WeekendHobby.com
เครื่องมือในการใช้งาน website =>> สมัครสมาชิก | Login | Logout | เปลี่ยนไอคอนส่วนตัว | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อโฆษณา         View stat by Truehits.net


พรหมวิหาร 4
somsaks
จาก หนุ่มกระโทก
IP:115.67.71.53

จันทร์ที่ , 15/6/2552
เวลา : 03:33

อ่านแล้ว = ครั้ง
 เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งตรวจสอบกระทู้
 แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน ส่งหาเพื่อน

       สมัยเด็ก ๆ ผมก็ใช้หนังสือเรียนของพี่ ๆ ตลอด ขึ้นชั้นใหม่เสียค่าสมุดหนังสือซักแถว ๆ ร้อยบาท
ถ้ามากกว่านี้ก็คงไม่มีปัญญาที่จะได้เรียน ยุคนี้น่าจะเป็นยุคประหยัดแต่หนังสือต้องซื้อใหม่ทุกปี

ตอนเรียนอยู่ ป.5 โรงเรียนเทศบาล มีการสอนวิชาศีลธรรม ครูผู้สอนชื่อคุณครูจรัล
เสียดายทีผมจำนามสกุลคุณครูท่านนี้ไม่ได้แล้ว คุณครูจรัลป็นผู้สอนให้ผมรู้จักคำว่า "พรหมวิหาร 4"
แน่นอนครับ เด็กน้อยเช่นผมก็ได้ท่องจำเป็นนกแก้ว นกขุนทอง เข้าใจบ้าง ไม่เข้าใจบ้าง
ยังมีคำอีกหลายคำที่ผมได้รู้จักอีกเช่น สังคหวัตถุ 4 , อิธิบาท 4
แต่คำที่ผมจำได้แม่นที่สุดคือ "หิริ โอตตัปปะ" ความละอายใจ ความเกรงกลัวต่อบาป

น่าเสียดายที่สมัยนี้วิชานี้ได้หายไปจากหลักสูตรเสียแล้ว ไปสอนเรื่องอะไรก็ไม่รู้
น่าตกใจที่เด็กหลาย ๆ คน ไม่รู้จักพระพุทธเจ้า ไม่รู้จักศีล 5 ไม่ทราบว่าศาสนาพุทธสอนอะไร


ถ้าจะแปลความหมายของคำว่าพรหมวิหาร คงจะแปลได้ว่า "ธรรมที่เป็นเครื่องอยู่ของพรหม"
ซึ่งก็คือธรรมประจำใจผู้ใหญ่นั่นเอง ภาษาอังกฤษก็คงพอจะเขียนได้ว่า "Divine State of Mind"

เนื่องจากพรหมวิหารมีสี่ประการ จึงนิยมเรียกกันว่า พรหมวิหาร 4 (The Four Divine States of Mind)
อันประกอบไปด้วย เมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา

ตอนนี้เริ่มเข้าใจหรือยังครับว่าพระพรหม ทำไมต้องมี 4 หน้า









 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

แจ้งเพื่อเก็บขึ้นกระทู้พิเศษ คลิ๊กที่นี่แจ้งเพื่อนำขึ้นกระทู้พิเศษ

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  

คำตอบที่ 1
       เมตตา

ความเมตตา คือความปรารถนาที่จะให้ผู้อื่นมีความสุข ผู้อื่นนี้มิใช่หมายถึงคนเท่านั้น แต่ความหมายรวมไปถึงบรรดา
เหล่าสัตว์ทั้งหลาย ตลอดจนบรรดาดวงจิตต่าง ๆ

ความเมตตาสูงสุดเรียกว่าเป็นระดับสีมสัมเภท คือความเมตตาที่มีเขตแดน มีความเมตตาเสมอกัน
ไม่ว่าจะเป็นคนที่เรารัก คนที่เราเฉย ๆ หรือแม้กระทั่งคนที่จองเวรกับเรา
ส่วนมากมีความเมตตาจริง แต่ไม่สามารถทำลายเขตแดนนี้ได้ คือ คนที่เรารัก ก็เมตตามาก
คนที่เกลียดเรา เราก็เกลียดด้วย อย่างนี้ยังทำลายเขตแดนไม่ได้

ความเมตตานี้มิใช่หมายถึงเมตตาต่อผู้อื่นเท่านั้น ต้องเมตตาต่อตัวเราเองด้วย

อ.วศิน ท่านได้ยกตัวอย่างขึ้นมาให้เข้าใจง่าย ๆ ดังนี้
สมมุตว่าเรานั้งในห้องกันสี่ห้าคน อยู่ ๆ ก็มีโจรบุกเข้ามาเพื่อจะฆ่าพวกเราหนึ่งคนเพื่อไปบูชายันต์

ถ้าเราบอกว่าให้เลือกคนไหนก็ได้ อย่างนี้ถือว่าเป็น สีมสัมเภท คือเมตตาเท่ากันหมดทุกคน
ถ้าเราอาสาเอง ก็ถือว่าไม่ชอบธรรม ไม่ถูกหลักการนี้เพราะชีวิตเรากับชีวิตผู้อื่นเสมอกัน
ดังนั้นถ้าเราอาสา ก็ถือว่าไม่เห็นค่าชีวิตของตัวเอง หรือจะเห็นว่า ชีวิตของตัวเองมีค่าน้อย
โดยทั่วไปทำได้ เป็นความเสียสละ แต่ถ้าในกรณีของเมตตาสีมสัมเภทนี่ไม่ได้ ต้องปล่อยให้โจรเป็นผู้เลือกเอง

ทีนี้มีคนสงสัยว่าถ้า คนหนึ่งเป็นคนที่ชีวิตมีประโยชน์มาก แต่อีกคนชีวิตมีประโยชน์น้อย
น่าจะรักษาชีวิตผู้มีประโยชน์มากเอาไว้ สละชีวิตผู้มีประโยชน์น้อย โดยธรรมดาก็คิดกันเช่นนั้น ทำได้
แต่ในหลักของเมตตาสีมสัมเภท ท่านไม่ให้ทำเช่นนั้น

ท่านให้เมตตาแผ่ไปให้สัตวโลกทั้งปวง สฺพพาวนฺตํ โลกํ ไม่เลือก




 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.71.53 จันทร์, 15/6/2552 เวลา : 03:36  IP : 115.67.71.53   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 43160

คำตอบที่ 2
       ท่านน้าหนุ่ม ที่โรงเรียนของลูกชายอิชั้นมีสอนอยู่นิดหน่อย แทรกอยู่ในวิชาสังคม-วัฒนธรรม ป.4 มีอยู่นิดเดียวจิงๆๆๆเลย แต่ที่น่าเสียดาย วิชาหน้าที่-พลเมือง หายๆๆๆไปเลยล่ะ เพราะอย่างนี้หรือปล่าวที่คนสมัยนี้ไม่ค่อยรู้จักหน้าที่ของตนเอง



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก จ้าวป้า 125.24.85.141 จันทร์, 15/6/2552 เวลา : 08:09  IP : 125.24.85.141   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 43161

คำตอบที่ 3
      



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก เปี๊ยก ปากน้ำ 61.7.135.223 จันทร์, 15/6/2552 เวลา : 09:04  IP : 61.7.135.223   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 43164

คำตอบที่ 4
       กรุณา

ความกรุณาหมายถึงความปราถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ เมตตาคืนสุขเข้า กรุณาคือนำทุกข์ออก
สฺพเพ สฺตตา ทุกฺขา ปมุจฺจนฺตุ ขอให้สัตว์ทั้งหลายจงพ้นจากความทุกข์เถิด

ลักษณะของมหาบุรุษ มีความหวั่นใจในทุกข์ของผู้อื่น ทุกข์ของผู้อื่นเสมอด้วยทุกข์ของตน
จึงไม่นำทุกข์ไปให้ใคร มีแต่ความปรารถนาที่จะนำทุกข์ออกจากผู้อื่น

ท่านว่าเวลาแผ่กรุณา ให้แผ่ไปยังผู้ที่ตกทุกข์ได้ยากก่อน จากนั้นก็ให้แผ่ไปถึงคนชั่ว
คือแทนที่จะเกลียดชังคนชั่วก็ให้มีจิตใจกรุณาต่อคนชั่ว เพราะเหตุใด ??


เพราะว่าคนชั่วนั้นเป็นผู้ที่หาความสุขในใจไม่ได้ ดูภายนอกบางทีเหมือนกับเขามีความสุข
แต่แท้ที่จริงแล้วเขาหาความสุขไม่ได้เลย อย่างคนที่โกงชาติโกงแผ่นดินหนีไปอยู่ต่างประเทศ

มีการเข้าใจผิดในเรื่องความกรุณา คือความกรุณาไม่ใช่ไปช่วยในลักษณะชาวนากับงูเห่า

หรือไปช่วยให้เขาไม่ต้องรับโทษอะไรเลย



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 58.8.102.113 อังคาร, 16/6/2552 เวลา : 12:45  IP : 58.8.102.113   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 43202

คำตอบที่ 5
       มุทิตา

สพฺเพ สตฺตา มา ลทฺธสมฺปตฺติโต วิคจฺฉนฺตุ ให้บริกรรมบ่อย ๆ
เป็นการแผ่มุทิตา ขอให้สัตว์ท้งหลายทั้งปวง อย่าได้ปราศจากสมบัติทั้งปวง
ที่ตนได้แล้วเลย อันนี้เป็นการพยายามทำใจใหอนุโมทนา หรือ ยินดีต่อสมบัติของผู้อื่น
ยินดีต่อสมบัติของผู้อื่นนี้มิใช่หมายถุึงยินดีอยากจะได้ของเขา แต่เป็นการร่วมยินดีกับเขา
ไม่ริษยาสมบัติของผู้อื่นไม่ว่าจะเป็น รูปสมบัติ ทรัพย์สมบัติ ลาภ ยศ สรรเสริญต่าง ๆ

ไม่มีใครในโลกนี้ที่ควรริษยาเลย เพราะต่างคนตางก็เผชิญหน้ากับความทุกข์อยู่ทั้งนั้น

คำว่าริษยา มาจากภาษาสันสฤต มีความหมายว่าทนไม่ได้กับการได้ดีของผู้อื่น
ภาษาไทย ๆ เราเรียกว่าโรค "แสดงดี" คือทนต่อความดีไม่ได้ มันเป็นของแสลง
คนบางคนเป็นโรค ถ้าไปแสลงกับยา รักษาอย่างก็ไม่มีทางหาย

การหาความดีใส่ตัวถือเป็นเรื่องที่ดีที่ถูกต้อง แต่การหาความชั่วใส่ผู้อื่นนี้แสนเลว

มีนิทานยู่เรื่องหนึ่ง กล่าวถึง เมื่อคนโลภกับคนริษยา เป็นศัตรูกัน มาเจอะเจอกัน
เทพได้ประทานพรว่าขออะไรก็ขอได้ คนที่ขอทีหลังจะได้สองเท่า

คนโลภไม่อยากขอก่อนเพราะถ้าขอก่อนก็จะได้น้อยกว่าคนขอทีหลังครึ่งหนึ่ง
คนริษยาก็ไม่อยากให้คนโลภมันได้มากกว่า เลยขอก่อน ขอพรให้ตาบอดข้างหนึ่ง
ไอ้คนโลภตาก็เลยบอดสองข้าง

เรื่องนี้สอนให้รู้ว่า จริง ๆ แล้วถ้าไม่ไปริษยาใคร ใครจะได้เท่าไร่ก็ช่างเขา
จะมากกว่าเราซักสี่ห้าเท่าก็ช่างปะไร เราได้สิ่งที่เราต้องการก็น่าจะพอแล้ว
คือให้รู้จักพอ

ธรรมที่เป็นเครื่องแก้ความริษยานี้ ก็คือ "มุทิตา" นั่นเอง

อีกตัวอย่างที่เห็นง่าย ๆ ก็ในเรื่อง สามก๊ก จิวยี่ริษยาขงเบ้งมาก จนอาเจียรเป็นเลือด
ฟ้าให้กรูมาเกิด ทำไมต้องให้ขงเบ้งมาเกิดด้วยหนอ

เทวทัตก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ริษยาพระพุทธเจ้า ก่อการชั่วต่าง ๆ มากมาย จนในที่สุด
แผ่นดินก็รับน้ำหนักแห่งความชั่วไม่ไหว ธรณีก็เลยส
ในประไตรปิฏกมีอีกหลายเรื่องที่กล่าวถึงความริษยา มีสัญชัยผู้เป็น อาจารย์ของ โกลิตะ กับ อุปดิสสะ
(พระโมคคัลลา และพระสารีบุตร) ลูกศิษย์มาชวนไปเฝ้าพระพุทธเจ้า แต่ด้วยความริษยา
จึงมิได้บรรลุธรรมอันใด



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 58.8.102.113 อังคาร, 16/6/2552 เวลา : 13:10  IP : 58.8.102.113   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 43203

คำตอบที่ 6
       สำหรับเรื่องลูกชายของจ้าวป้า ไม่น่าเป็นห่วงแต่ประการใด

เพราะมีคุณแม่ที่แสนดี เอาใจใส่ลูก ๆ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 58.8.102.113 อังคาร, 16/6/2552 เวลา : 13:12  IP : 58.8.102.113   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 43204

คำตอบที่ 7
       ก็ขอให้เป็นอย่างที่ท่านน้าหนุ่มว่าเถอะ อิชั้นล่ะหวั่นใจเหลือเกิน สมัยนี้อะไรก็เปลี่ยนไปหมด กลัวจะถูกเรียก แม่ฮ้า แทนที่จะเรียกว่าแม่ครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก จ้าวป้า 125.24.15.199 พุธ, 17/6/2552 เวลา : 10:39  IP : 125.24.15.199   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 43227

คำตอบที่ 8
       นึกว่าอยากมีลูกสาว



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.39.65 พุธ, 17/6/2552 เวลา : 14:53  IP : 125.24.39.65   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 43234

คำตอบที่ 9
       พระสารีบุตร มีลูกศิษย์อยู่ท่านหนึ่งชื่อว่า "พระโลสกะ" ท่านเป็นคนที่น่าสงสารมากคือตั้งแต่เด็ก
ไปเอาข้าวที่เขาล้างหม้อแล้วทิ้งเก็บเอามากิน เมื่อพระสารีบุตรมาพบเข้า ด้วยความสงสารจึงพามาบวช
เมื่อบวชแล้วไปบิณฑบาต พอเปิดบาตรคนเห็นของเต็มบาตรก็เลยไม่ได้ใส่บาตร ท่านก็อดเป็นประจำ


บางครั้งพระสารีบุตรไปบิณฑบาต ถ้าพระโลสกะไปด้วย วันนั้นพระสารีบุตรไม่ได้แม้แต่การไหว้
อันนี้เป็นกรรมในอดีตของพระโลสกะเอง ในชาดกกล่าวเอาไว้ว่า

อยู่ในยุคของพระกัสสปะพุทธเจ้า ท่านนั้นเป็นเจ้าอาวาส วันหนึ่งมีพระอรหันต์รูปหนึ่งผ่านมาอาศัยที่วัด
ท่านไม่ทราบว่าพระองค์นั้นเปนพระอรหันต์ เห็นญาติโยมเอาของมาถวายพระรูปนั้นในก็เกิดริษยา

ตอนเช้าออกบิณฑบาต ก็ไปเคาะประตูเบาด้วยเล็บ แบบเป็นเชิงว่าเรียกแล้ว ให้ไปบิณฑบาต

เมื่อญาติโยมไม่เห็นว่ามาบิณฑบาตด้วยก็ถามว่าเหตุใด พระที่มาเมื่อวานไม่มาด้วย
ท่านก็บอกว่ายังไม่ตื่น โยมก็ฝากของไปให้
เจ้าอาวาสริษยาคิดว่าถ้าได้ของดีแบบนี้ พระองค์นั้นคงไม่ไปไหนก็เลยเอาของที่ไดนั้นไปเผาทิ้งเสีย

พระอรหันต์รูปนั้นท่านรู้ว่า เจ้าอาวาสนี้คิดว่าเราเป้นผู้ติดในลาภสักการะ ท่านจึงจากไปตั้งแต่เช้า
ผลกรรมนี้เอง เมื่อเจ้าอาวาสมรณภาพ ไปเกิดในนรกเป็นเวลานาน เกิดเป็นสุนัขหลาย ๆ ชาติ
ไม่เคยได่อิ่มท้อง อยู่แบบ อด ๆ อยาก ๆ ชาติสุดท้ายนี้มาเกิดเป็นพระโลสกะ
เมื่อเกิดมาพ่อแม่ก็จนลง ๆ คนทั้งหมู่บ้านก็ลำบาก


พระสารีบุตรท่านพิจารณาแล้วเห็นว่าศิษย์คนนี้ของท่านจะนิพพานแล้วในวันนี้ แต่ยังไม่ได้รับอาหาร
ท่านต้องให้พระโลสกะกลับไปก่อน แล้วท่านก็บิณฑบาตรูปเดียว เมื่อได้อาหารพอสมควรแล้ว
ก็รีบให้คนนำไปให้พระโลสกะ คนที่นำอาหารไปให้จำชื่อพระโลสกะไม่ได้ ไม่รู้ว่าเป็นรูปไหน พระโลสกะก็อดอีก
เมื่อตอนสายท่านกลับมาทราบว่า พระโลสกะยังไม่ได้รับอาหาร ท่านยิ่งสลดใจ

พระสารีบุตรต้องยืนถือบาตรของท่าน ให้พระโลสกะได้ฉัน เมื่อท่านฉันเสร็จแล้วก็นิพพาน
เป็อาหารมื้อสุดท้ายที่ได้ฉันอิ่ม

พระดีที่มีอุปนิสัยที่จะได้เป็นพระอรหันต์ เกิดมาเป็นชาติสุดท้าย ทำอย่างไรก็ไม่ตายจนกว่าจะบรรลุอรหันต์
เหมือนดวงประทีปที่ครอบไว้ดีแล้ว ลมพัดก็ไม่ดับ





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.174.254 อาทิตย์, 21/6/2552 เวลา : 03:18  IP : 115.67.174.254   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 43302

คำตอบที่ 10
       อุเบกขา

ในพรหมวิหาร 4 อุเบกขาเป็นธรรมที่รักษาได้ยากที่สุด
หลาย ๆ ท่านเข้าใจผิดว่าอุเบกขาคือการวางเฉย ความจริงแล้วอุเบกขานั้นลึกซึ้งกว่านั้นมาก

พรหมวิหารสามข้อแรกนั้นเป็น "ธรรมที่รักษาคน" แต่อุเบกขาเป็น "ธรรมที่รักษาธรรม"
คือรักษาธรรมนั้นให้มั่นคง คุณธรรมนั้นจะอยู่ไม่ได้ ถ้าไม่มี อุเบกขา คือ

1 วางใจเป็นกลางในเหตุที่สุดวิสัย

เมื่อเห็นว่าสุดวิสัยที่จะช่วยได้แล้ว เมตตาก็แล้ว กรุณาก็แล้ว มุทิตาก็แล้ว ยังไม่สามารถช่วยเขาได้
ก็ต้องวางเฉย คือใช้อุเบกขา

เห็นคนตกน้ำ แต่เราว่ายน้ำไม่เป็น หาคนช่วยก็ไม่ได้ อย่างนี้ก็ต้องวางอุเบกขา เพราะเป็นเหตุสุดวิสัย
มีเมตตาต่อลูก ถ้าเขาไปทำผิดติดคุกติดตาราง ช่วยได้ก็ช่วย ช่วยไม่ได้ก็ต้องวางอุเบกขา

2 เว้นอคติ 4 เพื่อดำรงความยุติธรรม

มีพุทธพจน์ว่า ฉนฺทา โทสา พยา โมหา โย ธมฺมํ อติวตฺติ
โทสาคติ ภยาคติ โมหาคติ หิยฺยคติ ตสฺส ยโส
กาลปกฺเขว จนฺทิมา
"ผู้ใดล่วงธรรมเพาะฉันทาคติ ยศของผู้นั้นย่อมเสื่่อม เหมือนดวงจันทร์ในกาลปักษ์คือข้างแรม"

ตรงกันข้าม ผู้ใดที่ไม่ล่วงธรรมเพราะฉันทาคติ โทสาคติ โมหาคติ ภยาคติ ยศผู้นั้นย่อมเต็ม
เหมือนดวงจันทร์ในข้างขึ้น

เพื่อให้ดำรงค์ธรรมข้อนี้อยู่เสมอ ให้พิจารณาว่าคนเรานั้นมีวิบากในจิตที่ไม่เหมือนกัน แตกต่างกันไป
บางคนมีอกุศลมาก ก็ทำอกุศลได้ง่าย ทำบุญได้ยาก เขามักไหลไปตามบาป ไหลไปตาอกุศล
บางคนมีกุศลมากในจิต มีวิบากดีในจิต จึงไหลไปตามบุญได้ง่าย ทำบาปได้ยาก ทำบุญได้ง่าย


ที่ยกมาให้ตามข้างบนนี้คือ จะทุกข์อย่างหนึ่งของคนนดีนั้นคือ อยากให้คนอื่นนั้นดีด้วย
เมื่อเขาไม่ดีดั่งใจ ก็เป็นทุกข์โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับคนที่ใกล้ตัว ทะเลาะกันเพราะหวังดีมาก
อย่างนี้ต้องใช้ธรรมในข้อ อุเบกขานี้ช่วย

อยากให้ลูกเรียนดี เรียนหนังสือเก่ง เป็นคนขยัน แต่ลูกไม่ขยัน เรียนไม่เก่ง ก็เป็นทุกข์
เราต้องคำนึงถึงว่า สัตว์ทั้งหลายมีกรรมเป็นของตนเอง
ดังนั้นในคำตอบที่ 7 ที่จ้าวป้าเป็นห่วงนักเป็นห่วงหนา จ้าวป้าจะต้องใช้ธรรมข้อนี้ครับ

พ่อแม่ที่วางใจกับลูกหลานไม่ได้ ขอให้นึกถึงว่าเขามีชะตาชีวิตของเขาเอง
เราช่วยใครไม่ได้ด๊อกครับ ถ้าเขาไม่ช่วยตัวเองเสียก่อน แม้แต่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเอง
พระองค์ทรงตรัสว่า "อกฺขาตาโร ตถาคตา" ตถาคตเป็นแต่เพียงผู้บอก
พระญาติของพระองค์ท่านก็ช่วยไม่ได้ พ่อตาก็ตกนรก เทวทัตก็ตกนรก

การปลงใจได้แบบนี้ จะทำให้จิตเราสงบ ไม่ฟุ้งซ้านวุ่นวายเกินไป โปปรดจำเอาไว้ว่า
"ความวุ่นวายเกินไป เป็นข้าศึกอันฉกาจของอุเบกขา"

3 ถืออุเบกขาในความสุขและความทุกข์ ความขึ้นลงของชีวิต

ของทุกอย่างมีคู่ของมัน เมื่อมียศ ก็มีเสื่อมยศเป็นคู่ มีลาภ ก็เสื่อมลาภ
มีสรรเสริญ ก็มีนินทา มีสุข ก็มีทุกข์ อันเป็นธรรมดาของโลก

จิตของผู้ใดถ้าอยู่ในโลกธรรมที่ถูกต้องแล้วยอมไม่หวั่นไหว เป็นมงคลอันสูงสุด

ในเรื่องของพรหมวิหารสี่ มีข้าศึกที่ควรระวังอยู่สองประเภทคือ ข้าศึกใกล้และข้าศึกที่อยู่ไกล
ข้าศึกที่อยู่ใกล้ เป็นข้าศึกที่ซ่อนเร้น ถ้าไม่พิจารณาสังเกตุให้ดีแล้วก็จะมองไม่เห็น
ข้าศึกที่อยู่ไกล เป็นข้าศึกที่เปิดเผย

เมตตา
ข้าศึกใกล้คือ ความรักหรือราคะ ถ้ามเมตตามากเกินไป มันจะแปรกลายเป็นความรัก
ข้าศึกไกลคือความโกรธ ความพยาบาท

กรุณา
ข้าศึกใกล้คือ ความเศร้าโศกเสียใจ อยากให้เขาพ้นทุกข์ แต่ก็ไม่พ้นทุกข์ซักที
ข้าศึกไกลคือ ความคิดที่จะเบียดเบียน

มุทิตา
ข้าศึกใกล้คือ ความเริงร่าเกินไป ตัวอย่างเช่น เพื่อนได้เลื่อนตำแหน่ง ก็ไปเลี้ยงฉลองร่วมยินดี
คราวนี้เกิดประมาท เริงร่ามาก เมาเหล้าขับรถเกิดอุบัติเหตุ ร่วมยินดีได้แบบสายกลาง มัชฌิมาปฏิปทา ก็พอครับ
ข้าศึกไกลคือความริษยานั่นเอง

อุเบกขา
ข้าศึกใกล้คือความเขลา โง่แบบไม่รู้ วางเฉยแบบไม่รู้ไม่ใช่ปัญญา
ข้าศึกไกลคือความยินดียินร้าย วุ่นวายเกินไป

ยกตัวอย่างในสมัยที่เมืองนานันทาถูกมุสลิมเติร์กบุกโดยปราศจากการต่อต้าน
มีพระภิกษุจำนวนนับหมื่นถูกฆ่าตาย อย่างนี้ถือว่าเป็นอุเบกขาแบบเขลา
หนีได้ก็ไม่หนี แต่รอให้พวกนั้นมาฟันคอ

พรหมวิหาร คือ ธรรมอันประเสริฐ เป็นธรรมที่อำนวยประโยชน์ ให้แต่ตนเองและผู้เกี่ยวข้อง
อย่างประมาณมิได้ ผู้ที่ประพฤติอยู่ในพรหมวิหาร จะเป็นที่รักเคารพของผู้เกี่ยวข้อง
ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ เทวดา และสัตว์เดียรัจฉาน
ผู้หวังจะพัฒนาชีวิตและจิตใจ ก็วารที่จะหมั่นฝึกพรหมวิหารอยู่เนือง ๆ
จะได้เห็นผลอานิสงค์ของพรหมวิหารข้อนั้น ๆ อย่างแน่นอน

ขอความสุข สวัสดีจงมีแด่ทุก ๆ ท่าน



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.174.254 อาทิตย์, 21/6/2552 เวลา : 03:21  IP : 115.67.174.254   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 43303

คำตอบที่ 11
       สาธุครับ อนุโมทนาบุญทางปัญญาด้วย

เรื่องนาลันทา แบ่งความคิดออกเป็นสองกรรมครับ กรรมแรกคืออุเบกขาแบบผิดทาง พระสู้กองทัพไม่ได้อยู่แล้ว เมตตา กรุณา มุทิตา อะไรใช้ต่อคนถือดาบมันใช้ไม่ได้แน่นอน ดังนั้นการวางอุเบขาเลยนำมาใช้แบบเขลา กองทัพมันมาก็มาก็วางอุเบกขานั่งอยู่เฉยๆช่วยไม่ได้

ตอนดาบจะลงมาบั่นคอ ก็คงใช้ ขันติ แบบเขลาๆด้วยมั้งถึงไม่ยอมหนีไปให้พ้นๆคมดาบของกองทัพเติร์ค

คือผมไม่ได้คิดว่านาลันทามีแต่พระเขลานะครับ พระที่ฉลาดพอคงจะหนีคอขาดไปมากแล้วก่อนทัพจะมา ไม่อย่างนั้นพระสูตรต่างๆจะอยู่รอดมาถึงตอนนี้ได้อย่างไร

ธรรมก็ย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม (ให้อยู่ในธรรม) ตามวงเล็บครับ แต่ธรรมรักษาคอจากคมดาบไม่ได้หรอก



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.79.95 อาทิตย์, 21/6/2552 เวลา : 13:23  IP : 125.24.79.95   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 43311

คำตอบที่ 12
      
บทความนี้ผมเขียนมานานแล้ว นึกขึ้นได้ตอนที่เขียนเรื่องนาลันทานี่แหละ

ลองอ่านกันดูครับ แล้วจะเข้าใจว่าหนุ่มกระโทกต้องเปลืองตัวลงมาไล่กระทืบไอ้พวกเกรียนขายของป่วนเว็บ กรูปรีลงมานอนแอบถือสไนเปอร์ส่องกบาลไอ้พวกเกรียนด่กราดให้เปลืองตัวกันทำไม

สังคมที่ไม่รู้จักการต่อสู้คือสังคมที่ล่มสลาย


รูปซากของเมืองนาลันทาครับ เป็นรูปสมัยกล้องฟิลม์ยังไม่ใช่ดิจิตอล







 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.79.95 อาทิตย์, 21/6/2552 เวลา : 13:40  IP : 125.24.79.95   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 43312

คำตอบที่ 13
       "สังคมที่ไม่รู้จักการต่อสู้คือสังคมที่ล่มสลาย "

เมื่อเจ็ดร้อยปีก่อนกองทัพมุสลิมเติรกส์ได้ยกมารุกรานรบชนะกษัตริย์แห่งชมพูทวีปฝ่ายเหนือ และได้เผาผลาญทำลายวัดและปูชนียสถานในพุทธศาสนาลงแทบทั้งหมด สังหารผู้ที่ไม่ยอมเปลี่ยนศาสนาเป็นมุสลิม นาลันทามหาวิหารก็ถูกเผาผลาญทำลายลงในช่วงระยะเวลานั้นด้วย มีบันทึกของนักประวัติศาสตร์ชาวมุสลิมเล่าว่า ที่นาลันทา พระภิกษุถูกสังหารแทบหมดสิ้น และมหาวิทยาลัยนาลันทาก็ได้ถึงความพินาศสูญสิ้นลงแต่บัดนั้นมา ปัจจุบันนาลันทาเหลือเพียงกองอิฐหิน


เพราะพระนาลันทายอมถูกฆ่าดีกว่าฆ่าคนอื่น


ขณะที่ก่อนหน้านาลันทาถูกทำลาย สามร้อยปีคือเมื่อพันปีที่แล้ว พระสิบสามอรหันต์นำเหล่าพระวัดเส้าหลินสู้กับกองทัพสุ่ยเพื่อรักษาวัด จนกษัตริย์ถังไถ้จงสำนึกในการต่อสู้ของเหล่าพระที่รักษาวัดจากการรุกรานถึงกับมอบเสาปักธงและสิงห์โตหินคู่ตั้งในวิหารหน้าวัดจนถึงปัจจุบันนี้


พระโพธิธรรมเถระหรือตั๊กม้อ พระภิกษุจากประเทศอินเดียที่สร้างวัดเส้าหลินเมื่อพันห้าร้อยปีก่อนก็เป็นพระที่มาจากนาลันทาสมัยก่อนโดนทำลายเช่นกัน แต่ได้วางรากฐานของแนวคิดการปกป้องตัวเองของวัดเส้าหลินจนอยู่รอดถึงทุกวันนี้ทั้งที่โดนบุกโดยกองทัพถึงสามครั้ง เจตนารมณ์ของตั๊กม้อในการป้องกันตัวเองประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ศิษย์ของตั๊กม้อเมื่อลาสิกขาออกไปจากวัดเส้าหลินแล้ว ส่วนใหญ่กลายเป็นวีรบุรุษของชาวจีนที่รู้จักกันเป็นอย่างดีเช่นงักฮุย


แล้วในการต่อสู้ปัญหาต่างๆในชีวิตจริงของทุกคน อยากจะนั่งรอให้ปัญหาจบสิ้นไปด้วยดาบมุสลิมที่ฟันคอแบบพระที่นาลันทา หรือว่าจะทำให้ปัญหาจบสิ้นด้วยการออกไปสู้แบบพระที่เส้าหลินก็เลือกเอา


หรือจะให้ผมเล่าถึงการล่มสลายของอารยะธรรมกรีกยุคโบราณ ตั้งแต่การล่มสลายของไมซีนี จนกระทั่งถึงการล่มสลายจากพิชิตของกองทัพโรมัน ที่คนกรีกแม่แบบของประชาธิปไตยที่เอาแต่ถกเถียงด้วยเหตุและผลและปรัชญาในสภาจนหัวขาดด้วยดาบของโรมันทั้งเมือง ชาวกรีกผู้มีความคิดเจริญแล้วทั้งหลายเถียงกันด้วยประชาธิปไตยและเสรีภาพทางความคิดที่เปิดกว้างจนหัวขาดคาสภาอย่างน่าสังเวชในตรรกะที่บิดเบี้ยว


เทียบกับกับชาวสปาต้าที่ลุกขึ้นจับดาบสู้เพื่อรักษาเมืองของตน จากพวกเปอร์เซียที่มีเป็นแสนได้ด้วยกำลังคนไม่กี่พันที่ช่องเขาเทอร์โมพีเลโดยกษัตริย์เลโอนิดาสที่ 1 สู้แม้ว่ารู้ว่าตัวเองต้องตายแต่ก็สู้จนโลกต้องจารึกวีรกรรมมาถึงทุกวันนี้ว่าสปาต้าคือหมายของนิยามของคำว่านักสู้


แต่ผมว่าคงไม่จำเป็นที่เสียเวลาเล่าเรื่องกรีกกับสปาต้าหรอก เพื่อนของผมฉลาดพอน่าจะคิดได้ตั้งแต่ผมพาไปเดินเที่ยวที่ลานวัดเส้าหลินแล้ว





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.79.95 อาทิตย์, 21/6/2552 เวลา : 14:02  IP : 125.24.79.95   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 43313

      

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  



website รองรับการใช้งานทุกระบบปฏิบัติการของ PC Tablet SmartPhone ทุกระบบสามารถโพสข้อความและรูปภาพได้โดยไม่ต้องย่อไฟล์
เพื่อความปลอดภัยในการใช้ website WeekendHobby.Com สมาชิก เท่านั้น จึงจะตั้งกระทู้ หรือ ตอบกระทู้ได้ครับ
Login Click ที่นี่
สมัครสมาชิก Click ที่นี่



Since 22, Feb 2001 hit counter View My Stats  Truehits.net      วันอังคาร,23 เมษายน 2567 (Online 3052 คน)