WeekendHobby.com
เครื่องมือในการใช้งาน website =>> สมัครสมาชิก | Login | Logout | เปลี่ยนไอคอนส่วนตัว | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อโฆษณา         View stat by Truehits.net


คุณสมบัติของผู้ที่ต้องการสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตขับขี่

จาก อาร์ต
203.118.113.233
อาทิตย์ที่ , 6/6/2547
เวลา : 20:53

อ่านแล้ว = 499 ครั้ง
 เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งตรวจสอบกระทู้
 แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน ส่งหาเพื่อน

       คุณสมบัติของผู้ที่ต้องการสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตขับขี่
-ต้องเป็นบุคคลที่ อายุ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป สำหรับผู้ที่ต้องการขอมีใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์
-ต้องเป็นบุคคลที่ อายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป สำหรับผู้ที่ต้องการขอมีใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล
-ต้องไม่มีใบอนุญาตขับรถชนิดเดียวกันอยู่แล้ว
-ต้องไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกยึด หรือ เพิกถอนใบอนุญาติขับขี่รถ
หมายเหตุ สำหรับผู้ที่มีร่างกายพิการ ดังต่อไปนี้ เมื่อต้องการมีใบอนุญาติขับขี่ รถยนต์ จักรยานยนต์ ต้องขอคำปรึกษาจากเจ้าหน้าที่ขนส่งฯ ก่อน จึงจะทำได้
1.แขนขาดข้างเดียว
2.ขาขาดข้างเดียว
3.ตาบอดข้างเดียว
4.ลำตัวพิการ
5.หูหนวก
หลักฐานประกอบคำขอเพื่อการสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตขับขี่
1.สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมตัวจริง
2.สำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือหลักฐานอื่น ๆ ที่ใช้แทนบัตรประจำตัวประชาชน พร้อมตัวจริง
3.สำเนาหรือภาพถ่ายทะเบียนบ้าน พร้อมตัวจริง
4.ภาพถ่ายหลักฐานการขออนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักร (ใบสำคัญคนต่างด้าว) เป็นการชั่วคราวตามกฎหมายว่าด้วยคนเข้าเมือง และหลักฐานแสดงถิ่นที่อยู่
5.ใบรับรองแพทย์แสดงว่าผู้ขอ ไม่มีโรคประจำตัวอันอาจเป็นอันตรายขณะขับรถ ไม่เกิน 1 เดือน
6.รูปถ่ายครึ่งตัวหน้าตรง ไม่สวมหมวกและแว่นดำ เว้นแต่บุคคลซึ่งจำเป็นต้องสวมหมวก หรือโพกผ้าตามลัทธิศาสนาของตน ขนาด 3 X 4 เซนติเมตร(1 นิ้ว) จำนวน 2 รูป ซึ่งถ่ายก่อนวันยื่นคำขอไม่เกิน 6 เดือน
7.แบบคำขอรับใบอนุญาตขับรถ ของกรมการขนส่งทางบก
ขั้นตอนการยื่นหลักฐาน และการสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตขับขี่
ยื่นหลักฐาน เอกสารต่าง ๆ (เพื่อความเรียบร้อยและรวดเร็วกรุณาตรวจสอบเอกสารให้ครบถ้วนก่อนยื่นต่อเจ้าหน้าที่)
กำหนดให้อ่านกฎจราจรก่อนอย่างน้อย 20 นาที
การสอบภาคทฤษฎี

ป้ายและเครื่องหมายจราจรา
ทำข้อสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตขับขี่รถจักรยานยนต์
ทำข้อสอบเพื่อขอรับใบอนุญาตขับขี่รถยนต์


สอบภาคปฎิบัติ มีทั้งหมด 7 ท่า ดังมีรายละเอียดดังต่อไปนี้


ขับรถเดินหน้า และขับรถเทียบทางเท้า
ขับรถเดินหน้าและถอยหลังในทางตรง
การขับรถถอยหลังเข้าจอด
การกลับรถ
การหยุดรถบนทางราบ
การหยุดรถ และออกรถบนทางลาดชัน
การขับรถโดยปฎิบัติตามเครื่องหมายจราจร

หมายเหตุ
รถจักรยานยนต์ กำหนดให้ทดสอบภาคปฎิบัติในท่าที่ 7 และต้องให้ปฎิบัติตามเครื่องหมายจราจรไม่น้อยกว่า 3 เครื่องหมาย โดยให้สัญญาณมือและแขน
ส่วนรถยนต์ ท่าที่ 1 เป็นท่าบังคับ นอกนั้นในแต่ละจังหวัด ให้กำหนดตามความเหมาะสม



ชำระค่าธรรมเนียม
รถจักรยานยนต์ 55 บาท
รถยนต์ 105 บาท
หมายเหตุ เมื่อผ่านการสอบหมดแล้วทุกขั้นตอน


คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  

คำตอบที่ 1
       เวบลิ้งนะครับ
http://www.metro.police.go.th/Handbook/Contact6.htm



จาก อาร์ต 203.170.150.57 พุธ, 9/6/2547 เวลา : 20:47   


คำตอบที่ 2
       เป็นสาระมากครับท่านอาร์ต ผมจดเลยครับกระทู้นี้ไว้เวลามีปัญหาหรือมีเพื่อนถามจะทำลิ้งค์ตอบได้ ขอบคุณมากครับ

Mr.Hin จาก นายหิน กลุ่ม Outdoor & camping เชียงใหม่ 170.224.224.124 พุธ, 9/6/2547 เวลา : 08:00   


คำตอบที่ 3
       ดีครับมีประโยชน์มากเลยครับ ขออนุญาติเซฟเก็บไว้หน่อยน่ะครับ ขอบคุณครับ

Karn  Phakakaew จาก Joting TOC-042 ( สาระน่ารู้ ) 203.150.199.182 พุธ, 9/6/2547 เวลา : 08:04   


คำตอบที่ 4
       อัตราค่าปรับ พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522


--------------------------------------------------------------------------------

ลำดับ ข้อกล่าวหา อัตราค่าปรับ (บาท) หมายเหตุ
1. ฝ่าฝืนสัญญาณไฟจราจร 300 -
2. ฝ่าฝืนสัญญาณมือ 300 -
3. ขับรถไม่ชิดขอบทางด้านซ้าย 200 -
4. ขับรถในลักษณะกีดขวางการจราจร 400 -
5. ขับรถโดยประมาทหรือหวาดเสียว 400 -
6. แซงรถในที่คับขัน 400 -
7. เลี้ยวหรือกลับรถในที่ที่มีเครื่องหมายห้าม 400 -
8. กลับรถในที่คับขัน ทางร่วม ทางแยก 400 -
9. ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย 200 -
10. จอดรถในที่ที่มีเครื่องหมายห้าม 200 -
11. จอดรถซ้อนคัน 200 -
12. ไม่สวมหมวกนิรภัย 200 -
13. ฝ่าฝืนเครื่องหมายห้ามเข้า 200 -
14. ไม่ขับรถตามทิศทางที่กำหนด (ย้อนศร) 200 -
15. เดินรถผิดช่องทางเดินรถ 400 -
16. จอดรถไม่ชิดขอบทางด้านซ้าย 400 -
17. ใช้วัสดุกรองแสงผิดกฎหมาย 400 -



อัตราค่าปรับ พ.ร.บ.รถยนต์ พ.ศ.2522


--------------------------------------------------------------------------------

ลำดับ ข้อกล่าวหา อัตราค่าปรับ (บาท) หมายเหตุ
1. ใช้รถที่ยังไม่จดทะเบียนเสียภาษี 1,000 -
2. ไม่ติดแผ่นป้ายทะเบียน 200 -
3. อุปกรณ์ไม่ครบถ้วน 200 -
4. เปลี่ยนแปลงสภาพรถ 1,000 -
5. ขาดต่อภาษีประจำปี 200 -
6. ไม่มีใบอนุญาติขับขี่ 200 -
7. ขับรถที่มีไว้เพื่อการขายหรือเพื่อซ่อมในเวลากลางคืน 200 -
8. ใช้รถไม่ตรงกับประเภทที่ได้จดทะเบียนไว้ 200 -
9. ไม่มีสำเนาภาพถ่ายคู่มือการจดทะเบียนรถ 200 -
10. เปลี่ยนแปลงสี, เครื่องยนต์ ไม่แจ้งต่อนายทะเบียน 1,000 -
11. ใช้โคมไฟหน้า,ไฟท้าย,ไฟเลี้ยว ไฟตัดหมอก (ไฟสปอร์ไลท์) ผิดกฎกระทรวง 200 -
12. ปิดบังแผ่นป้ายทะเบียนทั้งหมดหรือบางส่วนของแผ่นป้ายทะเบียน 200 -
13. ไม่ติดแผ่นป้ายวงกลมแสดงการเสียภาษีประจำปี 200 -
14. ไม่ติดเครื่องหมาย พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสพภัย 1,000 -
15. ท่อไอเสียเสียงดัง 1,000 -

จาก อาร์ต 203.118.113.233 อาทิตย์, 6/6/2547 เวลา : 20:56   


คำตอบที่ 5
       โอ้!พระเจ้าสิ่งที่ได้อ่านนี้ช่างเป็นประโยชน์ดี่ยิ่ง ขอบคุณมากๆเลยคุณอาร์ต

จาก book 210.86.208.137 อาทิตย์, 6/6/2547 เวลา : 21:53   


คำตอบที่ 6
       กฎหมายที่ประชาชนควรรู้ 1. การทะเบียนราษฎร์
บุตรเกิด ถ้าเกิดในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้ง ถ้าเกิดนอกบ้าน ให้มารดาแจ้งภายใน 15 วัน นับแต่วันเกิด
ชื่อบุตร ให้เจ้าบ้าน บิดา หรือมารดาแล้วแต่กรณี แจ้งชื่อบุตรพร้อมกับการแจ้งเกิด ถ้าจะเปลี่ยนชื่อให้แจ้งภายใน 6 เดือนนับแต่วันแจ้งชื่อครั้งแรก
ย้ายบ้าน ให้ผู้ย้ายหรือผู้ที่เจ้าบ้านมอบอำนาจแจ้งออกจากบ้านเดิมภายใน 15 วัน และเมื่อไปอยู่บ้านใหม่ให้แจ้งภายใน 15 วันเช่นกัน
คนตาย ถ้าในบ้านให้เจ้าบ้านแจ้ง ถ้าตายนอกบ้านให้ผู้ที่ไปกับผู้ตาย หรือผู้ที่พบศพเป็นผู้แจ้ง ภายใน 24 ช.ม. นับแต่เวลาตายหรือเวลาพบศพ แจ้งที่ไหน กรณีบุตรเกิด ตั้งชื่อบุตร ย้ายบ้านหรือคนตาย ให้แจ้งดังนี้
ในเขตเทศบาล : ให้แจ้งที่สำนักงานท้องถิ่นซึ่งตั้งอยู่ที่สำนักงานเทศบาล
นอกเขตเทศบาล : ให้แจ้งที่สำนักทะเบียนตำบล (บ้านกำนัน) หรือสำนักทะเบียนที่ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้ง (เช่น เขตกรมทหาร)
ความผิด
ถ้าไม่แจ้งเกิดภายในกำหนดเวลา มีความผิดตามกฎหมาย มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
ถ้าไม่แจ้งการตายภายในเวลามีความผิดตามกฎหมย มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท






--------------------------------------------------------------------------------


กฎหมายที่ประชาชนควรรู้ 2. บัตรประจำตัวประชาชน
คนไทยซึ่งมีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปจนถึง 70 ปี บริบูรณ์ ต้องไปขอทำบัตรที่อำเภอหรือที่ว่าการเขตภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่อายูครบ 15 ปีบริบูรณ์
บัตรประจำตัวประชาชนชำรุดหรือสูญหาย ต้องยื่นคำร้องขอมีบัตรใหม่ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่บัตรเดิมชำรุดหรือสูญหาย (ต้องไปแจ้งบัตรหายที่สถานีตำรวจ)
อายุของบัตร กำหนดใช้ได้ 6 ปี เมื่อถึงกำหนดสิ้นอายุบัตรต้องไปติดต่อขอทำบัตรใหม่ภายใน 60 วันนับตั้งแต่วันสิ้นอายุ ณ อำเภอท้องที่ที่มีชื่อในทะเบียนบ้าน
ความผิด
ผู้ถือบัตรผู้ใดไม่อาจแสดงบัตรได้ในเมื่อเจ้าพนักงานขอตรวจ มีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท
ผู้ไม่มีสัญชาติไทยยื่นคำร้องขอมีบัตรโดยแจ้งข้อความเท็จต่อเจ้าพนักงานว่าตนมีสัญชาติไทย มีโทษปรับไม่เกิน 2.000 บาทหรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
ไม่ยื่นคำร้องขอมีบัตรภายในกำหนดเวลา มีโทษปรับไม่เกิน 500 บาท
บัตรหมดอายุไม่ต่อบัตรภายในกำหนด มีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท






--------------------------------------------------------------------------------


กฎหมายที่ประชาชนควรรู้ 3. การรับราชการทหาร
กำหนดเวลาแสดงตนลงบัญชีทหารกองเกิน ชายไทยอายุย่างเข้า 18 ปี ต้องไปแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินในเดือนพฤศจิกายนของปีที่อายุย่างเข้า 18 ปี
สถานที่แสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินคือที่ว่าการอำเภอหรือกิ่งอำเภอที่เป็นภูมิลำเนาทหาร






--------------------------------------------------------------------------------


กฎหมายที่ประชาชนควรรู้ 4. การรักษาความสะอาด
ห้ามขีดเขียน วาดรูปวาดภาพบนรั้วผนังอาคาร ต้นไม้ หรือสิ่งใดใสที่สาธารณะ หรือเห็นได้จากที่สาธารณะนั้น ถ้าฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท
ห้ามติดตั้ง ตาก วางหรือแขวนสิ่งใดๆ ในที่สาธารณะหรือมองเห็นได้จากที่สาธารณะโดยไม่บังควรหรือทำให้มองดูแล้วไม่เป็นระเบียบเรัยบร้อย ถ้าฝ่าฝืนมีโทษปรับ 200 บาท
ห้ามบ้วน สั่งหรือถ่มน้ำลาย น้ำมูก น้ำหมาก เสมหะหรือทิ้งสิ่งใดๆ ลงบนท้องถนน พื้นรถ หรือเรือสาธารณะ โรงมหรสพ ร้านค้า หรือที่สาธารณะ ถ้าฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท






--------------------------------------------------------------------------------


กฎหมายที่ประชาชนควรรู้ 5. การเรี่ยไร
ผู้ทำการเรี่ยไร ต้องมีใบอนุญาตให้ทำการเรี่ยไรติดตัวและต้องออกใบรับให้ผู้บริจาค






--------------------------------------------------------------------------------


กฎหมายที่ประชาชนควรรู้ 6.หนังสือมอบอำนาจ
การมอบอำนาจเป็นการตั้งตัวแทนเพื่อทำการสำหรับการมอบอำนาจให้กระทำการเกี่ยวกับที่ดินเป็นเรื่อสำคัญควรใช้หนังสือมอบอำนาจของกรมที่ดิน






--------------------------------------------------------------------------------


กฎหมายที่ประชาชนควรรู้ 7. เอกเทศสัญญา
กู้ยืม การกู้ยืมเงินกันเกินกว่าห้าสิบบาท จะต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือแสดงว่ามีการกู้ยืมเงินกันจริงและต้องลงลายมือชื่อผู้กู้ด้วย กฎหมายให้คิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 15 บาทต่อปี
การจำนอง คือการกู้ยืมโดยมีทรัพย์สิน เป็นประกันโดยทั่วไปได้แก่ ที่ดิน บ้านพร้อมที่ดิน เรือยนต์ (5 ตันขึ้นไป) สัตว์พาหนะ ได้แก่ ช้าง ม้า วัว ความ หรืออสังหาริมทรัพย์อื่น ซึ่งกฎหมายหากบัญญัติไว้ให้จดทะเบียนเฉพาะกาล โดยทรัพย์ยังอยู่ที่ผู้จำนอง การจำนองต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
เช่าซื้อ ต้องทำเป็นหนังสือและปิดอากรแสตมป์เว้นแต่เช่าซื้อเครื่องมือการเกษตรไม่ต้องปิดอากรแสตมป์
เช่าทรัพย์ เช่าบ้านหรือที่ดินไม่เกิน 3 ปี ต้องทำเป็นหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้เช่าแล้ผู้ให้เช่า หากเกิน 3 ปี ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่






--------------------------------------------------------------------------------


กฎหมายที่ประชาชนควรรู้ 8. กฎหมายที่ดิน
เมื่อโฉนดใบจองหรือ นส.3 ชำรุด สูญหายหรือเป็นอันตรายต้องติดต่ออำเภอหรือสำนักงานทะเบียนที่ดิน เพื่อขอออกใบใหม่หรือใบแทน มิฉะนั้นผู้อื่นที่ได้หนังสือสำคัญไปอาจนำไปอ้างสิทธิ ทำให้เจ้าของเดิมเสียประโยชน์ได้
ที่ดินมือเปล่า เจ้าของควรดูแลรักษาให้ดี อย่าทอดทิ้งหรือปล่อยให้รกร้างว่างเปล่า หากมีผู้ครอบครองก็หาทางไล่ออกไปเสีย มิฉะนั้นเจ้าของจะเสียสิทธิไป นอกจากนี้ หากไม่มี ส.ค.1 ก็ควรหาทางขอ น.ส.3 แล้วต่อไปก็ขอให้มีโฉนดเสียให้เรียบร้อยเพราะทำให้ได้ประโยชน์มากขึ้นและปลอดภัยจากการเสียสิทธิมากขึ้น
ที่ดินมีโฉนด อย่าทอดทิ้งหรือปล่อยให้รกร้างหรือให้คนอื่นครอบครองไว้นานๆ อาจเสียสิทธิได้เช่นกัน
การทำนิติกรรม ต้องทำให้สมบูรณ์ตามกฎหมายโดยทำที่อำเภอหรือสำนักงานทะเบียนที่ดิน






--------------------------------------------------------------------------------


กฎหมายที่ประชาชนควรรู้ 9. อาวุธปืน
ผู้ที่ประสงค์จะขอมีอาวุธปืน เพื่อใช้หรือเก็บไว้ป้องกันตัวหรือทรัพย์สิน ให้ยื่นคำร้องขอตามแบบ ป.1 ต่อนายทะเบียนท้องที่
กรุงเทพมหานคร ได้แก่ ผู้บังคับการกองทะเบียนกรมตำรวจ
จังหวัดอื่นๆ ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นนายทะเบียนท้องที่จังหวัด
การแจ้งย้ายอาวุธปืน เมื่อผู้ได้รับอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืนย้ายภูมิลำเนา ต้องแจ้งย้ายอาวุธปืนต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน นับแต่วันย้าย และถ้าย้ายไปต่างท้องที่ให้แจ้งการย้ายต่อนายทะเบียนท้องที่ใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ย้ายไปถึงอีกด้วย
การรับมรดกปืน เป็นหน้าที่ของทายาทหรือผู้ครอบครอง ต้องไปแจ้งการตายต่อนายทะเบียนท้องที่ ภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันทราบการตายและยื่นคำร้องขอรับมรดกอาวุธปืนนั้นต่อไป
ใบอนุญาตสูญหายหรือชำรุดอ่านไม่ออก ให้ยื่นคำร้องขอรับใบอนุญาตต่อนายทะเบียนท้องที่ภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบเหตุ
อาวุธปืนหายหรือถูกทำลาย ให้เจ้าของแจ้งเหตุพร้อมด้วยหลักฐานและส่งมอบใบอนุญาตต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ตนอยู่หรือนายทะเบียนท้องที่ที่เกิดเหตุภายใน 15 วัน นับแต่วันทราบเหตุ
*ความผิดและโทษของอาวุธปืน
มีและพกอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 10 ปี ปละปรับตั้งแต่ 2,000 บาทถึง 20,000 บาท
พกพาอาวุธปืนติดตัวไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตให้พก เว้นแต่กรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ผู้ใดพกพาอาวุธปืนไปโดยเปิกเผย หรือพาไปที่ชุมชนที่ได้จัดให้มีขึ้นเพื่อนมัสการ การรื่นเริง การมหรสพ หรือการอื่นใด ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาทแม้ว่าผู้นั้นจะได้รับอนุญาตพกพาอาวุธปืนหรือกรณีเร่งด่วนก็ตาม


จาก อาร์ต 203.170.137.126 จันทร์, 7/6/2547 เวลา : 20:25   


คำตอบที่ 7
       ขอจดเผื่อไว้มั่ง..ง (สำหรับตัวเอง และคนรู้จัก หากประสบปัญหา) ขอบคุณครับ คุณอาร์ต..เยี่ยมจริง ๆ

paladin จาก TOC 142 203.107.210.4 พุธ, 9/6/2547 เวลา : 19:38   


คำตอบที่ 8
       เพื่อความสะดวกรวดเร็วและถูกต้องตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการ เมื่อท่านไปติดต่อที่
สถานีตำรวจ ท่านควรเตรียมเอกสารต่างๆ ที่จำเป็นติดตัวไปด้วยคือ
1. บัตรประจำตัวประชาชน หรือ ใบแทนฯ หรือ
2. บัตรประจำตัวข้าราชการ หรือ
3. ใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว หรือ
4. หนังสือเดินทาง (PASSPORT) สำหรับชาวต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาภายในประเทศ
5. สำเนาทะเบียนบ้าน
6. ในกรณีที่ท่านจะไปร้องทุกข์ (แจ้งความ) โดยเป็นตัวแทนของผู้อื่นให้นำ หลักฐานต่างๆ ดังนี้
ติดตัวไปด้วย

6.1 ใบสำคัญแสดงการเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของผู้เยาว์

6.2 ใบสำคัญแสดงการเป็นผู้อนุบาลของผู้ไร้ความสามารถ (ตามคำสั่งศาล)

6.3 ในกรณีที่ผู้เสียหายถูกทำร้ายถึงตายหรือบาดเจ็บจนไม่สามารถจัดการเองได้ ให้ท่าน
นำหลักฐานซึ่งแสดงว่าท่านเป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานหรือสามีภรรยา
(ซึ่งได้จดทะเบียนบ้าน,สูติบัตร,ใบทะเบียนสมรส ฯลฯ) มาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ

6.4 ใบสำคัญแสดงการอนุญาตของสามีและภรรยาแล้วแต่กรณี ให้ร้องทุกข์แทนหรือ
เป็นตัวแทนโดยสมบูรณ์

6.5 ในกรณีที่เป็นผู้แทนของนิติบุคคลให้นำ

(1) หนังสือมอบอำนาจของนิติบุคคลเป็นหลักฐานทั้งติดอากรแสดมป์ 5 บาท

(2) หนังสือรับรองนิติบุคคลนั้นของกระทรวงพาณิชย์




แจ้งความบัตรประจำตัวประชาชนหาย
กรุงเทพมหานคร แจ้งที่สถานีตำรวจ
ต่างจังหวัด สามารถแจ้งความได้ที่ ที่ว่าการอำเภอ/กิ่งอำเภอ หรือสถานีตำรวจก็ได้
อายุของบัตร

- กำหนดให้ใช้ได้ 6 ปี เมื่อถึงกำหนดสิ้นอายุบัตร ต้องไปติดต่อขอทำบัตรใหม่ภายใน 90 วันนับแต่วันที่บัตรหมดอายุ เว้นแต่บัตรที่ยังไม่หมดอายุ ในวันที่ ผู้ถือบัตรมีอายุครบ 70 ปีบริบูรณ์บัตรนั้นสามารถใช้ได้ต่อไปตลอดชีวิต

ความผิด
- ผู้ถือบัตรผู้ใดไม่อาจแสดงบัตรได้ เมื่อเจ้าพนักงานตรวจบัตรขอตรวจมีโทษ ปรับไม่เกิน 100 บาท- ไม่ยื่นคำขอมีบัตรภายในกำหนดเวลามีโทษปรับไม่เกิน 200 บาท- บัตรหมดอายุไม่ต่อบัตรภายในกำหนด หรือบัตรหายแล้วไม่ขอมีบัตรใหม่ ภายในกำหนดมีโทษปรับ
ไม่เกิน 200 บาท
- ผู้ไม่มีสัญชาติไทย ผู้ใดยื่นคำขอมีบัตรโดยแจ้งข้อความหรือ
แสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าตนเป็น
ผู้มีสัญชาติไทยหรือใช้บัตรซึ่งตนหมดสิทธิ์ใช้ ต้องระวางโทษ
จำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงห้าปีและปรับตั้งแต่หนึ่งหมื่นบาท
ถึงหนึ่งแสนบาท




แจ้งความเอกสารสำคัญหาย
เช่น บัตรประจำตัวประชาชน ใบอนุญาตขับขี่รถยนต์, จักรยานยนต์, โฉนดที่ดิน,ใบสำคัญประจำตัวต่างด้าว ฯลฯ มีขั้นตอนดำเนินการดังนี้
1. ยื่นคำร้องแจ้งว่าเอกสารดังกล่าวหาย ต่อสถานีตำรวจท้องที่ที่หาย
2. เจ้าพนักงานตำรวจจะทำการสอบสวนว่าหายจริงหรือไม่ แล้วลงประจำวันไว้เป็นหลักฐาน
3. เจ้าพนักงานตำรวจจะออกหลักฐานยืนยันไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการต่อไป



แจ้งความคนหาย

หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ
1. บัตรประจำตัวผู้หาย (ถ้ามี)
2. ใบสำมะโนครัว (ทะเบียนบ้าน) ผู้หาย
3. ภาพถ่ายคนหาย (เป็นภาพถ่ายที่ใหม่ที่สุด)
4. ใบสำคัญทางราชการ เช่น ใบเกิด,ใบสำคัญทหาร (ใบกองเกิน, กองหนุน)


แจ้งความรถและเรือหาย

หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ
1. ใบทะเบียนรถยนต์ รถจักรยานยนต์ เรือ หรือ พาหนะอื่นๆ ที่หาย
2. ใบรับเงินหรือสัญญาซื้อขายเท่าที่มี
3. ถ้าเป็นตัวแทนห้างร้าน บริษัท ไปแจ้งความควรมีหนังสือมอบอำนาจจากเจ้าของหรือผู้จัดการของ
ห้างร้าน บริษัทนั้นๆ ไป รวมทั้งหนังสือรับรองบริษัทด้วย
4. หนังสือเกี่ยวกับการติดต่อหรือเอกสารที่จะใช้เป็นพยานหลักฐานด้ (ถ้ามี)
5. หนังสือคู่มือประจำตัวรถที่ทางบริษัทห้างร้านจ่ายให้เป็นคู่มือถ้าไม่มีหนังสือคู่มือรถ ให้จำยี่ห้อ สี แบบ
หมายเลขประจำวัน เครื่องและตัวรถไปด้วย (ถ้ามี)




แจ้งความอาวุธปืนหาย

หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ
1. ทะเบียนใบอนุญาตอาวุธปืน
2. ใบเสร็จรับเงินที่บริษัทห้างร้ายขายปืนออกให้





แจ้งความทรัพย์สินหาย

หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ
1. ใบเสร็จรับเงินซื้อขาย หรือหลักฐานการแสดงการซื้อขาย
ทรัพย์สินนั้น
2. รูปพรรณทรัพย์สินนั้นๆ (ถ้ามี)
3. ตำหนิหรือลักษณะพิเศษต่างๆ
4. เอกสารสำคัญต่างๆ เท่าที่มี
5. ในกรณีลักทรัพย์ในบ้านเรือน หรือสำนักงานให้รักษาร่อง
รอยหลักฐานในที่เกิดเหตุไว้ อย่าให้ผู้ใดเข้าไปแตะต้อง
หรือเคลื่อนย้ายสิ่งของในที่เกิดเหตุจนเจ้าหน้าที่ตำรวจ
จะไปถึง




แจ้งความพรากผู้เยาว์

หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ
1. ใบสำมะโนครัว (ทะเบียนบ้าน) ของผู้เยาว์
2. รูปพรรณทรัพย์สินนั้นๆ (ถ้ามี)
3. ตำหนิหรือลักษณะพิเศษต่างๆ
4. ใบสำคัญอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับผู้เยาว์ (ถ้ามี)




แจ้งความถูกข่มขืนกระทำชำเรา

หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ
1. เสื้อผ้าของผู้ที่ถูกข่มขืนฯ ซึ่งมีคราบอสุจิ หรือรอยเปื้อน
อย่างอื่นอันเกิดจากการข่มขืนและสิ่งของต่างๆของ
ผู้ต้องหาที่ตกอยู่ในสถานที่เกิดเหตุ
2. ใบสำมะโนครัว (ทะเบียนบ้าน) ของผู้เสียหาย
3. รูปถ่าย หรือที่อยู่ของผู้ต้องสงสัยตลอดจนหลักฐานอื่นๆ




แจ้งความถูกทำร้ายร่างกายและเหตุฆ่าคนตาย

ควรดำเนินการดังนี้
1. ให้ดูแลรักษาสถานที่เกิดเหตุไว้ อย่าให้ผู้ใดเข้าไปแตะต้อง
หรือเคลื่อนย้ายสิ่งของต่างๆ ในที่เกิดเหตุ จนกว่าเจ้าพนักงาน
ตำรวจจะไปถึงที่เกิดเหตุ
2. เมื่อพบ มีด ไม้ ปืน ของมีคม หรืออาวุธที่คนร้ายทิ้งไว้
ในสถานที่เกิดเหตุ ตลอดจนพยานหลักฐานต่างๆ ที่ตกอยู่ใน
ที่เกิดเหตุ หากปล่อยทิ้งไว้จะสูญหายหรือเสียหาย ให้นำมา
มอบเจ้าหน้าที่ตำรวจ
3. รายละเอียดเท่าที่สามารถบอกให้เจ้าหน้าที่ตำรวจได้ทราบ




แจ้งความถูกปลอมแปลงเอกสาร

หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ
1. ใบสำคัญตัวจริง เช่น โฉนด แบบ น.ส.3 แบบ ส.ค. 1 หนังสือสัญญา
ใบเสร็จรับเงิน เป็นต้น
2. หนังสือที่ปลอมแปลง
3. ตัวอย่างตราที่ใช้ประทับหรือลายเซ็นในหนังสือ




แจ้งความถูกฉ้อโกงทรัพย์

หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ
1. หนังสือหรือหลักฐานต่างๆ ที่เกี่ยวกับการถูกฉ้อโกง
2. หนังสือแสดงการเป็นผู้ครอบครองทรัพย์
3. หนังสือหรือหลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของทรัพย์




แจ้งความถูกยักยอกทรัพย์

หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ
1. หนังสือสำคัญที่เป็นหลักฐานว่าได้มีการมอบหมายทรัพย์ให้ไป
จัดการอย่างใดอย่างหนึ่ง
2. ใบสำคัญแสดงการเป็นเจ้าของ
3. สำเนาหรือคำสั่งศาล หรือพินัยกรรมในกรณีผู้กระทำผิดเป็น
ผู้จัดการทรัพย์สินผู้อื่นตามคำสั่งของศาลหรือพินัยกรรม




แจ้งความยักยอกทรัพย์เกี่ยวกับการเช่าซื้อหาย

หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ
1. สัญญาใบเช่าซื้อหรือสำเนา
2. ใบสำคัญติดต่อซื้อ ขาย เช่า ยืมหรือฝาก
3. ใบสำคัญที่บริษัทห้างร้านออกให้โดยระบุรูปพรรณ ยี่ห้อ สี ขนาด
น้ำหนักและเลขหมายประจำตัว




แจ้งความทำให้เสียทรัพย์

หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ
1. หลักฐานต่างๆ แสดงการเป็นเจ้าของหรือครอบครองทรัพย์นั้น
2. หลักฐานหรือสิ่งของที่เสียหายเท่าที่มีหรือเท่าที่นำไปได้
3. หากเป็นของใหญ่โต หรือทรัพย์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ ซึ่งไม่สามารถ
นำติดตัวไปได้ ให้เก็บรักษาไว้อย่าให้เกิดการเสียหายมาขึ้นกว่าเดิม
หรือจัดให้คนเฝ้ารักษาไว้เพื่อเป็นหลักฐานในการดำเนินคดีต่อไป




แจ้งความจ่ายเช็คโดยไม่มีเงิน

หลักฐานต่างๆ ที่ควรนำไปแสดงต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจ คือ
1. เช็คที่ยึดไว้
2. หนังสือที่ธนาคารแจ้งขัดข้องหรือปฏิเสธการจ่ายเงิน


จาก อาร์ต 203.118.113.233 อาทิตย์, 6/6/2547 เวลา : 20:59   


คำตอบที่ 9
       สุด....ยอด......

TIGERGOLD จาก เอก พุงโต 203.146.161.132 อาทิตย์, 6/6/2547 เวลา : 22:39   

กระทู้ข้อมูลเก่า สำหรับอ่านได้อย่างเดียว

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  



      




Since 22, Feb 2001 hit counter View My Stats  Truehits.net      วันศุกร์,3 พฤษภาคม 2567 (Online 4641 คน)