WeekendHobby.com
เครื่องมือในการใช้งาน website =>> สมัครสมาชิก | Login | Logout | เปลี่ยนไอคอนส่วนตัว | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อโฆษณา         View stat by Truehits.net


ผมอยากรู้เรื่อง turbo ช่วยสอนผมหน่อย

จาก หนุ่ม
IP:124.120.106.213

ศุกร์ที่ , 10/11/2549
เวลา : 08:25

อ่านแล้ว = ครั้ง
 เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งตรวจสอบกระทู้
 แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน ส่งหาเพื่อน

       ผมอยากมีความรู้เรื่อง turbo ครับว่าหลักการทำงานเป็นอย่างไร ใครช่วยเขียนเป็น drawing ให้ผมดูได้บ้างครับ อยากมีความรู้ได้แต่เห็นเขาติดกันต้องต่อโน่นนี่นั่น เยอะไปหมดช่วยทีครับ


 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

แจ้งเพื่อเก็บขึ้นกระทู้พิเศษ คลิ๊กที่นี่แจ้งเพื่อนำขึ้นกระทู้พิเศษ

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  

คำตอบที่ 1
       นึกว่าติดเสร็จไปแล้วนะเนี่ย ทำเยอะแน่ครับ ฝาปั้ม/เขาควายไอเสีย/เขาควายไอดี/ท่อไอเสียทั้งเส้น เยอะยังหว่า



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก mr.ปัญ 202.28.180.201 ศุกร์, 10/11/2549 เวลา : 11:32  IP : 202.28.180.201   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 14779

คำตอบที่ 2
       ขึ้นอยู่กะ งบ อ่ะครับ
มีมากก็ติดโน่นติดนี่ เยอะ หน่อย อิอิ
หลักการก็ คือ เอาไอเสีย ไปปั่น ใบ เทอร์โบ
เพื่อให้ใบเทอร์โบ ปั่นอากาศ เข้าเร็วขึ้นมากขึ้น
และเป็นธรรดา เข้าเร็วขึ้นมากขึ้น ก็ต้องระบายให้เร็วขึ้นใหญ่ขึ้น (ท่อไอเสียอ่ะครับ ) และก็เป็นธรรดาอีกอ่ะครับเข้าเร็วขึ้นมากขึ้น ก็ต้องกินมากขึ้นไปด้วยครับ (ปั้มดีเซล)



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก เดิมพัน NFC 251 203.118.124.19 ศุกร์, 10/11/2549 เวลา : 14:03  IP : 203.118.124.19   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 14784

คำตอบที่ 3
       เอาไปอ่านเล่นเล่นก่อน เดียวเมื้ออื้น ( พรุ่งนี้ ) จะเอาการทำงานมาให้ดูครับ
TURBO ทำไมต้องแรง

--------------------------------------------------------------------------------

เทอร์โบ เป็นอุปกรณ์ชิ้นหนึ่ง ที่สามารถเพิ่มความแรงให้กับเครื่องยนต์ จนเป็นชื่อเรียกติดปากถึงความแรงว่า เมื่อไรที่มีเทอร์โบแล้วต้องแรง จนแพร่ไปถึงการเปรียบเปรยในเรื่องอื่น เช่น แรง-เร็ว ยังกับติดเทอร์โบ

TURBO ทำไมต้องแรง
เทอร์โบ คือ อุปกรณ์อัดอากาศชนิดหนึ่ง ทำหน้าที่อัดไอดีเข้ากระบอกสูบ ด้วยแรงดันและมวลของอากาศที่มากกว่าแรงดูดจากการเลื่อนลงของลูกสูบของเครื่องยนต์ปกติ

เครื่องยนต์ที่ไม่มีระบบอัดอากาศ จะสามารถประจุไอดีได้เพียง 70-100% ของความจุกระบอกสูบ เพราะการเลื่อนตัวลงของกระบอกสูบ แม้จะมีแรงดูดสูง แต่ยังไงก็ยังเป็นการดูด ทั้งยังมีสารพัดชิ้นส่วนขวางการไหลของอากาศ เช่น วาล์ว ลิ้นปีกผีเสื้อ ไส้กรองอากาศ ฯลฯ จึงทำให้การดูดอากาศนั้นไม่เต็มที่ 100% ของแรงดูด

ถ้างง ให้เปรียบเทียบกับคน ที่มีปอดขยายตัวคอยสูดอากาศ แต่อากาศก็ยังเข้าไปได้แค่พอประมาณ เพราะต้องดูดผ่านจมูกรูแคบ ๆ ทั้งยังมีขนจมูกคอยกันอยู่ด้วย

ในส่วนของการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการดูดอากาศ ยังไงก็ยังเป็นการดูดมวลของอากาศที่เข้าไป เต็มที่ก็ใกล้เคียง 100% เท่านั้น

แม้ว่าเครื่องยนต์จะมีประสิทธิภาพในการดูดอากาศได้สูงเพียงใด แต่ก็เป็นไปในช่วงแคบ ๆ ของรอบการทำงานเท่านั้น เพราะเมื่อรอบเครื่องยนต์เปลี่ยนไปตามจังหวะการเปิด-ปิดวาล์ว อากาศที่ไหลเข้าสู่กระบอกสูบก็จะน้อยลง อีกทั้งยังมีอุปกรณ์อื่น เช่น พอร์ท วาล์ว ฯลฯ ขัดขวางการไหลของอากาศจนสามารถบรรจุไอดีได้เพียง 75-90% เท่านั้น

เครื่องยนต์ที่ติดเทอร์โบ ช่วยอัดอากาศตั้แงต่รอบเครื่องยนต์หมุนปากกลางขึ้นไป จะมีประสิทธิภาพในการประจุไอดีได้สูงในช่วงรอบเครื่องยนต์ที่กว้างกว่าเนื่องจากการอัดไอดีด้วยแรงดันอย่างต่อเนื่องไม่ใช่แค่แรงดูดจากการเลื่อนลงของลูกสูบ มวลอากาศที่ถูกอัดเข้าไปในกระบอกสูบจึงมีความหนาแน่นมากกว่าปกติ

เทอร์โบ ประกอบด้วยชุด เทอร์ไบน์ (กังหันไอเสีย) และคอมเพรสเซอร์ (กังหันไอดี) มีลักษณะคล้ายกังหัน 2 ตัว ติดตั้งอยู่บนแกนเดียวกัน ฟากละตัว หันหลังเข้าหากัน หมุนไปพร้อมกันตลอด ไม่มีระบบอากาศเชื่อมกัน และมีระบบหล่อลื่นช่วงกลางแกนกังหันด้วยน้ำมันหล่อลื่นที่ไหลเวียนจากปั๊มเครื่องยนต์

ชุดกังหันไอดี และกังหันไอเสีย จะหมุนไปพร้อมกัน โดยที่ชุดโข่งและกังหันไอเสีย ได้ติดตั้งอยู่กับท่อไอเสีย กังหันไอเสียจะหมุนด้วยการไหลและการขยายตัวของไอเสียที่ถูกส่งเข้ามา กลายเป็นต้นกำลังในการหมุนของแกนเทอร์โบ ต่อจากนั้นไอเสียก็จะถูกระบายทิ้งไปตามปกติทางท่อไอเสียไปยังด้านท้ายของรถยนต์

ความเร็วในการหมุนของกังหันไอเสีย ผกผันอยู่กับความร้อนและปริมาณไอเสียทั้งหมดที่ถูกส่งเข้ามา

การทำงานของเทอร์โบ ไม่ใช่เป็นความเข้าใจผิด ๆ ของบางคนว่า เทอร์โบ เป็นการใช้ไอเสียกลับเข้าสู่เครื่องยนต์ ซึ่งไม่มีเหตุผลที่จะทำเช่นนั้น เพราะไอเสียร้อนและแทบไม่มีออกซิเจนที่ช่วยในการเผาไหม้อยู่เลย

เมื่อกังหันไอเสียหมุนด้วยกำลังจากไอเสีย กังหันไอดีที่ติดตั้งอยู่บนแกนเดียวกันอีกฟากหนึ่ง จะหมุนดูดอากาศแล้วอัดเข้าสู่กระบอกสูบผ่านท่อไอดีด้วยแรงดันที่เรียกว่า แรงดันเสริม (BOOST PRESSURE)แรงดันที่สูงกว่าบรรยากาศปกติ

เทอร์โบ สามารถสร้างแรงดันเสริมให้สูงขึ้นได้หลายระดับ ตามการออกแบบหรือตามการควบคุม แต่ถ้าใช้แรงดันสูงเกินไป ชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์อาจเสียหายได้

แม้กังหันไอเสีย และกังหันไอดีจะหมุนทำงานต่อเนื่องบนแกนเดียวกันแต่ทั้ง 2 กังหันมิได้มีอากาศหมุนเวียนต่อเนื่องกันเลย ไอเสีย เมื่อมาหมุนกังหันไอเสีย และก็ปล่อยทิ้งออกไป ส่วนกังหันไอดีมีต้นกำลังจากการหมุนของกังหันไอเสีย ก็ดูดอากาศบริสุทธิ์จากข้างนอกเข้ามา

การทำงานของเทอร์โบ มิได้ทำให้เครื่องยนต์สูญเสียพลังงานส่วนใดมากนักเลย เพราะเป็นการนำพลังงานความร้อนจากการขยายตัวของไอเสียที่จะต้องทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ มาใช้หมุนกังหันไอเสีย เปลี่ยนเป็นพลังงานกลก่อนที่จะระบายทิ้งไป แต่อาจมีแรงดันน้อยกลับ เกิดขึ้นในระบบไอเสียบ้างเล็กน้อย ซึ่งเมื่อเทียบกับเครื่องยนต์ที่ไม่ได้ติดเทอร์โบ ซึ่งใช้หม้อพักแบบไส้ย้อน ก็จะเกิดแรงดันย้อนกลับในระบบไอเสียมากกว่ากันไม่เท่าไร

ในการทำงานสูงสุด แกนเทอร์โบอาจหมุนนับแสนรอบต่อนาทีและมีความร้อนสูง จึงต้องมีการหล่อลื่นด้วยน้ำมันเครื่อง โดยถูกส่งจากปั๊มขึ้นมาไหลผ่านแล้วก็ไหลกลับลงอ่างน้ำมันเครื่อง หรืออาจเสริมการลดความร้อนด้วยการหล่อเลี้ยงภายนอกด้วยน้ำ (แยกจากน้ำมันเครื่อง)

เมื่อดับเครื่องยนต์ ปั๊มน้ำมันเครื่องก็จะหยุดการทำงาน ไม่ส่งน้ำมันเครื่อง ถ้าแกนเทอร์โบร้อนเกินไป อาจเผาน้ำมันเครื่องให้เป็นตะกรันแข็งขึ้นได้ ตะกรันนี้อาจทำลายซิลภายในเทอร์โบที่ต้องป้องกันไม่ให้น้ำมันเครื่องไหลออกทางกังหันทั้ง 2 ข้างจนเกิดควันสีขาวจากการเผาน้ำมันเครื่อง ดังนั้นก่อนดับเครื่องยนต์ควรปล่อยเครื่องยนต์เดินเบาไว้ 1-5 นาที ตามความร้อนที่ขับมา เพื่อให้แกนเทอร์โบเย็นลงก่อนที่น้ำมันเครื่องจะหยุดไหลเวียน

แกนเทอร์โบจะหมุนอยู่ตลอดเวลาตั้งแต่เครื่องยนต์ทำงาน เพียงแต่ว่ายังไม่สามารถอัดอากาศตั้งแต่รอบต่ำ เพราะแรงดูดของลูกสูบมีมากกว่า ไอเสียที่ข้ามาปั่นกังหันไอเสียมีน้อย และแกนเทอร์โบยังหมุนช้าอยู่ เมื่อเร่งรอบเครื่องยนต์ ไอเสียที่มาปั่นกังหันไอเสียมีมากขึ้นกังหันไอดีหมุนเร็วขึ้น มีการดูดอากาศและอัดสู่กระบอกสูบด้วยมวลที่มากกว่าแรงดูดเริ่มเป็นแรงดัน (บูสท์) กำลังของเครื่องยนต์จึงมากขึ้นจากการเผาไหม้อากาศที่มากขึ้นอย่างรุนแรงขึ้น

การอัดอากาศ ต้องมีขีดจำกัด ถึงจะอัดมากและแรงขึ้นมาก แต่ชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์อาจเสียหายได้ จากแรงดันที่เพิ่มขึ้น จึงต้องมีการควบคุมโดยระบายไอดีทิ้งบ้าง หรือปล่อยไอเสียไม่ให้ไหลผ่านกังหันไอเสียเพื่อลดรอบการหมุนของกังหันไอดี ไม่ให้เทอร์โบมีการดูดและอัดอากาศมากเกินไป ซึ่งล้วนเป็นการควบคุมไม่ให้แรงดันไอดี มีแรงดันมากเกินไป โดยนิยมใช้วิธีหลังกันมากกว่า ซึ่งจะมีกระเปาะรับแรงดันจากท่อไอดี และมีแกนต่อไปยังลิ้นบังคับการระบายไอเสียไม่ให้ผ่านกังหันไอเสีย

ถ้าแรงดันในท่อไอดีชนะแรงดันของสปริงภายในกระเปาะ แกนก็จะดันให้ลิ้นบังคับไอเสียเปิดระบายไอเสียไม่ให้ผ่านกังหันไอเสีย จนกว่าแรงดันในท่อร่วมไอดีจะลดลงตามที่ควบคุมไว้ แกนบังคับจึงจะปิดให้ไอเสียปั่นกังหันไอเสียได้ต่อไป

เทอร์โบจะทำงานตามปริมาณไอเสีย ไม่ได้ทำงานเฉพาะความเร็วสูง ถ้าใช้เทอร์โบเล็ก กังหันไอเสียหมุนเร็วตั้งแต่รอบเครื่องยนต์ต่ำ อัดอากาศได้เร็ว แต่ในรอบสูงจะตื้อ เพราะไอเสียไหลได้ไม่ทัน เทอร์โบตัวใหญ่ สร้างแรงดันได้ช้า รอรอบนาน แต่ไอเสียไหลคล่อง จึงควรใช้เทอร์โบขนาดพอเหมาะกับซีซีของเครื่องยนต์

ถ้างงเรื่องการอัดอากาศแล้วแรง ให้เปรียบเทียบกับคน ที่ปกติมีการหายใจด้วยการขยายตัวหรือแรงดูดของปอด ก็จะมีเรี่ยวแรงในระดับปกติ แต่ถ้ามีอากาศอัดช่วยแบบการให้ออกซิเจน ย่อมต้องมีเรี่ยวแรงมากขึ้น ทั้งที่อวัยวะในร่างกายยังเหมือนเดิม แต่ถ้าอัดอากาศเข้าด้วยแรงดันที่มากเกินไป ปอดก็แตกตาย

นั่นคือบทสรุปสั้น ๆ ของการเพิ่มกำลังของเครื่องยนต์ด้วยการอัดอากาศจากเทอร์โบ คือ ไม่ต้องมีการขยายความจุกระบอกสูบ-ซีซี ซึ่งการเพิ่มซีซีของเครื่องยนต์มีจุดด้อยมากมาย แต่ก็ต้องมีการเพิ่มความแข็งแรงของหลายชิ้นส่วนเตรียมรองรับแรงดันและมวลของอากาศที่เพิ่มขึ้นกว่าปกติ ดังที่ทราบกันว่า เครื่องยนต์ที่มีซีซีและระบบพื้นฐานต่าง ๆ ใกล้เคียงกัน ซึ่งมีและไม่มีเทอร์โบ เครื่องยนต์ที่มีเทอร์โบจะมีทั้งกำลังม้าและแรงบิดมากกว่าอยู่ไม่มากก็น้อย

แต่มิได้หมายความว่า เครื่องยนต์ที่ติดตั้งเทอร์โบ จะต้องมีแรงดุจเครื่องยนต์ของรถแข่ง เพราะต้องขึ้นอยู่กับแรงดันและมวลของอากาศที่ถูกควบคุมหรือออกแบบกำหนดไว้ เครื่องยนต์เทอร์โบในสายการผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่ มักควบคุมให้มีแรงดันของอากาศ (บูสต์) ไม่สูงหรือที่เรียกกันว่า เครื่องยนต์แบบ LIGHT TURBO เพราะเป็นการเน้นการเพิ่มกำลังของเครื่องยนต์ให้มีกำลังดีตั้งแต่รอบต่ำและเป็นช่วงกว้างเท่านั้น

โดยทั่วไปแล้ว การดูแลเครื่องยนต์ที่ติดตั้งเทอร์โบ มีความยุ่งยากกว่าเครื่องยนต์ที่ไม่ได้ติดตั้งเทอร์โบ เพียงพอสมควร คือ ควรใช้น้ำมันเครื่องคุณภาพสูง และมีการปล่อยให้เครื่องยนต์เทอร์โบเดินเบาก่อนการดับเครื่องยนต์สัก 1-5 นาที ตามความร้อนที่สะสมอยู่ ถ้าขับคลาน ๆ ในเมือง ก็ปล่อยให้เครื่องยนต์เดินเบาแค่ช่วงสั้นๆ ถ้าอัดทางยาวมาก็ปล่อยให้เครื่องยนต์เดินเบาไว้นานหน่อย

ส่วนเครื่องยนต์ธรรมดาที่ไม่มีการติดตั้งเทอร์โบ หากเจ้าของต้องการติดตั้งเทอร์โบเพิ่มเข้าไป ต้องใช้อุปกรณ์ร่วมที่ดี และช่างต้องมีความเชี่ยวชาญ โดยจะต้องมีการเปลี่ยนชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์หรือไม่ ต้องดูกันเป็นกรณี ๆ ไป

การติดตั้งเทอร์โบเพิ่มเข้าไปในเครื่องยนต์ดีเซล ส่วนใหญ่ไม่ต้องมีการเปลี่ยนชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์ แต่ควรใช้แรงดันของอากาศ (บูสต์) ไม่เกิน 5-7 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว และถ้ามีการแต่งปั๊มจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มก็จะดีขึ้นไปอีก

การติดตั้งเทอร์โบเพิ่มเข้าไปในเครื่องยนต์เบนซิน ถ้าใช้แรงดันของอากาศ (บูสต์) ไม่เกิน 5-7 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว อาจไม่ต้องมีการเปลี่ยนชิ้นส่วนภายในเครื่องยนต์ แต่อาจต้องมีการเพิ่มอัตราการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นอย่างเหมาะสม นับว่าละเอียดอ่อนและยุ่งยากกว่าการติดตั้งเทอร์โบเพิ่มเข้าไปในเครื่องยนต์ดีเซล

ไม่ว่าจะเป็นเครื่องยนต์เบนซินหรือดีเซล ถ้ามีการติดตั้งเทอร์โบเพิ่มเติมภายหลัง แม้จะทำได้ดี เครื่องยนต์ไม่พังกระจาย แต่ก็ต้องยอมรับว่า เครื่องยนต์จะมีการสึกหรอเพิ่มขึ้น และมีอายุการใช้งานลดลงบ้างไม่มากก็น้อย

รายละเอียดของระบบเทอร์โบ มีมากมายกว่าเนื้อหาในคอลัมน์นี้ สามารถเขียนเป็นหนังสือได้หนาหลายร้อยหน้า




 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก Big one 203.113.40.84 ศุกร์, 10/11/2549 เวลา : 20:35  IP : 203.113.40.84   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 14793

คำตอบที่ 4
       เหอๆๆ ไม่แปลกครับที่ผมยังไม่ได้ติด กว่าผมจะยกรถก็กินเวลาหลายเดือนถามคนโน๊น ถามคนนี้ หาข้อมูลก่อนดีกว่า ทำแล้วจะได้สบายใจว่าเราศึกษาแล้วไม่ทำตามกระแส จะได้มานั่งกุมขมับ....กรูไม่น่าทำเล๊ย



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก หนุ่ม 124.120.106.130 เสาร์, 11/11/2549 เวลา : 08:57  IP : 124.120.106.130   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 14804

คำตอบที่ 5
       ขอบคุณคุณ Big One นะครับอ่านมา 2 รอบเข้าใจหลักการทำงานมากขึ้นครับ มีบทที่2 ต่อไม๊ครับอย่างพวกอุปกรณ์ที่เขาติดตั้งไป ทำไมต้องติดไม่ติดได้ป่าว ยกตัวอย่าง blow off valve ,regulator ปะไรประมาณนี้อะ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก หนุ่ม 124.120.106.130 เสาร์, 11/11/2549 เวลา : 09:25  IP : 124.120.106.130   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 14806

คำตอบที่ 6
      



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

twoman จาก twoman 58.9.162.189 เสาร์, 11/11/2549 เวลา : 11:15  IP : 58.9.162.189   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 14809

คำตอบที่ 7
       ได้ความรู้ดีครับ ผมกำลังจะซื้อเครื่องTD 42 อยากถามท่านผู้รู้ว่า ควรจะเอาไปติดเทอร์โบร์ที่ไหน ไซด์เท่าไร บูสท์กี่ปอนด์ และงบซักเท่าไรครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก DR.BOO 203.154.215.26 อาทิตย์, 12/11/2549 เวลา : 12:46  IP : 203.154.215.26   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 14825

คำตอบที่ 8
       พื้นฐานเทอร์โบ.....

เทอร์โบนั้นมีส่วนสำคัญอยู่คือ โข่งไอดี , โข่งไอเสีย , กังหันไอดี , กังหันไอเสีย , เสื้อกลางที่เป็นชิ้นเดียวกับแกนเทอร์โบ สำหรับตัวแกนเทอร์โบจะหมุนด้วยไอเสียจากเครื่องยต์ที ่ต่อเข้าไปในโข่งไอเสียและพาให้กังหันไอดีซึ่งอยู่บน แกนเดียวกันหมุนตาม จากนั้นไอเสียก็จะระบายออกทางท่อไอเสีย ส่นกังหันไอดีก็จะหมุนดูดอกาศเข้าไปในโข่งไอดี และอัดเข้าสู่เครื่องยนต์หรือจะผ่านทางอินเตอรืคูลเล อร์ก่อนก็ได้เพื่อลดความร้อน
การใช้ไอเสียที่ไหลออกมาด้วยความเร็วและมีความร้อนมา ก สามารถทำให้กังหันไอเสียหรือกังหันไอดี หมุนรอบสูงหลายหมื่อนรอบต่อนาทีหรือบางรุ่นก็หมุนเกิ นกว่าแสนรอบ เพราะมีทั้งการขยายตัวของความร้อนที่เกิดจากการเผาไห ม้และความเร็วของไอเสียที่เกิดจากการดันขึ้นของลูกสู บด้วยเมื่อกังหันไอเสียหมุนเร็ว กังหันไอดีก็จะหมุนเร็วตามไปด้วยทำให้สามารถอัดอากาศ เข้ากระบอกสูบได้ปริมาณมากและมีความหนาแน่นกว่าแรงดู ดจากการเลื่อนลงของลูกสูบ เมื่ออากาศเข้าสู่เครื่องยนต์มากขึ้นจึงสามารถเพิ่มก ารจ่ายน้ำมันมากขึ้น และด้วยส่วนผสมของอากาศกับน้ำมันที่เหมาะสมทำให้เครื ่องยนต์มีกำลังมากขึ้นนอกจากเอทร์โบจะเพิ่มกำลังให้ก ับเครื่องยต์แล้วยังใช้เพือ่ลดมลพิาของไอเสียด้วยเพร าะการอัดอากาศมีความหนาแน่นมากกว่าการดูดอากาศ ช่วยให้เครื่องยนต์ดีเซลเผาไหม้ได้หมดจดมากขึ้น

ว่ากันด้วยเรื่องความร้อน.....

เมื่อกังหันไอเสียต้องถูกไอเสียเป่าผ่านตลอดเวลาที่เ ครื่องยนต์ทำงาน จึงต้องรับความร้อนจากไอเสียและถ่ายเทความร้อนไปยังแ กนกลางซึ่งต้องรับภาระทั้งการหมุนรอบจัดและความร้อนส ูงแกนที่สอดอยู่กับบูธ แบริ่งหรือลูกปืนจึงจำเป็นต้องมีการหล่อลื่นและระบาย ความร้อนด้วยน้ำมันเครื่องที่มีการไหลเวียน โดยต่อท่อมาจากระบบหล่อลื่นหลักของเครื่องยนต์จากปั๊ มน้ำมันเครื่องแบ่งน้ำมันให้มาไหลผ่านเสื้อแกนกลางแล ะแกนเทอร์โบเพื่อหล่อลื่นและระบายความร้อนจากนั้นจึง ไหลลงสู่อ่างน้ำมันเครื่องดังนั้นน้ำมันเครือ่งของเค รื่องยนต์เทอร์นั้นจึงมีความสำคัญมากเพราะต้องหล่อลื ่นอและระบายความร้อนทั้งเครื่องยนต์และตัวเทอร์โบ จึงควรใช้น้ำมันเครื่องที่มีคุณภาพสูงและมีความหนือท ี่เหมาะสมและเปลี่ยนถ่ายตามกำหนดอย่างแน่นอนและย้ำต้ องแน่นอน ถ้าใช้น้ำมันสังเคราะห์ยิ่งดีเพราะจะมีฟิล์มน้ำมันที ่แข็งแรงกว่าและทนความร้อนได้สูงกว่า รวมทั้งมีคุณภาพดีสม่ำเสมอตลอดอายุการใช้งาน

ใช้งานให้ทนทานนานวัน.....

เมื่อสตาร์ตเครื่องยนต์ก่อนจะลงมือซิ่งควรจะปล่อยเคร ื่องยนต์ที่รอบเดินเบาประมาณ 30 วินาทีเป็นอย่างน้อย เพื่อให้แกนเทอร์ดบที่เพิ่งเริ่มหมุนมีน้ำมันเครื่อง ไหลมาหล่อลื่นอย่างเต็มที่และเพียงพอ เพื่อเตรียมการหมุนที่รอบจัดต่อไป และช่วงแรกที่ขับไม่ควรใช้รอบเครื่องสุงหรือเป็นโรคเ ท้าขวาหนักเกินไป และเช่นกันก่อนดับเครื่องยนต์ควรปล่อยเดินเบา เอาไว้สักครู่ เพื่อให้แกนเทอร์โบหมุนช้ามีน้ำมันเครื่องไหล ช่วยนำความร้อนออกจากแกนเทอร์โบถ้าดับเครื่องยนต์ทัน ที ปั๊มน้ำมันเครื่องจะหยุดทำงาน ทำให้น้ำมันเครื่องไม่ไหลเวียนมาที่แกนเทอร์โบแต่จะม ีน้ำมันค้างอยู่ที่แกนและเสื้อกลางของเทอร์โบ ซึ่งจะถูกความร้อนของแกนเทอร์โบเผาจนแห้งติดเป็นตะกร ันบนแกนและเสื้อกลางเทอร์โบ หรือช่างชอบเรียกว่า "โค้ก" เมื่อสะสมมากขึ้นก็จะทำให้แกนหมุนไม่คล่องหรือตะกรัน เสียดสีกับแบริ่งจนเกิดอาการเสียหาย

เดินเบา เดินเบา.....

การเดินเบาของเครื่องยนต์ก่อนการดับเครื่องนั้น ระยะเวลาไม่มีตัวเลขยืนยันว่าต้องนานเท่าไรขึ้นกับคว ามร้อนของเทอร์โบ ระยะเวลานั้นสังเกตุจากลักษณะการขับช่วง 15 นาทีสุดท้ายก่อนจอด ถ้าขับคลานมา ใช้รอบต่ำ หรือบนทางโล่ง แต่ใช้ความเร็วไม่สูง เมื่อจอดแล้วสามารถดับเครื่องยนต์ได้ทันที แต่ตรงกันข้ามถ้าขับมาด้วยความเร็วสูงก่อนจะดับเครื่ อง ควรเดินเบาไว้ 3-5 นาที

เทอร์โบแบบมีน้ำระบานความร้อน.....

ความร้อนที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากไอเสียมีการเปลี่ยน แหลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้ตัวเทอร์โบและน้ำมันเครื่องมีอายุสั้นลง ผู้ผลิตบางรายจึงเพิ่มการระบายความร้อนให้กับเทอร์โบ ด้วยระบบน้ำหล่อเย็น (WATER COOL) โดยออกแบบให้มีช่องน้ำไหลผ่านรอบนอกเสื้อกลาง ส่วนด้านในน้ำมันเครื่องก็จะไหลเวียนเป็นปกติ เพราะต้องมีการหล่อลื่นด้วย โดยน้ำที่ใช้นั้นมักจะดึงมาจากระบบหม้อน้ำปกติ โดยระบบนี้เทอร์โบจะมีความร้อนไม่สูงมากนัก

ติดเครื่องแล้วออกตัวทันที ดีไหมนะ...

หลังเครื่องยนต์ติด 2 วินาที น้ำมันเครื่องก็เริ่มไหลเวียนแล้วแกนเทอร์โบก็จะมีน้ ำมันเครื่องไหลเวียนด้วยเช่นกัน แต่ต้องเดินเบาสักพัก เพื่อให้การไหลเวียนของน้ำมันเครื่องทั้งถึง และมีความสมบูรณ์ของการใช้รอบเครื่องสูง

แล้วจอดแล้วดับเครื่องทันทีล่ะ....

ถ้าเดินทางแล้วไม่ใช้รอบจัดมาตลอดมีการขับมาเรื่อยๆ แม้จะขับมาด้วยความเร็วสูงแล้ว แต่ก่อนจะถึงที่ก็ต้องค่อยๆขับมาเพราะการจราจร ความร้อนที่สะสมก็จะลดลงแล้ว การดับเครื่องทันทีก็สามารถทำได้

ทีนี้เจ้าตัว TURBO TIMER.....

เป็นอุปกรณ์เพือ่ทำหน้าที่ตั้งเวลาดับเครื่องยนต์ ไม่ต้องเสียเวลารอเครื่องยนต์เดินเบา สามารถถอดกุญแจออกได้เลย เมื่อถึงเวลาที่ตั้งเครื่องยนต์ก็จะดับเอง ความละเอียดในการตั้งเวลาขึ้นอยู่กับลูกเล่นของแต่ละ ยี่ห้อ และวันนี้เทอร์โบไทม์เมอร์ก็ยังเพิ่ความสามารถให้เพิ ่มขึ้น เช่นการจับเวลา เป็นมาตรวัความเร็ว มาตรวัดกระแสไฟในแบตเตอรี่ ส่วนใหญ่เจ้าตัวนี้นั้นจะเป็นของต่างประเทศ ราคาประมาณ 2000-6000 ของเซียงกงก็ประมาณ 1000 ขึ้นไป ของไทยทำก็มี ราคาประมาณ 2000-3000

แล้วจำเป็นไหมที่จะต้องติด.....

ถ้าขับมาหนักๆ ซิ่งมาแรง เร็ว ต้องเดินเบาเครื่อง ถ้ารอไหว 3-5 นาที ก็ไม่ต้องซื้อมาติด แต่ถ้ารอไม่ไหว ก็ต้องไขว่คว้ามาครับ

สับสน......

บางท่านยังเข้าใจผิดว่าในรอบเดินเบาเทอร์โบจะหยุดหมุ นซึ่งจริงๆแล้วเจ้าหอยพิษจะหมุนตั้งแต่เริ่มติดเครื่ องแล้ว ดังนั้นการเดินเบาก็เพื่อระบายความร้อน ไม่ใช่เพื่อรอให้แกนเทอร์โบหยุดหมุนครับท่าน..บางท่า คิดว่าถ้าเครื่องยนต์ติดอินเตอร์คูลเลอร์แล้วไม่ต้อง เดินเบา ขอบอกว่าระบบทั้ง 2 ตัวนี้ แยกการทำงานกันเพราะอินเตอร์ฯจะลดอุณหภูมิของไอดีก่อ นเข้ากระบอกสูบความร้อนที่เกิดมาจากการบีบอัดอากาศขอ งกังหันไอดีตัวเทอร์โบไทม์เมอร์นั้นติดตั้งไม่ยุ่งยา ก ขนาดก็เล็ก รูปทรงสวย เลือกได้ตามน้ำหนักกระเป๋า ถ้าเลือกติดได้โดยไม่เดือดร้อน ก็หามาติดกันเถอะครับ กระผม...

ที่มา www.pickupclub.net



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก เอ็นเอฟซี 198 202.69.139.194 จันทร์, 13/11/2549 เวลา : 15:56  IP : 202.69.139.194   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 14838

คำตอบที่ 9
       ดูหลักการทำงานอีกแบบ เพื่อจะเข้าใจขึ้น

ซุปเปอร์ชาร์จเจอร์ และเทอร์โบชาร์จเจอร์ (Supercharger and Turbocharger)
ระบบซุปเปอร์ชาร์จเจอร์ และเทอร์โบชาร์จเจอร์ หรือเรียกสั้นๆว่า "ซุปเปอร์ชาร์จ" และ "เทอร์โบชาร์จ" คือวิธีการหนึ่งที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่เครื่องยนต์ โดยไม่ต้องเพิ่มปริมาตรความจุของกระบอกสูบ (ไม่ต้องเปลี่ยนเครื่องยนต์) กล่าวคือ ระบบซุปเปอร์ชาร์จเจอร์ และเทอร์โบชาร์จเจอร์ จะเป็นกลไกที่ช่วยเพิ่มปริมาณอากาศ เข้าไปร่วมในการจุดระเบิดในห้องเผาไหม้

ในขณะที่เครื่องยนต์ทำงานอยู่ที่รอบเดินเบา ปริมาณอากาศที่ลูกสูบดูดไปใช้งาน (อากาศจะวิ่งจากภายนอกรถ ผ่านไส้กรอง ผ่านท่อร่วมไอดี และเข้าสู่กระบอกสูบของแต่ละสูบ) โดยผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อจุดระเบิดนั้น เป็นไปตามความต้องการของเครื่องยนต์ ที่บริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์ได้กำหนดมา จากนั้น เมื่อรถเริ่มวิ่งไป เครื่องยนต์เริ่มมีการทำงานมากขึ้น ลูกสูบจึงเริ่มเคลื่อนที่เร็วขึ้น จึงต้องการอากาศเข้ามาในกระบอกสูบไวขึ้น เมื่อมีการเพิ่มความเร็วสูงขึ้นไปอีก เครื่องยนต์ยิ่งต้องทำงานมากขึ้น ลูกสูบก็ยิ่งต้องเคลื่อนที่ขึ้น-ลงเร็วขึ้นไปอีก จึงส่งผลให้ต้องการอากาศไวมากขึ้นไปอีกตามลำดับ การทดสอบอัตราความเร็ว จึงเป็นไปตามมาตรฐาน ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องยนต์ยี่ห้อต่างๆ

จากเหตุการณ์ดังกล่าว อากาศวิ่งเข้าสู่ห้องเผาไหม้ เพราะแรงดูด จากการที่ลูกสูบเคลื่อนที่ลงสู่ตำแหน่ง ศูนย์ตายล่าง (Bottom dead center) ในกระบอกสูบ เมื่อเครื่องยนต์ ทำงานที่รอบต่ำ ความหนาแน่นของอากาศที่วิ่งเข้ามาสู่ห้องเผาไหม้ จะมีมากกว่าสภาวะที่เครื่องยนต์ทำงานในรอบสูง การติดตั้งระบบซุปเปอร์ชาร์จเจอร์ หรือ เทอร์โบชาร์จเจอร์ จะช่วยเพิ่มปริมาณความหนาแน่ของอากาศในท่อร่วมไอดีได้ดี ในสภาวะที่เครื่องยนต์ทำงานที่รอบสูง และต้องการอากาศมาก จึงทำให้การจุดระเบิด มีประสิทธิภาพมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ จึงส่งผลให้มีกำลังม้า (Horsepower) และกำลังบิด (Torque) สูงขึ้นด้วย

ระบบซุปเปอร์ชาร์จเจอร์ (Supercharger)
จะใช้อุปกรณ์ปั๊มพ์อัดอากาศ โดยได้รับพลังงานมาจากสายพาน ซึ่งคล้องไว้กับพูลเล่ย์เพลาข้อเหวี่ยง ซึ่งปั๊มพ์อัดอากาศในระบบซุปเปอร์ชาร์จเจอร์นั้น มีหลายรูปแบบ เช่น


แบบลูกสูบเลื่อน
แบบลอน หรือแบบรูต
แบบแวน
แบบโรตารี่

สำหรับระบบซุปเปอร์ชาร์จ จะทำงานโดยรับแรงหมุนมาจากเพลาข้อเหวี่ยง ดังนั้นจึงเกิดดึงกำลังเครื่องนิดหน่อย และไม่เหมาะกับการทำงานที่รอบเครื่องสูงมาก ต่อมีจึงมีการคิดค้นระบบเทอร์โบชาร์จขึ้นมา โดยใช้แรงดันของไอเสีย ไปปั่นเทอร์ไบน์ในอุปกรณ์เทอร์โบ

ระบบเทอร์โบชาร์จเจอร์ (Turbocharger)
ระบบเทอร์โบชาร์จเจอร์ ใช้อุปกรณ์ปั๊มพ์อัดอากาศแบบ แรงเหวี่ยงหนีศูนย์ (Centrifugal compressor) อุปกรณ์ตัวนี้ มีลักษณะเหมือนหอยโข่ง 2 ตัวประกบติดกัน มีแกนกลางเป็นแบริ่ง ยื่นเข้าไปในหอยโข่งทั้ง 2 ฝั่ง บริเวณแกนของแบริ่ง จะมีน้ำมันหล่อลื่น (Oil cooler) มาหล่อเลี้ยงอยู่เสมอ ส่วนปลายทั้ง 2 ฝั่งของแกนแบริ่งจะยึดติดกับจานใบพัด

หอยโข่งฝั่งหนึ่ง จะทำหน้าที่รับไอเสียที่ปล่อยออกมา หลังจากการเผาไหม้ในห้องเผาไหม้ เข้าไปปั่นจานใบพัด ที่เรียกว่า "เทอร์ไบน์" (Turbine) เมื่อ เทอร์ไบน์หมุน แกนแบริ่งที่ยึดติดกับจานใบพัด (Impeller) ที่อยู่ในตัวเรือน หอยโข่งฝั่งตรงข้าม ก็จะหมุนตามไปด้วย อากาศจึงมีการเคลื่อนที่ การทำงานในส่วนนี้คือ การปั๊มพ์อัดอากาศ (Compression)
การทำงานของระบบเทอร์โบชาร์จเจอร์
เมื่อเครื่องยนต์ทำงาน จะเกิดไอเสียขึ้น ไอเสียที่เกิดขึ้น จะเข้าสู่ท่อร่วมไอเสีย แล้วไหลต่อไปเข้าสู่ ทางเข้าไอเสียของตัวเทอร์โบ เมื่อไอเสียเคลื่อนตัวผ่านใบพัดเทอร์ไบน์ ก็จะเกิดการหมุน แล้วไอเสีย ก็จะไหลออกไปภายนอกเครื่องยนต์ จากการที่เทอร์ไบน์หมุน ก็จะทำให้จานใบพัดอีกฝั่งหมุนตามด้วย แต่เนื่องจากเทอร์โบ จะทำงานได้ดีที่รอบเครื่องสูง เพราะเทอร์ไบน์จะหมุนด้วยความเร็วสูง ทำให้แกนแบริ่ง และใบพัดฝั่งตรงข้าม หมุนด้วยความเร็วสูงด้วย ก็จะเกิดการดูดอากาศจากภายนอก (ผ่านไส้กรองอากาศ) ผ่านใบพัดคอมเพรสเซอร์นี้ แล้วไหลเข้าสู่ท่อร่วมไอดีด้วยแรงดันสูง ดังนั้น บางระบบจึงมีการติดตั้งวาล์วบายพาส (Wastegate) เพื่อให้แรงดันไอเสียส่วนเกิน ไหลออกจากระบบ เพื่อปรับสมดุลย์แรงดันที่ไปปั่นเทอร์ไบน์ ให้อยู่ในสัจส่วนที่ต้องการ

ย้อนกลับมาที่เรื่องไอเสียอีกครั้ง คือ เมื่อเครื่องยนต์ทำงานที่รอบสูง แรงดันไอเสียที่เครื่องยนต์ปล่อยออกมา ก็จะสูงตามไปด้วย ดังนั้น บางระบบ จึงมีการติดตั้งวาล์วบายพาส เพื่อควบคุมแรงดันไอเสีย ไม่ให้เกินที่กำหนดไว้ สิ่งที่เกิดต่อไปคือ เมื่อเทอร์ไบน์หมุนด้วยความเร็วสูง (สามารถหมุนได้เร็ว ประมาณ 10,000 - 150,000 รอบต่อนาที หรืออาจมากกว่า) แกนแบริ่งที่เชื่อมต่อกับใบพัดทั้ง 2 ฝั่งของเทอร์โบ ก็จะเกิดความร้อนสูงเช่นกัน จึงจำเป็นต้องมีการระบายความร้อน ในส่วนนี้ จะใช้น้ำมันหล่อลื่นเป็นตัวระบายความร้อน และหล่อลื่นไปในตัว สามารถต่อท่อน้ำมันหล่อลื่นจากปั๊มพ์น้ำมันหล่อลื่นในห้องเครื่อง มาหล่อเลี้ยงที่แกนแบริ่ง แล้วต่อท่อทางออกน้ำมัน กลับไปที่เครื่องยนต์อีกครั้ง เมื่อเครื่องยนต์ทำงาน ก็จะส่งน้ำมันหล่อลื่น ไปหล่อเลี้ยงแกนเทอร์โบอย่างสม่ำเสมอ
ระบบเทอร์โบที่ไม่มีอินเตอร์คูลเล่อร์ชนิดหนึ่ง
เมื่อเทอร์โบทำงานที่ความเร็วสูง อากาศที่เกิดขึ้น จะมีอุณหภูมิที่สูงขึ้นไปด้วย มวลอากาศที่เกิดขึ้น จะมีความหนาแน่นน้อย ดังนั้น จึงต้องทำการลดอุณหภูมิของอากาศลงก่อนป้อนเข้าสู่ท่อร่วมไอดี โดยการติดตั้งอุปกรณ์ชื่อ "อินเตอร์คูลเลอร์" (Inter cooler) (อยู่ระหว่างตัวเทอร์โบกับ ท่อร่วมไอดี) แล้วต่อท่ออากาศ ที่เกิดจากการอัดของคอมเพรสเซอร์ ไหลผ่านอุปกรณ์อินเตอร์คูลเล่อร์นี้ ก่อนเข้าสู่ท่อร่วมไอดี
ระบบเทอร์โบ ถูกพัฒนาให้มีขีดความสามารถมากขึ้น ตามลำดับ มีผู้ดัดแปลงใช้อุปกรณ์ต่างๆ ในการทำงานร่วมกับระบบเทอร์โบ เพื่อจุดประสงค์ในการเพิ่มประสิทธิภาพ ในการทำงานของเครื่องยนต์ให้สูงขึ้น แต่การติดตั้งระบบเทอร์โบ ควรจะต้องคำนึงถึงผลกระทบรอบข้างด้วยเช่น เครื่องยนต์จะมีอายุการใช้งานสั้นลง เพราะทำงานหนักเพิ่มขึ้น และการติดตั้งระบบเทอร์โบ ก็ต้องมีงานเพิ่มขึ้นเช่น ต้องมีการติดตั้ง Oil cooler และ Inter cooler เพิ่มเข้ามาในระบบ และบางระบบอาจต้องขยายขนาดหม้อน้ำให้ใหญ่ขึ้น หรือเพิ่มรอบการหมุน ของพัดลมระบายความร้อน เพื่อให้ความร้อนที่เกิดขึ้น ถูกระบายออกไปอย่างรวดเร็ว

ปล.ขอบคุณ web CarsCare.Com ที่ให้ข้อมูลนะครับ




 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก Big One 203.146.63.187 จันทร์, 13/11/2549 เวลา : 20:44  IP : 203.146.63.187   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 14844

คำตอบที่ 10
      





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก Big One 203.146.63.187 จันทร์, 13/11/2549 เวลา : 20:50  IP : 203.146.63.187   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 14845

คำตอบที่ 11
       http://www.cmdiesel.com/tip2.html




 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

จาก A 125.25.22.133 พุธ, 15/11/2549 เวลา : 22:13  IP : 125.25.22.133   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 14876

      

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  



website รองรับการใช้งานทุกระบบปฏิบัติการของ PC Tablet SmartPhone ทุกระบบสามารถโพสข้อความและรูปภาพได้โดยไม่ต้องย่อไฟล์
เพื่อความปลอดภัยในการใช้ website WeekendHobby.Com สมาชิก เท่านั้น จึงจะตั้งกระทู้ หรือ ตอบกระทู้ได้ครับ
Login Click ที่นี่
สมัครสมาชิก Click ที่นี่



Since 22, Feb 2001 hit counter View My Stats  Truehits.net      วันศุกร์,19 เมษายน 2567 (Online 4585 คน)