WeekendHobby.com
เครื่องมือในการใช้งาน website =>> สมัครสมาชิก | Login | Logout | เปลี่ยนไอคอนส่วนตัว | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อโฆษณา         View stat by Truehits.net


พี่ ๆ ปีกนกหน้า mtx ผมไม่เห็นมีสปริง เลยครับ.. แล้วมัน มีแรงยัน ยังไง.. งง
ddnoi
จาก ddnoi
IP:58.8.119.239

อังคารที่ , 11/5/2553
เวลา : 09:03

อ่านแล้ว = ครั้ง
 เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งตรวจสอบกระทู้
 แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน ส่งหาเพื่อน

       คือ ผมถอด โช๊คมาเปลี่ยนครับ.. แต่เป็นแค่โช๊คน้ำมัน ไม่เห็นมี สปริงเลยครับ
แล้วมัน ยันล้อ ยังไงครับ. งงมาก ๆ ช่อยตอบผมที.



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

แจ้งเพื่อเก็บขึ้นกระทู้พิเศษ คลิ๊กที่นี่แจ้งเพื่อนำขึ้นกระทู้พิเศษ

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  

คำตอบที่ 1
       เขาใช้ ทอร์ชั่นบาร์ ไอ้แท่งเหล็ก ยาวยาวที่ยึดปีกนกไง แทนสปริง



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

inging จาก maxX 61.7.191.155 อังคาร, 11/5/2553 เวลา : 10:44  IP : 61.7.191.155   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 41026

คำตอบที่ 2
       ขอบคุณ คุณ maxX ครับ.. ที่ให้ข้อมูล ผมกระจ่างแจ้ง แจ่ม แจ๋ว แล้วครับ...


คุณรู้จัก “ทอร์ชั่นบาร์” หรือเปล่า ?
ทอร์ชั่นบาร์ หรือ คานรับแรงบิดโดยทั่วไปรูปทรงมาตรฐานก็คือ เหล็กสปริงท่อนกลมยาวๆ ผ่านกรรมวิธีการผลิตคล้ายแหนบหรือคอยล์สปริง (รวมถึงเนื้อโลหะที่ใช้ในผลิตก็มักเป็นเกรดเดียวกัน อาทิ 5160 ซึ่งเมื่อแตกหักหรือหมดสภาพการใช้งานสามารถเอามาทำเป็นมีดเดินป่าได้อย่างมีคุณภาพน่าประทับใจเลยทีเดียว) ความแตกต่างนอกจากรูปทรงก็มีเพียงการทำงานที่ทอร์ชั่นบาร์ใช้การบิดและคืนตัว ขณะที่ทั้งแหนบและคอยล์สปริงใช้การยุบและคืนตัว

ตำแหน่งของทอร์ชั่นบาร์ แน่นอนว่าเป็นชิ้นส่วนของระบบกันสะเทือน ที่โดยมากต้องอยู่ใต้ท้องรถ จุดยึดของทอร์ชั่นบาร์จึงแบ่งเป็น 2 ส่วนคือ ด้านหัวและท้าย โดยด้านหัวมักติดตั้งบริเวณปีกนก อาจเป็นได้ทั้งปีกนกบนหรือปีกนกล่างแล้วแต่ระบบของช่วงล่าง ส่วนด้านท้ายอาจยึดติดกับโครงตัวถังหรือแชสซีย์ของรถแล้วแต่โครงสร้างของรถแต่ละรุ่น ซึ่งท่อนเหล็กช่วงกลางระหว่างจุดยึดหัว/ท้ายนี่เอง ที่ทำหน้าที่เป็นตัวรับน้ำหนัก โดยหัวเหล็กทอร์ชั่นบาร์ที่ยึดติดอยู่กับจดหมุนของปีกนก ไม่ว่าจะเป็นปีกนกบนหรือปีกนกล่าง เช่นหากยึดติดกับปีกนกบน หากรถเกิดการยุบตัว แกนปีกนกบนจะให้ตัว เพื่อปล่อยให้ล้อยุบตัวขึ้นไปด้านบน ช่วงนี้เองที่ปีกนกจะบังคับให้ทอร์ชั่นบาร์ซึ่งยึดติดอยู่เกิดการบิดตัวเป็นองศา เท่ากับการยุบตัวของปีกนก และจากการเป็นเหล็กสปริงนี่เอง ทอร์ชั่นบาร์เมื่อบิดตัวแล้วจึงมีแรงบิดกลับหรือดีดให้ตัวรถและปีกนกกลับสู่ตำแหน่งเดิม โดยมีช็อคอับทำหน้าที่ซับแรงมิให้การดีดกลับรุนแรงเกินไป

วิธีทำให้ทอร์ชั่นบาร์รับน้ำหนักได้มากขึ้น หรือเท่ากับการยุบตัวได้น้อยลง ก็คือการทำให้ทอร์ชั่นบาร์บิดตัวได้ยากมากขึ้น มีอยู่ 2 วิธีหลักๆ คือ ทำให้มีขนาดสั้นลง หรือมีเส้นผ่าศูนย์กลางใหญ่ขึ้น และใช้เหล็กที่นำมาผลิตมีคุณสมบัติรับแรงเค้นและน้ำหนักได้มากขึ้น
ทอร์ชั่นบาร์ที่ติดกับรถมาจากโรงงานส่วนใหญ่ออกแบบมาเพื่อรับน้ำหนักรถหรือความสูงแบบเดิมๆ ไม่ได้รองรับเพื่อการติดตั้งกันชนหน้าแบบโลหะที่มีน้ำหนักมากหรือการติดตั้งวินช์ ที่มีน้ำหนักรวมกันชนไปห้อยอยู่ด้านหน้าประมาณ 70 กก. จนมีผลทำให้หน้ารถมุดต่ำลงจนเห็นได้ชัด และมีผลต่อสมรรถนะการขับขี่ของรถ

การแก้ไขเบื้องต้นง่ายๆ โดยทั่วไปก็คือการขันตั้งทอร์ชั่นบาร์ให้บิดตัว เพื่อยันให้ตัวรถสูงขึ้นตามระดับที่ต้องการ แต่สิ่งที่เกิดขึ้นตามมานอกจากความแข็งกระด้างและดีดตัวอย่างมากในช่วงแรก ก็คือทอร์ชั่นบาร์เกิดความล้าจากการบังคับให้ดีดตัวอยู่บิดยันอยู่ตลอดเวลา จึงเริ่มย้วยกลับลงมาจุดเดิมและต้องปรับตั้งใหม่จนในที่สุดเหล็กก็เกิดความเครียดถึงจุดวิกฤติ จนสามารถแตกหักได้ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นขณะปรับตั้งหรือใช้งานเมื่อรถต้องยุบลงมากๆ ซึ่งอย่างหลังนี้อาจอันตรายมากหน่อย

ส่วนทอร์ชั่นบาร์ของสำนักแต่งต่างๆ ที่ออกมาหลากหลายร่วม 10 ยี่ห้อนั้น โดยมากมักมีคุณสมบัติเพื่อรองรับการใช้งานในลักษณะต่างๆ เช่นเพื่อความสูง, รับน้ำหนักมากขึ้น หรือทั้งเพิ่มความสูงและรับน้ำหนักเพิ่มขึ้นด้วย อย่าเพิ่งคิดว่าเลือกอย่างหลังมาใช้จะครอบจักรวาล คุ้มค่ากว่า เพราะหากภาระไม่มากขนาดนั้นแต่เลือกอุปกรณ์แบบเฮฟวี่ดิวตี้เช่นนี้มาใช้ คุณอาจได้เผชิญกับความรู้สึกของการนั่งเกวียนแทนรถก็เป็นได้

โดยมากของทอร์ชั่นบาร์จากสำนักแต่งมักมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางบริเวณจุดรับแรง หรือส่วนกลางของทอร์ชั่นบาร์มีขนาดใหญ่กว่าทอร์ชั่นบาร์ของเดิมจากโรงงานผลิตรถยนต์ หรือบางรูปแบบอาจดีไซน์ให้ปลายใหญ่กว่าส่วนกลางบ้างเล็กน้อยเพื่อการกระจายแรงที่ดีขึ้น โดยหลังจากติดตั้งทอร์ชั่นบาร์แล้วอาจต้องมีการปรับตั้งบ้างเล็กน้อย เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน

ประโยชน์โดยทั่วไปของทอร์ชั่นบาร์ที่ว่ามาก็คือช่วยควบคุมการให้ตัวของระบบช่วงล่าง ซึ่งมีผลต่อการควบคุมบังคับของตัวรถ ด้วยความหนืดที่มากขึ้นนั้น ก็มีผลในเรื่องการสั่นสะเทือนของตัวรถ หรือในขณะเบรกที่มีการถ่ายน้ำหนักมาด้านหน้านั้น ทอร์ชั่นบาร์ก็มีส่วนในการควบคุมแรงเฉื่อยที่เกิดขึ้นและช่วยในการควบคุมทิศทาง รวมถึงการเอียงตัวของรถ การบังคับเลี้ยวต่างๆ

เอาเป็นว่ารถที่เข้าข่ายต้องพิจารณาเรื่องทอร์ชั่นบาร์ก็คือ รถที่ยกสูงมากขึ้นเกิน 2 นิ้ว หรือติดตั้งอุปกรณ์จนเพียบกระทั่งหน้ามุด ส่วนใครที่รถเดิมๆ ยกสูงจากเดิมไม่เกิน 2 นิ้ว (ไม่รวมความสูงของยาง) ก็เอาเป็นว่าของเดิมยังใช้ได้อยู่ครับ ไม่ต้องดิ้นรนไปเสียเงิน


ทีมาครับ... http://www.teentoa.com/article/data/065_arti.php





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

ddnoi จาก ddnoi 58.8.119.239 อังคาร, 11/5/2553 เวลา : 11:42  IP : 58.8.119.239   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 41027

      

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  



website รองรับการใช้งานทุกระบบปฏิบัติการของ PC Tablet SmartPhone ทุกระบบสามารถโพสข้อความและรูปภาพได้โดยไม่ต้องย่อไฟล์
เพื่อความปลอดภัยในการใช้ website WeekendHobby.Com สมาชิก เท่านั้น จึงจะตั้งกระทู้ หรือ ตอบกระทู้ได้ครับ
Login Click ที่นี่
สมัครสมาชิก Click ที่นี่



Since 22, Feb 2001 hit counter View My Stats  Truehits.net      วันศุกร์,19 เมษายน 2567 (Online 4571 คน)