WeekendHobby.com
เครื่องมือในการใช้งาน website =>> สมัครสมาชิก | Login | Logout | เปลี่ยนไอคอนส่วนตัว | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อโฆษณา         View stat by Truehits.net


ความรู้เกี่ยวกับรองเท้าเดินป่า
ช้างพลาย
จาก ช้างพลาย KBL>>53
IP:203.156.183.145

อังคารที่ , 6/12/2554
เวลา : 09:40

อ่านแล้ว = ครั้ง
 เก็บเข้ากระทู้ส่วนตัว
แจ้งตรวจสอบกระทู้
 แจ้งลบ
ส่งหาเพื่อน ส่งหาเพื่อน

       ความรู้เกี่ยวกับรองเท้าเดินป่า
ข้อมูลดีๆจาก http://www.touronholiday.com

รองเท้า เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญ หรือแทบจะเรียกได้ว่าเป็นหัวใจของการเดินป่าเลยทีเดียว เพราะรองเท้าคู่นี้จะพาเราไปสัมผัสความสวยงามตามธรรมชาติในป่าเขาลำเนาไพร ทั้งเดินไต่ระดับตามภูเขาลูกแล้วลูกเล่า หรือท่องน้ำไปตามลำห้วยต่างๆยามเดินหลงป่าหรือ หาเส้นทางในป่าไม่พบ ถ้าเมื่อไรที่เจ้ารองเท้าคู่ใจเกิดทรยศขึ้นมา ก็อาจทำให้เจ้าของต้องน้ำตาเช็ดหัวเข่าได้เช่นกัน และการเที่ยวเดินป่าครั้งนั้นก็คงจะหมดสนุกอย่างสิ้นเชิง รองเท้า จึงนับว่าเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งในการเดินป่า และคงต้องให้ความใส่ใจในการเลือกรองเท้าในการใช้งาน ก่อนอื่นมาทำความรู้จักส่วนประกอบต่างๆของรองเท้า ว่ามีอะไรบ้าง






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

แจ้งเพื่อเก็บขึ้นกระทู้พิเศษ คลิ๊กที่นี่แจ้งเพื่อนำขึ้นกระทู้พิเศษ

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  

คำตอบที่ 1
       1. คอรองเท้า (PADDED SCREE COLLAR / COLLAR)
เป็นส่วนสันขอบรองเท้าด้านใน ที่ประกอบด้วยฟองน้ำประกบกาวกับผ้ายืดคล้าย ๆ ผ้าขนหนู ขนสั้น ซึ่งถูกแปรงจนขนขึ้นฟูเล็กน้อย ลักษณะผ้าจะทอไม่แน่น ใช้ชื่อเรียกทั่วไปว่า Visa Pile ความยาวของขนนั้นจะสั้นหรือยาวขึ้นอยู่กับประเภทของรองเท้าและดีไซน์ ส่วนใหญ่ถ้าเป็นรองเท้าสำหรับเดินป่าแล้วจะเป็นขนสั้นมากกว่า เพื่อสะดวกในการดูแลรักษาและความนุ่มนวลในการสวมใส่ อีกทั้งลดการเสียดสีตรงช่วงขอบของปีกรองเท้ากับบริเวณข้อเท้าตรงส่วนที่เป็น เอ็นร้อยหวาย

2. ที่กันกระแทกเอ็นร้อยหวาย (ACHILLES NOTCH)
‘ACHILLES’ คือ เอ็นร้อยหวาย ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของเท้าจึงต้องมีฟองน้ำเพิ่มใส่เข้าไปในจุดนี้ ซึ่งอยู่ตรงกึ่งกลางของด้านหลังของรองเท้าทีเป็นจุดสัมผัสกับเอ็นร้อยหวาย เพื่อคอยรับแรงกระแทกที่อาจเกิดขึ้นจากการเดิน ปีนเขา หรือ อุบัติเหตุจากการหกล้ม

3. ผนังรองเท้า (WATERPROOF / BREATHABLE LINER)
เป็นส่วนที่อยู่ด้านในของรองเท้าจะใช้วัสดุที่กันน้ำและสามารถระบายอากาศได้ดี เพื่อลดความอับชื้นและกลิ่นอันไม่พึงประสงค์

4. ลิ้นรองเท้า (SOFT TONGUE GUSSET)
รองเท้าก็มีลิ้นเหมือนกัน ซึ่งส่วนนี้ประกอบไปด้วยหนังเทียมประกบ กับฟองน้ำ (Form หรือ Sponge ) มีลักษณะเป็นแซนวิชโดยมีหนังเทียมประกบทั้งด้านนอกและด้านใน แล้วเย็บตะเข็บทั้งสองข้างเข้ากับด้านบนของรองเท้า ซึ่งจะมีชื่อเรียกว่า Gusset (Gusset แปลตามตัวคือ เหล็กรูปสามเหลี่ยมที่ใช้ต่อมุมผนัง) ตัวลิ้นของรองเท้านั้นจะอยู่บริเวณใต้เชือกผูกรองเท้า รองเท้าบางประเภทจะเห็นว่า ลิ้นของรองเท้าจะไม่เย็บติดกับด้านบนของรองเท้า เช่น รองเท้ากีฬาประเภทต่างๆ แต่สำหรับรองเท้าเดินป่านั้น ส่วนใหญ่จะเย็บลิ้นเป็นแบบ Gusset เพื่อความสะดวกในการสวมใส่และกระชับยิ่งขึ้นหลังจากร้อยเชือกแล้ว อีกทั้งยังช่วยรักษาตำแหน่งของลิ้นให้อยู่คงที่ไม่บิดเบี้ยวเวลาเคลื่อนใหว

5. รอยต่อลิ้นรองเท้า (SYNTHETIC LINING)
คือส่วนที่เย็บติดกับลิ้นของรองเท้า ( Tongue ) ทั้งด้านนอกและด้านในจะใช้วัสดุที่เรียกว่า Synthetic หรือ หนังเทียมนั่นเอง เพื่อความคงทนในการใช้งานและลดต้นทุนการผลิต เนื่องจากราคาจะถูกกว่าหนังแท้ มีลักษณะทั้งเป็นแบบด้าน (Dull Finished) และ แบบมัน ( Shining Finished) แล้วแต่ดีไซน์ของรองเท้า

6. แผ่นรองรองเท้า (STIFFENER / PLASTIC HEEL CUP)
เป็นส่วนประกอบสำคัญส่วนหนึ่งที่ทำให้รองเท้ามีรูปร่างสวย ชิ้นส่วนนี้จะมีรูปลักษณะโค้งแคบคล้ายๆตัว V ทรงกว้างเพื่อรองรับรูปทรงของส้นเท้า และให้เกิดความกระชับกับส้นเท้า ทำให้ส้นเท้าคงที่ ไม่บิดเวลาก้าวเท้า หรือเกิดอุบัติเหตุเท้าพลิก วัสดุนี้จะมี 2 ประเภทประเภทแรกเป็น Tr Counter ทำจาก Thermoplastic แล้วขึ้นรูปสำเร็จรูปจากโรงงาน อีกประเภทหนึ่งเป็น แผ่นเคมี (Chemical Sheet) ซึ่งต้องนำมาตัด (Cutting) แล้วจึงค่อยนำไปผ่านความร้อนอัดเป็นรูปส้นเท้า ส่วนใหญ่จะนิยมใช้ Tr Counter มากกว่า

7. กันชน (TOE RAND / BUMBER หรือ TOE CAP / TOE GUARD)
เป็นชิ้นส่วนที่เรียกได้ว่า “ กันชน “ เพราะจะคอยรับแรงกระแทกเมื่อเกิดอาการเสือซุ่ม เดินเตะหิน หรือ เตะขอนไม้ โดยไม่ได้ตั้งใจ จะเป็นแผ่นยางที่อัดให้โค้งมนเข้ารูปกับส่วนหัวของรองเท้า บางรุ่นอาจเป็นแผ่นยางชิ้นเดียวกันกับพื้นยางของรองเท้า บางรุ่นอาจแยกชิ้นส่วนกัน ส่วนใหญ่จะพบในรองเท้าเดินป่า และ รองเท้า สไตล์ลำลอง แต่จะไม่พบในรองเท้าประเภทวิ่ง และ รองเท้าทำงาน ปัจจุบันผู้ผลิตพยายามจะฉีกแนวโดยเปลี่ยนวัสดุจากยางมาเป็น PVC แทน ทำให้ กันชน มีความแข็งขึ้นและป้องกันแรงกระแทกให้กับนิ้วเท้าได้เป็นอย่างดี

8. ห่วงเผูกเชือกบริเวณข้อเท้า (ANKLE HOOK)
ตำแหน่งของที่ผูกเชือกรองเท้า จะอยู่บริเวณข้อเท้า เป็นตัวช่วยในการดึงเชือกร้อยรองเท้าให้แน่นขึ้นเพื่อความกระชับในการสวมใส่

9. ห่วงผูกเชือกบริเวณปลายข้อเท้า (LACING HOOK)
จะเป็นห่วงผูกเชือกรองเท้าที่อยู่ตรงจุดสุดท้ายในการร้อยเชือก ซึ่งส่วนใหญ่จะมีลักษณะเป็นที่ให้เกี่ยวกับเชือกรองเท้า เพื่อที่จะสะดวกในการถอดเชือกรองเท้าบริเวณด้านบน และเป็นตัวช่วยในการดึงเชือกรองเท้าให้แน่นขึ้น

10. พื้นรองเท้าด้านใน (INSOLE / INLAY SOLE / MOLDED FOOTBED)
เป็นพื้นรองเท้าด้านใน ทำจากฟองน้ำที่ผ่านการขึ้นรูปเป็นรูปเท้าแล้วประกบด้วย Visa Pile (ฟองน้ำประกบกาวกับผ้ายืดคล้ายๆผ้าขนหนู ขนสั้น) เพื่อความนุ่มเท้าขณะสวมใส่ บางรุ่น อาจเป็นแบบ สำเร็จรูปและสามารถถอดออกมาทำความสะอาดได้

11. ชั้นกลางพื้นรองเท้า (MIDSOLE)
เป็นชิ้นส่วนที่อยู่ตรงด้านในของพื้นรองเท้าชั้นนอก ส่วนใหญ่ทำจากวัสดุมีลักษณะนุ่มเหมือนฟองน้ำแต่มีความหนาแน่นมากกว่า จึงทำให้มีความแข็งแรงพร้อมที่จะรองรับน้ำหนักและแรงกระแทกของผู้สวมใส่ขณะ ก้าวเท้า ปกติแล้วเราจะไม่เห็นชิ้นส่วนนี้ถึงแม้ว่าจะถอด แผ่นรองรองเท้า (Insole) ออกมาก็ตาม เนื่องจากว่าจะมี PAPER BOARD เย็บติดกับหน้าผ้า ( ส่วนบนของรองเท้า) อีกชั้นหนึ่งเพื่อความคงทนในการใช้งาน

12. พื้นรองเท้า (CEMENTED WELT / OUTSOLE)
พื้นรองเท้าส่วนจะเป็นส่วนนอกสุดอยู่บริเวณใต้รองเท้า วัสดุส่วนใหญ่จะทำจากยางมีลวดลาย หรือที่เรียกว่า ดอกยาง เพื่อเพิ่มสมรรถนะในการเกาะพื้นขณะเดิน ไม่ว่าจะเป็น พื้นที่ชื้นแฉะหรือหินกรวดตามสันเขา

13. ส้นรองเท้า (TAPPERED LUG)
พื้นตรงส้นเท้าด้านนอก ส่วนใหญ่จะทำจากยาง บางรุ่นจะใช้ไม้อัดแน่น คล้ายๆไม้ก๊อก หรือ ไม้ ทำชิ้นส่วนนี้เพื่อความคงทนในการใช้งาน

ทั้งหมดนี้ก็คือส่วนประกอบพื้นฐานของรองเท้า หวังว่าเพื่อนๆคงได้รู้จักรองเท้ามากขึ้นและสนุกสนานกับการเดินป่าไปกับ รองเท้าคู่ใจอย่างมีความสุข

เมื่อถามว่าอุปกรณ์เดินป่าชิ้นใดสำคัญที่สุด หลายคนอาจจะนึกถึงเป้เดินป่าดีๆ สักใบ บางคนอาจจะนึกถึงเสื้อผ้าที่เหมาะสม เข็มทิศ หรือแผนที่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต่างก็เป็นสิ่งจำเป็นไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน แต่อุปกรณ์ที่ดีที่สุดพวกนี้ก็คงจะไม่ช่วยให้คุณเดินป่าได้อย่างมีความสุข นัก หากเท้าของคุณทรมานกับอาการรองเท้ากัด หรือข้อเท้าพลิก ซึ่งเกิดจากการใช้รองเท้าไม่เหมาะสม บางครั้งอาจจะทำให้เดินต่อไม่ได้เอาเลยด้วยซ้ำ รองเท้าเดินป่าจึงเป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ลงความเห็นว่าเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญ ที่สุดสำหรับการเดินป่า



มีผู้ผลิตรองเท้าที่ใช้สำหรับการเดินป่าออกมามากมายหลายชนิด ซึ่งก็แตกต่างกันไปตามประเภทของการใช้งาน รองเท้าที่ใช้สำหรับการเดินป่าระยะสั้น หรือการเดินเที่ยวไปตามเส้นทางที่ได้มีการจัดเตรียมไว้ให้โดยไม่ต้องมีการ เข้าไปพักแรมในป่า (Day Hiker) ก็ย่อมจะมีลักษณะและคุณสมบัติที่แตกต่างจากรองเท้าเดินป่าที่ใส่สำหรับการ เดินแบกเป้หนักเข้าไปในเขตป่าดงดิบหรือพื้นที่ทุรกันดารอย่างแน่นอน โดยทั่วๆ ไปแล้ว เราสามารถแบ่งประเภทของรองเท้าเดินป่าออกได้เป็น 6 ประเภท คือ

•Mountaineering Boots
•Backpacking
•Off Trail
•On Trail
•Trail Runners
•Sandals
ซึ่งการที่เราจะเลือกชนิดของรองเท้าที่จะใช้ได้นั้น แรกสุดเราก็จำเป็นที่จะต้องเข้าใจก่อนว่าจะใช้สำหรับการเดินทางในลักษณะใด

Mountaineering Boots

รองเท้าประเภทนี้เหมาะสำหรับนักเดินป่าที่ชอบปีนยอดเขาสูง ยอดเขาที่มีหิมะปกคลุม หรือบริเวณที่อากาศหนาวจัดจนแม่น้ำเป็นน้ำแข็ง (เราคงไม่มีโอกาสได้ใช้รองเท้าประเภทนี้ในเมืองไทยแน่นอน) รองเท้าชนิดนี้จะมีลักษณะค่อนข้างแข็ง สมัยก่อนจะทำจากหนัง และใช้หนังเย็บริมขอบรองเท้า และสำหรับประเภทที่เดินบนหิมะยังมีหนามทำจากเหล็กเอาไว้ยึดกับพื้นผิวอีก ด้วย รองเท้าจะสูงเหนือข้อเท้าและจะมีพื้นรองเท้าที่หนาเป็นพิเศษ ปัจจุบัน ผู้ผลิตรุ่นใหม่ (Koflach, Asolo, Etc.) ได้หันมาใช้พลาสติกหุ้มแทน แต่ถึงแม้ว่ารองเท้ารุ่นใหม่จะสามารถใช้ได้ดีบนหิมะหรือน้ำแข็งที่สูงชัน แต่ก็ไม่ได้ให้ความรู้สึกสบายกับผู้ใส่เลย เมื่อเร็วๆ นี้ ผู้ผลิตชาวยุโรปเช่น La Sportiva ได้หันกลับมาใช้หนังสำหรับการผลิตรองเท้าอีกครั้ง และได้มีการคิดค้นวัสดุชนิดใหม่ที่เรียกว่า Vibers ขึ้นมาแทน โดยรองเท้ารุ่นใหม่นี้จะมีน้ำหนักโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 3 – 5 ปอนด์ ส่วนราคาของรองเท้าแบบนี้จะมีราคาสูงมาก



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

ช้างพลาย จาก ช้างพลาย KBL>>53 203.156.183.145 อังคาร, 6/12/2554 เวลา : 09:40  IP : 203.156.183.145   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 1409

คำตอบที่ 2
       Backpacking or Regular







รองเท้า ประเภท Backpacking นี้เหมาะสำหรับการเดินป่าในสภาพพื้นผิวที่ค่อนข้างจะทรหด ลำบากลำบนหรือทุลักทุเลเอามากๆ และเหมาะสำหรับการเดินแบกของที่ค่อนข้างหนักมากๆ ในเส้นทางที่ใช้เวลาในการเดินหลายๆ วัน รองเท้าประเภทนี้มีพื้นรองเท้าที่หนาและแข็ง และมักมีน้ำหนักมาก จึงไม่เหมาะสำหรับการเดินป่าแบบง่ายๆ ในเส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติ ส่วนมากวัสดุที่ใช้ผลิตรองเท้า Backpacking จะเป็นหนังทั้งหมด หรือเป็นวัสดุสังเคราะห์คุณภาพสูงอย่างกอร์เท็กซ์เท่านั้น เพราะจะช่วยในการเกาะยึดพื้นผิวเป็นอย่างดี และช่วยในการทรงตัวเป็นเยี่ยม นอกจากนี้ รองเท้าประเภทจะมีความสูงเหนือข้อเท้า มีการบุหนังด้านในป้องกันนิ้วเท้า และมีคุณสมบัติในการกันน้ำอย่างดีอีกด้วย จึงสามารถจะใช้เดินลุยในพื้นที่ที่เป็นดินโคลน พื้นที่ชื้นแฉะ หรือในการเดินทางที่จำเป็นจะต้องข้ามหรือลุยน้ำบ่อยๆ และหากซื้ออุปกรณ์ห่อหุ้มเท้ามาเพิ่มเติมจะทำให้สามารถใช้ลุยในพื้นที่เหล่า นี้ได้ดีขึ้น แต่หากต้องการจะใช้สำหรับการเดินป่าหรือปีนเขาในพื้นที่ที่หนาวเย็นมากๆ อาจจะต้องใช้รองเท้าที่ผลิตมาสำหรับการลุยหิมะ (Mountaineering Boots) โดยเฉพาะ






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

ช้างพลาย จาก ช้างพลาย KBL>>53 203.156.183.145 อังคาร, 6/12/2554 เวลา : 09:42  IP : 203.156.183.145   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 1410

คำตอบที่ 3
       Off Trail

รองเท้า Off Trail สามารถใช้ได้กับการเดินป่าในแทบจะทุกพื้นผิว ทุกสภาพอากาศ และทุกภูมิประเทศ แต่เนื่องจากรองเท้าประเภทนี้มีพื้นรองเท้าที่ค่อนข้างแข็งและหนามากกว่า รองเท้าประเภทอื่น และมีโครงสร้างที่ค่อนข้างจะแข็งแรงและหนักพอสมควร ทำให้ไม่ค่อยเหมาะนักหากจะนำไปใช้เดินป่าในทางเดินง่ายๆ เช่นเส้นทางศึกษาธรรมชาติ แต่จะเหมาะสำหรับการเดินเข้าป่าในเส้นทางที่ไม่ได้มีการทำทางเอาไว้ให้ หรือในการเดินป่าที่จะต้องมีการแกะรอยหรือหาทางเดินเอง โดยทั่วไปรองเท้า Off Trail จะทำจากหนังหรือวัสดุสังเคราะห์ที่กันน้ำได้อย่างดี เช่น กอร์เท็กซ์ (Gore-Tex) รองเท้าประเภทนี้จะมีการยึดเกาะพื้นผิวที่ดีเยี่ยม และช่วยในการทรงตัวหรือการเดินทางได้เป็นอย่างดี ส่วนมากแล้วมักจะมีความสูงเหนือข้อเท้าขึ้นไป มีการบุหนังเสริมด้านในรองเท้าเพื่อป้องกันนิ้วเท้า และบางรุ่นอาจจะมีการทำขอบรองเท้าจากวัสดุกันน้ำอีกด้วย ถ้าใช้งานอย่างถูกวิธีจะกันน้ำเข้ารองเท้าได้เกือบร้อยเปอร์เซ็นต์ (หากมีการเดินลุยน้ำที่ไม่สูงกว่ารองเท้า) และสามารถเดินลุยโคลนหรือลำธารตื้นๆ ได้ดี และในรองเท้าบางรุ่นที่มีการออกแบบและเย็บหุ้มรองเท้าอย่างดีแล้วจะช่วยให้ ความอบอุ่นกับเท้าได้เป็นอย่างดี

On Trail







รองเท้า ประเภทนี้จะมีคุณสมบัติที่ดีกว่ารองเท้า Trail Runner หรือจะเรียกว่าพัฒนาขึ้นมาอีกขั้นจาก Trail Runner ก็ได้ ซึ่งจะใช้สำหรับการเดินป่าที่ต้องมีการผจญภัยมากขึ้นกว่าการเดินตามเส้นทาง ศึกษาธรรมชาติอย่างง่าย อาจจะเป็นการเดินแบกเป้ขนาดกลางเข้าไปค้างแรมสักหนึ่งคืน หรือสำหรับการผจญภัยในพื้นที่ที่ต้องมีการปีนป่ายพอสมควรก็ได้ วัสดุที่ใช้ทำรองเท้าก็มีหลายประเภท เช่น หนัง วัสดุสังเคราะห์ และวัสดุสังเคราะห์กันน้ำ เป็นต้น พื้นรองเท้าจะแข็งกว่าแบบ Trail Runner แต่จะมีความยึดเกาะพื้นผิวได้ดีกว่า ส่วนความสูงของรองเท้าก็มักจะอยู่ที่ระดับข้อเท้าหรือสูงกว่าเล็กน้อย และอาจจะมีการบุหนังด้านในรองเท้าเพื่อป้องกันการเสียดสีหรือการเกิดบาดแผล ที่นิ้วเท้าได้อีกด้วย ถึงแม้ว่ารองเท้า On Trail นี้จะไม่ได้ออกแบบมาเพื่อให้สามารถกันน้ำได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่ก็สามารถการเปียกชื้นภายในจากโคลนหรือจากการเดินข้ามลำธารตื้นๆ ได้ในระดับหนึ่ง นอกจากนี้ รองเท้า On Trail ยังให้ความอบอุ่นกับเท้าได้ในระดับหนึ่ง



โดยทั่วไป รองเท้าแบบ Trail Runner จะใช้ในการเดินป่าบนเส้นทางง่ายๆ เส้นทางที่ได้มีการทำทางเดินเอาไว้ให้อย่างดีแล้ว เส้นทางศึกษาธรรมชาติตามอุทยานแห่งชาติต่างๆ หรือจะเป็นการขี่จักรยานเสือภูเขาเข้าป่าแล้วไปแวะเดินสำรวจระยะสั้นๆ ที่ปลายทางก็ได้ ส่วนมากจะใช้กับการเดินป่าที่ไม่ต้องเข้าไปค้างแรมข้างใน เป็นการเดินแบบไปเช้ากลับเย็น รองเท้าประเภทนี้ส่วนมากจะมีความสูงประมาณข้อเท้าหรือต่ำกว่าเล็กน้อย และทำจากทั้งวัสดุสังเคราะห์และหนัง จึงไม่เหมาะสำหรับการใช้เดินป่าในพื้นที่ที่ค่อนข้างจะทรหด หรือในบริเวณที่จะต้องมีการปีนป่ายไปตามหินผา เพราะจะทำให้ข้อเท้าพลิกหรือได้รับบาดเจ็บจากคมหินได้ง่ายๆ นอกจากนี้ โดยมากแล้วรองเท้าประเภทนี้จะไม่กันน้ำและไม่ค่อยจะยึดเกาะพื้นนัก อาจจะสร้างความลำบากให้เราเวลาต้องใส่เดินลุยโคลนหรือเดินลุยข้ามน้ำ และยังไม่สามารถให้ความอบอุ่นกับเท้าได้มากนักอีกด้วย ดังนั้น รองเท้าประเภทนี้จึงไม่เหมาะที่จะใช้สำหรับการเดินป่าที่ใช้เวลานานกว่าห นึ่งวันในเส้นทางที่ไม่ใช่เส้นทางศึกษาธรรมชาติอย่างง่ายๆ






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

ช้างพลาย จาก ช้างพลาย KBL>>53 203.156.183.145 อังคาร, 6/12/2554 เวลา : 09:43  IP : 203.156.183.145   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 1411

คำตอบที่ 4
       Sandals






Sandals

รองเท้า อีกประเภทหนึ่งที่สามารถใช้ในการเดินป่าได้เช่นกันคือรองเท้าแบบ Sandals หรือรองเท้ารัดส้น ซึ่งมีลักษณะคล้ายๆ รองเท้าแตะแต่มีสายรัดส้นเท้าเอาไว้เพื่อให้ไม่หลุดง่ายและเพิ่มความสะดวก คล่องตัวในการเดินมากยิ่งขึ้น ผู้ผลิตบางรายได้คิดค้นออกแบบวัสดุที่ใช้ทำพื้นรองเท้าให้สามารถระบายอากาศ ได้เป็นอย่างดีและไม่มีการเหม็นอับเท้าอีกด้วย รองเท้าประเภทนี้ ปกติจะใส่เดินในเมืองทั่วๆ ไป หรือการเที่ยวแบบสบายๆ ก็ได้ และมักจะนำไปใช้ใส่เดินป่าในเส้นทางที่เดินอย่างง่ายๆ ได้อีกด้วย หรือบางคนอาจจะชอบใส่เดินขึ้น-ลงเขาเนื่องจากไม่ทำให้นิ้วเท้าเจ็บจากการ เสียดสีหรือกระแทกกับด้านในของรองเท้า แต่อย่างไรก็ดี รองเท้าประเภทนี้จะให้ความปลอดภัยกับเท้าน้อยมาก สามารถทำให้เท้าพลิกได้ง่าย หรือหากต้องเดินลุยในเส้นทางที่ค่อนข้างลำบากหรือรกแล้วอาจจะทำให้เกิดบาด แผลกับเท้าได้ง่ายๆ







 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

ช้างพลาย จาก ช้างพลาย KBL>>53 203.156.183.145 อังคาร, 6/12/2554 เวลา : 09:44  IP : 203.156.183.145   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 1412

คำตอบที่ 5
       รูปแบบทรงรองเท้า (Boot Cuts)

เรื่องโดย เอเวอร์เรสต์ , พฤศจิกายน 2002





ถ้า ลองสังเกตรองเท้าให้ดีจะพบว่ารองเท้าแต่ละแบบจะมีรูปทรงไม่เหมือนกัน บางชนิดจะมีทรงสูงกว่าปรกติ ซึ่งรูปทรงของรองเท้าที่แตกต่างกันย่อมจะมีคุณสมบัติแตกต่างกันด้วย โดยทั่วไป เราสามารถแบ่งรูปทรงของรองเท้าออกได้เป็น 3 แบบ คือ

1. รองเท้าหุ้มส้น (Below Ankle) – รองเท้ารูปทรงนี้ เมื่อเราใส่แล้วจะพบว่าจะมีส่วนสูงของรองเท้าด้านบนต่ำกว่าบริเวณข้อเท้า รองเท้ารูปทรงนี้จะมีน้ำหนักเบา ใส่สะดวก แต่ว่ารองเท้าชนิดนี้จะมีโอกาสทำให้เกิดการบิดของข้อเท้าได้ง่ายกว่าในกรณี ที่เราเดินสะดุด หกล้ม






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

ช้างพลาย จาก ช้างพลาย KBL>>53 203.156.183.145 อังคาร, 6/12/2554 เวลา : 09:44  IP : 203.156.183.145   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 1413

คำตอบที่ 6
       2. รองเท้าหุ้มข้อ (Ankle) – รองเท้ารูปทรงนี้ถูกออกแบบให้มีความสูงอยู่บริเวณข้อเท้า ซึ่งจะเหมาะกับการใช้งานสำหรับการเดินป่าในเส้นทางแบบง่าย ๆ (Trail Runner) หรือการเดินป่าตามเส้นทางที่ได้มีการจัดเตรียมไว้ให้แล้ว (On Trail) รองเท้าชนิดนี้จะมีคุณสมบัติเหมือนกับแบบ รองเท้าหุ้มส้น (Below Ankle) และยังช่วยปกป้องการบาดเจ็บของข้อเท้า ป้องกันน้ำและโคลนเข้ารองเท้าได้ดีในระดับหนึ่ง





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

ช้างพลาย จาก ช้างพลาย KBL>>53 203.156.183.145 อังคาร, 6/12/2554 เวลา : 09:45  IP : 203.156.183.145   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 1414

คำตอบที่ 7
       3. รองเท้าหุ้มข้อสูง (Above Ankle) – รองเท้าชนิดนี้จะถูกออกแบบให้ใช้กับการเดินป่าที่โหด ส่วนที่หุ้มข้อเท้าจะมีความสูงกว่าแบบอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยปกป้องการบาดเจ็บของข้อเท้าได้ดีที่สุดเพราะจะหุ้มส่วนข้อเท้าไว้ และยังช่วยป้องกันน้ำเข้ารองเท้ากรณีที่เดินลุยน้ำไม่สูงนัก แต่รองเท้าชนิดนี้จะมีข้อเสียที่มีน้ำหนักมาก และแห้งช้าเมื่อเปียกน้ำ





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

ช้างพลาย จาก ช้างพลาย KBL>>53 203.156.183.145 อังคาร, 6/12/2554 เวลา : 09:47  IP : 203.156.183.145   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 1415

คำตอบที่ 8
       รองเท้าที่เราเห็นตามท้องตลาดทั่วไปนั้นทำจากวัตถุดิบหลากหลายและแตกต่าง กันไปขึ้นอยู่กับ รูปแบบ ประเภทในการใช้งาน ส่วนคุณภาพก็จะลดหลั่นไปตามคุณสมบัติและราคาของรองเท้าในรุ่นนั้น ๆ ถ้ารุ่นไหนมีคุณสมบัติพิเศษในการใช้งานเฉพาะ หรือมีเทคโนโลยีสูง ราคารองเท้าก็จะสูงขึ้น ซึ่งตัววัสดุที่เราจะใช้ทำรองเท้าที่ส่วนที่เป็นหน้าผ้าของรองเท้าก็มีหลาย ประเภทขึ้นกับการใช้งานโดยจะสามารถแบ่งได้ออกเป็น 5 ประเภทคือ
1. หนังเทียม (Synthetic)
หนัง เทียมนั้นมีมากมายหลากหลายชนิด และคุณภาพก็จะแตกต่างกันไปตามราคาและคุณลักษณะเฉพาะ ของหนังเทียมนั้นๆ คุณภาพของหนังเทียมนั้นมีตั้งแต่เป็นไนล่อนธรรมดาที่คุณสมบัติกันน้ำระดับ หนึ่ง หรือความทนทานจนถึง Gore–Tex* ซึ่งถูกพัฒนาให้มีคุณสมบัติกันน้ำได้ดีที่สุด ทั้งมีความทนทานและระบายอากาศได้ดีเยี่ยม หนังเทียมที่ลักษณะเบา จะเหมาะสำหรับใช้ทำรองเท้าวิ่ง และรองเท้ากีฬาประเภทต่างๆ ขณะที่ Gore–Tex นั้นจะใช้ในรองเท้าเดินทางทั่วไปและรองเท้าเดินป่า ในส่วนของราคานั้น ถ้าเป็นไนล่อนธรรมดาราคาจะถูกและสมเหตุสมผล แต่ถ้าเป็น Gore-Tex ราคาจะอยู่ในระดับที่ค่อนข้างแพงเลยทีเดียว ปกติแล้ว หนังเทียม จะมีทั้งผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ อาทิเช่น เกาหลี ไต้หวัน หรือ จีน






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

ช้างพลาย จาก ช้างพลาย KBL>>53 203.156.183.145 อังคาร, 6/12/2554 เวลา : 09:48  IP : 203.156.183.145   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 1416

คำตอบที่ 9
       2. หนังแท้ที่มีการนำชิ้นส่วนด้านในออก (Split Grain Leather)

เป็นหนังแท้ทำจากหนังวัวส่วนบริเวณคอและท้อง ที่ผ่านขั้นตอนการผลิต มีการนำชิ้นส่วนด้านในของแผ่นหนังออก แล้วตัดเป็นแผ่นๆ หนา หรือ บาง ขึ้นอยู่กับว่าจะนำไปเย็บส่วนไหนของหน้าผ้าของรองเท้า มีลักษณะเป็นชั้นๆ คล้ายชั้นของกระดาษแข็ง มีคุณสมบัติเบาและมีความสามารถระบายอากาศได้ดีกว่า หนังวัวที่ตัดมาจากบริเวณสะโพก หรือหนัง Nubuk ( Suede) แต่จะไม่ค่อยทนทาน หรือกันน้ำได้ดีถึงแม้จะผ่านกรรมวิธีที่เป็นขบวนการของการกันน้ำแล้วก็ตาม ฉะนั้นหนังวัวประเภทนี้จะไม่เหมาะมาทำรองเท้าที่ต้องการความสมบุกสมบันในการ ใช้งาน แต่จะเหมาะกับรองเท้าวิ่ง และ รองเท้าออกกำลังกายทั่วไปมากกว่า.



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

ช้างพลาย จาก ช้างพลาย KBL>>53 203.156.183.145 อังคาร, 6/12/2554 เวลา : 09:49  IP : 203.156.183.145   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 1417

คำตอบที่ 10
       3. หนังนูบัค (Nubuk Leather (Suede))

หนัง ชนิดนี้คือหนังวัวส่วนที่มาจากบริเวณสะโพกของวัวที่ผ่านกรรมการขัดเพื่อให้ หนังมีความนุ่มขึ้น ซึ่งโดยปรกติหนังชนิดนี้จะหนาและแข็งกว่า Split Grain Leather ดังนั้นโรงฟอกหนังจึงต้องนำไปผ่านกรรมวิธีต่างๆก่อนเพื่อให้ได้หนังที่นุ่ม น่าใช้ก่อนที่จะนำมาแปรรูปเป็นรองเท้า ซึ่งหนังที่ผ่านกรรมวิธีเหล่านี้เราจะเรียกโดยทั่วไปว่าหนังนูบัค (Nubuk Leather) และมีความทนทานในการใช้งานมากกว่า Split Grain Leather แต่ จะเกิดรอยถลอกและรอยขูดขีดได้ง่ายอีกทั้งคุณสมบัติในการกันน้ำ ก็น้อยลงด้วยเช่นกัน






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

ช้างพลาย จาก ช้างพลาย KBL>>53 203.156.183.145 อังคาร, 6/12/2554 เวลา : 09:49  IP : 203.156.183.145   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 1418

คำตอบที่ 11
       4. หนังแท้ที่ไม่มีการนำชิ้นส่วนด้านในออก (Full Grain Leather)

เป็นหนังที่มาจากบริเวณสะโพกของวัว โดยไม่มีการนำชิ้นส่วนใด ๆ ของหนังออกไปในขั้นตอนการผลิต ซึ่งหนังชนิดนี้มีความแข็งแรงทนทานในการใช้งาน และมีราคาแพงที่สุด เป็นหนังวัวที่มีคุณภาพดีกว่าหนัง Nubuk (Suede ) และมีความสามารถในการกันน้ำสูงกว่าหนังวัวประเภทอื่น (ถ้าไม่นับถึง Gore-Tex ซึ่งเป็นหนังเทียม ) และมีอายุในการใช้งานยาวนานกว่าชนิดอื่น ผิวหน้าของหนังจะถูกเคลือบด้วยวัสดุเคมีบาง ๆ เหมือน ฟิล์ม และผ่านขบวนการอัดลายนูนบนผิวหน้าเพื่อความสวยงามและยังมีลักษณะเป็นแบบขัด ด้าน (Dull Finished) และขัดเงา (Shining Finished) อีกด้วย หนังวัวนี้จะนำเข้ามาจากประเทศแถบอเมริกาใต้ เช่น อาเจนตินา หรือ ประเทศ อิตาลี และ สเปน ซึ่งเป็นหนังวัวที่มีคุณภาพดีและราคาค่อนข้างสูง สำหรับนำมาทำรองเท้าแฟชั่น ส่วนรองเท้ากีฬาหรือ ปีนเขาเดินป่า จะใช้หนังวัวที่นำเข้ามาจาก ไต้หวัน หรือ เกาหลีมากกว่า คุณภาพก็จะด้อยกว่าเล็กน้อย ทั้งนี้ ทั้งนั้น ก็ขึ้นอยู่กับประเภทของรองเท้าที่จะนำหนังวัวไปใช้ผลิต

5. ผ้า (Fabric)

รองเท้าบางชนิดจะทำจากวัสดุที่เป็นผ้า เช่นรองเท้าที่มาจากจีนแดง ซึ่งวัสดุที่เป็นผ้าจะมีความสามารถในการระบายอากาศได้ดี น้ำหนักเบา และราคาถูก แต่ก็มีข้อเสียคือ ไม่กันน้ำ และขาดง่าย รองเท้าบางประเภทจะมีการใช้ผ้าผสมกับหนัง เพื่อให้รองเท้ามีความสามารถในการระบายอากาศได้ดีขึ้น

Gore-Tex® Fabric - เป็นผ้าที่มีรูขนาดเล็ก โดยจะมีรูมากถึง 9 ล้านรูต่อตารางนิ้ว ซึ่งรูเหล่านี้จะมีขนาดเล็กกว่าขนาดหยดน้ำถึง 20,000 เท่า แต่มีขนาดใหญ่กว่าโมเลกุลของไอน้ำประมาณ 700 เท่า ทำให้ผ้าชนิดนี้มีคุณสมบัติในการระบายอากาศและกันน้ำได้ดีเยี่ยม ในปัจจุบันผ้าชนิดนี้เป็นผ้าที่ที่ดีที่สุดที่สามารถกันน้ำ กันลมและระบายอากาศได้อย่างดีเยี่ยม.



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

ช้างพลาย จาก ช้างพลาย KBL>>53 203.156.183.145 อังคาร, 6/12/2554 เวลา : 09:50  IP : 203.156.183.145   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 1419

คำตอบที่ 12
       รูปแบบห่วงร้อยเชือกรองเท้า

เรื่องโดย เอเวอร์เรสต์ , พฤศจิกายน 2002

ที่ ผูกเชือกรองเท้าจะมีรูสำหรับร้อยเชือกรองเท้า ซึ่งรูที่ใช้สำหรับร้อยเชือกรองเท้าจะมีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตรองเท้า ซึ่งรูปแบบที่นิยมใช้กันในปัจจุบันจะสามารถแบ่งออกได้แป็น 5 ประเภท
1. Eyelets – แบบนี้จะเป็นที่นิยมใช้กันมากที่สุด ซึ่งจะมีลักษณะเป็นรูกลม ๆ สำหรับร้อยเชือก รูร้อยเชือกรองเท้าแบบนี้จะมีข้อเสียที่ความแข็งแรง ซึ่งอาจจะมีการฉีกขาดได้ง่ายถ้าได้รับแรงดึงจากเชือกรองเท้ามาก เพราะรูนี้จะรับแรงดึงจากเชือกรองเท้ามาก

2. D-rings – จะเป็นการใช้ห่วงเหล็กรูปตัว D แทนรูกลม ๆ ธรรมดา ซึ่งเราจะร้อยเชือกรองเท้าผ่านตัว D รูร้อยเชือกรองเท้าแบบนี้จะมีความแข็งแรงกว่าแบบ Eyelets เพราะทำด้วยโลหะสามารถรับแรงได้ดีกว่า แต่ก็จะทำให้รองเท้าหนักขึ้น จากน้ำหนักโลหะที่เพิ่มขึ้นมา

3. Pulleys or Bearings – เป็นการใช้เหล็กสำหรับเกี่ยวเชือกรองเท้า แทนที่จะใช้การร้อยผ่านห่วงหรือรู ซึ่งข้อดีคือสามารถร้อยเชือกรองเท้าได้ง่าย เพราะทำการเกี่ยวเอาก็พอ ไม่ต้องเสียเวลาในการร้อยเข้าไปทีละรู แต่การใช้รูร้อยเชือกรองเท้าแบบนี้ก็อาจจะทำให้เชือกรองเท้าหลุดง่าย เพราะเชือกเพียงแค่เกี่ยวเอาไว้เท่านั้น

4. Webbing - เป็นการใช้ผ้าทำเป็นห่วงสำหรับร้อยเชือกรองเท้า ซึ่งเหมาะสำหรับรองเท้าที่ไม่ได้ใช้งานหนักมากนัก รองเท้าที่มีรูร้อยเชือกแบบนี้มักจะมีน้ำหนักเบาและไม่หุ้มขึ้นมาสูงมาก ส่วนมากจะอยู่ประมาณข้อเท้าหรือต่ำกว่าเล็กน้อย รอบบริเวณห่วงที่ผูกเชือกรองเท้าจะมีลักษณะเรียว ให้ความรู้สึกสบายบริเวณรอบข้อเท้า นิ้วเท้า และหลังเท้า รองเท้าประเภทนี้ส่วนใหญ่จะมีห่วงร้อยเชือกด้านหน้าด้วย การใช้ผ้าทำเป็นห่วงร้อยเชือกแบบนี้ช่วยทำให้เท้าไม่ถูกกดทับจากห่วงเหล็ก และให้ความรู้สึกสบายเท้ามากกว่า

5. Combination – เป็นการใช้รูร้อยเชือกแบบผสม คือมีมากกว่า 1 แบบในรองเท้าคู่เดียวกัน อันเนื่องมาจากจุดแต่ละจุดบนรองเท้าที่เราทำการร้อยเชือก จะรับแรงไม่เท่ากัน ผู้ผลิตรองเท้าบางยี่ห้อ ก็มีการคำนวณถึงแรงในแต่ละจุด และทำการเลือกเชือก รูร้อยเชือก ให้เหมาะสมกับแรงที่เกิดขึ้นในจุดนั้น ๆ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ขนาดรองเท้าในแต่ละประเทศจะมีมาตรฐานไม่เหมือนกัน เวลาไปซื้อรองเท้าคนขายมักจะถามว่า ใส่รองเท้าเบอร์อะไร ซึ่งบางครั้งเบอร์ที่ท่านใส่อาจจะไม่ตรงกับเบอร์รองเท้าที่ท่านจะซื้อ เพราะใช้มาตรฐานต่างกัน ดังนั้นเราจึงมีตารางเปรียบเทียบขนาดรองเท้าในแต่ประเทศ เพื่อให้สามารถเปรียบเทียบขนาดรองเท้าได้ง่ายขึ้น





 แก้ไขเมื่อ : 6/12/2554 9:51:59





 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

ช้างพลาย จาก ช้างพลาย KBL>>53 203.156.183.145 อังคาร, 6/12/2554 เวลา : 09:51  IP : 203.156.183.145   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 1420

คำตอบที่ 13
       เวลาที่เราไปซื้อรองเท้ามักจะมีคนแนะเราว่า ยี่ห้อนี้ก็ดี ยี่ห้อนั้นก็น่าสน แล้วเราจะซื้อรองเท้ายี่ห้อไหนดีล่ะ จริงๆ แล้วคำถามที่ว่า “เราควรจะซื้อรองเท้ายี่ห้อไหนดี” เป็นคำถามที่ไม่ค่อยถูกต้องนัก รองเท้าที่ดีนั้นไม่ควรขึ้นกับยี่ห้อ แต่ควรจะขึ้นกับเท้าของเรามากกว่าว่า รองเท้าคู่ไหนเหมาะกับเท้าเรามากที่สุด หากรองเท้าคู่นั้นไม่เหมาะกับเท้าคุณ ก็ไม่ควรจะซื้อ รองเท้ายี่ห้อหนึ่งอาจจะดีสำหรับเพื่อนคุณ แต่อาจจะใส่ไม่สบายและไม่เหมาะสำหรับคุณก็ได้



แล้วทำไมรองเท้าที่เหมาะกับเพื่อนคุณไม่เหมาะกับคุณล่ะ สาเหตุเป็นเพราะว่ารองเท้าแต่ละแบบแต่ละยี่ห้อจะมีการออกแบบไม่เหมือนกัน เช่น รองเท้าที่ผลิตสำหรับคนยุโรปก็จะมีการวิจัยถึงรูปเท้าของชาวยุโรปและมีการ ออกแบบให้เหมาะกับเท้าลักษณะนั้นๆ หากชาวเอเชียนำรองเท้าลักษณะนี้มาใส่ก็มีความเป็นไปได้ว่าอาจจะใส่ไม่สบาย เพราะรูปทรงของเท้าไม่เหมือนกัน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ารองเท้าแบบนี้จะใช้ไม่ได้ซะทีเดียว เพราะรูปร่างของเท้าก็จะมีความแตกต่างกันระหว่างตัวบุคคลด้วย คำถามหลักของคนที่จะเลือกซื้อรองเท้าจะมีอยู่ 2 คำถามคือ รองเท้าคู่ไหนเหมาะกับเท้าเรามากที่สุด และเราจะไปหารองเท้าคู่นั้นได้ที่ไหน

คำถามข้อแรกนั้นไม่มีใครสามารถตอบได้ดีเท่าเท้าของเราเอง ในการซื้อรองเท้าต่างประเทศนั้นเขามักจะมีการประกันความพอใจ โดยให้เรานำรองเท้าไปใส่ที่บ้านก่อนได้ หากไม่พอใจก็สามารถนำรองเท้าในสภาพใหม่มาคืนที่ร้าน ซึ่งจะช่วยให้เราสามารถเลือกรองเท้าที่เหมาะกับคุณได้ แต่น่าเสียดายในบ้านเรามักจะไม่มีวิธีการแบบนี้ ถ้าซื้อไปแล้วเกิดใส่ไม่สบายก็ไม่สามารถนำไปเปลี่ยนได้ ฉะนั้นเราจึงควรจะลองใส่รองเท้าที่ร้านให้แน่ใจก่อนที่จะซื้อ ซึ่งพอจะมีคำแนะนำสำหรับการเลือกรองเท้าดังนี้






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

ช้างพลาย จาก ช้างพลาย KBL>>53 203.156.183.145 อังคาร, 6/12/2554 เวลา : 09:57  IP : 203.156.183.145   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 1421

คำตอบที่ 14
       การทดสอบรองเท้าในร้านค้า

ก่อน ที่จะซื้อรองเท้าคุณควรจะเดินเลือกดูรองเท้าในแบบที่คุณชอบก่อน เมื่อได้แบบที่คุณชอบหรือถูกใจแล้ว ก็บอกให้พนักงานนำรองเท้ามาให้คุณลอง 1 คู่ ซึ่งในการลองรองเท้านั้นคุณควรจะนำถุงเท้าไปด้วย 2 คู่ คือคู่หนาหนึ่งคู่ และคู่ที่บางกว่าอีกหนึ่งคู่ เพื่อใส่ลองกับรองเท้า หากคุณไม่ได้นำถุงเท้ามา ลองบอกพนักงานให้นำถุงเท้ามาให้คุณก็ได้ ซึ่งตามปรกติตามร้านจะมีถุงเท้าให้คุณลองอยู่แล้ว นอกจากนี้ คุณควรจะให้พนักงานวัดเบอร์รองเท้าให้คุณทุกครั้ง หลายๆ คนอาจจะคิดว่าเรารู้อยู่แล้วว่าเราใส่รองเท้าเบอร์อะไร แต่ในความเป็นจริง ถึงแม้จะเป็นเบอร์เดิมที่เราใส่ประจำ แต่ก็ใช่ว่าจะมีขนาดเท่ากันทุกยี่ห้อ ทุกรุ่น หรือทุกแบบ บางครั้งแต่ละรุ่นแต่ละแบบก็อาจจะมีความกว้างหรือความยาวต่างกันบ้างเล็ก น้อยแล้วแต่ผู้ผลิต ซึ่งทางที่ดีแล้วคุณควรจะวัดขนาดเท้าก่อนจะซื้อทุกครั้ง






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

ช้างพลาย จาก ช้างพลาย KBL>>53 203.156.183.145 อังคาร, 6/12/2554 เวลา : 09:58  IP : 203.156.183.145   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 1422

คำตอบที่ 15
       การทดสอบโดยนิ้ว

ประการแรก คุณควรจะลองใส่ถุงเท้าก่อนจะสวมรองเท้า แล้วลองเลื่อนเท้าเข้าไปด้านในสุดเท่าที่เท้าคุณจะเข้าไปได้ แล้วลองเอานิ้วชี้สอดเข้าไปหลังรองเท้า รองเท้าที่เหมาะสมควรจะมีที่ว่างสำหรับนิ้วของคุณที่จะสอดเข้าไปได้ ถ้าคุณไม่สามารถสอดนิ้วชี้ลงไปหลังรองเท้าได้ก็ควรจะลองรองเท้าขนาดใหญ่ขึ้น อีกนิด หรือหากพื้นที่มีขนาดมากเกินไปก็ควรใช้รองเท้าขนาดเล็กลง พื้นที่ส่วนนี้เวลาคุณใส่รองเท้าและผูกเชือกรองเท้าแล้ว คุณก็จะเหลือที่ว่างด้านหน้าเล็กน้อยสำหรับนิ้วเท้าของคุณ ช่องว่างนี้จำเป็นสำหรับการลงเขา ซึ่งจะช่วยให้เท้าไม่จิกและกระแทกกับหัวรองเท้า ซึ่งจะทำให้เท้าเจ็บและนิ้วเท้าช้ำได้ง่ายๆ หรืออาจจะถึงขั้นต้องถอดเล็บได้

การทดสอบจากการสัมผัสโดยเท้าเปล่า

การทดสอบวิธีนี้ เริ่มจากการลองรองเท้าแบบเท้าเปล่า ลองใช้เท้าของคุณเองสัมผัสกับด้านในของรองเท้า และรับรู้ความรู้สึกโดยตรงจากเท้าเปล่าของคุณ ว่ารู้สึกสบายหรือไม่ รองเท้าบางประเภทอาจจะมีการออกแบบที่ทำให้บริเวณนิ้วเท้าแคบกว่าปกติหรือยืด นิ้วเท้าได้ไม่เต็มที่เวลาสวมใส่ ซึ่งอาจจะทำให้นิ้วเท้าของคุณต้องงออยู่ตลอดเวลาโดยที่คุณไม่ทันรู้สึกตัว หรือรองเท้าบางคู่อาจจะมีพื้นรองเท้าบริเวณกลางฝ่าเท้าที่นูนโค้งขึ้นมา มากกว่าปกติ ซึ่งอาจจะทำให้คุณเมื่อยเท้ามากหลังจากการเดินป่านานๆ เหมือนต้องเดินเท้าโก่งตลอดเวลา ซึ่งความรู้สึกหรือจุดสังเกตเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ คุณอาจจะไม่ทันสังเกตหรือรู้สึกถ้าคุณกำลังใส่ถุงเท้าเดินป่าซึ่งมักจะหนา กว่าถุงเท้าปกติ ดังนั้น การลองรองเท้าโดยใช้เท้าเปล่าก็จะช่วยขจัดปัญหาเหล่านี้ไปได้ และเมื่อคุณพบรองเท้าที่ถูกใจหลังจากการทดสอบโดยใช้เท้าเปล่าแล้ว จึงควรจะลองอีกครั้งโดยใส่ถุงเท้าเพื่อดูว่ารองเท้าคู่ที่คุณเลือกนั้นให้ ความรู้สึกสบายเท้าเวลาใส่ถุงเท้าด้วยหรือไม่ หากคับหรือหลวมไปก็ควรจะลองถุงเท้าคู่ที่หนาขึ้นหรือบางลงเล็กน้อย แต่หากยังไม่พอดี คุณก็ควรจะเปลี่ยนไปลองรองเท้าเบอร์อื่นจะดีกว่า

การเดินทดสอบ

เมื่อเลือกรองเท้าได้แล้ว สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งก็คือต้องลองเดินดูด้วย ไม่ใช่แค่เดินไปเดินมาธรรมดา เพราะนี่คือรองเท้าที่คุณจะใช้เดินป่าซึ่งไม่ใช่การเดินทางราบเหมือนเดินบน ถนนในเมือง หากในร้านมีทางเดินที่ลาดเอียงก็ควรจะลองเดินขึ้นเดินลงตามทางนั้น หรือหากไม่มี มีคนแนะนำว่าให้คุณลองกระโดดหรือก้าวขึ้นลงเก้าอี้ที่นั่งดูก็ได้ (โชคดีที่รองเท้าสำหรับเดินป่าส่วนใหญ่จะไม่ได้ขายตามห้างสรรพสินค้าทั่วไป หรือร้านขายรองเท้าธรรมดา ส่วนมากจะขายตามร้านที่ขายอุปกรณ์เดินป่าโดยเฉพาะ เพราะฉะนั้น ไม่ต้องกลัวหรืออายว่าชาวบ้านจะมองคุณว่าแปลกหรอก J ) เมื่อคุณลองก้าวหรือกระโดดขึ้นลงเก้าอี้หรือม้านั่งแล้ว สิ่งที่คุณจำเป็นจะต้องสังเกตก็คือว่า เวลาคุณก้าวขาขึ้นนั้น ส้นเท้าคุณลอยขึ้นมากไปหรือเปล่า หรือเวลาคุณกระโดดลงพื้น คุณรู้สึกเจ็บนิ้วเท้าหรือรู้สึกว่านิ้วเท้ากระแทกกับรองเท้ามากหรือเปล่า ถ้าใช่ คุณก็ควรจะลองผูกเชือกรองเท้าใหม่ ให้หลวมหรือแน่นกว่าเดิมแล้วลองดูอีกครั้ง หากยังรู้สึกแบบเดิม ก็ควรจะเปลี่ยนขนาดหรือเปลี่ยนแบบรองเท้าไปเลย หรือหากคุณลองหมดทั้งร้านแล้วยังไม่พบคู่ที่ถูกใจและสบายเท้าแล้วละก็ ลองเปลี่ยนไปหาร้านอื่นจะดีกว่า อย่ายึดติดกับยี่ห้อหรือรุ่นใดรุ่นหนึ่งมากเป็นพิเศษ เพียงเพราะว่ามันดังหรือเพื่อนๆ คุณใส่ยี่ห้อนี้กันหมด รองเท้าเดินป่าดีๆ สักคู่หนึ่งไม่ใช่ถูกๆ เลย เพราะฉะนั้น คุณควรจะใช้เวลาพิถีพิถันในการเลือกสักหน่อย เลือกรองเท้าที่สบายที่สุดสำหรับเท้าของคุณและคุ้มกับเงินในกระเป๋าตังค์ของ คุณด้วยจะดีกว่านะ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

ช้างพลาย จาก ช้างพลาย KBL>>53 203.156.183.145 อังคาร, 6/12/2554 เวลา : 09:59  IP : 203.156.183.145   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 1423

คำตอบที่ 16
       การทดสอบที่บ้าน

การทดสอบโดยการตัดกระดาษ

หลังจากที่ คุณกลับบ้านมาพร้อมกับรองเท้าคู่ใหม่แล้ว วิธีการทดสอบอีกวิธีหนึ่งก็คือ ลองใส่ถุงเท้าคู่ที่คุณจะใช้สำหรับการเดินป่า แล้ววางเท้าบนกระดาษหนึ่งแผ่น ลองวาดรูปแบบเท้าของคุณลงบนกระดาษและตัดกระดาษตามรูปเท้าของคุณ จากนั้นจึงเอาแบบเท้าที่ตัดแล้วสอดเข้าไปรองเท้าคู่ใหม่ของคุณให้พอดีทุกซอก ทุกมุม เสร็จแล้วดึงกระดาษแบบเท้าของคุณออกมา สังเกตดูว่ามีกระดาษบริเวณใดบ้างที่ยับหรือไม่เรียบ ซึ่งบริเวณที่ไม่เรียบเหล่านั้นแสดงให้เห็นว่ารองเท้าของคุณคับบริเวณใดบ้าง หากเป็นการยับเพียงเล็กน้อยก็ไม่จำเป็นต้องกังวลมาก แต่หากรอยยับนั้นกว้างกว่าครึ่งนิ้วอาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาได้ในภาย หลังเวลาที่คุณเดินป่า

การเดินทดสอบนาน ๆ

ขั้นตอนการทดสอบต่อไปก็คือลองสวมรองเท้าคู่ใหม่นี้แล้วเดิน รอบๆ บ้าน หรืออาจจะลองใส่ไปเดินเล่นตามห้างสรรพสินค้า ในเมือง หรือในสวนสาธารณะดูเลยก็ยิ่งดี ลองเดินในหลายๆ สถานที่และเดินให้นานกว่าตอนลองรองเท้าในร้าน หากคุณเดินได้อย่างสบายเท้า ไม่รู้สึกเมื่อยหรือปวดเท้าเลย แสดงว่าคุณโชคดีมาก ที่สามารถหารองเท้าที่เหมาะกับเท้าของคุณได้แล้ว แต่หากไม่เป็นอย่างนั้นล่ะก็ คุณก็ไม่ควรฝืนหลอกตัวเองว่ารองเท้าคู่นี้ใส่สบาย

การทดสอบในสถานการณ์จริง

การทำให้ชินกับรองเท้า

เวลาเราซื้อรถยนต์คันใหม่ สิ่งสำคัญที่ควรจะต้องปฏิบัติก็คือการทำให้เครื่องยนต์มีการเข้าที่เข้า ทาง(Run in) โดยการแล่นภายในความเร็วที่กำหนดในช่วงหนึ่งพันกิโลเมตรแรก การซื้อรองเท้าคู่ใหม่ก็มีหลักคล้ายๆ กัน คือจะต้องมีช่วงที่จะทำให้เท้าเราชินกับรองเท้าก่อนที่จะนำไปใส่เดินป่า จริงๆ ไม่ว่าจะเป็นรองเท้าที่ทำจากวัสดุสังเคราะห์เช่น กอร์เท็กซ์ หรือทำจากหนังแท้ การทดลองก่อนเดินจริงเป็นสิ่งจำเป็น (ถึงแม้ว่ากอร์เท็กซ์จะไม่จำเป็นมากเท่ากับรองเท้าหนังแท้ก็ตาม) ไม่ควรที่จะฉลองรองเท้าเดินป่าคู่ใหม่เอี่ยมแกะกล่องกับการเดินป่าสามคืนสี่ วันที่ต้องแบกเป้หนักหลายสิบกิโลโดยเด็ดขาด (ขอรับรองว่าเหมือนฝันร้ายจริงๆ เพราะเคยโดนรองเท้าคู่ใหม่ทำพิษจนเท้าพองเป็นตุ่มน้ำมาแล้ว สุดท้ายก็ต้องเปลี่ยนไปใส่รองเท้าแตะเดินป่า แล้วเดินแบกรองเท้าคู่ใหม่ที่หนักแสนหนักออกมาแทน) การทำให้เราชินกับรองเท้าอาจจะเริ่มจากการใส่เดินป่าในระยะทางสั้นๆ ก่อน เพื่อให้ชินกับเท้า และค่อยๆ ใช้กับเส้นทางที่ยาวขึ้น หลังจากการอุ่นเครื่องซักระยะหนึ่งจนมั่นใจแล้วว่ารองเท้าคู่ใหม่คู่นี้คุ้น เคยกับเท้าของคุณเป็นอย่างดี และจะไม่มีการทะเลาะหรือกัดเท้าของคุณกลางป่าแล้วล่ะก็ คุณก็สามารถมีความสุขกับการแบกเป้เดินป่าจริงๆ โดยมีรองเท้าคู่ใหม่ที่รู้ใจเท้าของคุณเป็นเพื่อนร่วมทางที่ดีได้ในที่สุด

การเตรียมตัวสำหรับปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น

ถึงแม้ว่ารองเท้าคู่ใหม่ของคุณจะผ่านการทดสอบทุกขั้นตอนแล้ว ว่า เหมาะสมและสบายสำหรับเท้าของคุณที่สุดแล้ว บางครั้งหากคุณเดินป่านานๆ ในบางเส้นทางที่โหดๆ (เช่น โมโกจู) ต่อให้รองเท้าดีแค่ไหนก็อาจจะทำให้เท้าคุณเกิดปัญหาได้เช่นกัน ฉะนั้นการเตรียมพร้อมในกรณีเช่นนี้ก็ไม่น่าจะเสียหาย เช่น คุณอาจจะทาครีมหรือปิโตรเลียมเจลบนรองเท้าในบริเวณที่อาจจะเกิดการเสียดสี กับเท้าของคุณหากเดินนานๆ ได้ หรือบางครั้งอาจจะต้องทาลงเท้าของคุณเองบ้าง หรือหากคุณรู้ล่วงหน้าแล้วว่าเส้นทางที่คุณจะไปผจญภัยนั้นขึ้นชื่อว่าโหดมาก คุณก็อาจจะเตรียมยาทาหรือนวดสำหรับการนวดเท้าในกิจกรรมยามค่ำที่แค้มป์ก็ได้ อย่าลืมว่าเท้าของคุณสำคัญที่สุดในการเดินเที่ยวป่า เพราะฉะนั้น การถนอมเท้าอย่างถูกวิธีจะทำให้คุณสามารถเดินเที่ยวป่าอย่างมีความสุขไปได้ อีกนาน






 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

ช้างพลาย จาก ช้างพลาย KBL>>53 203.156.183.145 อังคาร, 6/12/2554 เวลา : 10:00  IP : 203.156.183.145   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 1424

คำตอบที่ 17
       ซื้อรองเท้าในตอนเย็น



เทคนิคเล็กๆ น้อยๆ แต่สำคัญสำหรับการลองรองเท้าก็คือว่า ไม่ควรจะไปเลือกซื้อหลังจากที่คุณนั่งนานๆ เช่น การนั่งทำงานมาทั้งวัน หรือการเลือกซื้อในตอนเช้า ซึ่งคุณยังไม่ได้ใช้เท้าของคุณเดินไปไหนมาไหนสักเท่าไหร่ คุณ ควรจะได้เดินหรือออกกำลังเท้าของคุณมาพอประมาณแล้ว ก่อนที่จะมาลองสวมรองเท้า เนื่องจากเท้าของคุณจะบวมขึ้นจากขนาดปกติหลังจากการเดินติดต่อกันสักพัก ซึ่งเวลาเดินป่าก็เช่นกัน เท้าของคุณก็จะบวมมากกว่าปกติหลังจากที่คุณเดินมาทั้งวัน การลองรองเท้าในเวลานั้นจะทำให้คุณเลือกรองเท้าที่ใส่สบายสำหรับเท้าของคุณ มากที่สุด

ลองเตะของแข็งๆ ดูบ้าง

เมื่อลองใส่รองเท้าดูแล้ว คุณควรจะลองเตะวัตถุแข็งๆ เพื่อทดสอบว่านิ้วเท้าของคุณเลื่อนไปมาหรือไม่ หากคุณรู้สึกว่านิ้วเท้าของคุณเลื่อนไปข้างหน้าเวลาคุณเตะของแข็งๆ ก็ลองผูกเชือกใหม่แล้วลองอีกครั้ง หากยังเป็นแบบเดิมอยู่อาจจะเป็นเพราะรองเท้าคู่นั้นใหญ่เกินไป หรือหากคุณลองเตะแล้วนิ้วเท้าของคุณสามารถรับรู้การกระแทกได้อย่างดีเยี่ยม แสดงว่ารองเท้าคู่นั้นเล็กเกินไป และคุณก็ควรจะเปลี่ยนรองเท้าเบอร์ใหญ่ขึ้นนั่นเอง

รองเท้าคู่เดียวไม่สามารถใช้ได้ในทุกสถานการณ์

คุณอาจจะเห็นจาก “ชนิดของรองเท้าเดินป่า” แล้วว่ารองเท้าแต่ละชนิดก็มีจุดประสงค์ในการออกแบบมาแตกต่างกันไปตามลักษณะ การใช้งาน เพราะฉะนั้น คุณควรจะรู้ก่อนที่จะซื้อรองเท้าคู่ใหม่ว่าคุณจะซื้อไปสำหรับกิจกรรมประเภท ใด

อย่าซื้อรองเท้าผ่านอินเทอร์เน็ต

ยิ่งสำหรับนักเดินป่ามือใหม่ด้วยแล้ว คุณควรจะได้ลองและเลือกรองเท้าที่เหมาะสมสำหรับขาของคุณด้วยตัวคุณเองที่ ร้าน นักเดินป่าที่เดินมานานแล้วก็เช่นกัน เพราะรองเท้าเดินป่าไม่เหมือนอุปกรณ์ประเภทอื่น คุณจำเป็นที่จะต้องได้ลองและได้สัมผัสด้วยตัวคุณเองมากกว่าแค่การอ่านคุณสมบัติ เลือกแบบ และสีในหน้าจอเท่านั้น อย่างไรก็ดี คุณอาจจะใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการค้นหารองเท้าตามแบบและคุณสมบัติ ที่คุณต้องการและคิดว่าน่าจะเหมาะสำหรับคุณ แล้วไปหาลองตามร้าน และหากคุณอยากจะซื้อผ่านอินเทอร์เน็ตจึงค่อยไปสั่งซื้อหลังจากคุณได้เลือก และมั่นใจแล้วว่ารองเท้าที่จะซื้อเป็นคู่และรุ่นและเบอร์ที่คุณเลือกและลอง แล้ว

ในที่สุด คุณก็ได้รองเท้าคู่ที่เหมาะกับเท้าของคุณแล้ว แต่อย่าลืมว่ากว่าจะหารองเท้าคู่นี้ได้ คุณต้องใช้เวลานานแค่ไหน และราคาของมันก็ไม่ได้ถูกเลย เพราะฉะนั้น ถ้าคุณรู้จักดูแลรักษารองเท้าของคุณอย่างถูกวิธีแล้ว คุณก็จะใช้รองเท้าคู่ใจได้อย่างคุ้มค่านานหลายปี หรือบางครั้งอาจจะเป็นสิบปีเลยก็ว่าได้

•เคลือบผิวรองเท้าเพื่อกันน้ำ
หลังจากที่คุณซื้อรองเท้าเดินป่าได้แล้ว สิ่งแรกที่ควรจะต้องทำก็คือเคลือบผิวรองเท้าของคุณเพื่อให้กันน้ำได้ ถ้ารองเท้าของคุณทำจากหนังแท้ทั้งหมด ให้ใช้น้ำยาเคลือบผิวที่มีน้ำมันเป็นส่วนผสมหลัก (oil based waterproof product) ในการทาเคลือบผิวรองเท้า ห้ามใช้แว็กซ์หรือซิลิโคนโดยเด็ดขาด เพราะสารสองตัวนี้จะทำให้อายุการใช้งานของหนังสั้นลง โดยบริเวณที่ควรจะใส่ใจและทาน้ำยาเคลือบผิวมากเป็นพิเศษก็คือตามตะเข็บต่างๆ และพื้นรองเท้า แต่ถ้ารองเท้าของคุณทำจากวัสดุสังเคราะห์ ให้ใช้น้ำยาเคลือบผิวที่มีซิลิโคนเป็นส่วนผสมหลัก (silicone based waterproof product) อย่าใช้น้ำยาที่มีน้ำมันเป็นส่วนผสมหลักกับรองเท้าที่ทำจากวัสดุสังเคราะห์ เพราะน้ำมันจะทำให้วัสดุสังเคราะห์เกิดความเสียหายได้ และคุณก็ควรจะเคลือบผิวบริเวณพื้นรองเท้าและตะเข็บต่างๆ มากเป็นพิเศษเช่นกัน แต่ถ้าหากรองเท้าของคุณทำจากทั้งวัสดุสังเคราะห์และวัสดุธรรมชาติ คุณควรจะทำตามคำแนะนำของผู้ผลิตเท่านั้น

•อุ่นเครื่องก่อนการใช้งานจริง
คุณไม่ควรที่จะใช้รองเท้าที่เพิ่งซื้อมาใหม่ครั้งแรกในการเดิน ป่าจริงโดยที่ยังไม่ได้ผ่านการอุ่นเครื่องอย่างเด็ดขาด ก่อนที่จะใช้รองเท้าคู่ใหม่นี้ในการเดินป่าจริง คุณควรจะลองใส่เดินรอบๆ บ้าน ใส่ไปเดินเที่ยวช็อปปิ้ง หรือใส่ไปเดินเล่นที่ไหนก่อนก็ได้ เพื่อให้รองเท้าของคุณได้มีโอกาสยืดหยุ่น และให้ความรู้สึกนุ่มสบายเท้ามากขึ้นเช่นกัน ไม่มีใครเคยกำหนดระยะเวลาหรือระยะทางที่แน่นอนสำหรับการอุ่นเครื่องรองเท้า เชื่อเท้าของคุณเองจะดีที่สุด คุณควรจะลองใส่จนกว่าเท้าของคุณจะรู้สึกสบายและชินกับรองเท้าคู่ใหม่ก่อน แล้วจึงจะใส่เดินป่าจริง แต่ก็นั่นแหละ ถ้าคุณลองใส่มันนานมากแล้วหรือลองเดินมาเป็นสิบๆ กิโลแล้ว ก็ยังไม่รู้สึกสบายสักทีคุณก็อาจจะต้องคิดใหม่แล้วล่ะว่ารองเท้าคู่นี้มัน เหมาะกับเท้าคุณจริงๆ หรือเปล่า

•ดูแลรักษารองเท้าให้สะอาดอยู่เสมอ
ตอนที่คุณซื้อรองเท้านั้น ก่อนจะออกจากร้าน นอกจากจะซื้อน้ำยาเคลือบผิวรองเท้ามาด้วยแล้ว อย่าลืมซื้อน้ำยาทำความสะอาดรองเท้าติดมือมาด้วยเช่นกัน ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดรองเท้าหลากหลายยี่ห้อมาก และบางอย่างก็สามารถใช้ได้กับทั้งรองเท้าที่ทำจากหนังแท้และรองเท้าที่ทำจาก วัสดุสังเคราะห์ ขั้นตอนการทำความสะอาดรองเท้าหลังจากใช้ในการเดินป่าก็ไม่มีอะไรซับซ้อนมาก ประการแรกก็คือคุณควรจะเอาฝุ่นและเศษดินต่างๆ ออกจากพื้นรองเท้าให้หมดด้วยวิธีง่ายๆ เช่นการเคาะหรือกระแทกรองเท้าสองข้างด้วยกัน จากนั้นจึงใช้แปรงปัดเศษดินหรือฝุ่นที่ยังหลงเหลืออยู่ออก หรือถ้ายังออกไม่หมด อาจจะต้องใช้ผ้าชุบน้ำบิดให้แห้งๆ เช็ดฝุ่นที่หลงเหลืออยู่ออกอีกครั้ง แต่ระวังอย่าให้ผ้าเปียกจนเกินไปจนทำให้รองเท้าเปียกได้ จากนั้นจึงใช้น้ำยาทำความสะอาดที่ซื้อมาทำความสะอาดรองเท้าตามคำแนะนำข้าง ขวดน้ำยานั้นๆ เมื่อเสร็จขั้นตอนเหล่านี้แล้ว รอทิ้งไว้จนกว่ารองเท้าของคุณจะแห้งสนิท จากนั้นจึงควรจะเคลือบผิวรองเท้าเพื่อกันน้ำอีกครั้ง

•ห้ามใช้ความร้อนช่วยทำให้รองเท้าแห้ง
ไม่ควรทำให้รองเท้าแห้งโดยการใช้วิธีตากรองเท้าข้างกองไฟ หรือใช้เครื่องช่วยเป่าให้แห้ง (เช่น เครื่องเป่าผม) เพราะความร้อนเหล่านั้นจะทำลายวัสดุที่ทำรองเท้าและมีผลต่อประสิทธิภาพของ รองเท้าอีกด้วย นอกจากนี้ การสัมผัสกับความร้อนโดยตรงแบบนี้จะทำให้ยางหรือสารที่เชื่อมระหว่างพื้น รองเท้ากับตัวรองเท้าละลายได้อีกเช่นกัน หากรองเท้าเดินป่าของคุณเปียก ควรจะวางผึ่งลมธรรมชาติไว้ในที่แห้งๆ หากรองเท้ามีกลิ่นก็อาจจะกำจัดกลิ่นโดยใช้เบคกิ้งโซดาหรือผงสำหรับโรยเท้าก็ ได้ และเมื่อรองเท้าแห้งดีแล้วจึงทำความสะอาดและเคลือบผิวกันน้ำตามขั้นตอนที่ ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น

•อย่าปล่อยรองเท้าทิ้งเอาไว้โดยไม่ใช้นานๆ
หากคุณไม่ค่อยได้เดินป่าบ่อยนัก ก็อย่าทิ้งรองเท้าเอาไว้โดยไม่ใส่เป็นเวลานานๆ ควรจะเอาออกมาใส่เดินเล่นหรือใส่ไปไหนมาไหนบ้างให้เป็นประจำเพื่อให้รองเท้า ยังคงความยืดหยุ่นและสะดวกสบาย ไม่แข็งเกินไป การเอารองเท้าออกมาใส่อย่างสม่ำเสมอจะทำให้พื้นรองเท้ายังคงความนุ่มเท้าและ รองเท้าด้านบนยังคงความสะดวกสบายสำหรับเท้าอยู่ตลอดเวลา และไม่เกิดปัญหาเวลาที่จะเอาไปใช้เดินป่าจริง

•อย่าใส่รองเท้าเดินโดยไม่ผูกเชือกรองเท้า
เมื่อเวลาเราไปถึงแค้มป์หลังจากที่เดินขึ้นเขามาทั้งวันแล้ว บางครั้งหากเราลืมเอารองเท้าแตะไป หลายคนก็อาจจะใส่รองเท้าเดินป่าเดินไปมาโดยไม่ผูกเชือกรองเท้า แต่ความจริงแล้ว การเดินใส่รองเท้าเดินป่าโดยไม่ผูกเชือกรองเท้าจะทำให้รองเท้าเกิดการสึกหรอ ได้ง่ายขึ้นโดยไม่จำเป็น โดยเฉพาะบริเวณที่บุด้านในของรองเท้าและยังทำให้เชือกรองเท้าขาดได้ง่ายขึ้น อีกด้วย ทางที่ดีควรจะนำรองเท้าแตะไปไว้เปลี่ยนเวลาเดินอยู่ที่แค้มป์หลังจากเดินมา แล้วทั้งวันจะดีที่สุดและเป็นการผ่อนคลายเท้าของคุณด้วยเช่นกัน



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

ช้างพลาย จาก ช้างพลาย KBL>>53 203.156.183.145 อังคาร, 6/12/2554 เวลา : 10:01  IP : 203.156.183.145   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 1425

คำตอบที่ 18
       ว่างๆก็นั้งอ่าน เผื่อได้เป็น กูรู เรื่อง รองเท้าเดินป่ากันมั๊งเนอะ พี่น้อง

ที่สำคัญ จะได้เลือกประเภทของลองเท้าที่เราจะนำมาใช้ เพื่อเป็นประโยชน์สูงสุด และเป็นการป้องกันเท้าของแต่ละท่าน การเดินป่า สำคัญที่สุดก็ เท้าเรานี้แหละ หาอะไรที่เหมาะสมก็เป็นการเซฟตี้ อีกทางครับ
ขอบคุณ ข้อมูลดีๆ จาก เอเวอร์เรสต์



 แก้ไขเมื่อ : 6/12/2554 10:05:20



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

ช้างพลาย จาก ช้างพลาย KBL>>53 203.156.183.145 อังคาร, 6/12/2554 เวลา : 10:02  IP : 203.156.183.145   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 1426

คำตอบที่ 19
       .....เยี่ยม..เลย..ยกให้เป็น กูรู เลย..แต่ให้ดี.
....บอกด้วยว่า ..วิธี ขอตังต์ ซื้อรองเท้า.เขาทำยังไง......



รู้แต่ ขโมยไปซื้อ แล้วรู้ทีหลังอ่ะพี่ดำ อิ อิ
จาก : ช้างพลาย(ช้างพลาย) 8/12/2554 8:17:21 [203.156.183.145]
 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

MR.DUMS จาก จิ้งจอกขาว 119.46.92.195 พุธ, 7/12/2554 เวลา : 19:09  IP : 119.46.92.195   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 1458

คำตอบที่ 20
       ตั้งใจเขียนมากๆเลยครับ

การเลือกรองเท้าไม่มีสูตรสำเร็จจริงๆ อาจจะต้องลองผิดลองถูกกันบ้าง

ลองในร้านกับลงพื้นที่จริงๆก็ต่างกันเยอะ

เรื่องกันน้ำ waterproff อะไรนั่นไม่ต้องสนใจมาก

บางชนิดถ้ามันกันน้ำเข้า เวลาน้ำเข้าแล้วมันก็ออกยากเช่นกัน

เลือกชนิดที่มันเปียกแล้วแห้งเร็ว หรือไม่อับชื้นง่ายๆจะดีกว่า



....เอ้อ จริง ๆ ด้วยแฮ๊ะ.....ทำให้นึกเลยไปถึงเรื่องนาฬิกา รุ่นกันน้ำเข้ากับกันน้ำออกด้วยเลย อิ อิ ..
จาก : xr-boy(xr-boy) 18/3/2555 22:24:12 [180.183.113.138]
 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

โต้ง จาก โต้ง 101.109.137.215 อาทิตย์, 18/3/2555 เวลา : 21:42  IP : 101.109.137.215   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 2313

คำตอบที่ 21
       เห้นด้วยครับเรื่องกันน้ำเนี่ยไม่ค่อยสำคัญเท่าไหร่ เดินในภูมิประเทศหลีกเลี่ยงเรื่องลุยห้วยยากมากต้องทำใจเปียกแล้วแห้งง่ายดีกว่า
สุดยอดเรื่องกันน้ำต้องรองเท้าบูทยางหรือรองเท้ายางแบบที่พวกชาวเขาทางเหนือกับชาวสวนยางใส่แต่ก็มีข้อเสียอันดับแรกคือไม่ค่อยเท่ สองคือไม่ค่อยกระชับเท้าและค่อนข้างกัดเก่ง ขนาดใส่ถุงเท้าหนาๆยังเอาไม่ค่อยอยู่ แต่ชาวบ้านเขาใส่กันสบายคงจะชิน สุดท้ายพื้นค่อนข้างบางสู้หนามหรือพื้นที่ที่แข็งๆหรือขรุขระมากๆไม่ค่อยไหว
สำหรับผมใช้รองเท้าเดินป่าอยู่ 3 อย่างแล้วแต่สถานะการณ์ครับ
คู่แรก คอมแบทหรือรองเท้าทหารนี่แหละครับ เลือกแบบที่มีซิปข้างจะได้ถอดง่ายๆ คู่นี้สำหรับพื้นที่และงานที่ลุยๆหรืออาจมีคิวบู๊ ข้อเสียของคอมแบทก็คือเปียกแล้วแห้งยากสักหน่อย และถ้าเป็นเส้นทางที่ต้องปีนป่ายหินลื่นๆ ไต่น้ำตกหรือเดินลุยห้วยอย่างนี้ไม่แนะนำครับ
คู่ที่สอง ค่อนข้างเป็นรองเท้าในดวงใจเลย รองเท้าทหารเหมือนกันครับแต่เป็นทหารประเทศเพื่อนบ้านของเรา คือทหารจีนและทหารพม่านี่แหละ เอเขมรใส่ด้วยหรือเปล่าไม่แน่ใจ หลายคนคงเคยเห็นและชอบเหมือนผม ค่อนข้างเวิคร์ครับเบา แห้งง่าย เกาะพื้นลื่นๆดี ราคาถูก ข้อเสียคือบอบบาง อายุใช้งานน้อยไปหน่อย
คู่สุดท้ายสำหรับผมเหมือนยาครอบจักรวาล คือรองเท้าวิ่งนี่แหละครับ เลือกดีๆสักคู่ใส่ได้ทุกงาน ป่า เขา ทะเล ห้าง ออกกำลังกาย ไปได้หมด ข้อเสียอย่างเดียวก็คือเปียกซึ่งคงต้องทำใจสถานเดียว เวลาไปป่าก็ติดรองเท้าแตะไปสำรองอีกสักคู่ กลางคืนตั้งแค้มป์ก็เอาเจ้าปลาหมึกคู่เก่งไปอังๆไว้ข้างๆ เช้าก็ใส่ได้เหมือนเก่า
รองเท้าเดินป่าราคาแพงๆทั้งหลายก็โอเคครับ แต่ขี้มักแพ้น้ำเดินลุยน้ำหน่อยพื้นหลุดประจำ ใครซื้อมาใช้แล้วเอาไปให้ช่างเขาเย็บพื้นซักหน่อยเสียเงินอีก 80-120บาท คราวนี้เดินไปเถอะ ( ความจริงทั้งคอมแบทและรองเท้าวิ่งซื้อมาใหม่ๆก็ควรเย็บครับ)
จะเลือกรองเท้าแบบใหนก็แล้วแต่เลือกขนาดให้พอดีเท้า ที่สำคัญไม่ควรใส่รองเท้าที่เพิ่งซื้อมาใหม่ออกทริปไกลๆ เพราะอาจถูกกัดเอาง่ายๆ ผมเคยโดนคอมแบทคู่ใหม่มันกัด กลายเป็นแผลเน่า ต้องลากขาขึ้นเขาลงห้วยอยู่เป็นอาทิตย์ กลับออกมารักษาแผลอีกร่วมเดือนถึงจะหาย
เราเตือนท่านแล้วนะครับ



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

นายแนวไพร จาก นายแนวไพร 180.180.90.137 อังคาร, 8/5/2555 เวลา : 21:33  IP : 180.180.90.137   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 2633

คำตอบที่ 22
      

เย็บพื้นใหม่ แล้วจะ เดินเพลิน



 แสดงความคิดเห็นย่อย แสดงความคิดเห็นย่อย

ช้างพลาย จาก ช้างพลาย KBL>>53 203.156.183.145 พุธ, 9/5/2555 เวลา : 08:41  IP : 203.156.183.145   

edit แก้ไขคำตอบ   delete ลบคำตอบ 2637

      

คำตอบแบ่งหน้าละ 30 คำตอบ ขณะนี้คุณอยู่ที่หน้า 1 จาก >>> 1  



website รองรับการใช้งานทุกระบบปฏิบัติการของ PC Tablet SmartPhone ทุกระบบสามารถโพสข้อความและรูปภาพได้โดยไม่ต้องย่อไฟล์
เพื่อความปลอดภัยในการใช้ website WeekendHobby.Com สมาชิก เท่านั้น จึงจะตั้งกระทู้ หรือ ตอบกระทู้ได้ครับ
Login Click ที่นี่
สมัครสมาชิก Click ที่นี่



Since 22, Feb 2001 hit counter View My Stats  Truehits.net      วันศุกร์,26 เมษายน 2567 (Online 4994 คน)