WeekendHobby.com
เครื่องมือในการใช้งาน website =>> สมัครสมาชิก | Login | Logout | เปลี่ยนไอคอนส่วนตัว | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อโฆษณา         View stat by Truehits.net


tiger d4d 2.5
anuchaptt
จาก aum
IP:110.77.208.66

จันทร์ที่ , 8/2/2559
เวลา : 13:10

อ่านแล้ว = ครั้ง
 เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งตรวจสอบกระทู้
 แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน ส่งหาเพื่อน

       ถามพี่ หรือ ท่านอื่นหน่อยครับ ผมใส่ยาง 31 นิ้ว จะต้องทดเฟืองหรือ ปล่าวครับ แล้ว เวลาลงหลุมทำไม ตรงช่วงเบาะคนนั่งข้างหลังทำไมมันกระเด่งมาครับผม รถผม ปี 2003 ครับผม ขอบคุรครับผม ต้องทำอะไรเพิ่มหรือป่าวครับ รถผมเดิมๆครับ


 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

แจ้งเพื่อเก็บขึ้นกระทู้พิเศษ คลิ๊กที่นี่แจ้งเพื่อนำขึ้นกระทู้พิเศษ

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  

คำตอบที่ 1
       ไม่ต้องทดหรอกครับ 31.ไม่อืดมากหรอก อาการเบาะแถวหลังกระเด้งน่าจะมาจากโช้คหลังรั่วแล้วไม่ซับแรงอาจทำให้กระเด้งมาก ยางแข็ง ลองหาโช้คดีๆใส่ดูจะรู้ว่าดีขึ้นมากอย่าลืมเช็คพวกลูกยางหูแหนบด้วยล่ะ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

kemsak จาก ดำดี 125.27.78.125 พฤหัสบดี, 11/2/2559 เวลา : 21:22  IP : 125.27.78.125   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 77416

คำตอบที่ 2
       31 เหมือนกันหลังรันโช่ หน้า โปรคอม รูดได้บ้างเอาอยู่





ขอบคุณครับผม
จาก : anuchaptt(anuchaptt) 12/2/2559 8:15:21 [119.42.87.211]
 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

kemsak จาก ดำดี พฤหัสบดี, 11/2/2559 เวลา : 21:26  IP :   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 77417

คำตอบที่ 3
       ถ้าคิดจะใส่กันโครง ac power ที่เห็นเขาใส่กันจะมีประโยชน์ไหมครับผม ขอบคุณครับ



ผมว่าตามที่คุณ Tik ให้ความคิดเห็นไว้ด้านล่างครับผมก็ไม่ใส่ เหล็กกันโครงครับ ลองดูโช้คเป็นหลักครับ
จาก : kemsak(kemsak) 12/2/2559 21:55:13 [125.27.66.8]
แหนบแอดเอาเป็นยี่ห้อดีๆหน่อย อย่างโปรคอมก็ได้ไม่แพงมาก ผมใส่ยี่ห้อรองลงมาพอไปขนของหนักๆมีล้า
จาก : kemsak(kemsak) 12/2/2559 21:56:49 [125.27.66.8]
 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

anuchaptt จาก aum 119.42.87.211 ศุกร์, 12/2/2559 เวลา : 08:20  IP : 119.42.87.211   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 77418

คำตอบที่ 4
      
-เหล็กที่ถาม ไม่ใช่ทั้ง "กันโคลง" และ "กันโครง" ในหลักกลศาสตร์...เป็นเหล็กที่แขวนไว้ดูเล่นแต่ตั้งชื่อเป็นกลไกศาสตร์.. ถ้าไม่คิดถึงข้อเสีย ก็คล้ายๆเห็นคนเจาะ/ขยาย ติ่งหูใส่ห่วงใหญ่ๆ ดูแปลกตาและน่าห่วง....และจะจืดจางไปในที่สุด เมื่อทราบความหมาย แต่มีคนหลงผิดเพราะชื่อเรื่องจึงยังอยู่ตลอดมา และผลเสียที่สุดคือการขายต่อ เพราะอาจหมายถึงการ "โยนบาป" ให้คนอื่นต่อไปครับ...

-เหล็กนี้มีผลเสียตอนใส่บ้างแตไม่มาก ถอดออกก็อาจเป็นรอยที่ท่อน้ำมันเบรคบ้างในบางคันที่ถูกแหวก นับว่าน้อยกว่าติ่งหูที่ถูกขยายไปแล้วครับ...


-รถไทเกอร์บอดี้ 4ป.ท้ายบรรทุก เป็นรถที่ยังรองรับการบรรทุกอยู่ตามหลักที่ถูกสร้างมา ...โดยสแตนดาร์ด แหนบหลังอยู่บนคาน(หรือเพลา) จึงคอนข้างราบหรือโค้งงอน้อยกว่ารถที่แหนบอยู่ใต้คาน ...การใส่แหนบแอดในกลางปึกแหนบเดิม จะทำให้แหนบแยกเป็น 2 ปึก การสะเทือนในการวิ่งตัวเปล่าจะน้อยลงบ้าง แต่ท้ายจะโด่ง เพราะแหนบแอดยกระดับเพิ่มอีกประมาณ 4 ซม. ดังนั้นจึงไม่แน่ใจว่าแนะนำอย่างไร...บอกได้เพียงหลักคิด..ให้ลองปรับหาคำตอบดูครับ ..





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

chotikan14 จาก Tik ศุกร์, 12/2/2559 เวลา : 10:00  IP :   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 77419

คำตอบที่ 5
       -ทำความเข้าใจเพิ่มอีกนิดครับ...

-เหล็กกันโคลง มีหน้าที่ช่วยต้านการเอียง เหมือนยืนบนรถเมลบ์ที่กำลังวิ่งเข้าโค้ง คนที่ยืนอาจต้องการแตะบางสิ่งเพื่อยันตัวเอง ฝืนแรงกระทำไม่ให้เอียงมากจนเซไป แต่ก็ช่วยได้ในแรงกระทำระดับหนึ่งเท่านั้น ไม่ใช่ครอบคลุมทุกระดับ เพราะยืดหยุ่นได้เหมือนเหล็กทอร์ชั่นบาร์ เพียงแต่รับแรงหรือต้านได้ไม่มาก เพราะออกแบบมาเป็นเพียงตัวช่วย... คำว่า "รู้สึกโคลง" ก็หมายถึงภาวะความเร็วด้วยครับ...

-แรงต้าน และคืนกลับตำแหน่งเดิมด้วยเหล็กค่าเป็นสปริง โดยจะได้ผลดี..ต้องมีระยะจับที่(คานหรือปีกนก)ช่วงล่างซ้าย/ขวา ยิ่งห่างมาก ก็ยิ่งส่งผลให้เหล็กทำงาน ตัวอย่างเช่น ยืนบนรถเมล์ที่วิ่งเข้าทางโค้ง ถ้ายืนตรงกลาง จะรู้สึกว่าเอียงน้อย แต่จะรู้สึกว่าเอียงมากกว่าเมื่อไปยืนริมด้านใดด้านหนึ่ง...เหล็กกันโคลงต้องการการเอียงนี้เป็นคำสั่งให้เริ่มงาน.. ระยะจับที่คานจึงไปอยู่ริมเท่าที่ไปได้ เพื่อให้รับแรงที่เกิดจากการเอียง ซ้าย/ขวา ต่างกันมากกว่า...โดยหากเหล็กกันโคลงติดตั้งจุดจับที่คาน L/R แบบใกล้กันเช่น(ที่เห็นของประดับยนต์)ทั่วไป...ก็จะได้ผลน้อย(มาก) เหมือนยืนบนรถเมล์ตรงกลางตอนเข้าโค้ง คือเอียงต่างกัน L/R น้อยครับ..

-หน้าที่ของเหล็กกันโคลงคือการต้านการเอียง หากคาน ยุบ/ยืด ขึ้นลงพร้อมๆกัน เหล็กกันโคลงก็จะไม่เกิดแรง(งัด) และคล้อยตามการยุบยืด เหมือนบานพับตัวหนึ่งเท่านั้น..(ขึ้นลงในองศาจำกัด)

-ดังนั้น เหล็กกันโคลงที่ออกแบบและติดตั้ง ตำแหน่งจับ/มุมหรือองศาสแตนบาย ถูกต้อง จะพร้อมให้ผลต้านการเอียง โดยมีผลต่อการ ยุบ/ยืด เปลี่ยนค่าน้อยมาก คือหลักการคิดของวิศวกรที่กำหนดคุณสมบัติกลไกตัวนี้มาครับ...

-หมายถึงเหล็กกันโคลง จะไม่ได้ช่วย หรือเพิ่มในเรื่อง(ความนุ่มหรือกระด้างของช่วงล่าง) หากพบว่าใส่แล้วมีส่วน ต้องหาคำตอบเรื่อง ความบกพร่องของการติดตั้งเหล็กกันโคลงครับ

-เกี่ยวกับคำถามของกระทู้นี้ จึงไม่เกี่ยวกับเหล็กกันโคลง ...

-เหล็กที่สนใจ หากมองเป็นอาร์ม คอยเสริมรั้งช่วงล่าง ก็คือความไม่จำเป็นที่มีผลเสีย โดยหากมีแรงกระทำจนโตงเตงหลุด อาร์มขนาดที่เห็นและจุดติดตัง้ซึ่งค่อนไปตรงกลางก็คงรั้งไม่ไหว.. ดังนั้น ตลอดเวลาของเหล็กตัวนี้ ก็คือไปเกาะเฉยๆ โดยหากติดตั้งองศากลไกไม่ถูก ก็อาจกลับเป็นโทษคือไปขัดการยุบยืดของช่วงล่างได้ด้วยครับ

-รถที่ติดของแต่งเพิ่มเพื่อจุดเด่นเช่น สติ๊กเกอร์ฯ ..และบางอย่างเป็นอุปกรณ์เช่น สปอตไล้ท์,กระจกมองมุม,สน็อคเกิ้ล ฯ เป็นของอาจจำเป็นใช้+ตามใจชอบ...ก็ไม่น่าห้ามกันครับ..

- แร่ไพไรต์ (Pyrite) หรือทองคนโง่ ....มีคนนำมาใส่อวดคนอื่น หรือขายเป็นทอง....เป็นจุดประสงค์ที่(โกง)ความเข้าใจ เป็นเรื่องผิด

-เหล็กที่มีหน้าที่แต่ชื่อ....มีคนนำมาใส่ แล้วคิดว่ามีผลทั้งช่วยเสริมให้ดีขึ้นและหล่ออีกต่างหาก...(ย่อม)เป็นเข้าใจที่ไม่ฉลาดเลยครับ

-ท่านใดที่พอเข้าใจ(อยู่)แล้ว... ขอให้ช่วยส่วนรวมกันบ้างในครั้งต่อๆไปด้วยครับ....

 แก้ไขเมื่อ : 16/2/2559 8:42:33





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

chotikan14 จาก Tik จันทร์, 15/2/2559 เวลา : 07:58  IP :   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 77422

คำตอบที่ 6
      
-อยากให้เข้าใจหลักการทำงานของเหล็กกันโคลง ลองดูรูปนี้ครับ...

-เป็นรถคาริเบี้ยน(ถ้าไม่ใช่ขออภัยด้วย) รูปนี้กับรูปที่แล้วลักษณะตัวจับยึดกลับกัน โดยรูปนี้ปลายเหล็กกันโคลงจับอยู่ที่คาน L/R ส่วนรูปที่แล้วมองไม่เห็นปลาย(ซึ่งจะยึดกับจุดหลักที่แชสซี) ขอให้ทำความเข้าใจว่า นับจุดจับที่คาน L/R เป็นจุดส่งแรงกัน.. ส่วนที่แชสซีคือหลัก อย่ามองชิ้นส่วนจับ ซึ่งอาจใช้สลับกันครับ

-รูปนี้อาจทำให้เข้าใจง่ายขึ้นว่า เกิดการต้านการเอียง(แรงงัด) และขึ้นลงแบบบานพับโดยไม่เกิด(แรงงัด)....และขอให้สังเกตขนาดของเหล็กกันโคลง ซึ่งเป็นโรงงานกำหนดค่ามาเพื่อทำงานตามระบบในรถน้ำหนักราวๆ (1200) กก. ซึ่งเบากว่ารถกระบะมาก แล้วคิดถึงขนาดเหล็กกันโคลงของประดับยนต์เพื่อรถปิคอัพ.....ส่วนเหล็กที่เหมือนอาร์ม ไม่อาจนำมาเทียบอีกแล้ว เพราะไม่เป็นกลไกตามระบบจริงครับ....







 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

chotikan14 จาก Tik จันทร์, 15/2/2559 เวลา : 19:13  IP :   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 77423

คำตอบที่ 7
       -รูปในคต.ที่แล้ว เป็นด้านหน้าตรง ซึ่งจะทำให้มองการทำงานของเหล็กกันโคลงออกได้(ง่ายกว่า)...แต่เมื่อเข้าใจแล้วช่วยดูรูปแนบคต.นี้ต่ออีกนิดครับ..

-ศรสีแดงชี้ก้านเหล็กซึ่งมีหน้าที่ "ให้ตัว" เหตุผลคือ เวลาช่วงล่างยุบ/ยืด จากสภาพถนน แหนบจะยืด(ราบ) หรืองอ ทำให้ระยะเปลี่ยน โตงเตงเหมือนบานพับที่รับแรงกระทำนี้....เหล็กกันโคลงยึดอยู่กับแหนบ จึงมีชิ้นส่วนนี้เพื่อรับแรงที่ทอดมาถึงด้วย หรือทำหน้าที่คล้ายโตงเตง คือเอนได้บ้างครับ...

-รูปที่แล้ว มีการต่อขาจุดยึดที่แชสซี ภาพไม่ชัด อาจมองดูเหมือนติดตายตัว ..จึงขอนำภาพนี้มาอธิบายเพิ่มเพื่อให้เข้าใจถูกต้องครับ..


-อยาก-vให้ท่านที่สนใจ..คิดตามเรื่องหนึ่งครับ...

-คือ..นำสิ่งที่เคยผ่านตาแล้ว มาทบทวนโดย นำมาเทียบกัน ที่เกี่ยวกับเรื่องเหล็กกันโคลง..

-จะพบว่า..มีรถกระบะ/รถตู้/อื่นๆ ที่ใช้ช่วงล่างหลังแบบเพลา(คานแข็ง)+แหนบ สนใจติดตั้ง เหล็กกันโคลงเพิ่ม ของประดับยนต์ ...พบเห็นได้เรื่อยๆ ผ่านมาหลายปี ก็ไม่สูญหายไป....

-และจะพบว่า..รถที่วางคานเองทั้งหน้าอย่างเดียว หรือหน้า/หลัง โดยใช้ระบบรองรับน้ำหนักแบบสปริงหลายๆคัน....ไม่ติดตั้งเหล็กกันโคลง (คำว่าติดตั้ง/ใส่ ไม่เหมือนกัน) ทั้งที่มีในระบบเดิมของช่วงล่างที่นำมาจากอะไหล่เก่ารถอื่นเพื่อดัดแปลงใช้ใหม่...เป็นมานานหลายปีเช่นกัน

-เมื่อนำ สองการกระทำนี้มาเทียบกัน....อาจพบคำถามแปลก...คือ(คนไทย)ทำไมเรียนรู้ ไปในทิศทางตรงกันข้ามกับหลักการเสมอ ..คือทั้งอยากเพิ่มในสิ่งที่ผู้ผลิตไม่ได้กำหนดให้ต้องมี ...และตัดออก จากหลักการเดิมที่ผู้ผลิตกำหนดให้มี(ทุกรุ่นที่เป็นระบบสปริง จะมีเหล็กกันโคลงเสมอทั้งหน้าและหลัง) และนำผลมารายงานหรือแจ้งผู้อื่นให้ศึกษา ในรูปแบบนั้น(หมายถึงเข้าใจว่านั่นคือผลที่เหมาะสมกว่าเดิม)....มีให้เห็นเป็นเวลายาวนานหลายปีมาแล้ว...

-และเมื่อนำสองแนวทางของ(คนไทย)ทั้งสองแบบ ไปรวมกับแนวทางที่สามคือ ซื้อรถใหม่กันง่าย โดยต้องการความทันสมัยหรือก้าวหน้าทุกรูปแบบ โดยเชื่อถือผู้ผลิตขาย(เปรียบคือระบบสาวก)...

-อยากขอแสดงความเห็นว่า...วิธีคิดและปฏิบัติทั้งสามแบบเมื่อนำมาวางในที่เดียวกัน...จะพบว่าขัดแย้งกัน(อย่างมากด้วย)ครับ..


------------------------------------------

-ขอเพิ่มข้อความว่า...

-ไม้ต่างชนิดก็ต่างคุณสมบัติ จะถูกแบ่งเป็นต่างคุณภาพ โดยมีราคาเป็นตัวชี้ระดับผล...

-ไม้เนื้อดีจะถูกนำไปสร้าง/ประดิษฐ์ของมีราคา เช่น เพื่อแกะสลัก , เพื่อทำบานประตู-หน้าต่าง ฯ

-เนื้อไม้ที่มี(เสี้ยนย้อน) เมื่อนำมาไส จะได้ผิวเรียบแบบมีแผลเป็นบางจุด ผลจากเสี้ยนย้อน และจะไม่ถูกนำไปสร้างงานดีมีราคาตามที่กล่าว หรือเรียกไม้คุณภาพต่ำ.....

-ไทยมีวัฒนธรรมเป็นของตัวเอง... แต่ไม่มีเทคโนโลยีของตัวเอง ซึ่งแม้แต่การคิดค้นหม้อหุงข้าวไฟฟ้าก็เป็นเทคโนโลยีนำเข้า...

-ดังนั้นหากต้องการก้าวตามทันความเจริญ หรือแซงชาติอื่นได้ในต่อไป .. ต้องใช้เส้นทางที่มีระยะใกล้ที่สุด โดยเห็นเป้าหมายตลอดเวลา เพื่อตามติด ชิดเข้าไปเรื่อยๆ... ถ้าแวะ หรือลาน้ำ หรือแม้แต่ลดความตั้งใจ ..สิ่งที่นำหน้าเราอยู่ ก็จะห่างออกไปเรื่อยๆ .."จะไม่อันตรายตราบที่เขามีเมตตา"..แต่หากวันหนึ่งเขาไม่ต้องการเงินของไทย และรำคาญการต้องอยู่ร่วมโลกกับผู้ที่"ช้า"เป็นนิจ ไทยทั้งปวงอาจลำบากมากได้ครับ

-อย่าให้คุณภาพรวมของคนไทยเป็นแบบไม้เสี้ยนย้อนนั้น(ตลอดไป)ครับ

 แก้ไขเมื่อ : 17/2/2559 9:39:36

 แก้ไขเมื่อ : 18/2/2559 17:43:19





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

chotikan14 จาก Tik พุธ, 17/2/2559 เวลา : 08:00  IP :   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 77427

คำตอบที่ 8
      
-ขออนุญาตวางข้อความเพิ่ม...เรื่องเหล็กกันโคลง ในช่วงล่างหลังที่ใช้ระบบรองรับน้ำหนักแบบแหนบครับ...

-อยากให้เข้าใจว่าเหล็กกันโคลงต้องมี ระยะจับ / น้ำหนักรถ เป็นโจทย์กำหนดขนาด หรือค่าเหล็กสปริงด้วย เพราะได้ผลแบบเป็นตัวช่วย เช่นการยืนบนรถเมล์ที่วิ่งเข้าโค้ง....คนที่ยืนหากเป็นคนผอม หรือคนอ้วน น้ำหนักที่แตะพิง ย่อมต่างกันครับ...

-มิตซูบิชิ G wagon ใช้ช่วงล่างเหมือนรถบรรทุกเล็ก และมีเหล็กกันโคลงในช่วงล่างหลัง...รถบัส 6 ล้อ ก็มี แต่เป็นรถที่(ต่อ)ในประเทศ ไม่แน่ใจว่ามีทุกคันหรือไม่(ต่อบนแชสซีรถบรรทุก/รถบัส เก่าญี่ปุ่น) ที่เคยเห็นคือเป็นบัสวิ่งระหว่างจังหวัด ไม่ใช่วิ่งในเมืองอย่างรถเมล์...หมายถึงรถ(นั่ง)ที่รับน้ำหนักบรรทุกแคบๆหรือจำกัดตามลักษณะรถนั่ง ก็กำหนดให้มีเหล็กกันโคลงในระบบช่วงล่างจากโรงงานครับ ...

-รถปิคอัพกระบะบรรทุกเล็ก ที่โรงงานติดตั้งเหล็กกันโคลงให้ช่วงล่างหลัง มีในฟอร์ดและมาสด้า ( รุ่นBT50) ผมมองเป็นออฟชั่นเรียกความสนใจทางการตลาดมากกว่าข้อกำหนด เพราะมีเพียงบางรุ่นครับ

-อาจต้องเข้าใจว่า แหนบที่กำหนดใช้กับรถนั้น มีส่วนกำหนดการใช้เหล็กกันโคลงด้วย เช่นหากแหนบแข็งมากเพื่อรองรับการบรรทุก แรง(งัด)ของเหล็กกันโคลงก็ไม่มีผลครับ

-ข้อกำหนดทางวิศวกรรม ซึ่งมีสมการควบคุมการใช้ หมายถึงให้ผลซ้ำ หรือคงที่ได้ตามหลักปฏิบัติเดิม เช่นเหล็กกันโคลงหน้าของคาริเบี้ยน เพื่อรถที่มีน้ำหนัก (1200-1500 กก.) วงเล็บเพราะไม่รู้ตัวเลขสมการจริง เดาเพียงเพื่อให้เห็นว่ามีข้อกำหนดใช้....

-รถฟอร์ด FOCUS มีบอดี้ 2 แบบคือ ซีดาน 4ป. และแฮทแบ็ค 5 ป. ทางโรงงานกำหนดกำหนดรุ่น 5ป. เป็นรถกึ่งสปอร์ต โดยเติมค่าสปริง(แข็ง)กว่ารุ่นซีดาน เพื่อรองรับความเร็ว หมายถึงย่านความเร็วใช้งาน จึงมีส่วนกำหนดช่วงล่างด้วยครับ

-ดังนั้น...เรื่องที่กะๆเอาเหมือนผัดกระเพา เช่นเหล็กกันโคลงของประดับยนต์... โอกาสได้ผลตรงตามโจทย์เฉพาะตัว....น่าจะน้อยมากครับ







 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

chotikan14 จาก Tik 58.10.219.85 ศุกร์, 19/2/2559 เวลา : 09:49  IP : 58.10.219.85   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 77434

คำตอบที่ 9
       เป็นคำถามที่ไม่เครียดแต่ได้คำตอบแบบลึกๆ ผมเห็นพรรคพวกหลายๆท่านไปติดกันหลายคน ส่วนตัวผมก็เคยหาข้อมูลหลายๆทางจนเห็นว่าไม่คุ้มกับเงินที่จะเสียไปเลย และคนที่ไปติดตั้งมาก็จะพบว่ามีการพ่วงโช้คใหม่ให้เสียตังค์ด้วย ทั้งที่จริงแล้วเราควรจะได้จ่ายเงินแค่ส่วนที่ซื้อโช้คดีๆใส่ให้ได้ประโยชน์ดีกว่า



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

kemsak จาก ดำดี 125.27.106.244 ศุกร์, 19/2/2559 เวลา : 21:17  IP : 125.27.106.244   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 77436

คำตอบที่ 10
      
"แต่มีคนหลงผิดเพราะชื่อ..เรื่องจึงยังอยู่ตลอดมา และผลเสียที่สุดคือการขายต่อ เพราะอาจหมายถึงการ "โยนบาป" ให้คนอื่นต่อไปครับ"...



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

chotikan14 จาก Tik 49.230.219.243 เสาร์, 20/2/2559 เวลา : 16:52  IP : 49.230.219.243   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 77440

      

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  



website รองรับการใช้งานทุกระบบปฏิบัติการของ PC Tablet SmartPhone ทุกระบบสามารถโพสข้อความและรูปภาพได้โดยไม่ต้องย่อไฟล์
เพื่อความปลอดภัยในการใช้ website WeekendHobby.Com สมาชิก เท่านั้น จึงจะตั้งกระทู้ หรือ ตอบกระทู้ได้ครับ
Login Click ที่นี่
สมัครสมาชิก Click ที่นี่



Since 22, Feb 2001 hit counter View My Stats  Truehits.net      วันศุกร์,29 มีนาคม 2567 (Online 2544 คน)