ แต่อีกจุดมันลงมาเหลือ 60% แน่นอนว่ามันไม่น่าจะใช้งานที่จุดนั้นถ้าคำนวนแล้วเร าต้องการปริมาณอากาศลงที่จุดนั้นพอดีก็ควรขยับไปเลือ กรุ่นที่เล็กกว่าอีกเบอร์จะดีกว่าเพราะมันจะเปลี่ยนพ ลังงานได้ดีกว่า เพราะเราต้องการปริมาณอากาศไม่ไช่แรงดันอากาศ

อ้าว....แล้วกันที่คุยมาเป็นวรรคเป็นเวรตั้งหลายปีว่ าบูสท์กี่ปอนด์บูสท์สูงดีกว่าบูสท์ต่ำมันก็ผิดหมดซิค รับ ตอบว่าผิดครึ่งเดียวครับที่เหลือถูกต้อง
บูสท์สูงส่งอากาศเข้ากระบอกสูบได้ดีกว่าบูสท์ต่ำ แต่ถ้าปริมาณอากาศของบูสท์สูงมันน้อยกว่าบูสท์ต่ำเคร ื่องมันไม่ได้แรงกว่าบูสท์ต่ำสักนิด หรือต้องให้ผมจูงมือไปดูเจ้าสองคันเมื่อตะกี้นี้มันว ิ่งแข่งกันอีกรอบ

ตัวที่ลดหรือเพิ่มปริมาณอากาศไม่ใช่แต่แรงดันอย่างเด ียว มันเป็นที่อุณหภูมิอากาศด้วยครับ ถ้าที่แรงดันอากาศเท่ากันแต่อุณหภูมิต่างกัน อากาศก้อนที่เย็นกว่าจะมีปริมาณอากาศมากกว่า เรามาดูอะไรกันเล่นๆอีกซักสมการหนึ่ง ฮูย....มีเพื่อนอ้วกแตกไปคนหนึ่งแล้วช่วยกันหามไปล้า งอ้วกหน่อยครับ

Tout = Tin + Tin x [-1+(Pout/Pin)0.263]/efficiency


มาดูตัวอย่างก็ดี จะได้เห็นกันจะๆไปเลย อุณหภูมิเข้าเทอร์โบ 70F แรงดันอากาศก่อนดูดเข้าปากเทอร์โบ -0.5PSI gauge แรงดันหลังโข่งไอดี 19PSI ประสิทธิภาพ ของเทอร์โบที่จุดนั้น 70% อุณหภูมิอากาศจะเป็นเท่าไร

Tin= 70 deg F + 460 = 530 deg R
Pin= -0.5 psig + 14.7 = 14.2 psia
Pout= 19 psig + 14.7 = 33.7 psia
Pout/Pin = 33.7/14.2 = 2.373 (จำตัวเลขนี้ไว้ให้ดีนะครับ นี่คือ compression ratio)


Tout = 530 + 530 x (-1+2.3730.263 )/0.72 = 717.8 deg R - 460

= 257.8 deg F


เมื่อกระทู้ก่อนต

นคำนวนจับรถสองคันเช็งกันบนกระดาษ ผมเดาในการคำนวนว่าบูสท์ 19PSI อากาศออกร้อน 250องศา เกือบถูก เพี้ยนไปแค่ 7.8 องศาเอง
แต่อากาศที่ออกมาจากเทอร์โบมันมีอุณหภูมิเกินน้ำเดือ ดไปหลายสิบองศาครับ เอามาเป่าเนื้อดิบๆยังสุกกินได้เสียด้วยซ้ำ แบบนี้ไม่ใส่ อินเตอร์ให้เครื่องยนต์ก็ใจร้ายไปหน่อยแล้วครับ

ต้องเข้าใจว่าเทอร์โบไม่ได้ทำงานที่แรงดันเดียวกันตล อดเวลา แต่เทอร์โบจะกวาดแรงดันตามรอบที่หมุนแล้วจะให้ปริมาณ อากาศปริมาณหนึ่งที่ความเร็วรอบหนึ่งเสมอ
ประสิทธิภาพที่ไม่แน่นอนของเทอร์โบจะสร้างกราฟแรงดัน กับปริมาณอากาศเป็นเส้นโค้งหลายๆเส้นตามประสิทธิภาพท ี่จุดนั้นๆ งงใช่ไหมครับ อย่างนั้นเรามาดู Turbo Mapping ตัวอย่าสักตัวหนึ่งกันดีกว่า

ที่ด้านล่างสุดจะเป็นปริมาณอากาศหน่วนเป็น lb/min อากาศจำนวนนี้เป็นอากาศที่อุณหภูมิและแรงดันที่มาตรา ฐานของโรงงานผลิต อาจจะเป็นที่ระดับน้ำทะเลหรือที่ 1000เมตรอุณหภูมิที่ 70-75-80 แล้วแต่ทางโรงงานจะตั้งจุดทดสอบ ถ้าจะเทียบกับสภาพจริงก็ต้องเอามาเปลี่ยนค่ากันเอง ด้านซ้ายคือแรงดันเข้าออกใบอัดของเทอร์โบว่าต่างกันเ ท่าไร มันอัดบนยอดเขากับอัดชายหาดแรงดันอากาศคนละจุดของ mapping นะครับ อย่าลืมว่าเราใช้ ค่าแอบโซลุททุกตัวไม่ว่าจะเป็นแรงดันหรืออุณหภูมิเพร าะเหตุนี้เอง
ที่จุดต่างๆของเส้นโค้งจะบอกรอบของใบเทอร์โบและค่าปร ะสิทธิภาพของการเปลี่ยนพลังงานของเทอร์โบในนั้นๆไปด้ วย
การเลือกว่าจะใช้งานจุดไหนก็แล้วแต่สำนักแต่งและผู้ใ ช้จะตัดสินใจ แต่ถ้าจะเอาแบบที่ผมเลือกใช้เทอร์โบสักลูกกับการขับป ระจำวันว่าเหมาะสมกับเครื่องผมจะเลือกแบบนี้ครับ
ผมจะเลือกเทอร์โบลูกที่มีจุดที่ได้ประสิทธิภาพสูงสุด โดยรู้ปริมาณอากาศและแรงดันบูสท์จากการคำนวนอยู่แล้ว ก็เอาปากกาจุดบนเส้นโค้งเลยว่าตรงนี้แหละที่เครื่องต ้องการแล้วเทอร์โบลูกนี้จะให้อะไรกับเครื่องบ้าง
จุดที่ว่านี้ผมจะเอาข้อมูลจากจุดที่เครื่องให้แรงบิด สูงสุด แต่เนื่องจากเครื่องดีเซลมีแรงบิดสูงสุดที่ต่ำมากและ ให้แรงบิดต่อเนื่องจนถึงรอบสูงเกือบถึงจุดแรงม้าสูงส ุดของเครื่อง

ผมจะใช้ที่จุดแรงบิดสูงสุดแต่ยังเหลือรอบให้กดคับเร่ งขยี้ไล่กัดตูดรถเก๋งอีก 50%ของรอบสูงสุด นี่แหละถึงจะเรียกว่าจุดที่เทอร์โบทำงานเหมาะสมกับเค รื่องยนต์ของรถ

เอาแบบเห็นๆดีกว่า เครื่อง 4D56T จะมีแรงบิดสูงสุดประมาณ 2000รอบ แต่แรงม้าสูงสุดที่ 4000รอบ ผมจะเอาที่ 2000รอบเป็นจุดเลือกเทอร์โบ เพราะยังเหลือรอบอีกตั้งครึ่งเอาไว้กัดตูดชาวบ้านเล่ น

แต่ถ้าเป็นเครื่องเบ็นซินมันยากกว่านี้เพราะรอบมันชน 8พันถึงหมื่น แต่ แรงบิดมันขึ้นแถวๆ 2500 การเลือกเทอร์โบมันยากกว่าตรงที่ใครจะขับรถคันนี้ เพราะนิสัยการขยับเท้าขวาแต่ละคนไม่เหมือนกัน การเลือกเทอร์โบต้องขึ้นกับคนขับด้วยครับไม่ใช่ขึ้นก ับเครื่องอย่างเดียว
อธิบายกันนิดสำหรับกราฟแรงม้า-แรงบิด ของ 4D56

std 4D56 คือรถปิคอัพแตนๆ
std 4D56T คือรถเทอร์โบในสตราด้า
ATX4D56T คือตัวเทอร์โบอินเตอร์ของปาเจโรตัวนอกแท้ๆ
อ้าวจะแย่งกันไปไหน อ้อออ..จะไปซื้อหัวตัดปาเจโรเอาเครื่อง... เดี๋ยวก็ได้ครับ เอาไว้ เสร็จแล้วค่อยไปก็ได้

ผมจะบอกวิธีการปรับ Mapping ให้เพราะหลายค่าที่เราคำนวนกับทางโรงงานคำนวนมันไม่ใ ช่ว่าจะตรงกันเสียทีเดียวเพราะค่าอุณหภูมิและแรงดันม ันเทียบ Absolute เหมือนกันแต่ถ้าโรงงานบอกเป็น นิ้วปรอทมาจะทำอย่างไร
ถ้าคนเป็นก็หมูตู้กดเครื่องคิดเลขสองทีก็ออกมาแล้วแต ่ถ้าคนไม่เป็นจะทำอย่างไร
ค่า น้ำหนักโมเลกุลต่อปริมาตรของปรอทมันคือ 13.949 เอามาใช้แทนน้ำได้เลย โอ้ย....เล่นโมเลกุลอีกแล้วมันเกี่ยวอะไรกับเทอร์โบอ ีกล่ะ....
อย่าคิดมากเอาเป็นว่าโรงงานมันเอาปรอทมาเป็นตัววัดเร าก็ต้องเอาปรอทมาคำนวนแก้แรงดันก็แล้วกัน

Corrected flow = actual flow x (Tin/545)^0.5/(Pin/13.949)
13.949 psia = 28.4 inches mercury absolute.
29.92 inches mercury is atmospheric pressure at sea level, 29.92 - 28.4

= 1.52 inches mercury vacuum.

ยินดีด้วยครับรอบนี้ยังไม่มีใครอ้วกแตก แสดงว่าชักเริ่มคุ้นกับตัวเลขกันแล้วใช่ไหมครับ เรามาดูกันต่อสมมุติว่าเราคำนวนที่ 70F แรงดันปากเทอร์โบ 0.5PSI แต่โรงงานดันคำนวน Mapping ที่ 85F 0.75PSI แล้วเราจะเอามันมาทับค่าบน mapping กันได้อย่างไร
เราไม่สนใจค่าปริมาณลมที่แปรตามอุณหภูมิ เราเอาน้ำหนักลมเลยครับ จะได้ใช้ Mapping เดียวกันได้

Tin = 70 + 460 = 530 deg R
Pin = -0.5 + 14.7 = 14.2 psia

Corrected flow = 41.3 x (530/545)^0.5/(14.2/13.949) = 40.0 lb/min


ได้ค่าปริมาณลมแล้วก็เอา 40.0 lb/min มาลากเส้นตั้งของลมที่แถวล่างสุดแล้วลากเส้นตั้งฉากไ ด้เลยครับ อย่างไรก็ไม่หลุดเส้นนี้ต่อให้ใช้หน่วยอะไร หรือโรงงานไปทดสอบบนดาวอังคารก็ยังต้องอยู่บนจุดนี้ ต่อไปก็แรงดันปากเทอร์โบกับหลังเทอร์โบ
เราต้องมาสมมุติกันก่อนว่า เราจะบูสท์เท่าไร ถ้าพอใจที่ 17PSI ก็ต้องเอาค่าแรงดันดูดที่ปากโข่งมาหักด้วยเพราะเวลาม ันดูดลมความดันมันตกเพราะจะเป็นสูญญากาศอ่อนๆ เอาเป็น 0.5PSI ก็แล้วกัน และแรงดันตกเพราะความฝืดของท่อยาง ตัวอินเตอร์ที่ขวางอยู่ ท่อร่วมไอดี สัก 3PSI ดังนั้น ค่า Pin/Pout จะเป็น

Pout/Pin = (20 + 14.7)/ (-0.5 + 14.7) = 2.44
เหมือนเดิมครับ เอาแรงดัน 2.44มาลากเส้นแนวนอนได้เลย คราวนี้จะได้เส้นสองเส้นตัดกันบนเส้นโค้งของ Mapping ที่จุดนั้นคือจุดที่เราฝากความหวังกับเทอร์โบลูกนั้น
ว้า...ตรวจกระทู้ย้อนหลังแล้วพบว่ารูปผิด ผมเอา Mapping ของเทอร์โบรถเก๋งมาใส่เลยปริมาณลมไม่ถึงจุดที่คำนวนไ ว้ รูปที่จริงต้องเป็น Mapping คู่กระทู้ก่อนหน้านี้ ลบรูปไม่ได้เพราะลงไปแล้วด้วย
ใช้วิธีนีกๆเอาว่าเลข 14 มันเป็นเลข 40 ก็แล้วกันครับ นอกนั้นเหมือนกันทั้งหมด
ผมสรุปแล้วครับว่าเรามาถึงจุดนี้เราคำนวนเป็นแล้ว ร้านเทอร์โบหลอกเราไม่ได้แล้ว พวกร้านขายของขี้โม้บอกว่าใส่ลูกนั้นดีลูกนี้ดีมันพู ดไม่ออกกันแล้ว ดีของมันอาจจะเซ็งของเราก็ได้ ก่อนจะจ่ายเงินเปลี่ยนต้องคิด 1 2 3 ดังนี้ครับ
หาค่าให้ได้สัก 4 ค่าบนความเร็วต่างๆ เช่นขับกินลม ขับแซงตอนเกียร์ต่ำ ขับแซงตอนเกียร์สูง ขับไล่จิกตูดปิคอัพ-ขับกวนตีน แล้วลองเอาลง Mapping ดูว่าเนื้อคู่ใหม่ของเครื่องยนต์มันไปไหวหรือเปล่า
เราไม่ใช่ขับสภาพเดียวตลอดเวลา ถ้าขับบนเขาสูง 1000 เมตรแล้วแรงดันอากาศที่เบาบางลงจะลดค่าของเทอร์โบลงจ นตกเส้นโค้งหรือเปล่า ถ้าขับหน้าหนาวจะเป็นอย่างไร ขับหน้าร้อนจะเป็นอย่างไร ตัวแสบคือที่ยอดเขาสูงๆในหน้าร้อน อากาศจะจางมากจนเทอร์โบไม่มีแรงถีบอากาศให้ได้ตามที่ เราคำนวนไว้ ลองเพิ่มอุณหภูมิสักนิดและลดแรงดันบรรยากาศลงหน่อยถ้ ามันยังไม่ตกเส้นไปถึง Surge Limit ก็ถือว่าใช้ได้เพราะถ้าถึงจุดนั้นแล้วเทอร์โบมันทำงา นมั่วแล้วไม่บูสท์แล้วครับ



ร้านเทอร์โบส่วนมากจะกวนเบื้องล่าง ไม่ยอมให้เราดู Turbo mapping มันคิดว่าทุกคนที่เดินเข้าร้านของมันเป็นตัวโง่อยากฟ ังมันพูดว่าลูกนั้นดีตีนต้น ลูกนี้ดีตีนปลาย ลูกโน้นกลางหวาน ถ้าร้านไหนไม่มี Mapping ติดไว้ก็ไม่ต้องเอาเงินไปให้มัน ถ้าเป็นเทอร์โบมือสองตามเชียงกง ผมแนะนำให้เข้าเวปไซด์ของผู้ผลิตเลยจะดีกว่า แต่ต้องทำใจนิดหนึ่งว่ามันมีไม่ครบเพราะบางรุ่นจะผลิ ตมาให้กับบริษัทรถเพื่อประกอบเข้ากับรถเป็นรุ่นๆไป ไม่เอามาขายข้างนอกเป็นตัวๆ แบบนี้ต้องใช้วิธีกะจากขนาดเครื่องเก่าที่เทอร์โบลูก นั้นติดมาเอาแล้วเสี่ยงดวงกันเอง บางครั้งเครื่องเดียวกันแต่ลงรถปิคอัพกับรถตู้ยังใช้ คนละรุ่นเลยก็มีเพราะมันใช้ที่รอบไม่เหมือนกัน จะเอาต้นหรือกลางก็ไม่เหมือนกันแล้ว



เลือกซื้อลูกที่จุดต่างๆที่เราคำนวนได้อยู่เกาะกลุ่ม แถวๆที่ค่าประสิทธิภาพสูงเสมอ ถ้าลูกไหนมันต่ำก็อย่าไปซื้อ ถ้าตกเส้นไปอยู่หน้าเส้น Surge Limit ก็ใช้ไม่ได้ครับเพราะมันเกินจุดใช้งานแล้ว

จบแล้วครับ



เรื่องเทอร์โบไม่ยากเลยใช่ไหมครับ

แต่อย่างไรก็อย่าลืมที่ผมบอกไว้แล้วนะครับ เนื้อคู่ที่ดีของเครื่องคือตัวที่ออกมาจากโรงงานประก อบรถ เพราะมันผ่านการคำนวน การทดสอบมามากมายกว่าจะเอามาลงเครื่องรุ่นนั้นๆขาย เอาเทอร์โบสะเมอะสะมะของอะไรก็ไม่รู้ลงโดยไม่คำนวนให ้ดีก่อนเหมือนเอาตัวไปเสี่ยงกับการแซงไม่ขึ้น เครื่องร้อนเพราะลมอั้น เครื่องกระจายเพราะแรงดันสูงเกิน ฯลฯ


พวกเอา เทอร์โบของ 4M40 มาใส่ 4D56 หรือเอา ตระกูล Z ของนิสสันมาลง แล้วคิดว่าใหญ่กว่า ต้องดีกว่า แบบนี้คิดผิดชัดๆ ถ้ามันไม่บูสท์ที่ 1500 รอบก็แสดงว่าทำผิดแล้วครับ


ขนาดโข่งเล็กใหญ่ดูจากภายนอกบอกอะไรไม่ได้ เหมือนร้านค้าที่ชอบพูดเรื่อง A/R อย่างโน้นอย่างนี้ แบบนี้มีไว้คุยโก้ๆ ให้ดูคล้ายกับว่าเจ้าของร้านที่พูดรู้เรื่องเทอร์โบด ี


แต่ถ้าร้านขายเทอร์โบร้านนั้นพูดว่าลูกนี้ปากใหญ่ไปน ิดนะ... ขับไม่โหดเอาลูกนี้ปากรีดอีกนิดดีกว่ามันมาเร็วกว่า พูดแบบนี้สะดุดหู คนพูดเรียบง่ายไม่ต้องมีศัพท์แสงมากมายแบบนี้น่าจะพอ อนุมาณได้ว่าร้านนี้รู้จริงครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

PhumJai จาก PhumJai 58.147.45.212 พุธ, 27/5/2552 เวลา : 04:17  IP : 58.147.45.212   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 42446

คำตอบที่ 2
       ย้ายมาเรียบร้อยแล้วครับ


http://www.weekendhobby.com/offroad/newenergy/Question.asp?ID=661



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.49.27 พุธ, 27/5/2552 เวลา : 12:10  IP : 125.24.49.27   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 42455

คำตอบที่ 3
       เอาไว้เผื่อนำกลับมาปรับปรุงใหม่น่ะครับ




 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

PhumJai จาก PhumJai 124.157.239.203 พุธ, 27/5/2552 เวลา : 13:36  IP : 124.157.239.203   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 42457

      

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  



website รองรับการใช้งานทุกระบบปฏิบัติการของ PC Tablet SmartPhone ทุกระบบสามารถโพสข้อความและรูปภาพได้โดยไม่ต้องย่อไฟล์
เพื่อความปลอดภัยในการใช้ website WeekendHobby.Com สมาชิก เท่านั้น จึงจะตั้งกระทู้ หรือ ตอบกระทู้ได้ครับ
Login Click ที่นี่
สมัครสมาชิก Click ที่นี่



Since 22, Feb 2001 hit counter View My Stats  Truehits.net      วันเสาร์,27 เมษายน 2567 (Online 5506 คน)