WeekendHobby.com
เครื่องมือในการใช้งาน website =>> สมัครสมาชิก | Login | Logout | เปลี่ยนไอคอนส่วนตัว | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อโฆษณา         View stat by Truehits.net


ถามเรื่อง เอามอเตอร์มาปั่นไฟแทนไดนาโม แล้วดันไฟกลับ เข้า กฟผ.

จาก dodge
IP:58.147.73.111

พฤหัสบดีที่ , 17/9/2552
เวลา : 15:22

อ่านแล้ว = ครั้ง
 เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งตรวจสอบกระทู้
 แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน ส่งหาเพื่อน

       ถามผู้รู้คับ พอดีผมไปเห็นเขาทดลองเอามอเตอร์มาทำปั่นแทนไดนาโม โดยใช้เครื่องคูโบต้าขับ เขาต่อระบบเข้ากับไฟบ้าน เขาบอกให้ไปสังเกตมิเตอร์ไฟฟ้าที่ติดตั้งอยู่เสาไฟหน้าบ้านปรากฏว่า มิเตอร์หมุนย้อน ก็เลยเกิดคำถามว่า
1.มันทำได้อย่างไร
2.มันใช้มอเตอร์ถูกวิธีหรือเปล่า
3.เมื่อเปรียบกับเจนหรือไดนาโมแล้ว อย่างไหนดี

ขอบคุณครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

แจ้งเพื่อเก็บขึ้นกระทู้พิเศษ คลิ๊กที่นี่แจ้งเพื่อนำขึ้นกระทู้พิเศษ

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  

คำตอบที่ 1
      
ไม่ผิดครับ ทำได้ เขาเรียกว่าเป็น Induction Generator

ที่เรียกว่า Induction Generator เพราะว่า ใช้ Induction Motor

ระบบปั่นไฟที่ราคาถูก ๆ ใช้ระบบนี้

การหมุนของเครื่องยนต์จะต้องให้เร็วกว่าความเร็วซิงโครนัส

ถ้าหมุนช้ากว่าเมื่อไหร่ แทนที่จะจ่ายไฟเข้าระบบ มันจะกลายเป็นโหลดเสียเอง



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.199.147 พฤหัสบดี, 17/9/2552 เวลา : 15:43  IP : 115.67.199.147   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 45585

คำตอบที่ 2
       ก่อผมขออธิบายเรื่อง AC Electrical Machine เฉพาะตัวมอเตอร์เสียก่อนเสียก่อน
คือ มันแบ่งออกเป็น 2 อย่างคือ

- Synchronous Motor

- Induction Motor

ในตัวมอเตอร์เอง ประกอบด้วยชิ้นส่วน 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ

1 ส่วนที่อยู่กับที่ เรียกว่า สเตเตอร์ (Stator)

2 ส่วนที่เคลื่อนไหว ก็ไอ้ตรงกลางที่หมุน ๆ นั่นแหละ เรียกว่า โรเตอร์(Rotor)


Induction Motor

กระแสไฟฟ้าที่ใส่เข้าไปนั้น ใส่ลงไปที่ตัวสเตเตอร์ ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กหมุนเปลี่ยนแปลงขั้วไป
เหมือนกับว่าสนามแม่เหล็กมันหมุนรอบ ๆ ที่เกิดเช่นนี้เพราะว่าไฟที่ป้อนเข้าไปเป็นไฟกระแสสลับ

เมื่อมีสนามแม่เหล็กวิ่งตัดแกนโรเตอร์ ก็ทำให้โรเตอร์มีกระแสไฟฟ้าไหล เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหล ก็ทำให้เกิด
สนามแม่เหล็กเช่นกัน และก็เกิดสนามแม่เหล็กที่หมุนด้วยเช่นกัน เพราะว่าตัวที่เหนี่ยวนำมันหมุน
แต่ สนามแม่เหล็กหมุนของตัวโรเตอร์นั้นหมุนช้ากว่า สนามแม่เหล็กหมุนของตัว สเตเตอร์

อัตราส่วนที่ช้ากว่าที่แหละครับเขาเรียกว่า "สลิป" เหตุที่เรียกว่า อินดักชั่นมอเตอร์ ก็เพราะว่า
สนามแม่เหล็กในตัวโรเตอร์มันถูกเหนี่ยวนำให้เกิดจาก สนามแม่เหล็กจากตัวสเตอร์

หากเรามาใช้กลับทางกัน คือ ใส่พลังงานไปแทน มันก็ทำงานกลับด้านกันไงครับ ถ้าเอามาใช้โดด ๆ ไม่เป็นไร
แต่ถ้าจะเอามาเกี่ยวกับระบบไฟฟ้า แต่เราต้องให้มันเกิดสนามแม่เหล็กที่หมุนเร็วกว่า สนามแม่เหล็กที่เกิดจากระบบไฟ
มันถึงจะเหนี่ยวนำเขาได้ ผมจะยกตัวอย่างง่าย ๆ ให้ ก็ได้ เช่น มีรถสองคันมัดติดกัน ถ้าวิ่งพร้อมกันก็คือไปด้วยกัน

ถ้าคันซ้ายวิ่งเร็วกว่า คันขวาก็จะกลายเป็นโหลดของคันซ้าย
ในทางกลับกัน ถ้าคันขวาวิ่งเร็วกว่า คันซ้ายก็จะกลายเป็นโหลดของคันขวา

คงพอนึกภาพออกนะครับ เนื่องจากเราต้องการให้การไฟฟ้าเป็นภาระของเรา เราจึงต้องให้มันหมุนเร็วกว่า
เพื่อให้เกิดสนามแม่เหล็กหมุน ที่หมุนเร็วกว่า สนามแม่เหล็กหมุนที่เกิดจากไฟฟ้าของการไฟฟ้า

คุณคงมีคำถามต่อมาว่า แล้วทำไมไม่ให้มันหมุนไปพร้อมกันล่ะ ใช่ไหมครับ
มันเป็นข้อจำกัดของการเหนี่ยวนำครับ เพราะว่า เมื่อเกิดการเหนี่ยวนำแบบนี้ สนามแม่เหล็กหมุน
ไม่สามารถหมุนที่ความเร็วเท่ากันได้ครับ


Synchronouse Motor

ก็คล้าย ๆ กับ Induction Motor นั่นแหละ เพียงแต่ เรามีการป้อนไฟเข้าไปที่ตัว โรเตอร์ด้วย
ทำให้สนามแม่เหล็กในตัวโรเตอร์หมุนไปพร้อม ๆ กับ สนามแม่เหล็กในตัวสเตเตอร์

ดังนั้นความเร็วของมอเตอร์ขนิดนี้จะคงที่ ๆ ความเร็ว ซิงโครนัสเสมอ


ถ้าต้องการรายละเอียดลึก ๆ คงต้องอ่านหลักสูตร ของ วิศวกรรมไฟฟ้า ในชั้นปีที่ 3 ครับ

ผมมีแค่ใบสุทธิ ป 7 คงอธิบายแค่นี้ ก่อน



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.199.147 พฤหัสบดี, 17/9/2552 เวลา : 16:15  IP : 115.67.199.147   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 45587

คำตอบที่ 3
       ดังนั้นคำถามของคุณ ที่ว่า

1.มันทำได้อย่างไร ====> ผมตอบไปแล้ว
2.มันใช้มอเตอร์ถูกวิธีหรือเปล่า ====> ผมตอบไปแล้ว
3.เมื่อเปรียบกับเจนหรือไดนาโมแล้ว อย่างไหนดี ====> ผมก็ตอบไปแล้ว



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.199.147 พฤหัสบดี, 17/9/2552 เวลา : 16:18  IP : 115.67.199.147   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 45589

คำตอบที่ 4
       มีวงจรและวิธีการต่อบ้างไหมครับจาก มอเตอร์เป็นเจน



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก ผ่านมา 117.47.203.53 ศุกร์, 18/9/2552 เวลา : 14:19  IP : 117.47.203.53   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 45607

คำตอบที่ 5
       รูปข้างล่างเป็นการฟคุณสมบัติของอินดัคชั่นมอเตอร์ที่ทำงานที่ความถี่ของกระแสไฟฟ้าคงที่


จะเห็นได้ว่ามอเตอร์จะมีแรงบิดสูงสุดที่ความเร็วใกล้ความเร็ว ประมาณ 90 กว่า % ของความเร็วซิงโครนัส
ทีความเร็วเท่ากับความเร็วซิงโครนัสจะไม่มีแรงบิด คือไม่จ่ายกำลังออกมาเลย






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 111.84.80.157 จันทร์, 21/9/2552 เวลา : 23:39  IP : 111.84.80.157   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 45696

คำตอบที่ 6
       คราวนี้กลับกันคือเอาจ่ายกำลังทางกลให้แก่มอเตอร์ ทำให้มอเตอร์หมุนที่ความเร็วสูงกว่าความเร็วซิงโครนัส

กราฟความเร็วกับแรงบิดจะเป็นตามรูปกราฟที่แสดงให้ดูด้านล่าง สังเกตุได้ว่ารูปกราฟจะมีลักษระกลับทางกับ
กรณี่ที่ต่อใช้เป็นมอเตอร์ต้นกำลัง ควความเร็วรอบที่มีเสถีรภาพก็มากกว่าความเร็วซิงโครนัสใน่ช่วงประมาณ
ไม่เกิน 110% ของความเร็วซิงโครนัส กระแสไฟฟ้าจะถูกผลิตออกมา

ในกรณีที่ทำงานเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า สลิป(Slip)จะต้องถูกควบคุมให้เหมาะสมกับภาระทางไฟฟ้า
อย่าลืมว่าความเร็วซิงโครนัสนัสถูกกำหนดมาแล้วด้วยความถี่ของกระแสไฟฟ้าที่ต้องการผลิตออกมา

ความเร็วซิงโครนัสสามารถหาได้จากสูตร 120xความถี่ / จำนวนขั้วแม่เหล็กของมอเตอร์
สมมุติว่ามอเตอร์มีขั้วแม่เหล็ก 4 ขั้ว

ความเร็วซิงโครนัสคือ 120 x 50 /4 = 1500 รอบ ต่อ นาที ดังนั้นจะต้องควบคุมความเร็วรอบ
ให้มากกว่า 1500 รอบ ต่อนาที

ความถี่ที่ถูกผลิตออกมาจะมีการเปลี่ยนแปลงตามภาระไฟฟ้า จึงต้องมีการปรับความเร็วรอบให้เหมาะสม
เพื่อที่จะควบคุมให้ความถี่ออกมาคงที่






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 111.84.80.157 จันทร์, 21/9/2552 เวลา : 23:41  IP : 111.84.80.157   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 45697

คำตอบที่ 7
       เนื่องจากเป็นข้อจำกัดของ Induction Generator เอง ที่ไม่สามารถจ่ายกระแสไฟฟ้า Reactive ออกมาได้
จึงต้องมีตัวช่วย ( ที่วงกลมแดง ๆ เอาไว้นั่นแหละครับ) โดยต่อ Capacitor เป็นตัวจ่าย Reactive Power ออกมา
ค่าที่เหมาะสมว่าเท่าไหร่ต้องมีการคำนวณ

โปรดอย่าถามต่อว่า Reactive Power คืออะไร เพราะว่าคงต้องไปอ่านในหลักสูตรวิศวกรรมไฟฟ้าปีที่ 1

นักเรียนวัดลิงขบแบบผมตอบได้แค่เนี๊ยะเอง






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 111.84.80.157 จันทร์, 21/9/2552 เวลา : 23:57  IP : 111.84.80.157   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 45698

คำตอบที่ 8
      
ซิงโครนัสไม่ได้ก็จ่ายไฟฟ้าเข้าไลน์ไม่ได้แล้วจะเสียเวลาใช้มอเตอร์ทำไม อินดักชั่นมอเตอร์มันจ่ายพลังงานไม่ได้ที่ซิงโครนัสสปีด พอน้อยกว่ามันเป็นโหลด มากกว่ามันเป็นซอร์ทแต่ซิงค์ไม่ได้เพราะความถี่เกิน

ไม่งั้นเขาจะต้องแยกขดมาเอ็กไซต์เอากระแสภายนอกมาจ่ายแทนกระแสสลิปที่เป็นศูนย์ที่ซิงโครนัสสปีดไปทำไมมาเป็นร้อยปีจริงไหม

แต่ถ้าจะปั่นแบบใช้ตามงานวัดไม่สนใจซิงโครนัสก็โอเค มันกล้อมแกล้มใช้ได้ แต่ไม่ดีหรอกมันคุมกระแสและแรงดันได้ซะที่ไหนกัน กระแสน้อยแรงดันสูงกระแสมากแรงดันตก ไม่อย่างนั้น AVR มันคิดมาในโลกนี้กันทำไมให้เปลืองเงิน

การผลิตพลังงานโดยมอเตอร์อินดักชั่นมันได้แค่เอาสนุกๆเท่านั้นแหละ ราคามอเตอร์อินดักชั่นกับเจ็นเนอเรเตอร์แบบเซลเอ็กไซต์ก็ไม่ต่างกันมากแล้วไปใช้อินดักชั่นมอเตอร์ให้ปวดกบาลกับปัญหาเองคุมกระแสแรงดันไปทำไมจริงไหม

ระบการเดินรถไฟฟ้ามันต้องใช้ DC ก็เพราะเหตุผลนี้แหละ หลีกเลี่ยงซิงโครนัสสปีดเพื่อเอารีเจ็นเนอเรติ้งเพาเวอร์ตอนเบรคกับลดความเร็วป้อนพลังงานกลับเข้าระบบ

ตอบเท่าที่เคยเรียนช่างซ่อมวิทยุโทรทัศน์ ส.สะพานมอญจะตอบได้ ครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.89.58 อังคาร, 22/9/2552 เวลา : 00:52  IP : 125.24.89.58   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 45699

คำตอบที่ 9
       พอกันเลย สองท่านนี้ คนนึงก็วัดลิงขบ คนนึงก็ ส. สะพานมอญ

นึกถึงรถบังคับไฟฟ้า ที่ใช้ทรานซีสเตอร์สร้างระบบเบรคอัตโนมัติ แทนที่จะตัดกระแสทิ้ง ทำให้รถไหลไปชนสิ่งกีดขวางด้านหน้า



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

tommy_prerunner จาก Tommy TOC812 113.53.5.182 อังคาร, 22/9/2552 เวลา : 09:07  IP : 113.53.5.182   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 45705

      

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  



website รองรับการใช้งานทุกระบบปฏิบัติการของ PC Tablet SmartPhone ทุกระบบสามารถโพสข้อความและรูปภาพได้โดยไม่ต้องย่อไฟล์
เพื่อความปลอดภัยในการใช้ website WeekendHobby.Com สมาชิก เท่านั้น จึงจะตั้งกระทู้ หรือ ตอบกระทู้ได้ครับ
Login Click ที่นี่
สมัครสมาชิก Click ที่นี่



Since 22, Feb 2001 hit counter View My Stats  Truehits.net      วันศุกร์,26 เมษายน 2567 (Online 5039 คน)