WeekendHobby.com
เครื่องมือในการใช้งาน website =>> สมัครสมาชิก | Login | Logout | เปลี่ยนไอคอนส่วนตัว | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อโฆษณา         View stat by Truehits.net


ผมกำลังจะทำโปรเจค Solar Plant ประมาณ 1 เมกกะวัตต์ มีคำแนะนำอะไรบ้างมั๊ยครับผม
แนนน้อยเน
จาก แนนน้อยเน
IP:114.128.133.114

จันทร์ที่ , 14/9/2552
เวลา : 20:55

อ่านแล้ว = ครั้ง
 เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งตรวจสอบกระทู้
 แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน ส่งหาเพื่อน

       พอดีนายอยากเปลี่ยนแนวจากทำเหมืองอย่างเดียวมาทำพลังงานทดแทนครับ ศึกษามาหลายอย่างตัดสินใจจะเอาโซล่านี่แหละครับ ตอนนี้กำลังหาผู้รับเหมาแล้วก็หาราคาที่เหมาะสมเพื่อนำเสนอครับ(จริง ๆ จะทำมากกว่านี้ครับ)


 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

แจ้งเพื่อเก็บขึ้นกระทู้พิเศษ คลิ๊กที่นี่แจ้งเพื่อนำขึ้นกระทู้พิเศษ

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  2  

คำตอบที่ 1
       ใช้แบบ Solar cell หรือเป็นแบบรวมแสงครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.46.211 จันทร์, 14/9/2552 เวลา : 21:19  IP : 115.67.46.211   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 45396

คำตอบที่ 2
       ผมว่าแบบรวมแสงน่าจะมีความเป็นไปได้สูงกว่านะครับพี่หนุ่ม ตอนนี้ก็เห็นว่ามีการเริ่มทำชุดที่2 ที่3 ทยอยออกมาติดตั้งแล้วมั้งครับ รุ่นพี่ผมเค้ากำลังทำโครงการนี้อยู่ไม่รู้ว่าจะรุ่งหรือดับ เพราะว่าไปแล้วชุดแรกผมก็ยังไม่เห็นว่าเขาติดตั้งแล้วใช้งานได้จริงไหม ไม่ได้เห็นของจริงครับ ผมเป็นผู้ผลิตเฉพาะัตัวแผงสะท้อนแสงอย่างเดียว แต่ก็ทำส่งออกไปเยอรมันหลายชุดแล้วฝรั่งเอาไปติดตั้งเอง ในความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ ยังมีจุดที่ยังเป็นข้อจำกัดของการใช้งานจริงอยู่อีกค่อนข้างเยอะ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

freewind จาก Freewind 125.27.62.31 จันทร์, 14/9/2552 เวลา : 23:53  IP : 125.27.62.31   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 45398

คำตอบที่ 3
       ผมถามเหมือนหนุ่มกระโทกนั่นแหละว่าเป็น Photovoltaic หรือ Solar collector

ไม่แนะนำให้ลงทุนกับพวกของเมืองจีนกับของโนเนมราคาถูกนะครับ นั่นมันของเด็กเล่นเจอแดดเจอฝนเมืองไทยสามเดือนหกเดือนก็เริ่มรวนเริ่มจะพังแล้ว

เล่นของยุโรปแบรนด์เนมดีๆจะดีกว่า อย่างน้อยก็ใช้งานได้สามปีอัพถึงเริ่มเสื่อมสภาพ ห้าปียังพอเหลือซากบ้าง ไอ้ยี่สิบปีขี้คุยนี่มันไม่เคยรอดในสภาพอากาศบ้านเราหรอกครับ


เตรียมเงินทั้งระบบไว้สัก watt ละ 15USD

1MW ก็ต้องมีเงินสัก 15x1,000,000x35

initial cost ห้าร้อยล้านกว่าๆเท่านั้นเองครับ ยังไม่รวม operation cost

จะขายพลังงานกลับได้สักกี่เปอร์เซ็นต์ของเงินลงทุนก็ยังไม่รู้ ลองทำ feasibility คำนวนจุดคุ้มทุนดีๆเน้อ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.63.40 อังคาร, 15/9/2552 เวลา : 01:19  IP : 125.24.63.40   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 45400

คำตอบที่ 4
       ผมเป็นตัวแทนจำหน่ายโซลาร์เซลล์ ทั้งแบบที่ยังเป็นเวเฟอร์ แบบเซลล์ และประกอบเป็นโมดูลครับ ถ้าสนใจข้อมูลก็ติดต่อมาได้ครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก ตูม 58.8.93.233 อังคาร, 15/9/2552 เวลา : 08:34  IP : 58.8.93.233   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 45427

คำตอบที่ 5
       ตอนนี้มีที่ออนไลน์ใช้แล้วของบริษัทไทย บริษัทหนึ่ง ค่าที่ได้น่าสนใจอยู่ครับพี่หนุ่ม อ.วอน เงินลงทุนอยู่ที่ประมาณ กิโลวัตต์ละ 112000 บาทครับผม จุดค้มทุนอยู่ที่ประมาณ 6 ปีครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

แนนน้อยเน จาก แนนน้อยเน(มอมแมม) 222.123.58.6 อังคาร, 15/9/2552 เวลา : 11:08  IP : 222.123.58.6   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 45431

คำตอบที่ 6
       ของจีนแผ่นถูกมากครับ อ.วอน แต่ก็อย่าง อ.ว่าครับ ผมไม่กล้าเล่นเหมือนกัน แต่นายอยากได้ของถูก และมีบริษัทต่างประเทศที่น่าเชื่อถือได้อีกบริษัทหนึ่ง เสนอมาแพงกว่าอยู่ประมาณ 30 เปร์เซนต์ครับผม



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

แนนน้อยเน จาก แนนน้อยเน(มอมแมม) 222.123.58.6 อังคาร, 15/9/2552 เวลา : 11:12  IP : 222.123.58.6   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 45432

คำตอบที่ 7
      

เฉลี่ยวัตต์ละ 3.2USD เป็นอะไรที่บอกให้ระวังตัวครับ





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

baron จาก von Richthofen 125.24.94.137 อังคาร, 15/9/2552 เวลา : 11:27  IP : 125.24.94.137   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 45433

คำตอบที่ 8
       ธรรมชาติของแผ่นโซล่าเซลล์ที่ผลิตในจีนและบ้านเราใช้งานได้ไม่มากถึง 20 ปีเหรอครับ อ.วอน



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

แนนน้อยเน จาก แนนน้อยเน(มอมแมม) 222.123.58.6 อังคาร, 15/9/2552 เวลา : 11:54  IP : 222.123.58.6   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 45434

คำตอบที่ 9
       ห้าปีก็โคตรเทพแล้วครับ


หลังจากนั้น eff ก็ลดลงเรื่อย ๆ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.209.9 อังคาร, 15/9/2552 เวลา : 12:24  IP : 115.67.209.9   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 45436

คำตอบที่ 10
      

มองในเเง่ธุรกิจเเล้วก็ยิ่งน่าสงสัยนะครับ

ว่าทำไมผลการใช้งานตามที่ จขกท.เเจ้งมาคุ้มทุน 6 ปี เเละใช้ได้ถึง 20 ปี นั้น

ทำไมไม่เป็นที่เเพร่หลาย จนดูเหมือนว่าโอกาสทองนี้มาหาเราเเบบเห็นช่างสะดวกสบายอะไรเช่นนี้

สงสัยจริงๆ ครับ ตรวจสอบให้ชัดเจนถี่ถ้วนก่อนลงทุนนะครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

kupree จาก kupree 125.26.92.201 อังคาร, 15/9/2552 เวลา : 13:02  IP : 125.26.92.201   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 45437

คำตอบที่ 11
      

หากมุ่งมาเเนวทางพลังงานทดเเทนเเล้ว ไม่ลองตั้งเป็นคำถามปลายเปิด เพื่อหาเเนวทาง "ที่พอเป็นไปได้ " หลายๆ เเนว โดยปรึกษาอ. von , คุณหนุ่มกระโทก หรือพี่น้องที่มีความรู้ความสามารถในบอร์ดนี้ก็มีอยู่มากมายหลายคน ซึ่งรู้จักเห็นหน้าเห็นตา ปรากฎเเห่งหนตำบลชัดเจนไม่ใช่คนไร้สัญชาติ เเว่บมาเเว่บไป คอยหลอกชาวบ้านไปวันๆ

เเล้วค่อยเลือกเอาเเนวทางที่น่าสนใจ 2-3 เเนวทางสุดท้าย นำกลับไปปรึกษาเจ้านายว่ามีตัวเลือกให้ท่านเลือก 2-3 เเนวทางนี้ มีเหตุผลดังนี้ ๆๆๆ ...

เป็นผมใครมาเสนอเเบบนี้ เอาไปเลยโบนัส 2 เดือน ตอนตรุษจีน



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

kupree จาก kupree 125.26.92.201 อังคาร, 15/9/2552 เวลา : 13:26  IP : 125.26.92.201   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 45438

คำตอบที่ 12
       ยกหางผมมากไปแล้วครับ มิน่า ตอนนี้รู้สึกว่าหัวจะทิ่มอยู่บ่อย ๆ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.209.9 อังคาร, 15/9/2552 เวลา : 13:48  IP : 115.67.209.9   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 45439

คำตอบที่ 13
       คนขายจะพูออย่างไรอย่าเพิ่งไปสนใจครับ

ก่อนอื่น เราต้องหาเรื่องความเข้มของรังสีในประเทศไทยเสียก่อน
มีงานวิจัย พัฒนาแบบจำลองหาความเข้มของรังสีรายชั่วโมงเฉลี่ยต่อเดือน
โดยพิจารณากระบวนการส่งผ่าน การดูดกลืน และการสะท้อนรังสีของดวงอาทิตย์
โดยอาศัยภาพถ่ายจากดาวเทียมอุตุนิยมวิทยา GMS

ในช่วงเดือนมกราคมถึงเมษายน
พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศได้รับรังสีตรงค่อนข้างสูง (14-17 MJ/m2-day) ทั้งนี้เพราะช่วงเวลา
ดังกล่าว เป็นช่วงฤดูแล้ง (dry season) ท้องฟ้าส่วนใหญ่แจ่มใสปราศจากเมฆ รังสีดวงอาทิตย์ส่วน
ใหญ่จึงเป็นรังสีตรง ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นไป รังสีตรงจะค่อยๆ ลดลงจนถึงเดือนกันยายน
ทั้งนี้เพราะช่วงเวลาดังกล่าวประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ท้องฟ้ามักมี
เมฆปกคลุมทำให้รังสีตรงมีค่าลดลง หลังจากนั้นรังสีตรงในตอนกลางภาคเหนือ และภาค
ตะวันออกเฉียงเหนือจะค่อยๆ เพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคมจนถึงเดือนธันวาคม

เพราะช่วงเวลาดังกล่าวประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ท้องฟ้าส่วนใหญ่ในภาคกลาง
ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือค่อนข้างแจ่มใส รังสีตรงที่รับจึงมีค่าสูง สำหรับช่วงเวลา
เดียวกัน ภาคใต้ยังคงมีค่ารังสีตรงต่ำ เนื่องจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านอ่าวไทยจะนำ
ความชื้นมายังภาคใต้ ทำให้มีเมฆมากและมีฝนตก รังสีตรงจึงมีค่าต่ำ

เมื่อพิจารณาพลังงานจากรังสีตรงที่ได้รับรวมทั้งปี บริเวณที่ได้รับรังสี
ตรงสูงสุด จะอยู่ในภาคกลางโดยครอบคลุมบางส่วนของจังหวัดสิงห์บุรี ชัยนาท ลพบุรี และ
นครสวรรค์ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างในพื้นที่บางส่วนของจังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิ
ร้อยเอ็ด ยโสธร สุรินทร์ และอุบลราชธานี โดยพื้นที่ดังกล่าวได้รับรังสีตรงต่อปีในช่วง 1,350-1,400
kWh/m2-yr)



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.106.107 อังคาร, 15/9/2552 เวลา : 17:37  IP : 115.67.106.107   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 45452

คำตอบที่ 14
      





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.106.107 อังคาร, 15/9/2552 เวลา : 17:40  IP : 115.67.106.107   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 45453

คำตอบที่ 15
       กุมภาพันธ์






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.106.107 อังคาร, 15/9/2552 เวลา : 17:50  IP : 115.67.106.107   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 45455

คำตอบที่ 16
       มีนาคม





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.106.107 อังคาร, 15/9/2552 เวลา : 17:53  IP : 115.67.106.107   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 45456

คำตอบที่ 17
       เมษายน





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.106.107 อังคาร, 15/9/2552 เวลา : 17:54  IP : 115.67.106.107   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 45457

คำตอบที่ 18
       พฤษภาคม





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.106.107 อังคาร, 15/9/2552 เวลา : 17:55  IP : 115.67.106.107   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 45459

คำตอบที่ 19
       มิถุนายน





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.106.107 อังคาร, 15/9/2552 เวลา : 17:56  IP : 115.67.106.107   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 45460

คำตอบที่ 20
       กรกฏาคม





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.106.107 อังคาร, 15/9/2552 เวลา : 17:58  IP : 115.67.106.107   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 45461

คำตอบที่ 21
       สิงหาคม





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.106.107 อังคาร, 15/9/2552 เวลา : 17:59  IP : 115.67.106.107   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 45462

คำตอบที่ 22
       กันยายน





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.106.107 อังคาร, 15/9/2552 เวลา : 18:01  IP : 115.67.106.107   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 45463

คำตอบที่ 23
       ตุลาคม





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.106.107 อังคาร, 15/9/2552 เวลา : 18:02  IP : 115.67.106.107   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 45464

คำตอบที่ 24
       พฤศจิกายน





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.106.107 อังคาร, 15/9/2552 เวลา : 18:03  IP : 115.67.106.107   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 45465

คำตอบที่ 25
       ธันวาคม





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.106.107 อังคาร, 15/9/2552 เวลา : 18:04  IP : 115.67.106.107   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 45467

คำตอบที่ 26
       ข้อมูลเฉลี่ย 11 ปี







 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.106.107 อังคาร, 15/9/2552 เวลา : 18:07  IP : 115.67.106.107   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 45468

คำตอบที่ 27
       สำหรับกรณีของการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ระบบความร้อนแบบรวมแสง
(concentrating solar power) ในช่วง 20 ปี ที่ผ่านมา ได้มีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีนี้อย่างกว้างขวาง
จนถึงขั้นการจัดตั้งโรงไฟฟ้าเพื่อป้อนกระแสไฟฟ้าเข้าสู่ระบบสายส่งในเชิงพานิชย์ โดยในปัจจุบันมี
โรงงานไฟฟ้าแบบ ดังกล่าวในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา จำนวน 9 โรง ซึ่งมีกำลังการผลิต
รวม 350 MWe ปริมาณไฟฟ้าดังกล่าวคิดเป็น 90 % ของการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ทั่วโลก
หรือเป็นกำลังไฟฟ้าที่สามารถตอบสนองความต้องการของ 350,000 ครัวเรือน นอกจากนี้ยังมีโรงไฟฟ้า
พลังงานแสงอาทิตย์ระบบความร้อนอีกหลายแห่งที่อยู่ในระหว่างดำเนินการก่อสร้าง โดยต้นทุนการ
ผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าแบบนี้จะต่ำกว่าการใช้โซลาร์เซลล์ และมีแนวโน้มที่จะสามารถแข่งขันได้กับ
พลังงานในรูปแบบต่างๆ ได้ในอนาคต

อย่างไรก็ตาม สมรรถนะของการผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ระบบความร้อนขึ้นกับรังสีตรง
ของดวงอาทิตย์ (direct normal irradiance) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของรังสีรวมของดวงอาทิตย์ โรงไฟฟ้า
พลังงานแสงอาทิตย์ระบบความร้อนจะมีสมรรถนะสูงในกรณีที่ตั้งอยู่ในบริเวณที่มีค่าสูง

ประเภทของเทคโนโลยีการผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ระบบความร้อนแบบรวมแสง

ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมาสามารถแบ่งได้เป็นแบบต่างๆ ได้ 3 แบบ ดังนี้

ระบบใช้ตัวรับรังสีดวงอาทิตย์แบบรางพาราโบลา (parabolic trough)
ตัวรับรังสีดวงอาทิตย์แบบรางพาราโบลา เป็นตัวรับรังสีดวงอาทิตย์ (solar collector) ซึ่ง
ทำงานโดยใช้หลักการรวมรังสีดวงอาทิตย์ด้วยการสะท้อนจากผิวโค้งรูปพาราโบลาที่เป็นรางยาว
โดยตัวรับรังสีดังกล่าวประกอบด้วยตัวสะท้อนรังสี (reflector) และท่อรับรังสี (receiver)





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.106.107 อังคาร, 15/9/2552 เวลา : 18:25  IP : 115.67.106.107   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 45469

คำตอบที่ 28
       แผนภูมิการทำงาน






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.106.107 อังคาร, 15/9/2552 เวลา : 18:29  IP : 115.67.106.107   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 45470

คำตอบที่ 29
       ระบบผลิตไฟฟ้าแบบหอคอย (power tower)
ระบบผลิตไฟฟ้าแบบหอคอย จะประกอบด้วยหอคอย (tower) และระบบกระจกสะท้อน
แสงแผ่นราบ (heliostat) โดยกระจกแต่ละแผ่นจะสะท้อนแสงอาทิตย์ไปรวมกันที่หอคอย ซึ่งมีตัวรับ
รังสีดวงอาทิตย์ที่มีของไหลไหลผ่าน เพื่อพาพลังงานความร้อนที่ได้ไปใช้ขับเคลื่อนเครื่องยนต์สำหรับ
ผลิตไฟฟ้า ของไหลที่ใช้มีทั้งเกลือหลอมละลาย (molten salt) น้ำ และอากาศ





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.106.107 อังคาร, 15/9/2552 เวลา : 18:34  IP : 115.67.106.107   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 45471

คำตอบที่ 30
      





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

somsaks จาก หนุ่มกระโทก 115.67.106.107 อังคาร, 15/9/2552 เวลา : 18:39  IP : 115.67.106.107   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 45472

      

ยังมีคำตอบมากกว่านี้นะครับ คลิ๊กเพื่อดูหน้าถัดไป


คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  2  



website รองรับการใช้งานทุกระบบปฏิบัติการของ PC Tablet SmartPhone ทุกระบบสามารถโพสข้อความและรูปภาพได้โดยไม่ต้องย่อไฟล์
เพื่อความปลอดภัยในการใช้ website WeekendHobby.Com สมาชิก เท่านั้น จึงจะตั้งกระทู้ หรือ ตอบกระทู้ได้ครับ
Login Click ที่นี่
สมัครสมาชิก Click ที่นี่



Since 22, Feb 2001 hit counter View My Stats  Truehits.net      วันอังคาร,30 เมษายน 2567 (Online 5746 คน)